ประวัติศาสตร์ลักเซมเบิร์ก

ประวัติศาสตร์ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
ราชอาณาจักรแฟรงก์
(คริสต์ศตวรรษที่ 5-10)
ฟริเซีย
(600-734)
จักรวรรดิการอแล็งเฌียง หลังปี 800
  แฟรงก์ตะวันตก (ฝรั่งเศส) อาณาจักรแฟรงก์กลาง (โลทาริงเกีย)
(843–870)
แฟลนเดอส์และโลทาริงเกียในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก
(870–880)
 
แฟลนเดอส์
(862–1384)
และรัฐอื่นๆ
(คริสต์
ศตวรรษ
ที่ 10–14)
ราชอาณาจักรโลทาริงเกีย (ต่อมาเป็นดัชชี) ในแฟรงก์ตะวันออก (เยอรมนี)
(880-1190)

บิชอปแห่ง
ลีแยฌ

(980-1794)


ดัชชีบูลียง
(988-1795)


แอบบีย์
สตาวีลอต
-มาลเมดีย์
(1138-1795)

ดัชชีบราบันต์
(1183-1430)
และรัฐอื่นๆ
(คริสต์ศตวรรษ
ที่ 10–15)

เคาน์ตี/
ดัชชี
ลักเซมเบิร์ก

(963–1443)

เคาน์ตีฮอลแลนด์
(880-1432)
และรัฐอื่นๆ
(คริสต์ศตวรรษ
ที่ 10–15)
เนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี (1384–1477)
เนเธอร์แลนด์ของฮาพส์บวร์ค (กลุ่มสิบเจ็ดมณฑล)
(1482–1556)
เนเธอร์แลนด์ของสเปน
(เนเธอร์แลนด์ตอนใต้)

(1556–1714)

สาธารณรัฐดัตช์
(1581–1795)

เนเธอร์แลนด์ของออสเตรีย
(เนเธอร์แลนด์ตอนใต้)

(1714–1795)

การปฏิวัติลีแยฌ
(1789–1792)

สหรัฐเบลเยียม
(1790)
   

ตกเป็นส่วนหนึ่งของ
สาธารณรัฐฝรั่งเศส
(1795–1804)
และ
จักรวรรดิฝรั่งเศส
(1804–1815)

สาธารณรัฐ
บาตาเวีย

(1795–1806)

ราชอาณาจักร
ฮอลแลนด์

(1806–1810)
 

สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
(1815-1830)

ราชอาณาจักรเบลเยียม
(ตั้งแต่ 1830)

แกรนด์ดัชชี
ลักเซมเบิร์ก
(รัฐร่วมประมุข)

ราชอาณาจักร
เนเธอร์แลนด์

(ตั้งแต่ 1830)

แกรนด์ดัชชี
ลักเซมเบิร์ก

(ตั้งแต่ 1890)

เคาน์ตี ดัชชี และแกรนด์ดัชชีลักเซมเบิร์ก (อังกฤษ: County, Duchy and Grand Duchy of Luxembourg) ภูมิภาคทางประวัติศาสตร์ของ ลักเซมเบิร์ก เป็นมณฑลของโรมันเบลจิคาพรีมา[1] หลังจากการรุกรานของกลุ่มชนเจอร์มานิคจากทางตะวันออกลักเซมเบิร์กก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแฟรงก์และต่อมาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิแฟรงค์กลาง

ประวัติศาสตร์

แก้

ประวัติศาสตร์ก่อน ค.ศ. 963

แก้
 
การตั้งถิ่นฐานในยุคแรกในบริเวณที่ในปัจจุบันคือนครลักเซมเบิร์กก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่โบสถ์แซงต์ซาวัวร์ (ปัจจุบันโบสถ์เซนต์ไมเคิล) ที่สร้างในปี ค.ศ. 987

หลักฐานอ้างอิงแรกที่ทราบเกี่ยวกับดินแดนของลักเซมเบิร์กปัจจุบันบันทึกโดยจูเลียส ซีซาร์ใน "Commentarii de Bello Gallico" (ไทย: บันทึกความเห็นเกี่ยวกับสงครามกอลลิค)[2] นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่อธิบายที่มาของคำว่า "ลักเซมเบิร์ก" ว่ามาจากคำว่า "Letze" ที่แปลว่าป้อมปราการ[3] ที่อาจจะพาดพิงไปถึงซากหอยามของโรมัน หรือถึงที่ตั้งถิ่นฐานอย่างหยาบๆ ของชนสมัยยุคกลางตอนต้น

