ฆี

(เปลี่ยนทางจาก Ghee)

ฆี หรือ กี (อักษรโรมัน: Ghee) เป็นเนยใสประเภทหนึ่งที่มีที่มาจากอนุทวีปอินเดีย ใช้งานทั้งในการประกอบอาหาร, เป็นยารักษาโรค และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา ฆีเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประกอบอาหารต่าง ๆ ของอนุทวีปอินเดีย ตั้งแต่บิรยานีไปจนถึงพวกของทอดกรอบ องค์ประกอบรสหลักของฆีมาจากสารคาร์บอนิล, กรดไขมันอิสระ, แล็กโทน และ แอลกอฮอล์[1] ฆีเป็นไขมันที่นำมาใช้ทอดกรอบได้ดีเนื่องจากมีจุดเกิดควันอยู่ที่ 250 องศาเซลเซียส (482 องศาฟาเรนไฮต์) ซึ่งสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส (392 องศาฟาเรนไฮต์) และสูงกว่าจุดเกิดควันของน้ำมันพืชส่วนใหญ่[2]

ฆี
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน3,690 กิโลจูล (880 กิโลแคลอรี)
99.8 g
อิ่มตัว64.9 g
0.2g
แร่ธาตุ
โพแทสเซียม
(0%)
6.5 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่

สูตรสำหรับทำฆีตามธรรมเนียมแบบอายุรเวท ระบุว่าทำโดยการนำนมดิบมาต้มเดือด ทิ้งไว้ให้เย็นลงที่อุณหภูมิห้องนาน 12 ชั่วโมง จากนั้นเติมดาหี (โยเกิร์ต) และทิ้งไว้ข้ามคืน จากนั้นนำไปคนกับน้ำ และนำไปเคี่ยวกลายเป็นฆี[3]

ศัพทมูล แก้

คำว่า ghee มาจากคำว่า "ฆฤต" (สันสกฤต: घृत; ghṛta-, สัทอักษรสากล: [ɡʱr̩tɐ]) 'เนยใส', จากราก ฆฤ- 'โปรย'[4] ส่วนในภาษากลุ่มทราวิฑ เรียกฆีว่า นฺยฺยิ (เตลูกู: నెయ్యి; neyyi), นฺยฺ (ทมิฬ: நெய் หรือ ตุปปะกัม; துப்பகம் (tuppakam)), นฺยฺยฺ (มลยาฬัม: നെയ്യ് (ney))[5] และ ตุปฺป (กันนาดา: ತುಪ್ಪ (thuppa))[6] คำว่า เนย ในภาษาไทยมีที่มาจาก นฺยฺ ในภาษาทมิฬ

ฆีต่างกับเนยใสเล็กน้อยที่ขั้นตอนการผลิต ขบวนการผลิตเนยใสโดยทั่วไปจะเสร็จสิ้นเมื่อน้ำระเหยออกและแยกไขมัน (เนยใส) ออกจากเนื้อนมที่เหลือ ในขณะที่การผลิตฆีต้องมีการเคี่ยวเนยนั้น ซึ่งทำให้ฆีมีรสคล้ายถั่วและมีกลิ่นหอม[7][8][9][10]

ในศาสนาฮินดูและพุทธ แก้

ฆีปรากฏในการบูชา มูรติ ด้วย อารตี หรือการบูชาเพลิงจากตะเกียงที่ใช้ฆี ที่เรียกว่า ทีป และในการบูชา ปัญจามฤต (Pañcāmṛta) ซึ่งถวายบูชาฆี, มิศรี, น้ำผึ้ง, นม และ ดาหี เพื่อชำระล้างเทวรูปของพระกฤษณะในเทศกาลชนมาษฏมี หรือ พระศิวะในเทศกาลมหาศิวราตรี นอกจากนี้ในศาสนาฮินดูยังมีบทสวดบูชาที่มีการระบุถึงฆีด้วย[11] ส่วนใน มหาภารตะ เล่าว่าตระกูล เการวะ เกิดมาจากหม้อฆี[12]

นอกจากนี้ยังมีการใช้ฆีผสมใน ภาง เพื่อให้ความร้อนแก่กัญชาเกิดกระบวนการดีคาร์บอกซีเลชั่น ทำให้กัญชาสามารถออกฤทธิ์ทางจิตประสาทได้[13][14]

ในวรรณกรรมศาสนาพุทธยังมีการเปรียบเปรยขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์จากนมกับขั้นต่าง ๆ ของการตรัสรู้ โดยผลผลิตขั้นสูงสุด สรปิรมณฑ์ นั้นว่ากันว่าคือฆีหรือเนยใส[15]

คุณค่าทางสารอาหาร แก้

ฆีประกอบไปด้วยไขมันเกือบทั้งหมด โดย 62% คิดเป็นไขมันอิ่มตัว[16] นอกจากนี้ ฆีแบบจำหน่ายที่พบทั่วไปในอินเดียยังมีองค์ประกอบของไขมันทรานส์อยู่มาก[17] ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ ฆียังเต็มไปด้วยออกซิไดส์ดคลอเลสเตอรอล อยู่ที่ 259 μg/g หรือคิดเป็น 12.3% ของปริมาณคลอเรสเตอรอลทั้งหมดในฆี[18][19] ส่วนแลกโทส กับ เคซีน นั้นมีน้อยมากในฆี ทำให้สามารถรับประทานได้ในผู้ที่มีภาวะไม่ต้านทานต่อแลกโทส[20][21]

อ้างอิง แก้

  1. Rama Murthy, M.K. (1980). "Factors Affecting the Composition, Flavour and Textural Properties of Ghee" (PDF). Indian Dairyman. 32: 765–768.
  2. "What are the advantages and disadvantages of butter and ghee when it comes to cooking?". whfoods.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2015. สืบค้นเมื่อ 11 May 2015.
  3. Joshi, KS (2014). "Docosahexaenoic acid content is significantly higher in ghrita prepared by traditional Ayurvedic method". J Ayurveda Integr Med. 5 (2): 85–88. doi:10.4103/0975-9476.131730. PMC 4061595. PMID 24948858.
  4. as contrasted with navanīta 'fresh butter': Carl Darling Buck, A Dictionary of Selected Synonyms in the Principal Indo-European Languages, 1949, reprinted 1992 ISBN 0226079376, p. 399, §5.89 'Butter'
  5. Fabricius, Johann Philipp (1972). J.P. Fabricius's Tamil and English dictionary. Tranquebar : Evangelical Lutheran Mission Pub. House. OCLC 744777832.
  6. Kittel, F. (1968). Kittel's Kannaḍa-English dictionary. University of Madras. OCLC 132132.
  7. Landis, Denise (2003). All About Ghee New York Times - Food Chain
  8. Iyer, Raghavan (2008). 660 Curries, p. 21. New York: Workman Publishing ISBN 978-0-7611-3787-0
  9. Jaffrey, Madhur (1982). Madhur Jaffrey's Indian Cooking, p. 211. London: BBC Books. ISBN 0-8120-6548-4
  10. Sahni, Julie (1998). Julie Sahni's Introduction to Indian Cooking, p. 217 under "usli ghee." Berkeley: Ten Speed Press. ISBN 0-89815-976-8
  11. Language and Style of the Vedic Rsis, Tatyana Jakovlevna Elizarenkova (C) 1995, p. 18.
  12. Fitzgerald, James L.; Adrianus, Johannes; Buitenen, Bernardus (2003-02-15). The Mahabharata, Volume 7: Book 11: The Book of the Women Book 12 ..., Part 1. p. 613. ISBN 9780226252506.
  13. Gottlieb, Adam (1993). Cooking with Cannabis: The Most Effective Methods of Preparing Food and Drink with Marijuana, Hashish, and Hash Oil. Ronin Publishing. p. 7. ISBN 978-0-914171-55-3.
  14. Drake, Bill (2002). The Marijuana Food Handbook. Ronin Publishing. p. 18. ISBN 978-0-914171-99-7.
  15. Petzold, Bruno (1995). The Classification of Buddhism. ISBN 9783447033732.
  16. "Nutrition data for Butter oil, anhydrous (ghee) per 100 gram reference amount". US Department of Agriculture, National Nutrient Database. May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 March 2018.
  17. Mahapatra, Deepti (18 October 2010). "Evaluation of trans fatty acids contents in commercial brands of ghee available at Indian markets". Scientific Research and Essays. 5 (20): 3193–3200.
  18. Otaegui-Arrazola, A.; Menéndez-Carreño, M.; Ansorena, D.; Astiasarán, I. (December 2010). "Oxysterols: A world to explore". Food and Chemical Toxicology. 48 (12): 3289–3303. doi:10.1016/j.fct.2010.09.023. hdl:10171/22994. ISSN 1873-6351. PMID 20870006.
  19. Jacobson, M. S. (1987-09-19). "Cholesterol oxides in Indian ghee: possible cause of unexplained high risk of atherosclerosis in Indian immigrant populations". Lancet. 2 (8560): 656–658. doi:10.1016/s0140-6736(87)92443-3. ISSN 0140-6736. PMID 2887943. S2CID 19854410.
  20. Heid, Markham (22 April 2019). "Is Ghee Healthy? Here's What the Science Says". Time. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.
  21. Abarbanel, Aliza (5 April 2018). "What Is Ghee, the Clarified Butter We Could Eat by the Spoon?". Bon Appétit. สืบค้นเมื่อ 10 April 2021.