เครื่องราชอิสริยยศไทย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เครื่องยศ หรือ เครื่องราชอิสริยยศ คือ เครื่องหมายแสดงเกียรติยศ เครื่องประกอบยศ และบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยโบราณสร้างขึ้นเพื่อ พระราชทานให้แก่ ราชตระกูล ขุนนาง ข้าราชการ และบุคคลทั่วไป ที่มีตำแหน่ง หน้าที่ ความชอบในแผ่นดินให้ปรากฏตามยศชั้น และฐานันดรศักดิ์นั้น ๆ ของผู้ได้รับพระราชทาน
จากจดหมายเหตุของ นิโคลาส แซแว กล่าวถึงความหมายของเครื่องยศในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า "เราจะรู้จักความสำคัญของขุนนางเหล่านี้ในหน้าที่สาธารณะได้ ไม่เพียงแต่จากหีบหมากพระราชทาน จากรูปพรรณและเนื้อโลหะ ขอบหลอมพอก จากฐานะของเรือที่ใช้เป็นยานพาหนะ จากดาบที่คาด หรือที่มีผู้เชิญไปข้างหน้าเท่านั้น แต่ยังจะรู้ได้จากจำนวนทาสที่ติดตามข้างหลังอีกด้วย"
ประเภทของเครื่องราชอิสริยยศ
แก้เครื่องราชอิสริยยศ หมายถึง เครื่องหมายแสดงเกียรติยศ เครื่องประกอบเกียรติยศ แสดงถึงความสำคัญของตำแหน่งหน้าที่และบำเหน็จความชอบที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้ที่กระทำความดีความชอบในราชการแผ่นดิน ซึ่งแต่ครั้งโบราณได้มีระเบียบประเพณียึดถือเพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ราชตระกูล ขุนนาง ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ หรือผู้ที่มีความชอบต่อแผ่นดินให้ปรากฏตามยศชั้นและฐานันดรศักดิ์เหล่านั้น เครื่องยศมักทำด้วยวัสดุที่สูงค่างดงามด้วยฝีมือช่างโบราณที่มีความประณีต วิจิตรบรรจงมีรูปลักษณ์และลวดลายที่แตกต่างกันตามลำดับชั้นยศ เมื่อมีงานสำคัญผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศสามารถแต่งกายและนำเครื่องยศไปตั้งเป็นเกียรติยศ และใช้สอยได้ต่อหน้าพระพักตร์ภายในท้องพระโรง โดยมีการจำแนกเครื่องยศออกเป็น 7 หมวด ดังนี้
- หมวดเครื่องสิริมงคล ได้แก่ สังวาลและแหวนนพรัตน์ ประคำ 108 เม็ด ตะกรุด สายดิ่ง โดยบางอย่างไม่ใช่เพียงแต่เป็นเครื่องสิริมงคลอย่างเดียว ยังหมายถึงความสำคัญอันยิ่งยวดด้วย สำหรับประคำ 108 เม็ดและสายดิ่งนั้น พระราชทานให้เป็นเครื่องเตือนใจผู้ได้รับ ให้ปกครองตนและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม
- หมวดเครื่องศิราภรณ์ พระราชทานจำกัดอยู่ในบรรดาผู้มีอิสริยศักดิ์สูง ได้แก่ พระมงกุฎ พระชฎา พระราชทานเฉพาะเจ้านายในขัตติยราชสกุล พระมาลาเส้าสูงมียี่ก่าประดับขนนกการเวกสำหรับราชสกุลชั้นเจ้าฟ้า มาลาเส้าสะเทิ้นไม่มียี่ก่าสำหรับเจ้าพระยา ส่วนหมวกทรงประพาส พระราชทานแก่ข้าราชการตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง สำหรับเจ้าเมืองทางใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม จะพระราชทานผ้าโพกศีรษะแทนหมวกทรงประพาส
