ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย (อังกฤษ: Forearm) เป็นโครงสร้างส่วนหนึ่งของรยางค์บน (upper limb) อยู่ระหว่างข้อศอกและข้อมือ[1] ซึ่งจะต่างจากแขนหรือต้นแขน (arm หรือ upper arm) ที่ในทางกายวิภาคจะนับจากหัวไหล่ลงมาถึงแค่ข้อศอก

ปลายแขน หรือ แขนท่อนปลาย
(Forearm)
รยางค์บนในตำแหน่งคว่ำมือ (pronation) ปลายแขนเป็นส่วนของรยางค์บนระหว่างข้อศอกและข้อมือ
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินantebrachium
MeSHD005542
TA98A01.1.00.024
TA2146
FMA9663
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ปลายแขนของมนุษย์

แก้

ปลายแขนประกอบด้วยกระดูกยาว 2 ชิ้น คือ กระดูกเรเดียส (radius) และกระดูกอัลนา (ulna) ประกอบกันเป็นข้อต่อเรดิโออัลนา (radioulnar joint) โดยมีเอ็นเยื่อระหว่างกระดูก (interosseous membrane) เชื่อมระหว่างกระดูกสองชิ้นนี้ ปลายแขนจะปกคลุมด้วยผิวหนัง โดยพื้นผิวส่วนหน้ามักมีขนน้อยกว่าพื้นผิวส่วนหลัง

ปลายแขนประกอบด้วยกล้ามเนื้อจำนวนมากมายในกลุ่มกล้ามเนื้องอนิ้ว (flexors) และกล้ามเนื้อเหยียดนิ้ว (extensors) , กล้ามเนื้องอข้อศอก (กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส (brachioradialis)) , และกลุ่มกล้ามเนื้อคว่ำมือ (pronators) และหงายมือ (supinators) ในภาพตัดขวางของปลายแขนอาจแบ่งพื้นที่ของปลายแขนออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ด้านหลังปลายแขน (posterior compartment) ซึ่งมีกล้ามเนื้อกลุ่มเหยียดมือซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเรเดียล (radial nerve) และพื้นที่ด้านหน้าปลายแขน (anterior compartment) ซึ่งมีกล้ามเนื้อกลุ่มงอมือซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงโดยเส้นประสาทมีเดียน (median nerve) และยังมีเส้นประสาทอัลนา (ulnar nerve) ซึ่งวิ่งไปตามความยาวของปลายแขน

หลอดเลือดแดงเรเดียล (radial artery) และหลอดเลือดแดงอัลนา (ulnar artery) และแขนงต่างๆ ของมันให้เลือดไปเลี้ยงปลายแขน หลอดเลือดเหล่านี้มักจะวิ่งไปบนด้านหน้าของกระดูกเรเดียสและอัลนาลงไปตลอดปลายแขน หลอดเลือดดำชั้นผิวหลักๆ ของปลายแขนได้แก่หลอดเลือดดำเซฟาลิค (cephalic vein) , หลอดเลือดดำกลางปลายแขน (median antebrachial vein) , และหลอดเลือดดำเบซิลิค (basilic vein) หลอดเลือดดำเหล่านี้สามารถนำมาใส่หลอดคา (cannularisation) หรือใช้เจาะเลือด (venipuncture) แต่แพทย์มักจะใช้การเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำในแอ่งแขนพับ (cubital fossa) มากกว่า

กายวิภาคศาสตร์

แก้

กระดูก

แก้

ข้อต่อ

แก้

กล้ามเนื้อ

แก้
พื้นที่ ชั้น กล้ามเนื้อ E/I เส้นประสาท
ด้านหน้า ตื้น กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส
flexor carpi radialis (FCR)
E มีเดียน
ด้านหน้า ตื้น กล้ามเนื้อปาล์มาริส ลองกัส
palmaris longus (PL)
E มีเดียน
ด้านหน้า ตื้น กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
flexor carpi ulnaris (FCU)
E อัลนา
ด้านหน้า ตื้น กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ เทเรส
pronator teres (PT)
I มีเดียน
ด้านหน้า ตื้น (หรือกลาง) กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม ซุเปอร์ฟิเชียลิส
flexor digitorum superficialis (FDS)
E มีเดียน
ด้านหน้า ลึก กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ ดิจิทอรุม โปรฟันดัส
flexor digitorum profundus (FDP)
E อัลนา + มีเดียน
ด้านหน้า ลึก กล้ามเนื้อเฟลกเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
flexor pollicis longus (FPL)
E มีเดียน
ด้านหน้า ลึก กล้ามเนื้อโปรเนเตอร์ ควอดราตัส
pronator quadratus (PQ)
I มีเดียน
ด้านหลัง (ดูด้านล่าง) กล้ามเนื้อเบรคิโอเรเดียลิส
brachioradialis
I เรเดียล
ด้านหลัง ตื้น กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส ลองกัส
extensor carpi radialis longus (ECRL)
E เรเดียล
ด้านหลัง ตื้น กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ เรเดียลิส เบรวิส
extensor carpi radialis brevis (ECRB)
E เรเดียล
ด้านหลัง กลาง กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิทอรุม
extensor digitorum (ED)
E เรเดียล
ด้านหลัง กลาง กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ ดิจิไต มินิไม
extensor digiti minimi (EDM)
E เรเดียล
ด้านหลัง ตื้น กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ คาร์ไพ อัลนาริส
extensor carpi ulnaris (ECU)
E เรเดียล
ด้านหลัง ลึก กล้ามเนื้อแอบดักเตอร์ พอลิซิส ลองกัส
abductor pollicis longus (APL)
E เรเดียล
ด้านหลัง ลึก กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส เบรวิส
extensor pollicis brevis (EPB)
E เรเดียล
ด้านหลัง ลึก กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ พอลิซิส ลองกัส
extensor pollicis longus (EPL)
E เรเดียล
ด้านหลัง ลึก กล้ามเนื้อเอกซ์เทนเซอร์ อินดิซิส
extensor indicis (EI)
E เรเดียล
ด้านหลัง ลึก กล้ามเนื้อสุพิเนเตอร์
supinator
I เรเดียล
ด้านหลัง ลึก กล้ามเนื้อแอนโคเนียส
anconeus
I เรเดียล

หมายเหตุ

แก้
  • "E/I" refers to "extrinsic" or "intrinsic". In most cases, the extrinsic anterior muscles are flexors of the hand and wrist. The extrinsic muscles of the forearm act upon the hand and wrist. In most cases, the extrinsic anterior muscles are flexors, while the extrinsic posterior muscles are extensors.
  • The Brachioradialis, flexor of the forearm, is unusual in that it is located in the posterior compartment, but it is actually in the anterior portion of the forearm.

เส้นประสาท

แก้

หลอดเลือด

แก้

โครงสร้างอื่นๆ

แก้

ภาพอื่นๆ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Forearm จากเว็บไซต์ eMedicine Dictionary

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้