วิบูลย์กิจ

(เปลี่ยนทางจาก สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ)

สำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ เป็นสำนักพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นในประเทศไทย รู้จักกันในชื่อย่อ VBK หรือชื่อเต็ม Vibulkij Publishing Group

ประวัติแก้ไข

ในยุคตั้งต้นเป็นสำนักพิมพ์หัวแถวของตลาดหนังสือการ์ตูนในยุคที่ยังไม่มีลิขสิทธิ์(ช่วงยุค80's-ต้นๆ90's) มีหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์มีชื่อหลายหัว เช่น เดอะซีโร่ (the Zero), อนิเมทวีคลี่ (Animage Weekly), วีคลี่สเปเชียล (Weekly-Special) และหนังสือการ์ตูนแนวฮีโร่รายสะดวกที่ได้รับความนิยมอย่างสูงอย่าง ทีวีไลน์ และนิตยสารเกมแนวคอนโซลนาม เมก้า ภายหลังได้เป็นสำนักพิมพ์การ์ตูนค่ายแรก ๆ ในประเทศ ที่หันมาซื้อสิทธิการ์ตูนอย่างถูกต้องจากต้นสังกัดในประเทศญี่ปุ่น[1] นอกจากนี้ทางวิบูลย์กิจยังเป็นสำนักพิมพ์เจ้าแรกๆในไทยที่สนับสนุนการสร้างสรรค์งานการ์ตูนฝีมือคนไทยผ่านทางนิตยสารในเครือเช่น Thai Comics(ไทยคอมิค)[2]

ทางวิบูลย์กิจได้ถือสิทธิของการ์ตูนญี่ปุ่นดังๆไว้เป็นจำนวนมาก และหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันในหมู่นักอ่านการ์ตูนชาวไทย เช่น ข้าชื่อโคทาโร่, โคนัน, จีทีโอ คุณครูพันธุ์หายาก, คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะ, ล่าอสูรกาย, เซนต์เซย์ย่า, จอมคนแดนฝัน เป็นต้น แต่ผลงานการ์ตูนที่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขายสูงสุดได้แก่ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[3]

ในอดีต วิบูลย์กิจปฏิเสธที่จะทำหนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์แบบเล่มใหญ่ และใช้วิธีอ่านจากหลังไปหน้าแบบญี่ปุ่นด้วยเหตุผลว่าไม่ต้องการจะให้วิถีการอ่านของคนไทยต้องคล้อยตามวัฒนธรรมการอ่านของทางญี่ปุ่นมากเกินไปนัก ทำให้ไม่สามารถขอลิขสิทธิ์การ์ตูนบางเรื่อง ที่สำนักพิมพ์ค่อนข้างเข้มงวดกับรูปเล่มได้[4] ต่อมาจึงได้เริ่มตีพิมพ์โดยใช้วิธีอ่านจากหลังไปหน้า โดยการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่ตีพิมพ์แบบจากหลังไปหน้าคือ xxxโฮลิค และ ซึบาสะ สงครามเทพข้ามมิติ จากนิตยสาร KC.Trio เนื่องจากทางต้นฉบับต้องการให้คงภาพและวิธีอ่านไว้โดยทำให้ปัจจุบันนิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งหมดใช้สัญญาของทางญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเป็นข้อตกลงทางการค้าและลิขสิทธิ์ทำให้ต้องพิมพ์และวางจำหน่ายหนังสือจากญี่ปุ่น โดยวิธีการอ่านแบบญี่ปุ่นเท่านั้น

ในปัจจุบันนั้น ทางวิบูลย์กิจได้ยุติการผลิตนิตยสารการ์ตูนในเครือลงทั้งหมดคงเหลือแต่ฉบับรวมเล่ม และเน้นไปที่การจัดทำในรูปแบบของ เเพลตฟอรม์ อี-บุ้ค ควบคู่กับตัวหนังสือการ์ตูนที่เป็นรูปเล่มดั้งเดิม [5]

