112 (หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน)
112 เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินร่วมที่สามารถโทรได้ฟรีจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่ และในบางประเทศเป็นหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานสำหรับติดต่อหน่วยบริการยามฉุกเฉิน (รถพยาบาล, ดับเพลิงและกู้ภัย, ตำรวจ)
112 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานระบบจีเอสเอ็ม โดยโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่รองรับระบบจีเอสเอ็มทั้งหมดสามารถกดหมายเลข 112 ได้แม้เครื่องจะล็อกอยู่ หรือไม่มีซิมการ์ดอยู่ก็ตามในบางประเทศ นอกจากนี้ 112 ยังถูกใช้เป็นหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินสามัญร่วมกันในเกือบทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และประเทศอื่น ๆ ทั้งในยุโรปและอีกหลายประเทศทั่วโลก โดย 112 มักจะใช้งานได้เช่นกันในประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้งาน 112 เป็นหมายเลขหลักเพื่อเข้าถึงบริการฉุกเฉินได้เช่นกัน ซึ่งในบางประเทศ การโทรหมายเลข 112 จะไม่ได้ถูกโอนสายโดยตรงไปยังบริการฉุกเฉิน แต่จะถูกเครือข่ายจีเอสเอ็มส่งต่อไปยังหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินในพื้นที่ เช่น 911 ในอเมริกาเหนือ, 999 ในสหราชอาณาจักรและฮ่องกง และ 000 ในออสเตรเลีย
จุดเริ่มต้น
แก้เลขหมาย 112 ได้รับการกำหนดเป็นเลขหมายมาตรฐานครั้งแรกทั่วยุโรปสำหรับหน่วยบริการยามฉุกเฉิน หลังจากการแนะนำให้ใช้งาน[1]ในการประชุมองค์กรบริหารงานไปรษณีย์และโทรคมนาคมของสหภาพยุโรป (European Conference of Postal and Telecommunications Administrations: CEPT) ในปี พ.ศ. 2519 และมีการกำหนดไว้ใน CEPT Decision ECC/DEC/(17) 05[2]
สมาคมหมายเลขฉุกเฉินแห่งยุโรป (European Emergency Number Association: EENA)[3] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยเป็นองค์กรตัวแทนของหน่วยบริการยามฉุกเฉินและบริการอื่น ๆ ที่รณรงค์เพื่อให้หมายเลข 112 นั้นถูกใช้ให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพในนามของพลเมืองยุโรป EENA ยังคงให้ความรู้เกี่ยวกับหมายเลข 112 อยู่ตลอดมาเนื่องจากเป็นภารกิจหลักของสมาคม
การหมายเลข 112 ถูกให้เหตุผลในเชิงตรรกะว่ามีข้อดีในการนำมาใช้งาน ดังนี้:
- ตัวเลขที่ต่างกัน: เนื่องจากแป้นพิมพ์ตัวเลขที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนั้น การใช้ตัวเลขที่แตกต่างกันอย่างน้อย 2 หลักสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการการกดโทรอย่างไม่ตั้งใจได้ ทั้งจากการที่มีเด็กเล็กมากดเล่น การสั่น ปุ่มชำรุดเสียหาย และการไปชนกับวัตถุอื่น ๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีการกดหมายเลขเดิมซ้ำๆ มากกว่าการกดปุ่มที่แตกต่างกันตามลำดับ โดยเฉพาะเมื่อใช้โทรศัพท์แบบปุ่มกด การกดโทรไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินจากโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่ได้ตั้งใจมีโอกาสสูง เนื่องจากสามารถกดหมายเลขฉุกเฉินได้แม้จะกดล็อกปุ่มกดไว้ก็ตาม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับหมายเลข 999 ของสหราชอาณาจักร[4]
