เล่าเปียว
เล่าเปียว (จีนตัวย่อ: 刘表; จีนตัวเต็ม: 劉表; พินอิน: Liú Biǎo; ค.ศ. 142-208) ชื่อรอง จิ่งเชิง (景升) เป็นขุนนางและขุนศึกที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการดำรงตำแหน่งเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลหูเป่ย์และหูหนานในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 192 จนกระทั่งเสียชีวิตในปี ค.ศ. 208 นอกจากนี้เขายังเป็นสมาชิกของราชวงศ์ฮั่นผ่านทางบรรพบุรุษของเขาคือ เจ้าชายหลิวอวี่ พระราชโอรสองค์ที่ 5 ของจักรพรรดิฮั่นจิง[1] เล่าเปียวถูกอธิบายว่าเป็นผู้ชายที่หล่อเหลาและสูงกว่าแปดชี่ (1.86 เมตร)[2]
เล่าเปียว (หลิว เปี่ยว) | |
---|---|
劉表 | |
![]() ภาพวาดเล่าเปียวสมัยราชวงศ์ชิง | |
เจ้ามณฑลเกงจิ๋ว (荊州牧) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 192 – ค.ศ. 208 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ขุนพลผู้พิทักษ์ทักษิณ (鎮南將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 192 – ค.ศ. 208 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว (荊州刺史) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 190 – ค.ศ. 192 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 142[1] อำเภอเกาผิง เมืองซันหยง (ปัจจุบันคือบริเวณใกล้กับอำเภอยฺหวีไถ มณฑลชานตง) |
เสียชีวิต | ค.ศ. 208 (อายุ 66 ปี)[1] ซงหยง |
คู่สมรส |
|
บุตร | |
ความสัมพันธ์ |
|
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง, ขุนศึก |
ชื่อรอง | จิ่งเชิง (景升) |
บรรดาศักดิ์ | เฉิงอู่โหฺว (成武侯) |
ชีวิต
แก้เมื่อราชวงศ์ฮั่นตะวันออกเผชิญหน้ากับกบฏโพกผ้าเหลืองในปี ค.ศ. 184 เล่าเปียวดำรงตำแหน่งเจ้ามณฑลเกงจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลหูเป่ย์และหูหนานในปัจจุบัน) ต่อมาเล่าเปียวเริ่มทำสงครามกับอ้วนสุด และซุนเกี๋ยน ซึ่งเป็นข้ารับใช้ของเขา ระหว่างยุทธการที่เซียงหยาง ซุนเกี๋ยนได้รับคำสั่งจากอ้วนสุดให้โจมตีเล่าเปียว เล่าเปียวแต่งตั้งให้หองจอบัญชาการกองกำลังต่อต้านซุนเกี๋ยน หองจอพ่ายแพ้ต่อซุนเกี๋ยนแต่ฝ่ายหลังถูกลูกธนูยิงเสียชีวิต ทำให้การสู้รบจบลงด้วยชัยชนะของกองกำลังของเล่าเปียว หลายปีต่อมา ลูกชายคนโตสองคนของซุนเกี๋ยนคือซุนเซ็กและซุนกวน ทำให้เล่าเปียวต้องพบกับปัญหาไม่จบสิ้นขณะที่พวกเขาพยายามล้างแค้นให้กับการตายของบิดา อย่างไรก็ตาม พวกเขามุ่งเป้าไปที่หองจอซึ่งเป็นขุนพลภายใต้เล่าเปียวแทนที่จะเป็นเล่าเปียว
ประมาณ ค.ศ. 200 หลังจากโจโฉได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนืออ้วนเสี้ยวในยุทธการที่กัวต๋อ เล่าเปียวยังคงเป็นกลาง แม้จะเป็นขุนศึกเพียงคนเดียวที่สามารถต่อต้านอำนาจของขุนศึกทั้งสองได้ อย่างไรก็ตาม ในที่สุดเล่าเปียวก็ตัดสินใจให้ที่พักพิงแก่เล่าปี่ ซึ่งเป็นศัตรูของโจโฉและเป็นญาติสายเลือดเดียวกัน สิ่งนี้ทำให้เล่าเปียวตกเป็นเป้าหมายความโกรธแค้นของโจโฉในขณะที่เล่าปี่ก่อกบฏต่อโจโฉก่อนที่โจโฉจะทำสงครามกับอ้วนเสี้ยว หลังจากที่โจโฉรวมจีนตอนเหนือสำเร็จในปี ค.ศ. 208 เขาก็นำกองทัพขนาดใหญ่ลงใต้เพื่อพิชิตเกงจิ๋ว ด้วยความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ระหว่างเล่าเปียวและเล่าปี่อันเป็นผลมาจากการแทรกแซงของตระกูลของชัวมอทำให้ผู้คนของเล่าเปียวต้องเผชิญกับความยากลำบาก ยิ่งไปกว่านั้น กองทัพของซุนกวนได้ชัยชนะและสังหารหองจอในยุทธการที่กังแฮและท้ายที่สุดก็ทำลายแนวป้องกันของเล่าเปียวทางตะวันออก
ไม่นานหลังจากที่กองทัพหลักของโจโฉเริ่มบุกเกงจิ๋ว เล่าเปียวก็เสียชีวิตด้วยอาการป่วย[3][4] ผู้สืบทอดของเล่าเปียวซึ่งเป็นบุตรชายคนเล็กของเขาคือเล่าจ๋อง เลือกที่จะยอมจำนนแทนที่จะต่อต้านการรุกรานของโจโฉ บุตรชายคนโตของเล่าเปียวคือเล่ากี๋ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับเล่าจ๋องได้เข้าร่วมกับเล่าปี่ที่หลบหนีซึ่งนำไปสู่ยุทธนาวีที่ผาแดง
ผลที่ตามมาของยุทธนาวีครั้งนั้นได้แบ่งเกงจิ๋วของเล่าเปียวออกเป็นสามส่วน เกงจิ๋วยังคงเป็นจุดสู้รบสำคัญตลอดปลายราชวงศ์ฮั่นและจนถึงยุคสามก๊ก เนื่องจากเป็นตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญระหว่างทั้งสามก๊ก โดยมีการต่อสู้หลายครั้งเพื่อปกครองเกงจิ๋ว
อ้างอิง
แก้- Chen, Shou (3rd century). Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
- Fan, Ye (5th century). Book of the Later Han (Houhanshu).
- Pei, Songzhi (5th century). Annotations to Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi zhu).
- Sima, Guang (1084). Zizhi Tongjian