ความตกลงมิวนิก[a] เป็นความตกลงระหว่างนาซีเยอรมนี สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส และฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 ณ เมืองมิวนิก โดยในความตกลงอนุญาตให้เยอรมนีผนวกพื้นที่บริเวณชายแดนของเชโกสโลวาเกียหรือ "ซูเดเทินลันท์" เนื่องจากภูมิภาคนี้มีประชากรที่เป็นชาติพันธุ์เยอรมันอาศัยอยู่มากกว่าสามล้านคน[1] ความตกลงนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในบางพื้นที่ในชื่อ การทรยศมิวนิก[b] อันเป็นผลจากความตกลงพันธมิตรใน ค.ศ. 1924[2] และกติกาสัญญาทางทหารใน ค.ศ. 1925 ระหว่างฝรั่งเศสกับสาธารณรัฐเชโกสโลวัก หลังจากความตกลง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ประกาศว่านี่จะเป็นการอ้างสิทธิดินแดนสุดท้ายของตนในยุโรป

ความตกลงมิวนิก
ภาพถ่ายก่อนการลงนามในความตกลงมิวนิก (ค.ศ. 1938) (จากซ้ายไปขวา: เนวิล เชมเบอร์ลิน, เอดัวร์ ดาลาดีเย,
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, และเบนิโต มุสโสลินี)
วันลงนาม30 กันยายน ค.ศ. 1938
ที่ลงนามมิวนิก ไรช์เยอรมัน
ผู้ลงนาม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เนวิล เชมเบอร์ลิน
เอดัวร์ ดาลาดีเย
เบนิโต มุสโสลินี
ภาคี

เยอรมนีได้เริ่มทำสงครามที่มีความรุนแรงต่ำโดยปราศจากการประกาศสงครามต่อเชโกสโลวาเกีย เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1938 ในการตอบสนอง สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ขอให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนของตนให้แก่เยอรมนีอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ตามมาด้วยการเรียกร้องดินแดนของโปแลนด์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน และฮังการี เมื่อวันที่ 22 กันยายน ในขณะเดียวกัน กองทัพเยอรมันได้เข้ายึดพื้นที่บางส่วนของเขตเชบ (Cheb District) และเขตเชเซนิก (Jeseník District) และบุกรุกแบบชั่วครู่ แต่ถูกขับไล่ออกจากมณฑลชายแดนอื่น ๆ อีกหลายสิบแห่ง โปแลนด์ยังได้จัดตั้งกลุ่มหน่วยกำลังรบของตนใกล้กับชายแดนร่วมกับเชโกสโลวาเกีย และยังได้ยุยงให้มีการก่อวินาศกรรมที่ไม่ประสบความสำเร็จในวันที่ 23 กันยายน[3] ฮังการียังได้เคลื่อนกำลังพลไปยังชายแดนเชโกสโลวาเกีย โดยปราศจากการโจมตี

การประชุมภาวะฉุกเฉินของมหาอำนาจยุโรปหลัก-ไม่ได้รวมถึงเชโกสโลวาเกีย แม้ว่าตัวแทนของพวกเขาจะอยู่ในเมืองหรือสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทั้งฝรั่งเศสและเชโกสโลวาเกีย -ซึ่งเกิดขึ้นในมิวนิก เยอรมนี เมื่อวันที่ 29-30 กันยายน ค.ศ. 1938 ข้อตกลงนี้ได้บรรลุอย่างรวดเร็วตามเงื่อนไขของฮิตเลอร์ ซึ่งได้ถูกลงนามโดยผู้นำของเยอรมนี ฝรั่งเศส บริเตน และอิตาลี ชายแดนที่ติดกับเทือกเขาของเชโกสโลวักที่มหาอำนาจได้เสนอเพื่อเอาใจต่อเยอรมนี ไม่เพียงแต่เป็นชายแดนทางธรรมชาติระหว่างรัฐเช็กและรัฐเจอร์มานิกนับตั้งแต่สมัยกลางตอนต้น แต่ยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญทางธรรมชาติต่อการโจมตีใด ๆ ต่อเยอรมนีที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้รับการเสริมกำลังด้วยป้อมปราการชายแดนที่สำคัญ ซูเดเทินลันท์นั้นมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่งต่อเชโกสโลวาเกีย

เมื่อวันที่ 30 กันยายน เชโกสโลวาเกียได้ยอมจำนนต่อแรงกดดันทางทหารจากเยอรมนี โปแลนด์ และฮังการี และแรงกดดันทางการทูตจากสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส และยินยอมที่จะสละดินแดนให้กับเยอรมนีตามเงื่อนไขมิวนิก จากนั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม เชโกสโลวาเกียยังได้ยอมรับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับดินแดนของโปแลนด์อีกด้วย[4]

ความตกลงมิวนิกได้มีผลตามมาในไม่ช้าด้วยรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 โดยมีการแบ่งแยกดินแดนที่มีชาวฮังการีเป็นส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของสโลวาเกียและคาร์เพเทียนตอนล่างของรุส (Subcarpathian Rus') ทางตอนใต้ออกจากเชโกสโลวาเกีย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 เชโกสโลวาเกียได้ยกดินแดนเล็ก ๆ ให้กับโปแลนด์ในภูมิภาคสปิช(Spiš)และโอราวา(Orava)[5]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีได้ประกาศอิสรภาพ ภายหลังจากนั้นไม่นาน ฮิตเลอร์ก็ได้ทรยศต่อคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งขรึมของตนที่จะเคารพต่อความเป็นบูรณภาพของเชโกสโลวาเกียโดยได้มีการสถาปนาจัดตั้งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย มอบให้เยอรมนีควบคุมส่วนที่เหลืออยู่ของเชโกสโลวาเกียได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งคลังสรรพาวุธทางทหารที่สำคัญซึ่งต่อมาได้มีบทบาทที่สำคัญในการบุกครองโปแลนด์และฝรั่งเศสของเยอรมนี[6] ซึ่งเป็นผลทำให้เชโกสโลวาเกียหายไป[7]

ปัจจุบัน ความตกลงมิวนิกได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำอันล้มเหลวในการจำยอมสละ และคำนี้ได้กลายเป็น "คำขวัญสำหรับความไร้ประโยชน์ของรัฐเผด็จการที่ได้ขยายตัว"[8]

ประวัติศาสตร์

แก้

เบื้องหลัง

แก้

การเรียกร้องเอกราช

แก้
 
เขตแดนเช็กที่มีประชากรชนกลุ่มชาวเยอรมันใน ค.ศ. 1934 20% หรือมากกว่า (สีชมพู), 50% หรือมากกว่า (สีแดง) และ 80% หรือมากกว่า (สีแดงทึบ)[9] ใน ค.ศ. 1935
 
คอนราด เฮนไลน์, ผู้นำพรรคซูเดเทินเยอรมัน (SdP), สาขาของพรรคนาซีเยอรมนีในเชโกสโลวาเกีย
 
แอ็ดวาร์ต แบแน็ช ประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกียและผู้นำแห่งรัฐบาลผลัดถิ่นเชโกสโลวัก

สาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่งได้ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1918 ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้สิ้นสุดลง สนธิสัญญาแซ็ง-แฌร์แม็งได้ให้การรับรองความเป็นเอกราชของเชโกสโลวาเกียและสนธิสัญญาทรียานงได้มีการกำหนดเขตชายแดนของรัฐใหม่ซึ่งก็คือ การแบ่งแยกดินแดนออกเป็นภูมิภาคของโบฮีเมียและมอราเวียในตะวันตกและสโวลาเกียและคาร์เพเทียน รูเทเนียในตะวันออกรวมไปถึงชาวเยอรมันที่มีมากกว่าสามล้านคน ประมาณ 22.95% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ พวกเขาส่วนใหญ่ได้อาศัยอยู่ในเขตชายแดนของดินแดนเช็กตามประวัติศาสตร์ที่พวกเขาได้สร้างขึ้นมาใหม่โดยตั้งชื่อว่า ซูเดเทินลันท์ ซึ่งมีชายแดนติดกับประเทศเยอรมนีและออสเตรียที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาใหม่

ชาวเยอรมันซูเดเทินไม่ได้รับการปรึกษาหารือว่าต้องการที่จะเป็นพลเมืองของเชโกสโลวาเกียหรือไม่ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะรับรองความเท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองทุกคน แต่ก็มีแนวโน้มในหมู่ผู้นำทางการเมืองที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศ"ให้กลายเป็นเครื่องมือของลัทธิชาตินิยมชาวเช็กและสโลวัก" มีความคืบหน้าในการรวบรวมชาวเยอรมันและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ แต่พวกเขายังคงมีบทบาทน้อยในรัฐบาลและกองทัพ ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1929 ส่งผลกระทบต่อชาวเยอรมันซูเดเทินที่มีการงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่สูงและการส่งออกมากกว่าประชากรชาวเช็กและสโลวัก ภายใน ค.ศ. 1936 ประมาณ 60 เปอร์เซ็นของผู้ว่างงานในเชโกสโลวาเกียล้วนเป็นชาวเยอรมัน

ใน ค.ศ. 1933 ผู้นำชาวเยอรมันซูเดเทินนามว่า คอนราด เฮนไลน์ ได้ก่อตั้งพรรคซูเดเทินเยอรมัน (Sdp) ซึ่งเป็น"กลุ่มติดอาวุธ ประชานิยม และเป็นปรปักษ์อย่างเปิดเผย" ต่อรัฐบาลเชโกสโลวัก และในไม่ช่าก็ได้ยึดครองสองในสามของคะแนนเสียงในเขตที่มีประชากรชาวเยอรมันจำนวนมาก นักประวัติศาสตร์ต่างถกเถียงกันว่า Sdp เป็นองค์กรแนวหน้าของนาซีตั้งแต่เริ่มต้นหรือพัฒนาเป็นองค์กรเกียว ใน ค.ศ. 1935 Sdp เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในเชโกสโลวาเกีย เนื่องจากการโหวตของชาวเยอรมันจะมุ่งเป้าไปที่พรรคนี้ และคะแนนเสียงของเช็กและสโลวักต่างกระจายไปยังหลายฝ่าย

ไม่นานภายหลังจากที่เยอรมนีได้ผนวกรวมกับออสเตรียหรืออันชลุส เฮนไลน์ได้เข้าพบกับฮิตเลอร์ที่กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1938 และเขาได้รับคำสั่งในการยกข้อเรียกร้องที่ไม่อาจยอมรับได้ต่อรัฐบาลประชาธิปไตยเชโกสโลวัก ซึ่งนำโดยประธานาธิบดี แอ็ดวาร์ต แบแน็ช เมื่อวันที่ 24 เมษายน Sdp ได้เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลเชโกสโลวาเกียที่เป็นที่รู้จักกันคือ โครงการคาร์ลสบาเดอร์ เฮนไลน์ได้เรียกร้องสิ่งต่าง ๆ เช่น เอกราชสำหรับชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในเชโกสโลวาเกีย รัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้ตอบสนองโดยกล่าวว่ายินดีที่จะมอบสิทธิชนกลุ่มน้อยมากยิ่งขึ้นแก่ชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมัน แต่เดิมไม่มีความเต็มใจที่จะให้เอกราช Sdp ได้รับ 88% ของคะแนนเสียงชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมันในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1938