- ตัวเลขน้อย: ในโทรศัพท์แบบหมุน (Rotary dial) การใช้เฉพาะตัวเลขที่ต้องการหมุนอย่างน้อยที่สุด (1 และ 2) จะทำให้เกิดการล็อก[5]การโทรออกในช่องที่ 3 และป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งการใช้หมายเลข 112 นั้นจะช่วยเพิ่มความเร็วในการโทรออก นอกจากนี้ด้วยระบบการโทรแบบพัลส์ (Pulse dialling) การกดใช้งานและเปิดการใช้งานฮุคสั้น ๆ จะให้ผลเช่นเดียวกันกับการโทรออก "1" ดังนั้นการกดฮุคซ้ำๆ อาจส่งผลให้เกิดการโทร 1-1-1 เหตุนี้เอง หมายเลขฉุกเฉินของตำรวจเยอรมนีจึงเปลี่ยนจาก 111 เป็น 110 เมื่อใช้แป้นพิมพ์ตัวเลข การกดเพียงปุ่มแรกและปุ่มที่สองบนแป้นพิมพ์ง่ายกว่าเล็กน้อยในสถาการณ์ฉุกเฉินมากกว่าปุ่มอื่น ๆ
การนำไปใช้งาน
แก้หลังจากมีการใช้งานในยุโรปตะวันออก ประเทศอื่น ๆ จึงได้นำหมายเลข 112 มาใช้งานในกรณีฉุกเฉิน ประเทศที่นำหมายเลขดังกล่าวไปใช้ (รวมไปถึงการโอนสายยังหมายเลขฉุกเฉินอื่น ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว) ได้แก่
แอฟริกา
แก้- อียิปต์ (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับตำรวจ, 123 สำหรับรถพยาบาล และ 180 สำหรับดับเพลิง)
- กานา[6]
- มอริเชียส (ตำรวจเท่านั้น ควบคู่ไปกับ 114 สำหรับรถพยาบาล และ 115 สำหรับดับเพลิง)
- ไนจีเรีย
- รวันดา (ตำรวจและหน่วยดับเพลิง 912 สำหรับรถพยาบาล)
- เซเนกัล (ควบคู่ไปกับ 17 สำหรับตำรวจ, 18 สำหรับดับเพลิง และ 15 สำหรับรถพยาบาล)
- แอฟริกาใต้ (ควบคู่ไปกับ 10111 สำหรับตำรวจ และ 10177 สำหรับรถพยาบาลและดับเพลิง)
เอเชีย
แก้- อาร์มีเนีย (ดับเพลิง 101, ตำรวจนครบาล 102, รถพยาบาล 103)
- อาเซอร์ไบจาน (ควบคู่ไปกับ 102 สำหรับตำรวจ, 103 สำหรับรถพยาบาล ควบคู่ไปกับ 112, 911 โอนสายไปยัง 112 สำหรับผู้ให้บริการ GSM เท่านั้น)
- จีน (คำแนะนำที่บันทึกไว้เกี่ยวกับหมายเลข SOS ที่ถูกต้องในประเทศจีน: ตำรวจ 110, รถพยาบาล 120, ดับเพลิง 119 ไม่มีการโอนสายไปยังบริการฉุกเฉิน)[7]
- ติมอร์-เลสเต
- ฮ่องกง (เชื่อมต่อกับศูนย์บริการฉุกเฉิน 999 โดยอัตโนมัติ จากเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในพื้นที่ที่มีสัญญาณครอบคลุม)
- อินเดีย (ขณะนี้ 112 เป็นหมายเลขฉุกเฉินเดียวทั่วประเทศสำหรับเหตุฉุกเฉินทั้งหมด สำหรับหมายเลขฉุกเฉินที่มีอยู่เดิม เช่น 100 (ตำรวจ), 101 (ดับเพลิงและกู้ภัย) และ 108 (รถพยาบาล), 181 (ดูแลสตรีและเด็ก) ฯลฯ จะถูกรวมอยู่ในหมายเลข 112)[8]
- อินโดนีเซีย (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ, 118 สำหรับรถพยาบาล, 113 สำหรับดับเพลิง และควบคู่กับ 112)[9][10]
- อิหร่าน (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ, 115 สำหรับรถพยาบาล, 112 สำหรับรถพยาบาล Hilal Ahmar และ 125 สำหรับดับเพลิง; 911 ถูกโอนสายไปที่ 112 บนโทรศัพท์เคลื่อนที่)
- อิสราเอล (โอนสายไปที่ 100 – ตำรวจ – ควบคู่ไปกับ 911 และจะให้บริการศูนย์รวมที่ระบุไว้ ควบคู่กับ 100 สำหรับตำรวจ, 101 สำหรับรถพยาบาล และ 102 สำหรับดับเพลิง)
- จอร์แดน (ควบคู่ไปกับ 911)
- คาซัคสถาน (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง, 102 สำหรับตำรวจ และ 103 สำหรับรถพยาบาล)
- คูเวต (ควบคู่ไปกับ 112)
- คีร์กีซสถาน (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง 102 สำหรับตำรวจ และ 103 สำหรับรถพยาบาล)
