เจ้าชายกีโยม แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
แกรนด์ดยุกกีโยม ฌ็อง โฌเซฟ มารี รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 -) รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก ตั้งแต่พระบิดาทรงครองราชสมบัติในปี 2543 พระองค์ทรงเป็นเชื้อสายสืบทอดจากราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บวร์ก ที่ปกครองดินแดนลักเซมเบิร์กตั้งแต่ปี 2433
เจ้าชายกีโยม | |||||
---|---|---|---|---|---|
แกรนด์ดยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก | |||||
ประสูติ | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 นครลักเซมเบิร์ก ประเทศลักเซมเบิร์ก | ||||
พระชายา | เคานท์เตสสเตฟานี เดอ ลานนอย | ||||
| |||||
พระบุตร | เจ้าชายชาลส์แห่งลักเซมเบิร์ก เจ้าชายฟร็องซัวส์แห่งลักเซมเบิร์ก | ||||
ราชวงศ์ |
| ||||
พระบิดา | แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก | ||||
พระมารดา | แกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก | ||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
พระบรมวงศานุวงศ์แห่งลักเซมเบิร์ก |
---|
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์ก |
พระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่น
|
ในวัยเยาว์และการศึกษา
แก้เจ้าชายกีโยมประสูติในเมืองลักเซมเบิร์ก เป็นพระโอรสพระองค์โตในแกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์กกับแกรนด์ดัชเชสมาเรีย เตเรซาแห่งลักเซมเบิร์ก พระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐารวม 4 พระองค์ได้แก่ เจ้าชายเฟลิกซ์แห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าชายหลุยส์แห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าหญิงอาแล็กซ็องดราแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าชายเซบัสเตียงแห่งลักเซมเบิร์ก พระองค์ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์พระอนุชาองค์เล็กคือ เจ้าชายเซบัสเตียงแห่งลักเซมเบิร์ก,พระญาติ เจ้าชายปอล หลุยส์แห่งนัสเซา,เจ้าชายแอมานุแอลแห่งเบลเยียม,เจ้าหญิงอารียานแห่งเนเธอร์แลนด์และพระภาติยะของพระองค์คือ เจ้าชายโนอาแห่งนัสเซา
กีโยมทรงศึกษาที่ ไรชี โรเบิร์ต-ชลีมันน์ ในลักเซมเบิร์กจากนั้นทรงศึกษาที่สวิตเซอร์แลนด์และพระองค์ได้เข้าฝึกในวิทยาลัยการทหารของประเทศอังกฤษ ที่ซึ่งทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเดอร์แฮมและมหาวิทยาลัยบรูเนลศึกษาด้านการปกครองสากล ท้ายสุดทรงศึกษาที่มหาวิทยาลัยแองเกอร์ ประเทศฝรั่งเศสด้านอักษรศาสตร์และรัฐศาสตร์
แกรนด์ดยุกรัชทายาท
แก้แกรนด์ดยุกกีโยมทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กเมื่อพระบิดาทรงครองราชสมบัติในปี 2543 ถ้าทรงครองราชสมบัติก็จะได้เถลิงพระนามว่า แกรนด์ดยุกกีโยมที่ 5 แห่งลักเซมเบิร์ก (หรือวิลเลียมที่ 5 ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ)
เจ้าชายกีโยมทรงทำหน้าที่เป็นผู้แทนเข้าร่วมพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 และจากนั้นทรงเข้าร่วมพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 40 พรรษาของรัชทายาทแห่งเนเธอร์แลนด์คือ เจ้าชายวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน
ในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของแกรนด์ดยุกอ็องรี พระราชบิดา แกรนด์ดยุกกีโยมทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน[1]
ชีวิตส่วนพระองค์
แก้พระองค์ทรงเริ่มสัมพันธ์กับเพีย ฮารัลด์เซน ชาวนอร์เวย์ ซึ่งเป็นบุตรีบุญธรรมของพระภาคิไนยในสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ ทั้งคู่พบกันในปี 2544 ในงานอภิเษกสมรสของเจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์กับนางสาวเมตเต-มาริต ทเจสเซม โฮลบี ทั้งคู่เริ่มออกนัดกันในปีพ.ศ. 2545 แต่ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ได้จบลงหลังปีนั้น
ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555 ราชสำนักได้ประกาศการหมั้นระหว่างแกรนด์ดยุกกีโยม รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์กกับเคานท์เตสสเตฟานี เดอ ลานนอย[2] ชาวเบลเยียม ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาร์ลส์ มารี เรย์มอนด์ ดี อเรนเบิร์ก ดยุคที่ 5 แห่งอเรนเบิร์ก การอภิเษกสมรสได้ถูกกำหนดขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555[3] แกรนด์ดยุคทรงสนพระทัยในการดนตรีและการกีฬา พระองค์ทรงสามารถเล่นเปียโน ทรงเล่นฟุตบอล,ว่ายน้ำและวอลเลย์บอล พระองค์ทรงสามารถพูดภาษาลักเซมเบิร์ก,ภาษาฝรั่งเศส,ภาษาเยอรมัน,ภาษาสเปนและภาษาอังกฤษ พระองค์ทรงชื่นชอบกีฬาอเมริกันฟุตบอล และเป็นแฟนคลับทีมนิวยอร์ก ไจแอนตส์
อ้างอิง
แก้- ↑ Cour Grand-Ducale [@CourGrandDucale] (June 23, 2024). "An deem Kontext well ech, mat der #GrandeDuchesse, dem Prenz Guillaume an der Prinzessin Stephanie, iech matdeelen, dass ech decideiert hun desen October dem Prenz Gullaume d'Lieutenance ze iwerdroen" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Guillaume et Stéphanie se financent demain". Wort.lu. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
- ↑ Noblesse et Royautés เก็บถาวร 2012-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, "Mariage princier au Luxembourg : 20 octobre 2012"
- Grand-Ducal House of Luxembourg เก็บถาวร 2009-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Geocities site on the Hereditary Grand Duke