สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ากลาง (24 เมษายน พ.ศ. 2362 - 1 กันยายน พ.ศ. 2429) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี[1] (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทองสุก ซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าอินทวงศ์แห่งนครเวียงจันทน์) พระองค์เป็นต้นราชสกุล มาลากุล และเป็นพระโสทรอนุชาใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ (ต้นราชสกุล อาภรณ์กุล) ทั้งสองราชสกุลจึงถือเป็นญาติใกล้ชิดกัน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ กรมพระยาบำราบปรปักษ์ | |
ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและพระคลังทั้งปวง | |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
สมุหนายก | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2421 - 2429 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาภูธราภัย (นุช บุณยรัตพันธุ์) |
ถัดไป | เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (รอด กัลยาณมิตร) |
ประสูติ | 24 เมษายน พ.ศ. 2362 |
สิ้นพระชนม์ | 1 กันยายน พ.ศ. 2429 (67 ปี) |
พระชายาและหม่อม | พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบันเทิง หม่อมทรัพย์ หม่อมกลีบ |
พระบุตร | 11 พระองค์ |
ราชสกุล | มาลากุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี |
พระประวัติ
แก้หลังทรงสำเร็จการศึกษา ทรงเข้ารับราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการในกรมวัง ดูแลภายในพระบรมมหาราชวังและพิจารณาตัดสินคดีความ กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ (ปัจจุบัน คือ กรมการศาสนา) ถึงปีกุน พ.ศ. 2394 ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา อิศวราธิราชรวิวงศ์ บรมพงศ์ปฏิพัทธ์ บุรุษรัตน์วโรภโตสุชาติ บริษัทยนาถนรินทราธิบดี ให้ตั้งเจ้ากรมเป็นกรมหมื่นบำราบปรปักษ์[2] ทรงบังคับบัญชากรมพระภูษามาลาคลังวิเศษคลังข้างใน จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย ในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2410 มีพระบรมราชโองการให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมผู้ใหญ่ชั้นกรมขุน ทรงศักดินา 50,000[3]
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการพร้อมกันสมมติให้เป็น ผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนักและว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สมุหนายกอัครมหาเสนาบดี ว่าราชการหัวเมืองต่างๆ และเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ ทรงเป็นประธานของพระบรมวงศานุวงศ์ ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2417 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตรวิวัฒนยโสดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิสรรพศุภการ สกลรักษฎาธิกิจปรีชาวตโยฬาร์ ยุติธรรมาทวาธยาศรัย ไตรศรีรัตนธาดา มหันตเดชานุภาพถบพิตร ทรงศักดิดา 50,000[4]
และในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2428 เลื่อนเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงศ์ บรมพงศ์บริพัตร วิวัฒนยโศดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมศาสตร์ โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษฏิศุภการสกลรักษฎาธิกิจ ปรีชาวตโยฬารสมบูรณคุณสารสุจริตจริยาภิรมย์ ราชพงศานุกรมมุขประดิษฐาสกลนราภิมานิต นริศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาราชวโรประการ ปรัชาชาญยุติธรรมาชวาธยาศรัย ศรีรัตนตรัยสรณคุณารักษ์ บรมอรรคมหาบุรุษยรัตนสุขุมาลกระษัตริย์วิสุทธิชาติ ธรรมิกนาถบพิตร ทรงศักดินา 60,000[5]
สิ้นพระชนม์
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ เริ่มประชวรมาตั้งแต่เดือน 8 ปีจอ อัฐศก (พ.ศ. 2429) มีพระอาการเสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ ถึงวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พระอาการทรุดลง เสวยได้แต่พระกระยาหารต้มไม่เกินหนึ่งฝาเล็ก ได้พระโอสถแล้วพระอาการทรงมาจนถึงวันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม ก็ทรุดลงอีก เสวยได้แต่น้ำพระกระยาหารต้ม ครึ่งฝาถ้วยเล็ก พระอาการทรุดลงเรื่อย ๆ ถึงวันอังคารที่ 31 สิงหาคม ทรงอ่อนเพลีย ประชวรพระนาภี ทรงหอบเป็นคราว ๆ พระเนตรมัว พระกรรณตึง จนกระทั่งวันพุธ ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 10 ตรงกับวันที่ 1 กันยายน[6] ทรงหอบและเพลียมากขึ้น สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 4.25 น. สิริพระชันษา 67 ปี 130 วัน ช่วงบ่าย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์มาสรงน้ำพระศพ แล้วโปรดให้เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า ประกอบพระโกศกุดั่นใหญ่ เครื่องสูง 9 คัน ชุมสาย 4 คัน พระพิธีธรรม 8 รูป สวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืน[7] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2430
พระโอรส-พระธิดา
แก้ทรงมีพระโอรสและพระธิดา จำนวน 11 พระองค์ กับพระชายา จำนวน 1 พระองค์ และหม่อมจำนวน 2 คน ดังนี้[8]
- ประสูติแต่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบันเทิง พระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายกบ
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเต่า
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายปรีชา
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงสิริ
- ประสูติแด่หม่อมทรัพย์
- หม่อมเจ้าประภากร มาลากุล ท.จ. (หม่อมเจ้าพระประภากรบวรวิสุทธิ์วงศ์) (ประสูติเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2398 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2445) เสกสมรสกับ หม่อมเสงี่ยม ทรงมีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 4 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์ชาย แท้ง เมื่อ พ.ศ. 2433
- หม่อมราชวงศ์หญิงใหญ่ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2438 ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 7 ปี
- หม่อมราชวงศ์หญิงศรีประภา มาลากุล เกิดเมื่อ พ.ศ. 2443
- หม่อมราชวงศ์ชาย มาลากุล (หม่อมราชวงศ์พระสังวรประสาธน์) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2445
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2401)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าอลังการ มาลากุล (ประสูติเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2404 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2479) ในรัชกาลที่ 5 ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ[9] เสกสมรสกับ หม่อมเล็ก จ.จ.[10] หม่อมเจิม หม่อมผาด หม่อมนวล หม่อมทรัพย์ และหม่อมถนอม ทรงมีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 18 คน จากหม่อมทั้งหมดจำนวน 6 คน ดังนี้
- ในหม่อมเล็ก
- หม่อมราชวงศ์ณัฐสฤษดิ์ มาลากุล สมรสกับ นางบุญช่วย มีธิดา 2 คนดังนี้
- หม่อมหลวงหญิงชวลิต ธรมธัช สมรสกับ ขุนเอนก ธรมธัช
- หม่อมหลวงหญิงชุมนุม ประเสริฐศรี
- หม่อมราชวงศ์ฐิตะไชย มาลากุล (เสียชีวิตตั้งแต่วัยหนุ่ม และไม่มีทายาท)
- หม่อมราชวงศ์หญิงไขฉวี หาสตะนันทน์ สมรสกับ นาวาเอก หลวงประพรรดิ์จักรกิจ ราชนาวี (แสวง หาสตะนันท์) มีบุตร-ธิดา 8 คนดังนี้
- นางวลีศิริ กรรณสูต
- นายบำเรอ หาสตะนันทน์
- นายสุขุม หาสตะนันทน์
- นางนฤมนต์ (สวง) ศิขรินทร์ สมรสกับ นายอารีย์ ศิขรินทร์
- นางสาววิบูลย์ศรี (สมบูรณ์) หาสตะนันทน์
- นางสาววรรณา หาสตะนันทน์
- นายแพทย์สรรเสริญ หาสตะนันทน์
- หม่อมราชวงศ์ศรีธวัช มาลากุล สมรสกับ นางทองอยู่ ทัพชูวงศ์ มีบุตร-ธิดา 5 คน และนางถมยา มั่นมณี มีบุตร 3 คนดังนี้
- หม่อมหลวงหญิงจรัสไข อัธยาศัยวิสุทธิ์ เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นายเชิด อัธยาศัยวิสุทธิ์
- หม่อมหลวงหญิงอำไพนัต ภาคธูป เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นายพัว ภาคธูป
- หม่อมหลวงฉัตรชัย มาลากุล เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นางสุคนธ์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนะ)
- นาวาเอก หม่อมหลวงไพบูลย์ มาลากุล ราชนาวี เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นาวาเอกหญิง พนิดา มาลากุล ณ อยุธยา ราชนาวี (สกุลเดิม จิตรสมัย)