- เลบานอน (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 160 สำหรับตำรวจ 140 สำหรับรถพยาบาล และ 125 สำหรับดับเพลิง)
- มาเก๊า (ควบคู่ไปกับ 999)
- มาเลเซีย (โอนสายไปยัง 999 บนโทรศัพท์เคลื่อนที่)
- มองโกเลีย (ควบคู่ไปกับ 102 สำหรับตำรวจ 103 สำหรับรถพยาบาล และ 105 สำหรับดับเพลิง)
- เนปาล (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 100 สำหรับตำรวจ 101 สำหรับดับเพลิง และ 102 สำหรับรถพยาบาล)
- ปาเลสไตน์ (ดับเพลิง 102, ตำรวจนครบาล 100, รถพยาบาล 101)
- ซาอุดีอาระเบีย (ควบคู่ไปกับ 911)
- Singapore (โอนสายไปยัง 999 สายของตำรวจ)
- เกาหลีใต้ (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 119 สำหรับรถพยาบาลและดับเพลิง)
- ศรีลังกา (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 119 สำหรับตำรวจ และ 110 สำหรับรถพยาบาลและดับเพลิง)
- ซีเรีย (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับรถพยาบาล และ 113 สำหรับดับเพลิง)
- ไต้หวัน (หลังจากเชื่อมต่อสายแล้ว กด 0 โอนไปยัง 110 (ตำรวจ) กด 9 โอนไปยัง 119 (ดับเพลิง/กู้ภัย/รถพยาบาล))
- ไทย (โทร 191 สำหรับตำรวจ) (โทร 1193 สำหรับตำรวจทางหลวง) (โทร 1155 สำหรับตำรวจท่องเที่ยว) (โทร 1669 สำหรับรถพยาบาล) (โทร 199 สำหรับดับเพลิงและกู้ภัย)
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ควบคู่ไปกับ 999 สำหรับตำรวจ 998 สำหรับรถพยาบาล และ 997 สำหรับดับเพลิง)
- อุซเบกิสถาน
- โอมาน (ควบคู่ไปกับ 9999 สำหรับตำรวจ (ทุกกรณีฉุกเฉิน))
ยุโรป
แก้- แอลเบเนีย (ควบคู่ไปกับ 129 และ 126 สำหรับตำรวจ, 127 สำหรับรถพยาบาล, 128 สำหรับดับเพลิง และ 125 สำหรับการช่วยเหลือทางทะเล)
- อันดอร์รา (รถพยาบาลและดับเพลิง, 118 สำหรับบริการเดียวกันและ 110 สำหรับตำรวจ)
- ออสเตรีย (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับดับเพลิง, 133 สำหรับตำรวจ, 144 สำหรับกู้ภัย/รถพยาบาล, 140 สำหรับกู้ภัยบนภูเขา และ 141 สำหรับบริการแพทย์ทั่วไปในเวลากลางคืน; 059 133 เป็นหมายเลขไม่ฉุกเฉินของกรมตำรวจท้องที่)
- เบลารุส (ดับเพลิงเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง 102 สำหรับตำรวจ และ 103 สำหรับรถพยาบาล)
- เบลเยียม (เฉพาะภาษาฝรั่งเศส ดัตช์ และอังกฤษ (ในบางกรณีเป็นภาษาเยอรมัน)[11] ) (รถพยาบาลและดับเพลิง; 100 สำหรับบริการเดียวกันและ 101 สำหรับตำรวจ)
- บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับตำรวจ 123 สำหรับดับเพลิง และ 124 สำหรับรถพยาบาล)
- บัลแกเรีย (เฉพาะภาษาบัลแกเรีย อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี สเปน กรีก โรมาเนีย ตุรกี หรือรัสเซีย[12]) (ควบคู่ไปกับ 150 สำหรับรถพยาบาล 160 สำหรับดับเพลิง และ 166 สำหรับตำรวจ โอนสายอัตโนมัติไปยัง 112)
- โครเอเชีย (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง, 194 สำหรับรถพยาบาล และ 195 สำหรับค้นหาและกู้ภัยทางทะเล)
- ไซปรัส (ควบคู่ไปกับ 199)
- เช็กเกีย (เฉพาะในภาษาเช็ก อังกฤษ เยอรมัน โปแลนด์ รัสเซีย และฝรั่งเศส (ไม่ใช่โดยตัวมันเอง แต่ใช้ซอฟต์แวร์การแปลช่วย)[13]) (ควบคู่ไปกับ 155 สำหรับรถพยาบาล, 158 สำหรับตำรวจ และ 150 สำหรับดับเพลิง)
