พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พระเจ้าซ็อนโจ (เกาหลี: 선조 宣祖) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โชซ็อนองค์ที่ 14 (พ.ศ. 2110 - พ.ศ. 2151) รัชสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีและมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ทั้งการรุกรานของญี่ปุ่นและการแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิมออกเป็นฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันตก ที่จะส่งผลต่อการเมืองอาณาจักรโชซ็อนไปอีกหลายร้อยปี แม้ว่าในสมัยของพระเจ้าซ็อนโจจะมีผู้มีความสามารถมากมาย เช่น ลีซุนชิน ลีฮวาง อีอี แต่ความแตกแยกก็ทำให้โชซ็อนต้องเผชิญกับศึกหนัก
พระเจ้าซ็อนโจ | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์พระเจ้าซ็อนโจ | |||||
พระมหากษัตริย์แห่งโชซ็อน | |||||
ครองราชย์ | 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1567 – 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1608 | ||||
รัชสมัย | 40 ปี 213 วัน | ||||
ราชาภิเษก | 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1567 | ||||
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้ามย็องจงแห่งโชซ็อน | ||||
รัชกาลถัดไป | เจ้าชายควังแฮ | ||||
ผู้สำเร็จราชการ | เจ้าชายควังแฮ (1592-1608) | ||||
พระราชสมภพ | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1552 Indalbang, โซล | ||||
สวรรคต | 16 มีนาคม ค.ศ. 1608 | (55 ปี)||||
พระราชบุตร | เจ้าชายควังแฮ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | โชซ็อน | ||||
ราชสกุล | ลี | ||||
พระราชมารดา | พระนางฮาดง บูแทบูอิน ตระกูลจอง |
พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน | |
ฮันกึล | 선조 |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Seonjo |
เอ็มอาร์ | Sŏn-jo |
ชื่อเกิด | |
ฮันกึล | 이연 |
ฮันจา | 李蚣 |
อาร์อาร์ | I Yeon |
เอ็มอาร์ | Yi Yŏn |
องค์ชายฮาซง เป็นพระโอรสขององค์ชายทอกกึง ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าชุงจงกับพระสนมอันชางบิน เป็นองค์ชายธรรมดาที่ห่างไกลจากราชบัลลังก์และไม่มีขุนนางใดสนับสนุนให้พระองค์ขึ้นเสด็จครองราชย์ แต่ในพ.ศ. 2110 พระเจ้ามย็องจงเสด็จสวรรคตโดยที่ไม่มีทายาท บรรดาขุนนางจึงสรรหาพระราชวงศ์ที่พระเยาว์มาขึ้นครองราชย์ องค์ชายฮาซงจึงถูกเลือกและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซ็อนโจ และเลื่อนสถานะของพระบิดาและพระมารดาเป็นแทวอนกุนและแทกุนบูอิน
การแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิม
แก้เช่นเดียวกับกษัตริย์เกาหลีองค์อื่น ในระยะแรกของรัชสมัยของพระเจ้าซ็อนโจเป็นกษัตริย์ที่ทุ่มเทเพื่อความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และพัฒนาประเทศ เพราะอาณาจักรโชซ็อนประสบปัญหาความอ่อนแอของการปกครองเนื่องจากเหตุการณ์ตั้งแต่สมัยเจ้าชายยอนซัน สมัยพระเจ้าจุงจงที่ทรงไม่มีอำนาจปกครอง การแก่งแย่งอำนาจของฝ่ายยุนใหญ่และยุนเล็ก จนถึงการปกครองที่ทุจริตของยุนวอนฮัง พระเจ้าซ็อนโจเปลี่ยนแปลงการสอบควากอ (จอหงวน) ใหม่โดยเพิ่มการสอบเกี่ยวกับรัฐศาสตร์การปกครองและประวัติศาสตร์เข้าไป ซึ่งแต่เดิมมีแต่การสอบปรัชญาขงจื้อและการแต่งกลอนเท่านั้น
เพื่อที่จะพัฒนาประเทศ พระเจ้าซ็อนโจรับเอาปราชญ์กลุ่มซานิมกลับเข้ามารับราชการ ยกย่องขุนนางซานิมเก่าที่เคยถูกลงโทษ เช่น โจกวางโจ และทำลายอำนาจของกลุ่มฮุงงู ในพ.ศ. 2118 ขุนนางซานิมสองคน คือ ชิมอึย-กยอม และคิมฮโยวอน แข่งขันกันเพื่อที่จะแย่งตำแหน่งจองนัง (ขั้น 4) สังกัดฝ่ายบุคคล (อีโจ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่สูงนักแต่มีอำนาจสามารถแนะนำขุนนางให้ดำรงตำแหน่งต่างๆในซัมซา (ผู้ตรวจรวจการทั้งสาม ประกอบด้วย ซาฮองบู ซากันวาน และฮงมุนวาน) ได้ ชิมอึยกยอมเป็นพระญาติของมเหสี ส่วนคิมฮโยวอนเป็นศิษย์ของลีฮวาง ปราชญ์ขงจื้อชื่อดัง
ขุนนางฝ่ายซานิมจึงแตกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่สนับสนุนชิมอึยกยอม เรียกว่า ฝ่ายตะวันตก (ซออิน) เพราะชิมอึยกยอมอาศัยทางตะวันตกของ ฮันซอง ประกอบด้วยขุนนางอาวุโส เพราะชิมอึยกยอมมีความเกี่ยวดองกับราชวงศ์ จึงมีขุนนางเก่าสนับสนุนมาก ออกไปทางอนุรักษนิยม ขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนคิมฮโยวอนเรียกว่าฝ่ายตะวันออก (ทงอิน) เพราะคิมฮโยวอนอาศัยอยู่ทางตะวันออกของฮันยาง คือพวกขุนนางอายุน้อย เพราะขุนนางรุ่นใหม่กำลังสนใจในปรัชญาแบบใหม่ของลีฮวาง มีความคิดแนวปฏิรูป
จนลีอี หัวหน้าขุนนางซานิมต้องมาไกล่เกลี่ยมิให้มีการแตกแยก โดยการส่งคิมฮโยวอนไปเมืองพูรยอง และส่งชิมอึยกยอมไปเมืองแคซอง เพื่อตัดปัญหา ให้ไปปกครองท้องถิ่นแทน แต่ฝ่ายทงอินกล่าวหาว่าลีอีเข้าข้างฝ่าซออิน เพราะส่งคิมฮโยวอนไปไกลทางเหนือ แต่ส่งชิมอึยกยอมไม่แค่เมืองแคซองใกล้ๆ ฝ่ายตะวันตกมีอำนาจขึ้นมาก่อนเพราะได้รับการสนับสนุนจากขุนนางอาวุโสและพระราชวงศ์ ขณะที่ฝ่ายตะวันออกเรียกร้องให้มีการปฏิรูปแต่ได้รับการปฏิเสธทุกครั้ง ในพ.ศ. 2126 ลีอี ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมกลาโหม เห็นว่าพวกแมนจูและญี่ปุ่นสะสมกำลังมากขึ้น โชซ็อนควรเตรียมรับมือให้พร้อมโดยการเพิ่มกำลังกองทัพ แต่ทั้งสองฝ่ายและพระเจ้าซ็อนโจไม่มีใครเห็นด้วยเลย เพราะเชื่อว่าบ้านเมืองจะสงบสุขตลอดไป แต่หารู้ไม่อีกไม่กี่ปีข้างหน้าโชซ็อนจะถูกทั้งญี่ปุ่นและแมนจูบดขยี้จนย่อยยับ ลีอีสิ้นชีวิตในพ.ศ. 2127
การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)
แก้โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ รวบรวมประเทศญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุได้สำเร็จ และมีความทะเยอทะยานที่จะพิชิตจีน จึงส่งทูตมาโชซ็อนเพื่อขอความร่วมมือในการบุกยึดจีนในพ.ศ. 2130 โดยผ่านทางตระกูลโซเจ้าครองเกาะซึชิมา ซึ่งเป็นทางเดียวที่โชซ็อนติดต่อกับญี่ปุ่น แต่เจ้าครองเกาะเห็นว่า โชซ็อนไม่มีวันจะเข้ากับญี่ปุ่นรุกรานจีน หากส่งสาสน์ไปจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการค้าที่เกาะซึชิมาพึงมี จึงเปลี่ยนแปลงเนื้อความในสารให้เป็นการทำสัมพันธไมตรีธรรมดา ใน พ.ศ. 2133 พระเจ้าซ็อนโจจึงส่งทูตไปขอบพระทัยโทโยโตมิที่เกียวโต แต่โทโยโตมิกำลังทำสงครามกับไดเมียวอื่นอยู่ ทำให้ทูตโชซ็อนต้องรออยู่หลายวัน และโทโยโตมิเข้าใจว่าทูตโชซ็อนมาส่งบรรณาการ จึงไม่ให้การต้องรับอย่างสมเกียรติเท่าที่ควร และเขียนสาสน์อย่างไม่เคารพพระเจ้าซ็อนโจ ให้ร่วมมือกันบุกยึดจีน
การกระทำของโทโยโตมิสร้างความแปลงประหลาดใจและความสงสัยให้กับโชซ็อนอย่างมาก และไม่เชื่อว่าญี่ปุ่นจะมีความสามารถทำอะไรจีนราชวงศ์หมิงได้ ทูตฝ่ายตะวันตกรายงานว่าโทโยโตมิสะสมกำลังกองทัพไว้ขนาดใหญ่มาก แต่ทูตฝ่ายตะวันออกกลับบอกว่ากองทัพนี้เอาไว้รบกับไดเมียวอื่นๆในญี่ปุ่น พระเจ้าซ็อนโจทรงเชื่อฝ่ายตะวันออก และทรงละเลยความเป็นไปได้ของภัยคุกคามจากญี่ปุ่น
เมื่อไม่ได้รับการตอบรับ ใน พ.ศ. 2134 โทโยโตมิจึงส่งสาสน์มาว่าจะยกทัพผ่านโชซ็อนไปจีน ทำให้ในที่สุดฝ่ายโชซ็อนจึงรู้ถึงสงครามที่กำลังจะเกิด จึงเร่งเตรียมกำลังทัพ แต่ไม่ทันเพราะปีถัดมา พ.ศ. 2135 โคะนิชิ ยุกินะกะ ยกทัพเรือบุกเผ่าเมืองท่าต่างๆทางตอนใต้และยกพลขึ้นบกได้ วันต่อมาคะโต คิโยะมะสะ ก็ตามมาเอาชนะแม่ทัพ ลีอิล ที่ซังจูและชุงจู และรุกคืบหาเมืองฮันซองอย่างรวดเร็ว
พระเจ้าซ็อนโจเมื่อกลับมาก็พบว่าวังของพระองค์เหลือแต่เถ้าถ่าน จึงสร้างพระราชวังใหม่ชื่อว่า พระราชวังต๊อกซู (ต๊อกซูกุง) ยูซอง-ลยอง เสนอว่าโชซ็อนควรจะรับปืนมาใช้ และปรับปรุงกองทัพรวมทั้งเกณฑ์ไพร่พลทุกชนชั้นตั้งแต่ยังบันถึงชอนมิน พ.ศ. 2140 การเจรจาระหว่างจีนและญี่ปุ่นไม่เป็นผล ญี่ปุ่นจึงบุกโชซ็อนอีกครั้งแต่ไม่ง่ายเหมือนคราวก่อน ยึดได้แต่แคว้นเคียงซังและจอลลาทางใต้ ญี่ปุ่นยังวางแผนกำจัดลีซุนชินโดยการหลอกว่าจะส่งทัพเรือมาบุกฮันซองทางทะเล แต่ลีซุนชินไม่เชื่อว่าจะมาได้เพราะผิดหลักยุทธศาสตร์ แต่พระเจ้าซ็อนโจทรงเห็นว่าลีซุนชินขัดพระราชโองการจึงรับสั่งให้จับเข้าคุก เมื่อไม่มีลีซุนชอนโชซ็อนจึงพ่ายแพ้ยับเยินที่ชิลชอน-นยาง จึงปล่อยตัวลีซุนชินและสามารถเอาชนะญี่ปุ่นที่เมียงนัง
ใน พ.ศ. 2141 โทโยโตมิเสียชีวิต ได้สั่งเสียให้ถอนทัพจากโชซ็อน ทัพญี่ปุ่นจึงถอยกลับ ก่อนกลับยังพ่ายแพ้โชซ็อนอีกที่โน-นยาง แต่ลีซุนชินเสียชีวิตในการรบ เป็นอันสิ้นสุดสงครามเจ็ดปี หรือสงครามอิมิจิน
การแบ่งฝ่ายของฝ่ายตะวันออก
แก้สงครามอิมิจินได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าพระเจ้าซ็อนโจละเลยหน้าที่ในฐานะผู้นำประเทศ เพราะขณะที่ขุนพลทั้งหลายต่อสู้กับญี่ปุ่นแต่หลบหนีไปจีน และที่กระทำกับลีซุนชินนั้นก็เป็นการขัดขวางความสำเร็จของโชซ็อน ทำให้นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าทรงเป็นหนึ่งในกษัตริย์เกาหลีที่อ่อนแอ
สำหรับสงครามการเมืองนั้น ฝ่ายตะวันออกมีชัย เพราะหลังจากผ่านสงครามมาทำให้ประเทศต้องการการเปลี่ยนแปลงปฏิรูป ซึ่งฝ่ายตะวันตกที่หัวโบราณไม่อาจจะแก้ไขปัญหาที่ประสบอยู่ได้ แต่ฝ่ายตะวันออกนั้นเร่งรัดการปฏิรูปจนยูซองนยองเสนอว่าไม่ควรจะปฏิรูปให้เร็วเกินไป ชะลอลงบ้าง เพราะยูซองนยองอาศัยอยู่ทางใต้ จึงเรียกฝ่ายสนับสนุนยูซองนยองว่าฝ่ายใต้ (นัมอิน) ส่วนที่เหลือเรียกว่าฝ่ายเหนือ (พุกอิน) และฝ่ายเหนือก็ยังแบ่งอีก เป็นฝ่ายเหนือใหญ่ (แทบุก) และฝ่ายเหนือเล็ก (โซบุก) เป็นการแบ่งฝ่ายอีกครั้ง ทำให้การเมืองโจซ็อนมีหลายพรรคหลายพวก ซึ่งจะขัดขวางความเจริญของประเทศไปอีกหลายร้อยปี
พระเจ้าซ็อนโจเหน็ดเหนื่อยหลังจากผ่านวิกฤตมามาก จึงมอบให้องค์ชายควางแฮว่าราชการแทน แต่เมื่อมเหสีอินมอกประสูติองค์ชายยอนชัง ก็เป็นเหตุให้ฝ่ายเหนือใหญ่และฝ่ายเหนือเล็กขัดแย้งกัน เพราะฝ่ายเหนือใหญ่สนับสนุนองค์ชาวควางแฮ และฝ่ายเหนือเล็กสนับสนุนองค์ชายยอนชัง
พระเจ้าซ็อนโจสวรรคตในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2151 โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองยังคุกรุ่น องค์ชายควางแฮสืบบัลงก์ต่อจากพระองค์
พระนามเต็ม
แก้พระเจ้าซ็อนโจ แทโจโซคยอง จองรยุน ริปกุ๊ก ซองด็อก ฮงรยอล จิซอง แดอึย คยอกชอล เฮอึน คยองมยอง ซินรยอก ฮงคง ยุนคอป ฮนอนมุน อึยมู ช็อนคเย ดันฮโย แห่งเกาหลี
พระบรมวงศานุวงศ์
แก้- พระราชบิดา: เจ้าชายท็อกฮึง แทวอนกุน
- พระราชมารดา: พระนางฮาดง บูแทบูอิน ตระกูลจอง (하동부대부인 정씨)
พระมเหสี
- พระนางอึยอิน ตระกูลปาร์ค แห่งบันนัม (의인왕후 박씨)
- พระนางอินม๊ก ตระกูลคิม แห่งยอนอัน (인목왕후 김씨)
พระสนม
- พระสนมกงบิน ตระกูลคิม แห่งคิมแฮ (공빈 김씨)
- พระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน (인빈 김씨)
- พระสนมซุนบิน ตระกูลคิม (순빈 김씨)
- พระสนมจองบิน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง (정빈 민씨)
- พระสนมจองบิน ตระกูลฮง แห่งนัมยาง (정빈 홍씨)
- พระสนมอนบิน ตระกูลฮัน แห่งชองจู (온빈 한씨)
- พระสนมควีอิน ตระกูลจอง แห่งยองอิล (귀인 정씨)
- พระสนมซุกอึย ตระกูลจอง แห่งดงแร (숙의 정씨)
- พระสนมโซวอน ตระกูลยุน (폐소원 윤씨) ภายหลังถูกถอดจากตำแหน่งพระสนม
พระราชโอรส
- เจ้าชายย็องชัง อี อึย (영창대군 ,永昌大君 ,1606 - 1614) พระราชโอรสของสมเด็จพระราชินีอินม๊ก ตระกูลคิม แห่งยอนอัน
- เจ้าชายอิมแฮ อี จิน (임해군 ,臨海君 ,1572 - 1609) พระราชโอรสของพระสนมกงบิน ตระกูลคิม แห่งกิมแฮ
- เจ้าชายควังแฮ อี ฮน (광해군 ,光海君 ,1575 - 1641) พระราชโอรสของพระสนมกงบิน ตระกูลคิม แห่งกิมแฮ
- เจ้าชายอึยอัน อี ซอง (의안군 ,義安君 ,1576 - 1588) พระราชโอรสของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าชายซินซอง อี ฮู (신성군 ,信城君 ,1578 - 1592) พระราชโอรสของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าชายช็องว็อน อี บู (정원군 ,定遠君 ,1580 - 1619) พระราชโอรสของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าชายอึยชาง อี กวาง ( 의창군 ,義昌君 ,1589 - 1645) พระราชโอรสของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าชายซุนฮวา อี โบ (순화군 ,順和君 ,1580 - 1607) พระราชโอรสของพระสนมซุนบิน ตระกูลคิม
- เจ้าชายอินซอง อี คง (인성군 ,仁城君 ,1588 - 1628)พระราชโอรสของพระสนมจองบิน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง
- เจ้าชายอินฮึง อี ยอง (인흥군 ,仁興君 ,1604 - 1651)พระราชโอรสของพระสนมจองบิน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง
- เจ้าชายคยองชาง อี จู (경창군 ,慶昌君 ,1596 - 1644)พระราชโอรสของพระสนมจองบิน ตระกูลฮง
- เจ้าชายฮึงอัน อี เจ (흥안군 ,興安君 ,1598 - 1624)พระราชโอรสของพระสนมอนบิน ตระกูลฮัน
- เจ้าชายคยองพยอง อี นึก (경평군 ,慶平君 ,1600 - 1673)พระราชโอรสของพระสนมอนบิน ตระกูลฮัน
- เจ้าชายยองซอง อี คเย (영성군 ,寧城君 ,1605 - 1649)พระราชโอรสของพระสนมอนบิน ตระกูลฮัน
พระราชธิดา
- เจ้าหญิงช็องมย็อง (정명공주 ,貞明公主 ,1603 - 1685) พระราชธิดาของสมเด็จพระราชินีอินม๊ก ตระกูลคิม แห่งยอนอัน (ภายหลังองค์หญิงได้กลายเป็นต้นสายตระกูลของพระนางฮอนคยอง พระพันปีหลวง ตระกูลฮง แห่งพุงซาน (헌경왕후 홍씨))
- เจ้าหญิงจองซิน (정신옹주 ,貞愼翁主 ,1583 - 1653) พระราชธิดาของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าหญิงจองฮเย (정혜옹주 ,靜惠翁主 ,1584 - 1638) พระราชธิดาของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าหญิงจองซุก (정숙옹주 ,貞淑翁主 ,1587 - 1627) พระราชธิดาของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าหญิงจองอัน (정안옹주 ,貞安翁主 ,1590 - 1660) พระราชธิดาของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าหญิงจองฮวี (정휘옹주 ,貞徽翁主 ,1593 - 1653) พระราชธิดาของพระสนมอินบิน ตระกูลคิม แห่งซูวอน
- เจ้าหญิงจองอิน (정인옹주 ,貞仁翁主 ,1590 - 1656) พระราชธิดาของพระสนมจองบิน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง
- เจ้าหญิงจองช็อน (정선옹주 ,貞善翁主 ,1594 - 1614) พระราชธิดาของพระสนมจองบิน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง
- เจ้าหญิงจองกึน (정근옹주 ,貞謹翁主 ,1601 - 1613) พระราชธิดาของพระสนมจองบิน ตระกูลมิน แห่งยอฮึง
- เจ้าหญิงจองจอง (정정옹주 ,貞正翁主 ,1595 - 1666) พระราชธิดาของพระสนมจองบิน ตระกูลฮง
- เจ้าหญิงจองฮวา (정화옹주 ,貞和翁主 ,1604 - 1667) พระราชธิดาของพระสนมอนบิน ตระกูลฮัน
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ก่อนหน้า | พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้ามย็องจง | กษัตริย์แห่งโชซ็อน (พ.ศ. 2110 - พ.ศ. 2151) |
เจ้าชายควังแฮ|} |