เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
อุตรดิตถ์ เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นเมืองศูนย์กลางและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางของจังหวัดอุตรดิตถ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 33,357 คน[1]
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ | |
---|---|
แม่น้ำน่าน ในช่วงฤดูน้ำแดงขณะไหลผ่านเมืองอุตรดิตถ์ | |
สมญา: บางโพ | |
คำขวัญ: โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน วางตนเหมาะสม | |
พิกัด: 17°37′23″N 100°5′45″E / 17.62306°N 100.09583°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุตรดิตถ์ |
อำเภอ | เมืองอุตรดิตถ์ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | นายชูชาติ อ้นทุ่งยั้ง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13.49 ตร.กม. (5.21 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 33,357 คน |
• ความหนาแน่น | 2,472.72 คน/ตร.กม. (6,404.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04530102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 1 ถนนประชานิมิตร ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 |
โทรศัพท์ | 0 5541 1212 |
โทรสาร | 0 5544 4384, 0 5541 2218 |
เว็บไซต์ | www.uttaraditcity.go.th |
ประวัติ
แก้อุตรดิตถ์ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นศูนย์กลางการปกครองในจังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมทีเมืองนี้เป็น ชุมทางการค้าที่สำคัญในเขตลุ่มแม่น้ำน่าน ตั้งแต่สมัยโบราณ ที่รู้จักกันในชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" ต่อมาได้มีพัฒนาการความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่งในแถบภาคเหนือตอนล่าง
เมืองอุตรดิตถ์ เดิมประกาศเป็น "สุขาภิบาลตำบลตลาดท่าอิฐ" เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสุขาภิบาลเมืองอุตรดิตถ์ และได้รับการยกฐานะเป็น "เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่การปกครองในปัจจุบัน 13.49 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์เป็นพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำน่าน มีย่านความเจริญทางเศรษฐกิจของชุมชนอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีสถานีรถไฟผ่านกลางเมืองอุตรดิตถ์
มีพื้นที่ทั้งสิ้น 13.49 ตารางกิโลเมตร (8,431.25 ไร่) โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลคุ้งตะเภาและองค์การบริหารส่วนตำบลป่าเซ่า อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีแม่น้ำน่านเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 37.1 (98.8) |
39.2 (102.6) |
41.7 (107.1) |
43.0 (109.4) |
43.3 (109.9) |
39.2 (102.6) |
40.2 (104.4) |
37.9 (100.2) |
37.1 (98.8) |
36.4 (97.5) |
35.9 (96.6) |
36.6 (97.9) |
43.3 (109.9) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.8 (89.2) |
34.5 (94.1) |
36.8 (98.2) |
38.2 (100.8) |
35.8 (96.4) |
33.6 (92.5) |
32.9 (91.2) |
32.5 (90.5) |
32.7 (90.9) |
32.8 (91) |
32.1 (89.8) |
31.1 (88) |
33.73 (92.72) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 23.7 (74.7) |
26.1 (79) |
28.9 (84) |
31.0 (87.8) |
29.9 (85.8) |
28.7 (83.7) |
28.2 (82.8) |
27.9 (82.2) |
27.9 (82.2) |
27.6 (81.7) |
25.9 (78.6) |
23.6 (74.5) |
27.45 (81.41) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 16.3 (61.3) |
18.2 (64.8) |
21.0 (69.8) |
23.7 (74.7) |
24.6 (76.3) |
24.4 (75.9) |
24.1 (75.4) |
23.9 (75) |
23.7 (74.7) |
22.8 (73) |
20.2 (68.4) |
17.0 (62.6) |
21.66 (70.99) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 5.5 (41.9) |
10.0 (50) |
13.0 (55.4) |
18.5 (65.3) |
20.8 (69.4) |
20.4 (68.7) |
20.3 (68.5) |
20.6 (69.1) |
16.1 (61) |
15.8 (60.4) |
10.2 (50.4) |
7.5 (45.5) |
5.5 (41.9) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 8 (0.31) |
10 (0.39) |
23 (0.91) |
72 (2.83) |
225 (8.86) |
196 (7.72) |
194 (7.64) |
260 (10.24) |
282 (11.1) |
134 (5.28) |
24 (0.94) |
4 (0.16) |
1,432 (56.38) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1 | 1 | 2 | 5 | 12 | 13 | 14 | 17 | 15 | 9 | 2 | 1 | 92 |
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[2] |
สัญลักษณ์
แก้สัญลักษณ์ประจำเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์เป็นรูปวิมานพระแท่นศิลาอาสน์รองรับโดยช้างเอราวัณ และบนยอดวิมานมีรัศมีที่ปลายยอด
1. วิมาน พระแท่นศิลาอาสน์ สัญลักษณ์ของเมืองอุตรดิตถ์ เป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าเคยสเด็จมาประทับในสมัยพุทธกาล เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน
2. ช้างเอราวัณ พลังแห่งความยั่งยืนสถาพร ซึ่งรองรับการดำรงอยู่ของพระแท่นศิลาอาสน์ เปรียบเสมือนความยั่งยืนของศรัทธาสามัคคี ในการปกปักรักษาไว้ซึ่งสิ่งอันเป็นที่เคารพเทิดทูน
3. รัศมีที่ปลายยอด การมีชื่อเสียงขจรขจายไปทุกทิศทุกทางประกาศเกียรติคุณความดี
เขตการปกครอง
แก้เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีจำนวนชุมชนทั้งสิ้น 28 ชุมชน แบ่งเขตพื้นที่ชุมชนออกเป็น 3 เขต (โซน)
ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ | |||
---|---|---|---|
ที่ | โซนที่ 1 | โซนที่ 2 | โซนที่ 3 |
1 | ธรรมกิจจาภิบาล | หน้าวิทยาลัยครู | เจริญธรรม |
2 | ตลาดท่าเสา | คอวัง | บ้านเกาะ |
3 | ท่าอิฐบน | เกษมราษฎร์ | เจริญบัณฑิต |
4 | ธรรมาธิปไตย | เจริญราษฎร์ | ห้วยไผ่ |
5 | ท่าอิฐล่าง | ฤดีเปรม | พาดวารี |