นิตยสารในเครือแก้ไข

KC.Weeklyแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นรายสัปดาห์ โดยต้นฉบับส่วนใหญ่มาจากนิตยสาร โชเน็นแม็กกาซีนรายสัปดาห์ ของสำนักพิมพ์ โคดันฉะเปิดตัวในปี พ.ศ. 2536 โดยมีการ์ตูนเด่นๆในฉบับเช่น คินดะอิจิกับคดีฆาตกรรมปริศนา,ข้าชื่อโคทาโร่,ก้าวแรกสู่สังเวียน ฯลฯ ในช่วงต้นๆ ยุคหลังๆจะมีเรื่องยาวเช่น โรงเรียนนักสืบ Q,คุณครูพันธุ์หายาก,เรฟ ผจญภัยเหนือโลก,GetBackers,คุโรมาตี้,คุณครูจอมเวทย์ เนกิมะฯลฯ ไปจนถึง Fairy tail,UQ Holder! ในช่วงท้ายๆของนิตยสาร ก่อนจะยุติตัวเองแบบเล่มในปี 2559 และปรับไปเป็นนิตยสารออนไลน์ KC.Digimagแทน[6]

Viva Fridayแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นรายสัปดาห์ โดยต้นฉบับเป็นของสำนักพิมพ์ อาคิตะโชเต็น ปัจจุบันปิดตัวแล้ว

Neozแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนไทย+ญี่ปุ่นรายสัปดาห์ โดยต้นฉบับคือนิตยสาร โชเนนซันเดย์ ของสำนักพิมพ์ โชงะกุกัง และสำนักพิมพ์ ฮาคุเซ็นฉะ มีเรื่องยาวเช่น Berserk,ยอดนักสืบจิ๋วโคนันส่วนงานการ์ตูนไทยจะมาจากทางนักเขียนที่มีผลงานในเครือ Thai Comics มีเรื่องยาว เช่น เตะระเบิดไม่ต้องเปิดตำรา,ซุปเปอร์หน่อไม้ แสบนี้ไม่มีเบรค,ป่าผี เปิดตัว พ.ศ. 2543 ปิดตัวในปี 2558[7]

KC.Trioแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นรายปักษ์ โดยต้นฉบับเป็นของสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ปัจจุบันปิดตัวแล้ว

Young Fridayแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นรายเดือน โดยต้นฉบับเป็นของสำนักพิมพ์ อาคิตะโชเต็น ปัจจุบันปิดตัวแล้ว

RINAแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นรายเดือน แนวผู้หญิง โดยต้นฉบับเป็นของสำนักพิมพ์ อาคิตะโชเต็น ปัจจุบันปิดตัวไปในปี 2556

Mr. Monthlyแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นรายเดือน โดยต้นฉบับเป็นของสำนักพิมพ์ โคดันฉะ

NEXTแก้ไข

(หรือ Thai Comic Next Generation) เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสองเดือนที่แตกตัวจาก ไทยคอมมิค โดยได้ลิขสิทธ์จากทางญี่ปุ่นลงตีพิมพ์การ์ตูนญี่ปุ่นควบการ์ตูนไทย ในช่วงแรกๆลงการ์ตูนไทย5เรื่องต่อการ์ตูนญี่ปุ่น1เรื่อง การ์ตูนไทยมีเรื่อง มยุราตร์,เทวราชันย์,Bad Vision,สายฟ้าและการ์ตูนสมัครเล่นจากทางบ้าน โดยมังงะเป็นลิขสิทธ์ของสำนักพิมพ์ โคดันฉะเรื่อง มังกรอหังการหมาป่าคะนองศึก ภายหลังจะมีการ์ตูนไทยทั้งเรื่องสั้นเรื่องยาวมาลงตีพิมพ์สลับสับเปลี่ยนกับการ์ตูนญี่ปุ่นที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆ เปิดตัว ปี พ.ศ. 2538[8] ปิดตัวในปี 2554[9]

Thai Comicsแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนไทยรายเดือน ที่เริ่มต้นจากการรวบรวมผลงานจากนักเขียนสมัครเล่นทางบ้านมาลงตีพิมพ์ ก่อนจะพัฒนานักเขียนประจำขึ้นมาและออกการ์ตูนคนไทยทั้งเรื่องยาวเรื่องสั้นหลากหลายมีนักเขียนที่สร้างชื่อกับหนังสือการ์ตูนหัวนี้หลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์,วรา เตมียพันธ์ุ,สำราญ จารุกุลวนิชย์,อเบศ ลิ้มละมัย,วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ,รัตนะ สาทิส,อดิศักดิ์ พงษ์สัมพันธ์,ทวีศักดิ์ วิริยะวรานนท์,จักรพันธ์ ห้วยเพชร ฯลฯ ตีพิมพ์เป็นเวลากว่า 21 ปี มีงานเด่นๆในเครือเช่น รวมเรื่องสั้นจิตหลุดที่ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ จัดพิมพ์ช่วงปี 2535 ปิดตัวในปี 2556[10][11]

MEGAแก้ไข

นิตยสารเกมรายสัปดาห์ที่จัดทำมาตั้งแต่ช่วงยุคที่ยังไม่มีการขอลิขสิทธ์ เน้นเนื้อหาไปทางเกมที่มาจากเครื่องเล่นวีดีโอเกม (Console Game) ที่กำลังได้รับความนิยมในช่วงนั้นๆ เช่น Famicom,Sega Genesis,SNES,PlayStation เป็นต้น ก่อนจะมีเล่มแยกและปรับเปลี่ยนรูปแบบของตัวหนังสือมาตลอด จัดพิมพ์เมื่อปี.พ.ศ.2533 ปิดตัวในปี 2559[12]

MegaMONTHแก้ไข

นิตยสารเกมรายเดือน เน้นการเจาะลึกเกมเด่น รวมถึงวิธีพิชิตเกม นั้น ๆ

ZIRIUSแก้ไข

นิตยสารการ์ตูนญี่ปุ่นรายเดือนเน้นงานไปยังแนวไซไฟเป็นหลัก เช่นกายเวอร์ อมนุษย์เกราะชีวะ,ยอดหญิง Hyper Doll,คาเซ่ สายลมทลายฟ้า ออกวางตลาดครั้งแรก ในปี 1993 (2536) เลิกออกไปในปี1997 เนื่องจากต้นฉบับที่ญี่ปุ่น นิตยสาร Shounen Captain (โทคุมะโชเต็น) ปิดตัวลง

อ้างอิงแก้ไข

  1. Comic Quest.Issue.14 Sep/2002,"บันทึกปูมหลังของการเข้ามาของฉบับลิขสิทธ์" น.29-34
  2. นิรวาณ คุระทอง. (2553). ประวัติย่อการ์ตูนไทย. สำนักพิมพ์ LET'S Comic. ISBN 9786169012863,น.82-85
  3. akibatan
  4. "สัมภาษณ์ บ.ก.ยูตะ หรือ พิธูร ตีรพัฒนพันธุ์", Comics Quest.Issue.13 Aug/2002 น.24-25
  5. เพจบ้านการ์ตูนไทย
  6. บ้านการ์ตูนไทย
  7. บ้านการ์ตูนไทย
  8. นิรวาณ คุระทอง. (2553). ประวัติย่อการ์ตูนไทย. สำนักพิมพ์ LET'S Comic. ISBN 9786169012863,น.165
  9. บ้านการ์ตูนไทย
  10. นิรวาณ คุระทอง. (2553). ประวัติย่อการ์ตูนไทย. สำนักพิมพ์ LET'S Comic. ISBN 9786169012863 น.122-168
  11. บ้านการ์ตูนไทย
  12. รวมนิตยสารเกมไทย

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข