น้ำมันคาโนลา
น้ำมันคาโนลา หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า คาโนลา (อังกฤษ: canola oil, canola) เป็นน้ำมันพืชที่ได้มาจากผักกาดก้านขาว (rapeseed) สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีกรดอีรูซิก (erucic acid) น้อยตรงข้ามกับน้ำมันโคลซา (colza oil) ที่ก็ได้มาจากผักกาดก้านข้าวอีกสายพันธุ์หนึ่ง น้ำมันมีทั้งแบบใช้ทานและใช้ในอุตสาหกรรมโดยผลิตมาจากเมล็ดของพันธุ์พืชวงศ์ผักกาด รวมทั้งพันธุ์ปลูก Brassica napus L., Brassica rapa subsp. oleifera (หรือ B. campestris L) และ Brassica juncea ซึ่งก็ล้วนใช้ชื่อเดียวกัน ตามสมาคมอุตสาหกรรม "สภาคาโนลาแห่งแคนาดา" (Canola Council of Canada) นิยามทางการของคาโนลาก็คือ เมล็ดของพืชสกุล Brassica (คือ Brassica napus, Brassica rapa หรือ Brassica juncea) ซึ่งน้ำมันที่ได้มีกรดอีรูซิกน้อยกว่า 2% ของกรดไขมันทั้งหมด และส่วนที่แข็ง ไร้น้ำมัน และตากแห้งจะมีส่วนผสมของ 3-butenyl glucosinolate, 4-pentenyl glucosinolate, 2-hydroxy-3 butenyl glucosinolate และ 2-hydroxy- 4-pentenyl glucosinolate น้อยกว่า 30 ไมโครโมลต่อกรัม[1]
การทานน้ำมันนี้สามัญในประเทศอุตสาหกรรม และก็ใช้เพื่อผลิตไบโอดีเซลด้วย
ประวัติ
แก้ที่มา
แก้ชื่อภาษาอังกฤษว่า rapeseed มาจากคำละตินว่า rapum ซึ่งหมายถึง หัวผักกาด พืช Brassica rapa (turnip), Brassica napobrassica (rutabaga), Brassica oleracea (cabbage) และ Brassica oleracea (Brussels sprouts) ต่างก็เป็นญาติทางกรรมพันธุ์ของผักกาดก้านขาว ซึ่งล้วนอยู่ในสกุล Brassica พืชสกุลนี้ซึ่งเลี้ยงเพื่อใช้เมล็ดทำน้ำมัน เป็นพืชเก่าแก่ที่สุดซึ่งมนุษย์ปลูก โดยมีหลักฐานการใช้ในอินเดียเมื่อ 4,000 ปีก่อน และในจีนและญี่ปุ่นเมื่อ 2,000 ปีก่อน[2] และได้ใช้ในยุโรปเหนือเพื่อเป็นน้ำมันตะเกียงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 13[3] แต่ก็จำกัดจนกระทั่งเริ่มใชัพลังงานไอน้ำ ที่ช่างพบว่า น้ำมันผักกาดก้านขาวเคลือบโลหะที่น้ำและไอน้ำวิ่งผ่านได้ดีกว่าน้ำมันหล่อลื่นอื่น ๆ [ต้องการอ้างอิง]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ความต้องการสำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ไอน้ำโดยเฉพาะในกองทัพเรือและในเรือพาณิชย์ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[ต้องการอ้างอิง] เมื่อสงครามทำให้ไม่สามารถนำเข้าน้ำมันผักกาดก้านขาวจากยุโรปหรือเอเชียแล้วเกิดวิกฤติขาดแคลน แคนาดาจึงเริ่มขยายปลูกผักกาดก้านขาวที่เคยมีจำกัดมาก่อน น้ำมันเริ่มวางตลาดในปี 1956-1957 เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร แต่ก็ไม่ได้การยอมรับจากผู้บริโภคเพราะมีคุณลักษณะที่ใช้ไม่ได้หลายอย่าง คือมีรสแปลก มีสีออกเขียว ๆ เพราะมีคลอโรฟิลล์ซึ่งไม่น่าพึงใจ และยังมีกรดอีรูซิกมากซึ่งอาจมีผลลบต่อสุขภาพ
นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดาได้เพาะคาโนลาจากพันธุ์ปลูกของผักกาดก้านขาว คือ B. napus และ B. rapa ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970[4][5] ซึ่งมีกรดอีรูซิกน้อยกว่ามากแต่ก็มีสารอาหารที่ต่างกับน้ำมันทุกวันนี้[6] ดั้งเดิมแล้ว คำว่าคาโนลาเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของสมาคมผักกาดก้านขาวแห่งแคนาดา (Rapeseed Association of Canada) โดยชื่อมาจากคำย่อ "Can" (Canada) และ "ola" คล้ายกับชื่อน้ำมันพืชบางอย่างเช่น Mazola[7][8] แต่ปัจจุบันเป็นชื่อสามัญสำหรับน้ำมันผักกาดก้านขาวที่ทานได้ทั้งในอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย การเปลี่ยนชื่อก็เพื่อให้ต่างกับน้ำมันธรรมชาติซึ่งมีกรดอีรูซิกมากกว่า
