แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก

แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก (16 เมษายน พ.ศ. 2498 –) เป็นพระโอรสพระองค์แรกในแกรนด์ดยุกฌ็องและเจ้าฟ้าหญิงโฌเซฟิน-ชาร์ล็อต เป็นพระราชนัดดาใน เลออปอลที่ 3 เป็นพระภาคิไนยใน อัลแบร์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 อภิเษกสมรสกับมาเรีย เตเรซา เมสเตรใน พ.ศ. 2524

แกรนด์ดยุกอ็องรี
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
ครองราชย์7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน
(24 ปี 84 วัน)
ก่อนหน้าฌ็อง
รัชทายาทกีโยม
นายกรัฐมนตรี
ผู้สำเร็จราชการแห่งลักเซมเบิร์ก
ดำรงตำแหน่ง3 มีนาคม พ.ศ. 2541 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543
ประสูติ16 เมษายน พ.ศ. 2498 (69 ปี)
ปราสาทเบทซ์ดอล์ฟ ประเทศลักเซมเบิร์ก
พระชายามาเรีย เตเรซา เมสเตร
พระบุตร
ราชวงศ์
พระบิดาแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก
พระมารดาแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก
ศาสนาโรมันคาทอลิก

ในวัยเยาว์และการศึกษา

แก้

แกรนด์ดยุกอ็องรี เป็นพระโอรสพระองค์แรกในแกรนด์ดยุกฌ็องและแกรนด์ดัชเชสโฌเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก มีพระภราดาพระภคินีทั้งหมด 4 พระองค์คือ

เจ้าชายอ็องรีได้เป็นรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ทรงศึกษาในประเทศลักเซมเบิร์กและในฝรั่งเศส ที่นั่นพระองค์ทรงได้รับปริญญาตรีในปี พ.ศ. 2517 จากนั้นทรงศึกษาด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเจนีวา ทรงสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2523 พระองค์ได้อาสาเข้าฝึกในวิทยาลัยการทหารของประเทศอังกฤษ

อภิเษกสมรสและครอบครัว

แก้
 
แกรนด์ดยุกอ็องรีและแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซา พระชายา

ขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่เจนีวา แกรนด์ดยุกอ็องรีได้พบกับนางสาวมาเรีย เตเรซา เมสเตร ผู้ซึ่งศึกษาอยู่คณะเดียวกัน ทั้งคู่ทรงอภิเษกสมรสในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ณ ลักเซมเบิร์ก และทรงได้รับพระอนุญาตจากแกรนด์ดยุกก่อนแล้ว

ทั้งคู่มีพระโอรสธิดารวม 5 พระองค์ ได้แก่

พระอิสริยยศในรัฐธรรมนูญ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
แกรนด์ดยุกอ็องรี
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลHis Royal Highness
(ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Royal Highness
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม1

เจ้าชายอ็องรีได้กลายเป็นรัชทายาทอย่างแท้จริงเมื่อแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 ตั้งแต่พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2541 ทรงเป็นสมาชิกในสภาแห่งรัฐ

ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2541 เจ้าชายอ็องรีทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยแกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระราชบิดา แสดงว่าพระองค์ทรงได้รับพระราชอำนาจทางรัฐธรรมนูญจากพระบิดา ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กทรงสละราชสมบัติ เจ้าชายอ็องรีทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กโดยรัฐธรรมนูญก่อนการประชุมคณะผู้แทนหลังจากวันนั้น

พระนามเต็มและพระอิศริยยศของพระองค์คือ ฮิสรอยัลไฮเนสอ็องรีโดยพระคุณของพระเป็นเจ้า แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก เจ้าชายแห่งนัสเซา เจ้าชายแห่งบูร์บง-ปาร์มา ดยุกแห่งนัสเซา เคานต์พาลาไทน์แห่งแม่น้ำไรน์ เคานต์แห่งไซน์ เคอนิกชไตน์ คัทเซเนล์นโบเงิน และนีซ เบอร์เกรฟแห่งฮัมเมอร์ชไตน์ ลอร์ดแห่งมาลแบร์ก วีสบาเดิน อิทชไตน์ เมเรนแบร์ก ลิมบูร์ก และเอพพ์ชไตน์

