กำฮูหยิน (เสียชีวิตราวปี ค.ศ. 210)[1] มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า กานฟูเหยิน (จีน: 甘夫人; พินอิน: Gān Fūrén; เวด-ไจลส์: Kan Fu-jen) เป็นภรรยานอกสมรสของเล่าปี่[2] จักรพรรดิและผู้สถาปนาจ๊กก๊กในยุคสามก๊กและพระราชมารดาของจักรพรรดิเล่าเสี้ยน นางได้รับพระราชสมัญญานามภายหลังมรกรรมว่า หวงซือฮูหยิน ซึ่งหมายความว่า "ฮูหยินที่พระจักรพรรดิทรงรำลึกถึง" โดยเล่าปี่  จากนั้นภายหลังจากที่พระองค์ทรงสวรรคต นางได้รับพระราชสมัญญานามว่า เจาเหลียฮองเฮา โดยพระราชโอรสของพระนางเพื่อให้ตรงกับพระราชสมัญญาหลังมรณกรรมของพระราชบิดา

กำฮูหยิน
ภาพวาดสมัยราชวงศ์ชิงของกำฮูหยิน
ภรรยาหลวงของเล่าปี่
เกิดไม่ปรากฏ
สถานที่เกิดเมืองไพก๊ก
(ปัจจุบันคืออำเภอเพ่ย์ มณฑลเจียงซู)
ถึงแก่กรรมราวปี ค.ศ. 210 [1]
สถานที่ถึงแก่กรรมเมืองกองอั๋น
(ปัจจุบันคืออำเภอกงอาน มณฑลหูเป่ย์)
สามีเล่าปี่
บุตรชายเล่าเสี้ยน
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม甘夫人
อักษรจีนตัวย่อ甘夫人
สมัญญานามหวงซือฮูหยิน (皇思夫人)
เจาเหลียฮองเฮา (昭烈皇后)
ยุคในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก

ชีวประวัติ

แก้

กำฮูหยินเกิดในตระกูลสามัญชนในเมืองไพก๊ก (沛 เพ่ย์ ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเพ่ย์ ในมณฑลเจียงซู) แม้ว่าหมอดูจะทำนายอนาคตสดใสที่รอนางอยู่[3] เมื่อกำฮูหยินได้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ รูปร่างหน้าตาของนางก็ดูโดดเด่น และเมื่อถึงเวลาที่นางมีอายุสิบแปดปี นางก็เติบโตเป็นสาวงามที่งดงามและชวนน่าหลงใหล เธอมีร่างกายที่ผิวพรรณงามและนุ่มลื่น เมื่อเล่าปี่ได้มาเยือนที่ซูโจว เขาได้พำนักที่เมืองเสียวพ่าย (小沛 เสี่ยวเพ่ย์ ปัจจุบันอยู่ในอำเภอเพ่ย์ ในมณฑลเจียงซู) เล่าปี่ได้พบกับกำฮูหยินและรับนางเป็นภรรยานอกสมรส เมื่อใดก็ตามที่เล่าปี่เรียกนางเข้ามาภายในม่านผ้าไหม นางจะมองไปที่ใครก็ตามที่จ้องมองเธอจะนอกหน้าต่างราวกับนางเปรียบเสมือยหิมะที่โปรยปรายอยู่ใต้ดวงจันทร์[4][5]

เล่าปี่มีรูปปั้นหยกสูงประมาณสามฟุตที่เก็บเอาไว้ในตำหนักของกำฮูหยิน เขามีชื่อเสียงโด่งดังว่าใช้เวลาทั้งวันไปกับการวางแผนกลยุทธ์ทางทหาร กลับไปที่ตำหนักในเวลาตอนกลางคืน ว่ากันว่าร่างกายของกำฮูหยินนั้นขาวผ่องและมันเงารววกับรูปปั้นหยก และเป็นการยากที่จะแยกแยะความแตกต่างออกจากกัน เมื่อตระหนักว่าอนุภรรยาคนอื่น ๆ ของเล่าปี่ต่างอิจฉานางและรูปปั้นหยกอย่างมาก กำฮูหยินจึงเตือนสติเล่าปี่อย่างสุขุมที่ทะนุถนอมสิ่งเล็กสิ่งน้อยที่มีเสน่ห์ โดยบอกเขาว่า ความหลงใหลย่อมก่อให้เกิดข้อกังขา เขาได้ฟังคำเตือนของนางและกำจัดรูปปั้นหยกนั้นทิ้งไป[6]

เนื่องจากเล่าปี่สูญเสียภรรยาไปหลายคนในช่วงเวลานี้ กำฮูหยินจึงมีหน้าที่ดูแลการงานในครอบครัว หลายครั้ง นางถูกศัตรูของเล่าปี่จับตัวไปแต่นางหนีรอดออกมาได้จากประสบการณ์โดบไม่เป็นอันตราย และนางประสบความสำเร็จในการทำให้ครอบครัวของเขาอยู่ด้วยกันผ่านพ้นวิกฤตดังกล่าว เนื่องจากบทบาทนำของเธอในครัวเรือน การตีความผิดที่พบบ่อยคือนางเป็นภรรยาคนแรกของเล่าปี่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขาจะชื่นชอบและเชื่อใจนาง แต่เล่าปี่ไม่เคยสมรสกับนางในฐานะภรรยาอย่างเป็นทางการ อาจจะเป็นเพราะว่าเขาต้องการภรรยาที่เป็นทางการซึ่งจะทำให้เขาได้เปรียบทางการเมือง ภรรยาที่รู้จักกันสามคนของเล่าปี่ล้วนมาจากกลุ่มที่มีอำนาจในภูมิภาคที่เขาอยู่: บิฮูหยินในซูโจว ซุนฮูหยินในง่อก๊ก และจักรพรรดินีมู่ในอี้โจว[2][7]

นางติดตามเล่าปี่ไปที่มณฑลเกงจิ๋ว(จิงโจว)ในเวลาต่อมา ที่ซึ่งนางได้ให้กำเนิดเล่าเสี้ยน ในช่วงศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว เล่าปี่ถูกบีบบังคับให้ละทิ้งนางและเล่าเสี้ยน แต่นางและบุตรชายได้รับการช่วยเหลือจากจูล่งทำให้รอดชีวิตมาได้ ภายหลังกำฮูหยินถึงแก่กรรม ศพของนางได้ถูกฝังไว้ที่เมืองลำกุ๋น (南郡 หนานจวิ้น ปัจจุบันอยู่ในเมืองจิงโจว มณฑลหูเป่ย์) การตายของนางอาจเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เล่าปี่และซุนฮูหยินได้แต่งงานกัน เนื่องจากเล่าปี่ไม่มีใครดูแลบ้านเรือนหรือบุตรชายของเขาอีกต่อไป[8]

พระราชสมัญญาหลังมรณกรรม

แก้

ใน ค.ศ. 221 ภายหลังเล่าปี่สถาปนาจ๊กก๊กและกลายเป็นจักรพรรดิองค์แรก พระองค์ได้มอบพระสมัญญาภายหลังมรณกรรมแก่กำฮูหยินว่า หวงซือฮูหยิน ซึ่งหมายความว่า "ฮูหยินที่พระจักรพรรดิทรงรำลึกถึง" ศพของกำฮูหยินถูกขุดขึ้นจากเมืองลำกุ๋นเพื่อฝังใหม่ในดินแดนจ๊กก๊ก (ครอบคลุมมณฑลเสฉวนและฉงชิ่งในปัจจุบัน) แต่เล่าปี่สวรรคตก่อนที่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์[9]

ต่อมา ภายหลังจากเล่าเสี้ยนได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากเล่าปี่ ผู้เป็นพระราชบิดาในฐานะจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊ก จูกัดเหลียง อัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กได้เขียนอนุสรณ์รำลึกถึงเล่าเสี้ยน โดยแนะนำให้กำฮูหยินได้รับพระเกียรติและฝังพร้อมกับเล่าปี่ เล่าเสี้ยนได้จำยอมและมอบพระสมัญญาภายหลังมรณกรรมแก่พระราชมารดาในฐานะ "เจาเหลียฮองเฮา" เพื่อให้ตรงกับกับพระสมัญญาภายหลังมรณกรรมของพระราชบิดาว่า "เจาเลี่ยหฺวางตี้"[10]

ในวรรณกรรมสามก๊ก

แก้

กำฮูหยินปรากฏตัวครั้งแรกในบทที่ 15 ของวรรณกรรมสามก๊กร่วมกับบิฮูหยิน ภรรยาอีกคนของเล่าปี่ ทั้งสองคนได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีจากลิโป้ซึ่งพยายามรักษาความเป็นพันธมิตรกับสามี พวกเขายังถูกใช้เป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อให้แน่ใจได้แล้วว่า กวนอูจะภักดีต่อโจโฉ กำฮูหยินได้เร่งเร้าน้องชายสามีของนางหนีไปเมื่อได้ยินข่าวว่าเล่าปี่อยู่ที่ไหน เธอยังให้คำแนะนำมากมายแก่เขาในระหว่างการเดินทาง แม้แต่กระทั่งได้ช่วยเกลี้ยกล่อมเตียวหุยที่กำลังเข้าใจผิดว่า ความผูกผันระหว่างพี่รอง(กวนอู)กับโจโฉคือการทรยศหักหลัง