- เดนมาร์ก (เป็นภาษาเดนมาร์ก อังกฤษ สวีเดน และนอร์เวย์ (ในบางกรณีเป็นภาษาเยอรมัน)[14]) (รวมไปถึง กรีนแลนด์ ในภาษากรีนแลนด์, เดนมาร์ก และอังกฤษ, หมู่เกาะแฟโร ในภาษาแฟโร เดนมาร์ก และอังกฤษ). ควบคู่ไปกับ 114 สำหรับตำรวจกรณีไม่ฉุกเฉิน
- เอสโตเนีย
- ฟินแลนด์ (รวมไปถึง หมู่เกาะโอลันด์)
- ฝรั่งเศส (ควบคู่ไปกับ 15 สำหรับรถพยาบาล, 17 สำหรับตำรวจ และ 18 สำหรับดับเพลิง)
- เยอรมนี (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ)
- ยิบรอลตาร์ (ควบคู่ไปกับ 190 สำหรับดับเพลิง และ รถพยาบาล และ 199 สำหรับตำรวจ)
- จอร์เจีย
- กรีซ (ควบคู่ไปกับ 100 สำหรับตำรวจ 108 สำหรับหน่วยยามฝั่ง 166 สำหรับรถพยาบาล และ 199 สำหรับบริการดับเพลิง)
- ฮังการี (ควบคู่ไปกับ 104 สำหรับรถพยาบาล, 105 สำหรับดับเพลิง และ 107 สำหรับตำรวจจะโอนสายไปยัง 112 บนโทรศัพท์เคลื่อนที่)
- ไอซ์แลนด์
- ไอร์แลนด์ (ควบคู่ไปกับ 999)
- อิตาลี (ประมาณครึ่งหนึ่งของอิตาลี 112 สำหรับตำรวจภูธร, 113 สำหรับตำรวจแห่งชาติ, 115 สำหรับดับเพลิง, 118 สำหรับรถพยาบาล, 1530 หน่วยยามฝั่ง, 1515 กองป่าไม้แห่งรัฐ, 117 เจ้าหน้าที่การเงิน และ 1544 ตำรวจเรือนจำ; ขณะนี้หลายภูมิภาคใช้ 112 สำหรับเหตุฉุกเฉินทั้งหมด[15])
- คอซอวอ (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง และ 194 สำหรับรถพยาบาล)
- ลัตเวีย (ควบคู่ไปกับ 110 สำหรับตำรวจ, 113 สำหรับรถพยาบาล และ 114 สำหรับบริการฉุกเฉินด้านแก๊ส)
- ลีชเทินชไตน์ (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 117 สำหรับตำรวจ, 144 สำหรับรถพยาบาล และ 118 สำหรับดับเพลิง)
- ลิทัวเนีย
- ลักเซมเบิร์ก (ควบคู่ไปกับ 113 สำหรับตำรวจ)
- มอลตา
- มอลโดวา (หมายเลขฉุกเฉินหมายเลขเดียว ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2561,[16] แทนที่ 901 สำหรับดับเพลิง, 902 สำหรับตำรวจ และ 903 สำหรับรถพยาบาล)
- โมนาโก (ควบคู่ไปกับ 15 สำหรับรถพยาบาล, 17 สำหรับตำรวจ และ 18 สำหรับดับเพลิง)
- มอนเตเนโกร (ควบคู่ไปกับ 122 สำหรับตำรวจ, 123 สำหรับดับเพลิง และ 124 สำหรับรถพยาบาล)
- เนเธอร์แลนด์ (0900-8844 เป็นหมายเลขไม่ฉุกเฉินของกรมตำรวจท้องที่) (ในทะเลแคริบเบียนเนเธอร์แลนด์ 112 โอนสายไปยัง 911, ในขณะที่เนเธอร์แลนด์ในยุโรป 911 โอนสายไปยัง 112)
- มาซิโดเนียเหนือ (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง, 194 สำหรับรถพยาบาล)
- นอร์เวย์ (112 สำหรับตำรวจเท่านั้น, 110 สำหรับดับเพลิง และ 113 สำหรับรถพยาบาล การโทรไปยังหมายเลขฉุกเฉินใด ๆ จะเป็นการโอนสายไปยังบริการที่เหมาะสมเมื่อจำเป็น 02800 เป็นหมายเลขไม่ฉุกเฉินของกรมตำรวจท้องที่)
- โปแลนด์ (มันถูกใช้ควบคู่ไปกับ 999 สำหรับรถพยาบาล, และเคยมีใช้งานควบคู่ไปกับ 998 สำหรับดับเพลิง, และ 997 สำหรับตำรวจ; มีให้เลือกทั้งสองตัวเลือก 112 ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด)
- โรมาเนีย
- โปรตุเกส (117 แจ้งเหตุไฟป่า)
- รัสเซีย (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง, 102 สำหรับตำรวจ, 103 สำหรับรถพยาบาล และ 104 สำหรับบริการฉุกเฉินด้านแก๊ส)
- เซอร์เบีย (ควบคู่ไปกับ 192 สำหรับตำรวจ, 193 สำหรับดับเพลิง, และ 194 สำหรับรถพยาบาล)
