จอมพล ตู สามุต (เขมร: ទូ សាមុត) เป็นนายทหารและนักการเมืองชาวกัมพูชาที่นิยมคอมมิวนิสต์ เกิดประมาณ พ.ศ. 2458 ที่เมืองกำปงโสม ในยุคที่กัมพูชายังอยู่ภายใต้ฝรั่งเศส โดยพ่อเป็นนายทหารชาวกัมพูชาประจำกองทัพฝรั่งเศส เป็นหนึ่งในสมาชิกร่วมก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา เคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา ประธานคณะรัฐมนตรีปฏิวัติแห่งชาติกัมพูชา และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา

ตู สามุต
ประธานาธิบดีกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2519 – 3 มกราคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีฮู ยวน
รองประธานาธิบดีเซิน หง็อก มิญ
ผู้นำตัวเอง (ประธานพรรค)
ก่อนหน้าตัวเอง (ในฐานะประธานคณะรัฐมนตรีฯ)
ถัดไปเขียว สัมพัน
ประธานคณะรัฐมนตรีปฏิวัติแห่งชาติกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน พ.ศ. 2518 – 29 กันยายน พ.ศ. 2519
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง (ตัวเอง ในฐานะประธานาธิบดี)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา
ดำรงตำแหน่ง
17 เมษายน พ.ศ. 2518 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2523
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปซาลต ซอ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กันยายน พ.ศ. 2458 กำปงโสม กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
เสียชีวิต3 มกราคม พ.ศ. 2524 พนมเปญ สาธารณรัฐประชาธิปไตยกัมพูชา
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ กัมพูชา
ยศ จอมพล
ผ่านศึก

ความร่วมมือกับขบวนการต่อต้าน แก้

สามุตเป็นชาวแขมร์กรอมในเวียดนามใต้และบวชเป็นพระภิกษุ ในพ.ศ. 2488 ได้เป็นอาจารย์สอนภาษาบาลีที่วัดอุณาโลมในพนมเปญ ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดโจมตีกองทัพญี่ปุ่นทำให้มีคนตายมาก สามุตได้หนีออกไปสู่ชนบท ไปยังเวียดนามและเข้าร่วมกับเวียดมิญในที่สุด[1]

สามุตเข้าร่วมกับพรรคปฏิวัติประชาชนเขมรซึ่งต่อมาจะกลายเป็นพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาโดยร่วมมือกับเซิง งอกมิญหรืออาจารย์เมียน เขายังเป็นผู้นำสมาคมเขมรอิสระซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายซ้ายขนาดใหญ่ที่แยกตัวมาจากเขมรอิสระ นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้งรัฐบาลของฝ่ายต่อต้าน สามุตได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ตำแหน่งในพรรค แก้

ในฐานะที่เป็นหัวหน้าองค์กรในเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาที่เวียดนามให้การสนับสนุน สามุตเป็นที่นิยมในหมู่พระภิกษุ พรรคคอมมิวนิสต์ในเมืองเป็นภาพตรงข้ามกับกลุ่มในชนบทของเซียว เฮง นโยบายของเขาจัดว่าเป็นกลาง สนับสนุนการมีอยู่ของพระมหากษัตริย์และสนับสนุนเวียดนามเหนือในการรวมเวียดนาม กลุ่มของพล พตซึ่งเป็นอดีตนักศึกษาปารีสได้เข้าร่วมกับฝ่ายของสามุต

กลุ่มชนบทของเซียวเฮงถูกปราบปรามโดยฝ่ายของพระสีหนุตั้งแต่ พ.ศ. 2502 พรรคได้ประชุมลับที่สถานีรถไฟในกรุงพนมเปญเมื่อ พ.ศ. 2503 สามุตซึ่งมีนโยบายร่วมมือกับสีหนุได้เป็นเลขาธิการทั่วไป พล พตเป็นผู้นำลำดับที่สามรองจากสามุตและนวน เจีย[2]

เสียชีวิต แก้

สามุตหายตัวไปอย่างลึกลับในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2505 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสามุตถูกสังหารโดยตำรวจลับของสีหนุ แต่ก็มีผู้สงสัยว่าเกิดจากการจัดการของพล พตที่ต้องการตำแหน่งสูงขึ้นในพรรค พล พตออกมาปฏิเสธข้อหานี้และกล่าวว่าสามุตซึ่งออกจากบ้านไปซื้อยาให้เด็กที่ป่วยถูกจับโดยคนของลน นลและถูกสังหารในที่สุด."[3] นักประวัติศาสตร์ เบน เคียร์แนนกล่าวว่าเขาพบหลักฐานว่าพล พตมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตายของสามุต ในรายงานเกี่ยวกับการกำจัดศัตรูภายใน พบว่า สมเจีย เลขาธิการใหญ่ของจังหวัดกันดาลเป็นผู้ฆ่าสามุต จากนั้นสมเจียถูกกลุ่มของพล พตฆ่าใน พ.ศ. 2505.[4]

หลังการเสียชีวิตของสามุต พล พตขึ้นเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ใน พ.ศ. 2506 และตัดความสัมพันธ์กับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม หันไปรับความช่วยเหลือจากจีนแทน

อ้างอิง แก้

  1. Dommen, A. The Indochinese experience of the French and the Americans, Indiana University Press, 2001, p.63
  2. Ross, R. (ed) The KPRP Second Congress in Cambodia: A Country Study, Washington: GPO for the Library of Congress, 1987
  3. Thayer, N. Day of Reckoning เก็บถาวร 2009-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 26-05/09
  4. Kiernan, p.241
  • Kiernan, B. How Pol Pot Came to Power. London: Verso, 1985