สามก๊ก (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2537)

สามก๊ก (จีนตัวย่อ: 三国演义; จีนตัวเต็ม: 三國演義; พินอิน: Sānguó Yǎnyì) เป็นละครโทรทัศน์จีนดัดแปลงจากนวนิยายคลาสสิกในชื่อเดียวกันโดยล่อกวนตง ผลิตโดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (ซีซีทีวี) ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 จำนวน 84 ตอน ความยาวประมาณตอนละ 45 นาที เป็นหนึ่งในละครโทรทัศน์ที่มีทุนสร้างสูงที่สุดในเวลานั้น ใช้เวลาถ่ายทำมากกว่า 4 ปี โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 มีทีมงานและนักแสดงรวมกันมากกว่า 400,000 คน รวมถึงทหารจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนในกองทัพภาคปักกิ่ง, หนานจิงและเฉิงตู บทสนทนาบางส่วนที่พูดโดยตัวละครถูกดัดแปลงจากนวนิยายโดยตรง มีฉากแสดงการสู้รบขนาดใหญ่ เช่น ยุทธการที่กัวต๋อ, ผาแดงและอิเหลง เมื่อออกอากาศในจีน สามารถทำเรตติ้งในจีนได้ 47%

สามก๊ก
ปกดีวีดี
จีนตัวเต็ม三國演義
จีนตัวย่อ三国演义
จีนกลางSān Guó Yǎn Yì
ประเภทละครอิงประวัติศาสตร์
เค้าโครงจากสามก๊ก
โดย ล่อกวนตง
บทโดยตู้ เจียฝู
หลี่ อีปัวLi Yibo
โจว ไข่
จู เสี่ยวผิง
เย่อ ชื่อเชิง
หลิว ชู่เชิง
กำกับโดยหวัง ฟูหลิน
จาง เช่าหลิน
Shen Haofang
ซุน กวั่งหมิง
จาง จงอี
ไช่ เสี่ยวฉิง
แสดงนำซุน ยั่นจุน
ถัง กั๋วเฉียง
เป้า กั๋วอัน
อู๋ เสี่ยวตง
ลู่ ชู่หมิง
หลี่ จิ้งเฟย
หง อวี่โจ้ว
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องGu Jianfen
ดนตรีแก่นเรื่องเปิดGungun Changjiang Dongshishui (滚滚长江东逝水) ขับร้องโดย Yang Hongji
ดนตรีแก่นเรื่องปิดLishi De Tiankong (历史的天空) ขับร้องโดย Mao Amin
ผู้ประพันธ์เพลงGu Jianfen
Li Yiding
Wang Xian
ประเทศแหล่งกำเนิดจีน
ภาษาต้นฉบับจีนกลาง
จำนวนตอน84
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตYou Shijun
Zhang Guangqian
Shan Yusheng
Zhang Jizhong
Hao Heming
ผู้อำนวยการสร้างWang Feng
Ren Dahui
Dai Linfeng
Yang Weiguang
Zhang Tianmin
Yu Changhua
Zhou Ming
Liu Jinru
สถานที่ถ่ายทำเหอเป่ย์
มองโกเลียใน
เสฉวน
หนิงเซี่ย
กานซู่
ชิงไห่
ธิเบต
เจียงซู
หูเป่ย์
ยูนนาน
ผู้กำกับภาพChen Jun
Wang Dianchen
Liu Shuliang
Bi Fujian
Zhang Shaolin
Zhao Xinchang
Gu Qiming
ความยาวตอน45 นาทีต่อตอน
บริษัทผู้ผลิตซีซีทีวี
ออกอากาศ
เครือข่ายซีซีทีวี

เนื้อเรื่องย่อ

แก้

รายชื่อตอน

แก้

ละครโทรทัศน์แบ่งออกเป็นห้าภาค โดยแต่ละภาคมีผู้อำนวยการสร้างและผู้กำกับที่แตกต่างกัน

