แบร์ท็อลท์ ค็อนราท แฮร์มัน อัลแบร์ท ชแปร์ (เยอรมัน: Berthold Konrad Hermann Albert Speer; 19 มีนาคม ค.ศ. 1905 – 1 กันยายน ค.ศ. 1981) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นหัวหน้าสถาปนิกของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก่อนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทธภัณฑ์และผลิตกรรมสงครามของนาซีเยอรมนี ชแปร์ยอมรับผิดในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ค ทำให้ได้รับฉายา "นาซีผู้กล่าวคำขอโทษ" (the Nazi who said sorry)[1] อย่างไรก็ตาม ชแปร์กล่าวอ้างว่าไม่รู้เห็นเกี่ยวกับฮอโลคอสต์ แม้ภายหลังจะมีหลักฐานแน่ชัดว่าเขาทราบเรื่องนี้จากจดหมายส่วนตัวที่เขียนในปี ค.ศ. 1971 และเผยแพร่สู่สาธารณะในปี ค.ศ. 2007[2]

อัลแบร์ท ชแปร์
ชแปร์ในปี ค.ศ. 1933
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทธภัณฑ์
และผลิตกรรมสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 – 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
ประธานาธิบดี
หัวหน้ารัฐบาล
ก่อนหน้าฟริทซ์ ท็อท
ถัดไปคาร์ล เซาเออร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
แบร์ท็อลท์ ค็อนราท แฮร์มัน อัลแบร์ท ชแปร์

19 มีนาคม ค.ศ. 1905(1905-03-19)
มันไฮม์ บาเดิน เยอรมนี
เสียชีวิตกันยายน 1, 1981(1981-09-01) (76 ปี)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
เชื้อชาติเยอรมนี
พรรคการเมืองพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน
คู่สมรสมาร์กาเรเทอ เวเบอร์ (ค.ศ. 1928–1981, ชแปร์เสียชีวิต)
บุตร
ศิษย์เก่า
วิชาชีพสถาปนิก, เจ้าหน้าที่รัฐบาล, นักเขียน
ลายมือชื่อ

ชแปร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1905 ที่เมืองมันไฮม์ เป็นบุตรคนที่สองจากทั้งหมดสามคนของอัลแบร์ท ฟรีดริช ชแปร์ และลูอีเซอ มาทิลเดอ วิลเฮ็ลมีเนอ (นามสกุลเดิม ฮ็อมเมิล)[3] เดิมชแปร์อยากเป็นนักคณิตศาสตร์ แต่ต่อมาเปลี่ยนมาเรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ตามบิดาและปู่[4] โดยเข้าเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีคาลส์รูเออ ก่อนจะย้ายไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิกและย้ายไปเรียนอีกครั้งที่มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน หลังจากนั้นเขาทำงานเป็นผู้ช่วยของไฮน์ริช เท็สเซอโน[5] ในปี ค.ศ. 1928 ชแปร์แต่งงานกับมาร์กาเรเทอ เวเบอร์

ชแปร์เข้าร่วมพรรคนาซีในปี ค.ศ. 1931 ความสามารถด้านสถาปัตยกรรมของชแปร์ทำให้เขาเป็นที่รู้จักและเป็นส่วนหนึ่งของคนใกล้ตัวฮิตเลอร์ ชแปร์มีส่วนในการออกแบบและสร้างทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ ลานที่ใช้จัดการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค นอกจากนี้ชแปร์ยังรับผิดชอบแผนสร้างเบอร์ลินใหม่ของฮิตเลอร์ ในปี ค.ศ. 1942 ฮิตเลอร์แต่งตั้งให้ชแปร์เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธ ระหว่างปี ค.ศ. 1942–1944 การผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายเยอรมันภายใต้การทำงานของชแปร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก[6]

หลังสงครามสิ้นสุด ชแปร์ถูกนำตัวขึ้นพิจารณาคดีและได้รับโทษจำคุก 20 ปีในข้อหาบังคับใช้แรงงาน ชแปร์ถูกคุมขังที่เรือนจำชปันเดาในเบอร์ลินตะวันตกและได้รับการปล่อยตัวในปี ค.ศ. 1966 หลังพ้นโทษ ชแปร์ออกผลงานอัตชีวประวัติคือ Inside the Third Reich และ Spandau: The Secret Diaries ที่เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับฮิตเลอร์ ชแปร์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1981 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[7]

อ้างอิง แก้

  1. ‘The Nazi who said sorry’: Behind the shadow known as ‘Hitler’s Architect’ and right-hand man - National Post
  2. Connolly 2007.
  3. Schubert 2006, p. 5.
  4. Fest 1999, pp. 11–13.
  5. van der Vat 1997, pp. 34–36.
  6. "Was armament minister Albert Speer really responsible for the German "armament miracle" during World War II? New doubts arising from the annual audits of the German aircraft producers - Jonas Scherner and Jochen Streb" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-03-29. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18.
  7. ALBERT SPEER DIES AT 76; CLOSE ASSOCIATE OF HITLER - The New York Times

แหล่งข้อมูลอื่น แก้