ภาษาอีโด (Ido, /ˈd/) เป็นภาษาประดิษฐ์ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นภาษาสากลในการช่วยสื่อสารระหว่างผู้คนเชื้อชาติต่าง ๆ โดยได้สร้างให้มีรูปแบบไวยากรณ์ที่ง่ายและเป็นไปตามกฎโดยไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่น ๆ และไม่ให้คล้ายกับภาษาธรรมชาติภาษาใดมากเกินไปเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบในการเรียนรู้ภาษาอีโด ชื่อของภาษาสืบต้นตอจากศัพท์ภาษาเอสเปรันโตว่า ido หมายถึง "ลูกหลาน"[1]

ภาษาอีโด
Ido
ออกเสียงสัทอักษรสากล: [ˈido]
สร้างโดยDelegation for the Adoption of an International Auxiliary Language
วันที่ค.ศ. 1907
การจัดตั้งและการใช้ภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
ผู้ใช้1,000–5,000 คน, มีผู้พูดภาษาแม่เพียงไม่กี่คน  (ไม่พบวันที่)
จุดประสงค์
ระบบการเขียนอักษรละติน
ที่มามีฐานจากเอสเปรันโต 1894
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบUniono por la Linguo Internaciona Ido
รหัสภาษา
ISO 639-1io
ISO 639-2ido
ISO 639-3ido
Linguasphere51-AAB-db
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอีโดได้เริ่มมีการพัฒนาในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 ดัดแปลงมาจากภาษาเอสเปรันโต โดยมีการปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ของภาษาเอสเปรันโตให้ดีขึ้น และได้นำออกมาใช้งานใน พ.ศ. 2450 โดยองค์การภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ และได้รับการสนับสนุนจากผู้พูดภาษาเอสเปรันโตราว 20%[2]

ภาษาอีโดใช้อักษรละติน 26 ตัวเช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ ไม่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษร โดยนำคำศัพท์จากภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, อิตาลี, ละติน, รัสเซีย, สเปน และโปรตุเกส และผู้เรียนภาษาเอสเปรันโตสามารถเข้าใจภาษานี้ได้มาก

มีวรรณกรรมหลายเรื่องที่แปลเป็นภาษาอีโด[3] เช่น เจ้าชายน้อย,[4] หนังสือเพลงสดุดี และพระวรสารนักบุญลูกา[5] ใน ค.ศ. 2000 มีผู้พูดภาษาอีโดเป็นภาษาแม่ประมาณ 100–200 คนทั่วโลก ถึงแม้ว่าจะมีการประมาณการแบบใหม่จะสูงถึง 1,000–5,000 คนก็ตาม[6][7] ใน ค.ศ. 2022 มีผู้พูดภาษาอีโดเป็นภาษาแม่ในประเทศฟินแลนด์ 26 คน[8]

ประวัติ

แก้
 
ภาพสภาภาษาอีโดนานาชาติในเมืองเดสเซา ประเทศเยอรมนีใน พ.ศ. 2465

แนวคิดในการสร้างภาษาประดิษฐ์มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยฮิลเดการ์ดแห่งบินเกน ได้สร้างภาษาอิกนอตาขึ้นมา แต่ไม่ได้รับความนิยมจากคนส่วนใหญ่ จนกระทั่งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการสร้างภาษาโวลาปุกขึ้น โดย โจฮานน์ มาร์ติน สเกลเยอร์

สัทวิทยา

แก้

ภาษาอีโดมีหน่วยเสียงสระ 5 ตัว ได้แก่ a, e, i, o และ u เช่นเดียวกับภาษาเอสเปรันโต และมีพยัญชนะส่วนใหญ่เหมือนกับภาษาเอสเปรันโต สระ e กับ ɛ สามารถใช้แทนกันได้ตามที่มาของผู้พูด เช่นเดียวกันกับสระ o กับ ɔ รูปผสม /au/ กับ /eu/ ถ้าเป็นรากศัพท์จะกลายเป็นสระประสม แต่ถ้าดป็นหน่วยคำเติมจะไม่ปรากฏรูปสระนี้[9]

สระอีโด
หน้า หลัง
ปิด i u
กึ่ง e ~ ɛ o ~ ɔ
เปิด a
พยัญชนะอีโด
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก หลัง-
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m n
หยุด p b t d k ɡ
กักเสียดแทรก t͡s t͡ʃ
เสียดแทรก f v s z ʃ ʒ h
เปิด l j w
ลิ้นสะบัด ɾ

อักขรวิธี

แก้

ภาษาอีโดใช้ตัวอักษร 26 ตัวเหมือนกับชุดตัวอักษรอังกฤษและชุดตัวอักษรละตินพื้นฐานของไอเอสโอกับทวิอักษรสามตัวและไม่มีตัวแฝดหรือเครื่องหมายเสริมสัทอักษร ในตารางข้างล่างบางช่องมีรูปสะกดสองแบบ ซึ่งสามารถใช้ได้ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง[10]

ตัวอักษร สัทอักษรสากล ภาษาอังกฤษ
a /a/ a ใน "part"
b /b/ b ใน "stable"
c /t͡s/ คล้ายกับ ts ใน "cats"; สามารถใช้ในทวิอักษร ch
d /d/ d ใน "adopt"
e /e/, /ɛ/ คล้ายกับ e ใน "egg" หรือ e ใน "bet"
f /f/ f ใน "afraid"
g ɡ// hard g ใน "go"
h /h/ h ใน "hat", "ahoy"
i /i/ i ใน "machine", ee in "bee"
j /ʒ/, /d͡ʒ/ s ใน "pleasure, measure" หรือ g ใน "mirage, beige"
k /k/ k ใน "skin, skip"
l /l/ คล้ายกับ l ใน "lamb"
m /m/ m ใน "admit"
n /n/ n ใน "analogy"
o /o/, /ɔ/ คล้ายกับ o ใน "or"
p /p/ p ใน "spin, spark"
q /k/ sเหมือนกับ k; ใช้เฉพาะในทวิอักษร qu
r /ɾ/ แตะหรือม้วน r ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน "butter"; หรือ r ใน very ตามรูปสะกดภาษาอังกฤษแบบสกอต (cf Pronunciation of English /r/)
s /s/ s ใน "east"; สามารถใช้ในทวิอักษร sh
t t// t ใน "stake, stop"
u /u/ u ใน "rude"
v /v/ v ใน "avoid"
w /w/ w ใน "award"
x /ks/, /ɡz/ x ใน "except" หรือ "exist"
y /j/ y ใน "yes"
z /z/ z ใน "zebra"

ทวิอักษรมีดังนี้:[10]

ทวิอักษร สัทอักษรสากล ภาษาอังกฤษ
ch /t͡ʃ/ ch ใน "chick"
qu /kw/, /kv/ qu ใน "quick"
sh /ʃ/ sh ใน "shy"

ไวยากรณ์

แก้

คำศัพท์ในภาษาอีโดส่วนมากสร้างขึ้นจากรากศัพท์ และไวยากรณ์ก็ได้ดัดแปลงมาจากภาษาเอสเปรันโต ไวยากรณ์ในภาษาอีโดไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งแตกต่างจากภาษาธรรมชาติ

เปรียบเทียบไวยากรณ์ระหว่างภาษาอีโด ภาษาเอสเปรันโตและภาษาอังกฤษ

โครงสร้างไวยากรณ์ อีโด อังกฤษ เอสเปรันโต แปลไทย
นามเอกพจน์ -o (libro) book -o (libro) หนังสือ
นามพหูพจน์ -i (libri) books -oj (libroj) หนังสือหลายเล่ม
คุณศัพท์ -a (varma) warm -a (varma) อบอุ่น
วิเศษณ์ -e (varme) warmly -e (varme) อย่างอบอุ่น
กริยาปัจจุบันกาลแท้ -ar (irar) to be going to go -anti (iranti) -i (iri) ไป
กริยาอดีตกาลแท้ -ir (irir) to have gone -inti (irinti) เคยไป
กริยาอนาคตกาลแท้ -or (iror) to be going to go -onti (ironti) จะไป
กริยาปัจจุบันกาล -as (iras) go, goes -as (iras) ไป
กริยาอดีตกาล -is (iris) went -is (iris) เคยไป
กริยาอนาคตกาล -os (iros) will go -os (iros) จะไป
คำสั่ง -ez (irez) go! -u (iru) ไป!
เงื่อนไข -us (irus) would go -us (irus) จะไป

โครงสร้างประโยค

แก้

ลำดับโครงสร้างประโยคในภาษาอีโดเป็นเช่นเดียวกับในภาษาอังกฤษ เช่น ในประโยค "ฉันมีหนังสือสีน้ำเงิน" ใช้คำว่า "Me havas la blua libro" ซึ่งมีความหมายตรงกับในภาษาอังกฤษว่า "I have the blue book" ตามลำดับคำต่อคำ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างประโยคในภาษาอีโดมีข้อแตกต่างจากในภาษาอังกฤษดังนี้

  • คำคุณศัพท์สามารถเขียนไว้ก่อนคำนามตามแบบภาษาอังกฤษ หรือหลังคำนามตามแบบภาษาฝรั่งเศสก็ได้ เช่น สามารถเขียนได้ทั้ง "Me havas la blua libro" และ "Me havas la libro blua"
  • สามารถเติม n หลังกรรมในประโยคที่ขึ้นต้นด้วยกรรมได้เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ในกรณีที่ประโยคมีความหมายไม่ชัดเจนว่าคำนามคำใดเป็นกรรมของประโยค เช่น "La blua libron me havas "

การสร้างประโยคปฏิเสธสามารถสร้างได้โดยการเติมคำว่า ne ไว้ข้างหน้ากริยา เช่น "Me ne havas libro" แปลว่า "ฉันไม่มีหนังสือ"

การสร้างประโยคคำถามสามารถสร้างได้โดยการเติมคำว่า ka ไว้ข้างหน้าประโยค เช่น "Ka me havas libro?" แปลว่า "ฉันมีหนังสือหรือไม่?" และยังสามารถเติมคำว่า ka ไว้หน้าคำนามเพื่อสร้างเป็นประโยคคำถามได้ เช่น "Ka Mark?" อาจหมายความว่า "คุณคือมาร์กใช่ไหม?" หรือ "นั่นคือมาร์กใช้ไหม?" หรือ "หมายความว่ามาร์กใช่ไหม?" ก็ได้

สรรพนาม

แก้
เอกพจน์ พหูพจน์ ไม่เจาะจง
บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 บุรุษที่ 3 บุรุษที่ 1 บุรุษที่ 2 บุรุษที่ 3
ไม่เป็นทางการ เป็นทางการ เพศชาย เพศหญิง สัตว์และสิ่งของ โดยรวม เพศชาย เพศหญิง สัตว์และสิ่งของ โดยรวม
ภาษาอีโด me tu vu il (u) el (u) ol (u) lu ni vi ili eli oli li on (u)
ภาษาเอสเปรันโต mi ci¹ vi¹ li ŝi ĝi ĝi² ni vi       ili oni
ภาษาอังกฤษ I thou/you you he she it he/she/it we you       they one

คำศัพท์

แก้

คำศัพท์ในภาษาอีโดได้ดัดแปลงมาจากรากศัพท์ซึ่งเป็นคำศัพท์ในภาษาต่าง ๆ โดยได้เลือกนำรากศัพท์มาจากภาษาที่ให้ความสะดวกต่อผู้พูดมากที่สุด จากการสำรวจพบว่า คำศัพท์พื้นฐานในภาษาอีโดจำนวน 5,371 คำ ได้นำมาจากคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน เยอรมัน รัสเซีย และอิตาลี ดังนี้[11]

  • ภาษาฝรั่งเศส 4,880 คำ (91%)
  • ภาษาอิตาลี 4,454 คำ (83%)
  • ภาษาสเปน 4,237 คำ (79%)
  • ภาษาอังกฤษ 4,219 คำ (79%)
  • ภาษาเยอรมัน 3,302 คำ (61%)
  • ภาษารัสเซีย 2,821 คำ (52%)

โดยบางคำอาจมาจากรากศัพท์ของคำในหลายภาษา ดังนี้

  • 2,024 คำ (38%) นำมาจากรากศัพท์ของ 6 ภาษา
  • 942 คำ (17%) นำมาจากรากศัพท์ของ 5 ภาษา
  • 1,111 คำ (21%) นำมาจากรากศัพท์ของ 4 ภาษา
  • 585 คำ (11%) นำมาจากรากศัพท์ของ 3 ภาษา
  • 454 คำ (8%) นำมาจากรากศัพท์ของ 2 ภาษา
  • 255 คำ (5%) นำมาจากรากศัพท์ของ 1 ภาษา
เปรียบเทียบคำศัพท์ในภาษาอีโดและภาษาอื่น ๆ
อีโด อังกฤษ อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย สเปน แปลไทย
bona good ("bonus") buono bon gut ("Bonus") khoroshiy (хороший) bueno ดี (โบนัส)
donar give ("donate") dare ("donare") donner geben dat (дать), darit (дарить) dar, donar ให้ (บริจาค)
filtrar filter filtrare filtrer filtern filtrovat (фильтровать) filtrar เครื่องกรอง
gardeno garden giardino jardin Garten sad (caд) jardín สวน
kavalo horse ("cavalry") cavallo cheval Pferd ("Kavallerie") loshad, kobyla (лошадь, кобыла) caballo ม้า (ทหารม้า)
maro sea ("marine") mare mer Meer more (море) mar ทะเล (เกี่ยวกับทะเล)
naciono nation nazione nation Nation natsija (нация) nación ชาติ
studiar study studiare étudier studieren izuchat, (изучать) estudiar เรียน
yuna young ("juvenile") giovane jeune jung yunyi, molodoy (юный, молодой) joven เด็ก (เยาวชน)

การประชุมภาษาอีโดนานาชาติ

แก้

ULI จัดงานประชุมภาษาอีโดทุกปี และมักผสมระหว่างการท่องเที่ยวและการทำงาน[12]

อ้างอิง

แก้
  1. "Esperanto-English Dictionary". สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012.
  2. Lajos Kökény; Vilmos Bleier; Kálmán Kalocsay; Ivan Gennad'evič Širâev, บ.ก. (1933). Enciklopedio de Esperanto (ภาษาเอสเปรันโต) (unua ed.). Budapest: Literatura Mondo. OCLC 869911517.
  3. "Libreyo" (ภาษาอีโด). 27 January 2018. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  4. Antoine de Saint-Exupéry (2013). La Princeto (ภาษาอีโด). แปลโดย Fernando Tejón. สืบค้นเมื่อ 27 December 2018.
  5. "Evangelio da Santa Lukas" (PDF) (ภาษาอีโด). แปลโดย L. Kauling. 1926. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2018.
  6. "Ido language, alphabet and pronunciation". omniglot.com. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2020.
  7. Blanke (2000), cited in Sabine Fiedler "Phraseology in planned languages", Phraseology / Phraseologie, Walter de Gruyter 2007. p. 779.
  8. "Väestö 31.12. muuttujina Alue, Kieli, Sukupuoli, Vuosi ja Tiedot". Tilastokeskuksen PX-Web tietokannat (ภาษาฟินแลนด์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2023.
  9. De Beaufront, Louis (2004) [1925]. Tejón, Fernando (บ.ก.). "Pronunco dil vokali" (PDF). Kompleta Gramatiko detaloza di la linguo internaciona Ido (ภาษาอีโด). Ponferrada, Spain: Krayono. p. 7. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 สิงหาคม 2015.
  10. 10.0 10.1 De Beaufront, L (2004). "Kompleta Gramatiko Detaloza di Ido" [Comeplete Detailed Grammar of Ido] (PDF). pp. 7–10. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2012.
  11. Dyer, Luther H (1923). The Problem of an International Auxiliary Language and its Solution in Ido. pp. 101–121. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2012.
  12. "ULI's website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2016.

ข้อมูลเพิ่มเติม

  1. Louis Couturat; Léopold Leau (1907). Délegation pour l'adoption d'une langue auxiliaire internationale. Compte rendu des travaux du Comité (15-24 octobre 1907) (ภาษาฝรั่งเศส). Coulommiers: Imprimerie Paul Brodard. ASIN B001C64E9Y

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้