แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก (ลักเซมเบิร์ก: Maria Adelheid Theresia Hilda Antonia Wilhelmina vu Lëtzebuerg, ฝรั่งเศส: Marie Adélaïde Thérèse Hilda Antonie Wilhelmine, พระนามเต็ม: มารี อเดเฮด เทเรซ ฮิลดา วิลเฮลมิเน ฟอน นัสเซา-ไวล์บวร์ก; 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 – 24 มกราคม พ.ศ. 2467) ทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสผู้ครองลักเซมเบิร์กพระองค์แรก ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2455 ถึง 2462 และเป็นเจ้าผู้ครองลักเซมเบิร์กสตรีพระองค์แรกนับแต่จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา และทรงเป็นเจ้าผู้ครองลักเซมเบิร์กพระองค์แรกที่ประสูติในดินแดนนับแต่เคานต์จอห์นพระเนตรบอด (พ.ศ. 1839)

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์ก
ครองราชย์25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 – 14 มกราคม พ.ศ. 2462
ก่อนหน้าวิลเลมที่ 4
ถัดไปชาร์ล็อต
ผู้สำเร็จราชการเจ้าหญิงมารี แอนน์แห่งโปรตุเกส (2455)
นายกรัฐมนตรี
ประสูติ14 มิถุนายน พ.ศ. 2437
ปราสาทเบิร์ก Colmar-Berg ประเทศลักเซมเบิร์ก
สิ้นพระชนม์24 มกราคม พ.ศ. 2467 (29 ปี)
ปราสาทโฮเฮนบูร์ก เลงก์ไกรส์ รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี
ฝังพระศพNotre-Dame Cathedral, Luxembourg
พระนามเต็ม
มารี-อาเดลาอีด เทเรซ ฮิลดา วิลเฮลมิเน
ราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บูร์ก
พระราชบิดาวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก
พระราชมารดาเจ้าหญิงมารี แอนน์แห่งโปรตุเกส
ศาสนาโรมันคาทอลิก

แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก พระราชบิดา ทรงถือว่าพระนางเป็นทายาทใน พ.ศ. 2450 เพื่อป้องกันวิกฤตการสืบราชบัลลังก์เนื่องจากทรงไม่มีพระราชโอรส แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงครองรัฐเป็นเวลาไม่ถึง 7 ปีผ่านสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และด้วยทรงถูกมองว่าสนับสนุนการยึดครองของเยอรมนีจึงทำให้พระนางไม่เป็นที่นิยมทั้งในลักเซมเบิร์กและในประเทศเพื่อนบ้านฝรั่งเศสและเบลเยียม ใน พ.ศ. 2462 พระนางสละราชสมบัติแก่พระขนิษฐา เจ้าหญิงชาร์ล็อต ตามคำแนะนำของรัฐสภา

หลังจากสละราชบัลลังก์ พระนางทรงบวชเป็นนักพรตหญิงในประเทศอิตาลี ก่อนสึกเพราะทรงพระประชวร พระนางสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 2467

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

แก้
 
พระบรมฉายาลักษณ์เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีด ขณะทรงดำรงเป็นดัชเชสรัชทายาทในปีพ.ศ. 2452

เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีด ประสูติเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 ณ ปราสาทเบิร์ก เป็นพระราชธิดาพระองค์โตในแกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กกับเจ้าหญิงมารี แอนน์แห่งโปรตุเกส พระอัยกาและพระอัยยิกาฝ่ายพระมารดาของเจ้าหญิงคือ พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกสกับเจ้าหญิงอาเดลาอีดแห่งโลเวนสไตน์-เวิร์ทเฮล์ม-โรเซนเบิร์ก

ด้วยพระราชบิดาของพระนางมีพระราชธิดาถึง 6 พระองค์แต่ไม่มีพระโอรส พระองค์จึงทรงประกาศให้เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีดเป็นทายาทโดยสันนิษฐานในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 เพื่อทรงแก้ไขวิกฤตการสืบราชสัตติวงศ์ ดังนั้นมีพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 เจ้าหญิงทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อขณะมีพระชนมายุ 17 พรรษา ทำให้ทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสพระองค์แรกแห่งราชรัฐลักเซมเบิร์ก พระนางมารี แอนน์ พระราชมารดาทรงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์จนถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา 18 พรรษาของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2455 เมื่อนายกรัฐมนตรีออกุสต์ ลาวาลถวายคำสัตย์ปฏิญญาณต่อพระนางเป็นพระมหากษัตริย์ชาวลักเซมเบิร์กพระองค์แรกที่ประสูติในดินแดนนับแต่เคานต์จอห์นพระเนตรบอด สุนทรพจน์ของลาวาลต่อรัฐสภาระหว่างพระราชพิธี คือ

เพื่อพิจารณาดู ท่านสุภาพบุรุษทั้งหลาย ในช่วงเวลาที่มีความสุขสำหรับอนาคตของประเทศ ข้อเท็จจริงที่ว่าแกรนด์ดัชเชสทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของเราที่ประสูติในแผ่นดินอาณาจักรแกรนด์ดุ๊ก เป็นพระองค์แรกที่เจริญพระชันษาที่นี่ และผู้ซึ่ง ตั้งแต่ต้นของพระชนม์ชีพทรงหายพระทัยเอาอากาศของดินแดนพื้นเมืองของเราและทรงศึกษาความคิด แรงบันดาลใจและประเพณีของประชาชนที่พระองค์ทรงมีหน้าที่ปกครองนี้[1]

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดมีพระราชดำรัสในพระราชพิธีนี้ของพระนางเอง ดังนี้

