โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี

โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี เป็นสถานศึกษาที่เคยได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ปัจจุบันโรงเรียนแบ่งการเปิดการสอนเป็น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเปิดสอนเฉพาะหญิง (หญิงล้วน) ห้องเรียนปกติ ส่วนมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดสอนแบบ "สหศึกษา"

โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
Uttaradit Darunee School
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.ณ. UN
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญบาลี: ปญฺญา นรานํ รตนํ
(ปัญญา เป็นแก้วสารพัดนึก)
ก่อตั้งพ.ศ. 2463 (อายุ 104 ปี)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์
สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขึ้นพื้นฐาน
รหัส53012004
ผู้อำนวยการนายชยพล เอ็บมูล
สีสีกรมท่า - สีขาว
เพลงมาร์ชอุตรดิตถ์ดรุณี
เว็บไซต์www.un.ac.th

โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณีในปัจจุบันจัดเป็นสถานมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ และเป็นส่วนราชการในบังคับของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติ แก้

โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2463 ณ หมู่บ้านคอวัง ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อ “โรงเรียนจันทร์นารีประคอง

ปี พ.ศ. 2471 ได้ย้ายโรงเรียนจากหมู่บ้านคอวังไปใช้อาคารและสถานที่ของกรมทหารม้าซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่อีกครั้ง ชื่อ “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดอุตรดิตถ์” เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษารับเฉพาะนักเรียนหญิงเท่านั้น ดำเนินการสอนอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นเวลา 31 ปี

พ.ศ. 2502 ได้ย้ายโรงเรียนอีกเป็นครั้งที่ 3 มาอยู่ที่ถนนประชานิมิตร ตำบลท่าอิฐ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน เพราะสถานที่เดิมคับแคบ ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2502 เป็นต้นมา บนเนื้อที่ 28 ไร่ 3 งาน 45 ตารางวา

พ.ศ. 2505 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี” และเริ่มเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกวิทยาศาสตร์) ซึ่งรับนักเรียนชายเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วย

พ.ศ. 2522 ได้รับโอนที่ดินราชพัสดุจากศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดกับโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี จำนวน 15 ไร่ (บริเวณที่ก่อสร้างอาคาร 5 หอประชุมโรงอาหาร และศูนย์กีฬาในปัจจุบัน) จึงทำให้โรงเรียนมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 43 ไร่ 21.5 ตารางวา โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน อาคารประกอบ สาธารณูปการ ครุภัณฑ์ประกอบห้อง และครุภัณฑ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนจากส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามลำดับ

พ.ศ. 2546 คือตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 ได้โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนช่วงชั้นที่ 3 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) และช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)

รายนามผู้บริหารโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี แก้

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นางสาวนวล เปาริกศิริ พ.ศ. 2463 - 2474
2 นางกลาง ปรีชาวินิจฉัย พ.ศ. 2474 - 2479
3 นางสาวซิวเน้ย ฉั่วสกุล พ.ศ. 2479 - 2480
4 นางสาวยุพิน นาคสวัสดิ์ พ.ศ. 2480 - 2486
5 นางเพ็ญฉวี เอชกุล พ.ศ. 2486 - 2589
6 นางสาวสุนทรี พิจลักษณ์ พ.ศ. 2489 - 2496
7 นางสาวจำรูญรัตน์ ชมภูมิ่ง พ.ศ. 2496 - 2517
8 นางสาวสุวทิพย์ ก้อนบาง พ.ศ. 2517 - 2534
9 นางผ่องศรี เกษมสันต์ ณ อยุธยา พ.ศ. 2534 - 2535
10 นางประสพศรี เตมียบุตร พ.ศ. 2535 - 2536
11 นางหัทยา คงกะพัน พ.ศ. 2536 - 2539
12 นางสาวบุบผา เสนาวิน พ.ศ. 2539 - 2543
13 นายพิสิฐ คงเมือง พ.ศ. 2543 - 2546
14 นายธงชัย ทองวัฒนพร พ.ศ. 2546 - 2547
15 นายสูงศักดิ์ นาคหอม พ.ศ. 2547 - 2550
16 นายสุเทพ ไตต่อผล พ.ศ. 2550 - 2554
17 นายมนต์ชัย ปาณธูป พ.ศ. 2554 - 2560
18 นายธารา น่วมศิริ พ.ศ. 2560 - 2563
19 นายจลัญ อินตายวง พ.ศ. 2564 - 2566
20 นายชยพล เอ็บมูล พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี แก้

  • พลเอก ฉลองชัย ชัยยะคำ - อดีตรองเสนาธิการทหาร และอดีตแม่ทัพภาคที่ 3
  • พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค - ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราชการกลาโหม อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตรองโฆษกกองทัพบก
  • พิชญา ลักษณา (น้องธันวา) - ชนะเลิศนางสาวอุตรดิตถ์ ประจำปี 2560 และนักแสดงละคร กล่อมรัก ทางช่อง 5
  • ฐิติมา อินกล่ำ (ต้อม) ผู้ประกาศข่าว สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

17°37′41″N 100°05′46″E / 17.628007°N 100.096225°E / 17.628007; 100.096225