จูล่ง (จีนตัวย่อ: 子龙; จีนตัวเต็ม: 子龍; พินอิน: Zǐlóng เสียชีวิต ค.ศ. 229)[1] มีชื่อจริงว่า เตียวหยุน (จีนตัวย่อ: 赵云; จีนตัวเต็ม: 趙雲; พินอิน: Zhào Yún) เป็นขุนพลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกและต้นยุคสามก๊ก เดิมทีเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของกองซุนจ้าน หลังจากการตายของกองซุนจ้าน จูล่งมารับใช้เล่าปี่และตั้งแต่นั้นมาก็ร่วมรบกับเขาเกือบทั้งหมด ตั้งแต่ยุทธการที่สะพานเตียงปันเกี้ยว (208) ถึง ยุทธการที่ฮันต๋ง (217-219) เขายังคงรับใช้รัฐจ๊กก๊กซึ่งก่อตั้งโดยพระเจ้าเล่าปี่ในปี ค.ศ. 221 และเข้าร่วมในการบุกขึ้นเหนือของจูกัดเหลียงครั้งแรกจนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 229 ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ในศตวรรษที่ 14 จูล่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของเล่าปี่

จูล่ง
ZhaoYun.jpg
ภาพวาดจูล่ง สมัยราชวงศ์ชิง
แม่ทัพแห่งจ๊กก๊ก
เกิดพ.ศ. 711
สถานที่เกิดเสียงสาน
ถึงแก่กรรมพ.ศ. 772 (61 ปี)
สถานที่ถึงแก่กรรมเซ็งโต๋
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม子龍
อักษรจีนตัวย่อ子龍
ชื่อรองจูล่ง
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

จูล่ง ได้รับฉายาว่าเป็น "สุภาพบุรุษจากเสียงสาน" เกิดในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 2 ประมาณปี ค.ศ. 161[2] ที่อำเภอเจินติ้ง เมืองเสียงสาน มีแซ่เตียว (จ้าว) ชื่อ หยุน (แปลว่าเมฆ) ชื่อรอง จูล่ง หรือ จื่อหลง (แปลว่าบุตรมังกร) สูงประมาณ 6 ศอก (1.89 เมตร) หน้าผากกว้างดั่งเสือ ตาโต คิ้วดก กรามใหญ่กว้างบ่งบอกถึงนิสัยซื่อสัตย์ สุภาพเรียบร้อย น้ำใจกล้าหาญ สวมเกราะสีขาว ใช้ทวนยาวเป็นอาวุธ พาหนะคู่ใจ คือ ม้าสีขาว

ประวัติแก้ไข

เตียวหยุน ชื่อรอง จูล่ง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 157 แต่บางฉบับนั้นก็บอกว่าเกิดในปี 168 ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่จะยึดแบบหลังมากกว่า เขาเกิดที่อำเภอเจินติ้ง จังหวัดเสียงสาน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อครั้งที่เขาเกิดขึ้นมานั้นมีเมฆขาวก้อนใหญ่ลอยเด่นอยู่เหนือนภาของดอยเสียงสาน บิดาจึงได้ตั้งชื่อว่า หยุน ซึ่งแปลว่าเมฆ มีเกร็ดเล่าว่าเขาเกิดในวันที่มีเมฆขาวโดดเด่น และด้วยความที่มีคำว่าเมฆอยู่ในชื่อ จึงทำให้ จูล่ง ชอบสีขาวเป็นพิเศษ โดยมักจะสวมเสื้อผ้าสีขาว แม้แต่ม้าที่ขี่ก็ยังชอบสีขาว ซึ่งในภายหลังนั้นยามที่อยู่ในสนามรบ หากมีนักรบที่สวมชุดขาวและมีขี่ม้าสีขาวอยู่หน้ากองทัพล่ะก็ เหล่าข้าศึกถึงกับพากันกลัวหัวหด เพราะเป็นที่รู้กันว่านั่นคือเอกลักษณ์ประจำตัวของแม่ทัพเตียวจูล่ง และก็กลายเป็นภาพลักษณ์ของจูล่งมานับแต่นั้น

ช่วงที่เขาเกิดมานั้นแผ่นดินเริ่มเกิดความวุ่นวายจากไฟสงครามภายในประเทศซึ่งเป็นผลมาจากความเหลวแหลกของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เหล่าเด็กหนุ่มลูกผู้ชายอย่างเขาจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการที่จะใช้ชีวิตรอด ด้วยเหตุนี้เขาจึงเริ่มฝึกฝนการขี่ม้ายิงธนู การใช้อาวุธ ทั้งทวนและดาบจนเชี่ยวชาญ นอกจากนี้เล่ากันว่าคนแซ่จ้าวส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเหล่านักรบของแคว้นจ้าวในสมัยชุนชิว ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการรบทั้งเพลงทวน และรบบนหลังม้า

เมื่อโตเป็นหนุ่มฉกรรจ์ อายุประมาณ 24-25 ปี เขาได้กลายเป็นหัวหน้าของเหล่าคนหนุ่มในอำเภอ ซึ่งมีราวร้อยกว่าคน ในช่วงนั้นเองที่เกิดกบฏโพกผ้าเหลืองลุกฮือขึ้นทั่วประเทศ ราชสำนักฮั่นไม่มีกำลังเพียงพอที่จะปราบปราม โดยเฉพาะตามหัวเมืองทั่วไป

ข้อแตกต่างระหว่างนวนิยายกับประวัติศาสตร์แก้ไข

ในจดหมายเหตุชีวประวัติจูล่งของเฉินโซ่ว ซึ่งเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สามก๊ก มีข้อแตกต่างกับเรื่องราวของจูล่งในนิยายบางจุด เช่น ในประวัติศาสตร์นั้นจูล่งไม่เคยเป็นทหารของอ้วนเสี้ยว แต่อยู่กับกองซุนจ้านมาแต่แรก และจูล่งก็เข้ามาอยู่ในกองทัพของเล่าปี่หลังจากได้พบกับเล่าปี่ครั้งแรก แต่ยังเป็นเพียงทหารชั้นผู้น้อย จูล่งช่วยเหลืออาเต๊าที่ทุ่งเตียงปันจริง แต่ไม่ได้เกิดเหตุการณ์ที่เขาช่วยแย่งอาเต๊ากลับมาจากซุนฮูหยิน[3]

จูล่งมีบุตรชาย 2 คน ซึ่งปรากฏตัวออกมาในตอนที่มาแจ้งข่าวแก่ขงเบ้งว่าจูล่งถึงแก่ความตายแล้วก็ไม่ปรากฏบทบาทใด ๆ อีก นอกจากกล่าวว่าบุตรคนโตคือเตียวต๋งได้รับตำแหน่งของจูล่งต่อมา ส่วนบุตรคนรองคือเตียวกองได้เป็นแม่ทัพคอยติดตามเกียงอุยออกศึก และไม่ได้มีการกล่าวถึงแน่ชัดว่าจูล่งมีบุตรตั้งแต่เมื่อใด อย่างไรก็ตาม ตัวละครอื่น ๆ ในสามก๊กก็แทบไม่มีบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ แม้กระทั่งเล่าปี่เอง ในจดหมายเหตุชีวประวัติชีซีก็ยังมีจุดที่แสดงว่าเล่าปี่เคยมีบุตรมาก่อนอาเต๊าหลายคน แต่นิยายไม่ได้กล่าวถึงเลย

เกี่ยวกับภรรยาของจูล่ง เหตุที่ได้รับความสนใจกันมากนอกเหนือจากเพราะบทบาทของบุตรชายทั้งสองคนซึ่งออกมาหลังจากจูล่งสิ้นแล้ว อาจเพราะมีนิยายสามก๊กในฉบับของ Zhou Dahuang ซึ่งมีชื่อว่า Fan Sanguo Yanyi (反三國演義) ซึ่งเป็นการเสริมเติมฉบับของหลอก้วนจง และแต่งให้ปรากฏบทบาทของภรรยาจูล่ง นั่นคือ ม้าหยุนลู่ (Ma Yunlu) บุตรีของม้าเท้งและเป็นน้องสาวของม้าเฉียว ซึ่งมีความเก่งกล้าสามารถในการรบไม่แพ้พ่อและพี่ชาย โดยกล่าวว่าด้วยความเก่งกล้าและห้าวหาญในการรบและขี่ม้าของเธอทำให้บิดารู้สึกกังวลว่าเธอจะไม่อาจหาสามีที่คู่ควรได้จนกระทั่งอายุ 22 ปี เธอจึงได้พบกับจูล่ง แล้วจึงแต่งงานกันโดยมีเล่าปี่เป็นพยานและขงเบ้งกับหวดเจ้งเป็นพ่อสื่อให้ จากนั้นเธอก็ช่วยเหลือสามีทำงานรับใช้เล่าปี่และจ๊กก๊กอย่างเต็มกำลัง[4]