เป็นความปรารถนาของข้าพเจ้าที่จะตัดสินตามข้อกำหนดความยุติธรรมและความเสมอภาคที่เป็นดลใจทุกการกระทำของข้าพเจ้า กฎหมายและประโยชน์ส่วนรวมจะชี้นำข้าพเจ้า การตัดสินอย่างยุติธรรมใช่เพียงความยุติธรรมที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน แต่ความยุติธรรมคุ้มครองสำหรับคนยากจนและคนอ่อนแอด้วย ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจระหว่างบุคคลที่เพิ่มขึ้นเป็นความวิตกกังวลใหญ่ที่สุดในสมัยของเรา คงามสงบในสังคม ไม่ว่าจะเป็นการปรารถนาที่รุนแรงเพียงใด ยังเป็นอุดมคติยากจะไขว่ขว้าตราบจนวันนี้ การทำงานบนความปรองดองและความสมานฉันท์ไม่จำเป็นเลยหรือ[2]

ครองราชย์

แก้
 
แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์กในพระราชพิธีราชาภิเษก ปี พ.ศ. 2455

แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงสนพระทัยในการเมืองอย่างมากและทรงมีบทบาทในรัฐบาลและชีวิตการเมืองของราชรัฐ พระนางทรงเป็นคาทอลิกเคร่ง โดยมีความศรัทธาทางศาสนาอย่างแรงกล้าและมุมมองทางการเมือง ในวันเสด็จขึ้นครองราชย์ วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดมีพระปฐมบรมราชโองการว่า

...ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้ควรค่าแก่การไว้วางใจด้วยหลักคุณธรรมของโบราณราชวงศ์ของเราทั้งปวง ข้าพเจ้าจักยืนหยัด! (Je maintiendrai)[3]

วันเดียวกัน พระนางทรงปฏิเสธลงพระปรมาภิไธยในกฎหมายลดบทบาทของพระคาทอลิกในระบบการศึกษา[4]

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและวิกฤตการเมือง

แก้

รัฐบาลพอล ไอส์เซน

แก้
 
รัฐบาลนายกรัฐมนตรีพอล ไอส์เซนที่ยืนยาวถึง 4 รัชกาลสร้างความสงบและความเจริญแก่ลักเซมเบิร์ก แม้มีแนวคิดขัดแย้งกับแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด

แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดไม่ทรงได้รับการเรียนรู้ด้านการเมืองการปกครองจากพระราชบิดา ในความเป็นจริงตามพระปฐมบรมราชโองการของพระนางซึ่งทรงกล่าวโดยนัย โดยในขณะนั้นพระนางจำต้องพึ่งพาคำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์การเมืองจากรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำปรึกษาจากนายกรัฐมนตรี พอล ไอส์เชน ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองสูงในรัชกาลพระอัยกาและพระราชบิดา และนายกรัฐมนตรีไอส์เซนก็มีอิทธิพลมากขึ้นในช่วงที่แกรนด์ดยุควิลเล็มที่ 4 พระราชบิดาทรงพระประชวร และช่วงที่แกรนด์ดัสเชสมารี แอนน์ พระราชมารดา สำเร็จราชการแผ่นดิน แนวคิดไอส์เซนมักถูกต่อต้านโดยแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด

มีการปะทะกันเล็กน้อยระหว่างทั้งสองฝ่ายที่มีเหนือฝ่ายการเมืองหัวรุนแรงในตำแหน่งของรัฐบาล กลุ่มคอมมิวนิสต์, สังคมนิยมและกลุ่มลัทธิต่อต้านศาสนจักรได้รับแรงสนับสนุนในลักเซมเบิร์ก ผู้สนับสนุนลัทธิเหล่านี้ได้ใช้ถ้อยคำชักจูงโน้มน้าวเกี่ยวกับประชาธิปไตยเพื่อสร้างกระแสให้สถาบันพระมหากษัตริย์คาทอลิกเป็นศัตรูกับประชาชน โดยตรงกันข้ามกับแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดที่ทรงศรัทธาในศาสนาสูง ซึ่งทรงทำการติดต่อและอุทิศพระองค์กับพระคณะคาร์เมไลท์ผู้ซึ่งยังคงมีอิทธิพลในการธำรงรักษาความเชื่อความศรัทธาท่ามกลางพสกนิกรของพระนาง พระนางทรงฟื้นฟูผู้จาริกแสวงบุญและพิธีเข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชนที่ซึ่งเสื่อมไปในรัชกาลพระราชบิดาของพระองค์ซื่งเป็นโปรแตสแตนต์ และทรงสามารถสร้างความพอใจแก่พสกนิกรได้ ทรงเคยตรัสและแย้งว่า

ความเชื่อความศรัทธาของพวกเขาต้องไม่น้อยกว่า แต่จะยิ่งใหญ่เมื่อข้าพเจ้าสิ้นชีพ และคุณรู้ประวัติศาสตร์ของประชาชนของข้าพเจ้า การสวดของพวกเขามักจะได้ขนมปังของตนเพียงผู้เดียว จะให้ฉันมอบหินแห่งความไม่ศรัทธาแก่พวกเขาหรือ[5]

การอุบัติอย่างรุนแรงและทันทีทีนใดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งใน พ.ศ. 2457 จักรวรรดิเยอรมันทำลายความเป็นกลางของลักเซมเบิร์กและบุกครองลักเซมเบิร์กในวันที่ 2 สิงหาคม แม้แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดและรัฐบาลประท้วงรัฐบาลเยอรมนีอย่างเป็นทางการ แต่ก็ไม่อาจขับไล่กองทัพออกจากประเทศได้ พระนางจึงตัดสินพระทัยไม่ต่อต้านผู้รุกราน แต่ทรงพยายามดำรงสถานะความเป็นกลางของลักเซมเบิร์กตลอดสงคราม

 
พิธีฝังศพอันน่าหดหู่ใจของนายกรัฐมนตรีพอล ไอส์เซนที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญของชาติ การถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งของเขานำไปสู่ความวุ่นวายทางการเมืองสามปี

ความแตกแยกระหว่างแกรนด์ดัสเชสกับนายกรัฐมนตรีไอส์เซนได้ตึงเครียดขึ้นเมื่อมีการเสนอลดบทบาทของศาสนาในระบบการศึกษา ซึ่งแกรนด์ดัสเชสทรงคัดค้านความปรารถนาของนายกรัฐมนตรี ทรงปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ[6] เชื่อว่าพระนางตรัสถึงนายกรัฐมนตรีว่า

ข้าพเจ้าจะไม่ยอมให้มรดกอันล้ำค่ายิ่ง [โรมันคาทอลิก] นี้ถูกขโมยไปขณะที่ข้าพเจ้ายังรักษากุญแจนี้อยู่ [7]

ซึ่งแกรนด์ดัสเชสทรงปฏิเสธที่จะเคลื่อนไหวและมีพระราชปฏิสันถารให้นายกรัฐมนตรีไอส์เซนลาออกจากตำแหน่งถ้าเขาไม่เห็นด้วยตามพระราชเสาวนีย์ เรื่องนี้เป็นแรงกดดันให้นายกรัฐมนตรไอส์เซนเตรียมการลาออกจากตำแหน่งด้วยความเสียใจ แต่ก็ล้มเลิก[8] ก่อนที่เขาเกิดหัวใจวายซึ่งเป็นเหตุให้เขาถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2458 การอสัญกรรมของเขาทำให้ระบบการเมืองของลักเซมเบิร์กสั่นคลอน[9] เมื่อสงครามได้เริ่มต้นขึ้นขณะนั้นไอส์เซนมีอายุ 73 ปี ดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งลักเซมเบิร์กว่า 27 ปี ทำให้เป็นรัฐบาลหนึ่งเดียวที่ชาวลักเซมเบิร์กรู้จักกันมาก โดยตลอดปีแรกของการยึดครองโดยทหารเยอรมัน ทำให้เขากลายเป็นศูนย์รวมของชาวลักเซมเบิร์ก และเขาก็ได้รับความสำคัญจากการที่เป็นผู้รักษาสถานะของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด[10] ในช่วงที่เกิดวิกฤต ไอส์เซนได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาลักเซมเบิร์กและเขาจัดการโดยยึดรัฐบาลหลักร่วมกับฝ่ายการเมืองใหญ่ ๆ โดยปรากฏความเป็นเอกภาพหนึ่งเดียวไว้

รัฐบาลมัทธีอัส มองเกนาสท์

แก้
 
นายกรัฐมนตรีมัทธีอัส มองเกนาสท์ ลาออกจากตำแหน่งเพราะขัดแย้งกับแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด หลังเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียง 25 วัน

หลังไอส์เซนถึงแก่อสัญกรรม แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดมีพระบรมราชโองการให้มัทธีอัส มองเกนาสท์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2425 มาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย สถานะพิเศษของมองเกนาสท์คือ "รัฐบาลเฉพาะกาล" นายกรัฐมนตรีเป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของเขา แต่เขาไม่ได้มีสถานะเป็นหัวหน้ารัฐบาล ไม่เหมือนอย่างที่นายกรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2400 เป็น แต่อย่างน้อยเขาก็ได้ดำรงตำแหน่ง "ประธานคณะรัฐมนตรี"[11]

คณะบริหารของมองเกนาสท์นั้นไม่ยืนยาวและเป็นวัตถุประสงค์หลักของแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดเมื่อทรงแต่งตั้งมองเตนาสท์ที่มีประสบการณ์เพื่อความมั่นคง ทว่าไม่มีใครคาดว่ารัฐบาลจะสิ้นสุดลงเร็วเช่นนี้ ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 มองเกนาสท์ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยครูลักเซมเบิร์ก การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้รับการอนุมัติจากราชรัฐและแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงปฏิเสธเขา[12] มองเกนาสท์ยังคงยืนกรานว่าการศึกษาเป็นงานอดิเรกของเขาและเขาคิดสรุปเอาเองว่าแกรนด์ดัสเชสจะทรงตอบรับข้อเสนอของรัฐมนตรีในฐานะที่เขามีประสบการณ์ด้านนี้ เขาคิดผิด แกรนด์ดัสเชสมีพระทัยมุ่งมั่นและไม่ทรงพอพระทัยนายกรัฐมนตรีเสียงข้างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางสิ่งล้ำสมัยเกินไปกว่าพระราชประสงค์ของพระนาง ในวันถัดมามองเกนาสท์ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง หลังจากเป็นนายกรัฐมนตรีได้เพียง 25 วัน

รัฐบาลฮูเบิร์ต ลูทช์

แก้

หลังทรงต่อสู้กับรัฐบาลมัทธีอัส มองเกนาสท์ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงตัดสินพระทัยมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมทั้งหมดซึ่งมีฮูเบิร์ต ลูทช์เป็นผู้นำ รัฐสภาถูกต่อต้านอย่างแน่นอน พรรคฝ่ายขวาได้ที่นั่งในสภาเพียง 20 ที่นั่งจากทั้งหมด 52 ที่นั่ง แต่อีกฝ่ายได้คะแนนเสียงที่เหนือกว่า[13] แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงยุติเหตุการณ์อันชะงักงันครั้งนี้โดยทรงใช้พระราชอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรและทรงมอบอำนาจแก่ฝ่ายอนุรักษนิยม ครั้งนี้เป็นการกระทำที่รุนแรงแก่ฝ่ายซ้าย ซึ่งถือว่าครองเสียงข้างมากในรัฐสภาแต่เพียงผู้เดียวในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเพื่อสร้างความไว้วางใจแก่รัฐบาล[14] เหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกขนานนามว่า "รัฐประหารอำนาจของฝ่ายซ้ายโดยแกรนด์ดัสเชส"[15] อย่างไรก็ตาม วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2458 ลักเซมเบิร์กได้มีการสำรวจความคิดเห็น แม้ว่าที่นั่งของพรรคฝ่ายขวาจะเพิ่มขึ้นเป็น 25 ที่นั่ง แต่ยังแพ้คะแนนนิยมอีกฝ่าย ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2459 รัฐสภามีการอภิปรายไม่ไว้วางใจและนายกรัฐมนตรีลูทช์ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง

รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ

แก้

หลังความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมหลายคณะ แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงเปลี่ยนพระทัยโปรดเกล้าฯ ให้นักการเมืองแนวคิดเสรีนิยม วิกเตอร์ ทอร์น จัดตั้งรัฐบาลและเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ผลของการมีรัฐบาลผสมทั้งหมดซึ่งรวมทุกฝ่ายในการเมืองลักเซมเบิร์ก นอกเหนือจากทอร์นซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างเลออน คลัฟแมนน์และอันโตน เลอฟอร์ท, ฝ่ายสังคมนิยมคือ มิเชล เวลเตอร์ และฝ่ายเสรีนิยมคือ เลออน มอติแยร์[16]

แรงกดดันสำคัญของรัฐบาลลักเซมเบิร์กคือ เสบียงอาหาร[17] สงครามทำให้นำเข้าอาหารไม่ได้และความต้องการของชาวเยอรมันผู้ยึดครองย่อมมาก่อนชาวลักเซมเบิร์ก[18] ด้วยระบบการจัดหาอาหารที่ล้มเหลว มิเชล เวลเตอร์ รัฐมนตรีการเกษตรและการค้า ได้ประกาศห้ามส่งออกอาหารออกนอกลักเซมเบิร์ก[19] นอกจากนี้รัฐบาลยังมีนโยบายจำกัดสิ่งของบางสิ่งและการควบคุมราคาเพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการที่สูงขึ้นและทำให้ราคาอาหารไม่แพงมากสำหรับชาวลักเซมเบิร์กที่ยากจน อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ยังไม่เป็นไปตามต้องการ ชาวลักเซมเบิร์กยังเปลี่ยนไปขายในตลาดมืดมากขึ้น[20] และสร้างความตกใจแก่รัฐบาลลักเซมเบิร์ก กองทัพเยอรมันให้ความช่วยเหลือเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ รัฐบาลกล่าวหากองทัพเยอรมันว่ามีส่วนช่วยการผลิตของตลาดมืดโดยปฏิเสธข้อบังคับกฎเกณฑ์และกองทัพเยอรมันลักลอบนำเข้าสินค้าฃ[21]

ในช่วงความยุ่งยากของประเทศนี้ แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดทรงอุทิศพระองค์ในพระราชกรณียกิจด้านกาชาดในลักเซมเบิร์กและทรงดำเนินพระราชกรณียกิจด้านการพยาบาลแก่ทหารที่ออกรบในแนวหน้า แต่ทางด้านการเมือง ทรงมีความสนพระทัยตลอดสงครามอย่างไม่ลดน้อยลง

ชาวลักเซมเบิร์กจำนวนมากโดยเฉพาะคนงานเหมือง แสดงออกถึงความชิงชังรัฐบาลที่ไม่ผ่านการเลือกโดยกล่องลงคะแนนเพียงอย่างเดียว การแสดงอารมณ์ที่เป็นไปในทางการดื้อแพ่งหรือแย่กว่านั้น นายพล ฟอน เทสมาร์ได้คุกคามแต่ละคนที่มีทีท่าก่อความรุนแรง (ซึ่งนัดหยุดงานประท้วง) ด้วยโทษประหารสถานเดียว[22] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2460 คนงานพยายามใช้อาวุธมากที่สุดโดยฝ่าฝืนคำขาดของนายพลฟอน เทสมาร์

นายพลฟอน เทสมาร์ได้ปราบปรามอย่างรุนแรง แต่เขาไม่ต้องการประหารชีวิตดังที่เขาขู่ไว้ เพียงเวลา 9 วัน การชุมนุมประท้วงถูกปราบปรามหมดสิ้นและแกนนำผู้ชุมนุมถูกจับกุม[23][23] การที่เยอรมนีปฏิเสธเคารพรัฐบาลลักเซมเบิร์กอย่างต่อเนื่องเป็นการทำลายเกียรติที่ซึ่งผู้ชุมนุมถูกปราบปรามโดยกองทัพเยอรมันแทนที่จะเป็นกองทหารลักเซมเบิร์ก (Gendarmerie) ซึ่งเป็นเรื่องที่มากเกินกำลังสำหรับนายกรัฐมนตรีทอร์น ในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2460 รัฐบาลทอร์นได้กราบบังคมทูลลาออกต่อแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด[16]

รัฐบาลเลออน คลัฟแมนน์

แก้
 
พระบรมฉายาลักษณ์แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์กใน พ.ศ. 2461 ประกอบด้วยพระปรมาภิไธย

แม้ว่าประสบการณ์การจัดตั้งรัฐบาลร่วมจะล้มเหลวและจำเป็นต้องสร้างเอกภาพทางการเมือง โดยรัฐบาลสหภาพแห่งชาติได้ถูกยุบ เลออน คลัฟแมนน์ได้สร้างพันธมิตรระหว่างพรรคของเขากับพรรคสันนิบาตเสรีนิยมของเลออน มอติแยร์ โดยหาทางให้ชีวิตทางด้านการเมืองยืนยาว[24] เป้าหมายหลักคือการแก้ไขปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานของฝ่ายซ้ายโดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2460 รัฐสภาเปิดการอภิปรายครั้งใหญ่เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท้ายที่สุด มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญห้ามรัฐบาลทำสนธิสัญญาลับ เพิ่มรายได้ของผู้แทน (จนถึงเดี๋ยวนี้เป็น 5 ฟังก์ต่อวัน)[25] การให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป และการเปลี่ยนคะแนนเสียงข้างมากปรกติมาเป็นการเลือกตั้งระบบสัดส่วน[24]