ด้วยความตึงเครียดสูงระหว่างชาวเยอรมันและรัฐบาลเชโกสโลวัก เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1938 แบแน็ชได้เสนออย่างลับ ๆ ว่าจะมอบพื้นที่ของเชโกสโลวาเกียประมาณ 6,000 ตารางกิโลเมตร(2,300 ตารางไมล์) แก่เยอรมนี เพื่อแลกกับข้อตกลงของเยอรมันที่จะให้การยอมรับชาวเยอรมันซูเดเทินจำนวนประมาณ 1.5 ถึง 2.0 ล้านคน ซึ่งเชโกสโลวาเกียจะทำการขับไล่ แต่ฮิตเลอร์ยังไม่ได้ให้คำตอบ

วิกฤตการณ์ซูเดเทิน

แก้

ดังที่ฮิตเลอร์ได้แสดงท่าทีที่สงบก่อนหน้านี้ ฝรั่งเศสและบริติชนั้นตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม รัฐบาลฝรั่งเศสไม่ต้องการที่จะเผชิญหน้ากับเยอรมนีเพียงลำพังและผู้นำจากรัฐบาลบริติชฝ่ายอนุรักษ์นิยมของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน เขาคิดว่าความขับข้องใจของชาวเยอรมันซูเดเทินนั้นดูสมเหตุสมผลและเชื่อว่าเจตนารมณ์ของฮิตเลอร์จะถูกจำกัด ดังนั้น ทั้งบริติชและฝรั่งเศสจึงแนะนำให้เชโกสโลวาเกียยอมรับข้อเรียกร้องของเยอรมนี แบแน็ชคัดค้าน และเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ได้เริ่มระดมพลกองกำลังทหารเพียงบางส่วนเพื่อตอบโต้การบุกครองของเยอรมนีที่อาจจะเกิดขึ้นได้[10]

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ฮิตเลอร์ได้นำเสนอร่างแผนการในการโจมตีเชโกสโลวาเกียแก่นายพลของเขาซึ่งมีชื่อรหัสนามว่า ปฏิบัติการเขียว[11] เขายืนยันว่า เขาจะไม่ "บดขยี้เชโกสโลวาเกีย"ด้วยกำลังทหารโดยปราศจาก"การยั่วยุ" "โอกาศที่เอื้ออำนวยโดยเฉพาะ" หรือ "เหตุผลทางการเมืองที่เพียงพอ"[12] เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ฮิตเลอร์ได้เรียกประชุมผู้นำทางทหารของเขา ออกคำสั่งให้ทำการเร่งสร้างเรืออู และดำเนินในการสร้างเรือประจัญบานใหม่ของเขาอย่างบิสมาร์คและเทียร์พิทซ์ ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1940 เขาได้เรียกร้องให้เพิ่มอำนาจการยิงของเรือประจัญบานชาร์นฮอร์ชตและไกเซเนาอย่างเร่งด่วน[13] ในขณะที่ได้ตระหนักว่าสิ่งเหล่ายังไม่เพียงพอสำหรับการทำสงครามทางทะเลกับบริติชอย่างเต็มรูปแบบ ฮิตเลอร์คาดหวังว่าจะเป็นอุปสรรคที่เพียงพอ[14] สิบวันต่อมา ฮิตเลอร์ได้ลงนามคำสั่งลับในการทำสงครามกับเชโกสโลวาเกียที่จะเริ่มต้นภายในวันที่ 1 ตุลาคม[13]

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม Juliusz Łukasiewicz เอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำฝรั่งเศสได้บอกกับรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส Georges Bonnet ว่าถ้าหากฝรั่งเศสจะต่อสู้กับเยอรมนีเพื่อปกป้องเชโกสโลวาเกีย "เราจะไม่เคลื่อนไหว" Łukasiewicz ยังได้บอกกับ Bonnet อีกว่าโปแลนด์จะคัดค้านความพยายามใด ๆ ของกองกำลังโซเวียตในการปกป้องเชโกสโลวาเกียจากเยอรมนี ดาลาลีเยได้บอกกับ jakob Surits เอกอัครราชทูตโซเวียตประจำฝรั่งเศส "ไม่เพียงแต่เราไม่สามารถนับถึงการสนับสนุนจากโปแลนด์ แต่เราไม่มีความเชื่อที่ว่าโปแลนด์จะไม่โจมตีเราจากด้านหลัง"[15] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลโปแลนด์ชี้แนะหลายครั้ง(ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1936 และเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และสิงหาคม ค.ศ. 1938) ว่าพร้อมที่จะต่อสู้กับเยอรมนี ถ้าหากฝรั่งเศสได้ตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเชโกสโลวาเกีย: "ข้อเสนอของเบ็คต่อ Bonnet คำแถลงการณ์ของเขาต่อ เอกอัครราชทูต Drexel Biddle และคำแถลงการณ์ของ Vansittart ได้ระบุว่า แท้จริงแล้วรัฐมนตรีต่างประเทศของโปแลนด์พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างรุนแรง หากมหาอำนาจตะวันตกตัดสินใจทำสงครามกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอและแถลงการณ์เหล่านี้ไม่ได้กระตุ้นก่อให้เกิดปฏิกิริยาใด ๆ จากรัฐบาลบริติชและฝรั่งเศส ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การหลบเลี่ยงสงครามด้วยการเอาใจเยอรมนี"[3]

 
เชโกสโลวาเกียได้สร้างระบบชายแดนป้อมปราการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ถึง ค.ศ. 1938 ซึ่งเป็นมาตรการการป้องกันต้านทานภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นของนาซีเยอรมนี

ผู้ช่วยของฮิตเลอร์ Fritz Wiedemann ได้เล่าในช่วงหลังสงครามว่า เขาต้อง"ตกใจอย่างมาก"กับแผนการใหม่ของฮิตเลอร์ที่จะโจมตีบริติชและฝรั่งเศส ภายหลังจาก"จัดการกับสถานการณ์"ในเชโกสโลวาเกียเป็นเวลาสามถึงสี่ปี[16] นายพล ลูทวิช เบ็ค หัวหน้าเสนาธิการเยอรมันได้ตั้งข้อสังเกตว่าฮิตเลอร์ได้เปลี่ยนใจในการสนับสนุนให้ดำเนินการอย่างรวดเร็วคือ การป้องกันเชโกสโลวักซึ่งยังคงมีการด้นสด ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้นอีกในสองถึงสามปีต่อมา และการฟื้นแสนยานุภาพของบริติชจะไม่มีผลจนกระทั่ง ค.ศ. 1941 หรือ 1942[14] นายพล อัลเฟรท โยเดิล ได้ระบุในอนุทินของเขาว่าการระดมพลบางส่วนของเชโกสโลวาเกียในวันที่ 21 พฤษภาคม ทำให้ฮิตเลอร์ต้องออกคำสั่งใหม่สำหรับปฏิบัติการเขียวในวันที่ 30 พฤษภาคม และมาพร้อมกับจดหมายปะหน้าจากวิลเฮ็ล์ม ไคเทิล ระบุว่าแผนการจะต้องดำเนินการภายในวันที่ 1 ตุลาคมอย่างช้าที่สุด[14]

ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลบริติชได้เรียกร้องให้แบแน็ชร้องขอผู้ไกล่เกลี่ย ด้วยความไม่ประสงค์ที่รัฐบาลจะตัดความสัมพันธ์กับยุโรปตะวันออก แบแน็ชยอมรับอย่างไม่เต็มใจ บริติชได้แต่งตั้งลอร์ดรันซิมัน อดีตรัฐมนตรีฝ่ายเสรีนิยม ซึ่งได้เดินทางมาถึงปรากในวันที่ 3 สิงหาคม พร้อมคำแนะนำให้เกลี้ยกล่อมแบแน็ชให้เห็นด้วยกับแผนการที่ยอมรับได้ต่อชาวเยอรมันซูเดเทิน[17] เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม Bonnet ได้บอกกับเอกอัครราชทูตเชโกสโลวักในกรุงปารีสว่า ในขณะที่ฝรั่งเศสจะประกาศสนับสนุนในที่สาธารณะเพื่อช่วยเหลือในการเจรจาของเชโกสโลวัก แต่ไม่ได้เตรียมที่จะทำสงครามบนซูเดเทินลันท์[17] ในเดือนสิงหาคม สื่อเยอรมันที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่กล่าวหาว่า เชโกสโลวักกระทำโหดร้ายต่อชาวเยอรมันซูเดเทิน โดยมีเจตนาที่จะบีบบังคับให้ตะวันตกกดดันให้เชโกสโลวักทำการยินยอม[18] ฮิตเลอร์คาดหวังว่าเชโกสโลวาเกียจะให้การปฏิเสธและตะวันตกจะรู้สึกมีเหตุผลที่ชอบธรรมเพียงพอที่จะปล่อยให้เชโกสโลวักไปสู่ชะตากรรมของพวกเขา[19] ในเดือนสิงหาคม เยอรมนีได้ส่งทหารจำนวน 750,000 นาย เข้าประชิดตามชายแดนของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการซ้อมรบอย่างเป็นทางการ[20][19] วันที่ 4 หรือ 5 กันยายน[17] แบแน็ชได้ยื่นแผนสี่ฉบับ โดยให้ความต้องการเกือบทั้งหมดตามข้อตกลง ชาวเยอรมันซูเดเทินซึ่งอยู่ภายใต้การชี้นำจากฮิตเลอร์เพื่อหลีกเลี่ยงความประนีประนอม[19] และ SbP ได้จัดให้มีการประท้วงที่กระตุ้นก่อให้เกิดการดำเนินการของตำรวจในออสตราวา เมื่อวันที่ 7 กันยายน ซึ่งมีผู้แทนจากรัฐสภาสองคนถูกจับกุม[17] เยอรมันซูเดเทินได้ใช้เหตุการณ์และข้อกล่าวหาเท็จว่ากระทำอันโหดร้ายอื่น ๆ เพื่อเป็นข้ออ้างในการยุติเจรจาต่อไป[17][21]