- หมวดเครื่องภูษณาภรณ์ ได้แก่ เสื้อที่พระราชทานตามลำดับของชั้นยศ มีหลายแบบ บางชั้นก็เดินดิ้นทองเป็นริ้วที่แขนที่คอ อาทิ เสื้อครุย ทำด้วยผ้ากรองทองหรือกรองเงิน ปักดิ้นทองเป็นดอกดวงหรือเป็นลายต่าง ๆ เช่น ลายก้านแย่ง ลายดอกกระจาย เป็นต้น นอกจากนั้น ก็มีผ้านุ่งสนับเพลา รัดประคด หรือผ้าคาดเอว
- หมวดเครื่องศัสตราวุธ ได้แก่ หอก ง้าว ปืน กั้นหยั่น ดาบ หรือกระบี่ โดยกระบี่ที่พระราชทานเป็นเครื่องยศนั้นมีหลายชนิด เช่น ตัวกระบี่ตีในรูปแบบธรรมดาบ้าง ทำเป็นสันปรุ คือ ปรุเนื้อเหล็กสันดาบให้เป็นลวดลายต่าง ๆ กัน เป็นต้น ฝักกระบี่มีทั้งฝักที่เรียกว่า บั้งเงิน บั้งทอง ฝักนาก ฝักทองคำเกลี้ยง ฝักทองคำจำหลักลาย และฝักทองคำลงยาราชาวดี ลักษณะของฝักก็มีทั้งชนิดที่เป็นรูปนาคเศียรเดียว นาคสามเศียร และรูปดอกบัว
- หมวดเครื่องอุปโภค เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น พานหมาก หีบหมาก คนโท เจียด กาน้ำ ขันน้ำ ที่ชา กระโถน เป็นต้น โดยการพระราชทานจะต่างกันในเรื่องของวัสดุที่ใช้ผลิต ได้แก่ เครื่องอุปโภคทองคำลงยาราชาวดีจะพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และสามัญชนที่ดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาจนถึงพระอัครมเหสี เครื่องอุปโภคทองคำลายสลักจะพระราชทานแก่พระองค์เจ้าต่างกรมลงมาจนถึงผู้ดำรงตำแหน่งพระยา
- หมวดเครื่องสูง ได้แก่ ฉัตร อภิรุมชุมสาย บังสูรย์ บังแทรก จามร กลด พัดโบก ฉัตรเบญจา สัปทน กรรชิง และธงทิวต่าง ๆ เครื่องยศหมวดนี้ บางอย่างเป็นเครื่องแสดงอิสริยยศ บางอย่างเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ ส่วนมากใช้เมื่อผู้มียศไปโดยกระบวนแห่ บางอย่างตั้งหรือแขวนประกอบเกียรติยศศพ และบางอย่างใช้ในกระบวนแห่ศพ
- หมวดยานพาหนะ ได้แก่ ราชรถ พระวอสีวิกากาญจน์ เสลี่ยง แคร่กัญญา เครื่องยศหมวดนี้มีการพระราชทานมาแต่โบราณ พระวอสีวิกากาญจน์ เป็นยานพาหนะสำหรับพระราชวงศ์ฝ่ายในชั้นสูง มีลักษณะคล้ายกับแคร่กัญญา แต่จะมีม่านทองสำหรับปิดกั้นไม่ให้คนภายนอกสามารถมองเห็นเจ้านายฝ่ายในได้ เสลี่ยงและแคร่กัญญามีลักษณะแตกต่างกัน คือ เสลี่ยง เป็นคานหามเปิดไม่มีหลังคา แคร่กัญญา หมายถึงคานหามประเภทมีหลังคา ขุนนางผู้ใหญ่บางตำแหน่งอาจได้รับพระราชทานทั้งสองประเภท
ปัจจุบันหลังจากที่ประเทศไทยได้ติดต่อกับตะวันตกมาตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาลที่สี่ การพระราชทานเครื่องยศ ได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา จึงมีการสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นแทน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่สี่ ที่ทำเป็นดวงดาราต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการตราพระราชบัญญัติและสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่างๆ เช่น จุลจอมเกล้า ช้างเผือก รามาธิบดี เป็นต้น การพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศ จึงงดไป เปลี่ยนไปเป็นการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบในแผ่นดินแทน
เครื่องยศขุนนางที่พระราชทานในสมัยกรุงสุโขทัย
แก้สำหรับพระราชทานให้เจ้าเมือง มีดังนี้
- นางศิขรเทวี (ลูกพระสนมจากอาณาจักรกัมพุช)
- พระแสงขรรค์ชัยศรี
- ราชทินนาม (เช่น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)
เครื่องยศขุนนางที่พระราชทานในสมัยกรุงศรีอยุธยา
แก้- ผู้ที่มีศักดินา 10,000 ไร่ ในเมืองหลวงได้รับพระราชทาน ขี่ยั่วกรรชิงหุ้มผ้าขาว
- ผู้ที่มีศักดินา 10,000 ไร่ ในหัวเมือง ได้รับพระราชทาน ขี่คานหามกรรชิงหุ้มผ้าขาว
- ผู้ที่มีศักดินา 5,000 ไร่ ขี่ยั่วร่มธงยู
- ผู้ที่มีศักดินา 3,000 ไร่ ขี่ยาน
- ผู้มีศักดินา 10,000 ไร่ กินเมืองทั้งสี่ฝ่าย มีร่มปลิกสองคัน ทานตะวันเบื้อหนึ่งคู่ กรรชิงหุ้มผ้าแดงหนึ่งคัน เรือกูบแมงดาคฤสามตอน บดลาดสาวตคุกหัวท้าย นั่งหน้าสองคานหาม เก้าอี้ทอง ศิรเพศมวยทอง แตรลางโพงสามคู่และปี่กลอง หากเดินทางมาถึงด่านขนอนหลวงให้ลดเครื่องทั้งหมดลง เหลือไว้แต่กรรชิงคานหาม
- ผู้มีศักดินา 10,000 ไร่ กินเมือง เครื่องประกอบยศมีดังนี้ หมวกล่วมทอง ขี่ยั่วยานกรรชิงหุ้มผ้าขาว เรือคฤสามตอน บดลาด ขี่ยานลายทอง เจียดเงินถมยาดำ รองตลุ่ม
- ผู้มีศักดินา 1,600 ไร่ เจียดเบื้อหักรองตลุ่มกั้ง
เครื่องยศสมเด็จเจ้าพระยา
แก้เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้ง เจ้าพระยาจักรี (ร. 1) เป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้พระราชทานเครื่องยศให้เทียบเท่า เจ้าต่างกรม มีดังนี้
สมัยกรุงธนบุรี | สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ |
---|---|
|
|
นอกจากนี้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ยังให้เพิ่ม จางวางทนายมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงหนึ่งคน ปลัดจางวางมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนหนึ่งคน สมุห์บัญชีมีบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นหนึ่งคน คอยติดตามรับใช้
เครื่องยศเจ้าพระยา
แก้สมัยกรุงศรีอยุธยา
- แผ่นดินสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 1
- ลูกพระสนมเอกหนึ่งองค์ สำหรับเป็นภริยา
- เจียดทองหนึ่งคู่
- พานทองหนึ่งคู่
- เต้าน้ำทอง
- กระบี่กั้นหยั่น
- เสลี่ยงงา และเสลี่ยงกลีบบัว
- แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
สำหรับขุนพิเรนทรเทพ เป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา เจ้าเมืองพิษณุโลก
- พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระสวัสดิราช เป็น พระอัครมเหสี