ภาคหนึ่ง

แก้
  • ชื่อ: ภาคหนึ่ง: เหล่าวีรบุรุษแย่งชิงอำนาจ (第一部:群雄逐鹿)
  • หัวหน้าผู้อำนวยการสร้าง: ยู ฉีจุย
  • ผู้กำกับ: เชง เห่าฟาง, ไช่ เสี่ยวฉิง
  • ตัวละครหลัก: เล่าปี่, กวนอู, เตียวหุย
# ชื่อภาษาไทย[a] ชื่อดั้งเดิม (ภาษาจีน) คำแปลจากชื่อภาษาจีน
1 สามวีรบุรุษสาบานในสวนท้อ 桃园三结义 สามสาบานเป็นพี่น้องในสวนท้อ
2 ศึกสิบขันที 十常侍乱政 สิบเสียงสี (สือฉางชื่อ) ก่อความวุ่นวายทางการเมือง
3 ตั๋งโต๊ะครองเมือง 董卓霸京师 ตั๋งโต๊ะ (ต่ง จั๋ว) ยึดครองนครหลวง
4 โจโฉมอบดาบ 孟德献刀 เมิ่งเต๋อ (ชื่อรองของโจโฉ) มอบดาบ
5 สามวีรบุรุษรบลิโป้ 三英战吕布 สามผู้กล้ารบลิโป้
6 อุบายห่วงสัมพันธ์ 连环计 กลห่วงโซ่
7 ศึกชิงนาง 凤仪亭 ศาลาเฟิ่งอี๋ (ศาลาหงส์พิธี)
8 เล่าปี่ครองซีจิ๋ว 三让徐州 มอบชีจิ๋ว (สฺวีโจว) สามครั้ง
9 ซุนเซ็กคิดการใหญ่ 孙策立业 ซุนเซ็ก (ซุน เช่อ) ก่อการใหญ่
10 ลิโป้เสี่ยงทายเกาทัณฑ์ 辕门射戟 ยิงเกาทัณฑ์ที่ประตูค่าย
11 ศึกเมืองอ้วนเซีย 宛城之战 ยุทธการที่อ้วนเซีย (หวั่นเฉิง)
12 ยุทธการปราบลิโป้ 白门楼 (上) เบ๊กบุนเหลา (ไป๋เหมินโหลว - หอประตูขาว) (ตอนต้น)
13 อวสานลิโป้ 白门楼 (下) เบ๊กบุนเหลา (ตอนปลาย)
14 โจโฉเล่าปี่วิจารณ์วีรบุรุษ 煮酒论英雄 ต้มสุราถกเรื่องผู้กล้า
15 อ้วนเสี้ยวเคลื่อนพล 袁曹起兵 อ้วน (ยฺเหวียน) โจ (เฉา) เคลื่อนพล
16 กวนอูทำสัญญาสามข้อ 关羽约三事 กวนอู (กวัน ยฺหวี) ทำข้อตกลงสามข้อ
17 กวนอูคืนตราตั้ง 挂印封金 แขวนตราตั้ง ผนึกเงินทอง
18 บุกเดี่ยวพันลี้ 千里走单骑 โผนม้าลำพังพันลี้
19 พี่น้องพร้อมหน้า 古城相会 พบกันที่เก๋าเซีย (กู่เฉิง)
20 ซุนเซ็กสิ้นชีพ 孙策之死 การเสียชีวิตของซุนเซ็ก
21 ยุทธการกัวต๋อ 官渡之战 (上) ยุทธการที่กัวต๋อ (กวันตู้) (ตอนต้น)
22 อ้วนเสี้ยวแตกทัพ 官渡之战 (下) ยุทธการที่กัวต๋อ (ตอนปลาย)
23 อวสานอ้วนเสี้ยว 大破袁绍 อ้วนเสี้ยว (ยฺเหวียน เช่า) แตกพ่ายยับเยิน

