การสงบศึก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940
การสงบศึก 22 มิถุนายน ค.ศ. 1940 ได้ลงนามในเวลา 18 นาฬิกา 36 นาที[1] ใกล้กับป่ากงเปียญ, ฝรั่งเศส โดยนาซีเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 อย่างเป็นทางการ มันไม่ได้มีผลจนกระทั่งภายหลังเที่ยงคืนของวันที่ 25 มิถุนายน
ผู้ลงนามจากเยอรมนีได้รวมถึงเจ้าหน้าที่นายทหารระดับอาวุโส เช่น วิลเฮ็ล์ม ไคเทิล ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเวร์มัคท์(กองทัพเยอรมัน) ในขณะที่ทางด้านฝ่ายฝรั่งเศสเป็นเจ้าหน้าที่นายทหารระดับชั้นผู้น้อย เช่น นายพล Charles Huntziger ภายหลังจากชัยชนะที่เด็ดขาดของเยอรมันในยุทธการที่ฝรั่งเศส(10 พฤษภาคม - 21 มิถุนายน ค.ศ. 1940) การสงบศึกครั้งนี้ได้จัดตั้งเขตยึดครองของเยอรมันในภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศสซึ่งได้ครอบคลุมไปถึงช่องแคบอังกฤษทั้งหมดและท่าเรือมหาสมุทรแอตแลนติกและทิ้งส่วนที่เหลือไว้ให้เป็น"เขตเสรี"ที่ปกครองโดยฝรั่งเศส อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้จงใจเลือกป่ากงเปียญเป็นสถานที่เพื่อลงนามในการสงบศึกเนื่องจากเป็นสัญลักษณ์บทบาทที่เป็นสถานที่ของการสงบศึกกับเยอรมนีในปี ค.ศ. 1918 เมื่อเป็นสัญญาณถึงการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับเยอรมนียอมจำนน
ดูเพิ่ม
แก้- การสงบศึกฝรั่งเศส-อิตาลี - ระหว่างฝรั่งเศสกับอิตาลี ในปี ค.ศ. 1940
- การสงบศึกกัสซีบีเล - ระหว่างอิตาลีกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในปี ค.ศ. 1943
- การสงบศึกมอสโก - ระหว่างฟินแลนด์กับสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1944
อ้างอิง
แก้- ↑ Maury, Jean-Pierre. ""Convention d'armistice" – Text of the armistice signed in Rethondes on 22 June 1940". mjp.univ-perp.fr. University of Perpignan. สืบค้นเมื่อ 11 June 2015.
บรรณานุกรม
แก้- United States Department of State, Publication No. 6312, Documents on German Foreign Policy, 1918–1945, Series D, IX, 671–676. Washington, DC : Government Printing Office, 1956.
อ่านเพิ่ม
แก้- Gates, Eleanor. End of the Affair: The Collapse of the Anglo-French Alliance, 1939–1940 (1980)
- Jackson, Julian. France: The Dark Years, 1940–1944 (2001) ch 6
- Lacouture, Jean. De Gaulle: The Rebel, 1890–1944 (1984; English ed. 1991), ISBN 084190927X
- Potts, William J. The German-French Armistice of June, 1940, and the German Armistice Commission, 1940–1942 1966.
- Shirer, William. The Collapse of the Third Republic (1969)