ในศาสนาอินเดีย โหมะ (อักษรเทวนาครี: होम) หมายถึงพิธีไฟที่ประกอบในโอกาสพิเศษโดยนักบวช โดยมักประกอบพิธีนี้แก่ผู้ครองเรือน ("คฤหัสถ์")[1][2] บางทีอาจเรียกพิธีโหมะว่าเป็น "พิธีบูชายัญ" เนื่องจากไฟในพิธีจะเผาทำลายเครื่องสักการะ เช่น ธัญพืช, กี, นม, ธูป และเมล็ดพันธุ์[1][3]

พิธีโหมะ

โหมะมีที่มาจากศาสนาพระเวท[4] และถูกนำมาปรับใช้ในสมัยโบราณทั้งในศาสนาพุทธและศาสนาเชน[1][3] พิธีปฏิบัตินี้ยังแพร่หลายจากอินเดียไปสู่เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] พิธีโหมะยังคงเป็นส่วนสำคัญในพิธีการฮินดูจำนวนมาก และยังมีรูปแบบต่าง ๆ ที่ยังปฏิบัติอยู่ในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะในแถบทิเบตและญี่ปุ่น[4][5] รวมถึงในศาสนาเชนยุคใหม่เช่นกัน[4][6]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Richard Payne (2015). Michael Witzel (บ.ก.). Homa Variations: The Study of Ritual Change Across the Longue Durée. Oxford University Press. pp. 1–3. ISBN 978-0-19-935158-9.
  2. Hillary Rodrigues (2003). Ritual Worship of the Great Goddess: The Liturgy of the Durga Puja with Interpretations. State University of New York Press. pp. 329 with note 25. ISBN 978-0-7914-8844-7.
  3. 3.0 3.1 Axel Michaels (2016). Homo Ritualis: Hindu Ritual and Its Significance for Ritual Theory. Oxford University Press. pp. 237–248. ISBN 978-0-19-026263-1.
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Witzel2015p143
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ mushashit126
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ phyllisgranoff399