ภาคสอง

แก้
  • ชื่อ: ภาคสอง: ยุทธการที่ผาแดง (第二部:赤壁鏖战)
  • หัวหน้าผู้อำนวยการสร้าง: จัง กวงเจียน
  • ผู้กำกับ: ไช่ เสี่ยวฉิง
  • ตัวละครหลัก: จูกัดเหลียง (ขงเบ้ง), โจโฉ, จิวยี่
# ชื่อภาษาไทย[a] ชื่อดั้งเดิม (ภาษาจีน) คำแปลจากชื่อภาษาจีน
24 โผนม้าหนีภัย 跃马檀溪 โจนม้าข้ามตันเข (ถันซี)
25 เล่าปี่แสวงปราชญ์ 刘备求贤 เล่าปี่ (หลิว เป้ย์) หาผู้มีความสามารถ
26 ชีซีเสนอตัวขงเบ้ง 回马荐诸葛 กลับม้ามาแนะนำจูกัด (จูเก่อ)
27 ยุทธศาสตร์สามก๊ก 三顾茅庐 สามเยี่ยมกระท่อมหญ้า
28 เผาทัพแฮหัวตุ้น 火烧博望坡 ไฟเผาเนินพกบ๋อง (ปั๋ววั่ง)
29 อพยพข้ามน้ำ 携民渡江 นำราษฎรข้ามแม่น้ำ
30 สงครามลิ้น 舌战群儒 โต้วาทะกับเหล่าบัณฑิต
31 ยั่วจิวยี่ให้รบ 智激周瑜 ปัญญายั่วยุจิวยี่ (โจว ยฺหวี)
32 จิวยี่ลวงฆ่าเล่าปี่ 周瑜空设计 แผนของจิวยี่สูญเสียเปล่า
33 งานเลี้ยงชุมนุมวีรชน 群英会 งานชุมนุมเหล่าผู้กล้า
34 ขงเบ้งยืมลูกเกาทัณฑ์ 草船借箭 เรือฟางยืมเกาทัณฑ์
35 อุบายเจ็บกาย 苦肉计 แผนเจ็บกาย
36 บังทองวางกลห่วงโซ่ 庞统献连环 บังทอง (ผัง ถ่ง) เสนอห่วงโซ่
37 โจโฉลำพอง 横槊赋诗 ชูทวนร่ายลำนำ
38 ขงเบ้งเรียกลม 诸葛祭风 จูกัดทำพิธีเรียกลม
39 เผาทัพโจโฉ 火烧赤壁 ไฟเผาเซ็กเพ็ก (ชื่อปี้ - ผาแดง)
40 อุบายยึดลำกุ๋น 智取南郡 ใช้ปัญญาชิงลำกุ๋น (หนานจวิ้น)
41 เล่าปี่ขยายอำนาจ 力夺四郡 เคลื่อนทัพยึดสี่เมือง
42 อุบายนางงาม 美人计 แผนคนงาม
43 ดูตัวว่าที่บุตรเขย 甘露寺 วัดกำลอ (กันลู่)
44 หนีกลับเกงจิ๋ว 回荆州 กลับเกงจิ๋ว (จิงโจว)
45 จิวยี่กระอักเลือด 三气周瑜 จิวยี่โกรธเป็นครั้งที่สาม
46 ขงเบ้งไว้อาลัยจิวยี่ 卧龙吊孝 ฮกหลง (วั่วหลง - มังกงซุ่ม) เยี่ยมไว้อาลัย
47 โจโฉตัดหนวดหนีตาย 割须弃袍 ตัดเคราทิ้งเสื้อตลุม