สำหรับตำแหน่งทางทหาร ในบันทึกประวัติศาสตร์ระบุว่าจูล่งมีตำแหน่งทางทหารต่ำสุดในบรรดา ห้าขุนพลทหารเสือของจ๊กก๊ก ซึ่งเป็นการยกย่องให้เกียรติอย่างสูง ได้แก่ กวนอู เตียวหุย ม้าเฉียว ฮองตง จูล่ง

แต่เฉินโซ่ว ผู้บันทึกจดหมายเหตุสามก๊ก ได้ให้การยกย่องจูล่งและฮองตงไว้สูงสุด เหนือกว่ากวนอู เตียวหุย และม้าเฉียว โดยวิจารณ์ไว้ในท้ายชีวประวัติของทั้งห้าคนซึ่งรวมไว้ในบรรพเดียวกัน โดยชี้ว่า ขุนพลทั้งห้ามีความโดดเด่น เปี่ยมด้วยความสามารถและชื่อเสียงอันเกรียงไกร แต่ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ดังนี้

"กวนอูและเตียวหุยมีความห้าวหาญ มุทะลุ ทรงพลัง เป็นที่หวาดเกรงของทหารข้าศึก และเป็นที่เลื่องลือว่าพวกเขาทั้งสองสามารถสู้ศึกได้นับหมื่น แต่อย่างไรเสีย กวนอูนั้นมีความแข็งกร้าวและหยิ่งทระนงในตัวเองมากเกินไป ส่วนเตียวหุยนั้นใจร้อนและปราศความเมตตาปราณี ผลสุดท้ายพวกเขาจึงต้องพบจุดจบ ส่วนม้าเฉียวนั้นโดนวิจารณ์อย่างหนักหน่วงว่าได้ทรยศต่อญาติพี่น้องและเผ่าพันธุ์ของตนเอง อีกทั้งยังปราศจากซึ่งความกล้าหาญโดยแท้จริง"

"สำหรับจูล่งและฮองตงนั้น บุคคลทั้งสองเปี่ยมด้วยความกล้าหาญและซื่อสัตย์ภักดี เป็นยอดนักรบผู้เปรียบประดุจเขี้ยวเล็บและฟันของสัตว์ร้าย พวกเขาทั้งสองจึงสมควรที่จะเปรียบเทียบได้กับขุนพลยุคโบราณที่ยิ่งใหญ่อย่างกวนหยินและแฮหัวหยินได้มิใช่หรอกหรือ"[5]

จูล่งยังควบตำแหน่งองครักษ์ของเล่าเสี้ยนด้วย โดยตำแหน่งทางทหารของจูล่งหลังจากได้รับการยกย่องเป็นห้าทหารเสือคือ General Guardian of Distant (นายพลผู้พิทักษ์ดินแดน) ภายหลังจากขงเบ้งยกทัพบุกภาคเหนือ ตำแหน่งของจูล่งขณะนั้นและเป็นตำแหน่งสูงสุดขณะมีชีวิตคือ Marquis of Shunping และได้เลื่อนยศขึ้นอีกหลังจากสิ้นไปแล้ว เป็น Lord of Shunping[6] แล้วยังมีบันทึกเพิ่มเติมว่า ในระหว่างเล่าปี่มีชีวิตอยู่มีเพียงหวดเจ้งคนเดียวเท่านั้นที่ได้รับการอวยยศย้อนหลัง ส่วนจูล่งกว่าจะได้รับการอวยยศก็คือปี ค.ศ.261 ส่วนในนิยายได้กล่าวว่าเล่าเสี้ยนอวยยศย้อนหลังให้หลังจากจูล่งสิ้นในปีนั้น[7]

ในจดหมายเหตุสามก๊ก ระบุว่าในปีเจียนอันที่ 24 หลังจากเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็น ฮั่นจงอ๋อง แล้วก็ตั้ง กวนอูเป็นแม่ทัพหน้า เตียวหุยเป็นแม่ทัพขวา ม้าเฉียวเป็นแม่ทัพซ้าย และฮองตงเป็นแม่ทัพหลัง ไม่ปรากฏชื่อของจูล่งเลย ภายหลังเมื่อมีการอวยยศย้อนหลังนั้น เล่าเสี้ยนอวยยศย้อนหลังให้เพียง กวนอู เตียวหุย ม้าเฉียวและฮองตงเท่านั้น จนกระทั่งเกียงอุยเข้ามาทักท้วงว่าจูล่งมีผลงานมากมายรวมถึงช่วยเล่าเสี้ยนตอนเป็นทารกออกมาจากกองทัพโจโฉ จึงควรอวยยศย้อนหลังให้จูล่งด้วย เล่าเสี้ยนจึงได้อวยยศย้อนหลังให้จูล่งด้วย[7]