 
ฮิตเลอร์ทักทายกับแชมเบอร์ลินบนขั้นบันไดของแบร์คโฮฟ วันที่ 15 กันยายน ค.ศ.1938

เมื่อวันที่ 12 กันยายน ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่การชุมนุมพรรคนาซีในเนือร์นแบร์คเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ซูเดเทินซึ่งเขาได้กล่าวประณามการกระทำของรัฐบาลเชโกสโลวาเกีย[22] ฮิตเลอร์ยังได้ตำหนิเชโกสโลวาเกียว่าเป็นรัฐอันฉ้อฉลที่เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญถึงการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง การกล่าวอ้างว่า เป็นมุขยภาพของเช็ก แม้ว่าชาวเยอรมัน ชาวสโลวัก ชาวฮังการี ชาวยูเครน และชาวโปแลนด์ของประเทศต้องการที่จะอยู่ร่วมกันกับชาวเช็กอย่างแท้จริง[23] ฮิตเลอร์กล่าวหาแบแน็ชว่าพยายามที่จะกำจัดชาวเยอรมันซูเดเทินอย่างค่อยเป็นค่อยไป และกล่าวอ้างว่าตั้งแต่การก่อตั้งของเชโกสโลวาเกีย ชาวเยอรมันกว่า 600,000 คน ถูกบังคับอย่างจงใจให้ออกจากบ้านภายใต้ภัยคุกคามของทุกขภิกภัย หากพวกเขาพวกเขาไม่ออกไป[24] ฮิตเลอร์กล่าวหาว่ารัฐบาลของแบแน็ชทำการข่มเหงชาวเยอรมันพร้อมกับชาวฮังการี ชาวโปแลนด์ และชาวสโลวัก และกล่าวหาแบเน็ชว่าทำการขู่เข็ญทางเชื้อชาติด้วยการตราหน้าว่าเป็นคนทรยศต่อชาติ หากพวกเขาไม่จงรักภักดีต่อประเทศ[25] เขาได้กล่าวว่าตัวเขาเองในฐานะประมุขแห่งรัฐของเยอรมนีจะสนับสนุนสิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของสหายชาวเยอรมันในซูเดเทินลันท์[26] เขาได้ตำหนิแบแน็ชสำหรับรัฐบาลของเขาได้ทำการประหารชีวิตผู้ประท้วงชาวเยอรมันหลายคนเมื่อไม่นานนี้[27] เขาได้กล่าวหาแบแน็ชว่ามีพฤติกรรมกระหายสงครามและคุกคามต่อเยอรมนี ซึ่งหากเกิดสงครามขึ้น จะส่งผลทำให้แบแน็ชบีบบังคับชาวเยอรมันซูเดเทินลุกขึ้นต่อสู้กับความตั้งใจของพวกเขาในการต่อต้านชาวเยอรมันจากเยอรมนี[28] ฮิตเลอร์ได้กล่าวหารัฐบาลเชโกสโลวาเกียว่าเป็นระบอบรัฐบริวารของฝรั่งเศส โดยการอ้างอิงถึงรัฐมนตรีกระทรวงการบินของฝรั่งเศส Pierre Cot ซึ่งกล่าวว่า "เราต้องการรัฐนี้เป็นฐานทัพในการทิ้งระเบิดได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นเพื่อทำลายเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของเยอรมนี"[29]

 
แชมเบอร์ลินได้รับการต้อนรับจากฮิตเลอร์ในช่วงเริ่มต้นการประชุมแบ็ด โกเดสแบร์ก วันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 1938

วันที่ 13 กันยายน ภายหลังจากความรุนแรงภายในและการแตกแยกในเชโกสโลวาเกียได้เกิดขึ้น แชมเบอร์ลินได้ขอให้ฮิตเลอร์จัดการประชุมส่วนตัวเพื่อหาทางแก้ไขในการหลีกเลี่ยงสงคราม แชมเบอร์ลินได้ตัดสินใจที่จะทำเช่นนี้ภายหลังจากได้หารือกับที่ปรึกษาของเขาอย่างฮาลิแฟกซ์ เซอร์ จอห์น ซิมอน และเซอร์ ซามูเอล ฮอร์ การประชุมได้ถูกประกาศขึ้นในงานแถลงข่าวพิเศษที่ถนน 10 ดาว์นิ่ง และนำไปสู่การมองโลกในแง่ดีในความคิดเห็นของประชาชนชาวบริติชเพิ่มมากขึ้น แชมเบอร์ลินได้มาถึงโดยการเช่าเครื่องบินล็อกฮีด อีเล็กตร้าจากบริติชแอร์เวย์ในเยอรมนี เมื่อวันที่ 15 กันยายนและเดินทางไปถึงที่พักของฮิตเลอร์ในแบร์ชเทิสกาเดินเพื่อเข้าประชุม เที่ยวบินนี้เป็นหนึ่งในครั้งแรกที่ประมุขแห่งรัฐหรือเจ้าหน้าที่ทางการทูตขึ้นเครื่องบินไปเพื่อเข้าประชุมทางการทูตในเครื่องบิน เนื่องจากสถานการณ์ความตึงเครียดทำให้ไม่มีเวลาในการขึ้นรถไฟหรือเรือ เฮนไลน์ได้ขึ้นเครื่องบินไปยังเยอรมนีในวันเดียวกัน ในวันนั้น ฮิตเลอร์และแชมเบอร์ลินได้สนทนาโต้เถียงกัน ซึ่งฮิตเลอร์ยืนกรานว่าชาวเยอรมันซูเดเทินต้องได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการกำหนดปกครองตนเองของชาติ และสามารถที่จะผนวกรวมซูเดเทินลันท์เข้ากับเยอรมนี ฮิตเลอร์ได้กล่าวอ้างที่เป็นเท็จอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่ารัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้ทำการสังหารชาวเยอรมันซูเดเทนกว่า 300 คน ฮิตเลอร์ยังแสดงความกังวลต่อแชมเบอร์ลินเกี่ยวกับสิ่งที่เขามองว่า บริติชเป็น"ภัยคุกคาม" แชมเบอร์ลินโต้ตอบว่า เขาไม่ได้"คุกคาม"เลยสักนิด และถามฮิตเลอร์ด้วยความหงุดหงิดว่า "ทำไมฉันมาที่นี่เพื่อมาเสียเวลาด้วย?" ฮิตเลอร์ตอบว่า ถ้าหากแชมเบอร์ลินเต็มใจยอมรับการตัดสินใจของชาวเยอรมันซูเดเทิน เขามีความยินดีที่จะหารือเรื่องนี้ ฮิตเลอร์ยังโน้มน้าวแชมเบอร์ลินด้วยว่าเขาไม่ได้ต้องการทำลายเชโกสโลวาเกียอย่างแท้จริง แต่เขาเชื่อว่าเมื่อเยอรมนีได้ผนวกรวมดินแดนซูเดเทินลันท์ ชนกลุ่มน้อยของประเทศนั้นก็จะแยกตัวออกจากกันและทำให้ประเทศล่มสลาย แชมเบอร์ลินและฮิตเลอร์ได้สนทนากันเป็นเวลาสามชั่วโมง และการประชุมก็ได้ยุติลง แชมเบอร์ลินได้บินกลับไปยังอังกฤษและเข้าพบกับคณะรัฐมนตรีเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้

ภายหลังการประชุม ดาลาดีเยได้บินมายังลอนดอน เมื่อวันที่ 16 กันยายน เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่ของบริติชเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติ สถานการณ์ในเชโกสโลวาเกียเริ่มตึงเครียดในวันนั้น โดยรัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้ออกหมายจับเฮนไลน์ ซึ่งได้เดินทางมาถึงเยอรมนีเมื่อวันก่อนเพื่อมีส่วนร่วมในการเจรจา ข้อเสนอของฝรั่งเศสมีตั้งแต่การทำสงครามกับเยอรมนีไปจนถึงการสนับสนุนซูเดเทินลันท์ที่กำลังจะถูกให้แก่เยอรมนี การปรึกษาหารือกันได้จบลงด้วยแผนการของบริติช-ฝรั่งเศสที่มั่นคงซึ่งได้ถูกวางเอาไว้ บริติช-ฝรั่งเศสเรียกร้องให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนทั้งหมดที่มีประชากรมากกว่า 50% ของประชากรทั้งหมดของซูเดเทินลันท์แก่เยอรมนี เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนด้วยสัมปทานนั้น บริติช-ฝรั่งเศสได้ให้ความรับรองความเป็นเอกราชของเชโกสโลวาเกีย วิธีแก้ปัญหาที่ได้นำเสนอกลับถูกปฏิเสธโดยทั้งเชโกสโลวาเกียและฝ่ายค้านในบริเตนและฝรั่งเศส

 
ทหารจากกองทัพเชโกสโลวักทำการลาดตระเวนในซูเดเทินลันท์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1938

เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1938 ฮิตเลอร์ได้สั่งให้จัดตั้งซูเดเทินด็อยท์เชิส ไฟรคอร์("เหล่าทหารเสรีชาวเยอรมันซูเดเทิน") ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งทหารที่เข้าควบคุมโครงสร้างของ Ordnersgruppe ซึ่งเป็นองค์กรของกลุ่มชาติพันธ์เชื้อสายเยอรมันในเชโกสโลวาเกียซึ่งได้ถูกทางการของเชโกสโลวาเกียยุบเลิกไปเมื่อวันก่อน เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องในกิจกรรมความเคลื่อนไหวในการก่อการร้ายจำนวนมาก องค์กรดังกล่าวได้รับการปกป้อง ฝึกฝน และติดตั้งอุปกรณ์โดยอำนาจของเยอรมัน และดำเนินการในการก่อการร้ายข้ามพรมแดนไปยังดินแดนเชโกสโลวัก โดยอาศัยต่ออนุสัญญาว่าด้วยคำจำกัดความของการรุกราน ประธานาธิบดีเชโกสโลวัก แอ็ดวาร์ต แบแน็ช และรัฐบาลผลัดถิ่นในภายหลังได้ถือว่า วันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1938 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเยอรมัน-เชโกสโลวักโดยปราศจากการประกาศสงคราม ความเข้าใจในครั้งนี้ได้ถูกสันนิษฐานโดยศาลรัฐธรรมนูญของเช็กในยุคปัจจุบัน ในวันต่อมา กองกำลังเชเชโกสโลวักได้สูญเสียบุคคลากรโดยถูกสังหารในหน้าที่กว่า 100 นาย บาดเจ็บร้อยนาย และอีก 2,000 นายซึ่งถูกลักพาไปยังเยอรมนี

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ดูเช่แห่งอิตาลี เบนิโต มุสโสลินี ได้กล่าวสุนทรพจน์ในเมืองตรีเยสเต ประเทศอิตาลี โดยที่เขาได้ประกาศว่า "หากว่ามีสองค่ายสำหรับปรากและฝ่ายต่อต้าน โปรดให้รู้เลยว่าอิตาลีได้เลือกข้างแล้ว" โดยมีความหมายที่ชัดเจนว่า มุสโสลินีได้สนับสนุนเยอรมันในยามวิกฤต

เมื่อวันที่ 20 กันยายน ฝ่ายต่อต้านเยอรมันภายในกองทัพได้พบกันเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการครั้งสุดท้ายที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นเพื่อโค่นล้มระบอบนาซี การประชุมครั้งนี้ซึ่งนำโดยนายพล ฮันส์ โอสเทอร์ รองหัวหน้าของหน่วยอัพแวร์(สำนักการต่อต้านจารกรรมของเยอรมนี) สมาชิกคนอื่น ๆ รวมทั้งร้อยเอก ฟรีดริช วิลเฮล์ม ไฮนซ์ และเจ้าหน้าที่นายทหารคนอื่น ๆ ที่เป็นผู้นำการทำรัฐประหารตามแผนการที่ได้พบกันในที่ประชุม เมื่อวันที่ 22 กันยายน แชมเบอร์ลินกำลังขึ้นเครื่องบินเพื่อไปยังเยอรมนีเพื่อพูดคุยเพิ่มเติมที่บัด โกเดสแบร์ก ได้บอกกับสื่อมวลชที่ได้พบกับเขาที่นั่นว่า "เป้าหมายของผมคือสันติภาพในยุโรป ผมเชื่อว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นหนทางสู่สันติภาพนั้น" แชมเบอร์ลินได้มาถึงโคโลญ ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ด้วยวงดนตรีเยอรมันที่ได้บรรเลงเพลงที่ชื่อว่า "ก็อดเซฟเดอะคิง" และชาวเยอรมันได้มอบดอกไม้และของขวัญให้แก่แชมเบอร์ลิน แชมเบอร์ลินได้คิดไว้ล่วงหน้าว่าการยอมรับการผนวกรวมดินแดนซูเดเทินลันท์ทั้งหมดของเยอรมนีโดยสมบูรณ์ โดยไม่มีการลดหย่อนใด ๆ จะบังคับให้ฮิตเลอร์ยอมรับข้อตกลง เมื่อได้รับแจ้งเรื่องนี้ ฮิตเลอร์ได้ตอบว่า "นี่หมายความว่าฝ่ายสัมพันธมิตรเห็นด้วยกับการอนุมัติของปรากในการโอนย้ายซูเดเทินลันท์สู่เยอรมนีงั้นหรอ?" แชมเบอร์ลินตอบว่า "ถูกต้องแล้ว" ฮิตเลอร์ตอบโต้ด้วยการส่ายหัว โดยกล่าวว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรให้ข้อเสนอที่ไม่เพียงพอ เขาได้บอกกับแชมเบอร์ลินว่า เขาต้องการให้เชโกสโลวาเกียทำการยุบโดยสิ้นเชิงและดินแดนเหล่านี้ต้องถูกแจกจ่ายไปยังเยอรมนี โปแลนด์ และฮังการี และบอกแชมเบอร์ลินให้ยอมรับหรือละทิ้งไป แชมเบอร์ลินรู้สึกสั่นคลอนด้วยคำพูดนี้ ฮิตเลอร์ได้บอกแชมเบอร์ลินว่าตั้งแต่การพบครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 15 การกระทำของเชโกสโลวาเกีย ซึ่งฮิตเลอร์ได้อ้างรวมทั้งการสังหารชาวเยอรมันด้วย ทำให้สถานการณ์นี้มีอาจยอมรับได้สำหรับเยอรมนี

เวลาต่อมาในการประชุม มีการหลอกลวงเพื่อโน้มน้าวและกดดันแชมเบอร์ลิน: หนึ่งในผู้ช่วยของฮิตเลอร์ได้เข้ามาในห้องเพื่อแจ้งข่าวให้ฮิตเลอร์รับทราบว่ามีชาวเยอรมันอีกหลายคนถูกสังหารในเชโกสโลวาเกีย ซึ่งฮิตเลอร์ได้ตะโกนตอบกลับว่า "ผมจะล้างแค้นให้ทุกคน ไอ้พวกเช็กจะต้องถูกทำลาย" การประชุมได้จบลงโดยฮิตเลอร์ได้ปฏิเสธที่จะยินยอมทำตามข้อเรียกร้องของฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อมาในช่วงเย็นวันนั้น ฮิตเลอร์มีความกังวลมากขึ้นว่าเขาได้กดดันแชมเบอร์ลินมากเกินไป และได้โทรศัพท์ไปที่ห้องชุดโรงแรมที่แชมเบอร์ลินได้พักที่นั่น โดยบอกเขาว่าจะยอมรับการผนวกดินแดนซูเดเทินลันท์เท่านั้น โดยปราศจากการออกแบบในดินแดนอื่น ๆ โดยให้เชโกสโลวาเกียเริ่มทำการอพยพชนกลุ่มชาวเช็กออกจากดินแดนชนกลุ่มชาวเยอรมันภายในวันที่ 26 กันยายน เวลา 8.00 น. ภายหลังจากถูกกดดันโดยแชมเบอร์ลิน ฮิตเลอร์ตกลงที่จะยื่นคำขาดสำหรับวันที่ 1 ตุลาคม (วันเดียวกันกับปฏิบัติการเขียวได้ถูกตั้งเอาไว้เป็นการเริ่มต้น) ฮิตเลอร์ได้กล่าวกับแชมเบอร์ลินว่านี่เป็นการยินยอมอย่างหนึ่งที่เขายินดีที่จะมอบให้แก่นายกรัฐมนตรีในฐานะ"ของขวัญ" ด้วยความเคารพต่อความจริงที่ว่าแชมเบอร์ลินนั้นเต็มใจที่จะล่าถอยกลับไปยังจุดยืนก่อนหน้านี้ ฮิตเลอร์ได้กล่าวอีกว่า เมื่อได้ผนวกรวมดินแดนซูเดเทินลันท์แล้ว เยอรมนีจะไม่มีการอ้างสิทธิ์ในดินแดนเชโกสโลวาเกียอีกต่อไป และจะลงนามในข้อตกลงร่วมกันเพื่อรับรองชายแดนของเยอรมนีและเชโกสโลวาเกีย

คณะรัฐมนตรีเชโกสโลวักชุดใหม่ภายใต้การนำโดยนายพล ยาน ซีโรวี ได้ถูกแต่งตั้งขึ้น และเมื่อวันที่ 23 กันยายน ได้มีการออกกฤษฎีกาการระดมพล ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสาธารณชนด้วยความกระตือรือร้น ภายใน 24 ชม. มีจำนวนผู้ชายหนึ่งล้านคนได้เข้าร่วมกองทัพเพื่อปกป้องประเทศ กองทัพบกของเชโกสโลวาเกียนั้นมีความทันสมัย มีประสบการณ์ และมีระบบป้อมปราการชายแดนที่ยอดเยี่ยม ซึ่งมีความเตรียมพร้อมที่จะต่อสู้รบ สหภาพโซเวียตได้ประกาศความตั้งใจที่จะเข้ามาช่วยเหลือแก่เชโกสโลวาเกีย โดยมีเงื่อนไขว่ากองทัพแดงจะสามารถข้ามดินแดนโปแลนด์และโรมาเนียได้ ทั้งสองประเทศได้ปฏิเสธที่จะให้กองทัพบกโซเวียตเข้ามาใช้ดินแดนของตน

ในช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 24 กันยายน ฮิตเลอร์ได้เผยบันทึกข้อตกลงโกเดสแบร์ก ซึ่งเรียกร้องให้เชโกสโลวาเกียยกดินแดนซูเดเทินลันท์แก่เยอรมนีภายในวันที่ 28 กันยายน โดยจะมีการจัดลงประชามติในพื้นที่ที่ไม่ระบุรายละเอียดภายใต้การดูแลของกองทัพเยอรมันและเชโกสโลวัก บันทึกข้อตกลงยังได้ระบุว่า ถ้าหากเชโกสโลวาเกียไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของเยอรมนีภายในเวลา 14.00 น. ของวันที่ 28 กันยายน เยอรมนีจะเข้ายึดซูเดเทินลันท์ด้วยกำลัง ในวันเดียวกัน แชมเบอร์ลินกลับมาถึงอังกฤษและประกาศว่าฮิตเลอร์เรียกร้องให้ทำการผนวกรวมซูเดเทินลันท์โดยไม่ชักช้า การประกาศดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับชาวบริติชและฝรั่งเศสซึ่งต้องการที่จะเผชิญหน้ากับฮิตเลอร์ทุกครั้ง แม้ว่ามันจะหมายถึงสงครามก็ตาม และผู้สนับสนนก็จะเข้มแข็งขึ้น แจน มาซาริก เอกอัครราชทูตเชโกสโลวักประจำสหราชอาณาจักรมีความรู้สึกยินดี เมื่อได้ยินถึงการสนับสนุนเชโกสโลวาเกียจากบริติชและฝรั่งเศสซึ่งต่อต้านแผนการของฮิตเลอร์ โดยกล่าวว่า "ประเทศชาติของเซนต์วาสลัฟจะไม่มีวันเป็นชาติของความเป็นทาส"

 
แชมเบอร์ลินกับเบนิโต มุสโสลินี เดือนกันยายน ค.ศ. 1938

วันที่ 25 กันยายน เชโกสโลวาเกียได้ยอมรับเงื่อนไขที่ได้ตกลงเอาไว้ก่อนหน้านี้โดยบริเตน ฝรั่งเศส และเยอรมนี อย่างไรก็ตาม วันต่อมา ฮิตเลอร์ได้เพิ่มข้อเรียกร้องใหม่ โดยยืนยันว่าการอ้างสิทธิ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันในโปแลนด์ และฮังการีก็ได้รับความพึงพอใจเช่นกัน

วันที่ 26 กันยายน แชมเบอร์ลินได้ส่งเซอร์ ฮอเรซ วิลสันไปส่งจดหมายส่วนตัวถึงฮิตเลอร์โดยประกาศว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่จะแก้ไขอย่งสันติต่อวิกฤตการณ์ซูเดเทิน ต่อมาในช่วงเย็นของวันนั้น ฮิตเลอร์ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่เบอร์ลินสปอร์ตพาเลซ เขากล่าวอ้างว่า ซูเดเทิน"เป็นความต้องการดินแดนครั้งสุดท้ายที่ข้าพเจ้าจะทำในยุโรป" และกำหนดเส้นตายให้เชโกสโลวาเกียในวันที่ 28 กันยาย เวลา 14.00 น. เพื่อยกดินแดนซูเดเทินลันท์แก่เยอรมนีหรือเผชิญกับสงคราม เมื่อถึงจุดนี้ รัฐบาลบริติชเริ่มเตรียมการในการทำสงคราม และสภาสามัญก็กลับมาประชุมอีกครั้งจากช่วงเวลาพักของรัฐสภา

เมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1938 เมื่อการเจรจาระหว่างฮิตเลอร์และแชมเบอร์ลินได้เริ่มตึงเครียด แชมเบอร์ลินได้กล่าวปราศัยกับประชาชนชาวบริติช โดยบอกกล่าวเฉพาะอย่างยิ่งว่า "ช่างน่ากลัว น่าพิศวง น่าเหลือเชื่อจริง ๆ ที่พวกเราควรที่จะขุดหลุมสนามเพลาะและลองสวมหน้ากากป้องกันแก๊สที่นี่เพราะการทะเลาะวิวาทในประเทศอันห่างไกลระหว่างผู้คนที่เราไม่รู้อะไรเลย"

