สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง
สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่งเริ่มในอินโดจีนฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 1946 และกินเวลาจนวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1954 การสู้รบระหว่างกำลังฝรั่งเศสและคู่ต่อสู้เวียดมินห์ในทางใต้เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ. 1945 ความขัดแย้งนี้มีกำลังต่าง ๆ ซึ่งรวมกองทัพรบนอกประเทศภาคพื้นตะวันออกไกลฝรั่งเศสของสหภาพฝรั่งเศส ซึ่งมีฝรั่งเศสเป็นผู้นำ และมีกองทัพแห่งชาติเวียดนามของสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยสนับสนุนต่อเวียดมินห์ซึ่งมีโฮจิมินห์เป็นผู้นำและกองทัพประชาชนเวียดนามซึ่งมีหวอ เงวียน ซ้าปเป็นผู้นำ การสู้รบส่วนใหญ่เกิดในตังเกี๋ยในเวียดนามเหนือ แม้ความขัดแย้งกลืนทั่วประเทศและยังลามไปรัฐในอารักขาอินโดจีนฝรั่งเศสเพื่อนบ้านลาวและกัมพูชา
สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีน และ สงครามเย็น | |||||||||
พิธีที่ทหารกองทัพญี่ปุ่นยอมจำนนต่อทหารกองทัพสหราชอาณาจักรในเมืองไซ่ง่อน ในปี 1945 | |||||||||
| |||||||||
คู่สงคราม | |||||||||
เวียดมินห์
อาสาสมัครจากประเทศญี่ปุ่น Supported by:[4] สหภาพโซเวียต[5] จีน (1949–1954) [5] เยอรมนีตะวันออก[6][7] |
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สี่ (1945–1954)
ราชอาณาจักรกัมพูชา Supported by: สหรัฐ[8] (1950–1954) | ||||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||||
โฮจิมินห์ หวอ เงวียน ซ้าป เจ้าสุภานุวงศ์ ตู สามุต |
คณะสำรวจดินแดนตะวันออกไกลของฝรั่งเศส
| ||||||||
กำลัง | |||||||||
เวียดมินห์: ทหาร: 125,000 พลเรือน: 75,000 กองกำลังนิยม/ประจำการ: 250,000[13] อดีตทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นและอาสาสมัคร: ~5,000[14] รวม: ~450,000 |
ฝรั่งเศส: คณะสำรวจ: 190,000 ฝ่ายความช่วยเหลือในพื้นที่: 55,000 รัฐเวียดนาม: 150,000[15] อดีตทหารกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นและอาสาสมัคร: ~1,000[16] รวม: ~450,000 | ||||||||
ความสูญเสีย | |||||||||
เวียดมินห์: หายสาบสูญและเสียชีวิตถึง 175,000–300,000 ราย[17][18] |
สหภาพฝรั่งเศส: เสียชีวิต 75,581 ราย บาดเจ็บ 64,127 ราย, ถูกจับกุม 40,000 ราย รัฐเวียดนาม: หายสาบสูญและเสียชีวิตถึง 58,877 ราย[19] รวม: หายสาบสูญและเสียชีวิตถึง 134,500 ราย | ||||||||
พลเรือนหายสาบสูญและเสียชีวิตถึง 125,000–400,000 ราย[17][20][21][22] |
ณ การประชุมพ็อทซ์ดัมในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1945 เสนาธิการร่วม (Combined Chiefs of Staff) ตัดสินใจว่าอินโดจีนใต้ละติจูด 16 องศาเหนือ จะรวมอยู่ในกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้พลเรือเอกเมานต์แบ็ทแตนชาวบริติช กำลังญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ทางใต้เส้นนั้นยอมจำนนต่อเขาและกำลังญี่ปุ่นเหนือเส้นนั้นยอมจำนนต่อจอมทัพเจียง ไคเช็ก ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1945 กำลังจีนเข้าตังเกี๋ยและกำลังรบเฉพาะกิจบริติชขนาดเล็กขึ้นบกที่ไซ่ง่อน จีนยอมรับรัฐบาลเวียดนามภายใต้โฮจิมินห์ ซึ่งกำลังต่อต้านเวียดมินห์ตั้ง ซึ่งขณะนั้นครองอำนาจอยู่ในกรุงฮานอย ฝ่ายบริเตนไม่ยอมตามในไซ่ง่อน และยอมให้ฝรั่งเศสที่นั่นตั้งแต่ต้น ซึ่งต่อต้านการสนับสนุนเวียดมินห์ที่ดูเช่นนั้นโดยผู้แทนโอเอสเอสของอเมริกา ในวันวี-เจ 2 กันยายน โฮจิมินห์ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามในกรุงฮานอย สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามปกครองเป็นรัฐบาลพลเรือนเดียวในเวียดนามทั้งหมดเป็นเวลาประมาณ 20 วัน หลังจักรพรรดิบ๋าว ดั๋ยสละราชสมบัติ ซึ่งปกครองในการปกครองของญี่ปุ่น ฉะนั้นเวียดมินห์จึงถือเป็น "หุ่นเชิดญี่ปุ่น" วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1945 ด้วยทราบถึงผู้บัญชาการบริติชในไซ่ง่อน กำลังฝรั่งเศสโค่นรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนเวียดนามท้องถิ่น และประกาศฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศสในโคชินจีน การสงครามกองโจรพลันเริ่มรอบไซ่ง่อน[23]
ปีแรก ๆ ของสงครามเป็นการก่อการกำเริบในชนบทระดับต่ำต่อทางการฝรั่งเศส ทว่า หลังคอมมิวนิสต์จีนถึงชายแดนเวียดนามด้านเหนือใน ค.ศ. 1949 ความขัดแย้งเปลี่ยนเป็นสงครามตามแบบระหว่างสองกองทัพที่มีอาวุธสมัยใหม่ที่สหรัฐและสหภาพโซเวียตจัดหา[24] กำลังสหภาพฝรั่งเศสมีทหารอาณานิคมจากทั้งอดีตจักรวรรดิ (โมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนิเซีย ลาว กัมพูชาและชนกลุ่มน้อยเวียดนาม) กำลังอาชีพฝรั่งเศสและหน่วยกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส การใช้กำลังฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่เกณฑ์ถูกรัฐบาลห้ามเพื่อป้องกันมิให้สงครามยิ่งไม่ได้รับความนิยมมากขึ้นอีกในประเทศแม่ ปัญญาชนฝ่ายซ้ายในประเทศฝรั่งเศสเรียกสงครามนี้ว่า "สงครามสกปรก"[25]
ยุทธศาสตร์ผลักดันเวียดมินห์ให้โจมตีฐานที่มีการป้องกันดีในส่วนห่างไกลของประเทศ ณ ปลายเส้นทางลอจิสติกของเวียดมินห์สมเหตุสมผลที่ยุทธการที่หน่าสาน ทว่า ฐานนี้ค่อนข้างอ่อนแอเพราะขาดวัสดุก่อสร้างอย่างคอนกรีตและเหล็กกล้า รถถังหุ้มเกาะซึ่งมีประโยชน์จำกัดในสิ่งแวดล้อมป่า การขาดกองทัพอากาศที่เข้มแข็งสำหรับการคุ้มกันทางอากาศและการทิ้งระเบิดปูพรมและการใช้กำลังต่างด้าวเกณฑ์จากอาณานิคมฝรั่งเศสอื่นที่เกิดจากความไม่เป็นที่นิยมของสงครามนี้ในประเทศฝรั่งศสซึ่งห้ามการใช้ทหารเกณฑ์ชาวฝรั่งเศสประจำการ อีกด้านหนึ่ง ซ้าปใช้ยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพและใหม่ปืนใหญ่ยิงตรง (direct fire artillery) การซุ่มโจมตีขบวนคุ้มกันและปืนต่อสู้อากาศยานที่รวบรวมเพื่อขัดขวางการส่งกำลังบำรุงทางบกหรืออากาศร่วมกับยุทธศาสตร์ที่ยึดการเกณฑ์กองทัพประจำการขนาดพอสมควรที่อำนวยจากการสนับสนุนของประชาชนอย่างกว้างขวาง ลัทธิการสงครามกองโจรและการสอนที่พัฒนาในประเทศจีนและการใช้วัสดุสงครามเรียบง่ายและเชื่อถือได้ที่สหภาพโซเวียตจัดหา ทั้งหมดนี้รวมกันพิสูจน์แล้วว่าเป็นหายนะสำหรับการป้องกันฐานนี้ ลงเอยด้วยความปราชัยของฝรั่งเศสอย่างเด็ดขาดในยุทธการที่เดียนเบียนฟู[26]
ณ การประชุมเจนีวาระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 รัฐบาลฝรั่งเศสสังคมนิยมใหม่และเวียดมินห์ทำความตกลงซึ่งถูกรัฐบาลเวียดนามและสหรัฐประณาม แต่ให้คอมมิวนิสต์ควบคุมเวียดนามเหนือเหนือเส้นขนานที่ 17 ยกการควบคุมเวียดนามเหนือให้เวียดมินห์ภายใต้โฮจิมินห์ และเวียดนามใต้ยังอยู่ภายใต้จักรพรรดิบ๋าว ดั๋ย ปีต่อมา บ๋าว ดั่ยถูกนายกรัฐมนตรีโง ดิ่ญ เสี่ยมปลด สถาปนาสาธารณรัฐเวียดนาม ไม่นาน เกิดการก่อการกำเริบที่เวียดนามเหนือสนับสนุนต่อรัฐบาลเดี่ยม ความขัดแย้งค่อย ๆ บานปลายเป็นสงครามเวียดนาม
อ้างอิง
แก้- ↑ Jacques Dalloz, La Guerre d'Indochine 1945–1954, Seuil, Paris, 1987, pp. 129–130, 206
- ↑ Jacques Dalloz (1987). La Guerre d'Indochine 1945–1954. Paris: Seuil. pp. 129–130.
- ↑ Kiernan, Ben. How Pol Pot Came to Power. London: Verso, 1985. p. 80
- ↑ henrisalvador. "John Foster Dulles on the fall of Dien Bien Phu". Dailymotion. สืบค้นเมื่อ August 19, 2015.
- ↑ 5.0 5.1 "Viện trợ của Trung Quốc đối với cuộc kháng chiến chống Pháp của Việt Nam". สืบค้นเมื่อ August 19, 2015.
- ↑ http://geb.uni-giessen.de/geb/volltexte/2013/9311/pdf/DaoDucThuan_2013_02_05.pdf
- ↑ "East Germany – The National People's Army and the Third World".
- ↑ "CNN.com – France honors CIA pilots – Feb 28, 2005". สืบค้นเมื่อ August 19, 2015.
- ↑ Lee Lanning, Michael (2008). Inside the VC and the NVA. : Texas A&M University Press. p. 119. ISBN 978-1-60344-059-2.
- ↑ Crozier, Brian (2005). Political Victory: The Elusive Prize Of Military Wars. Transaction. p. 47. ISBN 978-0-7658-0290-3.
- ↑ Fall, Street Without Joy, p. 63.
- ↑ Logevall, Fredrik (2012). Embers of War: the fall of an empire and the making of America's Vietnam. Random House. pp. 596–9. ISBN 978-0-375-75647-4.
- ↑ Windrow 1998, p. 23
- ↑ Ford, Dan. "Japanese soldiers with the Viet Minh".
- ↑ Windrow, Martin (1998). The French Indochina War 1946–1954 (Men-At-Arms, 322). London: Osprey Publishing. p. 11. ISBN 1-85532-789-9.
- ↑ Ford, Dan. "Japanese soldiers with the Viet Minh".
- ↑ 17.0 17.1 Clodfelter, Michael, Vietnam in Military Statistics (1995)
- ↑ Where the Domino Fell: America and Vietnam 1945–1995. James S. Olson, Randy W. Roberts. Chapter 2: The first Indochina war 1945–54
- ↑ Dommen, Arthur J. (2001), The Indochinese Experience of the French and the Americans, Indiana University Press, pg. 252
- ↑ Smedberg, M (2008), Vietnamkrigen: 1880–1980. Historiska Media, p. 88
- ↑ Eckhardt, William, in World Military and Social Expenditures 1987–88 (12th ed., 1987) by Ruth Leger Sivard.
- ↑ Dommen, Arthur J. (2001), The Indochinese Experience of the French and the Americans, Indiana University Press, pg. 252.
- ↑ s:Page:Pentagon-Papers-Part I.djvu/30
- ↑ Fall, Street Without Joy, p. 17.
- ↑ Edward Rice-Maximin, Accommodation and Resistance: The French Left, Indochina, and the Cold War, 1944–1954 (Greenwood, 1986).
- ↑ Flitton, Dave. "Battlefield Vietnam – Dien Bien Phu, the legacy". Public Broadcasting System PBS. สืบค้นเมื่อ 29 July 2015.