คาโต คิโยมาซะ

ซามูไรผู้ต่อสู้ของญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก คะโต คิโยะมะสะ)

คาโต คิโยมาซะ (ญี่ปุ่น: 加藤 清正โรมาจิKatō Kiyomasa; 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1562 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1611) เป็นไดเมียวชาวญี่ปุ่นในยุคอาซูจิ–โมโมยามะถึงยุคเอโดะ มีชื่อราชการว่า ฮิโงะ-โนะ-คามิ ชื่อวัยเด็กคือ ยาชามารุ และมีชื่อแรกว่า โทราโนซูเกะ เขาเป็นหนึ่งในหอกทั้ง 7 แห่งชิซูงาตาเกะของฮิเดโยชิ

คาโต คิโยมาซะ
加藤 清正
ภาพของคาโต คิโยมาซซะ
เจ้าแห่งคูมาโมโตะ
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1587 – 1611
ถัดไปคาโต ทาดาฮิโระ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 กรกฎาคม ค.ศ. 1562
จังหวัดโอวาริ ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิตสิงหาคม 2, 1611(1611-08-02) (49 ปี)
คูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น
เชื้อชาติณี่ปุ่น
คู่สมรสโชโจอิง
บุตรโยริงอิง
ศาสนาพุทธแบบนิจิเร็ง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ตระกูลโทโยโตมิ
กองทัพตะวันออก
รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ
หน่วย ตระกูลคาโต
ผ่านศึกยุทธการที่ยามาซากิ
ยุทธการที่ชิซูงาตาเกะ
การรุกรานคีวชู
การรุกรานเกาหลี
ยุทธการที่อูโดะ
ยุทธการที่ยานางาวะ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ加藤 清正
ฮิรางานะかとう きよまさ
การถอดเสียง
โรมาจิKatō Kiyomasa

ชีวประวัติ แก้

 
อนุสรณ์สถานที่เกิดของคาโต คิโยมาซะ (เขตนากามูระ นครนาโงยะ)

คิโยมาซะเกิดในบริเวณที่ปัจจุบันคือเขตนากามูระ นครนาโงยะ จากคาโต คิโยตาดะ โดยอิโตะ ภรรยาของคิโยตาดะ เป็นลูกพี่ลูกน้องของแม่ของโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ[1] คิโยตาดะเสียชีวิตในขณะที่ลูกชายของเขา คิโยมาซะ (ในตอนนั้นมีชื่อว่า โทราโนซูเกะ) ยังคงเป็นเด็ก ไม่นานโทราโนซูเกะเข้ารับใช้ฮิเดโยชิ และใน ค.ศ. 1576 ตอนอายุ 15 ปี เขาได้รับศักดินา 170 โคกุ

ใน ค.ศ. 1582 เขาร่วมรบในกองทัพของฮิเดโยชิที่ยุทธการที่ยามาซากิ และต่อด้วยยุทธการที่เซกิงาฮาระใน ค.ศ. 1583 ด้วยผลงานนี้ ทำให้เขากลายเป็นหนึ่งในหอกทั้ง 7 แห่งชิซูงาตาเกะและให้รางวัลด้วยการเพิ่มโคกุอีก 3,000 อัน[2][3]

การรุกรานเกาหลี แก้

คิโยมาซะ เป็น 1 ใน 3 แม่ทัพ ในการทำสงครามกับอาณาจักรโชซ็อนครั้งที่ 2 เพื่อต่อต้านราชวงศ์โชซ็อน เขาได้เข้ายึดกรุงฮันซ็อง เมืองหลวง (กรุงโซลในปัจจุบัน) ปูซาน และเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกหลายเมืองในโชซ็อน และได้ชัยชนะต่อกองกำลังด่านสุดท้ายของโชซ็อนในสมรภูมิแม่น้ำอิมจิน ในปี 1592

ด้วยความเกรงกลัวต่อคิโยมาซะและกองทัพญี่ปุ่น ทำให้พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อนต้องละทิ้งกรุงฮันซ็องและลี้ภัยไปยังเปียงยาง คิโยมาซะได้จับกุมเจ้าชายแห่งโชซ็อนสองพระองค์ไว้เป็นองค์ประกัน และบังคับให้โชซ็อนยอมแพ้

คิโยมาซะยังเป็นสถาปนิกที่มีฝีมือในการออกแบบสร้างปราสาทและป้อมปราการ ระหว่างสมรภูมิแม่น้ำอิมจิน เขาสร้างปราสาทแบบญี่ปุ่นหลายแห่งในอาณาจักรโชซ็อนเพื่อเป็นฐานบัญชาการและปกครอง ซึ่งป้อมอูลซาน หนึ่งในปราสาทของเขาได้ถูกพิสูจน์ เมื่อธันวาคม ค.ศ. 1593 กองทัพผสมโชซ็อนและต้าหมิง ได้เข้าโจมตีด้วยกำลังทางทหารกว่า 36,000 คน ญี่ปุ่นและทหาร 7,000 คนต้องป้องกันนานนับเดือน ก็ประสบความสำเร็จในการป้องกันปราสาท ทำให้ฝ่ายโชซ็อนและต้าหมิงต้องล่าถอย ในขณะเดียวกัน กำลังของญี่ปุ่นก็อ่อนลงอย่างมาก อย่างไรก็ตาม วีรกรรมครั้งนี้ถูกอิชิดะ มิตสึนาริ คู่แข่งของเขาขัดขวางไม่ให้รายงานไปยังโทโยโตมิ ฮิเดโยชิ อัครมหาเสนาบดีแห่งญี่ปุ่น หลังจากการตายของฮิเดโยชิ เขาก็ขัดแย้งขั้นรุนแรงกับมิตสึนาริ และไปอยู่ฝ่ายโทกูงาวะ อิเอซาดะ

ช่วงท้ายและเสียชีวิต แก้

ระหว่างยุทธการที่เซกิงาฮาระ คิโยมาซะยังคงอยู่ในเกาะคีวชู โดยอยู่ฝ่ายกองทัพภาคตะวันออกของโทกูงาวะ อิเอยาซุ ด้วยความภักดีของเขา คิโยมาซะได้รับศักดินาในพื้นที่เดิมของคู่แข่งของเขาคือมิตสึนาริ เมื่อรวมกับศักดินาเดิมที่มีอยู่แล้ว ทำให้คิโยมาซะมีศักดินาถึง 530,000 โคกุ

ในช่วงวาระสุดท้าย คิโยมาซะพยายามทำงานเป็นคนกลางเพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างอิเอยาซุกับโทโยโตมิ ฮิเดโยริ ใน ค.ศ. 1611 ขณะอยู่ระหว่างทางทางทะเลไปหาคูมาโมโตะหลังจากการประชุมดังกล่าว หลังไปถึงไม่นานเขาล้มป่วยและเสียชีวิต ศพของเขาถูกฝังที่ฮงเมียวจิที่คูมาโมโตะ แต่ยังมีโลงศพที่จังหวัดยามางาตะและโตเกียว

คาโต ทาดาฮิโระ บุตรของเขาสืบทอดตำแหน่งฮิโงะโนะคามิ (肥後守; ผู้ว่าการจังหวัดฮิโงะ) แต่ที่ดินของเขาถูกยึดและโทกูงาวะ อิเอมิตสึทรงเนรเทศเขาใน ค.ศ. 1632 ด้วยข้อสงสัยว่า เขาอาจสมรู้ร่วมคิดต่อต้านพระองค์[4] ซึ่งน่าจะด้วยความชอบของโทกูงาวะ ทาดานางะ ผู้สั่งให้ทำการเซ็ปปูกุใน ค.ศ. 1633[5]

บุคลิกภาพ แก้

 
คิโยมาซะกับลิงเลี้ยง ภาพโดยสึกิโอกะ โยชิโตชิ

เขาเป็นผู้ยึดมั่นในศาสนาพุทธแบบนิจิเร็ง โดยคิโยมาซะส่งเสริมให้สร้างวัดนิจิเร็งทั่วแคว้นของตน[6] เขามีปัญหากับโคนิชิ ยูกินางะ ผู้ปกครองจังหวัดฮิโงะอีกครึ่งหนึ่ง และเป็นชาวคริสต์ โดยมีการกล่าวว่าคิโยมาซะกดขี่ข่มเหงคริสต์ศาสนิกชนอย่างโหดร้าย[7] ในยุทธการที่ฮนโดะ เขาสั่งให้ทหารผ่าท้องหญิงชาวคริสต์ทั้งหมด และตัดหัวเด็กทารกทิ้ง[8]

อ้างอิง แก้

  1. E. Papinot, Historical and Geographical Dictionary of Japan, Yokohama: Kelly & Walsh, 1910, reprint, Rutland, Vermont: Charles Tuttle, 1972, pp. 262-263
  2. Naramoto Tatsuya (1994). Nihon no kassen: monoshiri jiten. (Tokyo: Shufu to Seikatsusha), p. 327
  3. Turnbull, Stephen (1998). The Samurai Sourcebook. London: Cassell & Co. p. 34,49,234. ISBN 9781854095237.
  4. O-umajirushi: A 17th-Century Compendium of Samurai Heraldry. Xavid Pretzer. 2015-02-02. p. 189.
  5. Murdoch, James (1999). A history of Japan ([Reprint of the 1903 ed.]. ed.). London [u.a.]: Routledge. p. 706. ISBN 0415154162.
  6. William E. Griffis (1913). The Mikado's Empire. (New York: Harper & Brothers), p. 163
  7. Griffis, p. 163
  8. Luís Fróis, Furoisu Nihon-shi 12, trans. Matsuda Kiichi and Kawasaki Momota (Tokyo: Chuo-koron-shinsha, 2000), p. 32.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Kitajima Manji 北島万次 (2007). Katō Kiyomasa Chōsen shinryaku no jitsuzō 加藤清正: 朝鮮侵略の実像. Tokyo: Yoshikawa Kōbunkan 吉川弘文館.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Katō Kiyomasa