พระอัคนี
พระอัคนี (สันสกฤต: อคฺนิ, อัคนิ अग्नि) เป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพแห่งไฟ และเป็นเทพโลกบาลประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) พระอัคนีมี ๓ พระรูปทรงได้แก่ อัคนี วิทยุต (สายฟ้า) และดวงอาทิตย์และเป็นพระสวามีของนางสวาหาเทพธิดา [2]
พระอัคนี | |
---|---|
เทพเจ้าแห่งไฟและการบูชายัญ ผู้เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเทพ | |
พระอัคนี ในคติอินเดีย ทรงดาบ,พัด ทรงแกะเป็นพาหนะ | |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | अग्नि |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทพโลกบาล เทพคณะปัญจภูตะ และเทพคณะวสุ |
ที่ประทับ | อัคนิโลก |
อาวุธ | ขวาน,หอกอัคนี,ศรอาคเนยาสตร์,คันธนูคาณฑีวะ,คบไฟ,ถ้วยน้ำมัน,ไม้เท้า,ดาบ,ดอกบัว,พัด,คัมภีร์,จักร,ช้อนตักน้ำมัน,ธง,คทา,ลูกประคำ ฯลฯ |
พาหนะ | แกะ,แพะ,แรด,ระมาด,ราชรถอัคนีสีทองเทียมม้าอัคนีสีแดง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระนางสวาหา[1] |
บุตร - ธิดา | พระปาวกะ,พระปวมาน,พระศุจิ,นีละ (วานรในรามายณะ),นิลนนท์ (วานรในรามเกียรติ์) |
บิดา-มารดา |
|
ตามตำนานเล่าว่า พระอัคนี เป็นบุตรของพระกัศยปเทพบิดร กับพระแม่อทิติ แต่จากตามที่ค้นพบหลักฐานเก่าที่สุดคือในสมัยพระเวท มีคัมภีร์กล่าวว่า พระอัคนีเป็นบุตรของพระภูเทวี มีพระบิดาชื่อว่า พระทยาอุส ซึ่งเป็นผู้ครองชั้นฟ้าเก่าที่สุดของศาสนาพราหมณ์ ในวิษณุปุราณะ กล่าวว่า พระอัคนีเป็นบุตรของพระพรหม บางทีก็ว่าเป็นองค์เดียวกับพระพฤหัสบดี ในยุคพระเวทได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสามเทพสูงสุด อันได้แก่ พระอัคนี เทพแห่งไฟ พระอินทร์ เทพแห่งสายฟ้า และพระอาทิตย์ เทพแห่งแสงสว่าง นอกจากนี้ พระอัคนี ยังเป็นผู้สื่อสารระหว่างเทพกับมนุษย์ โดยนำเครื่องบูชายัญและคำขอไปยังเทพ ผ่านการเผาไหม้ของไฟ และนำสารจากเทพมาสู่มนุษย์ ในมหาภารตะ พระอัคนีได้อวตารเป็นธฤษฏัทยุมนะ ประธานเสนาบดีแห่งกองทัพปาณฑพ ในสงครามทุ่งกุรุเกษตร
เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอัคนีเทียบได้กับ โพรมีเทียส ตามเทพปกรณัมกรีก
ลักษณะของพระอัคนี
แก้ในคติไทย พระอัคนี เป็นเทพบุรุษกายสีแดง มี ๒ กร ทรงหอกเป็นอาวุธ สวมมงกุฎน้ำเต้ายอดเพลิง ทรงระมาดหรือแรดเป็นพาหนะ ในคติฮินดู พระอัคนีมีกายสีแดงเพลิง รูปร่างกำยำ ไว้หนวดเครา ผมยาว นัยน์ตาสีแดง สวมสร้อยประคำและพวงมาลัยผลไม้ คล้องสังวาลย์ ทรงเครื่องประดับด้วยทอง สวมอาภรณ์สีแดงและสีม่วง มี ๒ กรบ้าง ๔ กรบ้าง ๗ กรบ้าง,มี ๑ เศียรบ้าง ๒ เศียรบ้าง ๓ เศียรบ้าง มี ๒ พระบาทบ้าง ๓ พระบาทบ้าง ในแต่ล่ะพระเศียรของพระองค์ทรงมี ๗ พระชิวหาซึ่งลุกเป็นไฟซึ่งพระองค์ทรงใช้เลียเนย (ขีระ) ที่นำมาถวายให้ พระอัคนีมีพาหนะเป็นแกะตัวผู้ หรือ แพะ[3] หรือราชรถอัคนีสีทองที่ลากเทียมโดยม้าอัคนีสีแดง อาวุธของพระองค์คือ ขวาน คบไฟ สายลูกประคำ หอกอัคนี ดาบ พัด ดอกบัว ฯลฯ[4] พระอัคนี ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระเพลิง,พระอนละ,พระวาหนิ,พระอภิมาณี,พระวีติโหตระ,พระชิวลนะ,พระธูมรเกตุ,พระสวาหาปรียะ,พระชวาละ,พระมหาชวาละ,พระตาปะ,พระเตชะ,พระเมษวาหนะ,พระสัปตพาหุ ฯลฯ
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติพระอัคนี (พระเพลิง) เก็บถาวร 2009-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
แก้- ↑ https://vedicgoddess.weebly.com/goddess-vidya-blog/svaha-the-wife-of-fire
- ↑ http://www.findmessages.com/svaha-the-wife-of-agni-dev
- ↑ "ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง". baanjomyut.com. สืบค้นเมื่อ 10 June 2014.
- ↑ The Book of Hindu Imagery: Gods, Manifestations and Their Meaning By Eva Rudy Jansen p. 64