เคาน์ตี (ค.ศ. 963 - ค.ศ. 1353)

แก้

ในปี ค.ศ. 963 เคานต์ซีกฟรีดแห่งลักเซมเบิร์กแห่งราชวงศ์อาร์แดนน์ทำการซื้อที่ดินจากอธิการวิแครัสแห่งแอบบีแซงต์มักซิแมง ที่ดินดังกล่าวอยู่ในบริเวณที่เชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของซากป้อมปราการของจักรวรรดิโรมันเดิมที่มีชื่อเป็นภาษาเจอร์มานิคว่า "Lucilinburhuc" (ที่โดยทั่วไปแปลว่าปราสาทเล็ก) ในปีต่อๆ มาซีกฟรีดก็สร้างปราสาทขึ้นใหม่บนซากปราสาทเดิม บนเนินหินที่ต่อมาเรียกว่า "Bock Fiels" ปราสาทนี้ตั้งเด่นอยู่บนถนนโรมันที่เชื่อมระหว่างเมืองแรงส์, อาร์ลอง และ เทรียร์ ซึ่งทำให้ได้รับผลประโยชน์จากการค้าขายและการเก็บภาษี ประวัติของลักเซมเบิร์กเริ่มขึ้นเมื่อปราสาทหลังนี้สร้างขึ้น แต่แม้ว่าจะได้สร้างปราสาทขึ้นแต่เคานท์ซีกฟรีดและทายาทต่อมาก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลัก

ต่อมาปราสาทก็ขยายตัวขึ้นเป็นเมืองเล็กๆ มีตลาดที่ตั้งขึ้นรอบปราสาทที่สร้างขึ้นใหม่ ผู้ที่อยู่อาศัยรอบๆ ปราสาทในสมัยแรกๆ ก็คงจะเป็นข้าทาสบริวารของเคานท์ซีกฟรีดและนักบวชของสำนักสงฆ์เซนต์ไมเคิล ถิ่นฐานนี้ไม่นานก็ได้รับความคุ้มครองจากการก่อสร้างกำแพงเมือง และ คูล้อมรอบ

นอกไปจากเมืองเล็กๆ ไม่ไกลจาก "Bock Fiels" และถนนโรมันแล้ว ก็ยังมีชุมชนอีกชุมชนหนึ่งก่อตั้งตัวขึ้นในบริเวณลุ่มน้ำอัลแซตต์ (ปัจจุบันคือชุมชนกรุนด์) เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1083 เมืองล่างก็มีวัดสองวัด สะพานสองสะพานข้ามแม่น้ำอัลแซตต์และเพทรัสส์ ผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก็ประกอบอาชีพต่างๆ ที่รวมทั้งการจับปลา การอบขนมปัง และ การสีข้าว ในปีเดียวกันนั้นก็ได้มีการก่อตั้งแอบบีคณะเบเนดิกติน--แอบบีอัลท์มึนสเตอร์--ขึ้นโดยเคานต์คอนราดที่ 1 แห่งลักเซมเบิร์กบนเนินหลังปราสาท

เฮนรีที่ 3 แห่งลักเซมเบิร์กเป็นเคานต์คนแรกที่ทราบที่ใช้ปราสาทลักเซมเบิร์กเป็นที่อยู่อย่างถาวร ในเอกสารจากปี ค.ศ. 1089 กล่าวถึงเฮนรีว่า "comes Henricus de Lutzeleburg" ซึ่ทำให้เฮนรีเป็นเคานท์แห่งแห่งลักเซมเบิร์กคนแรกที่ได้รับการบันทึกอย่างเป็นทางการ

ตัวเมืองรอบปราสาทก็ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จนกลายเป็นศูนย์กลางขนาดเล็กแต่เป็นรัฐที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อฝรั่งเศส เยอรมนี และกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ป้อมปราการของลักเซมเบิร์กก็ได้รับการสร้างเสริมและขยายตัวเพิ่มขึ้นตามลำดับโดยผู้ครองคนต่อๆ มา ซึ่งเป็นผลทำให้กลายมาเป็นป้อมปราการที่แข็งแรงมั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป ระบบการป้องกันอันแน่นหนาและตำแหน่งอันสำคัญทางยุทธศาสตร์ทำให้ลักเซมเบิร์กได้รับสมญาว่าเป็น "ยิบรอลตาร์แห่งภาคเหนือ"

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์กมีประมุขหลายพระองค์ที่ได้รับเลือกให้เป็นหรือเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์แห่งโบฮีเมีย และรวมทั้งอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์ และอาร์ชบิชอปแห่งไมนทซ์ ตั้งแต่สมัยยุคกลางตอนต้นมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาลักเซมเบิร์กก็ถูกเรียกกันไปต่างแล้วแต่ผู้เขียน ที่รวมทั้ง Lucilinburhuc, Lutzburg, Lützelburg, Luccelemburc, Lichtburg และอื่นๆ

ดัชชี (ค.ศ. 1353 - ค.ศ. 1790)

แก้
 
แผนที่การแบ่งแยกลักเซมเบิร์กที่เกิดขึ้นหลายครั้งทำให้อาณาจักรลดขนาดลงเป็นอันมาก

ลักเซมเบิร์กดำรงตัวเป็นอาณาจักรอิสระของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์มาจนถึง ค.ศ. 1354 เมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ยกฐานะลักเซมเบิร์กขึ้นเป็นดัชชีให้แก่พระอนุชาเวนสเลาสที่ 1 ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก ดัชชีลักเซมเบิร์กได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1353 โดยการรวมเคาน์ตีลักเซมเบิร์กเข้ากับอาณาจักรมาร์กราฟแห่งอาร์ลอง เคาน์ตีเดอร์บีย์และลาโรชอองอาร์แดนน์ และรวมทั้งดิสตริกต์ทิออนวิลล์ บิทบูร์ก และ มาร์วิลล์, เมิซ เคาน์ตีแห่งไวอังเดิงก็อาจจะนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งด้วยเมื่อกลายมาเป็นเมืองขึ้นของเคานต์และดยุกแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อราวเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1264.

ต่อมาดัชชีลักเซมเบิร์กก็ตกไปเป็นของดยุกแห่งเบอร์กันดีของราชวงศ์วาลัวส์ และของอาร์ชดยุกแห่งออสเตรียแห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก กลุ่มสิบเจ็ดมณฑลได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นสหพันธ์อันสำคัญโดยสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ตาม Pragmatic Sanction of 1549

ในปี ค.ศ. 1792 การปฏิวัติฝรั่งเศสก็นำมาซึ่งความสิ้นสุดของระบบการปกครองดังกล่าว จนกระทั่งการประชุมแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 มาแก้สถานการณ์ที่ยกฐานะของดัชชีลักเซมเบิร์กขึ้นเป็นราชรัฐลักเซมเบิร์ก และมอบให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์ในการเป็นรัฐร่วมประมุขกับสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์

แกรนด์ดัชชี (ค.ศ. 1815 - ปัจจุบัน)

แก้

ประมุข

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Luxembourg." Funk & Wagnalls New Encyclopedia, 16. Funk & Wagnalls, Inc., 1990. ISBN 0-8343-0091-5
  2. "Luxembourg". Catholic Encyclopaedia. 1913. สืบค้นเมื่อ 2006-07-30.
  3. J.-P. Koltz, Baugeschichte der Stadt und Festung Luxemburg, I. Band
  • Ermesinde et l'affranchissement de la ville de Luxembourg; Études sur la femme, le pouvoir et la ville au XIIIe siècle, sous la direction de Michel Margue, Publications du Musée d'Histoire de la Ville de Luxembourg, Publications du CLUDEM tome 7, Luxembourg 1994.
  • Tatsachen aus der Geschichte des Luxemburger Landes, Dr. P. J. Müller, Luxemburg 1963, Verlag "de Frendeskres", Imprimerie Bourg-Bourger.
  • Vivre au Moyen Age: Luxembourg, Metz et Trèves; Études sur l'histoire et l'archéologie urbaines, sous la direction du Musée d'Histoire de la Ville de Luxembourg, Publications Scientifiques du Musée d'Histoire de la Ville de Luxembourg, tome 2, Luxembourg 1998.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ bbb