เซนต์เซย์ย่า
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เซนต์เซย่า (ญี่ปุ่น: 聖闘士星矢; โรมาจิ: Seinto Seiya; ทับศัพท์: เซนโตะเซยะ) เป็นชื่อของหนังสือการ์ตูน ซึ่งแต่งขึ้นโดย มาซามิ คูรูมาดะ ซึ่งใช้กลุ่มดาวม้าบินมาเป็นตัวเอกของเรื่อง เนื่องจากม้าบินกำลังอยู่ในท่าทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ตรงกับภาพลักษณ์ของตัวเอกที่เขาได้คิดไว้นั่นเอง โดยมีเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กหนุ่ม 5 คนที่เรียกว่า เซนต์ (saint) ต่อสู้โดยใช้ร่างกายของตนเองเป็นอาวุธเพื่อปกป้องคิโดะ ซาโอริ ผู้เป็นอวตารของเทพีอาเทน่า และต่อสู้กับทัพศัตรูแห่งความชั่วร้าย ในโลกร่วมสมัยที่มีบรรยากาศของเทพปกรณัมกรีก
เซนต์เซย่า | |
聖闘士星矢 | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | Saint Seiya หรือ Knights of the Zodiac |
แนว | แอคชั่น, แฟนตาซี |
มังงะ | |
เขียนโดย | มาซามิ คูรูมาดะ |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์ชูเอฉะ สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ |
อนิเมะ | |
กำกับโดย | โคโซ โมริชิตะ (ตอนที่ 1-73) คาซึฮิโตะ คิคุจิ (ตอนที่ 74-114) |
สตูดิโอ | โตเอแอนิเมชัน |
ในประเทศญี่ปุ่น เซนต์เซย่าลงตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ และออกเป็นหนังสือรวมเล่มจำนวน 28 เล่มจบ ส่วนในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจได้รับสิทธิ์ในการตีพิมพ์ฉบับรวมเล่ม นอกจากภาคหลักแล้ว เซนต์เซย่ายังได้รับการแต่งภาคเสริมขึ้นอีกหลายภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาค Episode G , Next Dimension และ The Lost Canvas
เซนต์เซย่าถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของอนิเมะ และออกฉายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2529 โดยบริษัท โตเอแอนิเมชัน ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีจนได้ออกอากาศติดต่อกันนานเกือบ 3 ปี นอกจากนี้ยังได้แพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียด้วยกัน เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา ละตินอเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีการนำเซนต์เซย่ามาออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2531 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 โดยใช้ชื่อว่า "เซย่า เทพบุตรหมัดดาวหาง" จากนั้นก็ได้ออกอากาศซ้ำอีกในปี พ.ศ. 2547 ทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซี (ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน) และมีการนำออกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดย บริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด ด้วย นอกจากนี้เซนต์เซย์ย่ายังได้รับการดัดแปลงเป็นสื่อในรูปแบบอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ภาพยนตร์ ละครเวที เกม และของเล่นต่าง ๆ
ประวัติ
แก้ในขณะที่ มาซามิ คุรุมาดะ กำลังวางเค้าโครงเนื้อเรื่องของผลงานเรื่องใหม่อยู่ เขาก็ได้พบภาพของ "ฝนดาวตกสิงโต" เข้า ฝนดาวตกจำนวนมหาศาลที่ตกลงมาจากท้องฟ้านั้น ดูคล้ายกับลักษณะของเซนต์มาก คุรุมาดะจึงคิดจะออกแบบให้ตัวเอกของเรื่องเป็นราศีสิงห์ แต่หลังจากได้ค้นข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม เขาก็พบกลุ่มดาวม้าบิน ซึ่งม้าบินหรือเพกาซัสที่กำลังอยู่ในท่าทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ตรงกับภาพลักษณ์ของตัวเอกที่คุรุมาดะกำหนดเอาไว้เป็นอย่างมาก เขาจึงตัดสินใจเลือกเพกาซัสให้เป็นกลุ่มดาวประจำตัวเอก และนำลักษณะของฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต (Leonids) มาเป็นต้นแบบของท่าไม้ตายของตัวเอก แล้วคุรุมาดะก็ตั้งชื่อให้กับตัวเอกของเรื่องว่า "เซย่า"[1]
เมื่อวางเค้าโครงเรื่องเสร็จ คุรุมาดะก็เลือกกลุ่มดาวขึ้นมา 10 กลุ่มดาว (จากทั้งหมด 88 กลุ่มดาว) และกำหนดให้เป็นบรอนซ์เซนต์ทั้ง 10 คน ส่วนกลุ่มดาวอื่นๆ ที่เหลืออีก 78 กลุ่มดาว ก็ได้รับการออกแบบให้เป็นเซนต์ในระดับต่างๆ ซึ่งมีความสามารถที่แตกต่างกันไป[1]
ความนิยม
แก้เซนต์เซย่าเป็นหนึ่งในผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาในช่วงยุคทองของนิตยสารจัมป์รายสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการ์ตูนดังๆ ในยุค'80 ตีพิมพ์อยู่หลายเรื่อง เช่น ดราก้อนบอล ฤทธิ์หมัดดาวเหนือ คินนิคุแมน โรงเรียนลูกผู้ชาย และซิตี้ฮันเตอร์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มนักรบเด็กหนุ่มห้าคน (เซนต์) ซึ่งต่อสู้โดยใช้ร่างกายของตนเองเป็นอาวุธ ในโลกร่วมสมัยที่มีบรรยากาศของเทพปกรณัมกรีก เด็กหนุ่มทั้งห้าคนนี้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปกป้อง คิโดะ ซาโอริ ผู้เป็นอวตารของเทพีอาเทน่า เทพีแห่งปัญญาและสงคราม และต่อสู้กับทัพศัตรูแห่งความชั่วร้าย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากทั้งผู้ชมที่เป็นผู้ชายและผู้หญิง ต่อมาเมื่อถูกสร้างเป็นอนิเมะออกอากาศทางโทรทัศน์ ก็มีกระแสตอบรับที่ดีจนได้ออกอากาศติดต่อกันนานเกือบ 3 ปี ส่งผลให้สินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวกับเซนต์เซย่า เช่น วิดีโอภาพยนตร์การ์ตูน ซอฟต์แวร์เกม หุ่นฟิกเกอร์และหุ่นเหล็กในรูปแบบต่างๆ ที่ผลิตโดยบริษัทบันไดในช่วงนั้น ได้รับความนิยมและขายดีเป็นอย่างมากทั้งในประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศ[2][3][4] ยิ่งไปกว่านั้นในปัจจุบันยังได้มีการผลิตของเล่นที่เรียกว่า เซนต์คลอธมิธ ซึ่งเป็นเหมือนกับหุ่นแอคชันฟิกเกอร์รุ่นปรับปรุงใหม่ออกมาวางจำหน่ายอีกด้วย
นอกจากนี้ เซนต์เซย่า ยังได้สร้างอิทธิพลให้แก่การ์ตูนญี่ปุ่นในยุคต่อมาอย่าง ซามูไรทรูปเปอร์ ที่สร้างโดยซันไรส์ ในปี พ.ศ. 2531 และศึกเทพสวรรค์ ชูราโตะ ที่สร้างโดยทัตสึโนโกะ ในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งแนวเรื่องของผลงานทั้ง 2 ที่กล่าวมา ต่างก็เน้นในด้านการต่อสู้และมิตรภาพของเหล่าเด็กหนุ่มที่สวมชุดเกราะ โดยรูปแบบของเกราะจะแยกชิ้นส่วนมาประกอบเข้ากับร่างกายเช่นเดียวกับในเรื่องเซนต์เซย่า[4][5]
ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากในประเทศไทยแล้ว เซนต์เซย่ายังได้ไปแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ ทั้งในแถบเอเชียด้วยกัน เช่น ประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกฟากของทวีปอย่างแถบยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมไปถึงลาตินอเมริกา โดยถึงแม้ว่าในแถบยุโรปจะมีความเข้มงวดเกี่ยวกับฉากต่อสู้ที่มีความรุนแรงในเรื่อง แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้เซนต์เซย์ย่าเสื่อมความนิยมลงแต่อย่างใด เพราะหลังจากที่แพร่ภาพจบชุด ยังถูกนำกลับมาฉายใหม่อีกหลายครั้ง ส่วนที่ประเทศเม็กซิโกในแถบละตินอเมริกา ก็ได้มีการแพร่ภาพเรื่องเซนต์เซย่าถึง 14 ครั้งด้วยกัน[4]
และจากการถูกนำไปแพร่ภาพในหลายๆ ประเทศ ทำให้ชื่อเรื่อง เซนต์เซย่า ได้รับการตั้งขึ้นใหม่ตามภาษาและวัฒนธรรมของบางประเทศ เช่น ช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์กในสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า "Knights of the Zodiac" ภาษาฝรั่งเศสใช้ชื่อว่า "Les Chevaliers du Zodiaque" ภาษาอิตาลีใช้ชื่อว่า "I Cavalieri dello zodiaco" ภาษาโปรตุเกสใช้ชื่อว่า "Os Cavaleiros do Zodíaco" ภาษาโปแลนด์ใช้ชื่อว่า "Rycerze Zodiaku" เป็นต้น
เนื้อเรื่อง
แก้เนื้อเรื่องของเซนต์เซย่านั้น ในฉบับมังกะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ภาค ด้วยกัน ได้แก่ ภาคศึก12 ราศีภาคโพไซดอน และภาคฮาเดส แต่ในอนิเมะนั้น ได้เพิ่มภาคแอสการ์ดเข้ามา ซึ่งเป็นภาครอยต่อระหว่าง ภาคศึก 12 ราศีและภาคโพไซดอน และภายหลังได้เพิ่มเนื้อเรื่องต่อออกไปอีกในภาควิญญาณแห่งโกลด์ นอกจากนี้ ยังได้มีการแต่งเนื้อเรื่องเพิ่มขึ้นมาในภายหลังอีกหลายภาคด้วยกัน สำหรับเนื้อเรื่องย่อของภาคต่าง ๆ มีดังนี้
ภาคศึก 12 ราศี (Sanctuary Chapter)
แก้ณ แซงทัวรี่ อาเทน่ากลับมาเกิดใหม่ตามยุคสมัย เคียวโก(แอเรียส ชิออน)จึงจัดการเลือกให้ 1 ในโกลด์เซนต์มาเป็นเคียวโก ซึ่งตัวเต็งคือ ไอโอลอสกับซากะ แต่ซากะที่กลัวถึงอีกบุคลิกในตัวจึงหนีหายสาปสูญไป ทำให้ไอโอลอสเป็นผู้ถูกเลือก แต่ไอโอลอสก็ปฏิเสธ วันหนึ่ง ที่สตาร์ฮิล ซากะไปถามสาเหตุจากเคียวโก จนรู้ว่าเคียวโกเกรงกลัวถึงจิตใจชั่วร้ายในตัวซากะ ทำให้ซากะฆ่าเคียวโกกับสวมรอย หวังฆ่าอาเทน่า แต่ไอโอลอสช่วยไว้ทัน แต่ก็ถูกไล่ล่าจนเสียชีวิต ก่อนตายได้ฝากอาเทน่าและชุดคล็อธซาจิทาเรียสไว้กับคิโด มิสึมาสะเป็นผู้ดูแล เนื้อเรื่องหลังจากนั้นของภาคแซงค์ทัวรี่ อาจจะแบ่งย่อย ๆ ได้เป็น
- ศึกกาแล็คเซี่ยนวอร์ส