- เรือชัยพื้นดำ พื้นแดงหนึ่งคู่
- เครื่องราชกุกภัณท์
ขุนอินทรเทพ เป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
- ลูกพระสนมเอกหนึ่งองค์
- เจียดทองหนึ่งคู่
- พานทองหนึ่งคู่
- เต้าน้ำทอง
- กระบี่กั้นหยั่น
- เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว
- เครื่องสูง
หลวงศรีคงยศ เป็น เจ้าพระยามหาเสนา พระราชทานลูกพระสนม เครื่องสูง เครื่องทอง เสลี่ยงงา เสลี่ยงกลีบบัว หมื่นราชเสน่หา เป็น เจ้าพระยามหาเทพ ได้รับพระราชทานเหมือน เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งตั้งเจ้าพระยาวิชชาเยนทร์ พระราชทาน เสลี่ยงงา มีคนแห่หน้า ขณะเฝ้าให้นั่งเบาะสูงหนึ่งศอก และเครื่องอุปโภค
สมัยกรุงธนบุรี
พระเจ้ากรุงธนบุรีพระราชทานให้เจ้าพระยาสุรสีห์ เพิ่มเติมจากสมัยอยุธยาคือ ร่มแพรแดงมีระย้า ด้ามปิดทอง ทั้งนี้ในสมัยโบราณ ร่มเป็นเครื่องยศคู่กับคานหาม ตามบรรดาศักดิ์ กำหนดชั้นตรงที่หุ้มผ้าแดงหรือผ้าขาว ถ้าหุ้มผ้าแดงเป็นเครื่องยศของเจ้านายเทียบด้วยหลานหลวงในวัง ถ้าหุ้มผ้าขาวใช้สำหรับขุนนางสามัญชน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าพระยาสัญญาบัฎ
(จารึกแผ่นกระดาษ) |
เจ้าพระยาหิรัญบัฏ
(จารึกแผ่นเงิน) |
เจ้าพระยาสุพรรณบัฏ
(เจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี) (จารึกแผ่นทอง) |
---|---|---|
|
|
|
เครื่องยศพระยา
แก้พระยาผู้มีศักดินา 10,000 ไร่
สมัยกรุงศรีอยุธยา | สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ |
---|---|
|
ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง
พระยากรมท่าซ้าย ได้รับเพิ่ม คือ พานหมากเหลี่ยมจำหลักลายสำเภา คนโททองคำ กระโทนทองคำ สมปัตปูมพอก |
เครื่องยศต่ำกว่าพระยา
แก้บรรดาศักดิ์พระ ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมือง (เทียบเท่ารองผู้ว่าราชการจังหวัด) ได้รับพระราชทาน ถาดทอง คนโททอง
ตำแหน่งปลัดเมือง (เทียบเท่า ปลัดจังหวัด) ได้รับพระราชทาน เสื้อผ้าหนึ่งสำรับ ถาดกะไหล่ทอง คนโทกะไหล่ทอง
บรรดาศักดิ์หลวงตำแหน่งยกกระบัตร (เทียบเท่า อัยการ) ได้รับพระราชทาน เสื้อผ้าหนึ่งสำหรับ ถาดเงิน คนโทเงิน
เครื่องยศสำหรับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
แก้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกการพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศสำหรับขุนนางตามบรรดาศักดิ์ไป และเปลี่ยนมาพระราชทานให้แก่ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแทน
ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ และ ปฐมจุลจอมเกล้า | ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และ ทุติยจุลจอมเกล้า | ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ |
---|---|---|
|
|
|
หมายเหตุ :
ผู้ที่ได้รับพระราชทานชั้นปฐมจุลจอมเกล้า เทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "เจ้าพระยา"
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ - ทุติยจุลจอมเกล้า เทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "พระยาพานทอง"
ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "พระยาโต๊ะทอง"
ตติยจุลจอมเกล้า เทียบเท่ากับบรรดาศักดิ์ "พระ"
เครื่องยศที่พระราชทานให้แก่ราชตระกูลในสมัยรัชกาลที่ 5
แก้ราชตระกูลฝ่ายหน้า (บุรุษ) เมื่อโสกันต์ (โกนจุก) ราว 11-13 ชันษา
- พระสุพรรณบัฏและคำประกาศ
- เครื่องราชสังกากรณ์
- พระมาลาตาดทองเกี้ยวกรอบทองคำลงยาราชาวดีประดับเพชร มียี่ก่ำทองคำลงยาประดับเพชรปีกขนนกการเวก
- พระมหาสังวาลย์นพรัตน์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
- พระแสงญี่ปุ่นฝักถมลงยาราชาวดีทรงเดิม
- พระแสงกระบี่สันปรุกร่ำทอง ฝักศีรษะนาคลงยาราชาวดีประดับพลอย
- พระแสงกั้นหยั่นลงยาราชาวดีประดับพลอยแดง
- พานหมากทองคำลงยาราชาวดี พร้อมเครื่องใน 8 สิ่งทำด้วยทองคำลงยาราชาวดี คือ มังษี 2,ผอบ 2,ซองพลู, ซองบุหรี่ มีด และ ตลับภู่พร้อมไม้แคะพระทนต์ ไม้ควักพระกรรณ
- พระเต้าทองคำลงยาราชาวดี
- บ้วนพระโอษฐ์ทองคำลงยาราชาวดี
- ที่พระสุธารสทองคำ ประกอบด้วย สำเภาทองคำรองถ้วยหยก ถ้วยหยกฝาครอบขอบหุ้มทองคำ ถาดทองคำลายสลัก และ กาน้ำเสวยทองคำ
- ประคำทองคำ 108 เม็ดหนึ่งสาย
- สายดิ่งทองคำหนึ่งสาย
- พระสังวาลย์พระนพน้อย
- พระธำมรงค์ประจำวัน
- พระธำมรงค์มรกตเป็นพระลัญจกรประทับครั่ง
- พระลัญจกรประทับชาด
- พระที่นั่งพุดตานฝ่ายบวร
- กาน้ำเสวยทรงกระบอกทองคำลายสลัก
- พระตะกรุดโทนทองคำลงยาราชาวดี
- พระตะกรุดทองคำ 7 ดอกหนึ่งสาย
เจ้าฟ้าชาย (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า)
แก้- พระสุพรรณบัฏ
- พระเครื่องต้น
- พระเครื่องเทศ
- พระมงกุฎ หรือ พระชฎามหากฐิน
- เครื่องแต่งพระองค์ประกอบด้วย ฉลองพระองค์เครื่องปักทองแล่ง ขลิบทองคำใบ และพระภูษาขาว
- เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
- พระสังวาลย์พระนพรัตน์น้อย
- พระแสงญี่ปุ่นฝักถมลงยาราชาวดี
- พระแสงกระบี่ปรุคร่ำทอง ฝักและด้ามศีรษะนาคลงยาราชาวดีประดับพลอย
- พระแสงกั้นหยั่นลงยาราชาวดีประดับพลอย
- พานหมากเสวยทองคำลงยาราชาวดีพร้อมเครื่องใน 8 สิ่ง
- พระเต้าทองคำลงยาราชาวดี
- บ้วนพระโอษฐ์ทองคำลงยาราชาวดี
- หีบหมากเสวยทองคำลงยาราชาวดี
- ที่พระสุธารสทองคำ
- กาน้ำเสวยทองคำทรงกระบอก
- พระประคำทองคำ
- พระสายดิ่ง
- พระธำมรงค์นพเก้า
- พระธำมรงค์ประจำวันทองคำรูปหนู
- พระธำมรงค์มรกตเป็นพระลัญจกรประทับครั่ง
- พระลัญจกรประทับครั่ง
- พระธำมรงค์นพรัตน์
- พระตะกรุดโทนทองคำลงยาราชาวดี
- พระตะกรุดทองคำ 7 ดอกหนึ่งสาย
- พระสุพรรณบัฏ
- พระชฎามหากฐิน
- พระเครื่องต้น
- เครื่องแต่งพระองค์
- พระสังวาลย์พระนพรัตน์น้อย
- พานหมากเสวยทองคำลงยาราชาวดี พร้อมเครื่องใน 8 สิ่ง
- พระเต้าทองคำลายสลัก พร้อมพานรอง
- บ้วนพระโอษฐ์ทองคำลงยา
- หีบหมากเสวยทองคำลงยา
สำหรับพระองค์เจ้าชาย ที่ไม่ทรงกรมจะได้รับพระราชทานเช่นเดียวกับพระองค์เจ้าทรงกรม แต่ไม่ลงยา
- เครื่องแต่งพระองค์
- พานหมากเสวยทองคำลายสลักกลม พร้อมเครื่องในทองคำลายสลัก 8 สิ่งคือ มังษี 2, ผอบ 2, ซองพลู, ซองบุหรี่ มีด ตลับภู่
- คนโททองคำลายสลักพร้อมพานรอง
- บ้วนพระโอษฐ์ทองคำลายสลัก
- หีบหมากทองคำ
ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศอย่างไร แต่สันนิษฐานว่าจะได้รับพระราชทานในชั้นเดียวกับขุนนางสามัญชนบรรดาศักดิ์ คุณพระ คือ
- พานหมากทองคำลายสลักพร้อมเครื่อง 8 สิ่ง
- คนโททองคำลายสลัก พร้อมพานรอง
- กระโถนเงิน
ฝ่ายใน (สตรี)
แก้- ราชกกุธภัณฑ์ ประกอบด้วย ฉัตร 7 ชั้น มงกุฎ (ครอบมงกุฎ) และฉลองพระบาท
- พระสุพรรณบัฏ
- ศิราภรณ์ พร้อมครอบมงกุฎ
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
- พระสังวาลย์ประกอบด้วย พระสังวาลย์นพรัตน์น้อย พระมหาสังวาลย์นพรัตน์น้อย
- พระธำมรงค์นพเก้า และพระธำมรงค์ประจำวัน
- พระราชลัญจกรประทับครั่ง
- เครื่องสูง ประกอบด้วย พระมหาเศวตฉัตร 7 ชั้น บังแซก พัดโบก พระกลด จามร
- เครื่องประโคม
- พระราชยาน
- เครื่องนมัสการ
- เครื่องราชินูปโภค ประกอบด้วย
- พานพระศรีลงยาราชาวดีขอบฝังทับทิม พร้อมด้วยจอกทองคำลงยาราชาวดี ผอบทองคำลงยาราชาวดียอดปริกประดับเพชร ซองพระศรีทองคำขอบบนล่างประดับทับทิม ตลับภู่ประดับทับทิมและเพชร มีไม้ควักพระกรรณ มีดด้ามทองคำลงยาประดับทับทิม
- พระสุพรรณศรีทองคำลงยาราชาวดีขอบประดับทับทิม
- ขันพระสุธารสทองคำลงยา พร้อมพานรองลงยาราชาวดีขอบประดับพลอยแดง และจอกทองคำลงยา
- ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมพานรองลงยาของประดับทับทิมและคลุมปัก
- หีบพระศรีทองคำลายกอบัวตรามงกุฎประดับเพชร ทับทิม มรกต มีตลับทองคำลงยาลายกอบัว ที่ฝาตลับมีมงกุฎพร้อมเพชรล้อมสามชั้น
- กาพระสุธารสทองคำลงยามีสร้อยโยงพร้อมพานรองทองคำของประดับเพชร
- กล่องตราพระจุลจอมเกล้า พร้อมตลับซีก 4 ตลับ พร้อมพานรองลงยาราชาวดี ขอบประดับทับทิม
- เครื่องนมัสการ
- พระราชยาน
- เรือพระที่นั่ง
- พระโกศทองใหญ่
- พระกลด
ตัวอย่างเช่น เครื่องราชอิสริยยศสำหรับสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เทียบเท่าเจ้าต่างกรมชั้นกรมสมเด็จพระ) หรือ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ให้รับ พระราชบัญชา (คือคำสั่งของสมเด็จพระเทพฯ)
- พระสุพรรณบัฏและคำประกาศ
- พระสัปตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร 7 ชั้น)
- เครื่องราชอลังกรณ์
- พระมหาสังวาลย์นพรัตน์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
- พานหมากเสวยทองคำลงราชาวดีพร้อมเครื่องใน 8 สิ่ง คือ มังษี 2 ผอบ 2 ซองพระศรี ซองบุหรี่ มีด และตลับภู่พร้อมไม้ควักพระกรรณ 1 คู่
- พระเต้าทองคำลงราชาวดี
- บ้วนพระโอษฐ์ทองคำลงยา
- หีบหมากเสวยทองคำลงยา
- ที่พระสุธารสทองคำ
- สังวาลย์พระนพน้อย
- พระธำมรงค์นพเก้า
- พระธำมรงค์ประจำวัน
- พระธำมรงค์มรกตเป็นพระลัญจกรประทับครั่ง
- พระลัญจกรประทับชาด
- พระที่นั่งพุดตานฝ่ายบวร
- พระราชยานกง
- ขันพระสุธารสทองคำลงยาขอบประดับทับทิม พร้อมพานรองและจอกทองคำลงยาราชาวดี
- ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยาพร้อมพานรองลงยาขอบประดับทับทิมและคลุมปัก
- กล่องตราพระจุลจอมเกล้าพร้อมตลับซีก 4 ตลับ พร้อมพานรองทองคำลงยาขอบประดับทับทิม
- พระสุพรรณบัฏและคำประกาศ
- ศิราภรณ์
- สังวาลย์
- พระธำรงค์นพเก้า
- เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
- พานพระศรีทองคำลงราชาวดี ขอบประดับทับทิมพร้อมเครื่องในคือ จอกทองคำลงยาราชาวดี ผอบทองคำยอดปริกประดับเพชร ซองพระศรีขอบประดับเพชร ตลับภู่ประดับเพชรและทับทิม มีไม้ควักพระกรรณ มีดด้ามหุ้มทองคำลงยาประดับพลอย
- ขันพระสุธารสทองคำลงยา พร้อมจอกทองคำลงยา พร้อมพานรองทองคำลงยา ขอบประดับทับทิม
- ขันสรงพระพักตร์ทองคำลงยา พร้อมพานรองทองคำลงยาขอบประดับทับทิมและคลุมปัก
- หีบพระศรีทองคำลงยาหลังตรามงกุฏประดับเพชร
- กาพระสุธารสทองคำมีสร้อยโยง พร้อมพานรองกา
- กล่องตราจุลจอมเกล้าพร้อมพานรองลงยาขอบประดับทับทิม
- พระราชยาน
- พระสุพรรณบัฏ
- เครื่องศิราภรณ์ (มงกุฎ)
- เครื่องแต่งพระองค์
- เครื่องสังวาลย์พระนพรัตน์น้อย
- พานหมากเสวยทองคำลงยา พร้อมเครื่องในทองคำลงยา 8 สิ่งคือ มังษี 2 ผอบ 2 ซองพระศรี ซองบุหรี่ มีด และตลับภู่พร้อมไม้ควักพระกรรณ
- กาพระสุธารสทองคำ พร้อมถาดรอง
- บ้วนพระโอษฐ์ทองคำลงยา
- หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยาหลังตราจุลมงกุฎประดับเพชร
- ราชยาน
ส่วนพระองค์เจ้าไม่ทรงกรมได้รับพระราชทานเช่นเดียวกับพระองค์เจ้าทรงกรมแต่ไม่ลงยา
- เครื่องแต่งพระองค์
- พานหมากเสวยทองคำลายสลักกลม พร้อมเครื่องในทองคำลายสลัก 8 สิ่งได้แก่ มังษีทองคำลายสลัก , ผอบทองคำลายสลัก , ซองพระศรีทองคำลายสลัก , ซองบุหรี่ทองลายสลัก , มีดด้ามหุ้มทองลายสลัก และตลับภู่ทองลายสลัก
- บ้วนพระโอษฐ์ทองคำลายสลัก
- เต้าน้ำทองคำลายสลัก
- หีบหมากไม้แดงหุ้มทองคำลงยา
- ราชยาน
สำหรับ หม่อมราชวงศ์ (ฝ่ายใน) ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าได้รับพระราชทานเครื่องยศอะไร
- พระภรรยาเจ้า (พระราชชายา, พระวรราชชายา) ได้รับพระราชทาน
- หีบหมากทองคำลงยาราชาวดี ประดับรัตนชาติ
- พานพระศรีทองคำลายสลักลงยาราชาวดีพร้อมเครื่อง 8 สิ่งคือ มังษีทองคำลายสลัก , ผอบทองคำลายสลัก , ซองพระศรีทองคำลายสลัก , ซองบุหรี่ทองคำลายสลัก , มีดด้ามหุ้มทองคำลายสลัก และตลับภู่ทองคำลายสลัก
- พระสุพรรณศรีทองคำลายสลักลงยาราชาวดี
- พระสนมเอก ที่ถือศักดินา 1,000ไร่ ได้รับพระราชทาน
- หีบหมากทองคำลายสลัก
- พานหมากทองคำลายสลักพร้อมเครื่อง 8 สิ่งคือ มังษีทองคำลายสลัก , ผอบทองคำลายสลัก ,ซองพลูทองคำลายสลัก , ซองบุหรี่ทองคำลายสลัก , มีดด้ามหุ้มทองคำลายสลัก และตลับภู่ทองคำลายสลัก
- กระโถนทองคำลายสลัก
- คุณท้าวนางสนองพระโอษฐ์ ถือศักดินา 1,000ไร่ ได้รับพระราชทาน หีบหมากทองคำจำหลักเชิงชาย, กาทองคำจำหลักเชิงชาย, ขันล้างหน้าทองคำพร้อมพานรอง, กระโถนทองคำจำหลักเชิงชาย, โต๊ะเงิน
- พระสนม ได้รับพระราชทาน หีบหมากทองคำลายสลักลงยาราชาวดี, พานทองคำ
- เจ้าจอมมารดา ได้รับพระราชทาน หีบหมากทองคำลายสลัก, พานทองคำ
- เจ้าจอม ได้รับพระราชทาน หีบหมากทองคำ
- นางอยู่งาน, นางพระกำนัล ได้รับพระราชทาน หีบหมากเงินกะไหล่ทอง
สตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
แก้- ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน ป.จ.
- กระโถนทองคำ
- หีบหมากไม้แดงทองคำลงยา
- กาทองคำ พร้อมโต๊ะทอง
- ขันน้ำทองคำ
- ผ้าปักทองแล่ง
- ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายใน ท.จ.ว. (เนื่องจากผู้ที่พระราชทานในชั้น ป.จ. และ ท.จ.ว. มีบรรดาศักดิ์เสมอภรรยาของขุนนางชั้นเจ้าพระยา ในสมัยก่อน จึงโปรดให้ผู้ที่ได้รับพระราชทานใน 2ชั้นนี้ใช้คำนำหน้านามว่า ท่านผู้หญิง ได้ เมื่อสมรสแล้ว) เครื่องยศเหมือนสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า แต่จะไม่ได้รับพระราชทาน ขันนํ้าทองคำ
ผู้ที่ได้รับพระราชทานชั้นที่ต่ำกว่านี้ คือ ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) ฝ่ายใน ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) ฝ่ายใน จตุตถจุลจอมเกล้า (จ.จ.) ฝ่ายใน ได้รับพระราชทานหีบหมากทองคำปักดวงตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และ ผ้าแพรห่ม
สตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. , ต.จ. และ จ.จ. จะมีบรรดาศักดิ์เสมอภรรยาของขุนนางชั้น พระยา สามารถใช้คำนำหน้านามว่า คุณหญิง ได้ เมื่อสมรสแล้ว (แต่หากมียศหรือตำแหน่งอื่นเพิ่มเติม ก็อาจได้รับพระราชทานเครื่องยศเพิ่มอีกเป็นกรณีไป)
อ้างอิง
แก้- หนังสือเครื่องอิสริยยศพระบรมราชวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ โดย ศ.ดร.ม.ร.ว. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์
- หนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- หนังสือวิวัฒนาการเงินตราไทย กรมธนารักษ์