ภาคสาม

แก้
  • ชื่อ: ภาคสาม: ก่อตั้งสามก๊ก (第三部:三国鼎立)
  • หัวหน้าผู้อำนวยการสร้าง: ชาน ยูฉาง
  • ผู้กำกับ: ซุน กวั่งหมิง
  • ตัวละครหลัก: โจโฉ, เล่าปี่, ซุนกวน
# ชื่อภาษาไทย[a] ชื่อดั้งเดิม (ภาษาจีน) คำแปลจากชื่อภาษาจีน
48 เตียวสงมอบแผนที่ 张松献图 เตียวสง (จาง ซง) เสนอแผนที่
49 เล่าปี่เข้าเสฉวน 刘备入川 เล่าปีเข้าฉวน (ชฺวัน)
50 บังทองสิ้นบุญ 凤雏落坡 ฮองซู (เฟิ่งฉู - ลูกหงส์) ร่วงที่เนิน
51 เตียวหุยรบเงียมหงัน 义释严颜 ปล่อยเงียมหงัน (เหยียน เหยียน) ด้วยคุณธรรม
52 ยึดได้เสฉวน 夺战西川 ทำศึกยึดเสฉวน (ซีชฺวัน)
53 กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟาก 单刀赴会 พกง้าวเดียวไปพบปะ
54 ยุทธการหับป๋า 合肥会战 ยุทธการที่หับป๋า (เหอเฝย์)
55 ชิงตำแหน่งรัชทายาท 立嗣之争 การแข่งเพื่อขึ้นเป็นทายาท
56 ยุทธการที่เขาเตงกุนสัน 定军山 เขาเตงกุนสัน (ติ้งจวินชาน)
57 เล่าปี่ยึดฮันต๋ง 巧取汉中 ชิงฮันต๋ง (ฮั่นจง) ด้วยความสามารถ
58 น้ำทำลายทัพ 水淹七军 น้ำท่วมเจ็ดทัพ
59 กวนอูสิ้นบุญ 走麦城 ไปเป๊กเสีย (ไม่เฉิง)
60 อวสานโจโฉ 曹操之死 การเสียชีวิตของโจโฉ (เฉา เชา)
61 โจผีชิงราชบัลลังก์ 曹丕篡汉 โจผี (เฉา พี) ล้มล้างฮั่น
62 ยกทัพล้างแค้นกวนอู 兴兵伐吴 ส่งทัพโจมตีง่อ (อู๋)
63 ลกซุนเผาค่ายเล่าปี่ 火烧连营 ไฟเผาค่ายต่อเนื่อง
64 ฟื้นสัมพันธไมตรี 安居平五路 รับมือสยบห้าสาย

ภาคสี่

แก้
  • ชื่อ: ภาคสี่: ล่องใต้บุกเหนือ (第四部:南征北战)
  • หัวหน้าผู้อำนวยการสร้าง: จาง ฉีฉง
  • ผู้กำกับ: จาง เช่าหลิน
  • ตัวละครหลัก: สุมาอี้, สุมาเจียว, สุมาเอี๋ยน
# ชื่อภาษาไทย[a] ชื่อดั้งเดิม (ภาษาจีน) คำแปลจากชื่อภาษาจีน
65 ยกทัพปราบเบ้งเฮ็ก 兵渡泸水 ยกทัพข้ามแม่น้ำลกซุย (หลูฉุ่ย)
66 นักพรตชี้ทางรอด 绝路问津 ถามหาทางในแดนกันดาร
67 ชนะใจเบ้งเฮ็ก 七擒孟获 จับเบ้งเฮ็ก (เมิ่ง ฮั่ว) เจ็ดครั้ง
68 บุกวุยก๊ก 出师北伐 เคลื่อนทัพบุกเหนือ
69 เกียงอุยสวามิภักดิ์ 收姜维 รับเกียงอุย (เจียง เหวย์)
70 สุมาอี้ฟื้นตำแหน่ง 司马复出 สุมา (ซือหม่า) กลับสู่ตำแหน่ง
71 ประหารม้าเจ๊ก 空城退敌 เมืองว่างไล่ข้าศึกถอย
72 สุมาอี้รับตราตั้ง 司马取印 สุมารับตราตั้ง
73 ประลองปัญญาที่เขากิสาน 祁山斗智 ศึกประลองปัญญาที่เขากิสาน (ฉีชาน)
74 เทวดาขงเบ้งหลอกสุมาอี้ 诸葛妆神 จูกัดแต่งกายเป็นเทพ
75 บุกกิสานครั้งที่หก 六出祁山 ออกกิสานครั้งที่หก
76 เพลิงเผาสุมาอี้ 火熄上方谷 ไฟดับที่เซียมก๊ก (ช่างฟางกู่)
77 ขงเบ้งสิ้นบุญ 秋风五丈原 ลมฤดูใบไม้ร่วงที่ทุ่งราบอู่จั้ง

ภาคห้า

แก้
  • ชื่อ: ภาคห้า: สามรวมเป็นหนึ่ง (第五部:三分归一)
  • หัวหน้าผู้อำนวยการสร้าง: เหา เฮงมิง
  • ผู้กำกับ: จาง จงอี
  • ตัวละครหลัก: สุมาอี้, สุมาเจียว, สุมาเอี๋ยน
# ชื่อภาษาไทย[a] ชื่อดั้งเดิม (ภาษาจีน) คำแปลจากชื่อภาษาจีน
78 สุมาอี้รัฐประหาร 诈病赚曹爽 แสร้งป่วยหลอกโจซอง (เฉา สฺวั่ง)
79 ศึกภายในง่อก๊ก 吴宫干戈 ศึกในราชวังง่อ
80 ล้อมเขาเทียดลองสัน 兵困铁笼山 ทัพล้อมเขาเทียดลองสัน (เถี่ยหลงชาน)
81 สุมาเจียวปลงพระชนม์ 司马昭弑君 สุมาเจียว (ซือหม่า เจา) ปลงพระชนม์
82 เล่าเสี้ยนหลงขันที 九伐中原 โจมตีที่ราบภาคกลาง (จงยฺเหวียน) ครั้งที่เก้า
83 จ๊กก๊กล่มสลาย 偷渡阴平 ลักลอบทางอิมเป๋ง (อินผิง)
84 อวสานสามก๊ก 三分归晋 สามส่วนกลายเป็นของจิ้น
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 รายชื่อตอนสามก๊กภาษาไทยโดยมูวี่โฮมวีดีโอ

นักแสดง

แก้

เนื่องจากละครโทรทัศน์ใช้เวลาถ่ายทำนานถึงสี่ปี จึงมีหลายกรณีที่ (1) นักแสดงหลายคนแสดงเป็นตัวละครตัวเดียวกัน หรือ (2) นักแสดงคนเดียวแสดงเป็นตัวละครหลายตัว ตัวอย่างของกรณี (1) ตัวละคร เตียวเลี้ยว แสดงโดย ชู เชาหัว ในตอนที่ 12, จาง ยาคุน ในตอนที่ 39 และ หวัง เว่ยกั๋ว ในตอนที่ 54 เฉิน จื่อฮุย เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของกรณี (2) เพราะเขาแสดงเป็นตัวละครสี่ตัว โดยนายพลจากวุยก๊ก, จ๊กก๊กและง่อก๊ก (เคาทู, เลียวฮัว และ ไทสูจู้) และขุนพลเปาสิ้น อีกสองตัวอย่างที่เด่นชัดของกรณี (2) คือ วู เสี่ยวตงและหง ยูโจว โดยวูแสดงเป็น ซุนเกี๋ยน ในตอนที่ 5 และ ซุนกวน ตั้งแต่ตอนที่ 30 เป็นต้นไป ส่วนฮ่องแสดงเป็น อ้วนเสี้ยว ในตอนที่ 5 และ จิวยี่ ตั้งแต่ตอนที่ 9 เป็นต้นไป

นักแสดงหลัก

แก้

นักแสดงอื่น

แก้

เพลงประกอบละครโทรทัศน์

แก้

เพลงประกอบละครโทรทัศน์แต่งโดย กู่ เจี้ยนเฟิง (จีน: 谷建芬) และ ลี่ ยี้ติ้ง (จีน: 李一丁) เนื้อร้องของบางเพลงนั้นนำมาจากบทประพันธ์จีนโบราณยุคต่างๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นบทประพันธ์ที่อยู่ในนิยายต้นฉบับ และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นบทกวีของบุคคลในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กจริงๆ

# ชื่อเพลง เครดิต หมายเหตุ
1 滚滚长江东逝水
(พินอิน: Gǔngǔn Chángjiāng Dōngshì Shuĭ)
(แปล: น้ำแยงซีรี่ไหลไปบูรพา)
บทกวีโดย หยางเฉิน;
ขับร้องโดย หยาง ฮงจี้
เพลงเปิดละครโทรทัศน์และเพลงปิดในตอนที่ 84
2 这一拜
(พินอิน: Zhè Yī Bài)
(แปล: คำสาบานนี้)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย หลิว หวน
ใช้ในฉากคำสาบานที่สวนท้อในตอนที่ 1, ฉากสามพี่น้องกลับมารวมตัวกันในตอนที่ 19 และใช้เป็นเพลงปิดในตอนเดียวกัน
3 烈火雄风
(พินอิน: Lièhuŏ Xíóngfēng)
(แปล: ดุจเพลิงโหมและสายลมองอาจ)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย Lü Jianhong
ใช้ในฉากที่ลิโป้ได้ม้าเซ็กเธาว์ในตอนที่ 3
4 貂蝉已随清风去
(พินอิน: Diāochán Yĭsuí Qīngfēng Qù)
(แปล: เตียวเสี้ยนหายไปกับสายลม)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย Wan Shanhong
ใช้ในฉากสุดท้ายที่เตียวเสี้ยนออกเดินทางในตอนที่ 7 และใช้เป็นเพลงปิดในตอนเดียวกัน
5 淯水吟
(พินอิน: Yùshuĭ Yín)
(แปล: ลำนำแม่น้ำหยกซุย)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย เหมา อาหมิ่น
ใช้ในฉากยุทธการที่อ้วนเซีย ในตอนที่ 11 และฉากโจโฉไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตที่อ้วนเซียในตอนที่ 12
6 明主求贤兮却不知吾
(พินอิน: Míngzhŭ Qíuxián Xī Què Bùzhī Wú)
(แปล: ผู้ปกครองฉลาดแสวงหาปราชญ์ แต่หาใช่ข้าไม่)
คำร้องโดย ล่อกวนตง ใช้ในฉากเล่าปี่พบชีซีในตอนที่ 25
7 壮士功名尚未成
(พินอิน: Zhuàngshì Gōngmíng Shàngwèi Chéng)
(แปล: วีรบุรุษที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ)
คำร้องโดย Zhu Xiaoping ใช้ในฉากเพื่อนของขงเบ้งขับร้องเพลงในตอนที่ 26
8 谁肯论英雄
(พินอิน: Shéikěn Lùn Yīngxióng)
(แปล: ใครจะพูดถึงวีรบุรุษ)
คำร้องโดย Zhu Xiaoping ใช้ในฉากเพื่อนของขงเบ้งขับร้องเพลงในตอนที่ 26
9 一夜北风寨
(พินอิน: Yīyè Běifēng Zhài)
(แปล: คืนหนึ่งในค่ายลมทิศเหนือ)
บทกวีโดย ล่อกวนตง ใช้ในฉากของอุยสิง่านในตอนที่ 27
10 有为歌
(พินอิน: Yŏuwéi Gē)
(แปล: เพลงแห่งความหวัง)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย Dai Jianming
ใช้ในฉากที่ขงเบ้งตัดสินใจเดินทางออกจากหุบเขาโงลังกั๋งในตอนที่ 27 และถือเป็นทำนองเพลงประจำตัว (theme song) ของขงเบ้งตลอดทั้งเรื่อง
11 民得平安天下安
(พินอิน: Míndé Píng'ān Tiānxià Ān)
(แปล: โลกสงบสุขเมื่อผู้คนสงบสุข)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย Cui Jinghao
ใช้ในฉากที่เล่าปี่พาประชาชนข้ามแม่น้ำในตอนที่ 29
12 当阳常志此心丹
(พินอิน: Dāngyáng Chángzhì Cĭ Xīndān)
(แปล: หัวใจอันกล้าหาญที่ตงหยง)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย Cui Jinghao
ใช้ในฉากจูล่งฝ่าทัพโจโฉในตอนที่ 30
13 豹头环眼好兄弟
(พินอิน: Bàotóu Huányăn Hăo Xiōngdì)
(แปล: น้องชายหัวเสือดาวตาพอง)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน; ขับร้องโดย Yin Xiangjie ใช้ในฉากของเตียวหุยในตอนที่ 30
14 丈夫歌
(พินอิน: Zhàngfū Gē)
(แปล: บทเพลงลูกผู้ชาย)
บทกวีโดย ล่อกวนตง;
ขับร้องโดย Lü Jianhong
ใช้ในฉากระบำดาบของจิวยี่ในตอนที่ 33
15 短歌行
(พินอิน: Duăngē Xíng)
(แปล: เพลงขนาดสั้น)
บทกวีโดย โจโฉ;
ขับร้องโดย Yang Hongji
ใช้ในฉากที่โจโฉขับลำนำในงานเลี้ยงระหว่างการชุมนุมทัพที่เซ็กเพ็กในตอนที่ 37
16 子夜四时歌
(พินอิน: Zĭyè Sìshí Gē)
(แปล: เพลงเที่ยงคืน)
คำร้องดัดแปลงจากบทกวีในยุคราชวงศ์ใต้;
ขับร้องในภาษาอู๋
ใช้ในฉากการแต่งงานของเล่าปี่กับซุนฮูหยินในตอนที่ 43
17 江上行
(พินอิน: Jiāngshàng Xíng)
(แปล: ล่องเรือไปตามแม่น้ำ)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย Cui Jinghao
ใช้ในฉากที่กวนอูล่องเรือข้ามแม่น้ำแยงซีเกียงในตอนที่ 53
18 七步诗
(พินอิน: Qībù Shī)
(แปล: บทกวีเจ็ดก้าว)
บทกวีโดย โจสิด;
ขับร้องโดย หลิว หวน
ใช้ในฉากการร่ายบทกวีสดของโจสิดในตอนที่ 61
19 哭诸葛
(พินอิน: Kū Zhūgě)
(แปล: อาลัยจูกัด)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย หลิว หวน
ใช้ในฉากงานศพของขงเบ้งในตอนที่ 77
20 历史的天空
(พินอิน: Lìshĭ Dē Tiānkōng)
(แปล: ท้องฟ้าแห่งประวัติศาสตร์)
คำร้องโดย หวัง เจี้ยน;
ขับร้องโดย เหมา อาหมิ่น
เพลงปิดละครโทรทัศน์ตั้งแต่ตอนที่ 1 ถึงตอนที่ 6, ตอนที่ 8 ถึงตอนที่ 18 และตอนที่ 20 ถึงตอนที่ 83

เรตติ้ง

แก้

เมื่อออกอากาศครั้งแรกในจีน ทำเรตติ้งได้ 47%[1]

การออกอากาศในประเทศไทย

แก้

ละครโทรทัศน์ชุดนี้ออกอากาศในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ ต่อมาออกอากาศทางวาไรตี้ แชนแนล ของเอ็มวีทีวี, ไทยพีบีเอส, สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ใช้ชื่อว่า สามก๊ก ฉบับนักบริหาร) เมื่อปี พ.ศ. 2551 และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 ลิขสิทธิ์การจัดจำหน่ายวีดิทัศน์ของละครโทรทัศน์ชุดนี้ในประเทศไทย คือบริษัท มูฟวี่โฮมวิดีโอ จำกัด

ปี เครือข่าย วันเวลาที่ออกอากาศ หมายเหตุ อ้างอิง
พ.ศ. 2537 ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. 15 สิงหาคม ทุกวันจันทร์-พุธ เวลา 22.00 น. ถึง 23.00 น. ลิขสิทธิ์โดยมีเดีย ออฟ มีเดียส์
พ.ศ. 2551 วาไรตี้ แชนแนล (เอ็มวีทีวี)
ไทยพีบีเอส 15 กุมภาพันธ์ ถึง 24 เมษายน ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 22.30 น. ถึง 23.23 น. และ 22.00 น. ถึง 22.53 น.
สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา 15 มีนาคม ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 22.00 น. ถึง 23.00 น. ใช้ชื่อว่า สามก๊ก ฉบับนักบริหาร
พ.ศ. 2562 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย 1 กรกฎาคม ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 20.30 น. ถึง 21.30 น.

อ้างอิง

แก้
  1. 电影聚焦. "เรตติ้งสามก๊ก 1994 ในจีน". สืบค้นเมื่อ January 3, 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้