พื้นที่คุ้มครอง

บริเวณที่ได้รับการพิทักษ์หรืออนุรักษ์เพราะความมีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม หรือ เพราะความมีค

พื้นที่คุ้มครอง (อังกฤษ: Protected area) คือภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการพิทักษ์หรืออนุรักษ์เพราะความมีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อม หรือเพราะความมีคุณค่าทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อวัฒนธรรม ตัวอย่างของภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการคุ้มครองก็ได้แก่อุทยาน, เขตสงวนธรรมชาติ (nature reserves) และ เขตอาศัย/อนุรักษ์สัตว์ (wildlife sanctuaries) แต่ไม่รวมภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ เช่นสิ่งก่อสร้างที่มิได้คำนึงถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ แต่รวม “ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม” (cultural landscapes) ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยชาติและธรรมชาติ พื้นที่คุ้มครองรวม พื้นที่คุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Area) ที่หมายถึงภูมิภาคหรือบริเวณที่ได้รับการพิทักษ์หรืออนุรักษ์ที่มีดินแดนที่รวมเนื้อที่ในทะเล

การเดินป่าที่ป่าสงวน Jaldapara Wildlife Sanctuary ในเบ็งกอลตะวันตกในอินเดีย
อุทยานแห่งชาติสวิสในบริเวณภูเขาแอลป์ส่วนที่อยู่ในสวิตเซอร์แลนด์

พื้นที่คุ้มครองมีเป็นจำนวนมากและระดับของการพิทักษ์หรืออนุรักษ์ก็ต่างกันออกไปตามแต่กฎหมายของแต่ละประเทศ หรือตามกฎขององค์การระหว่างประเทศ ในปัจจุบันพื้นที่คุ้มครองทั่วโลกมีจำนวนด้วยกันทั้งหมดราว 108,000 แห่ง และมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้นประมาณ 30,430,000 ตารางกิโลเมตร หรือกว่า 12% ของเนื้อที่ที่เป็นพื้นดินทั้งหมดทั่วโลก หรือกว้างใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาทั้งทวีป[1] ตรงกันข้ามกับพื้นที่คุ้มครองทางทะเลที่เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2009 มีจำนวน 5,000 แห่ง และมีเนื้อที่เพียง 0.8 ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ที่เป็นมหาสมุทร[2][3]

ความหมาย แก้

คำนิยามของพื้นที่คุ้มครองโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ The International Union for Conservation of Nature หรือ (IUCN)[4] คือ:

"ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ที่ชัดแจ้ง, เป็นที่รู้จัก ที่อุทิศ และ บริหารภายใต้กฎหมายหรือวิธีการอันมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีผลต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติระยะยาว โดยมีคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม"

ประเภท แก้

คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง (World Commission on Protected Areas)หรือ WCPA แบ่งประเภทของพื้นที่คุ้มครองออกเป็น 6 ประเภท (IUCN Protected Area categories):[5]

  • ประเภท I. พื้นที่สงวนธรรมชาติเข้มงวด 1เอ,พื้นที่สงวนธรรมชาติเข้มงวด 1บี (Ia: Strict Nature Reserve|Ib: Wilderness Area): หมายถึงพื้นที่ที่ได้รับการพิทักษ์และคุ้มครองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาทางวิทยาศาตร์และสิ่งแวดล้อม
  • ประเภท II. อุทยานแห่งชาติ(National Park): หมายถึงพื้นที่ที่ได้รับการพิทักษ์ที่มีจุดประสงค์หลักในการปกป้องระบบสิ่งแวดล้อม และในการสันทนาการ
  • ประเภท III. อนุสาวรีย์ธรรมชาติ (Natural Monument): หมายถึงพื้นที่พิทักษ์ที่มีจุดประสงค์หลักในการพิทักษ์เพราะความมีคุณค่าที่น่าสนใจหรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางทางธรรมชาติ
  • ประเภท IV. พื้นที่จัดการถิ่นที่อาศัยหรือชนิดพันธุ์หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (Habitat/Species Management Area): หมายถึงพื้นที่ที่ได้รับการพิทักษ์ที่มีจุดประสงค์หลักในการปกป้องโดยระบบการบริหารแทรกแซง (management intervention)
  • ประเภท V. พื้นที่คุ้มครองภูมิทัศน์ทางบก/ภูมิทัศน์ทางทะเล(Protected Landscape/ Seascape): หมายถึงพื้นที่ที่ได้รับการพิทักษ์ที่มีจุดประสงค์หลักในการปกป้องและการรักษาภูมิทัศน์ทางบก/ภูมิทัศน์ทางทะเลสำหรับการสันทนาการ
  • ประเภท VI. พื้นที่คุ้มครองแบบมีการจัดการทรัพยากร (Managed Resource Protected Area): หมายถึงพื้นที่ที่ได้รับการพิทักษ์ที่มีจุดประสงค์หลักในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (sustainable)

ประวัติ แก้

ความพยายามของนานาชาติในความพยายามที่จะก่อตั้งเครือข่ายการพิทักษ์สิ่งแวดล้อมมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1972 เมื่อมีการออก “ปฏิญญาแห่งสต็อกโฮล์ม” (Stockholm Declaration) โดยการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ (United Nations Conference on the Human Environment) ที่สนับสนุนการพิทักษ์ภูมิภาคตัวอย่างของพื้นที่คุ้มครองของแต่ละประเภทของสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการเป็นพื้นฐานของความต้องการในโครงการอนุรักษ์ระดับชาติ ตั้งแต่นั้นมาการพิทักษ์ภูมิภาคตัวอย่างก็กลายมาเป็นพื้นฐานหลักของการอนุรักษ์ทางชีววิทยาที่สนับสนุนโดยอนุสัญญาหรือข้อตกลงสำคัญๆ ของสหประชาชาติ ที่รวมทั้งกฎบัตรแห่งโลก เพื่อธรรมชาติ (World Charter for Nature) ในปี ค.ศ. 1982, the Rio Declaration at the การประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม (ค.ศ. 1992) (Earth Summit) และ ปฏิญญาแห่งโจฮันเนสเบิร์ก (Johannesburg Declaration) ในปี ค.ศ. 2002

อ้างอิง แก้

  1. "Conservation Refugees" by Mark Dowie. First published in Orion, November/December 2005. Re-published in The Best American Science and Nature Writing 2006
  2. Wood et al. 2008. Assessing progress towards global marine protection targets: shortfalls in information and action. Oryx 42:340-351
  3. Protect Planet Ocean http://www.protectplanetocean.org
  4. https://www.iucn.org/about
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-14. สืบค้นเมื่อ 2018-07-23.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พื้นที่คุ้มครอง