บริษัทมอนซานโต้แคนาดาได้วางตลาดคาโนลาที่ผ่านพันธุวิศวกรรมเพื่อให้ทนสารกำจัดวัชพืช Roundup ได้ในปี 1995 (คือ Roundup Ready canola) โดยพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นในปี 1998 จัดว่าทนโรคและความแห้งแล้งได้ดีที่สุดเท่าที่เคยทำ ในปี 2009 คาโนลา 90% ในแคนาดาเป็นแบบทนสารกำจัดวัชพืช[9] ในปี 2005 คาโนลา 87% ในสหรัฐเป็นพืชดัดแปรพันธุกรรม[10]
งานศึกษาปี 2010 ในรัฐนอร์ทดาโคตาพบทรานส์ยีน (transgene) ในผักกาดก้านขาวตามธรรมชาติถึง 80% ที่ทนสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตหรือกลูโฟซิเนต (glufosinate) โดยมีพืชส่วนน้อยที่ทนทั้งสองอย่าง การกระจายพันธุ์ของพืชแปรพันธุกรรมไปยังธรรมชาติเช่นนี้ทำให้เป็นห่วงว่า ความดื้อสารกำจัดวัชพืชของคาโนลาที่ไม่ได้เพาะปลูกอาจทำให้กำจัดพืชเหล่านี้ได้ยาก นักวิจัยผู้หนึ่งเห็นด้วยว่า กลุ่มพืชที่ทนยาตามธรรมชาติอาจเกิดหลังจากเมล็ดดัดแปลงพันธุกรรมได้ร่วงลงจากรถบรรทุกที่ใช้ขนส่ง แต่เธอก็ให้ข้อสังเกตด้วยว่า จำนวนคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมที่พบอาจมีอคติเพราะชักตัวอย่างแต่ข้าง ๆ ทางเดินรถ[11]
ในปี 2011 ในบรรดาคาโนลา 31 ล้านเฮกตาร์ที่ปลูกทั่วโลก 26% เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม[12]
การผลิตน้ำมันผักกาดก้านขาว ในปี 2014 | |
---|---|
ประเทศ | (ตัน) |
จีน | 5,702,700 |
เยอรมนี | 3,540,557 |
แคนาดา | 3,116,100 |
อินเดีย | 2,473,000 |
ฝรั่งเศส | 1,914,600 |
ญี่ปุ่น | 1,073,881 |
ทั่วโลก | 25,944,831 |
แหล่งข้อมูล: เว็บไซท์ FAOSTAT ของสหประชาชาติ[13] |
การผลิตและการค้า
แก้ในปี 2014 การผลิตน้ำมันผักกาดก้านขาวทั่วโลกอยู่ที่ 26 ล้านตัน นำโดยประเทศจีน เยอรมนี และแคนาดา ซึ่งรวม ๆ กันผลิตน้ำมัน 47% ของทั้งโลก[13] แต่แคนาดาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่สุดในปี 2016 โดยส่งออกที่ 2.9 ล้านตันหรือ 94% ของผลผลิต[13] ราคาเปรียบเทียบของการซื้อขายคาโนลาทั่วโลกกำหนดโดยสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ตลาดตราสารอนุพันธ์ ICE Futures Canada[14]
การควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (จีเอ็มโอ)
แก้มีรูปแบบพืชดัดแปลงพันธุกรรมหลายอย่าง เช่น ที่ทนสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตหรือกลูโฟซิเนต (glufosinate) ได้ และที่ให้น้ำมันคาโนลาซึ่งมีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน การควบคุมจะต่างกันในประเทศต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น คาโนลาที่ทนไกลโฟเสตได้รับอนุญาตในประเทศออสเตรเลีย แคนาดา จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ และสหรัฐ ในขณะที่พันธุ์ยี่ห้อ Laurical ซึ่งให้น้ำมันในรูปแบบอื่น ๆ ได้อนุญาตเพียงในแคนาดาและสหรัฐ[15]