- เริ่มต้นจากการคัดเลือกเหล่าเด็กกำพร้า 100 คน จากสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น ถูกเกณฑ์ส่งไปฝึกฝนเพื่อให้ได้เป็นเซนต์จากที่ต่างๆ ทั่วโลก ใครที่ฝึกสำเร็จได้เป็นบรอนซ์เซนต์ (Bronze saint) เพียง 10 คนเท่านั้น หลังจากนั้น คิโดะ ซาโอริจึงได้จัดการประลองขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เรียกว่า "ศึกกาแล็คเซี่ยนวอร์ส" ซึ่งเป็นการประลองระหว่างบรอนซ์เซนต์ทั้ง 10 คน เพื่อหาผู้ชนะที่จะได้ครอบครองชุดคล็อธซาจิทาเรียส ในระหว่างการต่อสู่ระหว่างเหล่าเซนต์นั้น ฟินิกซ์ อิคคิ บรอนซ์เซนต์คนที่ 10 ก็ได้ปรากฏตัวขึ้นมา พร้อมกับเหล่าแบล็คเซนต์ แล้วได้ขโมยชิ้นส่วนของชุดคล็อธซาจิทาเรียสไป ดังนั้น พวกเซย่าจึงมีหน้าที่ที่จะต้องนำชุดคล็อธซาจิททาเรียสกลับคืนมาให้ได้[6]
- การต่อสู้กับแบล็คเซนต์
- หลังจากที่แบล็กเซนต์ได้ขโมยเอาชุดคล็อธซาจิททาเรียส พวกเซย่าได้เดินทางไปยังภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งเป็นฐานใหม่ของพวกแบล็คเซนต์ที่นำโดยอิคคิ พวกเซย่าสู้ชนะ นำชุดคล็อธซาจิทาเรียสกลับคืนมาได้ หลังจากการต่อสู้นั้น ภูเขาฟูจิก็ได้ถล่มลงมาซึ่งเป็นฝีมือของซิลเวอร์เซนต์ (Silver Saint) ที่ได้รับคำสั่งจากเคียวโกให้มากำจัดพวกเซย์ย่า นั่นเอง แต่พวกเซย่าที่รอดตาย จากความช่วยเหลือของ แอเรียส มู[7]
- การต่อสู้กับซิลเวอร์เซนต์
- เคียวโกได้ส่งซิลเวอร์เซนต์มากมายกำจัดพวกเซย่าแต่ล้มเหลวตลอด ซึ่งมีมารีนและไชน่าที่ได้ให้ความช่วยเหลือพวกเซย่าในการต่อสู้ครั้งนี้ด้วย เคียวโกจึงได้ส่งโกลด์เซนต์ (Gold Saint) ไอโอเลีย มากำจัดเซย่า ซึ่งจากการเดินทางมากำจัดเซย่าในครั้งนี้ ทำให้ไอโอเลียได้รู้ความจริงว่าคิโดะ ซาโอรินั้น เป็นร่างจุติของอาเทน่าที่ไอโอลอสได้ช่วยชีวิตไว้เมื่อ 13 ปีก่อนนั่นเอง [8]
- การต่อสู้กับเหล่าโกลด์เซนต์
- อาเทน่าตัดสินใจเดินทางไปยังแซงค์ทัวรี่พร้อมกับพวกเซย่าเพื่อเข้าพบเคียวโก แต่กว่า จู่ๆ อาเทน่าได้ถูกลูกศรทองคำของซิลเวอร์เซนต์ ซาจิตต้า เทรมี่ ปักเข้าที่หัวใจ ซึ่งพวกเซย่าจะต้องบุกเข้าไปยัง 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่ภายใน 12 ชั่วโมง เพื่อพาเคียวโกมารักษา แต่การจะฝ่าปราสาท 12 ราศี นั้นจะต้องสู้กับเหล่าโกลด์เซนต์ 12 คนเป็นผู้ดูแลประจำแต่ละปราสาท ซึ่งไม่มีใครทำได้ตั้งแต่สมัยเทพนิยาย อย่างไรก็ตาม แอเรียส มู ได้ใช้เวลา 1 ชม.ซ่อมคลอธให้กับแนะนำให้พวกเซย่าปลุกพลังเซเว่นเซนส์ (Seventh Sense) ซึ่งเป็นพลังคอสโม่สูงสุดขึ้นมา พวกเซย่าสามารถปลุกพลังเซเว่นเซนส์และผ่านปราสาททั้ง 12 แห่ง กับเอาชนะเคียวโกตัวปลอม (เจมินี่ ซากะ) จนไปถึงเทวสถานอาเทน่าและใช้โล่ที่รูปปั้นอาเทน่ากับใช้แสงสะท้อนไปสาดส่องช่วยชีวิตคิโดะ ซาโอริเอาไว้ได้ กับสาดส่องใส่ตัวซากะเพื่อรักษากับกำจัดจิตใจชั่วร้ายไป ในการต่อสู้ครั้งนี้ทำให้โกลด์เซนต์บางส่วนได้เสียชีวิตไป ได้แก่ เจมินี่ ซากะ, แคนเซอร์ เดธมาสค์, แคปริคอร์น ชูร่า, อควอเรียส คามิว และ พิสซิส อโฟรดิเท ส่วนเหล่าโกลด์เซนต์ที่เหลือก็ได้ถวายความจงรักภักดีต่ออาเทน่า กับเรื่องของไอโอลอสพ้นผิดไป[9]
ภาคศึกอัศวินแห่งแอสการ์ด
แก้ภาคศึกอัศวินแห่งแอสการ์ด เป็นเนื้อเรื่องที่แต่งขึ้นมาสำหรับภาคอนิเมะ ไม่มีในมังงะ โดยเนื้อเรื่องเริ่มขึ้นหลังเสร็จสิ้นจากศึก 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่ โดยโพราลิส ฮิลด้า ผู้ปกครองแคว้นแอสการ์ด ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเทพเจ้าโอดีน ถูกอำนาจของ "แหวนนีเบอลุง" เข้าครอบงำ ซึ่งทำให้ฮิลด้ามีความต้องการที่จะครอบครองแซงค์ทัวรี่และพื้นพิภพทั้งหมด โดยมีก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 เป็นผู้คุ้มครอง โดยอาเทน่าได้เดินทางมายังแอสการ์ดเนื่องจากรับรู้ถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และได้เสียสละตนทำหน้าที่ยับยั้งการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก เพื่อช่วยโลกและอาเทน่าพวกเซย่าจึงต้องรวบรวมโอดีนแซฟไฟร์ซึ่งจะได้มาโดยการกำจัดเหล่าก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 คน เพื่อนำมาใช้ถอดแหวนนีเบอลุงออกจากนิ้วของฮิลด้าให้ได้ภายในเวลาครึ่งวัน หลังจากที่พวกเซย่าสามารถโค่นก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 คนและรวบรวมโอดีนแซฟไฟร์ครบ 7 เม็ดแล้ว เซย่าก็ได้ใช้โอดีนแซฟไฟร์ปลุก "ชุดโอดีนโร้บ" ขึ้นและใช้ดาบของโอดีนโร้บทำลายแหวนนีเบอลุงที่นิ้วของฮิลด้าได้สำเร็จ โดยที่แท้จริงแล้วเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นเป็นแผนของเจ้าสมุทรโพไซดอนนั่นเอง[10]
ภาคศึกเจ้าสมุทรโพไซดอน
แก้ด้วยอำนาจของเทพสมุทรโพไซดอนได้ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนักจนน้ำท่วมทั่วโลก เพื่อกำจัดมนุษย์ และสร้างยูโธเปียขึ้นปกครองมาใหม่อีกครั้ง เพื่อยุติภัยพิบัติครั้งนี้ อาเทน่าจึงได้เดินทางไปพบโพไซดอนที่วิหารใต้ท้องมหาสมุทร และได้เสียสละตัวเองเข้าไปในเสาเมนเบรดวินเนอร์เพื่อรองรับน้ำฝนจากบนโลกให้มาตกภายในเสานี้เท่านั้น พวกเซย่าที่ฟื้นตัวจากโคม่า ได้คลอธใหม่ที่อาบเลือดโกลด์เซนต์ จึงต้องช่วยอาเทน่าให้ออกมาจากเสาเมนเบรดวินเนอร์ให้ได้ก่อนที่อาเทน่าจะจมน้ำตาย โดยการกำจัดเหล่ามารีเนอร์ทั้ง 7 คน รวมทั้งโค่นเสาค้ำมหาสมุทรที่เหล่ามารีเนอร์คุ้มครองอยู่ด้วย โดยใช้อาวุธของชุดคล็อธไลบร้า พอโค่นมารีเนอร์กับทำลายเสาค้ำมหาสมุทรทั้ง 7 ต้นได้แล้ว จึงบุกเข้าไปยังวิหารโพไซดอนเพื่อทำลายเสาเมนเบรดวินเนอร์ แต่ถูกโพไซดอนขัดขวางไว้ ซึ่งเหล่าโกลด์เซนต์ได้ส่งชุดคล็อธซาจิททาเรียส ชุดคล็อธไลบร้า และชุดคล็อธอควอเรียสมาช่วยเหลือ พวกเซย่าได้รวมรวบพลังไปยังลูกธนูของซาจิททาเรียสแล้วยิงเข้าใส่จูเลี่ยน โซโลสำเร็จทำให้โพไซดอนในตัวตื่นขึ้นมา หลังจากนั้นก็ได้เข้าทำลายเสาเมนเบรดวินเนอร์และช่วยเหลืออาเทน่าได้สำเร็จ อาเทน่าจึงใช้คนโทกักวิญญาณของโพไซดอนไว้อีกครั้งหนึ่ง[11]
ภาคศึกเทพเจ้าฮาเดส
แก้เนื้อเรื่องของภาคฮาเดสนั้นเริ่มต้นจากพลังของอาเทน่าที่ใช้ผนึกเหล่าสเป็คเตอร์ไว้หลังจากการต่อสู้ในสงครามศักดิ์สิทธิ์เมื่อ 243 ปีก่อนนั้น ได้เสื่อมลง ซึ่งทำให้เหล่าสเป็คเตอร์ภายใต้การนำของฮาเดส เทพเจ้าแห่งยมโลก (โลกหลังความตาย) ฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้ง เนื้อเรื่องหลังจากนั้นของภาคศึกเทพเจ้าฮาเดส อาจแบ่งย่อยได้ ดังนี้
- ภาคแซงก์ทัวรี่' (The Hades Chapter - Sanctuary)
- หลังจากจบศึกโพไซดอน พวกเซย่าถูกสั่งห้ามเข้าแซงทัวรี่เนื่องจากปกป้องอาเทน่ามามาก แต่พวกเซย่าก็ไม่ยอมกับพยายามเข้ามา หลังจากการคืนชีพของเหล่าสเป็คเตอร์ภายใต้การนำของฮาเดสนั้น ฮาเดสได้ใช้พลังทำให้เหล่าโกลด์เซนต์กับเคียวโกที่เสียชีวิตไปแล้ว ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง โดยจะมีเวลาอยู่บนโลกได้ 12 ชั่วโมงเพื่อไปนำศีรษะของอาเทน่ามาให้ตน เหล่าโกลด์เซนต์ภายใต้การนำของแอเรียส ชิออนซึ่งเป็นอดีตเคียวโก จึงได้บุกเข้า 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่เพื่อขึ้นไปยังวิหารอาเทน่า ในระหว่างการต่อสู้นั้น ทอรัส อัลเดบารัน และ เวอร์โก้ ชากะ ได้เสียชีวิตลง แต่ชากะได้เขียนคำว่า "อารายาชิกิ" ลงบนกลีบดอกไม้ให้พัดพาไปถึงอาเทน่า โดยต้องการบอกให้อาเทน่าเข้าใจถึงการตายของเขาในครั้งนี้เพื่อทำการปลุกสัมผัสที่ 8 หรือ เอทเซนส์ (Eighth Sense) ซึ่งจะทำให้มนุษย์ที่ยังมีชีวิตสามารถลงไปยังยมโลกได้ เมื่ออาเทน่าทราบถึงเจตนาของชากะ จึงได้สั่งให้นำพวก เซนต์เจมินี่ คาน่อน น้องฝาแฝดของ เซนต์จิมินี่ ซากะ มาพบตน และได้ใช้กริชทองคำที่ซากะเคยคิดใช้สังหารอาเทน่าเมื่อ 13 ปีก่อนปลิดชีพตนเอง หลังจากนั้น แอเรียส ชิออนได้มาถึงกับเศร้าใจ พวกเซย่าที่พึ่งตามมาถึงได้ฟังความจริงจากชิออนว่า เจตนาที่แท้จริงของเหล่าโกลด์เซนต์ที่คืนชีพมาในครั้งนี้ก็เพื่อใช้เลือดของอาเทน่าปลุกชุดคล็อธแห่งอาเทน่านั่นเอง หลังจากการตายของอาเทน่านั้น ชิออนได้สั่งการในฐานะเคียวโกให้พวกเซย่า ตามเหล่าโกลด์เซนต์ที่เหลือได้บุกไปยังปราสาทฮาเดส และพวกเซย่าได้ปลุกสัมผัสที่ 8 ขึ้นมาเพื่อลงไปยังยมโลกทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สำเร็จ [12]
- ภาคยมโลก (The Hades Chapter - Inferno)
- หลังจากเข้าสู่ยมโลก พวกเซย่าได้แยกเป็น 2 กลุ่ม โดยเซย่าและชุนได้เดินทางไปด้วยกัน ส่วนชิริวและเฮียวกะก็แยกไปอีกเส้นทาง โดยทั้ง 2 กลุ่มเดินทางมุ่งไปยังนรกขุมต่าง ๆ และได้กำจัดเหล่าสเป็คเตอร์ประจำขุมนรกต่าง ๆ ลง เซย่าและชุนได้พบกับไลร่า ออร์เฟ่ ซิลเวอร์เซนต์อีกคนที่พลังเทียบเท่าโกลด์เซ็นต์แต่ต้องอยู่ในนรกเพื่อบรรเลงพิณให้ฮาเดสฟัง ด้วยความช่วยเหลือของออร์เฟ่ ทำให้เซย์ย่าและชุนบุกเข้าถึงปราสาทที่พักของฮาเดสได้ แต่เหตุการณ์กลับพลิกผันโดยชุนได้กลายเป็นร่างสถิตของฮาเดส แต่ด้วยความช่วยเหลือของอาเทน่าทำให้วิญญาณของฮาเดสที่เข้าสิงร่างของชุนนั้นกลับไปสู่เอลิเชี่ยน อาเทน่าจึงตามฮาเดสไปสู่เอลิเชี่ยน ทว่าพวกเซย่าไม่สามารถไปสู่เอลิเชี่ยนได้เพราะมีกำแพงวิปโยคขวางกั้นอยู่ พวกเซย์ย่าพยายามจะทำลายกำแพงนั้นแต่ไร้ผล และในขณะนั้นเอง วิญญาณของโกลด์เซนต์ทั้ง 7 คนที่เสียชีวิตไปแล้วก็ได้ปรากฏตัวขึ้นที่ด้านหน้าของกำแพงวิปโยค เมื่อเห็นดังนั้น โกลด์เซนต์อีก 5 คนที่ยังมีชีวิตได้แก่ โดโก มู มิโร่ ไอโอเลีย และชากะ จึงได้เสียสละชีวิตของตนไปพร้อมกับวิญญาณของเพื่อนโกลด์เซนต์ทั้ง 7 เพื่อทำลายกำแพงนั้นลง ทำให้พวกเซย์ย่าสามารถเดินทางไปยังเอลิเชี่ยนได้[13]
- ภาคเอลิเชี่ยน (The Hades Chapter - Elysion)
- หลังจากเซย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน และอิคคิ เดินทางมาสู่เอลิเชี่ยนแล้ว ได้ต่อสู้กับทานาทอสและฮิปนอส ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ยอมสยบแก่ฮาเดส พวกเซย่าไม่สามารถสู้กับทานาทอส ขนาดโกลด์คลอธที่ข้ามผ่านเอลิเชี่ยนเพราะโพไซดอนไม่อยากให้โลกนั้นดับสูญจึงช่วยได้แค่ส่งโกลด์คลอธกับพวกเซย์ย่า แต่ก็ยังถูกทำลายอย่างง่ายดาย แต่ด้วยเลือดของอาเทน่าทำให้เศษชุดบรอนต์คล็อธที่แตกละเอียดของทั้ง 5 คนกลับคืนชีพอีกครั้งกลายเป็น "ชุดก็อดคล็อธ" ทำให้พวกเซย่าสามารถกำจัดทานาทอสและฮิปนอสลงได้ หลังจากนั้นพวกเซย่าจึงได้ต่อสู้กับฮาเดส และสามารถมอบชุดคล็อธให้อาเทน่าสวมได้สำเร็จ อาเทน่าจึงใช้คทาทองคำของตนกำจัดฮาเดสลงได้ในที่สุด[14]
ภาควิญญาณแห่งโกลด์
แก้ในภาคนี้จะดำเนินเรื่องต่อจากภาคฮาเดสบทอินเฟอร์โน่ และดำเนินพร้อมกับบทเอลิเชี่ยน โดยภาคนี้เหล่าโกลด์เซนต์จะรับบทเป็นตัวละครหลักโดยมีเลโอ ไอโอเลีย เป็นพระเอก โดยเรื่องเริ่มขึ้นหลังจากเหล่าโกลด์เซนต์ทั้ง 12 เสียชีวิตจากการยิงศรทองระเบิดหน้ากำแพงวิปโยคเพื่อเปิดทางให้พวกเซย่าผ่านไป พวกเขาก็ถูกคืนชีพโดยฝีมือใครบางคนที่มาโผล่แอสการ์ด โดยพวกเขาทุกคนต้องหาคำตอบว่าถูกคืนชีพมาเพื่ออะไร เกิดอะไรขึ้นกับที่แอสการ์ด โดยภาคนี้จะแสดงให้เห็นถึงการร่วมต่อสู้ร่วมกันของเหล่าโกลด์เซนต์ทั้ง 12
ภาคเสริมอื่น ๆ
แก้นอกจากนี้ ยังมีการแต่งเนื้อเรื่องขึ้นมาใหม่ในช่วงหลัง โดยเนื้อเรื่องที่แต่งขึ้นมาใหม่นี้ จะเป็นการกล่าวถึงช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการดำเนินเรื่องในภาคหลัก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- ภาค Episode G
- เป็นฉบับมังงะที่ทำขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนผู้วาดภาพเป็น เมกุมุ โอคาดะ คนแต่งยังคงเป็นคุรุมาดะเช่นเดิม แต่จริงๆแล้วคุรุมาดะไม่ได้แต่งเนื้อเรื่องให้โดยตรง เพราะคุรุมาดะเพียงแค่ให้สิทธิ์และเป็นที่ปรึกษาด้านการเขียนในช่วงแรกเท่านั้น เนื้อหาและแนวคิดโดยหลักๆของภาคนี้มาจากตัวผู้วาดภาพเองทั้งสิ้น โดยกล่าวถึงเรื่องราวในอดีตเมื่อ 7 ปีก่อนที่เนื้อเรื่องของภาคหลักจะเริ่มต้นขึ้น เกี่ยวกับศึกระหว่างโกลด์เซนต์ กับเหล่าเทพ ไททัน ซึ่งฟื้นคืนชีพขึ้นมา ตัวเอกของภาคนี้คือ เลโอ ไอโอเลีย ในวัยหนุ่ม ผู้ยังมีความเป็นขบถในตัวสูง และไม่ลงรอยกับแซงค์ทัวรี่ จากเหตุการณ์ที่พี่ชายถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ และถูกสังหารโดยโกลด์เซนต์ด้วยกันเอง
- เป็นภาคที่แต่งและวาดขึ้นใหม่โดยตัวคุรุมาดะเอง ขณะนี้กำลังลงตีพิมพ์อยู่ในนิตยสารโชเน็นแชมเปี้ยนของญี่ปุ่น โดยลงเป็นหน้าสีทั้งตอน แบบนานๆ ออกหน เรื่องราวจะสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องในตอนท้ายของภาคเจ้านรกฮาเดส เพราะเป็นภาคหลักอย่างเป็นทางการ กล่าวย้อนความไปถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ เมื่อ 243 ปีก่อน ตัวเอกของภาคนี้คือ บรอนซ์เซนต์ เพกาซัส เท็นมะ ผู้พบว่า อาโรน เพื่อนรักของตน กลับกลายเป็นร่างทรงของฮาเดส
- เป็นภาคที่คุรุมาดะไม่ได้เป็นผู้แต่งเรื่องโดยตรง เพียงแต่ให้สิทธิ์ในการเขียนและเป็นที่ปรึกษาในช่วงเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนั้นเป็นการนำเค้าโครงเรื่องเดิมมาตีความและแต่งเติมโดย ชิโอริ เทชิโรงิ ที่เป็นผู้วาดภาพล้วนๆ โดยกล่าวถึงสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งก่อน และตัวเอกคือ เพกาซัส เท็นมะ เช่นเดียวกับภาค Next Dimension แต่มีการดำเนินเรื่องแตกต่างกัน เหตุเกิดในทวีปยุโรป ช่วงศตวรรษที่ 18 ไลบร้า โดโก สืบหาร่องรอยของฮาเดส จนมาถึงเมืองหนึ่ง ณ ที่นั้น เท็นมะ เด็กหนุ่มเชื้อสายญี่ปุ่น ผู้มีฝีมือด้านต่อยตี กับ อาโรน เด็กหนุ่มจิตใจดี ที่รักและเล่าเรียนการวาดภาพ อาศัยอยู่ร่วมกับเด็กๆ ในย่านคนยากไร้ โดโกเห็นแววในตัวเท็นมะ จึงชักชวนไปรับการฝึกฝนเพื่อเป็นเซนต์ที่แซงค์ทัวรี่ ขณะอยู่ที่นั่น เท็นมะพบว่า เทพีอาเทน่าที่เหล่าเซนต์ปฏิญาณจะภักดีด้วยนั้น หาใช่ใครอื่น แต่เป็น ซาช่า น้องสาวของอาโรน ที่เคยเติบโตมาในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าพร้อมกับพวกเขานั่นเอง ขณะเดียวกัน อาโรน ซึ่งกำลังรอคอยการกลับมาของเพื่อนอยู่ที่บ้านเกิด กลับค่อยๆ ถูกแพนโดร่าชักนำให้โอบรับความมืด ในฐานะร่างทรงของฮาเดส สงครามศักดิ์สิทธิ์จึงได้เปิดม่านขึ้น พร้อมกับความสัมพันธ์ที่ถูกชะตากรรมเล่นตลกของทั้งสาม
- ภาค Saintia Shou
- เป็นภาคสปินออฟของภาคหลักของคุรุมาดะ ผู้วาด ชิมากิ คุโอริ แต่งเรื่องและตีความตามแบบของตนเอง โดยที่คุรุมาดะไม่ได้แต่งเนื้อเรื่องให้แม้แต่น้อย แต่ก็ยังอ้างอิงภาคหลักของคุรุมาดะ และเป็นครั้งแรกของซีรีส์นี้ที่ใช้นางเอกเป็นหญิงในการดำเนินเรื่อง เนื้อเรื่องเป็นเหตุการณ์ก่อนช่วงศึกช่วงกาแล็คเชี่ยนวอร์ส จนไปถึงช่วงหลังจบเหตุการณ์ปราสาท 12 ราศี ตัวเอกคือโชวโกะ เด็กสาวที่เทพีเอรีสหมายตาให้เป็นร่างภาชนะ แต่ถูกเหล่าเซนต์คอยขัดขวางมาตลอด และต้องเข้าไปพัวพันกับเหตุการณ์ที่ทำให้เคียวโกะ พี่สาวตนต้องถูกเอรีสสิงร่าง จนทำให้โชวโกะตัดสินใจเป็นเซนต์เพื่อนำพี่สาวกลับคืนมา
- เป็นแอนิเมชันที่ออกฉายในวันที่ 4 เมษายนปี พ.ศ. 2555 - วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 ผลิตโดยโตเอะ ออกแบบตัวละครโดย โยชิฮิโกะ อุมาโคชิ ไดเรคเตอร์อนิเมชุดนี้กล่าวว่าเนื้อเรื่องของภาคนี้เป็นอนาคตแบบหนึ่งของภาคหลักเท่านั้น โดยโตเอะตั้งใจให้เป็นอีกจักรวาลหนึ่งของเซย่าที่เริ่มนับจากหนึ่งใหม่หมด เรื่องราวกล่าวถึงเหตุการณ์ต่อจากภาคหลักในอีก 13 ปีให้หลัง ดำเนินเรื่องโดยพระเอกคือ เพกาซัส โคกะ และตัวละครชุดใหม่เกือบทั้งหมด แต่ก็ยังมีตัวละครจากภาคหลักมาปรากฏตัวด้วย
- ภาค Legend of Sanctuary
- เป็นแอนิเมชันเรื่องยาวที่เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2010 โดยเริ่มพร้อมๆกับภาคโอเมก้า ในการฉลองอายุ 25 ปีของซีรีส์นี้และเป็นครั้งแรกของซีรีส์นี้ที่ใช้ CG ในการสร้างทั้งหมด โดยออกฉายในโรงภาพยนตร์ของญี่ปุ่นวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ครั้งนี้เป็นการกลับมาเขียนบทของคุรุมาดะ มาซามิอีกครั้ง หลังจากเคยมีปัญหากับโตเอะจนทำให้คุรุมาดะถอนตัวจากการเขียนบทในภาคสวรรค์ ในภาคนี้คุรุมาดะเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์ทั้งหมด กำกับและออกแบบตัวละครโดยซาโต้ เคย์อิจิ ซึ่งตัวละครต่างๆ ทั้งหน้าตาและชุดเกราะของภาคนี้ได้ทำการออกแบบใหม่หมด ส่วนนักพากย์นั้นก็ใช้นักพากย์ชุดใหม่ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาคก่อนๆ ทางด้านเนื้อเรื่องนั้นได้หยิบเอาเนื้อหาในช่วงศึก 12 ปราสาท ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในซีรีส์มาตีความใหม่ แต่ครั้งนี้คุรุมาดะได้รีบู๊ตเนื้อหาใหม่ทั้งหมด ให้เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยาวเกือบ 2 ชั่วโมงตามความประสงค์ของเจ้าตัวที่เคยกล่าวว่าอยากจะทำเนื้อหาของเซย์ย่าใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคใดๆ เลย และเป็นความตั้งใจของโตเอะที่ต้องการขยายแบรนด์เซย่าให้ก้าวต่อไปในอนาคตด้วย
ตัวละคร
แก้ดูบทความหลักที่ ตัวละครในเซนต์เซย่า
ตัวละครหลักของเซนย์เซย์ย่านั้น ได้แก่ อาเทน่าและเซนต์แห่งอาเทน่า โดยเซนต์แห่งอาเทน่าแต่ละคนนั้นจะมีกลุ่มดาวคุ้มครองประจำตัวและมีจำนวน 88 คนเท่ากับจำนวนกลุ่มดาวบนท้องฟ้า[15] สามารถแบ่งแยกออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ บรอนซ์เซนต์ ซิลเวอร์เซนต์ และโกลด์เซนต์ เซนต์แห่งอาเทน่ามีหน้าที่ปกป้องอาเทน่า ซึ่งทรงรังเกียจการใช้อาวุธ ดังนั้น เหล่าเซนต์จึงต้องพยายามฝึกฝนร่างกายของตนเพื่อใช้เป็นอาวุธแทน โดยหมัดของเซนต์นั้นสามารถแหวกฟ้าและการเตะของเซนต์นั้นก็สามารถทลายพื้นดินได้เช่นกัน[15]
เกราะ
แก้เกราะของนักรบในเนื้อเรื่อง ที่นักรบประจำเทพฝ่ายไหนใส่กัน แต่ในกรณีเทพไม่จำเป็นต้องใส่เกราะก็มีพลังมากอยู่แล้ว ถึงกับมีเกราะเป็นเหมือนเสื้อผ้า แต่เทพบางองค์ใส่เกราะออกรบจะมีพลังมากก็มี โดยทุกชุดเกราะส่วนหัวคือหน้ากากหรือมงกุฎคือประดับเท่านั้น มีหรือไม่ก็ได้