ภายหลังจากที่ได้พบกับสามีอีกครั้ง กำฮูหยินก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่งนามว่า เล่าเสี้ยน ในคืนวันที่ประสูติได้มีนกกระเรียนขาวตัวหนึ่งร่อนลงบนยาเมน(ที่อยู่อาศัยของขุนนางจีน) ร้องเพลงประมาณ 40 โน้ต (จำนวนปีที่พระราชโอรสของพระองค์จะขึ้นครองราชย์) และบินไปยังตะวันตก (สถานที่ที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์) ระหว่างการคลอดก็ได้มีกลิ่นหอมที่ไม่เป็นที่รู้จักอบอวลไปทั่วห้อง  ครั้งหนึ่งกำฮูหยินได้ฝันว่า นางได้กลืนดวงดาวจระเข้และตั้งครรภ์ ด้วยเหตุนี้พระโอรสจึงมีพระนามว่า "อาเต๊า" เธอเป็นหนึ่งในคนที่จูล่งช่วยชีวิต เมื่อเกิดศึกสะพานเตียงปันเกี้ยว การตายของนางในบทที่ 54 เป็นแรงบันดาลใจให้จิวยี่วางกับดักล่อเล่าปี่ให้มาที่ง่อก๊กโดยจัดการแต่งงานระหว่างเขาและซุนฮูหยิน[11]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Brill. p. 238. ISBN 978-90-04-15605-0.
  2. 2.0 2.1 de Crespigny (2007), p. 237.
  3. (先主甘皇后,沛人也。) Sanguozhi vol. 34.
  4. (先主甘后,沛人也,生於微賤。裡中相者云:「此女後貴,位極宮掖。」及后長,而体貌特異,至十八,玉質柔肌,態媚容冶。先主召入綃帳中,於戶外望者,如月下聚雪。) Shi Yi Ji vol. 8.
  5. (先主臨豫州,住小沛,納以為妾。先主數喪嫡室,常攝內事。) Sanguozhi vol. 34.
  6. (河南献玉人,高三尺,乃取玉人置后側,昼則講說軍謀,夕則擁后而玩玉人。常称玉之所貴,德比君子,况為人形,而不可玩乎?后與玉人潔白齊潤,覌者殆相乱惑。嬖寵者非惟嫉於甘后,亦妒於玉人也。后常欲琢毀坏之,乃誡先主曰:「昔子罕不以玉為宝,《春秋》美之;今吳、魏未滅,安以妖玩經怀。凡淫惑生疑,勿復進焉!」先主乃撤玉人,嬖者皆退。當斯之時,君子議以甘后為神智婦人焉。) Shi Yi Ji vol. 8.
  7. (隨先主於荊州,產後主。) Sanguozhi vol. 34.
  8. (值曹公軍至,追及先主於當陽長阪,於時困偪,棄後及後主,賴趙雲保護,得免於難。後卒,葬於南郡。) Sanguozhi vol. 34.
  9. (章武二年,追諡皇思夫人,遷葬於蜀,未至而先主殂隕。) Sanguozhi vol. 34.
  10. (丞相亮上言:「皇思夫人履行脩仁,淑慎其身。大行皇帝昔在上將,嬪妃作合,載育聖躬,大命不融。大行皇帝存時,篤義垂恩,念皇思夫人神柩在遠飄颻,特遣使者奉迎。會大行皇帝崩,今皇思夫人神柩以到,又梓宮在道,園陵將成,安厝有期。臣輒與太常臣賴恭等議:禮記曰:『立愛自親始,教民孝也;立敬自長始,教民順也。』不忘其親,所由生也。春秋之義,母以子貴。昔高皇帝追尊太上昭靈夫人為昭靈皇后,孝和皇帝改葬其母梁貴人,尊號曰恭懷皇后,孝愍皇帝亦改葬其母王夫人,尊號曰靈懷皇后。今皇思夫人宜有尊號,以慰寒泉之思,輒與恭等案諡法,宜曰昭烈皇后。詩曰:『谷則異室,死則同穴。』禮云:上古無合葬,中古後因時方有。故昭烈皇后宜與大行皇帝合葬,臣請太尉告宗廟,布露天下,具禮儀別奏。」制曰可。) Sanguozhi vol. 34.
  11. Romance of the Three Kingdoms

ดูเพิ่ม

แก้