เฉลียว ปทุมรส

อดีตราชเลขานุการในพระองค์และสมาชิกพฤฒสภา

เฉลียว ปทุมรส เป็นอดีตสมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล[1]

เฉลียว ปทุมรส
เฉลียวในเครื่องแบบเต็มยศ
ราชเลขานุการในพระองค์
ดำรงตำแหน่ง
8 สิงหาคม พ.ศ. 2487 – 30 เมษายน พ.ศ. 2489
(1 ปี 265 วัน)
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร
ก่อนหน้าสเหวก นิรันดร
ถัดไปหม่อมเจ้านิกรเทวัญ เทวกุล
สมาชิกพฤฒสภา
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
(1 ปี 168 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มีนาคม พ.ศ. 2445
เมืองกรุงเก่า มณฑลกรุงเก่า ประเทศสยาม
เสียชีวิต17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (52 ปี)
เรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
พรรคการเมืองแนวรัฐธรรมนูญ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คณะราษฎร
คู่สมรสฉลวย ปทุมรส
ฮุ้น ปทุมรส
ศิริ ปทุมรส
บุตร8 คน
สถานะทางคดีถูกประหารชีวิต
พิพากษาลงโทษฐานประทุษร้ายต่อพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมเหสี มกุฎราชกุมาร และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
บทลงโทษประหารชีวิตด้วยการยิง
รายละเอียด
ผู้เสียหายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร, 20 พรรษา
วันที่9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
ประเทศประเทศไทย
รัฐจังหวัดพระนคร
ตำแหน่งพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
วันที่ถูกจับ
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
จำคุกที่เรือนจำกลางบางขวาง

ประวัติ

แก้

เฉลียว ปทุมรส เกิดที่เกาะลอย ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา[ต้องการอ้างอิง]

อดีตสมาชิกพฤฒสภาสังกัดพรรคแนวรัฐธรรมนูญ ตกเป็นผู้ต้องหาว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในที่สุดศาลฎีกาได้พิพากษาให้ได้รับโทษประหารชีวิต จึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตที่เรือนจำบางขวางในเช้ามืดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 พร้อมด้วยจำเลยอีก 2 คนในคดีนี้ คือ ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน

ปัจจุบันได้มีการมอบแพปทุมรสให้วัดมณฑป โดยเจ้าอาวาสได้ทำการยกแพปทุมรสขึ้นต่อเป็นชั้น 2 ของอาคารกุฏิพระ ภายในมีสธูปที่ใช้เก็บอัฐิคนในตระกูลปทุมรส และยังมีซุ้มเรือนแก้วปทุมรสอยู่ภายในบริเวณวัดอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ครอบครัว

แก้

เฉลียว ปทุมรส สมรสกับนางฉลวย ปทุมรส มีบุตรสี่คน โดยเกิดจากนางฮุ้น ปทุมรส 2 คน คือ เครือพันธ์ (ปทุมรส) บำรุงพงศ์ และสมวงศ์ ปทุมรส และเกิดจากนางศิริ ปทุมรส 2 คน คือ ฉายศรี (ปทุมรส) โสภณศิริ และ เพิ่มศักดิ์ ปทุมรส ตามลำดับ[2]

ดูเพิ่ม

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. บทความเรื่อง สำนักราชเลขาธิการ (13) ราชเลขานุการในพระองค์ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คอลัมน์ย้อนรอยแผ่นดิน หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2549
  2. ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์: เมื่อข้าพเจ้าถูกกล่าวหาว่าเป็น "กบฏ" (ปรีชา'ทัศน์) แนวหน้า 9 กรกฎาคม 2550 และวารสารสารคดี ฉบับที่ 269 เดือนกรกฎาคม 2550 บทความที่ 211. บทความชิ้นสุดท้ายของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ 2. ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (พุทธศักราช 2484-2488)
  3. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์