- สโลวาเกีย (ควบคู่ไปกับ 155 สำหรับรถพยาบาล, 158 สำหรับตำรวจ, 150 สำหรับดับเพลิง และ 18300 สำหรับหน่วยกู้ภัยบนภูเขา)
- สโลวีเนีย (ควบคู่ไปกับ 113 สำหรับตำรวจ)
- สเปน (ควบคู่ไปกับ 091/062/092 สำหรับตำรวจ, 061 สำหรับรถพยาบาล และ 080 และ 085 (ใช้งานร่วมในบางจังหวัด) สำหรับดับเพลิง)
- สวีเดน (ควบคู่ไปกับ 114 14 หมายเลขตำรวจสำหรับเรื่องที่ไม่เร่งด่วน และ 1177 สำหรับคำแนะนำทางการแพทย์)
- สวิตเซอร์แลนด์ (ควบคู่ไปกับ 117 สำหรับตำรวจ, 144 สำหรับรถพยาบาล และ 118 สำหรับดับเพลิง)
- ตุรกี 112 สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด (หรือ 110-ดับเพลิง, 155-ตำรวจ, 156-ตำรวจภูธร และ 177 สำหรับไฟป่าเท่านั้น 911 โอนสายไปยัง 112)
- ยูเครน (ควบคู่ไปกับ 101 สำหรับดับเพลิง, 102 สำหรับตำรวจ, 103 สำหรับรถพยาบาล และ 104 สำหรับบริการฉุกเฉินด้านแก๊สในบางเมือง 112 และ 911 นอกจากนี้สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด)
- สหราชอาณาจักร (ควบคู่ไปกับ 999)
- นครรัฐวาติกัน (ควบคู่ไปกับ 113 สำหรับตำรวจแห่งชาติ, 115 สำหรับดับเพลิง และ 118 สำหรับรถพยาบาล)
อเมริกาเหนือ
แก้- แคนาดา (โอนสายไปยัง 911 บนระบบปฏิบัติการโทรศัพท์บางระบบเท่านั้น)
- คอสตาริกา (ควบคู่ไปกับ 911)
- สาธารณรัฐโดมินิกัน (ควบคู่ไปกับ 911)
- ปานามา (ควบคู่ไปกับ 911; 104 สำหรับตำรวจ และ 103 สำหรับดับเพลิง)
- สหรัฐ (ควบคู่ไปกับ 911, 112 ส่งต่อไปยัง 911 สำหรับผู้ให้บริการ GSM เท่านั้น รวมถึง AT&T และ T-Mobile)
- เม็กซิโก (ควบคู่ไปกับ 911)
โอเชียเนีย
แก้- ออสเตรเลีย (โอนสายไปยัง 000 จากโทรศัพท์เคลื่อนที่)
- นิวซีแลนด์ (โอนสายไปยัง 111[17])
- วานูวาตู
อเมริกาใต้
แก้- อาร์เจนตินา (ควบคู่ไปกับ 911)
- บราซิล (ควบคู่ไปกับ 911; โอนสายไปยัง 190 – สารวัตรทหาร – ควบคู่ไปกับ 193 สำหรับดับเพลิง, 190 สำหรับสารวัตรทหาร, และ 192 สำหรับรถพยาบาล)
- ชิลี (ควบคู่ไปกับ 911; โอนสายไปยัง 133 - ตำรวจ)
- โคลอมเบีย (ตำรวจเท่านั้น; ควบคู่ไปกับ 123 สำหรับกรณีฉุกเฉินทั้งหมด, 125 สำหรับรถพยาบาล และ 119 สำหรับดับเพลิง)
- เอกวาดอร์ (ควบคู่ไปกับ 911)
ในหลายประเทศ หมายเลขฉุกเฉินที่ใช้งานก่อนหน้านี้ยังคงมีให้บริการอยู่ เช่น 061 และ 112 ในสเปน, 999 และ 112 สามารถใช้ได้ทั้งในไอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร ในสหรัฐ มีเพียงผู้ให้บริการบางราย รวมถึงเอทีแอนด์ทีเท่านั้นที่จับคู่หมายเลข 112 กับหมายเลข 911 ในสหรัฐ
การรับรอง
แก้หมายเลขดังกล่าวยังได้รับการรับรองโดยผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และสมาชิกเขตเศรษฐกิจยุโรป
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแนะนำให้ชาติสมาชิกเลือกใช้หมายเลขฉุกเฉินหลักหรือหมายเลขฉุกเฉินรองระหว่าง 911, 112 หรือทั้งสองหมายเลข[18] โดย 112 เป็นหนึ่งในสองหมายเลข (อีกหมายเลขเป็นหมายเลขฉุกเฉินของภูมิภาค) ที่สามารถโทรออกได้ในโทรศัพท์ระบบจีเอสเอ็มส่วนใหญ่ แม้ว่าโทรศัพท์จะถูกล็อกเครื่องอยู่ก็ตาม[19]
สหภาพยุโรป
แก้112 ได้รับการจัดการและสนับสนุนทางการเงินในสหภาพยุโรปโดยแต่ละรัฐสมาชิก (ประเทศ) ซึ่งเป็นผู้ออกเสียงตัดสินใจเกี่ยวกับองค์กรของศูนย์บริการข้อมูลฉุกเฉิน
กฎหมายของสหภาพยุโรป