- คลอธ (聖衣 ; Cloth)
เครื่องป้องกันร่างกายของเหล่าเซนต์แห่งอาเทน่า ปกติจะมีรูปร่างต้นแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของกลุ่มดาว แต่พอถึงเวลาทำการต่อสู้ คลอธจะทำปฏิกริริยาเมื่อเจ้าของเร่งคอสโมใส่ตัวคลอธแยกชิ้นส่วนออกมาประกอบเป็นเกาะเข้ากับร่างของเจ้าของ ประสิทธิผลของคลอธจะขึ้นอยู่กับพลังคอสโมของเซนต์ผู้ใช้แต่ละคนด้วย อ้างอิงได้จากตอนที่เซย่าสวมคลอธครั้งแรกแล้วบ่นว่า เป็นเกราะที่ไม่มีประโยชน์ใช้ป้องกันอะไรไม่ได้เลย จนมารีนให้เร่งพลังคอสโม จึงสามารถสะบัดหลุดจากการจับกุมของเหล่าทหารแห่งแซงค์ทัวรี่ได้ เมื่อถอดคลอธออกจากตัว คลอธจะกลับมารวมตัวกันกับมีกล่องคลอธปิดเอาไว้
โดยปกติแล้ว ถ้าหากคลอธได้รับความเสียหายเล็กน้อยจากการต่อสู้ ก็จะซ่อมแซมตัวเองได้ ทว่าหากได้รับความเสียหายอย่างหนักก็แตกหักจนซ่อมตัวเองไม่ได้ = พลังในการฟื้นฟูตัวเองของคลอธนั้นหายไปแล้ว แต่ก็เป็นสื่อเร่งคอสโมโจมตีได้เหมือนเดิม แต่ด้วยว่าตอนคลอธปกตินิดนึง แค่ต้องเร่งคอสโมให้แรงกว่าเดิมเท่านั้น ซึ่งการจะให้คลอธมีพลังฟื้นตัวอีกที กับคลอธที่พังถูกซ่อมแซมอีกครั้ง คือ จำต้องใช้เลือดจำนวนมากของเซนต์(อ้างอิงจากตอนที่ชิริวเอาคลอธไปให้มูซ่อม)แต่ตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว แค่บริจาคเลือดเซนต์(เฉพาะเซนต์เต็มตัวหรือผู้สืบทอดเท่านั้น แต่เซนต์ฝึกหัดไม่ได้)ออกมา 1 ถุง ราดใส่คลอธพัง กับให้พวกช่างซ่อมคลอธทำการซ่อมตีรูปขึ้นมาใหม่ คลอธถูกซ่อมจนมีรูปลักษณ์ใหม่นิดหน่อย กับมีพลังคอสโมเพิ่มขึ้น แต่การซ่อมคลอธที่สูญเสียพลังการฟื้นตัว จะใช้เวลาเกือบชม. แต่ถ้าสาหัสจนพังไปแล้วเป็นแค่คลอธพังสื่อของคอสโม ต้องใช้เวลานาน
แต่สำหรับคลอธฟีนิกซ์คือข้อยกเว้น แค่ 1 ในบรรดาคลอธทั้งหมด ซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพได้เอง แม้จะถูกทำลายจนแหลกเป็นผุยผง(แต่คนสวมมีขีดจำกัดเหมือนเดิม)
ถ้าคลอธที่พังได้รับเลือดจากเซนต์ที่ยศสูงกว่า เช่น บรอนซ์คลอธได้รับเลือดจาก ซิลเวอร์หรือโกลด์เซนต์ คลอธจะเปลี่ยนสีไปตามเลือดของเซนต์ยศนั้นคือ ซิลเวอร์คือสีเงิน โกลด์คือสีทอง เเซนต์สวมคลอธนั้นอยู่ตอนนั้นเร่งคลอสโมถึงขีดสุด สีคลอธจะเปลี่ยนสี อย่างบรอนต์คลอธอาบเลือดซิลเวอร์หรือโกลด์ เร่งคอสโมระดับเซเวนเซนต์ สีจะเปลี่ยนเป็นเงินหรือทอง กับมีคุณสมบัติเกือบเท่าคลอธยศสูงของจริง(มีฤทธิ์แค่ชั่วคราวเฉพาะตอนสวมเท่านั้น)
แต่พอคลอธนั้นได้รับเลือดของอาเทน่า แม้แค่นิดนึง(ที่จริงไม่ต้องให้อาทีน่ากรีดเลือดก็ได้ แค่อาทีน่าบริจาคเลือดสัก 1 ถุงนำเศษเลือดไปสาดใส่คลอธแค่นิดเดียว หรือแค่เศษเลือด คลอธจะฟื้นตัวแม้ว่าจะพังเสียหายเกินไปก็จะฟื้นฟูทันที คลอธนั้นประสานกับเซนต์ที่เร่งคอสโมระดับเอ้กเซน จะทำให้เปลี่ยนเป็นก๊อดคลอธได้ แต่พอถอดคลอธออกเมื่อไหร่จะคลายตัวทันที เป็นคลอธที่แตกร้าวดังเดิม(ก่อนซ่อมด้วยเลือดอาเทน่า)แต่ก็เร่งคอสโมถึงระดับเอ้กกเซนต์ให้เป็นก็อดคลอธได้ตลอดตอนใช้เท่านั้น แต่ถ้าผ่านไป 200 กว่าปี(พลังจากเลือดอาเทน่ายุคนั้นจะหมดอายุ)จนอาเทน่ากลับมาเกิดใหม่ ต้องได้รับเลือดของอาเทน่าใหม่อีกทีกับเร่งคอสโมระดับเอ้กเซนส์ถึงจะเป็นก๊อดคลอธได้
- คลอธของเซนต์แห่งอาเทน่า สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
- บรอนซ์คลอธ (Bronze Cloth) เป็นคลอธระดับต่ำสุดในคลอธทั้งหมด ไม่มีสีที่ตายตัว แต่เนื่องจากเป็นทองแดงอะตอมจึงสามารถเคลื่อนตัวได้จนถึงจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ -150℃
- ซิลเวอร์คลอธ (Silver Cloth) เป็นคลอธของซิลเวอร์เซนต์ มักมีโทนสีออกไปทางสีเงินเนื่องจากเป็นเกราะที่ทำจากเงิน อะตอมจึงสามารถเคลื่อนตัวได้จนถึงจุดเยือกแข็งที่อุณหภูมิ -200℃
- โกลด์คลอธ (Gold Cloth) คลอธสีทองซึ่งมีระดับสูงสุด สวมใส่โดยโกลด์เซนต์ทั้ง 12 คน มีลักษณะเป็นตัวแทนตามจักรราศี อะตอมจึงสามารถเคลื่อนตัวได้จนถึงจุดเยือกแข็งที่ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273.15℃) [16]
นอกจากนี้ คลอธยังสามารถพัฒนาได้ด้วยการรับเอาเลือดที่ประกอบด้วยพลังคอสโมของเหล่าเซนต์ในระดับต่างๆ เช่น คลอธที่ใช้ในศึกอัสการ์ด ที่มีความสามารถเทียบเท่าเกราะทอง เนื่องจากได้รับเลือดของเหล่าโกลด์เซนต์ รวมถึงเกราะแห่งเทพ(ก็อดคลอธ)ในศึกเจ้านรกที่เอลิเชี่ยน ที่พัฒนาขึ้นจากเลือดของอาเทน่า รวมทั้งยังมีคลอธของเทพีอาเทน่าเอง
- สำหรับชุดคลอธแบบอื่นๆ ได้แก่
- แบล็กคลอธ (Black Cloth) เป็นคลอธที่สวมใส่โดยเหล่าแบล็กเซนต์ ว่ากันว่าถูกค้นพบที่เกาะเดธควีน ซึ่งคลอธที่แบล็คเซน์เหมือนคลอธของเซนต์ แต่ต่างกันตรงที่เป็นสีดำสนิทกับมีจำนานออกถมไป คือคลอธของเซนต์นอกรีตที่ทำผิดกฏจนถูกเนรเทศ
- สตีลคลอธ (Steel Cloth) เป็นคลอธที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ โดย ศจ. อาซาโมริ แห่งมูลนิธิกราด สวมใส่โดยเหล่าสตีลเซนต์ มีต้นแบบมาจากสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ นกทูแคน (สกายคลอธ) หมาจิ้งจอก (แลนด์คลอธ) และปลากระโทงแทง (มารีนคลอธ) แม้จะไม่สามารถช่วยให้ใช้พลังคอสโมได้เหมือนกับคลอธของเซนต์แห่งอาเทน่า แต่เนื่องด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งลงไป จึงทำให้มีประสิทธิภาพมากพอๆ กับบรอนซ์คลอธ
- ก็อดโร้บ (神闘衣 ; God Robe)
- สวมใส่โดยก็อดวอริเออร์แห่งแอสการ์ดทั้ง 8 คน มีลักษณะเป็นตัวแทนสัตว์ตามเทพนิยายนอร์ส ในก็อดโร้บแต่ละชุดจะมีหินที่เรียกว่า โอดินแซฟไฟร์ ซึ่งเป็นเหมือนชีวิตของก็อดวอริเออร์ฝังอยู่ด้วย โดยหากนำโอดินแซฟไฟร์ทั้ง 7 เม็ด จากก็อดวอริเออร์ทั้ง 7 (ไม่นับรวม อัลกอร์ นักรบเงาแห่งดาวเซต้า) ไปแสดงต่อหน้ารูปปั้นเทพโอดิน ชุดเกราะแห่งเทพโอดิน "โอดินโร้บ" ก็จะปรากฏออกมา
- สเกล (鱗衣 ; Scale)
- ชุดเกราะที่เจ้าสมุทรโพไซดอนเป็นผู้สร้างขึ้น สวมใส่โดยมารีนเนอร์แห่งโพไซดอน โดยมีลักษณะเป็นตัวแทนสัตว์ทะเล สัตว์ประหลาด และบุคคลในเทพนิยายที่เกี่ยวกับทะเล ทำด้วยแร่โอริคัลคุม ในนครแอตแลนติส มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโกลด์คลอธ แต่สีจะค่อนออกไปทางสีส้มหรือทองแดงมากกว่า พออาบเลือดของโพไซดอน(ทายาทตระกูลโซโรที่เป็นร่างสถิตประจำยุคเท่านั้น)กับมารีนเนอร์เร่งคอสโมขีดสุด สเกลจึงวิวัฒนาการ ไปยังยุคแรกเริ่มแสดงพลังที่แท้จริง คือ Arch Scale
- เซอร์พริส (冥衣 ; Surplice)
- สวมใส่โดยสเปกเตอร์แห่งฮาเดส ทำจากแร่แห่งยมโลก มักออกแบบมาจากสัตว์ที่น่ากลัว นอกจากเซอร์พริสทั้ง 108 ชุด ยังมีชุดของ ฮาเดส ธานาทอส ฮิปนอส และโกลด์เซนต์ที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใส่คลอธสีดำอีก 6 คน
- โซม่า (楚真 ; Soma)
- สวมใส่โดยเหล่าเทพไททัน มีทั้งหมด 12 ชุด ออกแบบให้มีรูปลักษณ์เป็นอาวุธชนิดต่างๆ ชุดจะมีสีน้ำเงินเข้มออกม่วง เป็นชุดที่พระแม่ธรณี ไกอา มอบให้กับเหล่าไททัน ในคราที่โค่นล้มยูเรนัสในอดีตกาล
- กลอรี่ (天衣 ; Glory)
- สวมใส่โดยเหล่าแองเจิลแห่งอาร์เทมิส ชุดจะไม่ค่อยครอบคลุมทั้งร่าง คือค่อนข้างจะเน้นคล่องตัวเป็นหลัก สีของชุดไม่แน่นอน
- ลีฟ (邪霊衣 ; Leaf)
- สวมใส่โดยเหล่าดรายแอดแห่งเอรีส ชุดมีลักษณะของพืชและดอกไม้ชนิดต่างๆ ผู้สวมใส่โดยมากเป็นสตรี
เซนต์เซย่าในรูปแบบต่าง ๆ
แก้ฉบับหนังสือการ์ตูน
แก้ดูเพิ่ม เซนต์เซย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส
เซนต์เซย่าฉบับหนังสือการ์ตูนชุดแรกนั้น มาซามิ คุรุมาดะ เป็นผู้แต่งเซนต์เซย่าและวาดลายเส้นด้วยตัวเอง เขาตั้งใจที่จะให้เซนต์เซย่าเป็นผลงานชิ้นเอกของตัวเอง[15] โดยเซนต์เซย่าเริ่มลงตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารโชเน็นจัมป์รายสัปดาห์ สำนักพิมพ์ชูเอฉะ[17] และออกจำหน่ายเป็นหนังสือฉบับรวมเล่ม รวมทั้งสิ้น 28 เล่มจบ ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคแซงค์ทัวรี่ ภาคโปเซดอน และภาคฮาเดส ในประเทศไทย เซนต์เซย่าได้ตีพิมพ์เล่มแรก เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2543 และเล่มสุดท้ายสำหรับการตีพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549[18] โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ชูเอฉะเพื่อจัดทำเซนต์เซย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[15]