เมื่อวันที่ 28 กันยายน เวลา 10.00 น. สี่ชั่วโมงก่อนเส้นตายและไม่มีการยินยอมตามข้อเรียกร้องของฮิตเลอร์โดยเชโกสโลวาเกีย ลอร์ดเพิร์ธ เอกอัครราชทูตบริติชประจำอิตาลีได้เรียกให้กาลีซโซ ชิอาโน รัฐมนตรีต่างประเทศของอิตาลีเข้าประชุมอย่างเร่งด่วน เพิร์ธได้แจ้งแก่ชิอาโนว่าแชมเบอร์ลินได้สั่งให้เขาขอให้มุสโสลินีเข้าสู่เจรจาและขอให้ฮิตเลอร์ชะลอการยื่นคำขาด ณ เวลา 11.00 น. ชิอาโนได้เข้าพบกับมุสโสลินีและแจ้งให้เขาทราบถึงข้อเสนอของแชมเบอร์ลิน มุสโสลินีเห็นด้วยกับมันและตอบสนองด้วยการโทรศัพท์หาเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำเยอรมนีและบอกเขาว่า "ไปหาท่านฟือเรอร์ทันทีและบอกเขาว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมจะอยู่เคียงข้างท่าน แต่ผมขอเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงก่อนการสู้รบจะเริ่มต้นขึ้น ในเวลาเดียวกัน ผมจะเรียนรู้สิ่งที่สามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหา" ฮิตเลอร์ได้รับข้อความจากมุสโสลินีในขณะที่หารือกับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ฮิตเลอร์ได้บอกกับเอกอัครราชทูตว่า "เบนิโต มุสโสลนี เพื่อนรักของผมได้ขอให้ผมเลื่อนคำสั่งในการเคลื่อนทัพของกองทัพบกเยอรมันเป็นเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง และผมก็เห็นด้วย แน่นอน ว่านี่ไม่ใช่การยินยอม เพราะวันของการบุกครองได้ถูกกำหนดเอาไว้ในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1938" ในขณะที่พูดคุยกับแชมเบอร์ลิน ลอร์ดเพิร์ธได้กล่าวขอบคุณจากแชมเบอร์ลินแก่มุสโสลินีเช่นเดียวกับข้อเรียกร้องของแชมเบอร์ลินให้มุสโสลนีเข้าร่วมประชุมสี่มหาอำนาจของบริเตน ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลีในมิวนิก เมื่อวันที่ 29 กันยายน เพื่อยุติปัญหาซูเดเทินก่อนเส้นตายในเวลา 14.00 น. ซึ่งมุสโสลินีได้ตอบตกลง ข้อเรียกร้องเพียงข้อเดียวของฮิตเลอร์คือต้องแน่ใจว่ามุสโสลินีมีส่วนร่วมในการเจรจาในการประชุมครั้งนี้ เนวิลล์ เฮนเดอร์ซัน อเล็กซานเดอร์ คาโดแกน และลอร์ดดักลาส เลขานุการส่วนตัวของแชมเบอร์ลินได้ส่งข่าวของการประชุมไปยังแชมเบอร์ลิน ในขณะที่เขากำลังกล่าวปราศัยในรัฐสภา และแชมเบอร์ลินได้ประกาศถึงการประชุมและยอมรับที่จะเข้าร่วมเมื่อการกล่าวปราศัยได้จบลง เมื่อแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐได้รับทราบว่าการประชุมได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว เขาได้ส่งโทรเลขไปยังแชมเบอร์ลินว่า "คนดี"

การลงมติ
แก้
 
ลำดับเหตุการณ์ภายหลังจากความตกลงมิวนิค: 1.ซูเดเทินลันท์กลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตามข้อตกลงมิวนิค (ตุลาคม ค.ศ. 1938) 2. โปแลนด์ได้ผนวกรวมเข้ากับ Zaolzie, ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมีชาวโปแลนด์จำนวนมาก ซึ่งทั้งสองประเทศได้ทำสงครามกันใน ค.ศ. 1919 (ตุลาคม ค.ศ. 1938) 3.พื้นที่ชายแดน (สามพื้นที่ทางตอนใต้ของสโลวาเกียและทางตอนใต้ของคาร์เพเทียน รูเทเนีย) กับชนกลุ่มน้อยชาวฮังการีกลายเป็นส่วนหนึ่งของฮังการีตามเงื่อนไขของรางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง (พฤศจิกายน ค.ศ. 1938) 4. วันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939, ในช่วงที่เยอรมันบุกครองส่วนที่เหลือของดินแดนเช็ก, ฮังการีได้ผนวกรวมกับส่วนที่เหลือของคาร์เพเทียน รูเทเนีย (ซึ่งได้ปกครองตนเอง ตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1938) 5. เยอรมนีได้ก่อตั้งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียด้วยรัฐบาลหุ่นเชิด เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1939 6. วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939, รัฐบาลฝ่ายคาทอลิกและฟาสซิสต์ที่สนับสนุนต่อฮิตเลอร์ได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐสโลวัก ซึ่งเป็นรัฐบริวารของฝ่ายอักษะ
 
เนวิล เชมเบอร์ลิน นายกรัฐมตรีแห่งบริติช ภายหลังการลงจอดที่สนามบินเฮสตัน หลังจากที่เขาได้เข้าพบกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การสนทนาได้เริ่มต้นขึ้นทันทีที่ฟือเรอร์เบา (Führerbau) ภายหลังจากเชมเบอร์ลินและดาลาดีเยเดินทางมาถึง ทำให้ไม่มีเวลาในการปรึกษาหารือกัน การประชุมได้ถูกจัดขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน[30] ข้อตกลงได้ถูกบรรลุเมื่อวันที่ 29 กันยายน และเมื่อเวลาประมาณ 01.30 น. วันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938[31] อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เนวิล เชมเบอร์ลิน เบนิโต มุสโสลินี และเอดัวร์ ดาลาดีเยได้ลงนามในข้อตกลงมิวนิก ข้อตกลงดังกล่าวได้ถูกนำเสนออย่างเป็นทางการโดยมุสโสลินี แม้ว่าในความเป็นจริง แผนการของอิตาลีเกือบจะเหมือนกับข้อเสนอของโกเดสแบร์ก กองทัพเยอมันจะเข้ายึดครองซูเดเทินลันท์โดยสมบูรณ์ภายในวันที่ 10 ตุลาคม และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศจะตัดสินอนาคตของบริเวณพื้นที่ข้อพิพาทอื่น ๆ[32]

เชโกสโลวาเกียได้รับแจ้งจากบริเตนและฝรั่งเศสถึงทางเลือกของประเทศ คือ ถ้าไม่ยอมจำนนต่อการผนวกรวมที่ได้กำหนดไว้ก็ต้องเผชิญกับการรุกรานจากนาซีเยอรมนีเพียงลำพัง รัฐบาลเชโกสโลวาเกียตระหนักถึงความสิ้นหวังในการต่อสู้กับนาซีได้เพียงลำพัง จึงได้ยอมจำนนอย่างไมีค่อยเต็มใจนัก (30 กันยายน) และตกลงที่จะปฏิบัติตามข้อตกลง การตั้งถิ่นฐานดังกล่าวทำให้ซูเดเทินลันท์ตกเป็นของเยอรมนีซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม และควบคุมส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียโดยพฤตินัยตราบเท่าที่ฮิตเลอร์สัญญาว่าจะไม่ดำเนินการต่อไปอีก วันที่ 30 กันยายน ภายหลังจากได้เข้าพักผ่อนแล้ว แชมเบอร์ลินได้ไปที่อพาร์ตเมนต์ของฮิตเลอร์ใน Prinzregentenstraße และขอให้เขาลงนามในคำแถลงการณ์ที่เรียกว่า ความตกลงกองทัพเรืออังกฤษ-เยอรมัน "เป็นสัญลักษณ์ของความปรารถนาของทั้งสองประเทศของเราที่จะไม่ทำสงครามกันอีก" หลังจากที่ล่ามของฮิตเลอร์ได้พูดแปลภาษาให้ฟัง เขาก็เห็นด้วยอย่างมีความสุข[33]

เมื่อวันที่ 30 กันยายน เมื่อเขาเดินทางกลับอังกฤษ แชมเบอร์ลินได้กล่าวสุนทรพจน์ "สันติภาพเพื่อเวลาของเรา" (peace for our time) ที่เป็นข้อโต้แย้งกับฝูงชนในลอนดอน[34]

 
ฟือเรอร์เบาในมิวนิก สถานที่ตั้งในการลงนามข้อตกลงมิวนิก
 
ปัจจุบัน ภาพถ่ายของห้องสำนักงานของฮิตเลอร์ในฟือเรอร์เบา ที่ซึ่งข้อตกลงมิวนิกได้ถูกลงนาม พร้อมด้วยเตาผิงและโคมไฟเพดาน

ปฏิกิริยา

แก้

การตอบสนองทันที

แก้
เชโกสโลวาเกีย
แก้

ชาวเชโกสโลวักรู้สึกผิดหวังกับการตั้งถิ่นฐานของมิวนิก พวกเขาไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการประชุม และรู้สึกว่าพวกเขาถูกหักหลังโดยรัฐบาลของบริติชและฝรั่งเศส ชาวเช็กและสโลวักหลายคนอ้างถึงข้อตกลงมิวนิกว่า มิวนิกดิกทัท (เช็ก: Mnichovský diktát; สโลวัก: Mníchovský diktát) วลีที่ว่า "การทรยศมิวนิก" ก็ถูกนำมาใช้เช่นกันเพราะพันธมิตรทางทหารของเชโกสโลวาเกียกับฝรั่งเศสได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไร้ประโยชน์ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรัฐบาลฝรั่งเศสได้แสดงความเห็นว่า เชโกสโลวาเกียจะถือว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อสงครามยุโรปที่กำลังจะเกิดขึ้น หากสาธารณรัฐเชโกสโลวักได้ทำการปกป้องตนเองด้วยกำลังต่อต้านการรุกรานของเยอรมัน

คำขวัญที่ว่า "เกี่ยวกับเรา ไม่มีพวกเรา" (O nás bez nás!; O nás bez nás!) เป็นการสรุปถึงความรู้สึกของประชาชนในเชโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย) ที่มีต่อข้อตกลงนี้ เมื่อเสียซูเดเทินลันท์ให้กับเยอรมนี เช็กโก-สโลวาเกีย (ในขณะที่เปลี่ยนชื่อรัฐ) ได้สูญเสียชายแดนที่สามารถป้องกันกับเยอรมนีได้และป้อมปราการชายแดนเชโกสโลวาเกีย หากไม่มีพวกมัน ความเป็นเอกราชก็จะมีความหมายมากกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้ เชโกสโลวาเกียยังได้สูญเสียอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก/เหล็กกล้าถึง 70% และพลเมือง 3.5 ล้านคนให้แก่เยอรมนี ชาวเยอรมันซูเดเทินได้เฉลิมฉลองสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นการปลดปล่อยของพวกเขา ดูเหมือนว่าสงครามที่ใกล้จะอุบัติขึ้นได้ถูกหลีกเลี่ยง

โธมัส แมนน์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมได้เขียนบทและกล่าวบนแท่นพิธีเพื่อปกป้องแผ่นดินเกิดแทนซึ่งได้ประกาศความภาคภูมิใจในการเป็นพลเมืองเชโกสโลวักและยกย่องความสำเร็จของสาธารณรัฐ เขาได้กล่าวโจมตีว่า "ยุโรปพร้อมที่จะเป็นทาส" โดยเขียนว่า "ชาวเชโกสโลวาเกียพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อเสรีภาพและอยู่เหนือชะตากรรมของตนเอง" และ "สายเกินไปที่รัฐบาลบริติชจะรักษาสันติภาพ พวกเขาสูญเสียโอกาสมากเกินไป" แอ็ดวาร์ต แบแน็ช ประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกียได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1939