รายชื่อบุคคลที่ถูกสังหารโดยจูล่งแก้ไข

การกล่าวถึงในสื่อแก้ไข

ภาพยนตร์แก้ไข

  • จูล่งเป็นตัวละครที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของจีน สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร กำกับโดย แดเนียล ลี และ สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ กำกับโดยจอห์น วู
  • จูล่งเป็นตัวละครเอกในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก ขุนศึกเลือดมังกร รับบทแสดงนำโดยหลิวเต๋อหัว ในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของจูล่งตั้งแต่สมัครเป็นทหารจนถึงศึกครั้งสุดท้ายกับวุยก๊ก แต่เนื่องจากภาพยนตร์ได้ดัดแปลงเรื่องราวของจูล่งไปอย่างมากจนผิดเพี้ยนไปทั้งจากมากในนิยายและในประวัติศาสตร์ ทำให้ถูกวิจารณ์กันมาก แต่ก็ถือว่าเป็นภาพยนตร์สามก๊กเรื่องแรกที่นำจูล่งมาเป็นตัวเอกของเรื่อง
  • ในภาพยนตร์เรื่อง สามก๊ก โจโฉแตกทัพเรือ จูล่งรับบทฮูจุน โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้ จูล่งปรากฏตัวครั้งแรกในศึกทุ่งเตียงปันเกี้ยว โดยเป็นผู้ช่วยนำพาอาเต๊าบุตรของเล่าปี่ฝ่าทัพของโจโฉ และได้มีบทบาทในการรบอีกหลายครั้ง ในสงครามระหว่างฝ่ายโจโฉและฝ่ายพันธมิตรเล่าปี่ซุนกวน ทั้งสงครามภาคพื้นดินและสงครามประชิดค่ายโจโฉ

ละครโทรทัศน์แก้ไข

การ์ตูนแก้ไข

วิดีโอเกมแก้ไข

  • จูล่งเป็นตัวละครแบบบังคับได้ในเกมซีรีส์ Dynasty Warriors
  • จูล่งเป็นนายทหารในเกมซีรีส์ Romance of the Three Kingdoms
  • จูล่งเป็นต้นแบบตัวละครในเกม League of Legends คือ Xin Zhao และมีสกิน Warring Kingdoms ที่อ้างอิงจากจูล่ง
  • จูล่งเป็นตัวละครในเกม OMG SAMKOK 2
  • จูล่งเป็นนายทหารในเกมซีรีส์ Total war Three kingdoms
  • จูล่งเป็นตัวละครในเกม Mobile Legends: Bang Bang

อ้างอิงแก้ไข

  1. de Crespigny (2007), p. 1114.
  2. Rafe de Crespigny. (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to tht Three Kingdoms (23-220AD). Leiden-Boston: Brill.p1114-1115
  3. Jame Peirce. San Guo Zhi Officer Biography: Zhao Yun (Zilong). http://kongming.net/novel/sgz/zhaoyun.php.
  4. ยศไกร ส. ตันสกุล, จดหมายเหตุสามก๊ก ฉบับเฉินโซ่ว, กรุงเทพฯ : ปราชญ์, 2556
  5. ยศไกร ส.ตันสกุล. จดหมายเหตุสามก๊ก ตอน ยอดขุนพลจ๊กก๊ก, กรุงเทพฯ: ปราชญ์, 2558
  6. ยาขอบ (โชติ แพร่พันธุ์). สามก๊กฉบับวณิพก: จูล่ง-สุภาพบุรุษจากเสียงสาน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพ: ดอกหญ้า, 2543. หน้า 1, 8
  7. 7.0 7.1 ยศไกร ส.ตันสกุล. สารพันคำถาม เรื่องจริงหรือเสริมแต่งใน จดหมายเหตุสามก๊ก ฉบับเฉินโซ่ว, กรุงเทพฯ: สยามความรู้, 2560
  8. "สวยหรูในชุดจีน "ยุนอา" ในบทเมีย "จูล่ง"". ผู้จัดการออนไลน์. 24 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-25. สืบค้นเมื่อ 1 August 2015.

ดูเพิ่มแก้ไข