หลังจากประสบความสำเร็จจากเซนต์เซย์ย่าชุดแรกแล้ว มาซามิ คุรุมาดะ ได้แต่ง "เซนต์เซย่า Episode G" ขึ้นมา ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ของเหล่าโกลด์เซนต์กับพวกไททัน โดยระยะเวลาของภาคนี้จะย้อนกลับไป 7 ปี นับจากยุคของเซย่า โดยมี เลโอ ไอโอเลีย โกลด์เซนต์ราศีสิงห์ เป็นพระเอกของเรื่อง ความหมายของ G ในตอนนี้นั้น คือ Gold saint นั่นเอง[19] ถึงแม้ว่าเนื้อเรื่องของเซนต์เซย่าในตอนนี้จะแต่งขึ้นโดยมาซามิ คุรุมาดะ แต่ผู้ที่วาดลายเส้นนั้น คือ เมกุมุ โอคาดะ จึงทำให้ลายเส้นของภาคนี้ต่างออกไปจากภาคที่แล้ว ส่วนสาเหตุในการเปลี่ยนผู้วาดนั้นไม่ทราบอย่างแน่ชัด ซึ่งเมกุมุ โอคาดะได้กล่าวถึงการที่เขารับหน้าที่ในการวาดลายเส้นสำหรับเซนต์เซย่า Episode G ว่า เขารู้สึกดีใจมาก เพราะนึกไม่ถึงว่านักเขียนคนอื่นจะได้เขียน และนับเป็นครั้งแรกที่เขาได้เขียนการ์ตูนโดยไม่ต้องคิดพลอตเรื่อง[20] อย่างไรก็ตาม ลายเส้นของเมกุมุ โอคาดะก็ได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นลายเส้นที่ออกแนวผู้หญิงมาก แต่ด้วยเนื้อหาและลายเส้นที่วาดได้ละเอียดก็ทำให้ภาคนี้ได้รับความนิยมที่ดีขึ้น[19] เซนต์เซย่า Episode G ตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2546 สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์อาคิตะ เพื่อจัดทำเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[20] ปัจจุบัน (เม.ย. 2551) ตีพิมพ์ออกมาแล้วเป็นจำนวน 4 เล่ม
นอกจาก เซนต์เซย่า Episode G แล้ว มาซามิ คุรุมาดะ ยังได้แต่งเซนต์เซย่าตอนใหม่อีก ได้แก่ เซนต์เซย่า ภาค The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส โดยมีชิโอริ เทชิโรงิ เป็นผู้วาดลายเส้น ซึ่งเทชิโรงิได้กล่าวความรู้สึกเมื่อได้รับทราบว่าตนเองจะได้เป็นผู้วาดเซนต์เซย่าภาคนี้ว่า "ในตอนที่มีการพูดถึงงานนี้ ฉันถึงกับร้องไห้ออกมาและก็โทรศัพท์ไปหาเพื่อน เนื่องจากรู้ว่าตนเองจะได้เขียนเรื่องเซนต์เซย่า แถมคุณคุรุมาดะยังมาหาด้วยตัวเองเลยด้วย ในชีวิตฉันคงจะไม่มีงานใดพิเศษสุดเท่ากับงานชิ้นนี้อีกแล้ว"[21] สำหรับเนื้อหาของตอนนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์สงครามศักดิ์สิทธิ์ระหว่างอาเทน่ากับฮาเดสเมื่อ 243 ปีก่อน โดยได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. 2550 สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์อาคิตะเพื่อจัดทำเซนต์เซย่าในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย[21]
นอกจากฉบับหนังสือการ์ตูนที่มีการรวมเล่มออกมาแล้วดังที่กล่าวมา มาซามิ คุรุมาดะ ยังได้แต่ง "เซนต์เซย่า Next Dimension" ขึ้นมาอีกภาค และเป็นผู้วาดลายเส้นเอง โดยเซนต์เซย่าในภาคนี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์การต่อสู้ระหว่างพวกเซย่าและฮาเดส ซึ่งทำให้ฮาเดสนึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 243 ปีก่อน ว่าเขาได้เคยพบกับเซนต์เพกาซัสมาก่อนแล้วนั่นเอง ในประเทศญี่ปุ่น เซนต์เซย่า Next dimension ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกลงในลงนิตยสารการ์ตูน โชเน็นแชมเปี้ยน ฉบับที่ 22-23 และตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ในนิตยสารฉบับเดียวกันเป็นระยะ ๆ[22] สำหรับในประเทศไทย สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในรูปแบบภาษาไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ปัจจุบันพิมพ์ออกมาทั้งหมดในไทยถึงเล่มที่ 5 เล่ม (เป็น 4 สีทั้งเล่ม ราคาเล่มละ 150 บาท) ปัจจุบันที่ญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆออกถึงเล่ม 10 (ส่วนในไทยคาดว่าจะ..ไม่ได้พิมพ์ต่อแล้ว...)
ฉบับโทรทัศน์
แก้เซนต์เซย่าได้รับการสร้างเป็นอนิเมะ โดยบริษัทโตเอแอนิเมชัน และออกอากาศทางสถานีทีวีอาซาฮี ทุกวันเสาร์ เวลา 19.00 - 19.30 น. ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2529 ถึง 1 เมษายน พ.ศ. 2532[23] มีความยาวตอนละ 20 นาทีโดยประมาณ[24] เซนต์เซย่าฉบับโทรทัศน์นั้น แบ่งเป็น 5 ภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาค 1 เซนต์แห่งอาเทน่า (ตอนที่ 1-22) ภาค 2 นักรบเกราะเงิน (ตอนที่ 23-40) ภาค 3 ปราสาท 12 ราศี (ตอนที่ 41-74) ภาค 4 อัศวินแห่งแอสการ์ด (ตอนที่ 75-99) และภาค 5 เจ้าสมุทรโพไซดอน (ตอนที่ 100-114) รวม 114 ตอนจบ โดยเนื้อเรื่องหลักนั้นนำมาจากฉบับหนังสือการ์ตูน แต่ได้เพิ่มเติมเนื้อหาบางส่วนเข้าไป โดยเฉพาะภาค "อัศวินแห่งแอสการ์ด" นั้นเป็นภาคที่แต่งขึ้นใหม่ ซึ่งไม่มีในเซนต์เซย่าฉบับหนังสือการ์ตูน นอกจากนี้ชุดคล็อธของเซนต์บางคน เช่น เหล่าบรอนซ์เซนต์ ยังมีความแตกต่างจากฉบับหนังสือการ์ตูน
สำหรับประเทศไทย เซนต์เซย่าเคยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อว่า "เซย่า เทพบุตรหมัดดาวหาง" ซึ่งได้ออกอากาศซ้ำหลายครั้งทางช่อง 3 ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ก็ได้มีการนำมาออกอากาศซ้ำอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ยูบีซี หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน และออกวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดยบริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด จำนวน 57 แผ่นจบ[25] ต่อมาได้มีการผลิตและออกวางจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบ DVD โดย DEX คาดว่าจะมีจำนวน 23 แผ่นจบ[26]
รายชื่อตอนฉบับโทรทัศน์
แก้เซนต์เซย่าฉบับโทรทัศน์ แบ่งออกเป็นภาคต่าง ๆ รวม 114 ตอน ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้[27]
|
|
|
ฉบับภาพยนตร์
แก้นอกจากฉบับที่ออกฉายทางโทรทัศน์แล้ว เซนต์เซย่า ยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ด้วย จนถึงปัจจุบัน เซนต์เซย่าฉบับภาพยนตร์ออกฉายแล้วจำนวน 5 ภาค โดยภาคสงครามเทพีอีริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ เป็นฉบับภาพยนตร์ที่มีการออกฉายเป็นภาคแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 และฉบับภาพยนตร์ล่าสุด คือ ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์ ซึ่งออกฉายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[24] อย่างไรก็ตาม เนื้อเรื่องของฉบับภาพยนตร์ใน 4 ภาคแรก ได้แก่ ภาคสงครามเทพีเอริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีนแห่งแอสการ์ด ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล และภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์นั้นไม่ได้แต่งขึ้นโดยมะซะมิ คุรุมะดะ เรื่องราวและตัวละครต่าง ๆ จึงอาจจะมีความขัดแย้ง และไม่ต่อเนื่องกับรายละเอียดของเซนต์เซย่าฉบับหนังสือการ์ตูน แต่ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์นั้น เป็นฉบับภาพยนตร์ภาคเดียวที่แต่งขึ้นโดยมะซะมิ คุรุมะดะ เป็นการเกริ่นถึงเรื่องราวภายหลังจากสงครามศักดิ์สิทธิ์กับฮาเดสเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีการคาดหมายว่า การที่มะซะมิ คุรุมะดะ แต่งภาพยนตร์ฉบับนี้ขึ้นมานั้น เขาอาจจะแต่งเซนต์เซย่าในภาคต่อไป คือ ภาคสวรรค์ หรือ Tenkai hen ขึ้นมาในภายหน้านั่นเอง[24] เซนต์เซย่าฉบับภาพยนตร์นั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ภาคสงครามเทพีเอริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ
แก้เซนต์เซย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามเทพีอีริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ (ญี่ปุ่น: 聖闘士星矢 劇場版; โรมาจิ: Seinto Seiya Gekijōban) หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Legend of the Golden Apple ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2530[24] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "เอริส เทพีแห่งความชั่วร้าย" ซึ่งต้องการกำจัดอาเทน่า และทำลายโลก ได้เข้าสิงร่างของ "เอรี่" ผู้ดูแลสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และได้ปลุกเหล่าเซนต์ขึ้นมา 5 คน ได้แก่ ออร์เฟอุสแห่งกลุ่มดาวพิณ หยางแห่งกลุ่มดาวโล่ มายาแห่งกลุ่มดาวลูกธนู จากัวร์แห่งกลุ่มดาวนายพราน และไครส์แห่งกลุ่มดาวกางเขนใต้ เพื่อการคืนชีพอย่างสมบูรณ์ของเอริส เอริสได้ลักพาตัวของอาเทน่ามาเพื่อดูดเอาพลังชีวิตของอาเทน่าโดยใช้แอบเปิ้ลทองคำ หลังจากนั้น พวกเซย่าจึงเดินทางมาช่วยเหลืออาเทน่า โดยได้ทำลายแอปเปิ้ลทองคำ ทำให้เอริสสลายไปในที่สุด[28]
ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีนแห่งแอสการ์ด
แก้เซนต์เซย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีนแห่งแอสการ์ด (ญี่ปุ่น: 神々の熱き戦い; โรมาจิ: Kamigami no Atsuki Tatakai) หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Heated Battle of the Gods ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2531[24] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การหายตัวไปของเฮียวกะ หลังจากเดินทางไปยังแอสการ์ด ดินแดงแห่งขั้วโลกเหนือ อาเทน่าและพวกเซย่าจึงเดินทางไปยังแอสการ์ด โดยได้เข้าพบกับ “โดลบาล ผู้ปกครองแห่งแอสการ์ด” เพื่อถามหาข่าวของเฮียวกะ ระหว่างนั้น อาเทน่าได้รู้ถึงเจตนาของโดลบาลว่าต้องการจะครอบครองแซงชัวรี่และโลก ดังนั้น โดลบาลจึงจับอาเทน่าไปตรึงไว้ที่รูปปั้นของเทพโอดีน เพื่อช่วยอาเทน่าพวกเซย่าจึงได้ต่อสู้กับเหล่าก็อดวอริเออร์ หรือเหล่านักรบแห่งแอสการ์ด แต่สุดท้ายโดลบาลก็ถูกกำจัดลง และดินแดนแอสการ์ดก็กลายเป็นดินแดนที่มีความอบอุ่นอีกครั้ง[29]
ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล
แก้เซนต์เซย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามสุริยเทพอาเบล (ญี่ปุ่น: 真紅の少年伝説; โรมาจิ: Shinku No Shōnen Densetsu) หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Legend of Crimson Youth ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531[24] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "อาเบล เทพแห่งสุริยะ" ผู้เป็นเสมือนพี่ชายของอาเทน่า ซึ่งต้องการให้โลกกลับมาสู่ยุคของเทพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง เมื่ออาเทน่ารู้ถึงจุดประสงค์ของอาเบลก็พยายามขัดขวางเจตนาของอาเบลเพียงลำพังโดยการขับไล่พวกเซย่าไม่ให้มาเกี่ยวข้องกับตน แต่อาเทน่าก็ถูกอาเบลสังหารเสียก่อน พวกเซย่ารู้สึกว่ามีอะไรแอบแฝงอยู่จึงได้เดินทางมายังวิหารแห่งสุริยเทพ และต้องช่วยอาเทน่าให้ได้ก่อนที่วิญญาณของอาเทน่าจะเดินทางไปสู่หลุมดำนิรกาล เซย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน และอิคคิ ได้ต่อสู้กับเหล่าโคโรน่าเซนต์ และเหล่าโกลด์เซนต์ที่ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งโดยอำนาจของอาเบล ในที่สุด ด้วยพลังคอสโม่ของพวกเซย่าจึงสามารถปลุกอาเทน่าขึ้นมาอีกครั้ง และสังหารอาเบลลงได้โดยใช้ลูกศรทองคำแห่งชุดคลอธซาจิททาเรียส [30]
ภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์
แก้เซนต์เซย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์ (ญี่ปุ่น: 最終聖戦の戦士たち; โรมาจิ: Saishū Seisen No Senshi Tachi) หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Warriors of the Final Holy Battle ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2532[24] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "ลูซิเฟอร์ บุตรแห่งเทพเจ้า" ที่มีความชั่วร้ายจนถูกลงโทษให้ไปอยู่ในนรก แต่ฟื้นคืนชีพกลับขึ้นมาอีกครั้งโดยพลังของเอริส อาเบล และโพไซดอน เพื่อต้องการครอบครองโลกและสังหารอาเทน่า ลูซิเฟอร์และ 4 เทพอสูร เดินทางมายังแซงทัวรี่ พร้อมทั้งได้โจมตีเหล่าโกลด์เซนต์และพวกเซย่าจนได้รับบาดเจ็บ อาเทน่าจึงตัดสินใจเดินทางไปยังวิหารของลูซิเฟอร์เพียงลำพังเพื่อใช้ชีวิตของตนปกป้องโลกเอาไว้ พวกเซย่าจึงเดินทางไปช่วยโดยต่อสู้กับเหล่า 4 เทพอสูร และสามารถกำจัดลูซิเฟอร์ลงได้ [31]
ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์
แก้เซนต์เซย่าฉบับภาพยนตร์ ภาคโหมโรงสู่ภาคสวรรค์ (ญี่ปุ่น: 天界編 序奏~overture~; โรมาจิ: Tenkai-hen Josō~overture~) หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Heaven Chapter ~ Overture ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[24] มีเนื้อหาเกี่ยวกับ เหล่าเทพเจ้าแห่งสวรรค์ซึ่งไม่พอใจที่เหล่าเซนต์แห่งอาเทน่าบังอาจโค่นล้มบรรดาเทพต่าง ๆ ลง ดังนั้นจึงส่ง "อาร์เทมิส เทพแห่งดวงจันทร์" พร้อมนักรบแห่งแองเจิ้ล ลงมายังโลกมนุษย์เพื่อกำจัดเซนต์แห่งอาเทน่า อาเทน่าซึ่งไม่ต้องการให้พวกเซย่าต้องต่อสู้อีกครั้งจึงได้ยกการปกครองพื้นปฐพีให้อาร์เทมิส พร้อมทั้งยอมรับการลงทัณฑ์จากสวรรค์แทนเหล่าเซนต์แห่งอาเทน่า หลังจากนั้น เหล่าเซนต์แห่งอาเทน่าก็เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของแซงชัวรี่ที่เกิดขึ้น และได้เข้าต่อสู้กับเหล่าแองเจิ้ลเพื่อช่วยเหลืออาเทน่า อาร์เทมิสซึ่งพบว่าอาเทน่าต้องการขัดขืนคำสั่งสวรรค์โดยการแอบช่วยเหลือพวกเซย่า จึงต้องการสังหารอาเทน่าเสีย แต่เซย่าได้เข้ามาขัดขวาง และทันใดนั้น "อะพอลโล เทพแห่งดวงอาทิตย์" ก็ปรากฏตัวขึ้นมา[32]
ฉบับโอวีเอ
แก้ปี พ.ศ. 2545 เซนต์เซย่า ถูกนำมาสร้างเป็นอนิเมะอีกครั้งในรูปแบบโอวีเอ โดยนำเอาเนื้อเรื่องฉบับการ์ตูนตั้งแต่เล่มที่ 19 -28 มาสร้างและออกฉายทางสถานีโทรทัศน์เคเบิล สกายเพอร์เฟกต์ทีวี โดยใช้ชื่อว่า "เซนต์เซย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ แซงก์ทัวรี่" ซึ่งเป็นเรื่องราวในช่วงแรกของภาคเจ้านรกฮาเดส มีความยาว 13 ตอน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2548 ทางโตเอแอนิเมชันก็สร้างภาคต่อตามมาในชื่อว่า "เซนต์เซย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ อินเฟอร์โน่" ครึ่งแรกมีความยาว 6 ตอน ส่วนครึ่งหลัง สร้างขึ้นและออกอากาศในช่วงปลายปี พ.ศ. 2549 โดยมีความยาว 6 ตอนเช่นเดียวกัน สำหรับภาคสุดท้าย "เซนต์เซย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ เอลิเชียน" ก็มีความยาว 6 ตอน และออกอากาศในเดือนมีนาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2551[33] ซึ่งถือเป็นการปิดฉากภาคฮาเดสอย่างสมบูรณ์
ในประเทศไทย "เซนต์เซย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ แซงก์ทัวรี่" ได้รับลิขสิทธิ์และวางจำหน่ายโดย บริษัท การ์ตูนอินเตอร์ จำกัด ส่วน "เซนต์เซย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ อินเฟอร์โน" และ "เซนต์เซย่า เดอะฮาเดสแชปเตอร์ เอลิเชียน" ได้รับลิขสิทธิ์และวางจำหน่ายโดย DEX
รายชื่อตอนฉบับโอวีเอ
แก้ตอนที่ | เดอะฮาเดสแชปเตอร์ แซงก์ทัวรี่1 |
เดอะฮาเดสแชปเตอร์ อินเฟอร์โน2 |
เดอะฮาเดสแชปเตอร์ เอลิเชี่ยน2 |
---|---|---|---|
1 | จุดเริ่มต้นของสงครามศักดิ์สิทธิ์ครั้งใหม่ | ข้ามแม่น้ำอาเครอน | การต่อสู้เพื่อไปสู่เอลิเชี่ยน |
2 | ผู้โหยไห้ทั้งสาม | ห้องพิพากษาที่เงียบงัน | เทพมรณะและเทพนิทรา |
3 | เงาของผู้รุกราน | เซนต์ในตำนาน ออร์เฟ่ | กำลังเสริมสีทอง |
4 | การไถ่บาปของบุรุษครึ่งเทพ | รีเควี่ยมอันแสนเศร้าของออร์เฟ่ | ก็อดคลอธแห่งตำนาน |
5 | พบพานเพียงชั่วขณะ | ร่างประทับอันน่าตกตะลึงของฮาเดส | ตื่นขึ้นจากเทพนิยาย |
6 | นักรบรุ่นก่อน | ศึกปะทะ หนทางสู่จูเด็กก้า | สู่โลกที่เปี่ยมด้วยแสงสว่าง |
7 | กลุ่มไหมสีดำ | พระเจ้าลงทัณฑ์ เกรทเทสอีคลิปส์ | |
8 | ช่วงเวลาแห่งความสับสน | อิคคิ หมัดแห่งความรัก | |
9 | สิ้นสุดความภาคภูมิ | อาเทน่า เดิมพันด้วยชีวิต | |
10 | การปะทะของโกลด์เซนต์ | สิ้นหวัง ที่หน้ากำแพงวิปโยค | |
11 | แซงทัวรี่สั่นคลอน | โกลด์คลอธ รวมตัว | |
12 | คลอธของเทพธิดา | ลาก่อน โกลด์เซนต์ | |
13 | รุ่งอรุณแห่งการตัดสิน |
- หมายเหตุ
- อ้างอิงจากวีซีดีฉบับลิขสิทธิ์ของการ์ตูนอินเตอร์
- อ้างอิงจากวีซีดีฉบับลิขสิทธิ์ของ DEX
เพลงประกอบ
แก้- ฉบับโทรทัศน์ ตอนที่ 1 - 73
- เพลงเปิด : "เพกาซัสแฟนตาซี" (ペガサス幻想(ファンタジー)) ขับร้องโดย โนบูโอะ ยามาดะ วง MAKE-UP
- เพลงปิด : "เอเอ็น บลู" (永遠ブルー หรือ Blue Forever) ขับร้องโดยวง MAKE-UP
- ฉบับโทรทัศน์ ตอนที่ 74 - 114
- เพลงเปิด : "โซลเยอร์ดรีม" (聖闘士神話(ソルジャードリーム) ขับร้องโดย ฮิโรโนบุ คาเงยามะ และวง BROADWAY
- เพลงปิด : "ยูเมะทาบิบิโตะ" (夢旅人 หรือ Blue Dream) ขับร้องโดย ฮิโรโนบุ คาเงยามะ และวง BROADWAY
- ฉบับโอวีเอ เดอะฮาเดส แชปเตอร์แซงก์ทัวรี่ ตอนที่ 1 - 13
- เพลงเปิด : "จิคิวงิ" (地球ぎ) ขับร้องโดย ยูมิ มัตสึซาวะ
- เพลงปิด : "คิมิ โตะ โอนาจิ อาโอโซระ" (君と同じ青空) ขับร้องโดย ยูมิ มัตสึซาวะ
- ฉบับโอวีเอ เดอะฮาเดส แชปเตอร์อินเฟอร์โน ตอนที่ 1 - 12
- เพลงเปิด : "เมงามิ โนะ เซนชิ ~เพกาซัสฟอร์เอฟเวอร์~" (女神の戦士~Pegasus Forever~) ขับร้องโดย มารีน่า เดล เรย์
- เพลงปิด : "ทาคุสุ โมโนะ เอะ ~มายเดียร์~" (託す者へ~My Dear~) ขับร้องโดย ยูมิ มัตสึซาวะ
- ฉบับโอวีเอ เดอะฮาเดส แชปเตอร์เอลีเซี่ยน ตอนที่ 1 - 6
- เพลงเปิด :"เมงามิ โนะ เซนชิ ~เพกาซัสฟอร์เอฟเวอร์~" (女神の戦士~Pegasus Forever~) ขับร้องโดย มารีน่า เดล เรย์
- เพลงปิด :"คามิ โนะ โซโนะ ~เดล เรกโน~" (神の園~デル・レグノ~) ขับร้องโดย ยูโกะ อิชิบากิ
ผู้ให้เสียงตัวละคร
แก้ผู้ให้เสียงตัวละครหลัก
แก้ตัวละคร | ญี่ปุ่น (2529 - 2545) |
ญี่ปุ่น (2548 - ปัจจุบัน) |
ไทย (ช่อง 3 / ปี 2531) [34] |
ไทย (ยูบีซี / ปี 2547) |
ไทย (Cartoon Inter) |
ไทย (DEX / ปี 2552) |
---|---|---|---|---|---|---|
เพกาซัส เซย่า | โทรุ ฟูรูยะ | มาซากาซุ โมริตะ | พิญโญ สุนวินทรากร | ปิยะ ประวังสุข | ธวัช รัตตะชัย | อิทธิพล มามีเกตุ |
ดราก้อน ชิริว | ฮิโรตากะ ซูซูโอกิ | ทากาฮิโระ ซากูระอิ | นิรุต ณ บางช้าง | นิรุต ณ บางช้าง | ภัคภูมิ ลิ้มมานะสภาพร | มนูญ เรืองเชื้อเหมือน |
ซิกนัส เฮียวกะ | โคอิจิ ฮาชิโมโตะ | ฮิโรอากิ มิอูระ | สัญชัย ปลั่งกมล | ธนกฤต เจนคลองธรรม | ปริญญา กีรกะจินดา | ธนกฤต เจนคลองธรรม |
อันโดรเมด้า ชุน | เรียว โฮริกาวะ | ยูตะ คาสึยะ | นิรุต ณ บางช้าง | สัจจะ กาญจน์นิรันดร์ | ภัทรวุฒิ สมุทรนาวี | |
ฟินิกซ์ อิคคิ | ฮิเดยูกิ โฮริ | คัตสึยูกิ โคนิชิ | สัญชัย ปลั่งกมล | ณรงค์ นามะสนธิ | ปริญญา กีรกะจินดา | ไกวัล วัฒนไกร |
คิโดะ ซาโอริ (อาเทน่า) |
เคโกะ ฮัง | ฟูมิโกะ โอริกาซะ | สุธีรา วีรกุล | นงลักษณ์ ฤทธิเรือง | ศรีอาภา เรือนนาค | วิภาดา จตุยศพร |
การเปลี่ยนตัวผู้ให้เสียงตัวละคร
แก้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ได้มีข่าวออกมาว่า เซนต์เซย่า ภาคศึกเจ้านรกฮาเดส เดอะแชปเตอร์อินเฟอร์โน ที่กำลังจะออกอากาศทางช่องเคเบิล สกายเพอร์เฟกต์ทีวี ในเดือนธันวาคม จะมีการเปลี่ยนตัวผู้ให้เสียงตัวละครหลักทั้ง 6 ได้แก่ เซย่า ชิริว เฮียวกะ ชุน อิคคิ และซาโอริ เป็นนักพากย์ชุดใหม่ทั้งหมด[35] ซึ่งแม้ว่าในขณะนั้น ข่าวจะยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ก็สร้างความไม่พอใจให้แก่แฟน ๆ ของเซนต์เซย์ย่าเป็นอย่างมาก จนเกิดกระแสต่อต้านอย่างหนัก โดยมีแฟนๆ จากทั้งในและต่างประเทศเข้าไปโพสต์ข้อความลง BBS ในโฮมเพจของ โทรุ ฟุรุยะ ผู้พากย์เสียงเซย่าคนเดิม เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการเรียกร้องให้ทางผู้สร้างพิจารณาเรื่องการเปลี่ยนตัวนักพากย์อีกครั้ง โดยให้ความเห็นว่า อย่างน้อยถ้าจะเปลี่ยน ก็จะน่าจะเปลี่ยนหลังจากที่ภาคฮาเดสจบชุดไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีการเปิดเว็บไซต์รวบรวมรายชื่อผู้ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนนักพากย์ในครั้งนี้อีกด้วย[36] แต่ในที่สุดทางเว็บไซต์ของโตเอแอนิเมชัน ก็ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่าจะเปลี่ยนตัวนักพากย์ตัวละครหลักทั้ง 6 คนจริง ๆ
และจากกระแสต่อต้านอย่างรุนแรงของแฟน ๆ ทำให้ มาซามิ คุรุมาดะ ผู้แต่งเรื่อง ต้องออกมาชี้แจงเหตุผลว่า ใจจริงแล้วเขาเองก็อยากให้นักพากย์ชุดเดิมพากย์ต่อไปเหมือนกัน แต่นอกจาก โทรุ ฟุรุยะ ผู้พากย์เสียงเซย่าแล้ว คุณภาพเสียงของนักพากย์ตัวละครหลักอีก 5 คนได้ตกลงไปมาก ฟังดูไม่สดใสเหมือนเก่า ประกอบกับการที่ได้เห็นนักพากย์รุ่นใหม่เข้ามาพากย์เสียงของโกลด์เซนต์บางคนแทนนักพากย์รุ่นเก่า เขาจึงต้องการให้เปลี่ยนนักพากย์ทั้ง 5 คนบ้าง โดยเหลือไว้เพียงแค่ฟุรุยะคนเดียว ซึ่งคุรุมาดะได้พูดคุยกับฟุรุยะเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงเกลี้ยกล่อมหลายครั้งแล้ว แต่ฟุรุยะก็ยังคงยืนยันว่าจะพากย์กับทีมพากย์ชุดเดิมเท่านั้น หากมีการเปลี่ยนตัวนักพากย์ชุดเดิมแม้แต่คนเดียว เขาก็จะไม่ขอพากย์เสียงเซย์ย่าอีกต่อไปเช่นกัน เรื่องนี้จึงทำให้คุรุมาดะรู้สึกหนักใจไม่น้อย แต่สุดท้ายเมื่อทางทีมงานได้มีมติแน่ชัดว่าจะเปลี่ยนตัวนักพากย์หลักทั้ง 5 คน ฟุรุยะจึงขอถอนตัวออกไปด้วยตามที่เขาได้พูดไว้ ทำให้กลายเป็นต้องเปลี่ยนนักพากย์ใหม่หมดทั้งชุด ดังที่ได้กล่าวมา[37]
ละครเพลง
แก้ปี พ.ศ. 2534 เซนต์เซย่าได้ถูกสร้างเป็นละครเพลงในนามของ "บันไดซูเปอร์มิวสิคัล" ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทบันไดและทีวีอาซาฮี โดยมีนักแสดงหลักคือกลุ่มนักร้องวัยรุ่น วง SMAP และวง TOKIO การแสดงละครเพลงชุดนี้จะดำเนินเรื่องโดยใช้เนื้อหาในภาคโพไซดอน และได้เปิดการแสดงตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน พ.ศ. 2534 [38]
รายชื่อนักแสดงหลัก
แก้- เพกาซัส เซย่า : มาซาฮิโระ นากาอิ (SMAP)
- ดราก้อน ชิริว : สึโยชิ คูซานางิ (SMAP)
- ซิกนัส เฮียวกะ : คัตสึยูกิ โมริ (SMAP)
- อันโดรเมด้า ชุน : ชิงโง คาโทริ (SMAP)
- ฟินิกซ์ อิคคิ : โกโร อินางากิ (SMAP)
- เจ้าสมุทรโพไซดอน / จูเลียน โซโล : ทากูยะ คิมูระ (SMAP)
- อาริเอส มู : ชิเงะรุ โจชิมะ (TOKIO)
- เวอร์โก้ ชากะ : ไทจิ โคกูบุน (TOKIO)
- สกอร์เปี้ยน มิโร่ : มาซาฮิโระ มัตสึโอกะ (TOKIO)
- ทอรัส อัลเดบารัน : ทัตสึยะ ยามากูจิ (TOKIO)
- เลโอ ไอโอเลีย : ฮิโรมู โคจิมะ (TOKIO)
- อาเทน่า : ชิโนบุ นากายามะ
- ซีดราก้อน คาน่อน : ทาเกชิ มายะ
- ไซเรน โซเรนต์ : ยู ไดกิ
- เมอร์เมด เททิส : เมงูมิ ยูกิ
เกม
แก้- เซนต์เซย่า ตำนานชุดทอง (聖闘士星矢 黄金伝説) ออกจำหน่ายเมื่อ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2530 โดยบันได
- เซนต์เซย่า ตำนานชุดทอง ภาคสมบูรณ์ (聖闘士星矢 黄金伝説 完結編) ออกจำหน่ายเมื่อ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยบันได
- เซนต์พาราไดซ์ เหล่านักรบที่แข็งแกร่งที่สุด (聖闘士★セイントパラダイス~最強の戦士たち) ออกจำหน่ายเมื่อ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 โดยบันได
- เซนต์เซย่า ตำนานชุดทอง เพอร์เฟกต์อีดิชั่น (聖闘士星矢 黄金伝説編 Perfect Edition) ออกจำหน่ายเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยบันได
- เซนต์เซย่า เดอะฮาเดส แชปเตอร์แซงก์ทัวรี่ (聖闘士星矢 聖域十二宮編) ออกจำหน่ายเมื่อ 7 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยบันได
- เซนต์เซย่า เดอะฮาเดส แชปเตอร์อินเฟอร์โน (聖闘士星矢 冥王ハーデス十二宮編) ออกจำหน่ายเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 โดยแนมโคบันได
ของเล่น
แก้เซนต์คลอธซีรีส์
แก้เซนต์คลอธซีรีส์ คือ ของเล่นในรูปแบบตุ๊กตาที่นำมาสวมชุดเกราะได้ ผลิตโดยบริษัทบันได ในช่วงปลายของยุค 1980 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2523 - พ.ศ. 2532) ลักษณะของของเล่นจะเป็นหุ่นรูปคนที่มีข้อต่ออยู่หลายจุด ทำให้สามารถจัดท่าทางต่าง ๆ ได้ และมีชิ้นส่วนของชุดเกราะซึ่งแยกมาให้เป็นชิ้น ๆ เพื่อประกอบเข้ากับตัวของหุ่น จนมีลักษณะเหมือนกับเซนต์ในภาพยนตร์การ์ตูน อีกทั้งยังสามารถนำชิ้นส่วนของชุดเกราะไปประกอบเป็นรูปลักษณ์ประจำกลุ่มดาวต่าง ๆ ที่เป็นต้นแบบของชุดเกราะนั้น ๆ เหมือนกับในภาพยนตร์การ์ตูนด้วย
บริษัทบันไดได้ออกวางจำหน่ายของเล่นชุดนี้ออกมาหลายตัวด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มบรอนซ์เซนต์ แบล็กเซนต์ สตีลเซนต์ โกลด์เซนต์ ก๊อดวอริเออร์ในภาคแอสการ์ด และมารีนเนอร์ในภาคโพไซดอน ส่วนซิลเวอร์เซนต์มีออกมาวางจำหน่ายเพียงตัวเดียวคือ อีเกิ้ล มารีน[39] ยิ่งไปกว่านั้นในประเทศญี่ปุ่นยังเคยมีการจัดแคมเปญพิเศษ 5 ครั้ง เพื่อแจกของเล่นชุดผลิตจำนวนจำกัด ได้แก่ ชุดโกลด์คลอธซาจิททาเรียสปลอม, กล่องใส่ชุดเซนต์, หุ่นเคียวโกอาเรส พร้อมบัลลังก์, ชุดโอดีนโร้บ และชุดบรอนซ์คลอธเวอร์ชันสีดำ ซึ่งต้องส่งชิ้นส่วนที่อยู่ด้านหลังกล่องของเล่นไปร่วมสนุกกับทางบริษัท โดยทางบริษัทจะใช้วิธีจับสลากหาผู้โชคดีที่จะได้รับรางวัลเหล่านั้น[40] แต่ต่อมาในช่วงยุค 2000 (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2552) บริษัทในประเทศไต้หวันก็ได้ทำการผลิตของเล่นเลียนแบบชุดซาจิททาเรียสปลอม หุ่นเคียวโกอาเรส และชุดโอดีนโร้บ จากแคมเปญพิเศษนี้ออกมาวางจำหน่าย[41]
ภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 2547 ของเล่นชุดเซนต์คลอธซีรีส์ ได้ถูกนำมาผลิตซ้ำและออกวางจำหน่ายใหม่อีกครั้งโดยบริษัทบันไดฮ่องกง ส่วนในประเทศไทย มีบริษัทดรีมทอยเป็นตัวแทนจำหน่าย[42]
กาชาปอง
แก้กาชาปอง คือ หุ่นโมเดลยางขนาดเล็ก ที่ถูกบรรจุอยู่ในภาชนะรูปไข่หรือแคปซูล ซึ่งมีความสวยงามสมจริงในระดับหนึ่ง ของเล่นชนิดนี้มีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น[43] เมื่อเราหยอดเหรียญลงในตู้ของเล่นที่บรรจุอยู่ในแคปซูลก็จะร่วงหล่นลงมา ในประมาณปลายปี พ.ศ. 2546 บริษัท บิ๊กวัน ได้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยอบ่างเป็นทางการโดยได้นำเข้าสินค้าในรูปแบบของตู้กดหยอดเหรียญมาจัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำต่างๆ ทั่วประเทศ [43]
ลำดับการวางจำหน่ายกาชาปองเซนต์เซย่า
แก้- พฤษภาคม พ.ศ. 2545 : บรอนซ์เซนต์ คลอธแรก จำนวน 5 ตัว ได้แก่
- มกราคม พ.ศ. 2546 : บรอนซ์เซนต์ และโกลด์เซนต์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่
- พฤษภาคม พ.ศ. 2546 : บรอนซ์เซนต์ และโกลด์เซนต์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่
- กันยายน พ.ศ. 2546 : บรอนซ์เซนต์ และโกลด์เซนต์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่
- ซิกนัส เฮียวกะ, ซาจิททาเรียส เซย่า, ซาจิททาเรียส ไอโอลอส, แคปริคอร์น ชูร่า, อควอเรียส คามิว และ พิสซิส อโฟรดิเท
- มกราคม พ.ศ. 2547 : บรอนซ์เซนต์ (คลอธสีทอง) และอาเธน่า จำนวน 6 ตัว ได้แก่
- เพกาซัส เซย่า, ดราก้อน ชิริว, ซิกนัส เฮียวกะ, อันโดรเมด้า ชุน, ฟีนิกซ์ อิคคิ และอาเทน่า
- กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 : โกลด์เซนต์ 12 ราศี (ผลิตใหม่) จำนวน 12 ตัว ได้แก่
- แอเรียส มู, ทอรัส อัลเดบารัน, เจมินี่ ซากะ, แคนเซอร์ เดธมาสค์, เลโอ ไอโอเลีย, เวอร์โก้ ชากะ, ไลบร้า โดโก, สกอร์เปี้ยน มิโร่, ซาจิททาเรียส ไอโอลอส, แคปริคอร์น ชูร่า, อควอเรียส คามิวและ พิสซิส อโฟรดิเท
- พฤษภาคม พ.ศ. 2547 : โปเซดอน บรอนซ์เซนต์สวมโกลด์คลอธ และตัวละครภาคสวรรค์ จำนวน 6 ตัว ได้แก่
- โพไซดอน, ซาจิททาเรียส เซย่า, อควอเรียส เฮียวกะ, ไลบร้า ชิริว, เซย่าสวมคลอธใหม่ภาคสวรรค์ และ อิคารอส โทมะ
เซนต์คลอธมิธ
แก้ในปี พ.ศ. 2546 บริษัทบันได ได้ผลิตสินค้าของเล่นเซนต์เซย่าในรูปแบบตุ๊กตาสวมชุดเกราะขึ้นมาอีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า "เซนต์คลอธมิธ" ซึ่งเป็นการดัดแปลงและพัฒนาจากของเล่นชุดเก่าอย่างเซนต์คลอธซีรีส์ ทำให้ตัวหุ่นกับชุดเกราะมีความสวยงาม และสมจริงมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบกล่องที่ใช้บรรจุใหม่ให้มีลักษณะใกล้เคียงกับกล่องใส่ชุดคลอธของเหล่าเซนต์ด้วย[44] โดยทางบริษัทบันไดยังคงทำการผลิตเซนต์คลอธมิธของตัวละครต่างๆ ในเรื่องมาตลอดจนถึงปัจจุบัน และมีบริษัทดรีมทอยเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย[42]
ลำดับการวางจำหน่ายเซนต์คลอธมิธ
แก้
|
|
|
- หมายเหตุ OCE = Original Color Edition
- LC = Lost Canvas
พีวีซีฟิกเกอร์ Excellent Model
แก้Excellent Model คือ หุ่นเซนต์เซย์ย่าในรูปแบบของ พีวีซีฟิกเกอร์ ซึ่งถอดประกอบไม่ได้ สูงประมาณ 20 เซนติเมตร [45] ถูกผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2550โดยบริษัท เมการ์เฮาส์ และมีบริษัทดรีมทอยเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย [45] เช่นเดียวกับสินค้า เซนต์คลอธมิธ โดยในช่วงแรกได้กำหนดการวางจำหน่ายชุดแรกในเดือนเมษายน แต่ในตอนหลังได้เลื่อนไปเดือนพฤษภาคม และได้ออกวางจำหน่ายจริงในเดือนมิถุนายน
ลำดับการวางจำหน่าย พีวีซีฟิกเกอร์ Excellent Model
แก้- พฤษภาคม พ.ศ. 2550 : ดราก้อน ชิริว สูง 21 เซนติเมตร [45]
- พฤษภาคม พ.ศ. 2550 : เพกาซัส เซย่า สูง 18 เซนติเมตร
- พฤษภาคม พ.ศ. 2550 : อาเธน่า ซาโอริ สูง 20 เซนติเมตร
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 มาซามิ คุรุมาดะ, "เซนต์ทั้งหลายที่อยู่ในตัวผม", เซนต์เซย่า Color Album Vol.4, 2532, หน้า 22
- ↑ ทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 6, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 111
- ↑ ทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 8, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 125
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Draco, นิตยสาร @nime ฉบับที่ 4, พ.ศ. 2547, หน้า 4
- ↑ Cartoon Focus -- เซนต์ เซย์ย่า, kartoon-discovery.com
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 1-3 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2543
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 3-5 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2543
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 5-7 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2543-2544
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 8-13 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2544-2545
- ↑ เนื้อเรื่องเซนต์เซย่า ภาคอัศวินแห่งแอสการ์ด เก็บถาวร 2007-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, thaisaintseiya.com
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 14-18 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2545-2546
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 19-22 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2548
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 23-26, สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2548-2549
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 27-28, สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2549
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 1, สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2543 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "เล่ม1" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 11, สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2545
- ↑ เซนต์เซย่า ฉบับหนังสือการ์ตูน (Manga) เก็บถาวร 2008-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์ Thaisaintseiya.com
- ↑ มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า เล่มที่ 28 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ, 2549
- ↑ 19.0 19.1 FAQs สารพันปัญหาถามตอบ Episode G เก็บถาวร 2008-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์ Thaisaintseiya.com
- ↑ 20.0 20.1 มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า Episode G เล่มที่ 1 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ
- ↑ 21.0 21.1 มะซะมิ คุรุมะดะ, เซนต์ เซย่า The Lost Canvas จ้าวนรกฮาเดส เล่มที่ 1 , สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ
- ↑ แนะนำ เซนต์เซย่า เน็กซ์ไดเมนชั่น จาก เว็บไซต์ Thaisaintseiya.com
- ↑ เซนต์เซย่า, Toei Animation
- ↑ 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 24.6 24.7 เซนต์เซย่า ฉบับแอนิเมชัน (Animation) เก็บถาวร 2008-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์ Thaisaintseiya.com
- ↑ cartooninter products:Saint Seiya Part 1-6 (TV SERIES) จากเว็บไซต์ cartooninter.com
- ↑ ถามเรื่องเซนต์เซย่า เก็บถาวร 2009-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (comment ที่ 9 โดย webmaster), DexClub Webboard, เรียกข้อมูลเมื่อ 8 มิ.ย. 2552
- ↑ วีซีดี Saint Seiya Part 1-6 (TV SERIES) ฉบับลิขสิทธิ์ของการ์ตูนอินเตอร์
- ↑ เนื้อเรื่องเซนต์เซย่า ภาคสงครามเทพีอีริส ปริศนาแอปเปิ้ลทองคำ เก็บถาวร 2007-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, thaisaintseiya.com
- ↑ เนื้อเรื่องเซนต์เซย่า ภาคสงครามเทพเจ้าโอดีน แห่งแอสการ์ด เก็บถาวร 2007-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, thaisaintseiya.com
- ↑ เนื้อเรื่องเซนต์เซย่า ภาคสงครามสุริยเทพ อาเบล เก็บถาวร 2007-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, thaisaintseiya.com
- ↑ เนื้อเรื่องเซนต์เซย่า ภาคสงครามครั้งสุดท้าย ความทะเยอทะยานของลูซิเฟอร์ เก็บถาวร 2007-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, thaisaintseiya.com
- ↑ เนื้อเรื่องเซนต์เซย่า โหมโรงภาคสวรรค์ Tenkai Hen ~Overture เก็บถาวร 2007-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, thaisaintseiya.com
- ↑ 聖闘士星矢 冥王ハーデス エリシオン編, Toei Animation
- ↑ "พี่แมกฯ สัมภาษณ์ทีมงานนักพากย์ช่อง 3", ทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 12, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2533, หน้า 142-144
- ↑ "ตำหนักมังกร : ข่าวช็อควงการสำหรับแฟนๆ เซย่า !". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-07. สืบค้นเมื่อ 2007-03-30.
- ↑ "聖闘士星矢 冥界編 声優変更に物申す!!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-06. สืบค้นเมื่อ 2007-03-30.
- ↑ คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนตัวนักพากย์โดย มาซาชิ ยามางุจิ จาก คุรุมาดะโปรดักชัน (อยู่ตรงส่วนกลางของหน้า ที่มีแบนเนอร์เซย่า)
- ↑ "SMAP เบิกโรงในละครเวทีเซนต์เซย่ากันไปแล้ว", ทีวีแมกกาซีน ฉบับที่ 24, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2534, หน้า 74
- ↑ เซนต์เซย่า Color Album Vol.4, สำนักพิมพ์หมึกจีน, 2532, หน้า 99
- ↑ เซนต์เซย่า Color Album Vol.4, สำนักพิมพ์หมึกจีน, 2532, หน้า 103-104
- ↑ JJJ, แอคชั่นฟิคเกอร์เซนต์เซย่า "ฉบับก๊อปปี้" ที่น่าสนใจ, thaisaintseiya.com
- ↑ 42.0 42.1 หุ่นของเล่นเซนต์เซย่า เก็บถาวร 2008-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, dreamtoy.co.th
- ↑ 43.0 43.1 กาชาปอง เซนต์เซย่า เขียนโดย ARIES BANK, Thaisaintseiya.com
- ↑ Nat Saji, เซนต์คลอธมิธ, thaisaintseiya.com
- ↑ 45.0 45.1 45.2 เซนต์เซย่า PVC Figures - Excellent Model เก็บถาวร 2008-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Saintseiyathaifanclub.com
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ไทยเซนต์เซย่า
- เว็บเซนต์เซย่าไทยแฟนคลับ เก็บถาวร 2008-09-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของชูเอฉะ เก็บถาวร 2007-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโตเอ
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคฮาเดส
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคโหมโรง
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคฮาเดส เดอะแชปเตอร์อินเฟอร์โน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการภาคโอเมกา
- เซนต์เซย่าเน็ตเวิร์ก เก็บถาวร 2012-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- st-seiya.net เก็บถาวร 2007-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน