เขนงนายพราน

สปีชีส์ของพืช
(เปลี่ยนทางจาก Nepenthes mirabilis)

เขนงนายพราน
หม้อบนของ Nepenthes mirabilis
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  mirabilis
ชื่อทวินาม
Nepenthes mirabilis
(Lour.) Druce (1916)
การกระจายพันธุ์ของ N. mirabilis
ชื่อพ้อง
  • Nepenthes alata
    auct. non Blanco: Danser (1928)
    [=N. alata/?N. benstonei/N. eustachya/N. mirabilis]
  • Nepenthes albolineata
    F.M.Bail. (1898)
  • Nepenthes alicae
    F.M.Bail. (1898)
  • Nepenthes armbrustae
    F.M.Bail. (1905)
  • Nepenthes bernaysii
    F.M.Bail. (1881)
  • Nepenthes cantharifera
    Juss. ex Raf. (1835)
  • Nepenthes cholmondeleyi
    F.M.Bail. (1900)
  • Nepenthes distillatoria
    auct. non L.: Steud. (1841)
  • Nepenthes echinostoma
    Hook.f. (1873)
  • Nepenthes fimbriata
    Bl. (1852)
  • Nepenthes fimbriata var. leptostachya
    Bl. (1852)
  • Nepenthes garrawayae
    F.M.Bail. (1905)
  • Nepenthes hainanensis
    Metcalfe & Chalk (1950) sphalm.typogr.
  • Nepenthes hainaniana
    Metcalfe & Chalk (1950) nom.nud.
  • Nepenthes hainensis
    Hort. ex Y.Fukatsu (1999) sphalm.typogr.
  • Nepenthes jardinei
    F.M.Bail. (1897)
  • Nepenthes kampotiana
    auct. non Lecomte: Hort. ex Hort.Bot.Berlin in sched. (1996)
  • Nepenthes kennedyana
    F.Muell. (1865)
  • Nepenthes kennedyana var. rubra
    Hort. (1880) nom.nud.
  • Nepenthes kennedyi
    Benth. (1873) sphalm.typogr.
  • Nepenthes macrostachya
    Bl. (1852)
  • Nepenthes mirabilis
    auct. non (Lour.) Druce: Danser (1928) [=N. mirabilis/N. rowanae]
  • Nepenthes moluccensis
    Oken (1841)
  • Nepenthes moorei
    F.M.Bail. (1898)
  • Nepenthes obrieniana
    Linden & Rodigas (1890) nom.ambiguum
    [=?N. gracilis × N. rafflesiana × N. hirsuta × N. distillatoria/N. gracilis/N. mirabilis]
  • Nepenthes pascoensis
    F.M.Bail. (1905)
  • Nepenthes phyllamphora
    auct. non Willd.: Regel (1881)
    [=N. khasiana/N. mirabilis]
  • Nepenthes phyllamphora
    Willd. (1805) nom.illeg.
  • Nepenthes phyllamphora var. macrantha
    Hook.f. (1873)
  • Nepenthes phyllamphora var. pediculata
    Lecomte (1909)
  • Nepenthes phyllamphora var. platyphylla
    Bl. (1852)
  • Nepenthes scyphus
    Juss. ex Raf. (1835)
  • ?Nepenthes sinensis
    Hort.Bot.Goettingen in sched. (1998) nom.nud.
  • Nepenthes tubulosa
    Macfarl. (1908)
  • Nepenthes vieillardii
    auct. non Hook.f.: Hort. ex Studnicka (1989)
  • Phyllamphora mirabilis
    Lour. (1790)
  • "Cantharifera"
    Rumph. (1750)
  • "Cantherifera"
    Phillipps & A.L.Lamb (1996) sphalm.typogr.

เขนงนายพราน[1] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nepenthes mirabilis, มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาละตินว่า mirabilis หมายถึง น่าพิศวง) หรือ Common Swamp Pitcher-Plant[2] เป็นพืชกินสัตว์ชนิดหนึ่ง ในวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง พบได้ตามหนองน้ำในเขตร้อนชื้นในแทบทุกภาคของประเทศไทย และมีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ ได้แก่ เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ไทย มาเลเซียตะวันตก กัมพูชา เกาะนิวกินี อินโดจีน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย จีน เกาะฮ่องกง ปาเลา หมู่เกาะโมลุกกะ พม่า มาเก๊า และไมโครนีเซีย ซึ่งผลสืบเนื่องมาจากการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางนี้เอง จึงทำให้เขนงนายพรานมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ ที่เห็นได้เด่นชัดคือ N. mirabilis var. echinostoma ชึ่งเป็นรูปแบบที่หายากประจำถิ่นในบรูไนและรัฐซาราวัก ซึ่งเพอริสโตมจะบาน กว้างและหนาพิเศษ ทั้งยังมีร่องละเอียดอย่างเห็นได้ชัด

ในประเทศไทย เขนงนายพรานมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: กระบอกน้ำพราน (ภาคใต้) ปูโยะ (มลายู ปัตตานี) ลึงค์นายพราน (พัทลุง) หม้อแกงค่าง (ปัตตานี) หม้อข้าวลิง (จันทบุรี) หม้อข้าวหม้อแกงลิง (ใต้ นราธิวาส) เหน่งนายพราน (ใต้) [1]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้

เขนงนายพรานเป็นไม้เลื้อยหรือเกาะกันเป็นพุ่มเล็กแน่น อาจยาวได้ถึง 10 เมตร

ใบเดี่ยวรี ใบเรียงตัวเป็นเกลียว บางเหมือนกระดาษ ใบรูปไข่หรือรูปปลายหอก ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยเมื่อยังเล็กและจะหายไปเมื่อโตเต็มที่ ใบยาวไม่เกิน 30 ซม. กว้างไม่เกิน 7 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบค่อย ๆ แคบลงหรือแคบลงอย่างลาดชัน โคนใบธรรมดา-โอบรัดลำต้นกึ่งหนึ่งหากไม่มีก้านใบ เส้นใบแนวยาวเห็นได้ชัดเจน ฝั่งละ 4-5 เส้น เส้นใบย่อยจำนวนมาก สายดิ่งหรือมือจับยาวไม่เกิน 10 ซม.

 
ช่อดอกเพศผู้ของเขนงนายพรานที่ขึ้นอยู่บนหินในปาเลา

หม้อ

แก้

หม้อล่างมีลักษณะยาว ก้นหม้อเป็นกระเปาะ มีเอวช่วง 1 ใน 3 จากก้น ด้านบนทรงกระบอก สูงไม่เกิน 20 ซม. กว้างไม่เกิน 4 ซม. มีครีบ 1 คู่ (กว้างไม่เกิน 4 มม.) ตั้งแต่ขอบปากถึงก้นหม้อ บริเวณต่อมผลิตน้ำย่อยอยู่บริเวณก้นหม้อที่เป็นกระเปาะ ปากหม้อกลม ขนานกับพื้นหรือเฉียง เพอริสโตมแบนโค้งที่ขอบ หนาไม่เกิน 10 มม. ฟันเห็นไม่ชัดเจน ฝาหม้อเป็นรูปกลมรี ไม่มีเดือยใต้ฝา มีเดือย 1-2 เดือยที่ฐานด้านหลัง ยาวไม่เกิน 5 มม. หม้อบนทรงกระบอกครีบหดเล็กลง สีของหม้อมีสีตั้งแต่สีเขียวถึงแดง อาจมีจุด

ดอก

แก้

ดอกเป็นแบบช่อกระจะ แบบดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ก้านช่อเดี่ยว ช่อดอกยาวไม่เกิน 30 ซม. ก้านดอกยาวไม่เกิน 15 มม. ไม่มีฐานรองดอก กลีบดอกรูปกลมหรือรูปไข่ ยาวไม่เกิน 7 มม. ดอกเพศผู้มีขดเกสรตัวผู้ 1 ขดมีลักษณะกลม ดอกเพศเมียมีรังไข่รูปรี เสมือนมีก้านดอก ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-กุมภาพันธ์

อื่น ๆ

แก้
  • ลำต้นหนาไม่เกิน 10 มม. ระยะระหว่างข้อไม่เกิน 15 ซม.
  • ผล/ฝักเป็นรูปวงรีคล้ายแคปซูล 4 ลิ้นและแตกเมื่อแก่ ยาว 1.5–3 ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดรูปเส้นด้าย ยาว ประมาณ 1.2 ซม.[3]
  • เมื่อยังเล็กจะปกคลุมด้วยขนหนาสั้นสีขาว แต่เมื่อโตเต็มที่ขนจะหายไป[4]

ญาติใกล้ชิด

แก้

เขนงนายพรานจะมีลักษณะใกล้เคียงกับญาติใกล้ชิดของมันมากคือ N. rowanae และ N. tenax มาก ซึ่ง 2 ชนิดหลังนี้เป็นพืชถิ่นเดียวของออสเตรเลีย

ความแตกต่างระหว่าง เขนงนายพราน และ N. rowanae (คลาร์ก & ครูเกอร์, 2005)
ลักษณะ N. mirabilis N. rowanae
สัณฐานวิทยาของแผ่นใบ แหลมถึงกลม แคบลงไปทางส่วนปลาย, และต่อไปตามสายดิ่งในลักษณะที่แคบ, แหลม, กว้าง
จุดต่อของสายดิ่งกับใบ ทั่วไป แบบก้นปิด
ปีกหม้อ ทั่วไป, มีขนขึ้นที่ขอบ แบนที่ด้านหน้า, รูปร่างรูปตัวที, มีขนขึ้นที่ขอบ
พื้นผิวของแผ่นใบ คล้ายกระดาษ คล้ายแผ่นหนัง แข็ง
จุดต่อของแผ่นใบกับลำต้น ทั่วไป, เป็นครีบ ⅓ ของความยาวของปล้อง เป็นครีบน้อยกว่า ½ ของความยาวของปล้อง, ทั่วไปจะยาวกว่า
ความหนาแน่นของต่อมในส่วนล่างของหม้อ 1600-2500 / ซม.² ประมาณ 3600 / ซม.²
ตำแหน่งคอ/เอวในหม้อบน กึ่งกลาง, ต่ำกว่ากึ่งกลาง สูงกว่าหนึ่งในสี่
ตำแหน่งคอ/เอวในหม้อล่าง ต่ำกว่าสามถึงหนึ่งในสี่ ติดกับใต้เพอริสโตม

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

แก้

เขนงนายพรานเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง ทำให้มีความหลากหลายที่สูงมาก แล้วด้วยเหตุนี้เองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เอฟ.เอ็ม.เบลีย์ (F.M. Bailey) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ได้เข้าใจผิดและตั้งให้เขนงนายพรานเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงถึง 10 ชนิด[5] เพราะลักษณะที่แตกต่างกันของตัวอย่างที่พบ ในการสำรวจหม้อข้าวหม้อแกงลิงในรัฐควีนส์แลนด์ ต่อมา บี.เอช. แดนเซอร์ (B. H. Danser) นักอนุกรมวิธานได้ตรวจสอบผลงานของเบลีย์และพบว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั้ง 10 ชนิดนั้น แท้ที่จริงล้วนเป็นเขนงนายพรานทั้งสิ้น จึงได้แก้ไขใหม่หมดโดยระบุว่ามันเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของเขนงนายพรานเท่านั้น[6] เขนงนายพรานสามารถพบได้ที่ระดับความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเล ไปจนถึงระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,500 เมตร แต่ส่วนใหญ่จะพบเจริญเติบโตที่ระดับความสูงไม่เกิน 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล[4] และมักเป็นบริเวณริมตลิ่ง พบได้มากบริเวณที่โล่ง เฉอะแฉะ บึงน้ำซึ่งมีน้ำท่วมขังเป็นประจำ หรือแม้กระทั่งในสวนยางพารา

เขนงนายพรานสามารถพบได้ในเกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ไทย มาเลเซียตะวันตก กัมพูชา เกาะนิวกินี อินโดจีน ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย จีน เกาะฮ่องกง ปาเลา หมู่เกาะโมลุกกะ พม่า มาเก๊า และไมโครนีเซีย ในประเทศไทย สามารถพบได้ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และที่พบมากที่สุดคือ ภาคใต้ เขนงนายพรานมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้: กระบอกน้ำพราน (ภาคใต้) ปูโยะ (มลายู ปัตตานี) ลึงค์นายพราน (พัทลุง) หม้อแกงค่าง (ปัตตานี) หม้อข้าวลิง (จันทบุรี) หม้อข้าวหม้อแกงลิง (ใต้ นราธิวาส) เหน่งนายพราน (ใต้) [1]

ประวัติและการค้นพบ

แก้
 
Cantharifera ใน Herbarium Amboinensis (พรรณไม้จากอองบง) ของรัมฟิออซ เล่ม 5 ปี พ.ศ. 2290 ถึงแม้ว่าจะถูกวาดหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ไม้เถาทางขวาไม่ใช่หม้อข้าวหม้อแกงลิง แต่เป็น Flagellaria

เกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ (เยอรมัน: Georg Eberhard Rumphius) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันได้ค้นพบหม้อข้าวหม้อแกงลิง 2 ชนิดใหม่ในหมู่เกาะมลายู จากภาพในหนังสือ Herbarium Amboinensis (พรรณไม้จากอองบง) ทั้ง 6 เล่มของเขาที่เขียนเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2233 และได้ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2284 ในภาพหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่ชื่อ Cantharifera ที่แปลว่า "คนถือเหยือก" นั้นเมื่อนำมาพิจารณาแล้วคาดว่าคือเขนงนายพราน ส่วนชนิดที่เหลือก็คือ N. maxima[7] แต่ยังไม่เป็นที่แน่ใจนัก

ปี พ.ศ. 2333 โจเอา เดอ เลอรีโร (โปรตุเกส: João de Loureiro) นักบวชชาวโปรตุเกส ได้พรรณนาถึง Phyllamphora mirabilis หรือ "ใบรูปหม้ออันน่าพิศวง" จากเวียดนาม หรือก็คือเขนงนายพรานนั่นเอง แม้เขาจะอยู่ในประเทศนี้มาถึง 35 ปี มันดูเหมือนว่า เลอรีโรจะไม่ได้เฝ้าศึกษาหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้อย่างจริงจังนัก เขาอ้างว่าฝาของหม้อเคลื่อนไหวได้ในรูปแบบเปิดและปิดฝาหม้อไว้ในงานที่มีชื่อเสียงของเขา Flora Cochinchinensis (พืชจากเวียดนามใต้) ซึ่งเขาเขียนไว้ว่า:[8]

...สายดิ่งที่ยื่นยาวต่อจากปลายสุดของใบที่บิดขดเป็นวงอยู่ตรงกลาง ทำหน้ายึดหม้อนิ่ม ๆ รูปไข่นั่นไว้ มันมีปากที่เรียบเป็นโครงยื่นตรงขอบและที่ด้านตรงข้ามเป็นฝาปิด ซึ่งเปิดอยู่โดยธรรมชาติ และจะปิดเมื่อต้องเก็บกักน้ำค้างไว้ เป็นผลงานของพระผู้เป็นเจ้าที่น่าพิศวงมาก! — จากหนังสือหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว[2]

ในที่สุด Phyllamphora mirabilis ก็ถูกเปลี่ยนเข้าสู่สกุลของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยเกออร์จ คลาริดก์ ดรูซ (George Claridge Druce) ในปี พ.ศ. 2459[9] ดังนั้น P. mirabilis จึงเป็น ชื่อเดิม (basionym) ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วโลกหลายชนิด[10]

ในปี พ.ศ. 2382 พี.ดับเบิลยู. โคร์ทอลส์ (P. W. Korthals) ได้ตีพิมพ์เอกสารหม้อข้าวหม้อแกงลิงฉบับแรก โดยในรายชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั้ง 9 ชนิดมีเขนงนายพรานรวมอยู่ด้วย

อนุกรมวิธาน

แก้

หน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิด

แก้
 
Nepenthes mirabilis var. echinostoma ที่ขึ้นอยู่ริมถนน

การกระจายตัวที่กว้างจะทำให้เกิดการวิวัฒนาการที่แตกต่างของลักษณะของหม้อและสี ทำให้มีการแจกแจงไว้ดังนี้

  • Nepenthes mirabilis f. anamensis (Hort.Weiner) Hort.Westphal (1991)
  • Nepenthes mirabilis var. anamensis Hort.Weiner in sched. (1985) nom.nud.
  • Nepenthes mirabilis var. biflora J.H.Adam & Wilcock (1992)
  • Nepenthes mirabilis var. echinostoma (Hook.f.) Hort.Slack ex J.H.Adam & Wilcock (1992)
  • Nepenthes mirabilis var. globosa M.Catal. (2010)[11]
  • Nepenthes mirabilis f. simensis (Hort.Weiner) Hort.Westphal (1991)
  • Nepenthes mirabilis var. simensis Hort.Weiner in sched. (1985) nom.nud.
  • Nepenthes mirabilis f. smilesii (Hemsl.) Hort.Westphal (2000) = Nepenthes smilesii
  • Nepenthes mirabilis var. smilesii (Hemsl.) Hort.Weiner in sched. (1985) = Nepenthes smilesii

N. mirabilis var. echinostoma

แก้

N. mirabilis var. echinostoma (มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาละตินว่า echinostoma อันหมายถึง ปากเป็นมันวาวคล้ายเปลือกกุ้ง หอย[12]) มีลักษณะแปรผันที่เด่นชัด มีเพอริสโตมที่บาน กว้างและหนาพิเศษ ทั้งยังมีร่องละเอียดอย่างเห็นได้ชัด ถูกค้นพบโดย โอโดอาร์โด เบคคารี (Odoardo Beccari) ในปี พ.ศ. 2408 และถูกจำแนกชนิดโดยเซอร์ โยเซพ ดาลตัน ฮุคเกอร์ในปี พ.ศ. 2416[2] N. mirabilis var. echinostoma เป็นลักษณะเดียวของชนิดที่ผิดแปลกไปการลักษณะอื่นเป็นอย่างมาก พบในประเทศบรูไน รัฐซาราวัก และรัฐซาบะฮ์[2] (ยังไม่ถูกยืนยัน) ครั้งแรกที่พบมันถูกจัดจำแนกเป็น Nepenthes echinostoma แต่ในภายหลัง อดัมและวิลคัก ได้จัดลำดับอนุกรมวิธานให้พืชนี้เป็นความหลากหลายของเขนงนายพรานเท่านั้น[4]

N. mirabilis var. globosa

แก้
 
N. mirabilis var. globosa

ในปี พ.ศ. 2550 หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด N. globosa ที่ได้รับการระบุบโดย ไซเกะโอะ คุระตะ (Shigeo Kurata) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Nepenthes sp. Viking[13] ซึ่งสามารถพบในเกาะบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของจังหวัดพังงา ใกล้กับจังหวัดตรัง ประเทศไทย[11][13] ในงาน Sarawak Nepenthes summit 2007 (งานประชุมเรื่องหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่รัฐซาราวัก ปี พ.ศ. 2550) ได้ลดระดับ N. globosa ลงเหลือสปีชีส์ย่อยของเขนงนายพรานแทน[14] เพราะยังมีการศึกษาในหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้น้อยมาก และถ้า N. globosa เป็นสปีชีส์ย่อยของเขนงนายพรานจริง จะทำให้ N. globosa เป็นความแปรผันมากที่สุดในรูปทรงของหม้อของเขนงนายพราน ต่อมาในภายหลังได้รับการระบุบโดย มาร์เชลโล กาตาลาโน (Marcello Catalano) ในปี พ.ศ. 2553 ภายใต้ชื่อ Nepenthes sp. Phanga Nga[13]

ลูกผสมตามธรรมชาติ

แก้

ลูกผสมตามธรรมชาติของเขนงนายพรานตามที่มีการบันทึกไว้มีดังนี้:

สถานะการอนุรักษ์

แก้

เนื่องจากมีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้าง เขนงนายพรานจึงถูกจัดให้อยู่ในสถานะ LR/lc โดย IUCN ซึ่งหมายความว่ามีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ แต่ไม่มีแผนงานอนุรักษ์รองรับ และไม่ทราบว่าจะมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์จากพื้นที่ธรรมชาติในอนาคตข้างหน้าหรือไม่ และอยู่ในบัญชีที่ 2 ของไซเตส[17] ที่กำหนดให้หม้อข้าวหม้อแกงลิงทุกชนิดอยู่ในบัญชีที่ 2 ยกเว้น N. khasiana และ N. rajah จัดอยู่ในบัญชีที่ 1

ในส่วนของประเทศไทยที่เป็นสมาชิกของไซเตสนั้น ได้กำหนดนโยบาย มาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พุทธศักราช 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2535 มีรายละเอียดเกี่ยวกับเขนงนายพรานดังนี้[18]

โดยมีข้อบังคับไว้โดยสรุปเกี่ยวกับพืชอนุรักษ์ดังนี้

  1. ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
  2. ผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)

สิ่งมีชีวิตอิงอาศัยหม้อข้าวหม้อแกงลิง

แก้

มีการพบสิ่งมีชีวิตอิงอาศัยหลายชนิดในหม้อของเขนงนายพราน ประกอบไปด้วย แมลงวันวงศ์ sarcophagid Sarcophaga papuensis และแมลงหกขาขนาดเล็ก Nepenthacarus warreni ซึ่งทั้งคู่พบในประชากรของเขนงนายพรานในประเทศออสเตรเลีย[19][20] ในทำนองเดียวกัน ยังพบยุง Aedes dybasi และ Aedes maehleri อาศัยอยู่ในหม้อของเขนงนายพรานบนเกาะของประเทศปาเลาและเกาะยับ (Yap) ตามลำดับ[21] ยุงทั้ง 2 ชนิดมีวงจรชีวิตที่ผิดแปลกไปและรูปร่างสัญฐานลักษณะเฉพาะที่สัมพันธ์กับถิ่นอาศัยนี้[22][23]

นีมาโทดา Baujardia mirabilis ได้รับการระบุว่าพบได้จากเขนงนายพรานในประเทศไทย ซึ่งคาดกันว่าไม่ใช่ความบังเอิญที่หม้อของเขนงนายพรานจะเป็นถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของนีมาโทดาชนิดนี้ ระบบนิเวศขนาดจิ๋วในหม้อถูกครอบครองโดยลูกน้ำยุง แมลงตัวเล็ก ๆ และ B. mirabilis มีการคาดเดากันว่านีมาโทดาชนิดนี้อาจมีความสัมพันธ์แบบพาหะกับแมลงอิงอาศัยชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด[24]

ในตอนใต้ของประเทศจีน มีการพบกบต้นไม้ในหม้อของเขนงนายพราน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำนี้ ไม่พลัดตกลงไปในหม้อจนกลายเป็นเหยื่อของเขนงนายพราน แต่น่าจะลงไปกินแมลงที่ตกลงไปในหม้อมากกว่า[25] กบนั้นไม่ได้รับผลกระทบจากน้ำย่อยที่มีฤทธ์เป็นกรดที่อยู่ในหม้อของเขนงนายพราน (ซึ่งอาจมีค่า ph ต่ำถึง 2) เป็นเพราะมีเมือกห่อหุ้มชั้นผิวหนังอยู่[26]

มีบันทึกว่าพบเห็ดราที่อาศัยอยู่ในน้ำครั้งแรกในหม้อของพืชกินสัตว์ มาจากตัวอย่างของเขนงนายพรานที่ขึ้นอยู่ริมแม่น้ำจาร์ดิน (Jardine) ในประเทศออสเตรเลีย เห็ดราที่เป็นเส้นใยนี้ สังเกตพบทั้งในน้ำที่อยู่ในกับดักของพืชกินสัตว์และติดกับไคทินแมลงที่เหลืออยู่[27][28]

นอกจากนี้ หม้อของเขนงนายพรานยังเป็นแหล่งอาศัยของชุมชนแบคทีเรียที่ซับซ้อนอีกด้วย[29]

ประโยชน์

แก้
หม้อของเขนงนายพรานที่ถูกนำมาประกอบอาหารโดยชาวจาราย (Jarai people) ในจังหวัดกอนตูม ประเทศเวียดนาม
  • เถาหรือลำต้นของเขนงนายพรานมีความเหนียวทนทานมาก ชาวบ้านนิยมไปทำเชือกเพื่อผูกมัดสิ่งของต่าง ๆ เช่น ผูกเสาทำรั้วบ้าน หรือ ใช้ถักเครื่องจักสาน เช่น พวกเครื่องดักปลา เป็นต้น[30]
  • รากของเขนงนายพรานใช้ฝนกับน้ำในกระเปาะใช้พอกแผลถอนพิษสัตว์ ใช้ผสมยาอื่นแก้โลหิตเป็นพิษ ส่วนของหม้อใช้ผสมยาอื่นกินแก้โรคน้ำเหลืองเสีย[30]
  • ทางภาคใต้ได้มีการนำเขนงนายพรานไปทำขนมที่มีชื่อว่า "ข้าวเหนียวหม้อแกงลิง"[31] วิธีการทำเริ่มจากการแช่ข้าวเหนียว แล้วนำส่วนที่เป็นหม้อของเขนงนายพรานไปล้างให้สะอาด กรอกข้าวเหนียวลงไปในหม้อ จากนั้นหยอดหางกะทิตามลงไป ยกขึ้นเตานึ่ง พอข้าวเหนียวใกล้สุกจึงหยอดหัวกะทิที่ผสมเกลือพอเค็ม นำมานึ่งอีกครั้งจนสุก

การปลูกเลี้ยง

แก้
ดูเพิ่ม: การปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิง

เขนงนายพรานเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงพืชพื้นราบ ส่วนมากพบสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 100 เมตร สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นต่ำได้ดี (ประมาณ 20%[32]) จึงเป็นหนึ่งในหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ปลูกเลี้ยงได้ง่ายมาก เป็นพืชต้องการแสงมาก อากาศไหลเวียนได้ดี เครื่องปลูกต้องระบายน้ำได้ดีแต่ไม่จับตัวกันแน่น และต้องชุ่มน้ำทั่วกระถางเมื่อมีการให้น้ำ ถึงแม้จะมีรายงานว่าพบเขนงนายพรานในบึงน้ำซึ่งมีน้ำท่วมขัง แต่ไม่ควรแฉะมากและไม่ควรหล่อน้ำทิ้งไว้เพราะจะทำให้รากเน่าได้ แนะนำให้ใช้กาบมะพร้าวสับเป็นเครื่องปลูก

การให้ปุ๋ยเคมี (ที่ประกอบไปด้วย NPK) นั้นสามารถให้ได้แต่ควรใช้เจือจางกว่าที่ระบุบในฉลาก และเนื่องจากเขนงนายพรานเป็นไม้เลื้อยที่อาจยาวได้ถึง 10 เมตร จึงจำเป็นต้องทำหลักหรือร้านให้มันยึดเกาะและเลื้อยไต่

การเผยแพร่ในสื่อ

แก้
 
แสตมป์ชุดพืชกินแมลง พ.ศ. 2549
  • ประเทศไทยได้จัดพิมพ์แสตมป์ชุดพืชกินแมลง 4 ดวง เป็นที่ระลึกสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย พ.ศ. 2549 โดยใช้ภาพที่ชนะเลิศจากการประกวดในงานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมายประจำปี พ.ศ. 2548 ในหัวข้อ "พืชกินแมลง" 1 ใน 4 ดวงนั้นเป็นรูปเขนงนายพราน[III] ที่ออกแบบโดย นายพงศพล โพนะทา ราคา 3.00 บาท ออกจำหน่ายครั้งแรกเมื่อ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549[33]

เชิงอรรถ

แก้

I. ^ เครื่องหมาย ? หมายถึง ผู้แต่งก็ยังไม่แน่ใจหรือยังมีความสับสนในหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนั้นอยู่

II. ^ N. × mirabilata (N. alata × N. mirabilis) และ N. × tsangoya ((N. alata × N. merrilliana) × N. mirabilis) เป็นแนวทางในการกล่าวอ้างของลูกผสมในธรรมชาติของลูกผสมหม้อข้างหม้อแกงลิงชนิดต่าง ๆ ( Nepenthes Hybrids (1995) )

III. ^ ภาพหม้อบนของหม้อข้าวหม้อแกงลิงในรูปภาพบนแสตมป์ คาดว่าเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด N. × ventrata มากกว่าที่จะเป็นเขนงนายพราน สังเกตได้จากเพอริสโตมมีขอบเป็นจีบหยัก หม้อมีเอวคอด ซึ่งโดยปกติแล้วหม้อบนของเขนงนายพรานนั้นเพอริสโตมมีขอบเรียบกลม หม้อเป็นทรงกระบอก

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  3. Nepenthes mirabilis Encyclocedia of Life
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  5. Danser's Monograph on Nepenthes: Nepenthes mirabilis
  6. Nepenthes rowanae (Nepenthaceae), a remarkable species from Cape York, Australia Carnivorous Plant Newsletter Volume 34, Number 2, June 2005, pages 36 - 41
  7. Rumphius, G.E. 1741–1750. Cantharifera. In: Herbarium Amboinense 5, lib. 7, cap. 61, p. 121, t. 59, t. 2.
  8. de Loureiro, J. 1790. Flora Cochinchinensis 2: 606–607.
  9. Druce, G. 1916. Nepenthes mirabilis. In: Botanical Exchange Club of the British Isles Report 4: 637.
  10. Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  11. 11.0 11.1 Catalano, M. 2010. Nepenthes mirabilis var. globosa M. Catal. var. nov.PDF In: Nepenthes della Thailandia. Prague. p. 40.
  12. "neofarm" Nepenthes mirabilis var. echinostoma
  13. 13.0 13.1 13.2 McPherson, S.R. 2009. Pitcher Plants of the Old World. 2 volumes. Redfern Natural History Productions, Poole.
  14. หม้อข้าวหม้อแกงลิงในเมืองไทย เก็บถาวร 2009-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน exoflora.net เก็บถาวร 2018-03-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  15. 15.0 15.1 Lauffenberger, A. 1995. Guide to Nepenthes Hybrids.
  16. 16.0 16.1 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  17. APPENDICES I AND II as adopted by the Conference of the PartiesPDF (120 KiB)
  18. "ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๑๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง หน้า ๔๓–๖๑. วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕.
  19. Yeates, D.K., H. de Souza Lopes & G.B. Monteith 1989. A commensal sarcophagid (Diptera: Sarcophagidae) in Nepenthes mirabilis (Nepenthaceae) pitchers in Australia. Australian Entomological Magazine 16: 33–39.
  20. Fashing, N.J. 2002. Nepenthacarus, a new genus of Histiostomatidae (Acari: Astigmata) inhabiting the pitchers of Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce in Far North Queensland, Australia.PDF (1.64 MiB) Australian Journal of Entomology 41(1): 7–17. doi:10.1046/j.1440-6055.2002.00263.x
  21. Sota, T. & M. Mogi 2006. Origin of pitcher plant mosquitoes in Aedes (Stegomyia): a molecular phylogenetic analysis using mitochondrial and nuclear gene sequences. Journal of Medical Entomology 43(5): 795–800. doi:10.1603/0022-2585(2006)43[795:OOPPMI2.0.CO;2]
  22. Bohart, R.M. 1956. Insects of Micronesia. Diptera: Culicidae.PDF Insects Micronesia 12(1): 1–85.
  23. Mogi, M. 2010. Unusual life history traits of Aedes (Stegomyia) mosquitoes (Diptera: Culicidae) inhabiting Nepenthes pitchers. Annals of the Entomological Society of America 103(4): 618–624. doi:10.1603/AN10028
  24. Bert, W., I.T. De Ley, R. Van Driessche, H. Segers & P. De Ley 2003. Baujardia mirabilis gen. n., sp. n. from pitcher plants and its phylogenetic position within Panagrolaimidae (Nematoda: Rhabditida).PDF Nematology 5(3): 405–420. doi:10.1163/156854103769224395
  25. Hua, Y. & H. Li 2005. Food web and fluid in pitchers of Nepenthes mirabilis in Zhuhai, China.PDF Acta Botanica Gallica 152(2): 165–175.
  26. Hua, Y. & L. Kuizheng 2004. The Special Relationship Between Nepenthes and Tree Frogs.PDF Carnivorous Plant Newsletter 33(1): 23–24.
  27. Cribbs, A.B. 1987. An aquatic fungus from pitchers of Nepenthes mirabilis. Queensland Naturalist 28: 72–73.
  28. Shnell, D.E. 1992. Literature Review. Carnivorous Plant Newsletter 21(3): 80–82.
  29. Yogiara, A. Suwanto & M.T. Suhartono 2006. A complex bacterial community living in pitcher plant fluid เก็บถาวร 2011-08-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Jurnal Mikrobiologi Indonesia 11(1): 9–14.
  30. 30.0 30.1 มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เก็บถาวร 2009-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน “หม้อแกงลิง” พืชสารพัดประโยชน์
  31. "ข้าวเหนียวหม้อแกงลิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-25. สืบค้นเมื่อ 2009-06-19.
  32. Nepenthes mirabilis www.nepenthesaroundthehouse.com
  33. แสตมป์ชุดพืชกินแมลง เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน stampthai.org เก็บถาวร 2007-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้