สหภาพฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Union française) เป็นกลุ่มประเทศอธิปไตยก่อตั้งโดยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่สี่ เพื่อแทนที่ระบอบอาณานิคมของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่มีอยู่เดิม หรือที่รู้จักกันในชื่อ "จักรวรรดิฝรั่งเศส" (Empire français) ถือเป็นจุดสิ้นสุดอย่างเป็นทางการของสถานะ "ชนพื้นเมือง" (indigène) ภายใต้ชาวฝรั่งเศสในพื้นที่อาณานิคม

สหภาพฝรั่งเศส

Union française (ฝรั่งเศส)
1946–1958
คำขวัญ"Liberté, égalité, fraternité"
"เสรีภาพ, เสมอภาค, ภราดรภาพ"
  ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่และจังหวัดโพ้นทะเล
  ดินแดนโพ้นทะเล
  ดินแดนในภาวะทรัสตี
  รัฐที่เกี่ยวข้อง
สถานะสหภาพรัฐ
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส
ยุคประวัติศาสตร์สงครามเย็น
27 ตุลาคม 1946
1948
• กัมพูชาถอนตัว
25 กันยายน 1955
• เวียดนามใต้ถอนตัว
9 ธันวาคม 1955
• อิสรภาพของโมร็อกโกและตูนิเซีย
1956
• ลาวถอนตัว
11 พฤษภาคม 1957
กันยายน 1958
5 ตุลาคม 1958
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส
ประชาคมฝรั่งเศส
ราชอาณาจักรลาว
รัฐบาลกลางชั่วคราวเวียดนาม
เวียดนามเหนือ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
เฟรนช์กินี
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4

องค์ประกอบ

แก้

สหภาพฝรั่งเศสประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญดังนี้:

  1. ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งเฟรนช์แอลจีเรีย
  2. อาณานิคม 'เก่า' ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่อินเดียตะวันตกของฝรั่งเศสในแถบแคริบเบียน ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นจังหวัดโพ้นทะเล ในปี ค.ศ. 1946: กัวเดอลุป, เฟรนช์เกียนา, มาร์ตีนิก, และเรอูว์นียง
  3. อาณานิคม 'ใหม่' ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นดินแดนโพ้นทะเล: โกตดิวัวร์, ดาโฮมี, กินี, มอริเตเนีย, ไนเจอร์, เซเนกัล, เฟรนช์ซูดาน, อัปเปอร์วอลตา, คองโก, กาบอง, อุบังกุย-ชารี, ชาด, คอโมโรส, เฟรนช์อินเดีย, มาดากัสการ์, นิวแคลิโดเนีย, เฟรนช์พอลินีเซีย, แซ็งปีแยร์และมีเกอลง, เฟรนช์โซมาลีแลนด์
  4. รัฐที่เกี่ยวข้อง: รัฐในอารักขาแห่งอินโดจีนฝรั่งเศส มีการคาดการณ์ว่ารัฐในอารักขาอื่น ๆ จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพฝรั่งเศส แต่ผู้ปกครองแห่งเฟรนช์โมร็อกโกและเฟรนช์ตูนิเซียปฏิเสธที่จะเป็นสมาชิกและไม่เคยเข้าร่วมเลย[1]
  5. ดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ อาทิ เฟรนช์แคเมอรูนและเฟรนช์โตโกแลนด์ เป็นต้น

ประวัติ

แก้

ก่อนการก่อตั้ง สหภาพฝรั่งเศส ฝรั่งเศสมีอาณาจักรอาณานิคมขนาดใหญ่ซึ่งครอบคลุมดินแดนในแอฟริกา เอเชีย และมหาสมุทรแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความต้องการเสรีภาพและอิสรภาพในหมู่ประชากรของอาณานิคมฝรั่งเศสเริ่มมีมากขึ้น อาณานิคมหลายแห่งเริ่มต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชและสิทธิในการปกครองตนเอง ส่งผลให้ฝรั่งเศสต้องหาวิธีที่จะรักษาความสัมพันธ์กับอาณานิคมของตนไว้ ในขณะที่ยังคงรักษาอิทธิพลและความร่วมมือกับดินแดนเหล่านั้น ทำให้สหภาพถูกบัญญัติในรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่4 มีผลบังคับใช้วันที่ 27 ตุลาคม 1946

สหภาพฝรั่งเศส ก่อตั้งขึ้นเพื่อรวมอาณานิคมและดินแดนโพ้นทะเลเข้ากับฝรั่งเศสในรูปแบบของความร่วมมือและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แทนที่จะปกครองด้วยอำนาจเด็ดขาดเหมือนในอดีต อย่างไรก็ตาม โครงสร้างนี้กลับไม่ได้รับการตอบสนองอย่างที่คาดหวัง:

1. ปัญหาความไม่เท่าเทียม: ฝรั่งเศสยังคงมีอำนาจเหนือดินแดนโพ้นทะเลและอาณานิคมอย่างเข้มงวด ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ประชากรของอาณานิคมที่รู้สึกว่าไม่ได้รับสิทธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกับประชากรในฝรั่งเศสการ

2. ต่อสู้เพื่อเอกราช: หลายอาณานิคมเริ่มต้นการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เช่น การปฏิวัติในเวียดนามและสงครามอิสรภาพในแอลจีเรีย ซึ่งกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ สหภาพฝรั่งเศส ล่มสลายอย่างรวดเร็วผลกระทบจาก

สหภาพฝรั่งเศส สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี 1958 เมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญของสาธารณรัฐฝรั่งเศสครั้งที่5 และเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองของฝรั่งเศสในอาณานิคมไปสู่รูปแบบของการให้เอกราชหรือความเป็นอิสระในระดับที่สูงขึ้นแก่ดินแดนโพ้นทะเล

ประเทศที่ถอนตัว

แก้
  • กัมพูชาถอนตัวในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1955[2]
  • เวียดนามใต้ถอนตัวเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1955[3]
  • ลาวถอนตัวเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1957 [4]

อ้างอิง

แก้
  1. Charles-Robert Argeron, La décolonisation française, Armand Colin, Paris, 1994, p. 73.
  2. [ Displaying Abstract ] (2012-04-30). "CAMBODIA SEVERS TIES WITH FRANCE - Declares Her Independence - Prince Norodom Takes the Post of Premier - Article - NYTimes.com". Select.nytimes.com.
  3. "Pentagon Papers Part IV A 3" (PDF). 1954–1960. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-05. สืบค้นเมื่อ 2016-05-08. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  4. "Laos". Worldvisitguide.com.