เยอรมนี
แก้

แม้ว่าบริติชและฝรั่งเศสจะพึงพอใจ นักการทูตชาวบริติชในเบอร์ลินอ้างว่าเขาได้รับเขาได้รับแจ้งจากผู้ติดตามของฮิตเลอร์ว่าไม่นานหลังจากการพบกับแชมเบอร์ลิน ฮิตเลอร์ได้กล่าวอย่างเกรี้ยวกราดว่า: "ท่านสุภาพบุรุษ นี่เป็นการประชุมระดับนานาชาติครั้งแรกของผม และผมก็มั่นใจได้เลยว่าคุณจะเห็นมันเป็นครั้งสุดท้ายของผม" ในช่วงหนหนึ่ง มีคนได้ยินเขาพูดเกี่ยวกับแชมเบอร์ลินว่า: "ถ้าหากมีชายชราโง่ ๆ เข้ามาสอดแทรกที่นี่อีกครั้งด้วยร่มของเขา ฉันจะเตะเขาให้ตกจากบันไดและกระโดดเหยียบลงไปที่ท้องของเขาต่อหน้าช่างภาพ" ในการกล่าวสุนทรพจน์ต่อสาธารณะภายหลังจากมิวนิก ฮิตเลอร์ได้ประกาศว่า "ขอบคุณพระเจ้า พวกเราไม่มีนักการเมืองที่ถือร่มในประเทศนี้"

ฮิตเลอร์มีความรู้สึกว่าถูกโกงจากการทำสงครามกับเช็กอย่างจำกัดซึ่งเขาได้ตั้งเป้าหมายไว้ตลอดช่วงฤดูร้อน ในช่วงต้นตุลาคม เลขาธิการสื่อมวลชนของแชมเบอร์ลินได้ขอให้มีการประกาศเกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างชาวเยอรมันและชาวบริติช เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของตำแหน่งภายในประเทศของแชมเบอร์ลิน แต่ฮิตเลอรกลับกล่าวสุนทรพจน์ประณามถึง "การแทรกแซงการปกครอง" ของแชมเบอร์ลิน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1939 ไม่นานก่อนการบุกครองโปแลนด์ ฮิตเลอร์ได้บอกกับนายพลของเขาว่า: "ศัตรูของเราเป็นคนที่ต่ำกว่าโดยมาก ไม่ใช่คนที่ชอบลงมือทำ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ พวกเขาเป็นหนอนตัวเล็ก ๆ ฉันเห็นพวกมันที่มิวนิก"

ช่วงก่อนข้อตกลงมิวนิก ความมุ่งมั่นของฮิตเลอร์ที่จะทำการรุกรานเชโกสโลวาเกียในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1938 ได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ในโครงสร้างบังคับบัญชาของเยอรมัน หัวหน้าคณะเสนาธิการ นายพล ลูทวิช เบ็ค ได้ประท้วงในชุดบันทึกที่มีเนื้อหายืดยาวว่าจะเป็นการเริ่มต้นของสงครามโลกที่เยอรมันจะเป็นฝ่ายแพ้อีกครั้ง และเรียกร้องให้ฮิตเลอร์ยุติความขัดแย้งที่ได้คาดการณ์เอาไว้ ฮิตเลอร์ได้เรียกข้อโต้แย้งในการต่อต้านสงครามของเบ็คว่า "kindische Kräfteberechnungen" ("การคิดคำนวณกำลังแบบเด็ก ๆ") เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1938 มีการประชุมภายในกองทัพอย่างลับ ๆ ขึ้น เบ็ดได้อ่านรายงานที่มีเนื้อหาอันยืดยาวของเขาต่อเจ้าหน้าที่ที่ได้รวมตัวกัน พวกเขาทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อขัดขวางถึงความพินาศย่อยยับครั้งนี้อย่างแน่นอน เบ็คคาดหวังว่าพวกเขาจะลาออกด้วยกันแต่กลับไม่มีใครลาออกเลยสักคนยกเว้นเบ็ค นายพล ฟรันทซ์ ฮัลเดอร์ ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ตำแหน่งของเขา รู้สึกเห็นใจเบ็คและพวกเขาทั้งสองได้สมคบคิดกับนายพลระดับสูงหลายคนอย่างพลเรือเอก วิลเฮ็ล์ม คานาริส(หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของเยอรมัน) และกราฟ ฟอน เฮลเดอร์ฟ(หัวหน้ากรมตำรวจแห่งเบอร์ลิน) เพื่อจับกุมฮิตเลอร์ทันทีที่เขาได้ออกคำสั่งให้ทำการบุกครอง แผนการนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมือสหราชอาณาจักรจะออกคำเตือนที่เข้มงวดและจดหมายถึงผลกระทบที่พวกเขาจะต่อสู้เพื่อรักษาเชโกสโลวาเกียเอาไว้ สิ่งนี้จะช่วยโน้มน้าวให้ชาวเยอรมันเชื่อว่าความพ่ายแพ้บางอย่างกำลังรอเยอรมนีอยู่ ดังนั้นจึงได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ไปยังอังกฤษเพื่อบอกกับแชมเบอร์ลินว่าจะมีการวางแผนโจมตีเชโกสโลวาเกีย และตั้งใจที่จะโค่นล้มฮิตเลอร์ ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ข้อเสนอนี้ได้ถูกปฏิเสธโดยคณะรัฐมนตรีของบริติช และไม่มีการออกจดหมายดังกล่าว ดังนั้นข้อเสนอในการถอดถอนฮิตเลอร์ยังไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด ด้วยมูลเหตุนี้จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่าข้อตกลงมิวนิกทำให้ฮิตเลอร์ครองอยู่ในอำนาจ—ฮัลเดอร์ยังคงรู้สึกขมขื่นต่อข้อปฏิเสธของแชมเบอร์ลินสำหรับช่วงทศวรรษในภายหลังสงคราม—แม้ว่าความพยายามในการถอดถอนดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้มากกว่าแผนลับในปี ค.ศ. 1944 หรือไม่ก็ตาม

บริติชและฝรั่งเศส
แก้
 
ชาวเยอรมันซูเดเทินตะโกนเชียร์การมาถึงของกองทัพเยอรมันซึ่งได้เข้ามาสู่ซูเดเทินลันท์ เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938

ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการปรบมือโดยทั่วหน้า ดาลาดีเย นายกรัฐมนตรีแห่งฝรั่งเศสไม่เชื่อตามที่นักวิชาการคนหนึ่งได้กล่าวว่า สงครามยุโรปนั้นมีความชอบธรรม "เพื่อรักษาชาวเยอรมันจำนวนสามล้านคนเอาไว้ภายใต้อำนาจอธิปไตยของสาธารณรัฐเช็ก" การสำรวจมติมหาชนในบริเตน ฝรั่งเศส และสหรัฐได้ระบุว่า คนส่วนใหญ่ต่างสนับสนุนต่อข้อตกลงนี้ แบแน็ช ประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกียได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพใน ค.ศ. 1939

การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เกี่ยวกับข้อตกลงมิวนิกว่า "ฮิตเลอร์ได้น้อยกว่าการเรียกร้องซูเดเทิน" และรายงานว่า "ฝูงชนที่ดูรื่นเริง" ได้ยกย่องดาลาดีเย เมื่อเขากลับมายังฝรั่งเศส และแชมเบอร์ลินก็ได้รับ"การตะโกนเชียร์อย่างบ้าคลั่ง" เมื่อเขากลับมายังบริเตน

ประชาชนชาวบริติชคาดว่าสงครามกำลังจะเกิดขึ้นและ"ท่าทางเยี่ยงรัฐบุรุษ"ของแชมเบอร์ลินได้รับการต้อนรับเป็นครั้งแรกด้วยเสียงเชียร์ เขาได้รับการต้อนรับในฐานะวีรบุรุษโดยราชวงศ์และเชื้อเชิญให้มายืนอยู่บนระเบียงที่พระราชวังบักกิงแฮมก่อนที่เขาจะนำเสนอข้อตกลงต่อรัฐสภาบริติช ปฏิกิริยาเชิงบวกโดย ๆ ทั่วไปกลับดูจืดชืออย่างรวดเร็ว แม้จะได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์ก็ตาม อย่างไรก็ตาม มีท่าทีต่อต้านตั้งแต่เริ่มต้น เคลเมนต์ แอตต์ลี และฝ่ายค้านจากพรรคแรงงานได้คัดค้านข้อตกลงนี้ โดยเป็นพันธมิตรกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายอนุรักษ์นิยมสองคนคือ Duff Cooper และ Vyvyan Adams ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบปฏิกิริยาในพรรคอนุรักษ์นิยม

ดาลาดีเยเชื่อว่าเป้าหมายสูงสุดของฮิตเลอร์เป็นภัยคุกคาม เขาได้บอกกับบริติชในการประชุมเมื่อปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1938 ว่าเป้าหมายในระยะยาวที่แท้จริงของฮิตเลอร์คือการรักษา"การครองงำภาคพื้นทวีปเอาไว้เมื่อเทียบกับความทะเยอทะยานของนโปเลียนนั้นอ่อนแอ" เขาได้กล่าวต่อไปว่า "วันนี้เป็นรอบของเชโกสโลวาเกีย พรุ่งนี้จะถึงรอบของโปแลนด์และโรมาเนีย" เมื่อเยอรมนีได้รับน้ำมันและข้าวสาลีตามที่ต้องการแล้ว เขาก็จะหันไปทางตะวันตก แน่นอนว่าเราต้องเพิ่มความพยายามเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม แต่จะไม่ได้ระบสัมปทานนอกเสียจากบริเตนใหญ่และฝรั่งเศสเกาะติดกัน การแทรกแซงในปรากสำหรับการยินยอมครั้งใหม่ แต่ได้ประกาศในเวลาเดียวกันว่าพวกเขาจะปกป้องเอกราชของเชโกสโลวาเกีย ในทางกลับกัน ถ้าหากมหาอำนาจตะวันตกยอมจำนนอีกครั้ง พวกเขาจะเร่งเร้าสงครามที่พวกเขาต้องการหลีกเลี่ยงเท่านั้น" บางทีอาจจะท้อแท้จากการโต้เถียงของผู้นำกองทัพฝรั่งเศสและเจ้าหน้าที่พลเรือนเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการทหารที่ยังไม่พร้อมและฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ ในขณะที่ยังคงบอบช้ำจากการนองเลือดของฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเขาได้พบเห็นเป็นการส่วนตัว ดาลาดีเยซึ่งคาดว่าจะมีฝูงชนที่เกลียดชังได้ส่งเสียงโห่ร้อง

ในวันภายหลังที่มิวนิก แชมเบอร์ลินได้รับจดหมายและโทรเลขเพื่อแสดงความขอบคุณมากกว่า 20,000 ฉบับ และของขวัญและรวมถึงช่อดอกไม้บัลบ์ 6,000 ชิ้นจากชาวดัตช์ผู้เลื่อมใสที่รู้ปิติยินดีและไม้กางเขนจากสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11

โปแลนด์
แก้
 
กองทัพโปแลนด์ได้เข้าสู่ Zaolzie in 1938

โปแลนด์กำลังสร้างองค์กรลับขึ้นในพื้นที่ของ Zaolzie ตั้งแต่ ค.ศ. 1935 ในฤดูร้อน ค.ศ. 1938 โปแลนด์ได้พยายามจัดตั้งกลุ่มกองโจรในพื้นที่ เมื่อวันที่ 21 กันยายน โปแลนด์ได้ร้องขอให้โอนย้ายพื้นที่โดยตรงไปยังการควบคุมของตนเองอย่างเป็นทางการ ทูตโปแลนด์ประจำกรุงปรากนามว่า Kazimierz Papée ได้ระบุว่า การได้รับ Cieszyn Silesia กลับคืนมาจะเป็นสัญญาณที่ดีของความปรารถนาดีและ"การแก้ไขความอยุติธรรม" ใน ค.ศ. 1920 บันทึกที่คล้ายกันได้ถูกส่งไปยังปารีสและลอนดอนโดยขอให้ชนกลุ่มน้อยชาวโปแลนด์ในเชโกสโลวาเกียได้รับสิทธิเช่นเดียวกับชาวเยอรมันซูเดเทิน ในวันรุ่งขึ้น แบแน็ชได้ส่งจดหมายถึงประธานาธิบดีแห่งโปแลนด์นามว่า Ignacy Mościcki พร้อมกับคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับ"การแก้ไขชายแดน" แต่จดหมายดังกล่าวได้ถูกส่งไปได้เพียงในวันที่ 26 กันยายน การตอบกลับของ Mościcki ที่ได้ส่งไปเมื่อวันที่ 27 กันยายนนั้นเป็นการหลีกเลี่ยง แต่ก็มาพร้อมกับข้อเรียกร้องของรัฐบาลโปแลนด์ที่จะส่งมอบเขตเทศมณฑล Zaolzie สองแห่งโดยทันที เพื่อเป็นการโหมโรงเพื่อยุติข้อพิพาทชายแดนขั้นตอนสุดท้าย แบแน็ชได้ตอบกลับว่ายังไม่ได้ข้อสรุป เขาตกลงที่จะส่งมอบดินแดนอันเป็นข้อพิพาทให้กับโปแลนด์ แต่กลับโต้แย้งว่ามันไม่สามารถทำได้ในช่วงก่อนการรุกรานของเยอรมัน เพราะมันจะเป็นการขัดขวางการเตรียมความพร้อมในการทำสงครามของเชโกสโลวัก ทางโปแลนด์รับรู้คำตอบว่าเป็นการเล่นอีกอย่างหนึ่งเพื่อถ่วงเวลา

การดำเนินทางการทูตของโปแลนด์ได้เกิดขึ้นพร้อมกับการจัดวางกองกำลังทหารตามแนวชายแดนของเชโกสโลวาเกียในวันที่ 23-24 กันยายน และโดยการออกคำสั่งให้เรียกกองกำลังนี้ว่า "หน่วยรบ" ของชาวโปแลนด์ Zaolzie และ"เหล่าทหาร Zaolzie" ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งทหารที่ประกอบไปด้วยอาสาสมัครจากทั่วทั้งประเทศโปแลนด์ เพื่อข้ามชายแดนเชโกสโลวาเกียและเข้าโจมตีหน่วยทหารเชโกสโลวัก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ก้าวข้ามเพียงแค่ไม่กี่คน ก็ถูกกองกำลังเชโกสโลวักขับไล่และล่าถอยกลับไปยังโปแลนด์

เอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำเยอรมนีได้รับทราบผลของการประชุมมิวนิก เมื่อวันที่ 30 กันยายนมาจากริบเบินทร็อพ ซึ่งให้การรับรองกับเขาว่าเบอร์ลินได้กำหนดเงื่อนไขการค้ำประกันส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียเกี่ยวกับปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดินแดนของโปแลนด์และฮังการี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของโปแลนด์นามว่า Józef Beck รู้สึกผิดหวังกับเหตุการณ์นี้ ในคำพูดของเขาเอง การประชุมคือ "ความพยายามของคณะกรรมการของมหาอำนาจในการกำหนดตัดสินใจที่มีผลผูกผันกับรัฐอื่น ๆ (และโปแลนด์ไม่สามารถยินยอมในเรื่องนี้ได้ เนื่องจากจะถูกลดลงเป็นวัตถุทางการเมืองที่ผู้อื่นจะดำเนินตามความประสงค์ของพวกเขา)" ซึ่งส่งผลลัพธ์ในเวลา 23:45 น. เมื่อวันที่ 30 กันยายน 11 ชั่วโมงภายหลังจากที่รัฐบาลเชโกสโลวักยอมรับเงื่อนไขมิวนิว โปแลนด์ได้ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลเชโกสโลวัก เป็นการเรียกร้องให้อพยพทางทหารและตำรวจของเชโกสโลวาเกียโดยทันที และให้เวลาแก่ปรากจนถึงเวลา 11:45 น. เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม กระทรวงต่างประเทศของเชโกสโลวาเกียได้โทรหาเอกอัครราชทูตโปแลนด์ประจำปราก และบอกเขาว่าโปแลนด์สามารถได้ในสิ่งที่ต้องการแต่ได้ขอให้ล่าช้าออกไปเป็นเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม กองทัพโปแลนด์ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาโดยนายพล วลาดิสลาฟ บอร์ตนอฟสกี ได้ผนวกพื้นที่ราวประมาณ 801.5 ตารางกิโลเมตรโดยมีประชากรจำนวน 227,399 คน ฝ่ายบริหารได้แบ่งพื้นที่ผนวกออกเป็นสองส่วนระหว่างเทศมณฑล Frysztat และเทศมณฑล Cieszyn

นักประวัติศาสตร์นามว่า Dariusz Baliszewski ได้เขียนไว้ว่า ในช่วงการผนวกรวมนั้น ไม่มีความร่วมมือระหว่างกองกำลังทหารโปแลนด์และเยอรมัน แต่กลับมีกรณีของความร่วมมือกันระหว่างกองกำลังทหารโปแลนด์และเช็กในการป้องกันดินแดนจากพวกเยอรมัน ตัวอย่างเช่นใน Bohumín

ในที่สุด การยื่นคำขาดของโปแลนด์ได้ให้การตัดสินใจแก่แบแน็ชโดยรายงานของเขาเองที่จะละทิ้งความคิดใด ๆ ที่จะต่อต้านการย้ายถิ่นฐาน(เชโกสโลวาเกียจะถูกโจมตีจากทุกด้าน) เยอรมันมีความยินดีกับผลลัพธ์ดังกล่าวและยินดีที่จะเสียสละในการยกศูนย์รถไฟขนาดเล็กประจำจังหวัดให้แก่โปแลนด์เพื่อแลกกับผลประโยชน์ของโฆษณษชวนเชื่อที่ตามมา มันได้แพร่กระจายการกล่าวประณามโทษของการแบ่งแยกเชโกสโลวาเกีย ทำให้โปแลนด์เป็นผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ และทำให้เกิดความสับสนกับความคาดหวังทางการเมือง โปแลนด์ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับเยอรมัน อย่างไรก็ตาม ไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการระหว่างโปแลนด์และเยอรมันเกี่ยวกับเชโกสโลวาเกียเมื่อใดก็ตาม

นายพล Ludvík Krejčí เสนาธิการกองทัพบกแห่งกองทัพเชโกสโลวาเกียได้รายงานมาเมื่อวันที่ 29 กันยายนว่า "กองทัพของเราจะคงอยู่ในสภาพพร้อมรบอย่างสมบูรณ์ภายในเวลาประมาณสองวันเพื่อต่อต้านการโจมตี แม้ว่ากองทัพเยอรมันจะมาพร้อมกันหมดก็ตาม โดยที่โปแลนด์จะไม่เคลื่อนไหวในการต่อต้านเรา"

นักประวัติศาสตร์ เช่น H.L. Roberts และ Anna Cienciala ได้พิจารณาว่าการกระทำของแบแน็ชในช่วงวิกฤตครั้งนี้จะไม่เป็นมิตรกับเชโกสโลวาเกีย แต่ไม่ได้ต้องการแสวงหาการทำลายล้างอย่างจริงจัง ในขณะที่ยุคสตาลิน ประวัติศาสตร์โปแลนด์มักจะกล่าวกันว่า Beck เป็น"สายลับเยอรมัน" และได้ให้ความร่วมมือกับเยอรมนี แต่ประวัติศาสตร์ในช่วงหลังปี ค.ศ. 1956 โดยทั่วไปได้ให้การปฏิเสธถึงลักษณะเช่นนี้

ฮังการี
แก้

ฮังการีได้ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของโปแลนด์ในการโอนย้ายดินแดนพร้อมด้วยคำเรียกร้องของตนเอง เมื่อวันที่ 22 กันยายน[35] คำเรียกร้องของฮังการีก็ได้บรรลุผลในที่สุด ในช่วงอนุญาโตตุลาการเวียนนา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ.1938

ที่อื่น
แก้
 
การ์ตูนล้อเลียนทางการเมืองมาจากโปแลนด์ซึ่งพรรณาถึงสภาพโซเวียตในหัวข้อว่า "อีวาน" ได้ถูกเตะขับออกจากยุโรป: "ดูเหมือนว่ายุโรปคงจะเลิกให้ความเคารพฉันซะแล้ว"

โจเซฟ สตาลินเกิดอาการหัวเสียด้วยผลลัพธ์ของการประชุมที่มิวนิก เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 ฝรั่งเศสและสหภาพโซเวียตได้ลงนามในสนธิสัญญาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างฝรั่งเศสและโซเวียต โดยมีจุดประสงค์เพื่อระงับความก้าวร้าวของนาซีเยอรมนี โซเวียตซึ่งมีสนธิสัญญาในการให้ความช่วยเหลือทางทหารร่วมกันกับเชโกสโลวาเกีย จึงมีความรู้สึกว่าถูกฝรั่งเศสทรยศหักหลัง บริติชและฝรั่งเศสได้ใช้โซเวียตเป็นส่วนใหญ่ในฐานะเป็นภัยคุกคามต่อเยอรมัน สตาลินได้สรุปว่าประเทศตะวันตกกำลังสมรู้ร่วมคิดกับฮิตเลอร์เพื่อมอบประเทศในยุโรปกลางให้กับเยอรมัน ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าพวกเขาอาจจะทำเช่นเดียวกันกับสภาพโซเวียตในอนาคต ซึ่งจะทำให้เกิดการแบ่งแยกสหภาพโซเวียตระหว่างประเทศตะวันตก ด้วยความเชื่อเหล่านี้ทำให้สหภาพโซเวียตได้ปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของตนในการสร้างสายสัมพันธ์ไมตรีกับเยอรมนี ซึ่งในที่สุดก็ได้นำไปสู่การลงนามในกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพในปี ค.ศ. 1939


ความเห็นภายหลัง
แก้

ผลที่ตามมา

แก้
 
ผู้อพยพชาวเช็กที่ออกมาจากซูเดเทินลันท์

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม แบแน็ชได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งเชโกสโลวาเกีย เนื่องจากเขาได้ตะหนักดีว่าการล่มสลายของเชโกสโลวาเกียเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ภายหลังจากการประทุของสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้จัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นของเชโกสโลวักในลอนดอน เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1938 กติกาสัญญาไม่รุกรานระหว่างกันฝรั่งเศส-เยอรมันได้ถูกลงนามในกรุงปารีสโดยรัฐมนตรีต่างประเทศของฝรั่งเศส Bonnet และรัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมัน โยอาคิม ฟ็อน ริบเบินทร็อพ[36][37][38]

รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่งสู่ฮังการี

แก้
 
Admiral Horthy during the Hungarians' triumphant entry into Košice, November 1938
 
Poland annexed the Zaolzie area of Czechoslovakia inhabited by 36% of ethnic Poles in 1938.
 