ขณะที่กฎหมายข้างต้นทั้งหมดได้รับความนิยมในวงกว้าง ข้ามทางแยกทางการเมืองมากที่สุดเหมือนไม่จริงของการเสนอแก้ไขกฎหมายมาตรา 32 มาตราดังกล่าวไม่มีการแก้ไขช่วงปรับปรุงใหม่ของ พ.ศ. 2411 และข้อความในมาตรายังคงไม่เปลี่ยนแปลงนับแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2391 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า อำนาจอธิปไตยทั้งปวงเป็นของแกรนด์ดัสเชส[25] สำหรับบางครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความไม่พอใจในความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดกับเชื้อพระวงศ์เยอรมัน อำนาจอธิปไตยของชาติที่ขึ้นอยู่กับแกรนด์ดัสเชสอันเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ รัฐสภาได้ลงคะแนนเสียงทบทวนประมวลกฎหมายมาตรา 23 แต่คลัฟแมนน์กลับปฏิเสธไม่กระทำตาม ซึ่งเห็นว่าการเปลี่ยนให้พิจารณาทบทวนที่มาของอำนาจอธิปไตยแห่งชาติแฝงด้วยแนวคิดสาธารณรัฐนิยม[24]

ในฤดูร้อน พ.ศ. 2461 มีการแสดงถึงการล่มสลายของอนาคตของรัฐบาลอย่างน่าทึ่ง ในวันที่ 8 กรกฎาคม เขตคลอเซนกลางกรุงลักเซมเบิร์กได้ถูกกองทัพอากาศอังกฤษทิ้งระเบิด ทำให้พลเรือนเสียชีวิต 10 คน[26] แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะไม่ได้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นที่รักใคร่ในสายตาชาวลักเซมเบิร์ก แต่แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงใกล้ชิดกับชาวเยอรมันด้วยความเต็มพระทัย จึงทำให้ไม่ทรงเป็นที่นิยมชมชอบในหมู่พสกนิกรของพระนาง ในวันที่ 16 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จอร์จ ฟอน เฮิร์ทลิง เดินทางเยือนลักเซมเบิร์ก แม้เฮิร์ทลิงจะเดินทางมาเพื่อเข้าเฝ้าแกรนด์ดัสเชส แต่คลัฟแมนน์ได้เข้าพบเขาด้วย ในสายตาประชาชนลักเซมเบิร์ก ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศนั้นดูจริงใจอย่างกำกวม และเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ทำให้ความน่าเชื่อถือในตัวนายกรัฐมนตรีคลัฟแมนน์หมดลง[24] ทั้งรวมทั้งข่าวในวันที่ 26 สิงหาคม ซึ่งเป็นข่าวหมั้นระหว่างเจ้าหญิงแอนโทเนียแห่งลักเซมเบิร์ก พระขนิษฐาในแกรนด์ดัสเชส กับเจ้าชายรุพเพิร์ต มกุฎราชกุมารแห่งบาวาเรีย ผู้ทรงเป็นจอมพลแห่งกองทัพเยอรมัน[27] แรงกดดันได้ส่งผลต่อนายกรัฐมนตรีคลัฟแมนน์ ด้วยพรรคของเขายังมั่นคงแต่ชื่อเสียงส่วนตัวของเขากลับหมดสิ้น เขาถูกทิ้งอย่างไม่มีทางเลือก นำมาสู่การกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งต่อแกรนด์ดัสเชสในวันที่ 28 กันยายน โดยนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ อีมิล รอยเตอร์ นักการเมืองฝ่ายอนุรักษนิยมอีกคนหนึ่ง[28]

สิ้นสุดสงครามและการสละราชบัลลังก์

แก้

การสงบศึก

แก้
 
ชาวลักเซมเบิร์กออกมาเฉลิมฉลองการปลดปล่อยลักเซมเบิร์กและต้อนรับการเข้ามาของฝ่ายสัมพันธมิตรหลังจากการสงบศึกกับเยอรมัน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2461

ในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2461 สถานะของเยอรมนีในสงครามกลับต้านทานไม่ได้ การรุกฤดูใบไม้ผลิครั้งใหญ่ได้เป็นหายนะที่ไม่ลดน้อยลงไป ในขณะที่การโต้กลับของฝ่ายไตรภาคีพันธมิตร การรุกร้อยวันสามารถผลักดันให้ทหารเยอรมันกลับสู่แนวชายแดนของตนเอง ในวันที่ 6 พฤศจิกายน นายพลฟอน เทสมาร์ได้ประกาศถอนกองทัพทั้งหมดออกจากลักเซมเบิร์ก[29] 5 วันหลังจากคำประกาศของฟอน เทสมาร์ เยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกที่จะนำมาสู่การสิ้นสุดสงครามที่เป็นระยะเวลา 4 ปี ข้อตกลงของการสงบศึกรวมถึงการถอนทหารเยอรมันออกจากลักเซมเบิร์ก กับประเทศอื่นที่ถูกยึดครอง[30]

ฝ่ายพันธมิตรเห็นด้วยกับการที่เยอรมนีถอนทหารออกจากลักเซมเบิร์กซึ่งจะได้รับการสังเกตการณ์จากสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอเมริกาได้รับเกียรติในการปลดปล่อยประเทศที่ถูกยึดครอง ในวันที่ 18 พฤศจิกายน นายพลจอห์น เจ. เพรสชิงได้ประกาศต่อประชาชนในลักเซมเบิร์กในการเริ่มต้นก่อตั้งกองทัพที่สามของสหรัฐอเมริกาที่จะเคลื่อนผ่านลักเซมเบิร์กโดยยึดครองไรน์แลนด์ของเยอรมนี แต่อเมริกาจะมาในฐานะพันธมิตรและผู้ปลดปล่อยว่า:

หลังจากสี่ปีแห่งความรุนแรงในดินแดน ราชรัฐลักเซมเบิร์กโชคดีที่ได้รับการปลดปล่อย...ทหารอเมริกันเข้ามาในราชรัฐด้วยฐานะของมิตรและจะประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด การประพฤติตัวครั้งนี้ของพวกเขาที่ซึ่งจะไม่ขยายไปมากกว่านี้เมื่อเป็นสิ่งจำเป็นที่แท้จริง จะไม่เป็นภาระสำหรับคุณ การดำเนินงานของรัฐบาลและสถาบันจะไม่ถูกขัดขวาง ชีวิตและการดำรงชีวิตของคุณจะไม่ถูกรบกวน ตัวคุณและทรัพย์สินจักได้รับการเคารพ[31]

การก่อกบฏ วิกฤตสถาบันพระมหากษัตริย์และการสละราชบัลลังก์

แก้
 
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก ได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเชษฐภคินี พระนางทรงแบกรับวิกฤตสถาบันพระมหากษัตริย์ลักเซมเบิร์ก

แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะพึงพอใจกับการแก้ไขปัญหาครั้งนี้ ในขณะนั้นรัฐบาลลักเซมเบิร์กต้องประสบปัญหาการก่อความไม่สงบของกลุ่มคอมมิวนิสต์ หลังจากการถอนทัพของเยอรมนี นักปฏิวัติได้ทำการจัดตั้งอิทธิพลของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียในสภาคณะกรรมกรเหนือลักเซมเบิร์ก ในวันที่ 10 พฤศจิกายน หนึ่งวันหลังจากคาร์ล ไลป์เน็คท์และโรซา ลุกเซมบวร์กได้ประกาศรัฐสังคมนิยมในเยอรมนี กลุ่มคอมมิวนิสต์ในลักเซมเบิร์ก (เมือง)ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐซึ่งต่อจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง[32] การก่อกบฏอื่นๆได้เกิดขึ้นที่อิสช์-ซูร์-อัลแซตในชั่วโมงแรกๆของวันที่ 11 พฤศจิกายน แต่ก็ล้มเหลว[33] นักสังคมนิยมได้ทำการโจมตีพฤติกรรมของแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีด ผู้ซึ่งทรงเข้าแทรกแซงและขัดขวางอดีตนายกรัฐมนตรีไอส์เซนอยู่เสมอ ในวันที่ 12 พฤศจิกายน นักการเมืองสายสังคมนิยมและเสรีนิยมได้พบสาเหตุของปัญหาเก่าที่เรื้อรังมานาน พวกเขาได้กราบบังคมทูลขอให้แกรนด์ดัสเชสทรงสละราชสมบัติ[34] ญัตติรัฐสภาลักเซมเบิร์กในเรื่องการยกเลิกราชาธิปไตยในลักเซมเบิร์กได้พ่ายแพ้ด้วยคะแนนเสียง 21 ต่อ 19 เสียง(งดออกเสียง 3 เสียง) แต่ทางรัฐสภาได้ทำการให้รัฐบาลจัดทำการออกเสียงประชามติในประเด็นนี้[32]

ถึงแม้ว่ากลุ่มฝ่ายซ้ายที่พยายามทำการก่อตั้งสาธารณรัฐลักเซมเบิร์กจะล้มเหลว สาเหตุหลักมาจากความไม่พอใจในการจัดการปัญหา และตราบเท่าที่พระนางมารี-อาเดลาอีดยังทรงดำรงเป็นแกรนด์ดัสเชส ฝ่ายเสรีนิยมจึงเป็นพัมธมิตรกับฝ่ายสังคมนิยมในการต่อต้านพระนาง รัฐบาลฝรั่งเศสปฏิเสธที่จะทำงานร่วมกับรัฐบาลที่นำโดยผู้ร่วมมือ[33] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส สเตเฟน ปิชองได้เรียกผู้ร่วมมือในฐานะ"ผู้ทำการประนีประนอมกับศัตรูของฝรั่งเศสขั้นร้ายแรง"[32] จากการที่พระนางทรงเป็นผู้"นิยมเยอรมัน" รัฐบาลฝรั่งเศสโดยปิชอง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2461 ถึงตัวแทนจากคณะรัฐบาลของแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดว่า

รัฐบาลฝรั่งเศสเราไม่ประสงค์พิจารณาที่จะเจรจาต่อรองกับรัฐบาลขององค์แกรนด์ดัสเชสแห่งลักเซมเบิร์ก ผู้ซึ่งเราได้พิจารณาแล้วว่าแกรนด์ดัสเชสทรงเป็นผู้ร่วมมือในฐานะ"ผู้ทำการประนีประนอมกับศัตรูของฝรั่งเศสขั้นร้ายแรง"[35]

แรงกดดันจำนวนมากเกิดจากสิ่งเหล่านี้ ในวันที่ 9 มกราคม กองร้อยทหารหนึ่งของกองทัพลักเซมเบิร์กได้ก่อกบฏขึ้น โดยได้ประกาศว่าเป็นกองทัพแห่งสาธารณรัฐใหม่[33] นำโดยอีมิล แซร์เวียส (บุตรชายของเอ็มมานูเอล แซร์เวียส อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 5 ของลักเซมเบิร์กในสมัยสมเด็จพระเจ้าวิลเลมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์) ในฐานะของ"ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ"[36] อย่างไรก็ตามโดยในเดือนมกราคม ภาวะสุญญากาศทางการเมืองได้เกิดขึ้นโดยการออกไปของเยอรมันและแทนที่ด้วยทหารอเมริกันและฝรั่งเศส ประธานรัฐสภาลักเซมเบิร์ก ฟรองซัวส์ อัล์ทวีส์ได้ขอให้ทหารฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง[37] ความกระตือรือร้นพยายามที่จะตัดขาดการก่อปฏิวัติโดยผู้นิยมเบลเยียม กองทัพฝรั่งเศสได้เข้าปราบปรามกลุ่มที่คาดว่าจะเป็นนักปฏิวัติ

ถึงแม้ว่าแกรนด์ดัสเชสจะไม่ทรงกระทำสิ่งต่างๆที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม กระแสความไม่จงรักภักดีได้สร้างการต่อต้านมากเกินไปสำหรับแกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีด เสียงของรัฐสภาได้เรียกร้องให้พระนางสละราชบัลลังก์ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2462 แก่พระขนิษฐา เจ้าหญิงชาร์ล็อต[34] เบลเยียมซึ่งต้องการที่จะผนวกลักเซมเบิร์กในฐานะรัฐร่วมประมุขต้องยอมรับแกรนด์ดัสเชสชาร์ล็อตในฐานะพระประมุขของลักเซมเบิร์กอย่างเลี่ยงไม่ได้ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พระราชวงศ์ยังทรงดำรงอย่างแทบจะไม่มีความหมายจนกระทั่งเดือนกันยายน พ.ศ. 2462 เมื่อการลงคะแนนเสียงประชามติซึ่งกำหนดอนาคตของราชรัฐผลคือคะแนนเสียงจากประชาชนถึง 77.8% ต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้ราชวงศ์นัสเซา-ไวล์บูร์กต่อไป[38]