- หม่อมหลวงพูลศักดิ์ มาลากุล เกิดจากนางทองอยู่ สมรสกับ นางเพลินอารม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม จิตต์ธรรม)
- หม่อมหลวงภักดี มาลากุล เกิดจากนางถมยา
- หม่อมหลวงปรีชา มาลากุล เกิดจากนางถมยา สมรสกับ นางชฎาภา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ภาคีทรง)
- หม่อมหลวงมาโนช มาลากุล เกิดจากนางถมยา สมรสกับ นางสุวัฒนา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัศมีดิษฐ์)
- หม่อมราชวงศ์พัฒนา มาลากุล สมรสกับ นางเหมย เดี่ยวเด่น มีบุตร-ธิดา 5 คน นางละม้าย ภูเดช มีบุตร-ธิดา 7 คน นางเที่ยง บ้านกลาง มีบุตร-ธิดา 6 คนดังนี้
- หม่อมหลวงภมร มาลากุล เกิดจากนางเหมย
- หม่อมหลวงพิมล มาลากุล เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นางเล็ก มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตนจักร)
- หม่อมหลวงหญิงจงกล มาลากุล เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นายประเสริฐ
- หม่อมหลวงหญิงอุบล เสมรสุวรรณ เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นายอุดม เสมรสุวรรณ
- หม่อมหลวงวิฑูรย์ มาลากุล เกิดจากนางเหมย สมรสกับ นางถาวร
- หม่อมหลวงโกสุม มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางสุมิตรา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุคนธมัช)
- หม่อมหลวงโกศล มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางสุบิน
- หม่อมหลวงพิศาล มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางอัมพร มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศุภวารี)
- หม่อมหลวงหญิงลมุน ศรานุชิต เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นายกังวาล ศรานุชิต
- หม่อมหลวงหญิงดาราวรรณ ฤทธิรักษ์ เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นายชาลี ฤทธิรักษ์
- หม่อมหลวงวุฒิไกร มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางภัทราภรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ใหญ่ลำยอง)
- หม่อมหลวงไพฑูรย์ มาลากุล เกิดจากนางละม้าย สมรสกับ นางวัลยา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กลิ่นกลั่น)
- หม่อมหลวงโกมล มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นางประชุม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองอยู่)
- หม่อมหลวงหญิงประยงค์ มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง
- หม่อมหลวงหญิงลัดดา ทองเล็ก เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นายสวัสดิ์ ทองเล็ก
- หม่อมหลวงหญิงทัศนา(มาลี) สุขตลอด เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นายสนั่น สุขตลอด
- หม่อมหลวงพิชัย มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง
- ร้อยตำรวจเอก หม่อมหลวงไตรทิพย์ มาลากุล เกิดจากนางเที่ยง สมรสกับ นางสมปอง
- หม่อมราชวงศ์หญิงบรรจง มาลากุล สมรสกับ นายสุดจิตต์ เตมียสูตย์ มีธิดา 2 คน และกับนายแพทย์โพธิ์ นาคะเสถียร มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
- เด็กหญิงชยิน เตมียสูตย์ เกิดกับนายสุดจิตต์ เตมียสูตย์
- นางสาวบัญญัติ เตมียสูตย์ เกิดกับนายสุดจิตต์ เตมียสูตย์
- นายไพบูลย์ นาคะเสถียร เกิดกับนายแพทย์โพธิ์ นาคะเสถียร
- นางสาวรำพึง มาลากุล เกิดกับนายแพทย์โพธิ์ นาคะเสถียร สมรสกับ พันตำรวจเอก สุริยา นาคพงษ์ มีบุตร-ธิดา 4 คนดังนี้
- นางสาวไพรำ นาคพงษ์
- นางสาวสุภัทร นาคพงษ์
- นายสุรยุทธ์ มาลากุล
- นางสาวรำไพพักตร์ มาลากุล
- หม่อมราชวงศ์ณัฐสฤษดิ์ มาลากุล สมรสกับ นางบุญช่วย มีธิดา 2 คนดังนี้
- ในหม่อมเจิม
- หม่อมราชวงศ์จรูญรัตน์ มาลากุล สมรสกับ นางสวัสดิ์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม หทยานนท์) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
- นาวาเอก หม่อมหลวงเชาวรัตน์ มาลากุล สมรสกับ นางบวร มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม จันทรสูตร)
- หม่อมหลวงหญิงเสรีรัตน์ บุณยเศรษฐ สมรสกับ นายเชาวลิต บุณยเศรษฐ