"For 600 years we have been waiting for you (1335–1938)". An ethnic Polish band welcoming the annexation of Zaolzie by Poland in Karviná, October 1938

เยอรมันบุกครองดินแดนส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกีย

แก้

การเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางยุทโธปกรณ์ของแวร์มัคท์

แก้

เนื่องจากการป้องกันชายแดนส่วนใหญ่ที่อยู่ในดินแดนที่ถูกยกให้เป็นผลมาจากข้อตกลงมิวนิก ส่วนที่เหลือของเชโกสโลวาเกียจึงถูกเปิดกว้างต่อการรุกรานมากขึ้น แม้ว่าจะมีคลังยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ที่ค่อนข้างใหญ่ก็ตาม ในการกล่าวสุนทรพจน์ในรัฐสภาไรชทัก ฮิตเลอร์ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการยึดครองเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่กองทัพเยอรมันและเห็นได้ชัดว่า การยึดครองเชโกสโลวาเกีย เยอรมนีได้รับปืนใหญ่ภาคสนามและปืนใหญ่ 2,175 กระบอก และรถถัง 469 คัน ชิ้นส่วนปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน 500 ชิ้น ปืนกล 43,000 กระบอก ปืนไรเฟิลทหาร 1,090,000 กระบอก และปืนพกสั้น 114,000 กระบอก กระสุนปืนขนาดเล็กประมาณจำนวนหนึ่งพันล้านนัด และกระสุนสำหรับต่อต้านอากาศยานจำนวน 3 ล้านนัด สิ่งนั้นสามารถติดตั้งอาวุธได้ประมาณครึ่งหนึ่งของแวร์มัคท์ อาวุธของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมานั้นมีบทบาทที่สำคัญในการบุกครองโปแลนด์และฝรั่งเศสของเยอรมัน ซึ่งล่าสุดเป็นประเทศที่เรียกร้องให้เชโกสโลวาเกียยินยอมในการยกดินแดนซูเดเทินลันท์ใน ค.ศ. 1938

กำเนิดฝ่ายต่อต้านของเยอรมันในกองทัพ

แก้

ในเยอรมนี วิกฤตการณ์ซูเดเทินได้นำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การสมรู้ร่วมคิดของโอสเทอร์ นายพล ฮันส์ โอสเทอร์ รองหัวหน้าของหน่วยอัพแวร์(หน่วยข่าวกรองทางทหารของนาซีเยอรมนี) และบุคคลสำคัญในกองทัพเยอรมันที่ต่อต้านระบอบการปกครองสำหรับพฤติกรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นลางร้ายที่จะนำพาเยอรมนีเข้าสู่สงครามที่พวกเขาเชื่อว่าไม่พร้อมที่จะสู้รบ พวกเขาพูดคุยโต้เถียงถึงการโค่นล้มฮิตเลอร์และระบอบการปกครองด้วยการวางแผนบุกเข้าโจมตีทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์โดยกองกำลังที่ภักดีไปสู่แผนลับ

การเรียกร้องอาณานิคมของอิตาลีจากฝรั่งเศส

แก้

อิตาลีได้สนับสนุนเยอรมนีอย่างเข้มแข็งที่มิวนิก และไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ได้พยายามใช้ข้อได้เปรียบของตนเพื่อสร้างข้อเรียกร้องใหม่ต่อฝรั่งเศส มุสโสลินีได้เรียกร้องท่าเรือเสรีที่จิบูตี การควบคุมเส้นทางรถไฟระหว่างอาดดิสอาบาบา-จิบูตี การมีส่วนร่วมของอิตาลีในการจัดการของบริษัทคลองสุเอซ บางส่วนจากอำนาจปกครองดินแดนร่วมกันระหว่างฝรั่งเศส-อิตาลีเหนือตูนีเซีย และการอนุรักษ์วัฒนธรรมอิตาลีในเกาะคอร์ซิกาที่ฝรั่งเศสถือครอง โดยที่ประชาชนชาวฝรั่งเศสไม่ได้หลอมรวมกัน ฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องเหล่านั้นและเริ่มข่มขู่ด้วยการฝึกซ้อมทางทะเลเป็นการเตือนถึงอิตาลี

คำอ้างอิงจากผู้เข้าร่วมที่สำคัญ

แก้

การทำให้ตกเป็นโมฆะตามกฎหมาย

แก้

"ผีร้ายแห่งมิวนิค"

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. อังกฤษ: Munich Agreement; เช็ก: Mnichovská dohoda; สโลวัก: Mníchovská dohoda; เยอรมัน: Münchner Abkommen
  2. เช็ก: Mnichovská zrada; สโลวัก: Mníchovská zrada

อ้างอิง

แก้
  1. see the text at "Munich Pact September 30, 1938"
  2. Text in League of Nations Treaty Series, vol. 23, pp. 164–169.
  3. 3.0 3.1 Goldstein, Erik; Lukes, Igor (1999), The Munich Crisis, 1938: Prelude to World War II, New York, pp. 59–60, ISBN 9781136328398, สืบค้นเมื่อ 25 August 2019
  4. Goldstein, Erik; Lukes, Igor (2012-10-12). The Munich Crisis, 1938: Prelude to World War II (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781136328398.
  5. Jesenský 2014, p. 88-89.
  6. "Hoedl-Memoiren". joern.de. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
  7. office, Kafkadesk Prague (2021-03-14). "On this Day, in 1939: Slovakia declared its independence to side with Nazi Germany - Kafkadesk". kafkadesk.org (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-10-04.
  8. "Munich Agreement", Encyclopædia Britannica. Retrieved 6 August 2018.
  9. Statistický lexikon obcí v Republice československé I. Země česká. Prague. 1934.
    Statistický lexikon obcí v Republice česko7slovenské II. Země moravskoslezská. Prague. 1935.
  10. Noakes & Pridham 2010, p. 102, Vol. 3.
  11. Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 101.
  12. Noakes & Pridham 2010, vol. 3 pp. 1001–1002.
  13. 13.0 13.1 Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 102.
  14. 14.0 14.1 14.2 Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 104.
  15. Hehn, Paul N (2005). A Low, Dishonest Decade: The Great Powers, Eastern Europe and the Economic Origins of World War II, 1930–1941. Bloomsbury Academic. p. 89. ISBN 9780826417619.
  16. Noakes & Pridham 2010, vol. 3 pp. 102–103.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 Bell 1986, p. 238.
  18. Noakes & Pridham 2010, vol. 2 p. 201.
  19. 19.0 19.1 19.2 Noakes & Pridham 2010, vol. 3 p. 105.
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Eleanor L. Turk 1999. Pp. 123
  21. Noakes & Pridham 2010, p. 105, Vol. 3.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Eleanor L. Turk 1999. Pp. 1232
  23. Adolf Hitler, Max Domarus. The Essential Hitler: Speeches and Commentary. Bolchazy-Carducci Publishers, 2007. ISBN 9780865166271. Pp. 626.
  24. Adolf Hitler, Max Domarus. The Essential Hitler: Speeches and Commentary. Bolchazy-Carducci Publishers, 2007. ISBN 9780865166271. Pp. 627.
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6262
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6263
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6264
  28. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6265
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Adolf Hitler 2007. Pp. 6272
  30. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reynolds2
  31. Gilbert & Gott 1967, p. 178.
  32. Susan Bindoff Butterworth, Daladier and the Munich crisis: A reappraisal." Journal of Contemporary History 9.3 (1974): 191-216.
  33. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reynolds
  34. "Peacetime". Encyclopedia Britannica.
  35. Jesenský 2014, p. 82.
  36. Gibler, Douglas M (2008). International Military Alliances, 1648–2008. CQ Press. p. 203. ISBN 978-1604266849.
  37. "The Franco-German Declaration of December 6th, 1938". สืบค้นเมื่อ 11 June 2020.
  38. France Signs "No-War" Pact with Germany, Chicago Tribune, 7 December 1938

บรรณานุกรม

แก้

หนังสือ

แก้

เว็บไซต์

แก้

วารสาร

แก้
  • Dray, W. H. (1978). "Concepts of Causation in A. J. P. Taylor's Account of the Origins of the Second World War". History and Theory. 17 (2): 149–174. doi:10.2307/2504843. JSTOR 2504843.
  • Jordan, Nicole. "Léon Blum and Czechoslovakia, 1936-1938." French History 5#1 (1991): 48–73.
  • Thomas, Martin. "France and the Czechoslovak crisis." Diplomacy and Statecraft 10.23 (1999): 122–159.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Bouverie, Tim. Appeasing Hitler: Chamberlain, Churchill and the Road to War (2019).
  • Butterworth, Susan Bindoff. "Daladier and the Munich crisis: A reappraisal." Journal of Contemporary History 9.3 (1974): 191-216
  • Cole, Robert A. "Appeasing Hitler: The Munich Crisis of 1938: A Teaching and Learning Resource," New England Journal of History (2010) 66#2 pp 1–30.
  • Duroselle, Jean-Baptiste. France and the Nazi Threat: The Collapse of French Diplomacy 1932–1939 (2004) pp 277–301.
  • Faber, David. Munich, 1938: Appeasement and World War II (2009)
  • Farnham, Barbara Reardon. Roosevelt and the Munich crisis: A study of political decision-making (Princeton University Press, 2021).
  • Goddard, Stacie E. "The rhetoric of appeasement: Hitler's legitimation and British foreign policy, 1938–39." Security Studies 24.1 (2015): 95-130.
  • Gottlieb, Julie et al. eds. The Munich Crisis, politics and the people: International, transnational and comparative perspectives (2021) excerpt
  • Watt, Donald Cameron. How war came: the immediate origins of the Second World War, 1938–1939 (1989) online free to borrow
  • Werstein, Irving. Betrayal: the Munich pact of 1938 (1969) online free to borrow
  • Wheeler-Bennett, John. Munich: Prologue to tragedy (1948).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้