ในปี 2003 องค์กรควบคุมเทคโนโลยียีนของออสเตรเลียได้อนุมัติให้ปลูกคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมแบบทนสารกำจัดวัชพืชคือ กลูโฟซิเนตแอมโมเนียม (glufosinate ammonium, DL-Phosphinothricin)[16] ซึ่งสร้างความขัดแย้งพอสมควร[17] คาโนลาเป็นพืชผลที่ปลูกมากเป็นอันดับสามในออสเตรเลีย โดยชาวนาข้าวสาลีบ่อยครั้งปลูกเป็นพืชสับเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน ในปี 2008 พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกในออสเตรเลียรวมคาโนลา ฝ้าย และคาร์เนชัน (Dianthus caryophyllus)[18][19]
คดีจีเอ็มโอ
แก้คาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมได้กลายเป็นเรื่องสร้างความขัดแย้งและคดีในศาล ในคดีดังคือคดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ บริษัทได้ฟ้องนายชไมเซอร์ฐานละเมิดสิทธิบัตรหลังจากเขาได้ปลูกเมล็ดพืชที่เก็บได้จากไร่ของตนเอง ซึ่งเขาได้พบว่ามีคาโนลาทนไกลโฟเสตที่อยู่ใต้สิทธิบัตรของบริษัทเมื่อพ่นยาใส่พืชแล้วจึงเหลือแต่ต้นที่ทนยา ศาลสูงสุดได้ตัดสินว่า นายชไมเซอร์ได้ละเมิดสิทธิบัตรของบริษัทเพราะปลูกพืชทนยาที่ได้เก็บทั้งที่รู้ แต่ไม่ได้ให้จ่ายค่าเสียหายแก่บริษัทเพราะเขาไม่ได้ผลกำไรจากการเพาะปลูก ในปี 2008 บริษัทได้ตกลงยอมเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 20,500 บาท เพื่อเก็บกวาดพืชปนเปื้อนในไร่ของนายชไมเซอร์[20]
ไบโอดีเซล
แก้ยุโรปได้ลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ใช้น้ำมันคาโนลาเป็นไบโอดีเซล โดยได้แรงกระตุ้นจากนโยบายไบโอดีเซลของสหภาพยุโรป[21]
กระบวนการผลิต
แก้โรงงานผลิตน้ำมันคาโนลาโดยให้ความร้อนเล็กน้อยแล้วบดเมล็ด[22] น้ำมันทางพาณิชย์เกือบทั้งหมดจะสกัดใช้ตัวทำละลายคือ เฮกเซน[23] ซึ่งสามารถนำกลับไปใช้ได้ใหม่ในที่สุดของกระบวนการ น้ำมันจะทำให้บริสุทธิ์เป็นลำดับ ๆ รวมทั้ง[22] กำจัดสารประกอบรวมทั้งฟอสโฟลิพิด ยาง กรดไขมันอิสระ ผงเล็ก ๆ เป็นต้น ด้วยน้ำและกรดอินทรีย์, กำจัดสีด้วยตัวกรองที่มีดินเหนียวธรรมชาติ, และดับกลิ่นโดยกลั่นใช้ไอน้ำ (steam distillation) ความหนาแน่นเฉลี่ยของน้ำมันอยู่ที่ 0.92 กรัม/มล.[24]
การบดโดยไม่ใช้ความร้อนแล้วใช้เครื่อง expeller สกัดน้ำมันก็ทำด้วยแต่จำกัดกว่า ประมาณ 44% ของเมล็ดเป็นน้ำมัน โดยส่วนที่เหลือสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์[22] เมล็ดประมาณ 23 กก. สามารถสกัดน้ำมันได้ 10 ลิตร
น้ำมันเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารหลายอย่าง ชื่อเสียงว่าเป็นน้ำมันสุขภาพสร้างความต้องการสูงในตลาดทั่วโลก[25] โดยทั่วไป เป็นน้ำมันพืชที่บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสาม[26]
น้ำมันสามารถใช้นอกเหนือจากเป็นอาหารได้หลายอย่าง และเหมือนกับน้ำมันถั่วเหลืองบ่อยครั้งใช้แทนน้ำมันที่ได้จากปิโตรเลียมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ[25] รวมทั้งน้ำมันหล่อลื่นอุตสาหกรรม ไบโอดีเซล เทียน ลิปสติก หมึกหนังสือพิมพ์ ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดส่งมอบสินค้าทันที (spot market)
น้ำมันคาโนลาที่รับรองว่าเป็นน้ำมันอินทรีย์โดยทั่วไปต้องมาจากผักกาดก้านขาวที่ไม่ได้ดัดแปลงพันธุกรรม[27][28]
สารประกอบ | หมู่ | % ของทั้งหมด |
---|---|---|
กรดโอเลอิก | ω-9 | 61%[29] |
กรดลิโนเลอิก | ω-6 | 21%[29] |
กรดลิโนเลนิกแบบอัลฟา | ω-3 | 11%[29] 9%[30][31] |
กรดไขมันอิ่มตัว | 7%[29] | |
กรดปาล์มิติก | 4%[30] | |
Stearic acid | 2%[30] | |
ไขมันทรานส์ | 0.4%[32] | |
กรดอีรูซิก | 0.01%[33]<0.1%[34][35] |
ข้อมูลสุขภาพ
แก้น้ำมันจัดว่าปลอดภัยเป็นอาหารมนุษย์[36][37] มีไขมันอิ่มตัวค่อนข้างน้อย มีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวมากโดยมีอัตราส่วนระหว่างไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวกับไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ประมาณ 2:1[38] งานทดลองในสัตว์ชี้ความเป็นไปได้ว่า การทานกรดอีรูซิกจำนวนมากอาจทำให้หัวใจเสียหาย แม้จะมีนักวิจัยชาวอินเดียที่ตีพิมพ์ผลงานตั้งความสงสัยในข้อสรุปเช่นนี้ และในเรื่องว่า การทานน้ำมันมัสตาร์ดและผักกาดก้านขาวเป็นอันตราย[39][40][41][42][43]
สัตว์มักไม่ค่อยชอบอาหารที่ทำจากผักกาดก้านขาว เพราะมีสารประกอบรสจัดคือ glucosinolate
ในปี 2006 องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติให้โฆษณาน้ำมันคาโนลาว่าช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ เพราะมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง โดยสามารถขึ้นบรรจุภัณฑ์ได้ว่า[44]
หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จำกัดและไม่สามารถสรุปได้แสดงนัยว่า การทานน้ำมันคาโนลาประมาณ 1½ ช้อนโต๊ะ (19 กรัม) ทุกวันอาจลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเพราะมีไขมันไม่อิ่มตัว เพื่อให้ได้ประโยชน์เช่นนี้ ให้แทนไขมันอิ่มตัวด้วยน้ำมันคาโนลาในปริมาณเดียวกันโดยไม่เพิ่มแคลอรี่รวม ๆ ที่ทานต่อวัน...
ในงานทบทวนวรรณกรรมปี 2013 ที่ได้ทุนสนับสนุนจากสภาคาโนลาแห่งแคนาดาและสมาคมคาโนลาสหรัฐ ได้สรุปว่า การทานน้ำมันคาโนลาเทียบกับไขมันอาหารอื่น ๆ ช่วยลดคอเลสเตอรอลรวมกับคอเลสเตอรอลแบบ LDL, เพิ่มระดับ tocopherol ในเลือด และเพิ่มความไวการตอบสนองต่ออินซูลิน (insulin sensitivity)[38] งานปี 2014 ที่ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการบริโภคน้ำมันพืชที่มีกรดลิโนเลนิกแบบอัลฟา (alpha-linolenic acid) รวมทั้งคาโนลา อ้างว่า มีประโยชน์ปานกลาง (moderate) เพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด กระดูกหัก/แตก และโรคเบาหวานชนิด 2[45]
ในเรื่ององค์ประกอบ น้ำมันคาโนลามีไขมันอิ่มตัวน้อย มีทั้งกรดไขมันโอเมกา-6 กับโอเมกา-3 ในอัตราส่วน 2:1 มีไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวสูง จึงอาจลดความเสี่ยงโรคหัวใจ[46]
กรดอีรูซิก
แก้แม้น้ำมันผักกาดก้านขาวธรรมชาติจะมีกรดอีรูซิกสูง[47] แต่พันธุ์ปลูกเพื่อการค้าที่ใช้ผลิตน้ำมันคาโนลาเป็นอาหารก็ได้ปรับปรุงให้มีกรดอีรูซิกน้อยกว่า 2%[48] ซึ่งไม่จัดเป็นความเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญ จนถึงปี 2003 ยังไม่พบผลต่อสุขภาพของมนุษย์เนื่องกับการบริโภคกรดอีรูซิก แต่การทดสอบเมแทบอลิซึมของกรดในสัตว์อื่น ๆ แสดงนัยว่า ระดับที่สูงขึ้นอาจมีผลลบ[49][50] น้ำมันคาโนลาดัดแปลงพันธุกรรมไม่มีผลลบอย่างชัดแจ้งต่อสุขภาพ[51]
กรดอีรูซิกในน้ำมันคาโนลาได้ลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อยุคต้นการผลิต ในแคนาดาตะวันตก กรดได้ลดลงจากอัตราเฉลี่ย 0.5% ระหว่างปี 1987-1996[52] เหลือแค่ 0.01% ระหว่างปี 2008-2015[33] กรดได้ลดลงเหลือน้อยกว่า 0.1% ในออสเตรเลียปี 2016[34] และบราซิลในปี 2011[35]
น้ำมันคาโนลาไม่สร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพใดเป็นพิเศษ[50] โดยองค์การอาหารและยาสหรัฐยอมรับการบริโภครูปแบบที่ทำเป็นอาหารว่าปลอดภัย[37][48]
เปรียบเทียบกับน้ำมันพืชอื่น ๆ
แก้น้ำมันพืช[53][54] | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | การ แปรรูป |
กรดไขมัน อิ่มตัว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัว มีพันธะคู่เดี่ยว |
กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ | จุดก่อควัน | |||
มีพันธะเดียว รวม[53] |
กรดโอเลอิก (ω-9) |
มีหลายพันธะ รวม[53] |
กรดลิโนเลนิก (ω-3) |
กรดลิโนเลอิก (ω-6) | ||||
อาโวคาโด[55] | 11.6 | 70.6 | 13.5 | 1 | 12.5 | 249 องศาเซลเซียส (480 องศาฟาเรนไฮต์)[56] | ||
คาโนลา[57] | 7.4 | 63.3 | 61.8 | 28.1 | 9.1 | 18.6 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[58] | |
มะพร้าว[59] | 82.5 | 6.3 | 6 | 1.7 | 175 องศาเซลเซียส (347 องศาฟาเรนไฮต์)[58] | |||
ข้าวโพด[60] | 12.9 | 27.6 | 27.3 | 54.7 | 1 | 58 |
232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[61] | |
เมล็ดฝ้าย[62] | 25.9 | 17.8 | 19 | 51.9 | 1 | 54 | 216 องศาเซลเซียส (420 องศาฟาเรนไฮต์)[61] | |
เมล็ดแฟลกซ์[63] | 9.0 | 18.4 | 18 | 67.8 | 53 | 13 |
107 องศาเซลเซียส (225 องศาฟาเรนไฮต์) | |
เมล็ดองุ่น | 10.5 | 14.3 | 14.3 | 74.7 | - | 74.7 | 216 องศาเซลเซียส (421 องศาฟาเรนไฮต์)[64] | |
น้ำมันกัญชง[65] | 7.0 | 9.0 | 9.0 | 82.0 | 22.0 | 54.0 | 166 องศาเซลเซียส (330 องศาฟาเรนไฮต์)[66] | |
มะกอก[67] | 13.8 | 73.0 | 71.3 | 10.5 | 0.7 | 9.8 | 193 องศาเซลเซียส (380 องศาฟาเรนไฮต์)[58] | |
ปาล์ม[68] | 49.3 | 37.0 | 40 | 9.3 | 0.2 | 9.1 | 235 องศาเซลเซียส (455 องศาฟาเรนไฮต์) | |
ถั่วลิสง[69] | 20.3 | 48.1 | 46.5 | 31.5 | 31.4 | 232 องศาเซลเซียส (450 องศาฟาเรนไฮต์)[61] | ||
คำฝอย[70] | 7.5 | 75.2 | 75.2 | 12.8 | 0 | 12.8 | 212 องศาเซลเซียส (414 องศาฟาเรนไฮต์)[58] | |
ถั่วเหลือง[71] | 15.6 | 22.8 | 22.6 | 57.7 | 7 | 51 | 238 องศาเซลเซียส (460 องศาฟาเรนไฮต์)[61] | |
เมล็ดทานตะวัน (มาตรฐาน, 65% ไลโนเลอิก)[72] | 10.3 | 19.5 | 19.5 | 65.7 | 0 | 65.7 | ||
เมล็ดทานตะวัน (<60% ไลโนเลอิก)[73] | 10.1 | 45.4 | 45.3 | 40.1 | 0.2 | 39.8 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[61] | |
เมล็ดทานตะวัน (>70% โอเลอิก)[74] | 9.9 | 83.7 | 82.6 | 3.8 | 0.2 | 3.6 |
227 องศาเซลเซียส (440 องศาฟาเรนไฮต์)[61] | |
เมล็ดฝ้าย[75] | ไฮโดรจีเนต | 93.6 | 1.5 | 0.6 | 0.3 | |||
ปาล์ม[76] | ไฮโดรจีเนต | 88.2 | 5.7 | 0 | ||||
ถั่วเหลือง[77] | ไฮโดรจีเนตบางส่วน | 14.9 | 43.0 | 42.5 | 37.6 | 2.6 | 34.9 | |
ค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันรวม |
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ "WHAT IS CANOLA?". Canola Council of Canada. Canola Council of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-18. สืบค้นเมื่อ 2017-08-18.
Seeds of the genus Brassica (Brassica napus, Brassica rapa or Brassica juncea) from which the oil shall contain less than 2% erucic acid in its fatty acid profile and the solid component shall contain less than 30 micromoles of any one or any mixture of 3-butenyl glucosinolate, 4-pentenyl glucosinolate, 2-hydroxy-3 butenyl glucosinolate, and 2-hydroxy- 4-pentenyl glucosinolate per gram of air-dry, oil-free solid.
- ↑ Snowdon, R; et al (2007), p. 55
- ↑ Snowdon, R (2007). "2". ใน Kole, Chittaranjan (บ.ก.). Genome Mapping and Molecular Breeding in Plants: OIlseeds. Oilseed Rape. Springer.
- ↑ "Richard Keith Downey: Genetics". science.ca. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
- ↑ Storgaard, AK (2008). "Stefansson, Baldur Rosmund". The Canadian Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-07. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
- ↑ Barthet, V. "Canola". The Canadian Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ 2008-12-29.
- ↑ Wrigley, Colin W; Corke, Harold; Seetharaman, Koushik; Faubion, Jonathan (2015-12-17). Encyclopedia of Food Grains; page 238. Academic Press. ISBN 978-1785397622.
- ↑ Canola Council of Canada (2016). "What is Canola?". สืบค้นเมื่อ 2013-10-16.
- ↑ Beckie, Hugh (Autumn 2011). "GM Canola: The Canadian Experience" (PDF). Farm Policy Journal. 8 (8). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-31.
- ↑ Johnson, Stanley R (February 2008). "Quantification of the Impacts on US Agriculture of Biotechnology-Derived Crops Planted in 2006" (PDF). Washington DC: National Center for Food and Agricultural Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-31. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
- ↑ Gilbert, Natasha (2010). "GM crop escapes into the American wild". Nature. doi:10.1038/news.2010.393. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-29. สืบค้นเมื่อ 2011-08-24.
- ↑ "Biotech Canola - Annual Update 2011" (PDF). International Service for the Acquisition of Agri-Biotech Applications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-30. สืบค้นเมื่อ 2013-05-26.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 "Rapeseed oil production, 2014; Crops/Regions/World list/Production Quantity; unofficial data (pick lists)". UN Food and Agriculture Organization, Corporate Statistical Database (FAOSTAT). 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-08-13.
- ↑ "ICE Futures: Canola". Intercontinental Exchange, Inc. 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-09-04.
- ↑ "Genetically Modified Canola". Eurofins Scientific. 2014-01-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20.
- ↑ "GM canola gets the green light". Sydney Morning Herald. 2003-04-01. สืบค้นเมื่อ 2007-10-20.
- ↑
- Price, Libby (2005-09-06). "Network of concerned farmers demands tests from Bayer". Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2007-10-10.
- "Greenpeace has the last laugh on genetic grains talks". Australian Broadcasting Corporation. 2003-03-13. สืบค้นเมื่อ 2007-10-20.
- Cauchi, Stephen (2003-10-25). "GM: food for thought". The Age. สืบค้นเมื่อ 2007-10-20.
- ↑ "GM Crops and Stockfeed" (PDF). Office of the Gene Technology Regulator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-03.
- ↑ "GM Carnations in Australia" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-08.
- ↑ Hartley, Matt (2008-03-20). "Grain Farmer Claims Moral Victory in Seed Battle Against Monsanto". Globe and Mail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-02. สืบค้นเมื่อ 2016-05-14.
- ↑ "Canola". USDA Economic Research Service. 2012-10-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-31.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 "Steps in Oil and Meal Processing". Canola Council of Canada. 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-30.
- ↑ Crosby, Guy (2017). "Ask the Expert: Concerns about canola oil". The Nutrition Source: Harvard University School of Public Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-09. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
- ↑ "Section 3.1: Leaking Tank Experiments with Orimulsion and Canola Oil" (PDF). NOAA Technical Memorandum NOS OR&R 6. Ocean Service of the National Oceanic and Atmospheric Administration. December 2001.
- ↑ 25.0 25.1 "What is canola oil?". Canola Council of Canada. 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-04-30.
- ↑ Ash, M (2016-03-15). "Soybeans & Oil Crops". US Department of Agriculture, Economic Research Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-24. สืบค้นเมื่อ 2016-04-30.
- ↑ "Canola Oil Myths and Truths". Berkeley Wellness, School of Public Health, University of California, Berkeley. 2015-02-17. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.
- ↑ Allen, Gary J; Albala, Ken, บ.ก. (2007). The Business of Food: Encyclopedia of the Food and Drink Industries. ABC-CLIO. pp. 288. ISBN 978-0-313-33725-3.
- ↑ 29.0 29.1 29.2 29.3 "Comparison of Dietary Fats Chart" (PDF). Canola Council of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-23. สืบค้นเมื่อ 2008-09-03.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 USDA National Nutrient Database for Standard Reference, Release 21 (2008)
- ↑ DeFilippis, Andrew P.; Laurence S. Sperling. "Understanding omega-3's" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-22.
- ↑ USDA National Nutrient Database for Standard Reference, Release 22 (2009)
- ↑ 33.0 33.1 J. Barthet, Véronique J. (2015). "Quality of western Canadian Canola 2015" (PDF) (Press release). Canadian Grain Research Laboratory: Canadian Grain Commission. ISSN 1700-2222. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-19. สืบค้นเมื่อ 2016-12-21.
- ↑ 34.0 34.1 D.E., Seberry; D.W., McCaffery; T.M., Kingham (2016). "Quality of Australian canola 2015-16" (PDF) (Press release). Australia: NSW Department of Primary Industries - Australian Oilseeds Federation. ISSN 1322-9397. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-08. สืบค้นเมื่อ 2016-12-21.
- ↑ 35.0 35.1 Heidy Aguilera Fuentes, Paula; Jose Ogliaria, Paulo; Carlos Deschamps, Francisco; Barrera Arellano, Daniel; Mara Block, Jane (2011). "Centro de Ciências Agrárias" [Agricultural Science Center]. Avaliação da Qualidade de Óleos de Soja, Canola, Milho e Girassol Durante o Armazenamento (PDF) (วิทยานิพนธ์) (ภาษาโปรตุเกส). Florianópolis, Brazil: Universidade Federal de Santa Catarina. OCLC 817268651. สืบค้นเมื่อ 2016-12-21.
- ↑ Dupont, J; White, PJ; Johnston, HA; McDonald, BE; Grundy, SM; Bonanome, A (October 1989). "Food safety and health effects of canola oil". Journal of the American College of Nutrition. 8 (5): 360–375. doi:10.1080/07315724.1989.10720311. PMID 2691543.
- ↑ 37.0 37.1 Zeratsky, Katherine (2009). "Canola Oil: Does it Contain Toxins?". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 2011-08-10.
- ↑ 38.0 38.1 Lin, L; Allemekinders, H; Dansby, A; Campbell, L; Durance-Tod, S; Berger, A; Jones, PJ (2013). "Evidence of health benefits of canola oil". Nutr. Rev. 71 (6): 370–85. doi:10.1111/nure.12033. PMC 3746113. PMID 23731447.
- ↑ Ghafoorunissa (1996). "Fats in Indian Diets and Their Nutritional and health Implications". Lipids. 31 (1): S287–S291. doi:10.1007/BF02637093. PMID 8729136.
- ↑ Shenolikar, I (1980). "Fatty Acid Profile of Myocardial Lipid in Populations Consuming Different Dietary Fats". Lipids. 15 (11): 980–982. doi:10.1007/BF02534427.
- ↑ Bellenand, JF; Baloutch, G; Ong, N; Lecerf, J (1980). "Effects of Coconut Oil on Heart Lipids and on Fatty Acid Utilization in Rapeseed Oil". Lipids. 15 (11): 938–943. doi:10.1007/BF02534418.
- ↑ Achaya, KT (1987). "Fat Status of Indians - A Review". Journal of Scientific & Industrial Research. 46 (3): 112–126.
- ↑ Indu, M; Ghafoorunissa (1992). "n-3 Fatty Acids in Indian Diets - Comparison of the Effects of Precursor (Alpha-Linolenic Acid) vs Product (Long chain n-3 Poly Unsaturated Fatty Acids)". Nutrition Research. 12 (4–5): 569–582. doi:10.1016/S0271-5317(05)80027-2.
- ↑ Schneeman, BO (2006-10-06). "Qualified Health Claims, Letter of Enforcement Discretion U.S. Food and Drug Administration: Unsaturated Fatty Acids from Canola Oil and Reduced Risk of Coronary Heart Disease". US Food and Drug Administration. สืบค้นเมื่อ 2008-09-03.
Limited and not conclusive scientific evidence suggests that eating about 1 ½ tablespoons (19 grams) of canola oil daily may reduce the risk of coronary heart disease due to the unsaturated fat content in canola oil. To achieve this possible benefit, canola oil is to replace a similar amount of saturated fat and not increase the total number of calories you eat in a day. One serving of this product contains [x] grams of canola oil.
- ↑ Rajaram, S (2014). "Health benefits of plant-derived α-linolenic acid". The American Journal of Clinical Nutrition. 100 Suppl 1: 443S–8S. doi:10.3945/ajcn.113.071514. PMID 24898228.
- ↑ "Protect Your Heart: Choose Fats Wisely" (PDF). American Diabetes Association. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-12. สืบค้นเมื่อ 2008-09-03.
- ↑ Sahasrabudhe, M. R. (1977). "Crismer values and erucic acid contents of rapeseed oils". Journal of the American Oil Chemists' Society. 54 (8): 323–324. doi:10.1007/BF02672436.
- ↑ 48.0 48.1 "CFR - Code of Federal Regulations Title 21". U.S. Dept. of Health and Human Services. 2010-04-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-21.
- ↑ "Erucic acid in food: A Toxicological Review and Risk Assessment; Technical report series No. 21" (PDF). Food Standards Australia New Zealand. June 2003. p. 4, paragraph 1. ISSN 1448-3017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-23.
- ↑ 50.0 50.1
Luger, CL (2014). "14". ใน Hayes, Wallace; Kruger, Claire L (บ.ก.). Food Safety and Foodborne Toxicants. Hayes' Principles and Methods of Toxicology (6th ed.). CRC Press. pp. 646–657.
In humans. however. although the long-term use of Lorenzo's oil (oleic acid and erucic acid) in the treatment of adrenoleukodystrophy or adrenomyeloneuropathy leads to thrombocytopenia and lymphopenia (Unkrig et al. 1994), adverse effects from dietary consumption of erucic acid have not been reported.
- ↑ Reddy, Chada S.; Hayes, A. Wallace (2007). "Foodborne Toxicants". ใน Hayes, A. Wallace (บ.ก.). Principles and methods of toxicology (5th ed.). London, UK: Informa Healthcare. p. 640. ISBN 978-0-8493-3778-9.
- ↑ D.R., DeClercq; J.K., Daun; K.H., Tipples (1997). "Quality of Western Canadian Canola 1997" (PDF) (Press release). Canadian Grain Research Laboratory: Canadian Grain Commission. ISSN 0836-1657. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2016-12-21.
- ↑ 53.0 53.1 53.2 "US National Nutrient Database, Release 28". United States Department of Agriculture. May 2016. All values in this column are from the USDA Nutrient database unless otherwise cited.
- ↑ "Fats and fatty acids contents per 100 g (click for "more details") example: avocado oil; user can search for other oils". Nutritiondata.com, Conde Nast for the USDA National Nutrient Database, Standard Release 21. 2014. สืบค้นเมื่อ 7 September 2017. Values from Nutritiondata.com (SR 21) may need to be reconciled with most recent release from the USDA SR 28 as of Sept 2017.
- ↑ "Avocado oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ What is unrefined, extra virgin cold-pressed avocado oil?, The American Oil Chemists’ Society
- ↑ "Canola oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 58.0 58.1 58.2 58.3 Katragadda, H. R.; Fullana, A. S.; Sidhu, S.; Carbonell-Barrachina, Á. A. (2010). "Emissions of volatile aldehydes from heated cooking oils". Food Chemistry. 120: 59. doi:10.1016/j.foodchem.2009.09.070.
- ↑ "Coconut oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Corn oil, industrial and retail, all purpose salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ 61.0 61.1 61.2 61.3 61.4 61.5 Wolke, Robert L. (16 May 2007). "Where There's Smoke, There's a Fryer". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 5 March 2011.
- ↑ "Cottonseed oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Linseed/Flaxseed oil, cold pressed, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ Garavaglia J, Markoski MM, Oliveira A, Marcadenti A (2016). "Grape Seed Oil Compounds: Biological and Chemical Actions for Health". Nutr Metab Insights. 9: 59–64. doi:10.4137/NMI.S32910. PMC 4988453. PMID 27559299.
- ↑ "Efficacy of dietary hempseed oil in patients with atopic dermatitis". Journal of Dermatological Treatment. 2005. สืบค้นเมื่อ 25 October 2017.
- ↑ https://www.veghealth.com/nutrition-tables/Smoke-Points-of-Oils-table.pdf
- ↑ "Olive oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Oil, peanut". FoodData Central. usda.gov.
- ↑ "Safflower oil, salad or cooking, high oleic, primary commerce, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, 65% linoleic, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ "Sunflower oil, less than 60% of total fats as linoleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Sunflower oil, high oleic - 70% or more as oleic acid, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Cottonseed oil, industrial, fully hydrogenated, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Palm oil, industrial, fully hydrogenated, filling fat, fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
- ↑ "Soybean oil, salad or cooking, (partially hydrogenated), fat composition, 100 g". US National Nutrient Database, Release 28, United States Department of Agriculture. May 2016. สืบค้นเมื่อ 6 September 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- USDA-ERS Topic - Canola เก็บถาวร 2014-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Summary of canola production, trade, and consumption as well as links to relevant USDA reports.