อย่างไรก็ตามในช่วงครองราชสมบัติทรงสละพระยศ โดยพระคุณของพระเป็นเจ้า และในกฎหมาย, ประกาศและเอกสารทางราชการทรงให้พระนามว่า "อ็องรี แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก ดยุกแห่งนัสเซา"

การโต้แย้งในกฎหมายการการุณยฆาต

แก้

ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 จากประกาศแกรนด์ดยุกอองรีทรงไม่เห็นด้วยกับการการุณยฆาตที่จะต้องลงพระอภิไธยเพื่อให้เป็นการถูกกฎหมาย หลังจากการลงคะแนนเสียง ทรงจำเป็นต้องลงพระนามในกฎหมายนี้ตามคะแนนเสียง ทางราชวงศ์พยายามที่จะหยุดคำตัดสินของรัฐสภาที่เห็นชอบซึ่งเหมือนกับครั้งอดีตที่แกรนด์ดัชเชสมารี-อเดเลดแห่งลักเซมเบิร์กทรงปฏิเสธที่จะลงพระนามในพระราชบัญญัติการศึกษาในปี พ.ศ. 2455

บทบาทและความสนพระทัย

แก้

ขณะเป็นพระประมุขในระบอบประชาธิปไตย ภาระหน้าที่ของพระองค์เริ่มแรกคือการเป็นผู้แทน อย่างไรก็ตามพระองค์ได้รักษาไว้ซึ่งพลังแห่งรัฐธรรมนูญที่ทรงกำหนดหน้าที่ให้แก่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลแต่ทรงล้มเลิกหน้าที่การประกาศกฎหมายและการแต่งตั้งคณะทุตานุทูต แกรนด์ดยุกอ็องรีทรงเป็นจอมทัพลักเซมเบอร์ก ที่ซึ่งมีพระอิศริยยศทางทหารชั้นนายพล

พระองค์ทรงเป็นตัวแทนประเทศไปกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆเช่นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 แกรนด์ดยุกอ็องรีและแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาเสด็จประพาสสเปนเป็นประเทศแรก ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนกับสมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน แกรนด์ดยุกอ็องรีทรงเป็นสมาชิกในคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติด้วย

ปัจจุบันพระองค์ทรงพำนักอยู่กับพระราชวงศ์ที่ปราสาทเบิร์กในลักเซมเบิร์ก และมักทรงแปรพระราชฐานในวันหยุดไปที่ฝรั่งเศสตอนใต้

การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

แก้

ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่งตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของแกรนด์ดยุก พระองค์ทรงประกาศแต่งตั้งเจ้าชายกีโยมเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน สื่อมวลชนคาดการณ์ว่าอาจเป็นสัญญาณแห่งพระราชประสงค์ที่จะสละราชสมบัติในอนาคต[1][2][3][4]

สละราชสมบัติ

แก้

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567 พระองค์ได้ออกพระราชดำรัสอวยพรประชาชนชาวลักเซมเบิร์กเนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส โดยในช่วงท้ายของพระราชดำรัสได้ทรงประกาศว่าจะสละราชสมบัติในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2568 โดยจะทรงสละราชสมบัติก่อน 4 วันที่จะทรงครองสิริราชสมบัติครบ 25 ปี [5]

พระราชตระกูล

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
ก่อนหน้า แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก ถัดไป
แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก   แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
(ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก)
(บูร์บง-ปาร์มา)

(7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน)
  ยังอยู่ในราชสมบัติ
แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก    
ดยุกแห่งนัสเซา
(ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก)
ภายใต้กฎหมาย

(7 ตุลาคม พ.ศ. 2543 – ปัจจุบัน)
  ยังอยู่ในราชสมบัติ


  1. https://www.lemonde.fr/en/europe/article/2024/06/23/luxembourg-grand-duke-to-start-handover-of-power-to-son-before-abdication_6675522_143.html
  2. https://www.townandcountrymag.com/society/tradition/a60567764/grand-duke-henri-luxembourg-abdication-plans/
  3. https://www.msn.com/en-ie/news/world/luxembourg-grand-duke-announces-start-of-handover-to-son/ar-BB1oJysz
  4. https://www.luxtimes.lu/luxembourg/grand-duke-paves-way-for-abdication-with-surprise-announcement/14509987.html
  5. https://x.com/MajestyMagazine/status/1871844623364309139