ประเทศเวลส์

ประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร
(เปลี่ยนทางจาก แคว้นเวลส์)

เวลส์ (อังกฤษ: Wales; เวลส์: Cymru, ออกเสียง [ˈkəmrɨ] ( ฟังเสียง) คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักร (ได้แก่อังกฤษ, สกอตแลนด์, เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) มีพื้นที่ของประเทศอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก

เวลส์

Wales  (อังกฤษ)
Cymru  (เวลส์)
คำขวัญ"Cymru am byth" (เวลส์)
"Wales forever" (อังกฤษ)
เพลงชาติ"Hen Wald Fy Nhadau"
(แผ่นดินปิตุภูมิ)
ที่ตั้งของ เวลส์  (เขียวเข้ม) – ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม) – ในสหราชอาณาจักร  (เขียว)
ที่ตั้งของ เวลส์  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหราชอาณาจักร  (เขียว)

สถานะประเทศในสหราชอาณาจักร
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
คาร์ดิฟฟ์
51°29′N 3°11′W / 51.483°N 3.183°W / 51.483; -3.183
ภาษาราชการ
เดมะนิมเวลส์
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
มาร์ก เดรคฟอร์ด
รัฐบาลสหราชอาณาจักร
ริชี ซูแน็ก
ไซมอน ฮาร์ท
ประเทศในสหราชอาณาจักร
• รวมประเทศโดย กริฟฟิธ อัพ เลเวลิน (Gruffydd ap Llywelyn)
พ.ศ. 1602
พื้นที่
• รวม
20,779 ตารางกิโลเมตร (8,023 ตารางไมล์)(magnitude 1 E11)
ประชากร
• 2562 ประมาณ
เพิ่มขึ้น 3,125,000 คน[1]
• สำมะโนประชากร 2554
3,153,000 คน
148 ต่อตารางกิโลเมตร (383.3 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2014 (ประมาณ)
• รวม
54,000 ล้าน ปอนด์สเตอร์ลิง[2]
18,000 ปอนด์สเตอร์ลิง[2]
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง (£) (GBP)
เขตเวลาUTC+0 (UTC (เวลามาตรฐานกรีนิช))
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+1 (BST)
ขับรถด้านซ้าย
รหัสโทรศัพท์+44
โดเมนบนสุด.uk
เว็บไซต์
wales.com

เวลส์มีอาณาเขตทางทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศเหนือและทิศตะวันตกอยู่ติดกับทะเลไอริช ส่วนทางทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2011 ประเทศเวลส์มีประชากร 3,063,456 คน และมีพื้นที่ทั้งหมด 20,799 ตารางกิโลเมตร มีแนวชายฝั่งยาว 2,700 กิโลเมตร ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยมีภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศคือภูเขาสโนว์ดอน (อังกฤษ: Snowdon; Yr Wyddfa) ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากถึง 1,085 เมตร นับเป็นหนึ่งในภูเขาที่สูงที่สุดในหมู่เกาะบริติชไอลส์ บริเวณพื้นที่ราบและส่วนที่ประชากรอาศัยหนาแน่นอยู่ทางตอนใต้ มีสภาพภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร

ความเป็นชนชาติของเวลส์เริ่มจากชาวบริตันเคลต์ (Celtic Briton) โดยหลังจากจักรวรรดิโรมันได้ถอนตัวออกไปจากการยึดครองเกาะบริเตนในราวศตวรรษที่ 5 ทำให้เวลส์กลายมาเป็นหนึ่งใน 6 ของกลุ่มชาติเคลติกสมัยใหม่ (อังกฤษ: Celtic Nations) ได้แก่บริทานี, คอร์นวอลล์, ไอล์ออฟแมน, ไอร์แลนด์, เวลส์ และสก๊อตแลนด์

ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1282 เวลส์และอังกฤษ ได้สู้รบกันในยุทธการที่โอเรวินบริดจ์ (Battle of Orewin Bridge) โดยเจ้าชายเลเวลิน อัพ กริฟฟิธ (เวลส์: Llywelyn ap Gruffudd) ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ ได้ถูกสังหารโดยสตีเฟน เดอ แฟรงตัน ทหารม้าของฝ่ายอังกฤษ ทำให้พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษสามารถพิชิตเวลส์ได้อย่างราบคาบ

ในตอนต้นศตวรรษที่ 15 เวลส์กลับมามีอิสรภาพได้ชั่วขณะภายใต้การนำของโอเวน กลินดอร์ (Owain Glyndwr) แต่ก็ตกกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีก และถูกผนวกเข้ามาเป็นแผ่นดินเดียว และภายใต้ระบบกฎหมายเดียวกับอังกฤษ โดยการออกพระราชบัญญัติ Laws in Wales Acts 1535 and 1542. การเมืองที่เป็นแบบฉบับเฉพาะของเวลส์เพิ่งถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 อุดมการณ์เสรีนิยมแบบเวลส์ซึ่งมีอิทธิพลในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ถูกแทนที่ด้วยการขยายตัวของอุดมการณ์สังคมนิยม และพรรคแรงงาน ความรู้สึกทางชาตินิยมของเวลส์ถูกปลุกให้ฟื้นขึ้นมาในศตวรรษนี้เอง. ไพลด์คัมรี (เวลส์: Plaid Cymru) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1925 และมีการจัดตั้ง "สมาคมภาษาเวลส์" ขึ้นต่อมาในปี ค.ศ. 1962 เพื่อฟื้นฟูภาษาถิ่นที่กำลังจะสูญหายไปของเวลส์. สมัชชาแห่งชาติเวลส์ (National Assembly for Walses) ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1998 โดย Government of Wales Act 1998 โดยมีความรับผิดชอบในการสร้างและดำเนินนโยบายที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจมาจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร

คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายแห่งเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955)


อ้างอิง

แก้
  1. "Mid year estimates of the population". gov.wales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2018.
  2. 2.0 2.1 "Regional Gross Value Added (Income Approach) – Office for National Statistics". Ons.gov.uk. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2017.

ข้อมูลทั่วไป

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้