- หม่อมราชวงศ์จรูญรัตน์ มาลากุล สมรสกับ นางสวัสดิ์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม หทยานนท์) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
- ในหม่อมผาด
- หม่อมราชวงศ์ประเทือง มาลากุล สมรสกับ นางละออ มีบุตร-ธิดา 6 คน และนางสุภาพ มีธิดา 1 คนดังนี้
- หม่อมหลวงประสพไชย มาลากุล เกิดจากนางละออ
- หม่อมหลวงหญิงประสงค์ มาลากุล เกิดจากนางละออ
- หม่อมหลวงหญิงประสิทธิ์ศรี เข้มบุญศรี เกิดจากนางละออ สมรสกับ นายจำลอง เข้มบุญศรี
- หม่อมหลวงประสมศิลป์ มาลากุล เกิดจากนางละออ
- หม่อมหลวงประจวบพันธ์ มาลากุล เกิดจากนางละออ
- หม่อมหลวงประเสริฐศรี มาลากุล เกิดนางนางละออ
- หม่อมหลวงหญิงประชุมพร มาลากุล เกิดจากนางสุภาพ
- หม่อมราชวงศ์ประเทือง มาลากุล สมรสกับ นางละออ มีบุตร-ธิดา 6 คน และนางสุภาพ มีธิดา 1 คนดังนี้
- ในหม่อมนวล
- หม่อมราชวงศ์หญิงแฉล้ม มาลากุล สมรสกับ พันตรี นายแพทย์หลวงฉัตรพลรักษ์ (ฉัตร พงศ์ศักดิ์) มีบุตร 1 คนดังนี้
- นายฉัตรดนัย ฉัตรพลรักษ์ สมรสกับ นางสายสัมพันธ์ ฉัตรพลรักษ์ บุตรีเอกอัครราชทูตสุนทร สุวรรณสาร และนางจำนรรจ์ สุวรรณสาร (สกุลเดิม วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
- นางสาวกัญญาภิรมย์ (อาภาภิรมย์) ฉัตรพลรักษ์
- นายพิชญ ฉัตรพลรักษ์
- นายฉัตรดนัย ฉัตรพลรักษ์ สมรสกับ นางสายสัมพันธ์ ฉัตรพลรักษ์ บุตรีเอกอัครราชทูตสุนทร สุวรรณสาร และนางจำนรรจ์ สุวรรณสาร (สกุลเดิม วสันตสิงห์) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
- หม่อมราชวงศ์หญิงแฉล้ม มาลากุล สมรสกับ พันตรี นายแพทย์หลวงฉัตรพลรักษ์ (ฉัตร พงศ์ศักดิ์) มีบุตร 1 คนดังนี้
- ในหม่อมทรัพย์
- หม่อมราชวงศ์หญิงชลอ มาลากุล
- ในหม่อมถนอม
- หม่อมราชวงศ์หญิงแข เชื้อสุวรรณ สมรสกับ นายรัตน เชื้อสุวรรณ มีธิดา 1 คนดังนี้
- นางลิขิต ชัยพินิจ สมรสกับ นายวินัย ชัยพินิจ
- หม่อมราชวงศ์ประยูร มาลากุล สมรสกับ นางสว่าง มาลากุล ณ อยุธยา มีธิดา 1 คน นางสีนวล มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 4 คน และนางอุทัย มีบุตร 1 คนดังนี้
- หม่อมหลวงหญิงเสถียร แจ่มจันทร์ เกิดจากนางสว่าง สมรสกับ นายบุญลือ แจ่มจันทร์
- หม่อมหลวงอุทัย มาลากุล เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นางบุญสม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม มณฑาลพ)
- หม่อมหลวงประทีป มาลากุล เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นางรวม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สาเจริญ) มีบุตร-ธิดา 2 คนดังนี้
- นายธนาพชร มาลากุล ณ อยุธยา
- นางสาวสุนันทา มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นายอำนาจ โสมากุล มีบุตร-ธิดา 3 คนดังนี้
- นางสาวนงลักษณ์ มาลากุล
- เด็กชายคุณานนท์ มาลากุล
- เด็กหญิงจันทิมา มาลากุล
- หม่อมหลวงบุญเทียม มาลากุล เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นางสมปอง
- หม่อมหลวงหญิงสัญญาลักษณ์ เทียนทอง เกิดจากนางสีนวล สมรสกับ นายพิมล เทียนทอง
- หม่อมหลวงประทีบ มาลากุล เกิดจากนางอุทัย
- หม่อมราชวงศ์สมพงษ์ มาลากุล สมรสกับ นางประทุม มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศรีใหม่) มีบุตร-ธิดา 7 คนดังนี้
- หม่อมหลวงหญิงสมทบ นามสว่าง สมรสกับ นายบุญมา นามสว่าง
- นางสาวพนิตตา นามสว่าง
- หม่อมหลวงหญิงสายปัญญา จิรวรรณธร สมรสกับ นายวิเชียร จิรวรรณธร
- นางสาววรรณธร จิรวรรณธร
- นางสาวจิรวรรณ จิรวรรณธร
- นางสาวส่องศรี จิรวรรณธร
- หม่อมหลวงสุพจน์ มาลากุล
- หม่อมหลวงสัมพันธ์ มาลากุล สมรสกับ นางปราณีต
- หม่อมหลวงสกุล มาลากุล สมาชิกวุฒิสภา[11] สมรสกับ นางอ้อมจิตต์ มาลากุล ณ อยุธยา
- นางสาวจารุเนตร มาลากุล ณ อยุธยา
- เด็กหญิงอรชพร มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงกรุณา วงษ์พันธ์ สมรสกับ เรือโท ไพบูลย์ วงษ์พันธ์
- นายมานพ มาลากุล ณ อยุธยา
- นางสาวพิชญา วงษ์พันธ์
- หม่อมหลวงปกป้อง มาลากุล สมรสกับ นางวันเพ็ญ มาลากุล ณ อยุธยา
- นางสาวปัญจพร มาลากุล ณ อยุธยา
- นางสาวปรียาพร มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงสมทบ นามสว่าง สมรสกับ นายบุญมา นามสว่าง
- หม่อมราชวงศ์หญิงสมถวิล เขียวลายเลิศ สมรสกับ นายประธาน เขียวลายเลิศ มีธิดา 1 คนดังนี้