ตารางผลการลงประชามติในด้านประมุขแห่งชาติปีพ.ศ. 2462

เลือก คะแนนเสียง %
แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก 66,811 77.8
สาธารณรัฐ 16,885 19.7
ยังคงพระราชวงศ์เช่นเดิม แต่ถอดถอนแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อต 1,286 1.5
ยังคงสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดิม แต่แทนที่ด้วยราชวงศ์อื่น 889 1.0
บัตรเสีย 5,113
รวมทั้งสิ้น 90,984 100
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง/จำนวนผู้มาใช้สิทธิ 126,193 72.1
แหล่งที่มา: Nohlen & Stöver

หลังสละราชบัลลังก์และสิ้นพระชนม์

แก้

หลังจากแกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดสละราชบัลลังก์ พระนางได้เสด็จลี้ภัยออกจากประเทศโดยเสด็จประพาสทั่วยุโรป พระนางทรงเข้าคณะคาร์เมไลท์ในโมเดนา ประเทศอิตาลีในปีพ.ศ. 2463 ต่อจากนั้นทรงเข้าคณะภคินีน้อยแห่งผู้ยากไร้ในโรม โดยทรงใช้พระสมัญญานามว่า "ซิสเตอร์มารีแห่งผู้ยากไร้" ด้วยสภาพพระวรกายที่ทรุดลงทำให้พระนางไม่ทรงสามารถปฏิบัติศาสนกิจในฐานะนักพรตหญิงได้และในที่สุดทรงต้องออกจากคณะ จากนั้นทรงย้ายไปประทับที่ปราสาทโฮเฮนเบิร์กในรัฐบาวาเรีย ที่ซึ่งทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2467 สิริพระชนมายุ 29 พรรษา ในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2490 พระศพของพระนางได้ถูกนำมาฝังในสุสานราชรัฐแห่งมหาวิหารน็อทร์-ดาม ลักเซมเบิร์ก[39]

พระอิศริยยศ

แก้
  • 14 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 : เจ้าหญิงมารี-อาเดลาอีดแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก[40]
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 : แกรนด์ดัสเชสรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าหญิงแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก[40]
  • 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 14 มกราคม พ.ศ. 2462 : แกรนด์ดัสเชสแห่งลักเซมเบิร์ก
  • 14 มกราคม พ.ศ. 2462 - 24 มกราคม พ.ศ. 2467 : แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าหญิงแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก
    • ในฐานะของนักพรตหญิงนิกายโรมันคาทอลิก : ซิสเตอร์มารีแห่งผู้ยากไร้ (Sister Marie of the Poor)

พระราชตระกูล

แก้
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. เฟรเดอริค วิลเลียม เจ้าชายแห่งนัสเซา-ไวล์บวร์ก
 
 
 
 
 
 
 
8. วิลเลียม ดยุคแห่งนัสเซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เบอร์เกรฟวีนหลุยส์ อิซาเบลแห่งเคิร์ชเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
4. แกรนด์ดยุกอดอล์ฟแห่งลักเซมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. เฟรเดอริค ดยุคแห่งแซ็กซ์-อัลเทนบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
9. เจ้าหญิงหลุยส์แห่งแซ็กซ์-ฮิลด์บูร์กเซน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. ดัสเชสชาร์ล็อต จอร์จีนแห่งแม็กเคลนบวร์ก-สเตรลิตซ์
 
 
 
 
 
 
 
2. แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. เฟรเดอริค เจ้าชายรัชทายาทแห่งอัลฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 
 
10. เจ้าชายเฟรเดอริค ออกุสตุสแห่งอันฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. แลนด์เกรฟวีนอเมลีแห่งเฮสส์-ฮอมบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
5. เจ้าหญิงอเดลเฮด-มารีแห่งอันฮัลท์-เดสเซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. เจ้าชายวิลเลียมแห่งเฮสส์-คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
11. แลนด์เกรฟวีนมารี หลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเฮสส์-คาสเซิล
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เจ้าหญิงหลุยส์ ชาร์ล็อตแห่งเดนมาร์ก
 
 
 
 
 
 
 
1. แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. สมเด็จพระเจ้าปีดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. เจ้าหญิงมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
3. เจ้าหญิงมารี แอนน์แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. ชาร์ลส์ โทมัส เจ้าชายแห่งโลเวนสไตน์-เวิร์ทเฮล์ม-โรเซนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
14. คอนสแตนติน เจ้าชายรัชทายาทแห่งโลเวนสไตน์-เวิร์ทเฮล์ม-โรเซนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เคานท์เตสโซฟีแห่งวินดิช-กรีทซ์
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงอาเดลาอีดแห่งโลเวนสไตน์-เวิร์ทเฮล์ม-โรเซนเบิร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. ชาร์ลส์ หลุยส์ เจ้าชายแห่งโฮเฮนโลเฮ-ลานเกนบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงแอ็กเนสแห่งโฮเฮนโลเฮ-ลานเกนบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เคานท์เตสอเมลี เฮนเรียตแห่งซอล์ม-บารูธ
 
 
 
 
 
 

เชิงอรรถ

แก้
  1. http://www.monarchie.lu/fr/histoire/souverains/marie-adelaide/index.html
  2. http://www.monarchie.lu/fr/histoire/souverains/marie-adelaide/index.html
  3. Jean Schoos, "Vor 50 Jahren, Dokumentation zur Regierung und Abdankung I.K.H. der Grossherzogin Marie-Adelheid," in <Lumemburger Marienkaldender>, no. 88 (1969), p. 78
  4. Péporté, Pit (2010). Inventing Luxembourg: representations of the past, space and language from the nineteenth to the twenty-first century. BRILL. p. 90. ISBN 90-04-18176-8.
  5. Ibid
  6. Christian Calmes, "Marie-Adelaide (1894-1924), Grande-Duchesse de Luxembourg de 1012 a 1919" in <De l'Etat a la Nation 1839-1989> (Luxembourg: 1989), p. 93.
  7. O'Shaughnessy, Edith (1932). Marie Adelaide – Grand Duchess of Luxemburg, Duchess of Nassau. London: Jonathan Cape. pp. 134–135
  8. Calmes, Christian (1989). The Making of a Nation From 1815 to the Present Day. Luxembourg City: Saint-Paul. p. 93
  9. Operational Intelligence Report. 24 September 1911. Retrieved on 23 July 2006. p.64 (ฝรั่งเศส)
  10. O'Shaughnessy (1932), p. 65.
  11. Thewes (2003), p. 65.
  12. Thewes (2003), p. 65.
  13. Thewes (2003), p. 66.
  14. Thewes (2003), p. 66.
  15. Kreins (2003), p. 88.
  16. 16.0 16.1 Thewes (2003), p. 69.
  17. Thewes (2003), p. 68.
  18. Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
  19. Letter from Tessmar to assorted commanders (in German), 8 May 1916
  20. Thewes (2003), p. 68.
  21. Letter from Thorn to Buch (in German), 28 August 1916
  22. Proclamation by Tessmar to steel workers at Differdange (in German), 10 May 1917
  23. 23.0 23.1 Letter from Kauffmann to Zimmerman (in German), 3 August 1917
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Thewes (2003), p. 72.
  25. 25.0 25.1 /(เยอรมัน) "Mémorial A, 1868, No. 23" (PDF). Service central de législation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-09-27. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006. (ฝรั่งเศส)
  26. Faber (1932), p. 155
  27. Thewes (2003), p. 74.
  28. Thewes (2003), p. 76.
  29. Letter from Tessmar to Reuter (in German), 6 November 1918.
  30. La convention d'armistice เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Article A(II). 11 November 1918. Retrieved on 20 February 2012. (ฝรั่งเศส)
  31. Proclamation by Pershing to the people of Luxembourg (in French), 18 November 1918.
  32. 32.0 32.1 32.2 Kreins (2003), p. 89.
  33. 33.0 33.1 33.2 Thewes (2003), p. 81.
  34. 34.0 34.1 Dostert et al. (2002), p. 21.
  35. Scuto, loc. cit
  36. Luxembourg country profile. WorldStatesman.org. Retrieved on 23 July 2006.
  37. Kreins (2003), p. 90.
  38. Dostert et al. (2002), p. 22
  39. This section was translated from the same article in the German version of Wikipedia.
  40. 40.0 40.1 It was customary for a reigning Grand Duke, his heir apparent, and their spouses to use the style of Royal Highness. Junior non-reigning members headed by a Grand Duke instead used the style Grand Ducal Highness. Since 1919, when Grand Duchess Charlotte married with Prince Felix of Bourbon-Parma, all the male-line descendants adopted the style Royal Highness, in capacity of being a descendant of the Royal House of Bourbon-Parma.

อ้างอิง

แก้
  • O'Shaughnessy, Edith. Marie Adelaide, Grand Duchess of Luxemburg, Duchess of Nassau. New York: Jonathan Cape and Robert Ballou, 1932.
  • Schous, Marie. Marie Adelheid van Nassau, Groothertogin van Luxemburg. 's Hertogenbosch: G. Mosmans, 1931.
  • Zenner, Theodor. Marie Adelheid: Lebensbild der verstorbenen Grossherzogin von Luxemburg. 1925
  • Marburg, Theodor. The Story of a Soul. Philadelphia: Dorrance, 1938.
  • Leighton, Isabel, and Bertram Bloch. Marie-Adelaide: A Play. New York: Rialto Service Bureau.
  • German occupation of Luxembourg. GWPDA, 21 May 1998. Retrieved on 2006-07-23. (ในภาษาฝรั่งเศสและเยอรมัน)
  • Calmes, Christian (1989). The Making of a Nation From 1815 to the Present Day. Luxembourg City: Saint-Paul.
  • Dostert, Paul; Margue, Paul (September 2002). The Grand Ducal Family of Luxembourg (PDF). Luxembourg City: Service Information et Presse. ISBN 2-87999-018-1. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006.
  • Faber, Ernest (1932). Luxemburg im Kriege 1914–1918 (ภาษาเยอรมัน). Mersch.
  • Kreins, Jean-Marie (2003). Histoire du Luxembourg (ภาษาฝรั่งเศส) (3rd ed.). Paris: Presses Universitaires de France. ISBN 978-2-13-053852-3.
  • O'Shaughnessy, Edith (1932). Marie Adelaide – Grand Duchess of Luxemburg, Duchess of Nassau. London: Jonathan Cape.
  • Thewes, Guy (July 2003). Les gouvernements du Grand-Duché de Luxembourg depuis 1848 (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส) (limited ed.). Luxembourg City: Service Information et Presse. ISBN 2-87999-118-8. สืบค้นเมื่อ 23 July 2006.
  • Marie-Adélaïde (in French) at the official website of the Luxembourg royal family
  • http://www.ewtn.com/library/HOMELIBR/FR94303.TXT เก็บถาวร 2013-03-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า แกรนด์ดัชเชสมารี-อาเดลาอีดแห่งลักเซมเบิร์ก ถัดไป
แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก   แกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์ก
(ราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก)

(25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 14 มกราคม พ.ศ. 2462)
  แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดยุกวิลเลมที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์ก    
ดัสเชสแห่งนัสเซา
(ราชวงศ์นัสเซา-ไวลบูร์ก)
ผู้อ้างสิทธิในพระอิศริยยศ

(25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 14 มกราคม พ.ศ. 2462)
  แกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก