Nepenthes rafflesiana

สปีชีส์ของพืช

Nepenthes rafflesiana ( ได้ชื่อตามโทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Raffles' pitcher-plant[3] เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่มีการกระจายตัวกว้างทั้งในเกาะบอร์เนียว, เกาะสุมาตรา, มาเลเซียตะวันตก, และ ประเทศสิงคโปร์ N. rafflesiana นั้นมีความหลากหลายสูงมาก (ส่วนอีกชนิดคือ N. mirabilis) ด้วยมีรูปแบบมากมายและหลากหลายรายละเอียด ในบอร์เนียวมีอย่างน้อยสี่รูปแบบที่ต่างกัน รูปแบบขนาดยักษ์ของพืชชนิดนี้สร้างหม้อที่มีขนาดใหญ่มากสามารถแข่งขันกับ N. rajah ได้เลยทีเดียว

Nepenthes rafflesiana
Nepenthes rafflesiana จากเกาะบอร์เนียว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ: คาร์เนชัน
วงศ์: หม้อข้าวหม้อแกงลิง
สกุล: หม้อข้าวหม้อแกงลิง

Jack (1835)
สปีชีส์: Nepenthes rafflesiana
ชื่อทวินาม
Nepenthes rafflesiana
Jack (1835)
ชื่อพ้อง[2]
  • Nepenthes hookeriana
    Low (1848) nom.nud.
  • Nepenthes kookeriana
    Low ex Becc. (1886) sphalm.typogr.
  • Nepenthes nigropurpurea
    (Mast.) Mast. (1882)
  • Nepenthes raflesea
    Rafarin (1869) sphalm.typogr.
  • Nepenthes sanderi
    Hort. (1908) sphalm.typogr.
  • Nepenthes sanderiana
    Burb. (1904)

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

แก้
 
ถิ่นอาศัยโดยทั่วไปของ N. rafflesiana

Nepenthes rafflesiana เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงพื้นราบที่มีการกระจายพันธุ์กว้าง ทั่วไปพบในบอร์เนียวและบางส่วนของหมู่เกาะรีอู แต่มีการกระจายพันธุ์อย่างจำกัดในเพนนิซูล่า มาเลเซียและสุมาตรา มันมีการกระจายพันธุ์แค่เพียงทางตอนใต้ของเพนนิซูล่า มาเลเซีย โดยเฉพาะในรัฐยะโฮร์มีมากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับที่แห่งอื่น เท่าที่มีการบันทึก N. rafflesiana พบในชายฝั่งตะวันตกของสุมาตรา ระหว่างอินทรปุระและบารุส[4]

ปกติ N. rafflesiana จะขึ้นในบริเวณกลางแจ้ง, ดินเป็นทราย, ความชื้นสูง พบในป่าฝนเขตร้อน,ป่าพรุ, ป่าสันทรายชายหาด และผาริมทะเล มันขึ้นที่ระดับความสูง 0 ถึง 1,200 ม.จากระดับน้ำทะเล[4]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้
 
รายละเอียดของเพอริสโตมในหม้อล่าง

Nepenthes rafflesiana เป็นไม้เลื้อย ลำต้นอาจไต่ได้สูงถึง 15 เมตร และหนาถึง 10 มม. ปล้องยาว 20 ซม.[4] สายดิ่งอาจยาวมากกว่า 110 ซม.

หม้อของ N. rafflesiana ป่องออกและมีปีกชายฝอยขนาดใหญ่ ขนาดของหม้อส่วนใหญ่มีความสูงไม่เกิน 20 ซม. แม้ว่าบางครั้งอาจพบขนาดใหญ่ซึ่งมีหม้อยาวมากกว่า 35 ซม. และกว้าง 15 ซม. หม้อบนรูปกรวยและยกขึ้นเป็นพิเศษที่ด้านหน้าของเพอริสโตม หม้อล่างและหม้อบนมีลักษณะพิเศษของเพอริสโตมคือมีคอคอดที่ยาวซึ่งยาวถึง 3 ซม. หรือมากกว่า

สีของหม้อมีความหลากหลายมากจากม่วงดำจนถึงขาว โดยทั่วไป N. rafflesiana มีสีเขียวอ่อนมีจุดสีม่วงเข้มโดยตลอดหม้อในหม้อล่างและสีครีมในหม้อบน

ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะสูง 16 ถึง 70 ซม. มีดอกเดี่ยวสีแดงหรือม่วง บางครั้งก็มีสองดอกบนก้านเดียวกัน

เมื่อยังเล็กต้นปกคลุมไปด้วยขนยาว, ร่วงง่าย, สีน้ำตาลหรือสีขาว เมื่อโตขึ้นมีสิ่งปกคลุมบางและสั้น เป็นขนสีน้ำตาล หรือไม่มีเลย

หน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิด

แก้
 
รูปแบบสีอ่อนของการแจกแจงชนิดนี้แต่ดั้งเดิมเป็น Nepenthes rafflesiana var. nivea

เพราะมีการกระจายเป็นวงกว้าง N. rafflesiana จึงมีถิ่นอาศัยหลากหลายทำให้เกิดความหลากหลายของลักษณะและสีของหม้อ ตามการแจกแจงหน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิดของ N. rafflesiana ที่ระบุบไว้ รวมทั้งที่ไม่พิจารณายอมรับในปัจจุบันและสี่ความแตกต่างของอนุกรมวิธานเข้าด้วยกัน

ลูกผสมตามธรรมชาติ

แก้

ลูกผสมตามธรรมชาติของ N. rafflesiana ที่มีการบันทึกไว้

อ้างอิง

แก้
  1. Clarke, C.M. (2018). "Nepenthes rafflesiana". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T39689A143963510. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-1.RLTS.T39689A143963510.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. Schlauer, J. N.d. Nepenthes rafflesiana เก็บถาวร 2020-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  3. Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  5. 5.0 5.1 5.2 (ในภาษาเยอรมัน) Beck, G. 1895. Die Gattung Nepenthes. Wiener Illustrirte Garten-Zeitung 20(3–6): 96–107, 141–150, 182–192, 217–229.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ baramensis
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ hemsleyana
  8. 8.0 8.1 (ในภาษาละติน) Hooker, J.D. 1873. Ordo CLXXV bis. Nepenthaceæ. In: A. de Candolle Prodromus Systematis Naturalis Regni Vegetabilis 17: 90–105.
  9. Clarke, C.[M.] 1997. Another Nice Trip to Sumatra. Carnivorous Plant Newsletter 26(1): 4–10.
  10. 10.0 10.1 (ในภาษาฝรั่งเศส) Teysmann, M.J.E. 1859. Énumération des plantes envoyées de Java au jardin botanique de l'Université de Leide. Annales d'horticulture et de botanique, ou Flore des jardins du royaume des Pays-Bas, et histoire des plantes cultivées les plus intéressantes des possessions néerlandaises aux Indes orientales, de l'Amérique et du Japon 2: 133–142.
  11. Burbidge, F.W. 1880. The Gardens of the Sun. Murray, London.
  12. 12.0 12.1 Lowrie, A. 1983. "Sabah Nepenthes Expeditions 1982 & 1983" (PDF). (1.25 MiB) Carnivorous Plant Newsletter 12(4): 88–95.
  13. McPherson, S.R. 2009. Pitcher Plants of the Old World. 2 volumes. Redfern Natural History Productions, Poole.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Clarke1997
  15. Masters, M.T. 1881. New garden plants. Nepenthes Hookeriana. The Gardeners' Chronicle, new series, 16(417): 812–813.
  16. Yulita, K.S. & M. Mansur 2012. The occurrence of hybrid in Nepenthes hookeriana Lindl. from Central Kalimantan can be detected by RAPD and ISSR markers. HAYATI Journal of Biosciences 19(1): 18–24. doi:10.4308/hjb.19.1.18
  17. 17.0 17.1 Phillipps, A., A. Lamb & C.C. Lee 2008. Pitcher Plants of Borneo. Second Edition. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  18. Tan, W.K., C.L. Wong & C.K. Frazier 1996. Nepenthes × (rafflesiana and gracilis)? Nature Malaysiana 21: 82–85.
  19. Bednar, B.L. 1985. "Nepenthesdominii and var. intermedia" (PDF). Carnivorous Plant Newsletter 14(4): 105–106.

อ่านเพิ่ม

แก้