6 | ไผ่สีทอง | หนองผา | พัฒนศึกษา |
7 | สำราญฤทัย | หลัง รพช. | สมานมิตร |
8 | ศิลาอาสน์ตะวันตก | ส่วนราชการ | เจษฎาบดินทร์ |
9 | ศิลาอาสน์ตะวันออก | เกาะกลาง | บรมอาสน์ |
10 | หนองบัว |
การศึกษา
แก้
|
|
สาธารณสุข
แก้ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มีหน่วยงานบริการด้านสาธารณสุขประกอบด้วย โรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ศูนย์บริการสาธารณสุข และคลินิก
การคมนาคม
แก้การคมนาคมในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์สามารถเดินทางด้วยทั้งเส้นทางถนน และเส้นทางรถไฟผ่านบริเวณใจกลางตัวเมืองอุตรดิตถ์ ในตัวเมืองเป็นบริเวณที่มีจุดตัดทางหลวงหลายสายที่เชื่อมต่อไปยังอำเภออื่น ๆ และจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 การขนส่งทางราง มีสถานีรถไฟภายในเขตเทศบาล 2 แห่ง คือ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ นอกจากนี้ยังมีการขนส่งทางอากาศของบริษัทสายการบินนกแอร์ วันละ 1 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมืองถึงสนามบินพิษณุโลก และเดินทางจากรถตู้มายังเขตเทศบาล
ทางถนน
แก้การเดินทางมายังเมืองอุตรดิตถ์โดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถจำแนกได้ดังนี้
สายที่ 1 จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เข้าพิษณุโลก แล้วเดินทางตามเส้นทางสายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์) เข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงเขตเทศบาล
สายที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1ผ่านสระบุรี แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ผ่านลพบุรี เพชรบูรณ์ จนถึงอำเภอหล่มเก่า เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงเขตเทศบาล
สายที่ 3 จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1จนถึงกำแพงเพชร เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ผ่านสุโขทัย จนถึงอำเภอศรีสัชนาลัย แล้วแยกขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 เข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงเขตเทศบาล
สำหรับการเดินทางในเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถสองแถวรอบเมือง รถตุ๊กตุ๊ก รถสามล้อรับจ้าง มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมทั้งมีรถสองแถว และรถประจำทางในการเดินทางไปยังอำเภออื่น ๆ
- ถนนในเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
|
|
|
ทางราง
แก้การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพ–เชียงใหม่ รถไฟสายกรุงเทพ-เด่นชัย โดยผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา–ลพบุรี–นครสวรรค์–พิษณุโลก–อุตรดิตถ์ เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ รวมวันละ 18 ขบวนไป–กลับ รถท้องถิ่นนครสวรรค์–เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวนไป–กลับ และรถท้องถิ่นพิษณุโลก-ศิลาอาสน์ วันละ 2 ขบวนไปกลับ มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในเมืองอุตรดิตถ์ คือ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และ สถานีรถไฟศิลาอาสน์
ทางอากาศ
แก้เดินทางโดยใช้สายการบินนกแอร์ แบบ Fly'n'Ride กรุงเทพ(ดอนเมือง)-อุตรดิตถ์ วันละ 1 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมืองถึงสนามบินพิษณุโลก และเดินทางโดยรถตู้ถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่จังหวัดอุตรดิตถ์(โชว์รูมโตโยต้าชัวร์อุตรดิตถ์)
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน
แก้หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี
พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5
แก้พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ ลานอเนกประสงค์ริมน่าน ถนนมุขศาลา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ที่ประชาชนชาวอุตรดิตถ์ได้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงการเสด็จ พระราชดำเนินเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2444 ปัจจุบันลานอเนกประสงค์ได้ใช้ในการจัดกิจกรรม วันปิยมหาราช ประเพณีของจังหวัด และเป็นสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกายของประชาชน
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
แก้อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความ องอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน และในบริเวณอนุสาวรีย์ยังมี "พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก" และ"พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัยดาบหัก" อีกด้วย
หอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์
แก้เดิมตั้งอยู่ที่หาดท่าอิด เป็นของขุนพิเนตรจีนภักดี นายภาษีอากรอุตรดิตถ์ เกิดต้องตาต้องใจเมื่อไปยังพระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต ซึ่งเห็นว่าพระที่นั่งสวยงามจึงจ้างช่างชาวจีน ออกแบบก่อสร้างและเลียนแบบพระที่นั่งวิมานเมฆสร้างจนแล้วเสร็จ แต่ต่อมาเกิดคดีเก็บส่วยไม่ครบจึงถูกฟ้อง เมื่อแพ้คดีความบ้านหลังนี้จึงถูกยึด พระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิตถ์นคร (อั้น หงสนันท์) เห็นว่าเป็นบ้านที่ทรงคุณค่าจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่ตั้งปัจจุบันใกล้กับบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดให้ชมเฉพาะบางเวลา
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ "Climate Normals for Uttaradit East". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 2 February 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ เก็บถาวร 2008-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน