ยุทธการที่เซ็กเพ็ก

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการศึกเซ็กเพ๊ก)

ยุทธการที่เซ็กเพ็ก หรือ ยุทธการที่ผาแดง (จีนตัวย่อ: 赤壁之战; จีนตัวเต็ม: 赤壁之戰; พินอิน: Chìbì zhī zhàn) เป็นยุทธนาวีในประเทศจีนที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 208-209[4] เป็นการรบในแม่น้ำแยงซีระหว่างทัพของขุนศึกที่ควบคุมอาณาเขตของจีนต่างภาคกันในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น ทัพพันธมิตรของซุนกวน เล่าปี่ และเล่ากี๋ซึ่งมีฐานที่มั่นทางฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซีได้เอาชนะทัพของโจโฉขุนศึกทางภาคเหนือที่มีกำลังมากกว่าลงได้ จากชัยชนะนี้ เล่าปี่และซุนกวนจึงป้องกันโจโฉจากการยึดครองอาณาเขตฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี ทำให้ความพยายามของโจโฉที่ต้องการจะรวมดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันออกกลับมาเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้งต้องล้มเหลว

ยุทธการที่เซ็กเพ็ก
ส่วนหนึ่งของ สงครามช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น

อักษรแกะสลักบนหน้าผาใกล้กับพื้นที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นสถานที่เกิดการรบในยุทธการที่เซ็กเพ็ก อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับนครชื่อปี้ มณฑลหูเป่ย์ อักษรแกะสลักมีอายุ 1,000 ปีเป็นอย่างน้อย และแกะเป็นอักษรจีนว่า 赤壁 (ชื่อปี้หรือเซ็กเพ็ก 'ผาแดง') เขียนจากขวาไปซ้าย
วันที่ฤดูหนาว ค.ศ. 208
สถานที่
ผล พันธมิตรซุนกวนและเล่าปี่ได้รับชัยชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม
โจโฉ
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โจโฉ
กำลัง
50,000[3]
  • 800,000
    (จากคำกล่าวอ้างของโจโฉ)[3]
  • 220,000–240,000
    (จากการประมาณการของจิวยี่)[3]
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ สูญเสียอย่างหนัก
ยุทธการที่เซ็กเพ็ก
อักษรจีนตัวเต็ม赤壁之戰
อักษรจีนตัวย่อ赤壁之战

ชัยชนะของทัพพันธมิตรที่เซ็กเพ็กทำให้เล่าปี่และซุนกวนอยู่รอดและควบคุมแม่น้ำแยงซีต่อไป และสร้างแนวชายแดนป้องกันที่ต่อมาจะกลายเป็นรากฐานของรัฐจ๊กก๊กและง่อก๊กในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220-280)[5] นักประวัติศาสตร์ได้ข้อสรุปที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการพยายามเรียงลำดับเหตุการณ์ของยุทธการที่เซ็กเพ็ก ตำแหน่งของสถานที่ที่มีการรบเกิดขึ้นก็ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง[6] โดยนักวิชาการส่วนใหญ่ถือว่าตำแหน่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครอู่ฮั่นในปัจจุบัน หรือตำแหน่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของปากิ๋วในนครเยว่หยาง มณฑลหูหนานในปัจจุบัน เป็นสถานที่ที่น่าจะเป็นไปได้ว่ามีการรบเกิดขึ้น

ภูมิหลัง

แก้

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 3 ราชวงศ์ฮั่นซึ่งมีอายุเกือบสี่ศตวรรษกำลังเสื่อมถอย พระเจ้าเหี้ยนเต้จักรพรรดิเป็นผู้นำทางการเมืองตั้งแต่ปี ค.ศ. 189 โดยไร้ซึ่งอำนาจที่จะควบคุมเหล่าขุนศึกในภูมิภาค โจโฉเป็นหนึ่งในขุนพลที่ทรงอำนาจมากที่สุด โจโฉให้จักรพรรดิประทับในนครหลวงฮูโต๋ ซึ่งทำให้โจโฉมีอำนาจควบคุมเหนือจักรพรรดิ ปี ค.ศ. 200 โจโฉเอาชนะอ้วนเสี้ยวที่เป็นอริหลักในยุทธการที่กัวต๋อ รวมภาคเหนือของจีนและได้มีอำนาจควบคุมที่ราบจีนเหนือ ในฤดูหนาว ค.ศ. 207 โจโฉยึดครองพื้นที่ทางเหนือโดยการเอาชนะชนเผ่าออหวนในยุทธการที่เป๊กลงสาน เมื่อกลับมาที่ฮูโต๋ในปี ค.ศ. 208 โจโฉได้รับการแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีตามที่โจโฉได้เสนอขึ้นมาเอง ส่งผลทำให้โจโฉสามารถควบคุมราชสำนักได้อย่างแท้จริง[7]

ยุทธการ

แก้
 
ยุทธการที่เซ็กเพ็กและการล่าถอยของโจโฉ[8] ตำแหน่งของสถานที่รบที่ทำเครื่องหมายไว้สอดคล้องกับตำแหน่งที่น่าจะเป็นไปได้ใกล้กับนครชื่อปี้[a]
 
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีอายุย้อนไปถึงช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25–220) แสดงภาพรถศึกและทหารม้า – สุสานต๋าหู่ถิง นครเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน
 
ไกหน้าไม้พร้อมจารึกที่ขุดพบที่นครชื่อปี้ – พิพิธภัณฑ์นครเสียนหนิง มณฑลหูเป่ย์

ยุทธการที่เซ็กเพ็กเริ่มต้นด้วยความพยายามของทัพโจโฉที่ยึดหัวหาดเพื่อข้ามแม่น้ำแยงซีแต่ล้มเหลว จากนั้นทั้งสองฝ่ายจึงล่าถอยไปยังที่มั่นของตนบนสองฝั่งของแม่น้ำแยงซี จากนั้นการรบทางเรือก็เริ่มต้นในแม่น้ำ โดยมีการบุกทางบกของทัพพันธมิตรของซุนกวนและเล่าปี่ร่วมด้วย ทัพพันธมิตรได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทัพโจโฉต้องล่าถอย แต่ระหว่างทางกองกำลังของโจโฉหยุดชะงักในพื้นที่ที่เป็นโคลนและล้มป่วยเป็นจำนวนมาก ในที่สุดโจโฉก็หนีมาถึงด่านฮัวหยง (華容 หฺวาหรง)[9]

ทัพผสมของซุนกวนและเล่าปี่ล่องเรือทวนน้ำจากแฮเค้า (夏口 เซี่ยโข่ว) หรือจากฮวนเค้า (樊口 ฝันโข่ว) ไปยังเซ็กเพ็ก ที่ซึ่งเผชิญหน้ากับทัพหน้าของโจโฉ กองกำลังของโจโฉต้องเผชิญหน้ากับโรคระบาดและขวัญกำลังใจตกต่ำเพราะต้องเดินทัพอย่างหนักตลอดการทัพบุกใต้ที่ยืดเยื้อ [10] ทัพโจโฉไม่สามารถชิงความได้เปรียบในการปะทะกันครั้งย่อย ๆ จึงล่าถอยไปยังฮัวหลิม (烏林 อูหลิน) ฝั่งเหนือของแม่น้ำ ส่วนทัพพันธมิตรก็ล่าถอยไปทางใต้[11]

โจโฉให้ใช้โซ่ผูกเรือเข้าด้วยกันตั้งแต่หัวจรดท้าย อาจเพื่อลดอาการเมาเรือในหมู่ทหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวภาคเหนือที่ไม่คุ้นเคยกับการอยู่บนเรือ อุยกายแม่ทัพของฝ่ายซุนกวนรู้เรื่องนี้จึงส่งหนังสือแสร้งยอมสวามิภักดิ์ต่อโจโฉและเตรียมกองเรือรบ[b] ประกอบด้วยเรือใหญ่ที่เรียกว่า เหมิงชงโตวเจี้ยน (蒙衝鬥艦) เรือเหล่านี้ถูกดัดแปลงให้เป็นเรือไฟโดยการบรรทุกด้วยฟืน ต้นอ้อแห้ง และน้ำมัน เมื่อกองเรือรบ "แปรพักตร์" ของอุยกายแล่นมาถึงกลางแม่น้ำ ทหารในเรือก็จุดไฟในเริือใหญ่ก่อนจะย้ายลงเรือเล็ก เรือไฟที่ไร้ทหารถูกพัดให้แล่นตามลมตะวันออกเฉียงใต้ พุ่งเข้าหาทัพเรือของโจโฉและเกิดเพลิงไหม้เผาทัพเรือ ทหารหลายนายและม้าหลายตัวถูกไฟคลอกตายหรือไม่ก็จมน้ำตาย[13]

หลังจากโจมตีระลอกแรก จิวยี่และพันธมิตรนำกองกำลังติดอาวุธเบาถือโอกาสนี้เข้าโจมตี ทหารภาคเหนือเกิดความสับสนวุ่นวายและถูกตีแตกพ่ายยับเยิน เมื่อโจโฉเห็นว่าสถานการณ์ไม่มีหวังจึงออกคำสั่งให้ถอยทัพ โดยให้ทำลายเรือที่เหลืออยู่จำนวนหนึ่งก่อนล่าถอย[14]

ทัพโจโฉพยายามล่าถอยไปตามเส้นทางฮัวหยง รวมถึงถนนยาวที่ผ่านหนองบึงทางเหนือของทะเลสาบต้งถิง เกิดฝนตกหนักทำให้ถนนยิ่งเดินทัพได้ยากลำบาก ทหารป่วยหลายนายต้องแบกมัดหญ้าขึ้นหลังและนำมาถมถนนเพื่อให้ทหารม้าผ่านไปได้ ทหารเหล่านี้จำนวนมากจมโคลนตายหรือถูกเหยียบตายขณะพยายามถมถนน ทัพพันธมิตรนำโดยจิวยี่และเล่าปี่ยกไล่ตามตีทั้งทางบกและทางน้ำจนถึงลำกุ๋น (南郡 หนานจฺวิ้น) การถูกตามตีรวมถึงการขาดเสบียงและโรคระบาดที่ทำให้กองกำลังที่เหลืออยู่ของโจโฉได้รับความเสียหาย จากนั้นโจโฉจึงล่าถอยไปยังฐานที่มั่นที่เงียบกุ๋น โดยให้โจหยินและซิหลงรักษากังเหลง (江陵 เจียงหลิง) งักจิ้นประจำการที่ซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) และหมันทองประจำการที่ตงหยง (當陽 ตางหยาง)[14]

การโต้กลับของทัพพันธมิตรอาจพิชิตโจโฉและทัพทั้งหมดได้ แต่การข้ามแม่น้ำแยงซีได้ถูกยกเลิกไปเพราะความวุ่นวายในทัพพันธมิตรที่มารวมตัวริมฝั่งแม่น้ำและแย่งกันขึ้นเรือข้ามฟากที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นเพื่อฟื้นคืนความมีระเบียบ กองกำลังแยกที่นำโดยกำเหลงขุนพลของซุนกวนจึงไปประจำที่หัวหาดที่อิเหลงทางเหนือ ด้านฝ่ายโจโฉมีการดำเนินการป้องกันที่แนวหลังอย่างมั่นคงโดยโจหยินที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายมากกว่านี้[15][16]

วิเคราะห์

แก้

ผลสืบเนื่อง

แก้

ตำแหน่ง

แก้

ผลสะท้อนทางวัฒนธรรม

แก้
 
ขุนพลยืนล้อมรอบโจโฉตามที่ปรากฏในเซี่ยงไฮ้จิงจฺวี้ย่วน

ผลงานที่มีชื่อเสียงบางส่วนโดยซู ตงพัว กวีสมัยราชวงศ์ซ่งพรรณาถึงการสู้รบและสภาพแวดล้อมโดยรอบ โดยขณะถูกเนรเทศไปที่หฺวางโจว (黃州; ปัจจุบันคือหฺวางกาง) เขาแต่งผลงานสามชิ้นที่มีการรวบรวมไว้อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับลวดลายเซ็กเพ็ก:[17] ฟู่ 2 แบบ และ ฉือแบบเดียว[18]

วิดีโอเกมหลายดกมใช้ฉากในสามก๊ก เช่น ชุดไดนาสตีวอริเออร์ของโคเอ, ซังโงกูชิ โคเมเด็ง, ชุดวอริเออร์โอโรจิ, Destiny of an Emperor, เค็สเซ็ง 2 และโททัลวอร์: ทรีคิงดัมส์ มีฉากยุทธการนี้ที่สามารถเล่นได้[19] ภาพยนตร์ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ใน ค.ศ. 2008[20] ที่กำกับโดยจอห์น วู ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวฮ่องกง เป็นเรื่องดัดแปลงจากประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเกี่ยวกับยุทธการนี้[21] หลังเผยแพร่ในประเทศจีน สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ ทำสถิติบอกซ์ออฟฟิศใหม่สำหรับภาพยนตร์ที่ผลิตในประเทศ[22]

หมายเหตุ

แก้
  1. 1.0 1.1 ตำแหน่งที่แน่นอนยังเป็นที่ถกเถียง ดู § ตำแหน่ง
  2. จำนวนเรือในกองเรือรบไม่แน่ชัด เดอ คริสพิกนีสังเกตว่า "ประการแรก สามก๊กจี่ระบุว่าจำนวนเรือในกองเรือรบของอุยกายคือ 'หลายสิบลำ' แต่ข้อความคู่ขนานในจือจื้อทงเจี้ยนระบุว่าอุยกายจัดสรรเรือมาเพียงสิบลำเท่านั้น"[12]

อ้างอิง

แก้
  1. de Crespigny (2007), p. 538.
  2. Farmer (2019), p. 69.
  3. 3.0 3.1 3.2 de Crespigny (2010), pp. 183–184.
  4. de Crespigny (1990), p. 264, "The engagement at the Red Cliffs took place in the winter of the 13th year of Jian'an, probably about the end of 208."
  5. de Crespigny (1990), p. 273.
  6. de Crespigny (1990), p. 256 (§n78).
  7. Sima & de Crespigny (1969), pp. 253, 465 (§n6).
  8. de Crespigny (2010), p. 267.
  9. Sima & de Crespigny (1996), pp. 398–401.
  10. de Crespigny (2003).
  11. de Crespigny (1990), p. 257.
  12. de Crespigny (1990), p. 265.
  13. Chen (c. 280), pp. 54, 1262–1263.
  14. 14.0 14.1 Chen (c. 280).
  15. Eikenberry (1994), p. 60.
  16. de Crespigny (2007), p. 239.
  17. Pease, Jonathan O. (2021). His Stubbornship: Prime Minister Wang Anshi (1021–1086), Reformer and Poet. Sinica Leidensia, vol. 153. Brill. p. 539. doi:10.1163/9789004469259_019. ISBN 978-90-04-46925-9.
  18. Tian (2018), p. 302.
  19. Lopez, Vincent (2010). "Fanning the Flames of War: Considering the Military Value of the Three Kingdoms Period in Chinese History at the Battle of Chi Bi". American Journal of Chinese Studies. American Association of Chinese Studies. 17 (2): 146. JSTOR 44288933.
  20. Lau, Dorothy Wai Sim (2018). "Filmography". Chinese Stardom in Participatory Cyberculture. Edinburgh: Edinburgh University Press. p. 198. doi:10.1515/9781474430357-012.
  21. Tian (2018), pp. 335–343.
  22. "John Woo breaks Chinese box-office record". France24. France Médias Monde. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2023.

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่ม

แก้
  • de Crespigny, Rafe. "Wei". In Dien & Knapp (2019), pp. 27–49.
  • ———. "Wu". In Dien & Knapp (2019), pp. 50–65.
  • Chang, Taiping (2014). "Yu Pu 虞溥 (fl. 280–300), zi Yunyuan 允源". ใน Knechtges, David R.; Taiping Chang (บ.ก.). Ancient and Early Medieval Chinese Literature: A Reference Guide. Part Three. Handbook of Oriental Studies, Section Four: China. Vol. 25/3. Brill. pp. 1998–1999. ISBN 978-90-04-27185-2.

Originally published as 張修桂 (2004). "Chìbì gǔ zhànchǎng lìshǐ dìlǐ yánjiū" 赤壁古战场历史地理研究. 复旦学报社會科學版 [Fudan Academic Journal of Social Sciences] (ภาษาจีน). No. 3. pp. 94–103.

29°52′11″N 113°37′13″E / 29.86972°N 113.62028°E / 29.86972; 113.62028