องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (อังกฤษ: International Union for Conservation of Nature) หรือ ไอยูซีเอ็น (IUCN) ชื่อเต็มว่า องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources)[1] เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยมีส่วนร่วมในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล วิจัย ทำโครงการภาคสนาม ให้การสนับสนุน และจัดการศึกษา ภายใต้ภารกิจ "ชักจูง กระตุ้น และสงเคราะห์สังคมทั่วโลกให้อนุรักษ์ธรรมชาติ และสร้างความเชื่อมั่นว่า การใช้ทรัพยากรธรรมชาติด้วยประการใด ๆ จะเป็นไปอย่างเสมอภาคและมีความยั่งยืนทางนิเวศ" ("influence, encourage and assist societies throughout the world to conserve nature and to ensure that any use of natural resources is equitable and ecologically sustainable")[2]

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (ไอยูซีเอ็น)
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ
ก่อตั้ง5 ตุลาคม 1948; 76 ปีก่อน (1948-10-05) (ในชื่อ องค์การระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์ธรรมชาติ)
ฟงเตนโบล ประเทศฝรั่งเศส
สถานที่แกลนด์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
บุคคลสำคัญอิงเจอร์ แอนเดอร์เซน (ผู้อำนวยการใหญ่)
จาง ซินเชิ่ง (ประธาน)
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
จุดความสนใจการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ
รายได้CHF 114 ล้าน / USD 116 ล้าน (2013)
อาสาสมัคร16,000
พนักงานกว่า 1,000 คน (ทั่วโลก)
สมาชิก1,400 ราย
เว็บไซต์www.iucn.org

หลายสิบปีที่ผ่านมา ไอยูซีเอ็นขยายเป้าหมายออกไปยังการอนุรักษ์ระบบนิเวศ และปัจจุบันได้รวมประเด็นต่าง ๆ ทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าไว้ในโครงการของตนด้วย แต่ไอยูซีเอ็นต่างจากองค์การระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมองค์การอื่น ๆ ตรงที่ไอยูซีเอ็นไม่มีเป้าหมายโดยตรงที่จะระดมการสนับสนุนจากสาธารณชนในการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่พยายามจะชักจูงกิจกรรมของภาครัฐและภาคเอกชนโดยการให้ข้อมูลข่าวสารและคำแนะนำ ตลอดจนการสร้างแนวร่วม ไอยูซีเอ็นมีชื่อเสียงมากในการประมวลและเผยแพร่บัญชีแดงไอยูซีเอ็นเกี่ยวกับสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม (threatened species) ซึ่งมีการประเมินสถานะการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ ทั่วโลก[3]

ไอยูซีเอ็นมีมีสมาชิกเป็นองค์การรัฐบาลและองค์การนอกรัฐบาลกว่า 1,400 แห่ง คณะกรรมการของไอยูซีเอ็นมีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมโดยสมัครใจกว่า 16,000 คน ไอยูซีเอ็นยังมีพนักงานราว 1,000 คนที่ทำงานเต็มเวลาในประเทศกว่า 50 แห่ง ส่วนไอยูซีเอ็นเองนั้นมีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ แกลนด์ สวิตเซอร์แลนด์[3]

ไอยูซีเอ็นมีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่ ณ สหประชาชาติ และมีอำนาจให้คำปรึกษาแก่สหประชาชาติ ทั้งมีบทบาทในการบังคับใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศหลายฉบับเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ไอยูซีเอ็นมีบทบาทในการจัดตั้งกองทุนทั่วโลกเพื่อธรรมชาติ (World Wide Fund for Nature) และศูนย์เฝ้าระวังการอนุรักษ์โลก (World Conservation Monitoring Centre) ไอยูซีเอ็นยังเคยถูกวิจารณ์ที่ให้ความสำคัญแก่ธรรมชาติยิ่งกว่าผู้คนดั้งเดิมในท้องถิ่น ทั้งความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่ไอยูซีเอ็นมีต่อภาคธุรกิจในปัจจุบันนั้นก็เป็นที่ถกเถียงกันมาก[4][5]

ไอยูซีเอ็นจัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1948 ระหว่าง ค.ศ. 1948–1956 ใช้ชื่อว่า องค์การระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์ธรรมชาติ (International Union for the Protection of Nature) และระหว่าง ค.ศ. 1990–2008 ใช้ชื่อว่า องค์การสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (World Conservation Union)

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "About". IUCN. The organisation changed its name to the International Union for Conservation of Nature and Natural Resources in 1956 with the acronym IUCN (or UICN in French and Spanish). This remains our full legal name to this day.
  2. "About IUCN:IUCN's Vision and Mission". iucn.org. IUCN. สืบค้นเมื่อ 27 November 2015.
  3. 3.0 3.1 "About IUCN". IUCN. สืบค้นเมื่อ 17 November 2014.
  4. "Kenya: The Maasai Stand up to IUCN Displacement Attempts from their Forest". World Rainforest Movement. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-27. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
  5. Block, Ben. "Environmentalists Spar Over Corporate Ties". Worldwatch Institute. worldwatch.org (updated version). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 26 March 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้