สวาหา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สวาหา (สันสกฤต: स्वाहा) เป็นคำศัพท์ที่พบในศาสนาฮินดูแปลว่า "กล่าวดีแล้ว" ("well said") เป็นคำกล่าวเมื่อจบมนตร์[3] ในภาษาทิเบต แปลคำว่าสวาหาว่า "แล้วจึงเป็นสิ่งนั้น" ("so be it") และมักออกเสียงว่า "โซฮา" (soha) มากกว่า นอกจากนี้ในฤคเวทยังแปลว่า "การถวายบูชา" (แด่พระอัคนีหรือพระอินทร์) ในทางบุคลาธิษฐาน (personification) ในศาสนาฮินดู ยังถือเป็นเทวีองค์หนึ่งในศาสนาฮินดู เป็นชายาของพระอัคนี เทพเจ้าแห่งไฟ[4]
พระแม่สวาหา (แม่พระเพลิง) स्वाहा | |
---|---|
ชายาพระเพลิง เทพนารีแห่งไฟ[1]และ นรก ชีวิตหลังความตาย แม่ ชีวิต การสมรส | |
ส่วนหนึ่งของ เทพีผู้รักษาอัฐโลกบาล เทพีแห่งไฟ | |
ชื่ออื่น | แม่พระเพลิง (ในภาษาไทย) เจ้าแม่พระเพลิง (ในภาษาไทย) อัคคีเทวี อัคนีศักติ โยคินี |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ศักติพระเพลิง พระเทวี เทพีอัฐโลกบาล เทพมารดร นิกายศักติ อาทิปราศักติ |
ที่ประทับ | ไฟในพิธีกรรมยัญของโหมกูณฑ์ เทวสภา ปัญจภูต |
มนตร์ | เทวีสวาหามนตร์ |
พาหนะ | แกะ แพะ แรด ระมาด ราชรถอัคนีสีทองเทียมม้าอัคนีสีแดง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระเพลิง[2] |
บุตร - ธิดา | ปาวกา ปาวะมานณะ ศุจิ พระสกันทะ(บุตรบุญธรรม) |
เทพที่เทียบเท่าในความเชื่ออื่น | |
เทียบเท่าในกรีก | พระแม่อะกลีอา |
เทียบเท่าในโรมัน | พระแม่อะกลีอา |
ในศาสนาฮินดู
แก้ในฐานะที่เป็นเทวี พระนาม สวาหา ในฤคเวทอาจหมายถึง "เครื่องบูชา" ที่ส่งผ่านไป ในบางปุราณะ พระนางเป็นหนึ่งในเทพมารดาผู้ดูและอุมถัมป์ของพระขันทกุมารก่อนส่งถวายคืนพระปารวตี และยังเป็นเทพมารดาของนางอาคเนยี (आग्नेयी) ธิดาของพระอัคนี และได้รับการยกย่องว่าเป็นบุตรีของท้าวทักษะและนางประสูติ และเป็นภคินีต่างมารดาของพระสตี (อดีตชาติของพระปารวตี) นอกจากนี้พระนางถือเป็นประธานในการบูชาในพิธีโดยเฉพาะพิธีโหมกูณฑ์และยัชญะ โดยคำว่า 'สวาหา' นั้นถูกเปล่งออกมาในระหว่างการสังเวย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Hertel, Bradley R.; Humes, Cynthia Ann (January 1993). Living Banaras: Hindu Religion in Cultural Context. ISBN 9780791413319.
- ↑ Antonio Rigopoulos (1998). Dattatreya: The Immortal Guru, Yogin, and Avatara: A Study of the Transformative and Inclusive Character of a Multi-faceted Hindu Deity. State University of New York Press. p. 72. ISBN 978-0-7914-3696-7.
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 1186
- ↑ https://vedicgoddess.weebly.com/goddess-vidya-blog/svaha-the-wife-of-fire
- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4