แก้คำสั่งของสภายุโรป ที่ 91/396/EC ซึ่งบังคับใช้ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2534 ได้แนะนำให้ใช้ "112" เป็นหมายเลขฉุกเฉินของยุโรป โดยบทบัญญัติเครือข่ายแบบเปิด (Open Network Provision Directive) ในปี พ.ศ. 2540 คำสั่งการบริการอย่างทั่วถึง (Universal Service Directives) ในปี พ.ศ. 2545 และ 2552 ท้ายสุดคือประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของยุโรป (European Electronic Communications Code) ในปี พ.ศ. 2561 ระบุเพิ่มเติมว่า 112 ควรใช้งานอย่างไรในสหภาพยุโรป ตามประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของยุโรป ทุกคนในสหภาพยุโรปควรสามารถติดต่อหน่วยบริการยามฉุกเฉินได้โดยใช้หมายเลขฉุกเฉินของยุโรป '112' โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามในสหภาพยุโรป ซึ่งรัฐสมาชิกจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าการเข้าถึงหน่วยบริการยามฉุกเฉินสำหรับผู้พิการนั้นสามารถใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปได้รับ
อี 112
แก้อี 112 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามตำแหน่งเวอร์ชันของหมายเลข 112[20] โดยข้อกำหนดนี้ได้รับการสนับสนุนจากประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์แห่งยุโรป (European Electronic Communications Code) ในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดให้ต้องรวบรวมข้อมูลของตำแหน่งทั้งจากบนเครือข่ายและที่ได้รับจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยตอนนี้บริการฉุกเฉินสามารถเรียกข้อมูลตำแหน่งที่แม่นยำจากผู้โทรด้วยเทคโนโลยีจากตำแหน่งมือถือขั้นสูง (Advanced Mobile Location)[21] ได้แล้ว รวมถึงเทคโนโลยีระบบการโทรฉุกเฉินอัจฉริยะ (eCall) สำหรับการโทรฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งบังคับให้มีการติดตั้งบนรถยนต์ในยุโรปตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ตามข้อกำหนด E112[22]
รีเวิร์ส 112
แก้รีเวิร์ส 112 เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารความปลอดภัยสาธารณะที่องค์กรความปลอดภัยสาธารณะทั่วโลกใช้เพื่อสื่อสารกับกลุ่มบุคคลในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กำหนด โดยรีเวิร์ส 112 ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถแจ้งเตือนผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายได้อย่างรวดเร็วผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ มาตรา 110 ของประมวลกฎหมายการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์แห่งยุโรป (European Electronic Communications Code) กำหนดให้รัฐสมาชิกทั้งหมดของสหภาพยุโรปต้องปรับมาใช้ระบบที่ช่วยให้หน่วยงานสาธารณะสามารถแจ้งเตือนประชาชนทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่กำหนดได้ทันท่วงทีต่อภัยคุกคามที่กำลังเกิดขึ้นหรือกำลังเกิดขึ้นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนเหล่านั้นโดยตรงภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ซึ่งสามารถดำเนินการตามระบบดังกล่าวได้ด้วยเทคโนโลยีระบบส่งข้อมูลโดยตรงจากเสาสัญญาณ (Cell Broadcast) หรือเทคโนโลยีการส่ง SMS ตามตำแหน่งที่อยู่
วันยูโรเปียน 112
แก้รัฐสภายุโรป คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป และคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ลงนามในอนุสัญญาไตรภาคีในปี พ.ศ. 2552 เพื่อแนะนำวันยูโรเปียน 112 เป็นวันสำคัญประจำปี เพื่อสร้างความตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมและหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน 112 ที่มีการใช้งานในยุโรป โดยเลือกเอาวันที่ 11 กุมภาพันธ์จากหมายเลขโทรศัพท์คือ (11/2) เพื่อจัดงานเฉลิมฉลองในทุก ๆ ปี[23]
Expert Groups on 112
แก้การนำหมายเลข 112 ไปใช้งานทั่วสหภาพยุโรปนั้นถือเป็นงานที่ซับซ้อน ต้องมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานป้องกันภัยพลเรือน (หน่วยงานฉุกเฉินที่ทำหน้าที่รับสาย) และหน่วยที่ดูแลด้านการสื่อสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ผู้ที่ตรวจสอบว่าสายที่ต่อเข้าหมายเลข 112 ต่อถึงโอเปอเรเตอร์ของหน่วยฉุกเฉินจริง) ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปตัดสินใจในระดับทวีปยุโรป รวมถึงจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเข้าถึงเหตุฉุกเฉิน (Expert Group on Emergency Access: EGEA) เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 ซึ่งกลุ่มดังกล่าวได้ประชุมกันครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556
จากนั้นในปี พ.ศ. 2563 คณะกรรมาธิการยุโรปได้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารฉุกเฉิน (Expert Group on Emergency Communications: EG112) โดยมีหน้าที่ในการช่วยเหลือคณะกรรมาธิการยุโรปในการจัดทำกฎหมายใหม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการจัดการการสื่อสารฉุกเฉินภายในสหภาพยุโรป[24]
ดูเพิ่ม
แก้- ระบบการโทรฉุกเฉินอัจฉริยะ (ECall)
- หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
- โทรศัพท์ฉุกเฉิน
- ในกรณีฉุกเฉิน (ICE) รายการในสมุดโทรศัพท์เคลื่อนที่[25]
- องค์การดาวเทียมเคลื่อนที่ระหว่างประเทศ
อ้างอิง
แก้- ↑ "Recommendation T/SF 1: Long Term Standardisation of National Numbering Plans" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 17 February 2021.
- ↑ "ECC Decision of 2 March 2018 on the harmonised prefixes and short codes in national numbering plans". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
- ↑ "EENA | The European Emergency Number Association". EENA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2023. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
- ↑ Mobiles blamed for emergency calls เก็บถาวร 4 มีนาคม 2003 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC News, 2000-03-21.
- ↑ Such locks were commonly used, e.g. "ABUS Telefonschloß T70 für Wählscheiben" in Germany.
- ↑ "Ghana announces 112 as new general emergency number". 3news.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 28 January 2020.
- ↑ "Emergency Telephone Numbers Around the World". ChartsBin. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
- ↑ "Emergency Response Support System in India - 112.gov.in". 112.gov.in. สืบค้นเมื่อ 2023-09-18.
- ↑ "Communication and Informatics Ministry (Kemenkominfo) made a call center for emergency responses at 112". indonesia.go.id. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
- ↑ "ABOUT CALL CENTER 112". layanan112.kominfo.go.id. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ sanduir (8 May 2013). "112 in Belgium". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2015. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
- ↑ sanduir (11 February 2013). "112 in Bulgaria". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
- ↑ sanduir (11 February 2013). "112 in the Czech Republic". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
- ↑ sanduir (11 February 2013). "112 in Denmark". Digital Single Market - European Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 11 April 2019.
- ↑ For more information, see list of provinces
- ↑ ȘTIRILE, PUBLIKA.MD - AICI SUNT (29 June 2018). "112 service will be more efficient on emergency calls". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
- ↑ "Dialling 911 instead of 111 still does the trick". Stuff (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
- ↑ "Guidelines to select Emergency Number for public telecommunications networks" (PDF). International Telecommunication Union. 15 May 2008. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 February 2012. สืบค้นเมื่อ 6 May 2012.
- ↑ 3rd Generation Partnership Project (มิถุนายน 2002), 3rd Generation Partnership Project; Technical Specification Group Services and System Aspects; Man-Machine Interface (MMI) of the Mobile Station (MS) ;Service description, Stage 1 (Release 1998) (PDF), vol. 3GPP TS 02.30 V7.1.1, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 กรกฎาคม 2013, สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2018
- ↑ "Locating you in an emergency – what you need to know about E112". European GNSS Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ "Advanced Mobile Location". European Emergency Number Association (EENA) (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
- ↑ "ECall - Mobility and transport - European Commission". Mobility and transport (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2017-12-13.
- ↑ "112 Day 2021,European Emergency Number Association (EENA)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2023. สืบค้นเมื่อ 4 July 2023.
- ↑ Commission Expert Group on Emergency Communications (E03715), European Commission, last update on 9 October 2020
- ↑ "National Emergency Number Association". www.nena.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2020. สืบค้นเมื่อ 2019-04-17.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ 112 (หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน)