ยุทธการที่ฝรั่งเศส

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการแห่งฝรั่งเศส)

ยุทธการที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Battle of France) หรือ ความพินาศที่ฝรั่งเศส (อังกฤษ: Fall of France) ในเยอรมนีเรียก การทัพตะวันตก (เยอรมัน: Westfeldzug) คือการบุกโดยกองทัพเยอรมันเพื่อยึดครองภาคเหนือของประเทศฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสได้ประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน 1939 หลังจากที่เยอรมนียกทัพบุกครองโปแลนด์ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและอังกฤษ ในช่วงต้นเดือนกันยายน 1939 ทางกองทัพฝรั่งเศสบุกเข้าซาร์ลันท์ของเยอรมันอย่างมีขอบเขต แต่ในกลางเดือนตุลาคมของปีนั้นทางกองทัพฝรั่งเศสกลับถอนกำลังมากลับประจำตำแหน่งเดิมหลังแนวมาฌีโน ตลอดหกสัปดาห์หลังตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 1940 เป็นต้นไป กองทหารเยอรมันเอาชนะกองทหารสัมพันธมิตรโดยปฏิบัติการยานยนต์ และเข้าพิชิตฝรั่งเศส เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, เนเธอร์แลนด์ เป็นจุดสิ้นสุดของแนวรบด้านตะวันตกจนกระทั่งการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 อิตาลีได้เข้าร่วมกับเยอรมนีและประกาศสงครามต่อฝรั่งเศสในวันที่ 10 มิถุนายน 1940

ยุทธการที่ฝรั่งเศส
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง

วนขวาจากบนซ้าย:
1) ยุทโธปกรณ์ที่ถูกทิ้งในภาคเหนือของฝรั่งเศส
2) ทหารเยอรมันสวนสนามในกรุงปารีส
3) ทหารอังกฤษตั้งตำแหน่งปืน
4) ยานเกราะของฝรั่งเศสที่ถูกทำลาย
5) ทหารฝรั่งเศสเดินสู่ค่ายกักกันชเลยของเยอรมัน
6) ยานเกราะเยอรมันเคลื่อนสู่ป่าอาร์แดนในฝรั่งเศส
วันที่10 พฤษภาคม – 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 (46 วัน)
สถานที่
ผล เยอรมนีได้รับชัยชนะ
วิชีฝรั่งเศสถูกตั้งขึ้นแทนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
คู่สงคราม
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
 บริเตนใหญ่
 เบลเยียม
 เนเธอร์แลนด์
 ลักเซมเบิร์ก
โปแลนด์ โปแลนด์
เช็กเกีย เชโกสโลวาเกีย
 ไรช์เยอรมัน
ราชอาณาจักรอิตาลี อิตาลี (ตั้งแต่ 10 มิถุนายน)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฝรั่งเศส มอริส กาเมอแล็ง
ฝรั่งเศส อาลฟงส์ ฌอร์ฌ
สหราชอาณาจักร ลอร์ดกอร์ท
เบลเยียม พระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 3
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ ฟ็อน เบราคิทช์
นาซีเยอรมนี แกร์ท ฟ็อน รุนท์ชเต็ท
นาซีเยอรมนี เฟดอร์ ฟ็อน บ็อค
นาซีเยอรมนี วิลเฮ็ล์ม ฟ็อน เลพ
นาซีเยอรมนี อัลแบร์ท เค็สเซิลริง
นาซีเยอรมนี ฮูโก ชแปร์เลอ
กำลัง

สัมพันธมิตร:
135 กองพล
3,300,000 ล้านนาย
3,383–4,071 ยานเกราะ[1][2]
2,935 อากาศยาน


ฝรั่งเศสในเทือกเขาแอลป์:
5 กองพล
150,000 นาย

เยอรมนี:
141 กองพล
3,350,000 ล้านนาย
2,445 ยานเกราะ[1]
5,638 อากาศยาน[3]


อิตาลีในเทือกเขาแอลป์:
22 กองพล
300,000 นาย
ความสูญเสีย
ตายหรือบาดเจ็บ 360,000
ตกเป็นเชลย 1,900,000
เสียอากาศยาน 2,233[4]
เสียยานเกราะ 2,438
ตาย 27,074
บาดเจ็บ 111,034
เสียอากาศยาน 1,236[5][6]
เสียยานเกราะ 822

10 พฤษภาคม เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุเหลือง" (Fall Gelb) กองยานเกราะเยอรมันได้ทำบุกโจมตีเข้าผ่านทางอาร์แดนและตามแนวแม่น้ำซอมอย่างกระทันหันด้วยความเร็วที่ทางฝ่ายสัมพันธิมิตรคาดไม่ถึง กองพลยานเกราะเยอรมันข้ามแม่น้ำเมิซได้ในวันที่ 15 พฤษภาคมและบุกต่อไปทางตะวันตกโดยทันที ฝ่ายเยอรมันได้ตัดขาดเส้นทางการเดินทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรในพื้นที่ และสามารถล้อมกองทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังมุ่งหน้าขึ้นเหนือไปช่วยเบลเยียมและจะเข้าโจมตีเยอรมันกับกองทัพที่คาดว่าจะเป็นกองทัพหลักของเยอรมัน ด้วยปฏิบัติการยานเกราะอันมีประสิทธิภาพของเยอรมันทำให้กองทหารบริติช, ฝรั่งเศส และเบลเยียมถูกผลักดันไปจนมุมอยู่ที่หาดเดิงแกร์ก รัฐบาลบริติชได้ทำการอพยพกองกำลังรบนอกประเทศบริติช(BEF) ตลอดจนกองพลฝรั่งเศสออกจากหาดเดิงแกร์กในปฏิบัติการไดนาโมจนเสร็จสิ้นวันที่ 4 มิถุนายน 1940

เยอรมนีเริ่มปฏิบัติการ "เหตุแดง" (Fall Rot) ในวันที่ 5 มิถุนายน กองพลบริติชและฝรั่งเศส 60 หน่วยที่เหลืออยู่พยายามต่อต้านการุรกรานอย่างสุดกำลังแต่ก็ไม่เป็นผลมากนัก เนื่องจากฝ่ายเยอรมันมีการสนับสนุนทางอากาศและมียานเกราะที่เหนือกว่ามาก กองยานเกราะเยอรมันยกทัพโอบล้อมแนวมาฌีโนจากภาคเหนือและมุ่งเข้าสู่ภาคกลางของฝรั่งเศส และเข้ายึดกรุงปารีสที่ไร้ทหารป้องกันในวันที่ 14 มิถุนายน ผู้คนในรัฐบาลฝรั่งเศสต่างหลบหนีออกไปอังกฤษก่อนหน้านั้นแล้ว ผู้นำทหารเยอรมันเข้าเจรจาข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลฝรั่งเศสในวันที่ 18 มิถุนายน

ในวันที่ 22 มิถุนายน ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในตราสารสงบศึกที่ป่ากงเปียญ รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ที่เป็นกลางนำโดย จอมพลฟีลิป เปแต็ง ออกประกาศล้มล้างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ยอมให้เยอรมนีเข้ายึดครองภาคเหนือและชายฝั่งตลอดจนแผ่นดินหลังฝั่งทะเลของฝรั่งเศส การบุกของอิตาลีส่งผลให้ทางฝรั่งเศสเสียพื้นที่บนแถบเทือกเขาและหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ลงนามตราสารสงบศึก ทางอิตาลีก็ได้ครอบครองพื้นที่ในโซนยึดครองทางตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลวิชีฝรั่งเศส มีเขตอำนาจเพียงดินแดนนอกยึดครองแถบภาคใต้ซึ่งเรียกว่า "โซนเสรี" (Zone libre) ในเดือนพฤศจิกายน 1942 ทหารเยอรมันและอิตาลีเข้ายึดพื้นที่โซนเสรีภายใต้ชื่อปฏิบัติการอันโทน (Unternehmen Anton) แม้ฝรั่งเศสจะพ่ายแพ้ศึกครั้งนี้ แต่นายพลชาลส์ เดอ โกล แห่งกองทัพฝรั่งเศสได้ลี้ภัยไปอยู่กรุงลอนดอน เขาได้จัดตั้งแนวร่วมเสรีฝรั่งเศส (France Libre) เพื่อต่อต้านนาซีเยอรมนีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะจนกระทั่งถูกปลดปล่อยหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกในปี 1944