- นางสาวรุ่งเรือง เขียวลายเลิศ
- หม่อมราชวงศ์เจริญ มาลากุล สมรสกับ นางสำเนียง มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เปรมสมิทธ์) มีบุตร-ธิดา 9 คนดังนี้
- หม่อมหลวงณรงค์ มาลากุล สมรสกับ นางทองดี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม คำดวง) มีบุตร 3 คนดังนี้
- นายดิเรก มาลากุล ณ อยุธยา
- นายวิรัตน์ มาลากุล ณ อยุธยา
- นายธงชัย มาลากุล ณ อยุธยา
- ร้อยตรี หม่อมหลวงปรีชา มาลากุล สมรสกับ นางเบญจมาศ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุขโข) มีบุตร 3 คนดังนี้
- นายปัญญพัฒน์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นางสาวอรัญญา เดชาละมัย
- นายปรัชญา มาลากุล ณ อยุธยา
- สิบเอก ปริญญา มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงบรรจบ มาลากุล สมรสกับ นางสุกัญญา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม นิยมจันทร์) มีธิดา 4 คนดังนี้
- นางสาวสุจิรา มาลากุล ณ อยุธยา
- นางสาวจุติพร มาลากุล ณ อยุธยา
- นางสาวนฤมล มาลากุล ณ อยุธยา
- ด.ญ.จิตรานุช มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงศรีประจันทร์ มาลากุล
- หม่อมหลวงหญิงศรีสุดา มาลากุล
- ร้อยโท หม่อมหลวงศักดา มาลากุล สมรสกับ นางศรีนวล มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม พึ่งพา) มีบุตร 3 คนดังนี้
- นายภานุพงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา
- นายจิรวัฒน์ มาลากุล ณ อยุธยา
- นายจิรวุฒิ มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงสุทิน อรรถปักษ์ สมรสกับ นายราเชษฐ์ อรรถปักษ์ มีธิดา 1 คนดังนี้
- ด.ญ.สวรรญา อรรถปักษ์
- หม่อมหลวงประชา มาลากุล สมรสกับ นางวันเพ็ญ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม อำไพโชติ) มีบุตร 1 คนดังนี้
- นายเกรียงไกร มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงสมจิตร พัฒนา สมรสกับ จ่าสิบเอก ศุภกิตติ์ พัฒนา มีบุตร 1 คนดังนี้
- นายสัญฐิติ พัฒนา
- หม่อมหลวงณรงค์ มาลากุล สมรสกับ นางทองดี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม คำดวง) มีบุตร 3 คนดังนี้
- หม่อมราชวงศ์หญิงขจิตร์ เจริญชื่น สมรสกับ ร้อยตรี เดชา เจริญชื่น มีบุตรธิดา 2 คนดังนี้
- นางพรรณงาม สัพพะเลข สมรสกับ นายจำรัส สัพพะเลข
- นายชาคริต เจริญชื่น
- หม่อมราชวงศ์หญิงละเวียด ปานไหล่ สมรสกับ นายศิริ ปานไหล่ มีบุตรธิดา 3 คนดังนี้
- นายนคร ปานไหล่
- นายอดิศร ปานไหล่
- นางสาวสุดสนอง ปานไหล่
- หม่อมราชวงศ์หญิงแข เชื้อสุวรรณ สมรสกับ นายรัตน เชื้อสุวรรณ มีธิดา 1 คนดังนี้
- หม่อมเจ้าหญิงเล็ก มาลากุล (พระราชทานเพลิง ณ วัดราชสิทธาราม พ.ศ. 2410)
- ประสูติแด่หม่อมกลีบ
- หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ มาลากุล (ประสูติ พ.ศ. 2384 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2434 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
- พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าขจร มาลากุล (ประสูติเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2386 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2441) เสกสมรสกับ หม่อมเปี่ยม หม่อมจับ หม่อมทับ หม่อมเพิ่ม หม่อมสุ่น หม่อมกลิ่น หม่อมกลั่น และหม่อมอิน ทรงมีพระโอรส-พระธิดา จำนวน 11 คน จากหม่อมทั้งหมดจำนวน 8 คน หม่อมราชวงศ์ทั้ง 11 คน มีชื่อขึ้นต้นด้วย ป ปลา ตามพระนามกรมของพระองค์ เป็นอักษรพยางค์เดียวทั้งหมด
- ในหม่อมเปี่ยม
- เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) สมรสกับ ท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 8 คน นางเลื่อน มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร 1 คน และนางเจียร มาลากุล ณ อยุธยา มีธิดา 1 คน
- หม่อมหลวงหญิงปก มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงหญิงป้อง มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงหญิงปอง เทวกุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ หม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล มีบุตรธิดา 3 คน
- หม่อมราชวงศ์เอกสุรวุฒิ เทวกุล สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สอางค์ศรี เทวกุล(ศุขสวัสดิ) มีบุตรธิดา 7 คน
- ศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิง หม่อมราชวงศ์กันยิกา เทวกุล
- หม่อมราชวงศ์พุฒิเทพ เทวกุล สมรสกับนางอัมพา เทวกุล ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 4 คน
- หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ ท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ไกรฤกษ์)
- หม่อมหลวงหญิงเปนศรี มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงหญิงเปี่ยมสิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงปนศักดิ์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม
- หม่อมหลวงหญิงปานตา วสันตสิงห์ เกิดจากท่านผู้หญิงเสงี่ยม สมรสกับ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ มีบุตร 1 คน ดังนี้
- ศาสตราจารย์พิเศษ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตอัยการสูงสุด สมรสกับ นางภัทรา วสันตสิงห์ อดีตผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารทหารไทย มีบุตร-ธิดา 2 คน ดังนี้
- นายศิวัช วสันตสิงห์
- นางสาวณัฏฐา วสันตสิงห์
- ศาสตราจารย์พิเศษ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตอัยการสูงสุด สมรสกับ นางภัทรา วสันตสิงห์ อดีตผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารทหารไทย มีบุตร-ธิดา 2 คน ดังนี้
- หม่อมหลวงประวัติ มาลากุล เกิดจากนางเลื่อน
- หม่อมหลวงหญิงนกน้อย มาลากุล เกิดจากนางเจียร สมรสกับ พันเอก นายแพทย์ชุบ กาญจนลักษณ์
- เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) สมรสกับ ท่านผู้หญิงเสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 8 คน นางเลื่อน มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร 1 คน และนางเจียร มาลากุล ณ อยุธยา มีธิดา 1 คน
- ในหม่อมจับ
- ในหม่อมทับ
- ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม ในรัชกาลที่ 5)
- เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมรสกับ เจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ มีบุตร 1 คน ท่านผู้หญิงนงเยาว์ มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 8 คน และนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 3 คน
- หม่อมหลวงเทียม มาลากุล (หลวงมาลากุลวิวัฒน) เกิดจากเจ้าฟองแก้ว ณ เชียงใหม่
- หม่อมหลวงหญิงศิริปทุม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงปีกทิพย์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางชนัฏ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กาญจนะวณิชย์) มีบุตร-ธิดา 5 คน ดังนี้
- นางสาวปนัดดา มาลากุล ณ อยุธยา
- นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ ท่านผู้หญิงอารียา มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร 1 คน ดังนี้
- นายธรรมา มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ ทันตแพทย์หญิงอตินุช มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลัดพลี)
- พลเอก แป้ง มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ คุณหญิงศิริรัตน์ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เอื้อวิทยา)
- คุณหญิงทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา สมรสกับ หม่อมหลวงเสรี ปราโมช
- นางทับทิม เลน สมรสกับ นายอลาสแตร์ เลน (Alastair Lane) ชาวอังกฤษ มีธิดา 1 คน ดังนี้
- หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางอารี มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ ป้อมเพ็ชร)
- หม่อมหลวงปืนไทย มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นางศรียา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
- หม่อมหลวงหญิงประสาธะนี บูรณศิริ เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์ สมรสกับ นายประยูร บูรณศิริ
- หม่อมหลวงประสันน์ มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงหญิงประทิน มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงปม มาลากุล เกิดจากท่านผู้หญิงนงเยาว์
- หม่อมหลวงหญิงหวีด ภิญโญ เกิดจากนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นายเพิ่ม ภิญโญ
- หม่อมหลวงกวิน มาลากุล เกิดจากนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงหญิงหวิว มาลากุล เกิดจากนางวงศ์ มาลากุล ณ อยุธยา สมรสกับ นายปทุม หลิมรัตน์
- เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ว ในรัชกาลที่ 5
- ในหม่อมเพิ่ม
- ท้าวสมศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์ปุย มาลากุล)
- ในหม่อมสุ่น
- หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเนื่อง มีบุตร 1 คน คุณหญิงเผื่อน มีบุตร-ธิดา 9 คน นางผัน มีธิดา 1 คน นางเล็ก มีบุตร-ธิดา 7 คน ดังนี้
- หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเนื่อง ข้าราชบริพารในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
- หม่อมหลวงหญิงปุณฑริก ชุมสาย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายธวัช ชุมสาย ณ อยุธยา
- หม่อมหลวงปัณยา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงปิลันธ์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง คุณหญิงสุภา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตโนภาส)
- หม่อมหลวงหญิงปานีย์ เพ็ชรไทย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายธรรมนูญ เพ็ชรไทย
- หม่อมหลวงหญิงปฤศนี ศรีศุภอรรถ เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ ร้อยตรี จรินทร์ ศรีศุภอรรถ
- หม่อมหลวงหญิงปัทมาวดี มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงหญิงปารวดี กันภัย เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายประจวบ กันภัย
- หม่อมหลวงหญิงปราลี ประสมทรัพย์ เกิดจากคุณหญิงเผื่อน สมรสกับ นายเลิศ ประสมทรัพย์
- หม่อมหลวงโปรพ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเผื่อน
- หม่อมหลวงหญิงปาริชาติ มาลากุล เกิดจากนางผัน
- หม่อมหลวงหญิงปยง ธชาศรี เกิดจากนางเล็ก
- หม่อมหลวงปกิต มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
- หม่อมหลวงปรคำ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
- หม่อมหลวงหญิงปทุมมาลย์ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
- หม่อมหลวงปฐม มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
- หม่อมหลวงปริต มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
- หม่อมหลวงปคุณ มาลากุล เกิดจากนางเล็ก
- หม่อมราชวงศ์เทวาธิราช ป. มาลากุล (หม่อมราชวงศ์โป้ย มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเนื่อง มีบุตร 1 คน คุณหญิงเผื่อน มีบุตร-ธิดา 9 คน นางผัน มีธิดา 1 คน นางเล็ก มีบุตร-ธิดา 7 คน ดังนี้
- ในหม่อมกลิ่น
- พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเพี้ยง มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 6 คน นางจำนวน มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 3 คน คุณหญิงบัญญัติ มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 2 คน ดังนี้
- หม่อมหลวงหญิงปลื้มใจ บุนนาค เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ หลวงไพรัชพากย์ภักดี (จริง บุนนาค)
- หม่อมหลวงปัทม์ มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง
- หม่อมหลวงหญิงปฤถา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ นายปราโมท ศิขรินทร์
- หม่อมหลวงหญิงปิยา มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง
- หม่อมหลวงประกุล มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง สมรสกับ นางชวนพิศ มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม นิมิหุต)
- หม่อมหลวงหญิงประอร มาลากุล เกิดจากคุณหญิงเพี้ยง นางสนองพระโอษฐ์ใน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ มีบุตร 2 คน และกับ ร้อยเอก หม่อมเจ้าการวิก จักรพันธุ์
- หม่อมหลวงศิริเฉลิม สวัสดิวัตน์ เกิดกับหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
- พลตรี หม่อมหลวงเพิ่มวุทธ์ สวัสดิวัตน์ เกิดกับหม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์
- หม่อมหลวงประสพศิลป์ มาลากุล เกิดจากนางจำนวน สมรสกับ นางรัตนา มาลากุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม เสมาทอง)
- หม่อมหลวงหญิงปลุกปลื้ม ศรีประเสริฐ เกิดจากนางจำนวน สมรสกับ พลอากาศเอก วีระ ศรีประเสริฐ
- หม่อมหลวงปราการ มาลากุล เกิดจากนางจำนวน
- หม่อมหลวงหญิงปริญญา อัศวอารีย์ เกิดจากคุณหญิงบัญญัติ สมรสกับ นายสุรินทร์ อัศวอารีย์
- หม่อมหลวงหญิงประกาย พิจารณ์จิตร เกิดจากคุณหญิงบัญญัติ สมรสกับ นาวาเอก อัมพร พิจารณ์จิตร ราชนาวี
- พระยาชาติเดชอุดม (หม่อมราชวงศ์โป๊ะ มาลากุล) สมรสกับ คุณหญิงเพี้ยง มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 6 คน นางจำนวน มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 3 คน คุณหญิงบัญญัติ มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตร-ธิดา 2 คน ดังนี้
- ในหม่อมกลั่น
- หม่อมราชวงศ์เปี๊ยะ มาลากุล
- ในหม่อมอิน
- หม่อมราชวงศ์ปีก มาลากุล
- หม่อมเจ้าหญิงปุก มาลากุล (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2455)
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากลาง (24 เมษายน พ.ศ. 2362 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)[12]
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากลาง (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา (พ.ศ. 2394 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2410)
- เจ้ากรม-หมื่นบำราบปรปักษ์
- ปลัดกรม-หมื่นพิทักษ์พลพยุห์
- สมุห์บาญชี-หมื่นบันลุอักษรศาสตร์
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ (9 สิงหาคม พ.ศ. 2410 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- เจ้ากรม-ขุนบำราบปรปักษ์ (ศักดินา 800)
- ปลัดกรม-หมื่นพิทักษ์พลพยุห์ (ศักดินา 600)
- สมุห์บาญชี-หมื่นบันลุอักษรศาสตร์ (ศักดินา 300)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมขุนบำราบปรปักษ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 20 เมษายน พ.ศ. 2417)[13]
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบำราบปรปักษ์ (20 เมษายน พ.ศ. 2417 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2428)
- เจ้ากรม-พระบำราบปรปักษ์ (ศักดินา 800)
- ปลัดกรม-หลวงพิทักษ์พลพยุห์ (ศักดินา 600)
- สมุห์บาญชี-ขุนบันลุอักษรศาสตร์ (ศักดินา 400)
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์ (12 ธันวาคม พ.ศ. 2428 - 1 กันยายน พ.ศ. 2429)
- เจ้ากรม-พระยาบำราบปรปักษ์ (ศักดินา 1600)
- ปลัดกรม-พระพิทักษ์พลพยุห์ (ศักดินา 800)
- สมุห์บาญชี-หลวงบันลุอักษรศาสตร์ (ศักดินา 400)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (23): 192. 8 ตุลาคม 2429. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 103
- ↑ จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 156
- ↑ จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 201
- ↑ จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1, หน้า 265-266
- ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 35
- ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 3 (24): 192. 15 ตุลาคม 2429. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ "สถาปนาพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอลังการ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-04-17.
- ↑ จตุตถจุลจอมเกล้า
- ↑ "แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-18. สืบค้นเมื่อ 2022-04-20.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help) - ↑ "สตรีผู้เป็นที่รักของพระเจ้าอยู่หัว ตอน เจ้าฟ้ากุณฑล บุษบาแห่งรัชกาลที่ 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 2021-04-22.
- ↑ ๒๗๔ ประกาศเลื่อน กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ แลกรมหมื่นราชสีหวิกรม เปนกรมขุน แลทรงตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ เปนกรมขุน
- บรรณานุกรม
- จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 508 หน้า. ISBN 974-417-527-3
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 34-35. ISBN 978-974-417-594-6