ราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บวร์ค
ราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บวร์ค[1] (อังกฤษ: House of Nassau-Weilburg) ก่อตั้งขึ้นโดยจอห์นที่ 1 เคานท์แห่งนัสเซา-ไวล์บวร์คในปี ค.ศ. 1344 ที่ปกครองนัสเซาที่ในปัจจุบันเป็นรัฐในเยอรมนี นัสเซารุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1344 จนถึง ค.ศ. 1806
พระราชอิสริยยศ |
|
---|---|
ปกครอง | นัสเซาและลักเซมเบิร์ก |
ประมุขพระองค์แรก | จอห์นที่ 1 เคานท์แห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ค |
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบัน | แกรนด์ดยุกอ็องรีที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์ก |
สถาปนา | ค.ศ. 1344 |
เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1806 นัสเซา-อูซิงเงินและนัสเซา-ไวล์บวร์คก็รวมเป็นส่วนหนึ่งของสมาพันธรัฐแห่งลุ่มแม่น้ำไรน์โดยความกดดันของนโปเลียน อาณาจักรเคานท์ทั้งสองรวมตัวกันเป็นอาณาจักรดยุคแห่งนัสเซาเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1806 ภายใต้การปกครองของเจ้าชายฟรีดริช ออกุสต์ แห่งนัสเซา-อุซิงเก็นและพระญาติฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ดยุคแห่งนัสเซา ฟรีดริช ออกุสต์ผู้ไม่มีทายาทตกลงให้ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มเป็นประมุขแต่เพียงผู้เดียวหลังจากที่ตนเสียชีวิต แต่ฟรีดริช วิลเฮ็ล์มมาเสียชิวิตเสียก่อนโดยอุบัติเหตุตกบันไดในปราสาทไวล์บวร์คเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 1816 บุตรชายวิลเลียมจึงได้เป็นดยุคแห่งนัสเซา
สมาชิกพระราชวงศ์
แก้พระบรมวงศานุวงศ์
แก้- แกรนด์ดยุกและแกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์ก
- แกรนด์ดยุกและแกรนด์ดัชเชสรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชโอรสพระองค์แรกและพระชายา)
- เจ้าชายชาร์ลแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชนัดดา)
- เจ้าชายฟร็องซัวแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชนัดดา)
- เจ้าชายเฟลิกซ์และเจ้าหญิงแคลร์แห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชโอรสพระองค์รองและพระชายา)
- เจ้าหญิงอะมาเลียแห่งนัสเซา (พระราชนัดดา)
- เจ้าชายเลียมแห่งนัสเซา (พระราชนัดดา)
- เจ้าชายบัลทาซาร์แห่งนัสเซา (พระราชนัดดา)
- เจ้าชายหลุยส์แห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชโอรสพระองค์ที่สาม)
- เจ้าชายกาบรีแยลแห่งนัสเซา (พระราชนัดดา)
- เจ้าชายโนอาห์แห่งนัสเซา (พระราชนัดดา)
- เจ้าหญิงอาแล็กซ็องดราแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชธิดา)
- เจ้าชายเซบัสเตียงแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชโอรสพระองค์เล็ก)
- แกรนด์ดยุกและแกรนด์ดัชเชสรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชโอรสพระองค์แรกและพระชายา)
สมาชิกพระอนุวงศ์
แก้- อาร์ชดัชเชสมารี-อัสทรีดแห่งออสเตรีย (พระเชษฐภคินี)
- เจ้าชายฌ็องแห่งลักเซมเบิร์กและเคานท์เตสไดแอนน์แห่งนัสเซา (พระอนุชาพระองค์รองและพระชายา)
- เจ้าหญิงมารี-กาบรีแยลแห่งนัสเซา (พระราชภาติยะ)
- เจ้าชายคอนสแตนตินและเจ้าหญิงแคทรีนแห่งนัสเซา (พระราชภาติยะและพระชายา)
- เจ้าชายเฟลิกซ์แห่งนัสเซา (พระญาติชั้นพระนัดดา)
- เจ้าหญิงโคซิมาแห่งนัสเซา (พระญาติชั้นพระนัดดา)
- เจ้าชายแวนแซ็สลัสแห่งนัสเซา (พระราชภาติยะ)
- เจ้าชายคาร์ล-โยฮันและเจ้าหญิงอีวานาแห่งนัสเซา (พระราชภาติยะและพระชายา)
- เจ้าชายแซนเดอร์แห่งนัสเซา (พระญาติชั้นพระนัดดา)
- เจ้าหญิงมาร์กาเรตาแห่งลีชเทินชไตน์ (พระกนิษฐภคินี)
- เจ้าชายกีโยมและเจ้าหญิงซิบิลลาแห่งลักเซมเบิร์ก (พระอนุชาพระองค์เล็กและพระชายา)
- เจ้าชายปอล-หลุยส์แห่งนัสเซา (พระราชภาติยะ)
- เจ้าชายเลออปอลแห่งนัสเซา (พระราชภาติยะ)
- เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งนัสเซา (พระราชภาติยะ)
- เจ้าชายฌ็อง อ็องเดรแห่งนัสเซา (พระราชภาติยะ)
- เจ้าหญิงโจนแห่งลักเซมเบิร์ก (พระราชปิตุลานี)
- เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก (พระญาติชั้นที่หนึ่ง)
- เจ้าชายรอแบร์แห่งลักเซมเบิร์กและเจ้าหญิงจูลีแห่งนัสเซา (พระญาติชั้นที่หนึ่งและพระชายา)
- เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งนัสเซา (พระญาติชั้นพระภาติยะ)
- เจ้าชายอแล็กซ็องต์แห่งนัสเซา (พระญาติชั้นพระภาติยะ)
- เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งนัสเซา (พระญาติชั้นพระภาติยะ)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Monarchies of Europe: Nassau-Weilburg Royal Family". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-09. สืบค้นเมื่อ 2009-10-08.