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และอัลแบร์ท ชแปร์ ทัวร์ชมกรุงปารีส 23 มิถุนายน 1940 หนึ่งวันหลังลงนามสงบศึกกับฝรั่งเศส

ภูมิหลัง

แก้

แนวมาฌีโน

แก้

ช่วงทศวรรษที่ 1930 ฝรั่งเศสได้สร้างแนวป้องกันที่ชื่อ "แนวมาฌีโน" (Ligne Maginot) ตามแนวพรมแดนร่วมกับเยอรมัน ตลอดเส้นนี้เต็มไปด้วยป้อมปราการคอนกรีต สิ่งกีดขวาง และอาวุธ จุดประสงค์ของแนวป้องกันนี้คือทางฝรั่งเศสสามารถลดจำนวนกำลังคนในการรบกับเยอรมันโดยตรงและสามารถบังคับให้เยอรมนีเลือกส่งกองทัพหลักเข้าบุกผ่านเบลเยียมแทน ทางฝรั่งเศสจึงจะสามารถส่งหน่วยทหารมือดีที่ไปรบกับทหารเยอรมันในเบลเยียมแทน ทางฝรั่งเศสเชื่อว่าสงครามจะปะทุขึ้นนอกตัวประเทศของฝรั่งเศสเอง เป็นกลายหลีกเลี่ยงการทำลายล้างเหมือนในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนหลักของแนวมาฌีโนเริ่มต้นตั้งแต่บริเวณพรมแดนทที่ติดกับสวิตเซอร์แลนด์ และลากยาวตามแนวชายแดนร่วมกับเยอรมัน ผ่านป่าอาร์แดนจนไปถึงชายแดนเบลเยียม ช่วงที่ขนานไปตามแนวชายแดนเบลเยียมเป็นส่วนที่มีการป้องกันไม่หนาแน่นเท่ากับส่วนที่ติดกับชายแดนของเยอรมนี พื้นที่ของป่าอาร์แดนนั้นเต็มไปด้วยต้นไม้และหุบเขาจึงทำให้มีการต่อเติมและสร้างแนวป้องกันลำบาก จอมพลฟีลิป เปแต็ง ประกาศว่า "อาร์แดนไม่มีวันแตก" เมื่อกองทัพเยอรมันโผล่ออกมาจากอาร์แดน จะต้องถูกทำลายอย่างแน่นอนด้วยการตีขนาบของฝรั่งเศส ผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพฝรั่งเศส พลเอกมอริส กาเมอแล็ง เองก็เชื่อว่าพื้นที่บริเวณนั้นปลอดภัยมากจากการถูกโจมตีเช่นกันและยังได้กล่าวไว้ว่า "มันไม่เคยเอื้อต่อการทำยุทธการใหญ่" ด้วยความเชื่อเช่นนี้ทำให้ฝรั่งเศสวางกำลังทหารไว้ในพื้นที่นี้เพียงสิบกองพล พวกเขาเชื่อว่าแนวมาฌีโนนั้นแข็งแกร่งพอที่จะถ่วงเวลาให้กองทัพฝรั่งเศสระดมพลไปที่แนวรบและโต้กลับได้อย่างรวดเร็ว

การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนี

แก้

ในปี 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเสนอความช่วยเสนอทางทหารให้แก่โปแลนด์ในกรณีเผื่อว่าถูกรุกรานโดยเยอรมนี ในเช้าวันที่ 1 กันยายน 1939 เยอรมันก็เปิดฉากบุกครองโปแลนด์ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้เยอรมนีถอนทหารออกจากโปแลนด์ในทันที เยอรมนีไม่ตอบสนอง[7][8] ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามต่อเยอรมนีในวันที่ 3 กันยายน ของปีนั้นและประเทศอื่นก็ทยอยประกาศตาม ได้แก่ ออสเตรเลีย (3 กันยายน), นิวซีแลนด์ (3 กันยายน), แอฟริกาใต้ (6 กันยายน), และแคนาดา (10 กันยายน) อย่างไรก็ตาม แม้สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะได้ประกาศสงครามแล้ว แต่ทั้งสองประเทศกลับไม่อยู่ในสภาพที่พร้อมจะช่วยเหลือทางทหารแก่โปแลนด์อีกแล้วในภาวะที่เป็นอยู่ โอกาสที่ทางโซเวียตนั้นจะเข้ามาช่วยเหลือโปแลนด์ไม่มีอีกแล้วเพราะความตกลงมิวนิกในปี 1938 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตพึ่งลงนามในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันซึ่งรวมไปถึงการแบ่งดินแดนของโปแลนด์ และโซเวียตก็ช่วยเยอรมันบุกโปแลนด์จากด้านตะวันออก สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสทำได้แค่เพียงมองดูโปแลนด์ล่มสลายไปต่อหน้าต่อตา ทางสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสเร่งนั้นวางแผนที่จะให้มันเป็นสงครามที่นานจึงสั่งสมอาวุธยุทธภัณฑ์เพื่อเตรียมทำการรับมือกับการรุกรานจากเยอรมนี และทำให้เศรษฐกิจสงครามของเยอรมันอ่อนตัวลงโดยการปิดล้อมการค้า[9]

สงครามลวง

แก้

7 กันยายน 1939 ฝรั่งเศสยกกำลัง 98 กองพล (มีเพียง 28 กองพลที่เป็นทหารกองหนุน) พร้อมยานเกราะ 2,500 คันออกนอกแนวมาฌีโนราว 5 กิโลเมตรเพื่อไปยังซาร์ลันท์ เขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของเยอรมนีซึ่งถูกป้องกันโดย 43 กองพลเยอรมัน (กว่า 32 กองพลเป็นทหารกองหนุน) และไม่มียานเกราะเลย จะเห็นได้ว่าฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าในทุกมิติ กองพลฝรั่งเศสรุดหน้าไป 5 กิโลเมตรจนเกือบจะถึงแนวซีคฟรีทของเยอรมันที่ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ในวันที่ 17 กันยายน พลเอกกาเมอแล็งเปลี่ยนใจ มีคำสั่งให้ถอนกำลังกลับมาหลังแนวมาฌีโน ยุทธศาสตร์ของพลเอกกาเมอแล็งคือรอจนกระทั่งกองทัพฝรั่งเศสและอังกฤษมีความพรั่งพร้อมด้านยุทธภัณฑ์อย่างเต็มที่เสียก่อน ภายหลังจบการรุกซาร์ลันท์ก็เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่าสงครามลวง (Phoney War) หรือที่เยอรมนีเรียกว่าสงครามนั่ง (Sitzkrieg) ฮิตเลอร์หวังว่าสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสจะยอมรับการยึดครองโปแลนด์และประนีประนอมสันติภาพโดยเร็ว ฮิตเลอร์เสนอข้อตกลงสันติภาพไปยังสองมหาอำนาจในวันที่ 6 ตุลาคม[10]

เหตุการณ์

แก้

แนวรบตอนเหนือ

แก้

9 พฤษภาคม เวลา 21:00 น. มีคำสั่งใช้รหัส Danzig ไปยังกองพลเยอรมันทุกหน่วยเพื่อสั่งใช้ "เหตุเหลือง" (Fall Gelb) กองทัพเยอรมันเปิดฉากเข้ายึดประเทศลักเซมเบิร์กโดยไร้การต่อต้าน[11] กลุ่มทัพ B เปิดปฏิบัติการเข้ารุกตีประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในตอนกลางคืน เมื่อเข้าสู้เช้าวันที่ 10 พฤษภาคม หน่วยพลร่มเยอรมันจากกองพลเหินเวหาที่ 7 (7. Flieger-Division) และกองพลร่อนอากาศที่ 22 (22. Luftlande-Division) ทิ้งตัวจากอากาศและเข้าจู่โจมกรุงเฮกและเส้นทางสู่เมืองรอตเทอร์ดามอย่างไม่ทันตั้งตัว หน่วยพลร่มเยอรมนี้เป็นหน่วยเคลียร์ทางเพื่อให้กลุ่มทัพ B รุกได้อย่างสะดวก[12]

กองบัญชาการฝรั่งเศสตอบโต้ทันควันโดยการส่งกองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศสขึ้นเหนือเพื่อปฏิบัติตามแผลดีล ซึ่งถือเป็นหน่วยทหารที่ดีที่สุดของฝรั่งเศส แต่เมื่อกองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสข้ามชายแดนสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็พบว่ากองทัพเนเธอร์แลนด์ถูกรุกตีจนต้องถอยร่นอย่างเต็มกำลังไปป้องกันเมืองแอนต์เวิร์ปในประเทศเบลเยียม[13]

บุกครองเนเธอร์แลนด์

แก้

เนื่องจากเนเธอร์แลนด์มีแนวป้องกันทางน้ำที่เรียกว่าปราการฮอลแลนด์เป็นแนวต่อต้านสำคัญทางบก ลุฟท์วัฟเฟอจึงได้รับมอบหมายโจมตีและยึดครองกรุงเฮกในปฏิบัติการที่เรียกว่า "ยุทธการที่เดอะเฮก" เครื่องบินที่ใช้ประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง 247 ลำ, เครื่องบินต่อสู่ 147 ลำ, เครื่องบินลำเลียงยูห้าสิบสอง 424 ลำ และเครื่องบินสะเทินน้ำ 12 ลำ ในขณะที่กองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ มีเครื่องบินต่อสู้เพียง 144 ลำ ซึ่งกว่าครึ่งในจำนวนนี้ถูกทำลายตั้งแต่วันแรก เครื่องบินลำที่เหลือก็กระจายตัวต่อสู่และยิงเครื่องบินเยอรมันตกได้เพียงไม่กี่ลำ ปฏิบัติการต่อต้านของเนเธอร์แลนด์เสียเครื่องบินไปทั้งหมดถึง 110 ลำ[14]

 
เมืองรอตเทอร์ดามหลังถูกทิ้งระเบิด

ยุทธการของลุฟท์วัฟเฟอในครั้งนี้กลับประสบความล้มเหลว เนเธอร์แลนด์ยังรักษากรุงเฮกไว้ได้อยู่[15] แม้ฝ่ายเยอรมันสามารถยึดลานบินโดยรอบกรุงเฮกไว้ได้แต่ก็เสียทหารและเครื่องบินลำเลียงจำนวนมาก แต่ก็ถูกทหารเนเธอร์แลนด์สามารถยึดคืนได้ก่อนสิ้นวัน[16] ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานของเนเธอร์แลนด์สามารถยิงเครื่องบินเยอรมันตกได้ 96 ลำ[15] เครื่องบินลำเลียงของลุฟท์วัฟเฟอถูกยิงตก 125 ลำและเสียหาย 47 ฝ่ายเยอรมันใช้ทหารพลร่มในครั้งนี้กว่า 4,000 นาย ในจำนวนนี้กว่า 1,200 นายตกเป็นเชลยและถูกย้ายไปค่ายกักกันเชลยบนเกาะบริเตนใหญ่[17]

กองทัพที่ 7 ของฝรั่งเศสไม่สามารถสกัดกั้นกองพลยานเกราะที่ 9 (9. Panzer-Division) ที่มาถึงเมืองรอตเทอร์ดามในวันที่ 13 พฤษภาคม ในวันเดียวกันนี้ การโต้กลับทางด้านตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ประสบความล้มเหลว ทหารเนเธอร์แลนด์ต้องถอยร่นมายังแนวปราการฮอลแลนด์ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในค่ำวันที่ 14 พฤษภาคม เมื่อลุฟท์วัฟเฟอใช้เครื่องบินไฮง์เคิล เฮ 111 ทิ้งระเบิดที่เมืองรอตเทอร์ดาม รัฐบาลเนเธอร์แลนด์กลัวว่าหายนะแบบเดียวจะเกิดขึ้นกับเมืองอื่น จึงยอมจำนนต่อเยอรมนีอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤษภาคม สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาเสด็จลี้ภัยไปประเทศอังกฤษและตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่นั่น ศึกครั้งนี้ได้คร่าชีวิตทหารเนเธอร์แลนด์ 2,357 นายและพลเรือน 2,559 คน[18]

บุกครองเบลเยียม

แก้

กองทัพเยอรมันมีอำนาจเหนือน่านฟ้าเบลเยียมได้อย่างรวดเร็ว ด้วยภาพถ่ายทางอากาศจากการลาดตระเวนของเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอจึงสามารถทำลายเครื่องบิน 83 ลำจาก 179 ของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ภายในเวลา 24 ชั่วโมงตั้งแต่เริ่มบุก ฝ่ายเบลเยียมมุ่งเน้นไปที่การต้านทางบกและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการต่อต้านทางอากาศ ทำให้ท้ายที่สุด ลุฟท์วัฟเฟอมีอำนาจครองน่านฟ้าทั้งหมดของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ[19]

 
แผนที่ที่ตั้งของปราการเอเบิน-เอมาเอล

กลุ่มทัพ B ของเยอรมันที่บุกเข้ามาจากทางเนเธอร์แลนด์ มีการจัดวางกำลังที่อ่อนด้อยลงกว่าตอนแรก ทำให้เมื่อถูกรุกตีลวงโดยกองทัพที่ 6 ของฝรั่งเศส ฝ่ายเยอรมันก็ตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงทันที ขณะเดียวกัน แนวต้านของเบลเยียมที่คลองอัลเบิร์ตมีความเข้มแข็งมาก ทางแยกบริเวณแม่น้ำมิวเซอและอัลเบิร์ตอยู่ภายใต้การป้องกันโดยป้อมปราการเอเบิน-เอมาเอล ปราการขนาดใหญ่ที่ขึ้นชื่อว่าทันสมัยที่สุดในยุโรป การรุกของเยอรมันดูท่าจะต้องล่าช้าออกไป[20]

ความล่าช้าที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลกระทบต่อปฏิบัติการทั้งหมด ตามแผนแล้ว ฝ่ายเยอรมันจำเป็นปะทะกับทัพหลักของสัมพันธมิตรให้ได้ก่อนที่กลุ่มทัพ A จะตั้งฐานที่มั่นแล้วเสร็จ ที่สุดแล้ว ในเช้าวันที่ 10 พฤษภาคม ฝ่ายเยอรมันไม่มีทางเลือก จึงได้จัดหน่วยจู่โจมพิเศษ ใช้เครื่องร่อนลงด้านบนของปราการเอเบิน-เอมาเอล เพื่อทำลายปืนใหญ่หลักของป้อมปราการ ขณะเดียวกัน หน่วยพลร่มจะเข้ายึดสะพานข้ามคลองอัลเบิร์ต ฝ่ายเบลเยียมโต้กลับหลายหนแต่ก็ถูกขัดขวางโดยลุฟท์วัฟเฟอ การที่ปราการที่แกร่งที่สุดได้แตกลงสร้างความตกตะลึงแก่บรรดาผู้นำทหารของเบลเยียม กองบัญชาการใหญ่เบลเยียมสั่งการให้ถอยทัพมาตั้งหลักที่แนว KW ซึ่งเร็วกว่าที่คิดไว้ถึงห้าวัน ข่าวความพ่ายแพ้ที่ชายแดนเบลเยียมทำให้ฝรั่งเศสวิตกมาก ฝรั่งเศสโน้มน้าวให้เบลเยียมต่อสู้ต่อไปเพื่อถ่วงเวลาให้ฝรั่งเศสสร้างแนวรับที่ฌ็องบลู (Gembloux) ในเบลเยียม

ยุทธการที่อานูว์และฌ็องบลู

แก้

ยุทธการที่อานูว์ (12–13 พฤษภาคม) ในเบลเยียม ถือเป็นสมรภูมิยานเกราะที่ใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้น มียานเกราะเข้าร่วมในศึกครั้งนี้กว่า 1,500 คัน ฝรั่งเศสสามารถจัดการยานเกราะเยอรมันจนหมดสภาพรบไปได้ราว 160 คัน ในขณะที่ตัวเองเสียรถถัง Hotchkiss H35 จำนวน 91 คันและเสีย Somua S35 จำนวน 30 คัน[21] อย่างไรก็ตาม กองทัพเยอรมันเข้าควบคุมพื้นที่ไว้ได้ภายหลังฝรั่งเศสถอนกำลังอย่างเป็นระบบ และเยอรมันสามารถซ่อมแซมรถถังคืนสภาพมาได้ส่วนใหญ่ สรุปในศึกครั้งนี้ เยอรมันเสียยานเกราะไปสุทธิ 49 คัน[22] ส่วนฝรั่งเศสก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายทางยุทธวิธีที่จะถ่วงเวลาเดินทางและขุดสนามเพลาะให้แก่กองทัพที่ 1 ของฝรั่งเศส[23]

กองยานเกราะเยอรมันเข้าปะทะกับกองทัพที่ 1 ทางตอนเหนือราว 120 กิโลเมตรจากเซอด็อง (Sedan) ซึ่งเป็นจุดสำคัญสุดที่พลเอกเฮิพเนอร์ต้องการยึดแต่ทำไม่สำเร็จ ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม เฮิพเนอร์ซึ่งตั้งทัพที่อานูว์ ได้ขัดคำสั่งหน่วยเหนือและเข้าตีฌ็องบลูอีกครั้งเป็นยุทธการที่ฌ็องบลู ทหารฝรั่งเศสยังป้องกันฌ็องบลูไว้ได้แต่ก็เสียทหารไปไม่น้อย

แนวรบตอนกลาง

แก้

ป่าอาร์แดน

แก้
 
การรุกของเยอรมันจนถึงบ่าย 16 พฤษภาคม 1940

กองพลทหารม้าเบลเยียมนำสิ่งกีดขวางเข้าปิดกั้นเส้นทาง และเข้าปะทะกับกองพลยานเกราะที่ 1 ที่เมืองโบดอญ (Bodange) โดยจะมีกองพลทหารม้าเบาที่ 5 ของฝรั่งเศสมาช่วยเสริมกำลัง อย่างไรก็ตาม หลังสู้รบเป็นเวลากว่าแปดชั่วโมง กองพลฝรั่งเศสก็ยังไม่มาถึง กองพลเบลเยียมจึงจำต้องถอนกำลัง ทหารช่างเยอรมันเข้ารื้อสิ่งกีดขวางโดยง่าย กองทัพฝรั่งเศสมีอาวุธต่อต้านรถถังไม่เพียงพอรับฝูงยานเกราะเยอรมันจำนวนมหาศาล จึงร่นถอยมาฝั่งใต้ของแม่น้ำเมิซ

จำนวนยานยนต์มหาศาลของเยอรมันเป็นอุปสรรถต่อการเดินทัพเช่นกัน กลุ่มยานเกราะไคลสท์ (Panzergruppe Kleist) ซึ่งมียานยนต์กว่า 41,140 คัน ไม่สามารถยกทัพโดยถนนเพียงเส้นเดียว จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้เครือข่ายทางที่มีสภาพย่ำแย่กว่าในการยกทัพ ซึ่งในขณะนั้นมีเพียงสี่เส้นทางที่สามารถใช้ยกทัพผ่านอาร์แดน[24] เครื่องบินลานตระเวนของฝรั่งเศสรายงานว่าพบขบวนยานเกราะเยอรมันในคืนวันที่ 10/11 พฤษภาคม และคาดเดาว่าขบวนยานเกราะเหล่านี้จะไปโจมตีระลอกสองในเบลเยียม ในคืนถัดมา นักบินฝรั่งเศสรายงานว่าพบขบวนยานยนต์แถวยาวกำลังเคลื่อนที่แบบไม่เปิดไฟบนเส้นทางสู่อาร์แดน ต่อมามีการส่งนักบินไปยืนยันและพบว่าในบรรดายานยนต์ดังกล่าว จำนวนมากเป็นยานเกราะและบางส่วนเป็นรถสะพาน แต่พลเอกกาเมอแล็งไม่เชื่อรายงานนี้และเพิกเฉย

พลเอกกาเมอแล็งสั่งการให้กองพลทหารกองหนุนเข้าเสริมกำลังที่แนวรับแม่น้ำเมิซในวันที่ 11 พฤษภาคม แต่เนื่องด้วยมีภัยคุกคามทางอากาศจากลุฟท์วัฟเฟอ ทำให้การลำเลียงทหารฝรั่งเศสทางรถไฟทำได้ในเวลากลางคืนเท่านั้น การเสริมกำลังจึงล่าช้า ฝรั่งเศสเชื่อมั่นในความแข็งแกร่งของแนวรับที่แม่น้ำเมิซ และเชื่อว่าเยอรมันจะค่อยๆบุกอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อย่างไรก็ตาม ในเช้าวันถัดมาฝรั่งเศสพบว่าส่วนหน้าของกลุ่มทัพ A ของเยอรมัน บุกมาถึงแม่น้ำเมิซแล้ว

13 พฤษภาคม กลุ่มยานเกราะไคลสท์ประสบจราจรติดขัดบนเส้นทางสายหนึ่งเป็นระยะทางยาวกว่า 250 กิโลเมตรตั้งแต่แม่น้ำไรน์ในเยอรมนีจนถึงแม่น้ำเมิซในฝรั่งเศส ระหว่างที่ฝูงยานเกราะเยอรมันตกเป็นเป้านิ่งอยู่นี้เอง ฝรั่งเศสกลับไม่ยอมส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดมาโจมตีฝูงยานเกราะเยอรมันดังกล่าว แต่กลับส่งไปโจมตีกองทัพเยอรมันในตอนเหนือของเบลเยียม ในเวลาเพียงสองวัน เครื่องบินทิ้งระเบิดฝรั่งเศสลดจำนวนจาก 135 เหลือ 72 ลำเท่านั้น[25]

ยุทธการที่เซอด็อง

แก้

เยอรมันข้ามแม่น้ำเมิซ

แก้

ผลตอบรับในเยอรมนี

แก้
 
ฮิตเลอร์และนายทหารที่ได้รับยศจอมพล

ฮิตเลอร์คาดการณ์ว่าเยอรมันจะเสียทหารไปในการบุกฝรั่งเศสราวหนึ่งล้านนาย อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของเขาสำเร็จลงในเวลาเพียงหกสัปดาห์ ทหารเยอรมันเสียชีวิตเพียง 27,074 นาย, สูญหาย 18,384 นาย และบาดเจ็บ 111,034 นาย[5][26] ชัยชนะครั้งใหญ่ที่ไม่คาดคิดทำให้ประชาชนชาวเยอรมันตกอยู่ในคลื่นความยินดี ความนิยมในตัวฮิตเลอร์พุ่งกระฉูด ในวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 ฮิตเลอร์จัดพิธีมอบยศจอมพลให้แก่ 12 นายทหาร ได้แก่:

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Umbreit 2015, p. 279.
  2. Zaloga 2011, p. 73.
  3. Hooton 2007, pp. 47–48
  4. Hooton 2007, p. 90.
  5. 5.0 5.1 Frieser (1995), p. 400.
  6. Murray 1983, p. 40.
  7. Viscount Halifax to Sir N. Henderson (Berlin) เก็บถาวร 2 ตุลาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Cited in the British Blue book
  8. "Britain and France declare war on Germany". The History Channel. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
  9. Indiana University. "Chronology 1939". indiana.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  10. Shirer 1990, p. 715
  11. Weinberg p. 122.
  12. Hooton 2007, pp. 49–54.
  13. Evans 2000, pp. 33–38
  14. Hooton 2007, pp. 48–49, 52
  15. 15.0 15.1 Hooton 1994, p. 244.
  16. L. de Jong, 1971 nopp
  17. Hooton 2007, pp. 244 –, 50, 52
  18. Evans 2000, p. 38
  19. Hooton, 2007, p. 48
  20. Dunstan 2005, pp. 31–32
  21. Pierre Genotte, pp. 56–57.
  22. Gunsburg 1992, pp. 207–44, 236–37, 241.
  23. Frieser 2005, pp. 246–48.
  24. Frieser 2005, pp. 137–42.
  25. Jackson 1974, p. 56.
  26. L'Histoire, No. 352, April 2010 France 1940: Autopsie d'une défaite, p. 59.