พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม (เวียดนาม: Đảng Cộng sản Việt Nam) เป็นพรรคการเมืองที่ถูกกฎหมายพรรคเดียวในเวียดนาม เป็นพรรคนิยมลัทธิมากซ์-เลนินที่สนับสนุนโดยแนวหน้าปิตุภูมิเวียดนาม

พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม
Đảng Cộng sản Việt Nam
ผู้ก่อตั้งโฮจิมินห์
เลขาธิการว่าง
ก่อตั้ง3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 (94 ปี)
รวมตัวกับพรรคประชาชนปฏิวัติเวียดนามใต้ และพรรคแรงงานเวียดนามเหนือ​
ที่ทำการ1A ถนนห่งเวือง เขตบาดิ่ญ ฮานอย
หนังสือพิมพ์เนียนเซิญ
ฝ่ายเยาวชนสันนิบาตเยาวชนคอมมิวนิสต์
ฝ่ายอาวุธกองทัพประชาชนเวียดนาม
สมาชิกภาพ  (ปี 2557)4.4 ล้านคน
อุดมการณ์คอมมิวนิสต์
ลัทธิมากซ์-เลนิน
แนวคิดโฮจิมินห์
​เศรษฐกิจการตลาดแบบสังคมนิยม
ชาตินิยมเวียดนาม
กลุ่มระดับชาติแนวร่วมปิตุภูมิเวียดนาม
กลุ่มระดับสากลการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์และแรงงานระหว่างประเทศ
สี  สีแดง
จุดยืนซ้ายจัด
สมัชชาแห่งชาติ
475 / 500
เว็บไซต์
http://en.dangcongsan.vn
ธงประจำพรรค
การเมืองเวียดนาม
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

แก้

ผู้ก่อตั้งพรรคคือโฮจิมินห์และชาวเวียดนามที่ลี้ภัยในจีนโดยใช้ชื่อพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม โดยมีการประชุมพรรคครั้งแรกที่ฮ่องกงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 ซึ่งในการประชุมครั้งนั้นได้ตกลงรวมพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน (Đông Dương cộng sản đảng) และพรรคคอมมิวนิสต์อันนัม (An Nam cộng sản Đảng) เข้าด้วยกัน โดยที่กลุ่มนิยมลัทธิมาร์กอีกกลุ่มหนึ่งของเวียดนามคือพันธมิตรคอมมิวนิสต์อินโดจีน (Đông Dương cộng sản liên đoàn) ไม่ได้ถูกเชิญให้เข้าร่วมประชุมในฮ่องกง แต่สมาชิกของกลุ่มนี้เข้าเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ภายหลัง

หลังจากนั้นไม่นาน พรรคเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนภายใต้การนำขององค์การคอมมิวนิสต์สากล การประชุมพรรคครั้งแรกเป็นการประชุมลับที่มาเก๊าเมื่อ พ.ศ. 2478 ในเวลาเดียวกัน ทางมอสโกได้ออกนโยบายต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์และสนับสนุนให้แนวร่วมคอมมิวนิสต์ทั่วโลกทำตามรวมทั้งต้องการให้ขบวนการคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในอินโดจีนเป็นพันธมิตรกัน อย่างไรก็ตามพรรคนี้สลายตัวไปเมื่อ พ.ศ. 2488 กลายเป็นสมาคมนิยมลัทธิมาร์กและเวียดมินห์ซึ่งเป็นแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ

พรรคนี้ก่อตั้งใหม่อีกครั้งในนามพรรคแรงงานเวียดนาม (Đảng lao động Việt Nam) เมื่อปี พ.ศ. 2494 ในการประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรคครั้งที่ 2 ในสงครามอินโดจีนครั้งแรก การประชุมใหญ่ของพรรคครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่ฮานอยเมื่อ พ.ศ. 2503 ซึ่งเน้นการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม รวมทั้งให้มีการสนับสนุนการปลดปล่อยในภาคใต้ การประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 มีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2519 หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนามและเปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

การจัดองค์กร

แก้

ส่วนที่มีอำนาจสูงสุดของพรรคคือคณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามที่นำโดยเลขาธิการใหญ่ คณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคเลือกตั้งโดยคณะกรรมการศูนย์กลางพรรคและคณะกรรมการกลางเลือกตั้งจากการประชุมใหญ่ของพรรค หลังจากการรวมชาติเวียดนาม มีการเพิ่มจำนวนคณะกรรมการศูนย์กลางจาก 77 คนเป็น 133 คน และเพิ่มคณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคจาก 11 เป็น 17 คน จำนวนสมาชิกเพิ่มจาก 760,000 คน เมื่อ พ.ศ. 2509 เป็น 1,553,500 ใน พ.ศ. 2519 คิดเป็น 3.1% ของประชากรทั้งหมด และเป็นเกือบสองล้านคนเมื่อ พ.ศ. 2529

หัวหน้าคณะกรรมการกลางของพรรคระหว่าง พ.ศ. 24942512 นำโดยโฮจิมินต์ซึ่งถือเป็นผู้นำสูงสุดของพรรค การประชุมใหญ่ของพรรคมีทุกๆ 5 ปี การประชุม 4 ครั้งแรกไม่ได้กำหนดเวลาที่แน่นอนเนื่องจากสงครามกับฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา การประชุมใหญ่ที่จัดขึ้นได้แก่

  1. ครั้งที่ 1 ที่ มาเก๊า ประเทศจีน พ.ศ. 2478
  2. ครั้งที่ 2 ที่ เตวียนกวาง พ.ศ. 2494
  3. ครั้งที่ 3 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2503
  4. ครั้งที่ 4 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2519
  5. ครั้งที่ 5 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2525
  6. ครั้งที่ 6 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2529
  7. ครั้งที่ 7 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2534
  8. ครั้งที่ 8 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2539
  9. ครั้งที่ 9 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2544
  10. ครั้งที่ 10 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2549
  11. ครั้งที่ 11 ที่ ฮานอย พ.ศ. 2554

ผู้ที่ได้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนที่ 1 (2503–2519) และเลขาธิการใหญ่ (2473–2503 และ 2519–ปัจจุบัน) ได้แก่

  1. เจิ่น ฟู้ (Trần Phú, 2473–2474)
  2. เล ห่ง ฟ็อง (Lê Hồng Phong, 2478–2479)
  3. ห่า ฮวี เติ่ป (Hà Huy Tập, 2479–2481)
  4. เหงียน วัน กื่อ (Nguyễn Văn Cừ, 2481–2483)
  5. เจื่อง จิญ (Trường Chinh, 2483–2489 และ 2529)
  6. เล สวน (Lê Duẩn, 2503–2529)
  7. เหงียน วัน ลิญ (Nguyễn Văn Linh, 2529–2534)
  8. โด๋ เหมื่อย (Đỗ Mười, 2534–2540)
  9. เล ขา เฟียว (Lê Khả Phiêu, 2540–2544)
  10. นง ดึ๊ก หมั่ญ (Nông Đức Mạnh, 2544–2554)
  11. เหงียน ฟู้ จ่อง (Nguyễn Phú Trọng, 2554–ปัจจุบัน)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้