ผู้ใช้:Tikmok/เสียงในหู
เสียงในหู (Tinnitus) | |
---|---|
เสียงในหูมักมีอาการได้ยินเสียงดังกริ๊ง ๆ เหมือนนาฬิกาปลุก/โทรศัพท์ | |
การออกเสียง |
|
สาขาวิชา | โสต ศอ นาสิกวิทยา, โสตสัมผัสวิทยา, ประสาทวิทยา |
อาการ | ได้ยินเสียงทั้ง ๆ ที่ไม่มีเสียงนอกร่างกายจริง ๆ[1] |
ภาวะแทรกซ้อน | ซึมเศร้า วิตกกังวล ขาดสมาธิ[2] |
การตั้งต้น | ค่อย ๆ เกิด[3] |
สาเหตุ | การเสียการได้ยินเหตุเสียงดัง การติดเชื้อในหู โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคเมนิแยร์ เนื้องอกในสมอง เนื้องอกหูชั้นใน เครียด บาดเจ็บที่สมอง ขี้หูมากเกิน[2][4] |
วิธีวินิจฉัย | ขึ้นอยู่กับอาการ การตรวจการได้ยิน การตรวจประสาท[1][3] |
การรักษา | ให้คำแนะนำ/ปรึกษา ใช้เครื่องสร้างเสียง ใช้เครื่องช่วยฟัง[2][5] |
ความชุก | ~12.5%[5] |
เสียงในหู[6] (อังกฤษ: Tinnitus) เป็นภาวะที่บุคคลได้ยินเสียงกริ่งหรือเสียงอื่น ๆ โดยไม่มีเสียงภายนอกจริง ๆ ที่คนอื่นสามารถได้ยิน[1] เกือบทุกคนจะประสบกับเสียงในหูเบา ๆ ในห้องที่เงียบสนิท แต่จะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อก่อความรำคาญ หรือขัดขวางการได้ยินตามปกติ หรือสร้างปัญหาอื่น ๆ[7] คำภาษาอังกฤษว่า tinnitus มาจากคำละติน tinnire ซึ่งแปลว่า "ส่งเสียงกริ่ง"[3] สำหรับบางคน อาการนี่รบกวนสมาธิ และอาจเกิดกับความวิตกกังวลและอารมณ์ซึมเศร้า[8][9]
เสียงในหูมักสัมพันธ์กับการเสียการได้ยินและการเข้าใจคำพูดที่ลดลงในที่มีเสียงดัง[2] ประชากรประมาณ 10-15% มีเสียงในหู ส่วนมากอดทนได้โดยเป็นปัญหาสำคัญสำหรับเพียงแค่ 1-2% ของประชากร[5] เสียงอาจกระตุ้นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี เพราะสมองอาจรับรู้ว่าเป็นเรื่องสำคัญและมีอันตราย[10][11][12]
นี้ไม่ใช่เป็นโรค แต่เป็นอาการที่เกิดจากสาเหตุพื้นฐานได้หลายประการ และเกิดขึ้นได้ที่ทุกระดับของระบบการได้ยิน รวมทั้งนอกระบบ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการได้ยินเสียหาย การสูญเสียการได้ยินจากเสียงดัง หรือการสูญเสียการได้ยินที่เกี่ยวกับอายุ คือ หูตึงเหตุสูงอายุ (presbycusis)[2] สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การติดเชื้อในหู โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคเมนิแยร์ เนื้องอกในสมอง เนื้องอกเส้นประสาทหู ไมเกรน ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร ยาบางชนิด การบาดเจ็บศีรษะในอดีต และขี้หู อาจอยู่ดี ๆ ก็ปรากฏในช่วงที่เครียด[4][3][2][13][14] มีโอกาสเกิดในผู้มีโรคซึมเศร้ามากกว่า[3]
การวินิจฉัยมักขึ้นอยู่กับอาการที่ผู้ป่วยระบุว่ามี[3] โดยมักใช้ร่วมกับการตรวจการได้ยิน (audiogram) การตรวจทางแพทย์หูคอจมูก และการตรวจระบบประสาท[1][3] เสียงในหูรบกวนชีวิตประจำวันแค่ไหนอาจวัดได้ด้วยแบบสอบถาม[3] หากพบปัญหาบางอย่าง อาจมีการถ่ายภาพทางการแพทย์ เช่น การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก (MRI) อาจมีการตรวจอื่น ๆ เมื่อเกิดขึ้นกับจังหวะการเต้นหัวใจ[3] ในกรณีน้อย อาจสามารถได้ยินเสียงในหูของผู้ป่วยด้วยหูฟังแพทย์ นี่จึงเป็นเสียงในหูชนิดที่มีจริง ๆ (objective tinnitus)[3] บางครั้ง เสียงจากหูเอง (OAE) อาจก่ออาการเสียงในหู[15]
มาตรการป้องกันเสียงในหูประกอบด้วยการหลีกเลี่ยงเสียงดังเรื่อย ๆ หรือต่อเนื่อง และไม่ใช้ยาและสารที่เป็นพิษต่อหู[2][16] หากมีสาเหตุพื้นฐาน การรักษาสาเหตุนั้นอาจทำให้ดีขึ้น[3] มิฉะนั้น โดยทั่วไปการจัดการหูอื้อจะเกี่ยวกับการให้ความรู้ทางจิตวิทยาหรือการให้คำปรึกษา เช่น การบำบัดโดยสนทนา[5] เครื่องสร้างเสียงหรือหรือเครื่องช่วยฟังอาจมีประโยชน์[2] ไม่มียารักษาเสียงในหูโดยตรง
อาการ
แก้เสียงในหูมักระบุว่าเป็นเสียงกริ่ง แต่ก็อาจฟังเหมือนเสียงคลิก เสียงหึ่ง เสียงฟ่อ หรือเสียงก้อง[4] อาจเป็นเสียงเบาหรือดัง ต่ำหรือสูง เหมือนจะมาจากหูข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง หรือมาจากในศีรษะเอง อาจเป็นๆ หายๆ หรือเป็นอย่างต่อเนื่อง สำหรับบางคน เสียงอาจเปลี่ยนไปเมื่อขยับไหล่ คอ ศีรษะ ลิ้น ขากรรไกร หรือตา[17]
การดำเนิน
แก้เพราะการศึกษาออกแบบต่างๆ กัน ข้อมูลการดำเนินเสียงในหูจึงไม่ค่อยสอดคล้องกัน โดยทั่วไป ความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามวัยในผู้ใหญ่ โดยจะรู้สึกรำคาญยิ่งขึ้นถ้ายังมีอาการเมื่อติดตามผล[18][19][20]
ผลกระทบทางจิตใจ
แก้แม้ว่าจะเป็นอาการที่น่ารำคาญซึ่งคนส่วนใหญ่ปรับตัวได้ แต่เสียงในหูเรื้อรังอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าสำหรับบางคน[21][22] ความรำคาญจะสัมพันธ์กับสภาพทางจิตใจ ยิ่งกว่าความดังหรือช่วงความถี่เสียงที่ได้ยิน[23][24] ปัญหาทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล การนอนหลับผิดปกติ และการขาดสมาธิ เป็นเรื่องสามัญสำหรับผู้รำคาญกับภาวะอย่างมาก[25][26] 45% ของผู้มีเสียงในหูจะมีโรควิตกกังวลในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต[27]
งานวิจัยทางจิตวิทยามุ่งเน้นไปที่ปฏิกิริยาการเกิดความทุกข์จากอาการเพื่ออธิบายความรุนแรงของอาการ[25][28][29][30] งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการวางเงื่อนไขเมื่อได้ยินเสียงในหูต้น ๆ จะเชื่อมอาการเข้ากับอารมณ์ทางลบ เช่น ความกลัวและความวิตกกังวล[31]
ประเภท
แก้Commonly tinnitus is classified into "subjective and objective tinnitus". โดยทั่วไปแล้วเสียงในหูจะจำแนกเป็นแบบอัตวิสัย (subjective) และแบบปรวิสัย/มีเสียงจริง ๆ (objective)[3] โดยปกติจะเป็นแบบอัตวิสัย คือเสียงที่คนไข้ได้ยินไม่สามารถตรวจพบหรือวัดได้[3] ดังนั้นจึงมีชื่อต่าง ๆ ในภาษาอังกฤษด้วยว่า "tinnitus aurium", "non-auditory tinnitus" หรือ "non-vibratory tinnitus" ในกรณีที่มีน้อย เสียงที่คนไข้ได้ยินสามารถฟังได้ด้วยหูฟังแพทย์ ที่น้อยยิ่งกว่านั้นคือสามารถวัดได้โดยเป็นเสียงจากหูที่เกิดเอง (SOAE) ในช่องหู นี่จัดเป็นเสียงในหูแบบปรวิสัย ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษด้วยว่า "pseudo-tinnitus" หรือ "vibratory tinnitus"[3]
แบบอัตวิสัย
แก้เสียงในหูแบบอัตวิสัยเป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด มีสาเหตุหลากหลาย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการสูญเสียการได้ยิน เมื่อเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในหรือของประสาทหู ก็จะเรียกได้ด้วยว่า "otic tinitus" โดย otic มาจากคำภาษากรีกที่หมายถึงหู[32] ความผิดปกติทางหูหรือทางประสาทรวมทั้งที่เกิดเพราะติดเชื้อ เกิดจากยา หรือการบาดเจ็บ[33] การได้ยินเสียงดังสามารถก่อความบาดเจ็บที่ทำลายเซลล์ขนในหูชั้นใน[34] หลักฐานบางอย่างชี้ว่า การสัมผัสกับมลภาวะเสียงจากการจราจรที่หนาแน่นในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงเกิดเสียงในหู[35]
เมื่อไม่เกี่ยวกับความผิดปกติของหูชั้นในหรือประสาทหู ก็จะเรียกว่า non-otic tinnitus ได้ ในกรณี 30% ระบบประสาทรับความรู้สึกทางกายจะมีอิทธิพลต่อเสียงในหู เช่น สามารถเพิ่มหรือลดเสียงในหูโดยการเคลื่อนไหวใบหน้า ศีรษะ ขากรรไกร หรือคอ[36] จึงเรียกชนิดนี้ได้ว่า somatic tinnitus หรือ craniocervical tinnitus เพราะการเคลื่อนไหวของศีรษะหรือคอมีผลกระทบ[32]
เสียงในหูบางชนิดอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเนื่องกับสภาพพลาสติก (neuroplastic change) ของระบบประสาทหูส่วนกลาง ตามทฤษฎีนี้ ปัญหาการรับข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่เกิดจากความบกพร่องทางการได้ยิน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นการตอบสนองของนิวรอนในระบบการได้ยินส่วนกลางเพื่อรักษาภาวะธำรงดุล แล้วก่อเสียงในหู[37][38] เมื่อสูญเสียการได้ยินความถี่เสียงบางช่วงไป ระบบประสาทหูก็จะชดเชยโดยขยายเสี่ยงความถี่เหล่านั้น จนในที่สุดก็จะสร้างความรู้สึกว่าได้ยินเสียงที่ความถี่นั้นอย่างต่อเนื่อง แม้จริง ๆ จะไม่มีเสียงนั้นภายนอก
การสูญเสียการได้ยิน
แก้สาเหตุซึ่งพบบ่อยที่สุดของเสียงในหูคือการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งแม้จะมีเหตุหลายประการ แต่ในหมู่ผู้ที่มีเสียงในหู สาเหตุหลักคือการบาดเจ็บของหูชั้นใน[37] ในหลายกรณี ก็จะไม่สามารถระบุเหตุได้[2][39]
ยาที่เป็นพิษต่อหูยังอาจก่อให้เกิดเสียงในหูแบบอัตวิสัย เพราะอาจทำให้เสียการได้ยิน[16] หรือเพิ่มความเสียหายที่เกิดจากเสียงดัง[40] ความเสียหายนี้อาจเกิดขึ้นได้แม้กับยาในขนาดที่ไม่จัดว่าเป็นพิษต่อหู[41] More than 260 medications have been reported to cause tinnitus as a side effect. มียามากกว่า 260 ชนิดที่รายงานว่าก่อให้เกิดเสียงในหูโดยเป็นผลข้างเคียง[42]
เสียงในหูอาจเกิดจากการหยุดใช้ยาเบ็นโซไดอาเซพีนในขนาดที่ใช้รักษาได้ บางครั้งอาจเป็นความยืดเยื้อของกลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีนโดยคงอยู่ได้นานหลายเดือน[43][44] ยาต่างๆ เช่น ยาแก้ซึมเศร้า บูโพรพิออน ก็อาจก่อเสียงในหูได้เช่นกัน[45]
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
แก้ปัจจัยที่เกี่ยวกับเสียงในหูประกอบด้วย[46]
- ปัญหาทางหูและการสูญเสียการได้ยิน:
- เพราะการนำเสียง
- เพราะช็อกจากเสียง (acoustic shock)
- เพราะเสียงดังหรือดนตรีดัง[47]
- เพราะน้ำซึมซ่านในหูชั้นกลาง
- เพราะหูอักเสบ
- เพราะโรคกระดูกหูชั้นกลาง (otosclerosis)
- เพราะความผิดปกติของท่อหู
- เพราะสูญเสียการได้ยินเหตุประสาทรับความรู้สึก (sensorineural hearing loss)
- เพราะเสียงดังเกินไป เช่น เกิดการบาดเจ็บจากเสียง
- เพราะหูตึงเหตุสูงอายุ (การสูญเสียการได้ยินตามอายุ)
- เพราะโรคเมนิแยร์
- เพราะอาการบวมน้ำเอ็นโดลิมฟ์ (endolymphatic hydrops)
- เพราะหลอดกึ่งวงกลมด้านบนเปิดโล่งทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน (superior canal dehiscence)
- เพราะเนื้องอกประสาทหู (acoustic neuroma)
- เพราะเนื้องอกประสาทการได้ยิน
- เพราะพิษจากปรอทหรือตะกั่ว
- เพราะยาที่เป็นพิษต่อหู
- เพราะการนำเสียง
- ความผิดปกติทางระบบประสาท
- Chiari malformation
- เนื่องกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- เนื่องกับการบาดเจ็บที่ศีรษะ
- เนื่องกับหลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์
- ความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร
- ความผิดปกติทางเมแทบอลิซึม
- ความผิดปกติทางจิตเวช
- ปัจจัยอื่นๆ
- หลอดเลือดอักเสบ
- สารก่ออาการโรคจิต (psychedelic drug) บางชนิดสามารถก่ออาการคล้ายเสียงในหูชั่วคราวโดยเป็นผลข้างเคียง
- กลุ่มอาการขาดยาเบ็นโซไดอาเซพีน[43][44]
- ความดันในกะโหลกศีรษะสูงหรือต่ำเกินไป เช่น จากโรคสมองอักเสบหรือการรั่วของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง
เสียงในหูแบบปรวิสัย/ที่มีจริง ๆ
แก้เสียงในหูแบบปรวิสัย เป็นการได้ยินเสียงการหดตัวของกล้ามเนื้อหรือชีพจรของตนเองที่มีจริง ๆ ปกติเป็นเสียงจากการขยับกล้ามเนื้อขากรรไกร หรือเสียงไหลเวียนของเลือดบริเวณคอหรือใบหน้า[51] บางครั้งเกิดจากการกระตุกกล้ามเนื้อหรือกลุ่มกล้ามเนื้อโดยไม่สมัครใจ (คือกล้ามเนื้อกระตุกรัว) หรือจากภาวะของหลอดเลือด ในบางกรณีจะเกิดจากการชักกระตุกของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หูชั้นกลาง[51]
เสียงจากหูที่เกิดเอง (SOAEs) เป็นเสียงความถี่สูงและเบาซึ่งเกิดขึ้นที่หูชั้นในและวัดได้ในช่องหูด้วยไมโครโฟนที่มีความไวสูง นี่อาจก่อเสียงในหู[15] ในประมาณ 8% ของผู้ที่มีทั้ง SOAEs และเสียงในหู ภาวะสองอย่างนี่จะเกี่ยวข้องกัน[ต้องการคำอ้างอิงเพื่อยืนยัน] กรณีเสียงในหูทั้งหมดที่เกิดจาก SOAEs อยู่ที่ประมาณ 4%[15]
เียงในหูในเด็ก
แก้เด็กอาจมีเสียงในหูแบบเต้นเป็นจังหวะหรือแบบต่อเนื่อง โดยเกี่ยวกับความผิดปกติและรูปแบบต่างๆ ของหลอดเลือด[52] ที่ส่งผลต่อโครงสร้างหูชั้นกลาง/หูชั้นใน การตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์อาจใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงสร้าง และเอ็มอาร์ไออาจใช้ประเมินเส้นประสาท ก้อนเนื้อ หรือรูปผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น การวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถป้องกันความบกพร่องทางพัฒนาการในระยะยาวได้[53]
เสียงในหูแบบเต้นเป็นจังหวะ
แก้บางคนอาจได้ยินเสียงแบบเต้นเป็นจังหวะตามชีพจรของตน ซึ่งเรียกในภาษาอังกฤษว่า pulsatile tinnitus หรือ vascular tinnitus[54] ซึ่งปกติจะเป็นเสียงที่มีจริง เกิดจากการไหลเวียนเลือดที่เปลี่ยนไปหรือการไหลเวียนที่ปั่นป่วนเพิ่มขึ้นใกล้ ๆ หู เช่น จากภาวะหลอดเลือดแข็งหรือเสียงจากหลอดเลือดดำ[55] แต่ก็ยังอาจเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นอัตวิสัย คือไม่ใช่เสียงจริง เป็นการรับรู้เพิ่มขึ้นถึงการไหลเวียนเลือดในหู[54]
การวินิจฉัยแยกโรคสำหรับเสียงในหูชนิดเต้นเป็นจังหวะนั้นหลากหลาย รวมถึงสาเหตุทางหลอดเลือด เนื้องอก ความผิดปกติของหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน และพยาธิสภาพในสมองอื่นๆ[56] สาเหตุทางหลอดเลือดรวมสาเหตุจากหลอดเลือดดำ (เช่น jugular bulb ที่วิ่งขึ้นสูงผิดปกติ) สาเหตุจากหลอดเลือดแดง (เช่น ภาวะหลอดเลือดแข็งที่คอ ภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างหลอดเลือดโป่งพองที่หลอดเลือดแดงแคโรทิด[57] หรือ carotid artery dissection) หรือทางทะลุระหว่างหลอดเลือดแดงและดำที่เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก หรือรูปผิดปกติของหลอดเลือดแดงและดำ[58]
เสียงในหูแบบดังเป็นจังหวะอาจชี้ภาวะหลอดเลือดอักเสบ (vasculitis) หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์ Pulsatile tinnitus may also be caused by tumors such as paragangliomas (e.g., glomus tympanicum, glomus jugulare) or hemangiomas (e.g., facial nerve or cavernous). หรืออาจเกิดจากเนื้องอก เช่น paraganglioma[A] (เช่น glomus tympanicum, glomus jugulare) หรือ hemangioma[B] (เช่น ที่เส้นประสาทเฟเชียล) สาเหตุที่หูชั้นกลาง ได้แก่ Patulous Eustachian tube, otosclerosis หรือกล้ามเนื้อกระตุกในหูชั้นกลาง สาเหตุในหูชั้นในที่พบบ่อยที่สุดคือ superior semicircular canal dehiscence คือหลอดกึ่งวงกลมด้านบนเปิดโล่งทั้งหมดหรือเป็นบางส่วน[C][59] เสียงในหูชนิดดังเป็นจังหวะอาจบ่งชี้ความดันในกระโหลกศีรษะสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ[60] อาจเป็นอาการของความผิดปกติของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งควรตรวจสอบเมื่อมีเสียงที่ผิดปกติของการไหลเวียนเลือด (bruit)[61]
พยาธิสรีรวิทยา
แก้เสียงในหูอาจเกิดจากการทำงานเพิ่มขึ้นของเซลล์ประสาทในก้านสมองส่วนการได้ยิน เป็นบริเวณที่สมองประมวลเสียง มีผลให้เซลล์ประสาทการได้ยินบางส่วนถูกกระตุ้นมากเกินไป พื้นฐานของทฤษฎีนี้ก็คือ คนที่มีเสียงในหูจำนวนมากมีปัญหาการได้ยินด้วย[62]
งานทบทวนปี 2016 สามงานเน้นพยาธิสภาพที่หลากหลายโดยอาจเป็นแบบผสมผสานที่เกี่ยวข้องกับเสียงในหู ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการหลากหลายและมีการรักษาที่ต้องปรับเฉพาะแบบ[63][64][65][66]
การวินิจฉัย
แก้แนวทางการวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับประวัติการมีอาการและการตรวจร่างกายบริเวณศีรษะ คอ และระบบประสาท[39] ปกติจะตรวจการได้ยิน (audiogram) และบางครั้งอาจถ่ายภาพทางการแพทย์หรือตรวจโดย อีเลคโทรนิสแทกโมกราฟฟีย์[D][39] ภาวะที่สามารถรักษาได้อาจรวมถึง การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง เนื้องอกประสาทหู สมองกระแทกกระเทือน และโรคกระดูกหูแข็ง (otosclerosis)[67]
การประเมินเสียงทางหูอาจประกอบด้วยการตรวจการได้ยิน (audiogram) ซึ่งเป็นการวัดพารามิเตอร์ทางเสียงของอาการ เช่น ระดับเสียงและความดัง และการประเมินทางจิตวิทยาของภาวะโรคร่วมอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และความเครียด ซึ่งสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการ[ต้องการอ้างอิง]
นิยามหนึ่งของเสียงในหู ซึ่งต่างกับการได้ยินเสียงปกติก็คือ เสียงในหูคงอยู่ห้านาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง[68] อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการมักจะประสบกับเสียงนี้บ่อยกว่านั้น อาจเป็นตลอดหรือเป็นๆ หายๆ บางคนที่มีอาการอย่างต่อเนื่องอาจไม่ได้รู้เสียงอยู่ตลอดเวลา แต่อาจรับรู้ในเวลากลางคืนเมื่อมีเสียงจากสิ่งแวดล้อมน้อยลงเท่านั้น อาการเรื้อรังนิยามได้ว่าเป็นอาการที่นานกว่าหกเดือนขึ้นไป[69]
การตรวจการได้ยิน
แก้เนื่องจากคนที่มีเสียงในหูมักเสียการได้ยินด้วย การตรวจการได้ยินด้วยโทนเสียงบริสุทธิ์ให้ได้แผนภูมิการได้ยิน (ออดิโอแกรม) อาจช่วยวินิจฉัยสาเหตุได้ ออดิโอแกรมยังอาจช่วยในการปรับแต่งเครื่องช่วยฟังในกรณีที่เสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญ ระดับสูงต่ำของเสียงในหูมักจะอยู่ในช่วงที่เสียการได้ยิน
จิตสวนศาสตร์
แก้การตรวจลักษณะเสียงในหูรวมการวัดพารามิเตอร์ทางเสียงหลายอย่าง เช่น ความถี่ในกรณีที่เสียงในหูมีโทนเดียว, หรือช่วงความถี่ในกรณีที่เสียงในหูมีโทนเสียงในช่วงแคบ ๆ, ความดังของเสียงในหูเป็นเดซิเบลเหนือค่าที่เริ่มได้ยินที่ความถี่ดังกล่าว, จุดที่เกิดผสม และเสียงระดับต่ำที่สามารถกลบเสียงในหูได้[70] ส่วนมากแล้ว ช่วงความถี่ของเสียงในหูจะอยู่ระหว่าง 5–10 กิโลเฮิรตซ์ [71] และความดังระหว่าง 5–15 เดซิเบลเหนือค่าเริ่มได้ยิน[72]
พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องอีกอย่างคือการยับยั้งเสียงแบบตกค้าง (residual inhibition) คือเป็นการระงับหรือการไม่เกิดขึ้นโดยชั่วคราวของเสียงในหูหลังจากใช้เสียงกลบ (masking) พารามิเตอร์อาจระบุได้ว่า การใช้เครื่องสร้างเสียงกลบ (tinnitus masker) จะใช้รักษาได้ดีขนาดไหน[73][74]
แพทย์อาจตรวจภาวะหูไวเกิน ซึ่งมักเกิดกับเสียงในหู[75][76] เป็นภาวะเกี่ยวกับการมีปฏิกิริยาเชิงลบกับเสียง ซึ่งอาจปรากฏในรูปแบบต่าง ๆ พารามิเตอร์ที่สามารถวัดได้คือระดับความไม่สบายจากเสียงดัง (LDL) ในหน่วยเดซิเบล เป็นระดับความดังเสียงที่ทำให้รู้สึกไม่สบายในช่วงความถี่ที่สามารถได้ยิน เป็นการระบุความต่างระหว่างความดังที่เริ่มได้ยินกับความดังที่รู้สึกไม่สบายในความถี่นั้น ๆ ช่วงความต่างที่ลดลงในช่วงความถี่หนึ่ง ๆ อาจสัมพันธ์กับภาวะหูไวเกิน ระดับเริ่มได้ยินปกติอยู่ระหว่าง 0–20 เดซิเบล ระดับความไม่สบายจากเสียงดังปกติอยู่ที่ระหว่าง 85–90+ เดซิเบลโดยมีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนที่ระบุว่าถึง 100 เดซิเบล[77][78] ความต่างที่ 55 เดซิเบลหรือน้อยกว่าเป็นช่วงบ่งชี้ภาวะหูไวเกิน
ความรุนแรง
แก้เสียงในหูจัดเป๋ยตั้งแต่ "เล็กน้อย" จนถึง "รุนแรง" ตามผลกระทบที่มี เช่น รบกวนการนอนหลับ กิจกรรมที่ทำเงียบ ๆ และกิจกรรมประจำวันปกติ[79]
การประเมินกระบวนการทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเสียงในหูประกอบด้วยการวัดความรุนแรงและความทุกข์ทรมานจากเสียงในหู โดยวัดในเชิงอัตวิสัยด้วยแบบสอบถามผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจสอบความสมเหตุสมผลแล้ว[25] เป็นการวัดระดับความทุกข์ทางจิตใจและความพิการที่เกี่ยวกับเสียงในหู ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อการได้ยิน วิถีชีวิต สุขภาพ และอารมณ์[80][81][82] การประเมินเรื่องในชีวิตทั่ว ๆ ไปในวงกว้าง เช่น ระดับความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความเครียด ปัจจัยความเครียด และปัญหาการนอนหลับ ก็มีความสำคัญในการประเมินเสียงในหู เพราะเรื่องเหล่านี้เสี่ยงเกิดผลลบเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจได้อิทธิพลมาจาก หรือเพิ่มความรุนแรงของอาการเสียงในหู[83] มาตรการการประเมินในปัจจุบันมีเป้าหมายเพื่อระบุระดับความทุกข์และการรบกวนชีวิต การรับมือกับปัญหา และความรู้สึกกับเสียงในหู เพื่อให้ข้อมูลในการรักษาและติดตามความคืบหน้า แต่ความต่าง ๆ กันอย่างกว้างขวาง ความไม่สอดคล้องกัน และการไร้ฉันทามติเกี่ยวกับวิธีการประเมิน ก็เห็นได้ในวรรณกรรม ซึ่งจำกัดการเปรียบเทียบประสิทธิผลของการรักษา[84]
เสียงในหูชนิดเต้นเป็นจังหวะ
แก้หากแพทย์ตรวจพบเสียงผิดปกติเพราะเลือดไหลปั่นป่วน ก็อาจให้ตรวจโดยสร้างภาพทางการแพทย์ เช่น การตรวจคลื่นความถี่สูงผ่านกะโหลกศีรษะ (TCD) หรือการสร้างภาพหลอดเลือดด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRA)[85][86][87]
การวินิจฉัยแยกโรค
แก้ควรตัดแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นไปได้อื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับเสียงในหูออก ตัวอย่างเช่น แหล่งเสียงความถี่สูงสองแบบที่รู้จัก คือ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่พบทั่วไปในการเดินสายไฟสมัยใหม่และการส่งสัญญาณเสียงต่าง ๆ ภาวะที่พบบ่อยและมักวินิจฉัยผิดที่เลียนเสียงในหูคือการได้ยินคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งผู้ป่วยได้ยินการส่งสัญญาณความถี่สูงที่ได้ยินจริง ๆ ซึ่งฟังดูคล้ายกับเสียงในหู[88][89]
การป้องกัน
แก้การสัมผัสกับเสียงดังเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดเสียงในหู[90] ที่อุดหูตามขนาดเฉพาะบุคคล หรือมาตรการอื่น ๆ สามารถช่วยป้องกันได้ ในบางพื้นที่ นายจ้างอาจใช้บริการของโปรแกรมป้องกันการสูญเสียการได้ยินเพื่อช่วยให้ความรู้แก่ลูกจ้างและป้องกันระดับเสียงที่อันตราย องค์กรของรัฐอาจมีกฎเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงาน หากปฏิบัติตามกฎ จะมีความเสี่ยงต่ำน้อยในการเสียการได้ยินอย่างถาวร[91]
มีกลุ่มที่แนะนำให้สวมที่อุดหูเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเกิดเสียงในหู เช่น ที่เกิดจากการฟังเสียงดังมากเกินไป เช่น เสียงลมสำหรับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์[92] รวมถึงทหาร[40] นักดนตรี[93] ดีเจ[94] เกษตรกร[95] และคนงานก่อสร้าง[96] เนื่องจากอาชีพเหล่านี้เสี่ยงมากกว่าประชากรทั่วไป
ยาหลายชนิดมีพิษต่อหู ซึ่งอาจมีผลสะสมที่เพิ่มความเสียหายอันเกิดจากเสียง[40] หากต้องใช้ยาที่เป็นพิษต่อหู แพทย์ควรใส่ใจกับรายละเอียดการสั่งยา เช่น ขนาดยาและช่วงระหว่างการใช้ยา เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้น[16][97][98][99]
การจัดการ
แก้หากสามารถระบุสาเหตุโดยเฉพาะได้ การรักษาสาเหตุนั้นอาจทำให้ดีขึ้น[3] มิฉะนั้น การรักษาหลักคือการบำบัดด้วยการสนทนา[5] การบำบัดด้วยเสียง หรือเครื่องช่วยฟัง ไม่มียาที่สามารถรักษาเสียงในหู แต่อาจบรรเทาอาการรุนแรงได้[3][100][101]
จิตวิทยา
แก้การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมเป็นการรักษาที่มีหลักฐานดีที่สุดสำหรับเสียงในหู[5][102][103] โดยลดความเครียดของผู้ป่วย[104] ซึ่งได้ผลไม่ว่าจะมีผลหรือไม่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล[103] ส่วนการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) ก็ดูจะมีผลในการรักษาเสียงในหูด้วย[105] เทคนิคการผ่อนคลายอาจช่วยได้เช่นกัน[3] กระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐได้พัฒนาโพรโทคอลทางคลินิกเพื่อรักษาเสียงในหูชื่อว่า Progressive Tinnitus Management[106]
การบำบัดด้วยเสียง
แก้การบำบัดด้วยเสียงโดยเครื่องช่วยฟังหรือเครื่องส่งเสียงกลบเสียงในหู อาจช่วยให้สมองเลิกสนใจช่วงความถี่ของเสียงในหูได้ แม้วิธีเหล่านี้จะมีหลักฐานสนับสนุนน้อย แต่ก็ไม่มีผลลบ[3][107][108] มีแนวทางการบำบัดเสียงในหูด้วยเสียงหลายวิธี แนวทางแรกคือการปรับเสียงเพื่อชดเชยการสูญเสียการได้ยินของแต่ละบุคคล แนวทางที่สองคือการบำบัดด้วยเสียงดนตรีที่ปรับเฉพาะบุคคล โดยตัดเสียงที่ความถี่ของเสียงในหู ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลเป็นการยับยั้งเซลล์ประสาทข้าง ๆ (lateral inhibition) ในบริเวณประสาทส่วนที่ก่อเสียงในหู จึงเท่ากับระงับเสียงในหู[109][110]
มีหลักฐานเบื้องต้นบางส่วนที่สนับสนุนการบำบัดโดยฝึกเสียงในหูใหม่ (tinnitus retraining therapy) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการทำงานของเซลล์ประสาทที่เกี่ยวกับเสียงในหู[3][111][110] อีกวิธีใช้แอปมือถือซึ่งรวมวิธีการต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสียงกลบ การบำบัดด้วยเสียง และการฝึกผ่อนคลาย[112][113] แอปสามารถเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แยกต่างหาก หรือเป็นส่วนของระบบควบคุมเครื่องช่วยฟัง[114]
นิวโรโมนิคส์ (neuromonics) เป็นวิธีการรักษาด้วยเสียงอีกวิธีหนึ่ง มีโพรโทคอลที่เป็นไปตามหลักลดความไวต่อเสียงในหูอย่างเป็นระบบ เป็นโปรแกรมฟื้นฟูที่ทำอย่างเป็นระบบโดยใช้เวลา 12 เดือน นิวโรโมนิคส์ใช้สัญญาณเสียงที่ปรับแต่งแล้วส่งผ่านอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยสวมใส่ มีเป้าหมายที่ช่วงความถี่ของเสียงในหูที่ผู้ป่วยได้ยิน[115]
กายภาพบำบัด
แก้กายภาพบำบัดสำหรับเสียงในหูมุ่งเน้นที่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อขากรรไกรและคอ ซึ่งอาจมีส่วนทำให้เกิดอาการ ความตึงของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะในกล้ามเนื้อขากรรไกร เช่นกล้ามเนื้อ masseter และ medial pterygoid สามารถกระจายไปที่หู ทำให้เกิดเสียงในหูชนิดเนื่องกับร่างกาย (somatic tinnitus) นักกายภาพบำบัดเฉพาะทางอาจใช้เทคนิคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาความตึงเครียดในบริเวณเหล่านี้ ซึ่งอาจลดความรุนแรงของเสียงในหูและอาการปวดที่เกี่ยวข้องในบริเวณที่เชื่อมต่อกัน เช่น ขากรรไกร ฟัน และหู[116]
ยา
แก้จนถึงปี 2018 ยังไม่มียาที่มีประสิทธิภาพสำหรับเสียงในหูที่ไม่ทราบสาเหตุ[3][90][117] ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุว่ายาแก้ซึมเศร้า[118] หรือยาช่วยรักษาโรคพิษสุรา acamprosate มีประโยชน์หรือไม่[119] มีการศึกษาที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน[3][117][120][121]
จนถึง ปี 2015 ประโยชน์ของเมลาโทนินยังไม่ชัดเจน[122] ไม่ชัดเจนว่ายากันชักมีประโยชน์ในการรักษาหรือไม่[3][123] การฉีดสเตียรอยด์เข้าที่หูชั้นกลางก็ดูเหมือนจะไม่มีประสิทธิภาพเช่นกัน[124][125] ไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการใช้เบต้าฮิสทีน ยารักษาอาการรู้สึกหมุน มีประสิทธิภาพในการรักษาเสียงในหู[126]
การฉีดชีวพิษโบทูลินัมได้ผลสำหรับเสียงในหูชนิดมีเสียงจริงบางกรณีที่เกิดจากอาการสั่นของเพดานปาก[127]
บางประเทศใช้ ยาแก้เกร็ง caroverine เพื่อรักษาเสียงในหู[128] แต่หลักฐานว่ามีประโยชน์ก็อ่อนมาก[129]
การปรับระบบประสาท
แก้ในปี 2020 ข้อมูลจากการทดลองทางคลินิกชี้ว่า การปรับระบบประสาทด้วยตัวกระตุ้นสองแบบ (bimodal neuromodulation) อาจช่วยลดอาการเสียงในหู เป็นเทคนิคที่ไม่ต้องเจาะต้องผ่า ทำโดยใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นลิ้นควบคู่ไปกับการส่งเสียง[130]
ในเดือนมีนาคม 2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐ ได้อนุมัติอุปกรณ์ Lenire ของบริษัท Neuromod เพื่อรักษาเสียงในหู[131][132][133] ต่อมาในเดือนมิถุนายน 2024 กระทรวงการทหารผ่านศึกสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มให้การรักษาแก่อดีตทหารทมีเสียงในหู[133]
หลักฐานบางส่วนสนับสนุนเทคนิคการปรับระบบประสาท เช่น การกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (TMS)[3][134] การกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าตรงผ่านกะโหลกศีรษะ (tDCS) และ neurofeedback
แพทย์ทางเลือก
แก้ใบแปะก๊วยดูเหมือนจะไม่มีประสิทธิภาพ[117][135] บัณฑิตยสถานหูคอจมูกอเมริกันแนะนำไม่ให้ใช้อาหารเสริมเป็นเมลาโทนินหรือสังกะสีเพื่อบรรเทาอาการเสียงในหู และรายงานว่าไม่มีหลักฐานสนับสนุนประสิทธิภาพของอาหารเสริมหลายชนิด (เช่น lipoflavonoid, กระเทียม, สมุนไพรแผนจีน/เกาหลี, ตัวอ่อนผึ้ง รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ตลอดจนยาโฮมีโอพาธี)[90] การทบทวนของโคเครนปี 2016 ยังสรุปด้วยว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนรับประทานอาหารเสริมสังกะสีเพื่อลดอาการเสียงในหู[136]
พยากรณ์โรค
แก้แม้จะไม่มีวิธีรักษา คนส่วนใหญ่ที่มีเสียงในหูจะชินกับมันไปเองตามกาลเวลา แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับคนส่วนน้อย[5]
ระบาดวิทยา
แก้ผู้ใหญ่
แก้เสียงในหูเกิดกับ 10–15% ของประชากร[5] ประมาณ ⅓ ของคนอเมริกาเหนือที่มีอายุเกิน 55 ปีประสบกับอาการนี้[137] มีผลกระทบต่อ ⅓ ของผู้ใหญ่ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของชีวิต ขณะที่ 10–15% มีปัญหาพอที่จะไปหาแพทย์[138]
ในเด็ก
แก้เชื่อว่า เสียงในหูเป็นโรคของผู้ใหญ่ จึงมักมองข้ามในเด็ก เด็กที่เสียการได้ยินมีอัตราการเกิดเสียงในหูสูง แม้จะไม่พูดถึงอาการหรือผลที่มีต่อชีวิต[139][140] เด็กโดยทั่วไปจะไม่รายงานอาการด้วยตนเอง และสิ่งที่พูดก็อาจไม่ได้รับความสนใจ[141] ในกลุ่มที่ร้องเรียน มีโอกาสมีพยาธิสภาพทางหูหรือหรือทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง เช่น ไมเกรน โรคเมนิแยร์ในเด็ก หรือหูชั้นกลางอักเสบแบบมีหนองเรื้อรัง[142] ความชุกที่รายงานอยู่ที่ระหว่าง 12–36% ในเด็กที่ได้ยินปกติ และสูงถึง 66% ในเด็กที่เสียการได้ยิน เด็กประมาณ 3–10% มีปัญหากับเสียงจากหู[143]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Levine, Robert A.; Oron, Yahav (2015). "Tinnitus". The Human Auditory System – Fundamental Organization and Clinical Disorders. Handbook of Clinical Neurology. Vol. 129. pp. 409–431. doi:10.1016/B978-0-444-62630-1.00023-8. ISBN 978-0-444-62630-1. PMID 25726282.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 2.8 "Tinnitus". NIH – National Institute on Deafness and Other Communication Disorders (NIDCD). 2017-03-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2019-09-20.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 Baguley, David; McFerran, Don; Hall, Deborah (November 2013). "Tinnitus". The Lancet. 382 (9904): 1600–1607. doi:10.1016/S0140-6736(13)60142-7. PMID 23827090.
- ↑ 4.0 4.1 4.2
Han, BI; Lee, HW; Kim, TY; Lim, JS; Shin, KS (March 2009). "Tinnitus: characteristics, causes, mechanisms, and treatments". Journal of Clinical Neurology. 5 (1): 11–19. doi:10.3988/jcn.2009.5.1.11. PMC 2686891. PMID 19513328.
About 75% of new cases are related to emotional stress as the trigger factor rather than to precipitants involving cochlear lesions.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Langguth, Berthold; Kreuzer, Peter M; Kleinjung, Tobias; De Ridder, Dirk (2013). "Tinnitus: causes and clinical management". The Lancet Neurology. 12 (9): 920–930. doi:10.1016/S1474-4422(13)70160-1.
- ↑ "Tinnitus", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(แพทยศาสตร์) เสียงในหู
- ↑ "Tinnitus – noises in the ears or head". ENT kent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-28. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ Salazar, James W. (2019). "Depression in Patients with Tinnitus: A Systematic Review". Otolaryngol Head Neck Surg. 161 (1): 28–35. doi:10.1177/0194599819835178. PMC 7721477. PMID 30909841.
- ↑ Bhatt, Jay M. (2016). "Relationships Between Tinnitus And The Prevalence Of Anxiety And Depression". Laryngoscope. 127 (2): 466–469. doi:10.1002/lary.26107. PMC 5812676. PMID 27301552.
- ↑ "Taming tinnitus".
- ↑ "Why Does My Tinnitus Get Worse when I'm Stressed?". 2021-05-17.
- ↑ House, Patricia R. (2008). "Personality of the Tinnitus Patient". Ciba Foundation Symposium 85 – Tinnitus. Novartis Foundation Symposia. Vol. 85. pp. 193–203. doi:10.1002/9780470720677.ch11. ISBN 978-0-470-72067-7. PMID 7035099.
- ↑ Esmaili, Aaron A; Renton, John (2018-04-01). "A review of tinnitus". Australian Journal of General Practice. 47 (4): 205–208. doi:10.31128/AJGP-12-17-4420. PMID 29621860.
- ↑ Mazurek, B; Haupt, H; Olze, H; Szczepeck, A (2022). "Stress and tinnitus—from bedside to bench and back". Frontiers in Systems Neuroscience. 6 (47): 47. doi:10.3389/fnsys.2012.00047. PMC 3371598. PMID 22701404.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Henry, James A.; Dennis, Kyle C.; Schechter, Martin A. (October 2005). "General Review of Tinnitus: Prevalence, Mechanisms, Effects, and Management". Journal of Speech, Language, and Hearing Research. 48 (5): 1204–1235. doi:10.1044/1092-4388(2005/084). PMID 16411806.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Rizk, HG; Lee, JA; Liu, YF; Endriukaitis, L; Isaac, JL; Bullington, WM (December 2020). "Drug-Induced Ototoxicity: A Comprehensive Review and Reference Guide". Pharmacotherapy. 40 (12): 1265–1275. doi:10.1002/phar.2478. PMID 33080070. S2CID 224828345.
- ↑ Simmons, R; Dambra, C; Lobarinas, E; Stocking, C; Salvi, R (2008). "Head, Neck, and Eye Movements That Modulate Tinnitus". Seminars in Hearing. 29 (4): 361–370. doi:10.1055/s-0028-1095895. PMC 2633109. PMID 19183705.
- ↑ Baguley D; Andersson g; McFerran D; McKenna L (2013). Tinnitus: A Multidisciplinary Approach (2nd ed.). Blackwell Publishing Ltd. pp. 16–17. ISBN 978-1-118-48870-6.
- ↑ Gopinath, B; McMahon, CM; Rochtchina, E; Karpa, MJ; Mitchell, P (2010). "Incidence, persistence, and progression of tinnitus symptoms in older adults: the Blue Mountains Hearing Study". Ear and Hearing. 31 (3): 407–412. doi:10.1097/AUD.0b013e3181cdb2a2. PMID 20124901. S2CID 23601127.
- ↑ Shargorodsky, J; Curhan, GC; Farwell, WR (2010). "Prevalence and characteristics of tinnitus among US adults". The American Journal of Medicine. 123 (8): 711–718. doi:10.1016/j.amjmed.2010.02.015. PMID 20670725.
- ↑ Andersson, G (2002). "Psychological aspects of tinnitus and the application of cognitive-behavioral therapy". Clinical Psychology Review. 22 (7): 977–990. doi:10.1016/s0272-7358(01)00124-6. PMID 12238249.
- ↑ Reiss, M; Reiss, G (1999). "Some psychological aspects of tinnitus". Perceptual and Motor Skills. 88 (3 Pt 1): 790–792. doi:10.2466/pms.1999.88.3.790. PMID 10407886. S2CID 41610361.
- ↑ Baguley DM (2002). "Mechanisms of tinnitus". British Medical Bulletin. 63: 195–212. doi:10.1093/bmb/63.1.195. PMID 12324394.
- ↑ Henry, James A.; Meikle, Mary B. (May 1999). "Pulsed versus Continuous Tones for Evaluating the Loudness of Tinnitus". Journal of the American Academy of Audiology. 10 (5): 261–272. doi:10.1055/s-0042-1748497. PMID 10331618. S2CID 18675226.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Henry, JA; Dennis, KC; Schechter, MA (2005). "General review of tinnitus: Prevalence, mechanisms, effects, and management". Journal of Speech, Language, and Hearing Research. 48 (5): 1204–1235. doi:10.1044/1092-4388(2005/084). PMID 16411806.
- ↑ Davies, A; Rafie, EA (2000). "Epidemiology of Tinnitus". ใน Tyler, RS (บ.ก.). Tinnitus Handbook. San Diego: Singular. pp. 1–23. OCLC 42771695.
- ↑ Pattyn, T; Van Den Eede, F; Vanneste, S; Cassiers, L; Veltman, DJ; Van De Heyning, P; Sabbe, BC (2015). "Tinnitus and anxiety disorders: A review" (PDF). Hearing Research. 333: 255–265. doi:10.1016/j.heares.2015.08.014. hdl:10067/1273140151162165141. PMID 26342399. S2CID 205103174.
- ↑ Henry, JA; Wilson, P (2000). "Psychological management of tinnitus". ใน R.S. Tyler (บ.ก.). Tinnitus Handbook. San Diego: Singular. pp. 263–279. OCLC 42771695.
- ↑ Andersson, G; Westin, V (2008). "Understanding tinnitus distress: Introducing the concepts of moderators and mediators". International Journal of Audiology. 47 (Suppl. 2): S106–111. doi:10.1080/14992020802301670. PMID 19012118. S2CID 19389202.
- ↑ Weise, C; Hesser, H; Andersson, G; Nyenhuis, N; Zastrutzki, S; Kröner-Herwig, B; Jäger, B (2013). "The role of catastrophizing in recent onset tinnitus: its nature and association with tinnitus distress and medical utilization". International Journal of Audiology. 52 (3): 177–188. doi:10.3109/14992027.2012.752111. PMID 23301660. S2CID 24297897.
- ↑ Jastreboff, PJ; Hazell, JWP (2004). Tinnitus Retraining Therapy: Implementing the neurophysiological model. Cambridge: Cambridge University Press. OCLC 237191959.
- ↑ 32.0 32.1 Robert Aaron Levine (1999). "Somatic (craniocervical) tinnitus and the dorsal cochlear nucleus hypothesis". American Journal of Otolaryngology. 20 (6): 351–362. CiteSeerX 10.1.1.22.2488. doi:10.1016/S0196-0709(99)90074-1. PMID 10609479.
- ↑ Chan Y (2009). "Tinnitus: etiology, classification, characteristics, and treatment". Discovery Medicine. 8 (42): 133–136. PMID 19833060.
- ↑ Vijayakumar, Karthikeyan A; Cho, Gwang-Won; Maharajan, Nagarajan; Jang, Chul Ho (2022-08-31). "A Review on Peripheral Tinnitus, Causes, and Treatments from the Perspective of Autophagy". Experimental Neurobiology. 31 (4): 232–242. doi:10.5607/en22002. ISSN 1226-2560. PMC 9471415. PMID 36050223.
- ↑ Lie Becker, Marianne; และคณะ (2023). "Transportation Noise and Risk of Tinnitus: A Nationwide Cohort Study from Denmark". Environmental Health Perspectives. 131 (2): 27001. doi:10.1289/EHP11248. PMC 9891135. PMID 36722980.
- ↑ Barbara Rubinstein; และคณะ (1990). "Prevalence of Signs and Symptoms of Craniomandibular Disorders in Tinnitus Patients". Journal of Craniomandibular Disorders. 4 (3): 186–192. PMID 2098394.
- ↑ 37.0 37.1 Schecklmann, Martin; Vielsmeier, Veronika; Steffens, Thomas; Landgrebe, Michael; Langguth, Berthold; Kleinjung, Tobias; Andersson, Gerhard (2012-04-18). "Relationship between Audiometric Slope and Tinnitus Pitch in Tinnitus Patients: Insights into the Mechanisms of Tinnitus Generation". PLOS ONE. 7 (4): e34878. Bibcode:2012PLoSO...734878S. doi:10.1371/journal.pone.0034878. PMC 3329543. PMID 22529949.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 Yew, KS (2014-01-15). "Diagnostic approach to patients with tinnitus". American Family Physician. 89 (2): 106–113. PMID 24444578.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 Theodoroff, SM; Konrad-Martin, D (August 2020). "Noise: Acoustic Trauma and Tinnitus, the US Military Experience". Otolaryngologic Clinics of North America. 53 (4): 543–553. doi:10.1016/j.otc.2020.03.004. PMC 9015011. PMID 32334867.
- ↑ Don Brown, R.; Penny, Joe E.; Henley, Charles M.; Hodges, Keri B.; Kupetz, Suzyjo A.; Glenn, David W.; Jobe, Phillip C. (2008). "Ototoxic Drugs and Noise". Ciba Foundation Symposium 85 – Tinnitus. Novartis Foundation Symposia. Vol. 85. pp. 151–171. doi:10.1002/9780470720677.ch9. ISBN 978-0-470-72067-7. PMID 7035098.
- ↑ Stas Bekman. "6) What are some ototoxic drugs?". Stason.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-19. สืบค้นเมื่อ 2012-10-26.
- ↑ 43.0 43.1 Riba, Michelle B; Ravindranath, Divy (2010). Clinical manual of emergency psychiatry. Washington, DC: American Psychiatric Publishing Inc. p. 197. ISBN 978-1-58562-295-5.
- ↑ 44.0 44.1 Delanty, Norman (2001). Seizures: medical causes and management. Totowa, NJ: Humana Press. p. 187. ISBN 978-0-89603-827-1.
- ↑ Fornaro, M; Martino, M (2010). "Tinnitus psychopharmacology: A comprehensive review of its pathomechanisms and management". Neuropsychiatric Disease and Treatment. 6: 209–218. doi:10.2147/ndt.s10361. PMC 2898164. PMID 20628627.
- ↑ Crummer, RW; Hassan, GA (2004). "Diagnostic approach to tinnitus". American Family Physician. 69 (1): 120–106. PMID 14727828.
- ↑ Passchier-Vermeer, W; Passchier, WF (2000). "Noise exposure and public health". Environmental Health Perspectives. 108 (Suppl 1): 123–131. doi:10.1289/ehp.00108s1123. JSTOR 3454637. PMC 1637786. PMID 10698728.
- ↑ Zempleni, Janos; Suttie, John W; Gregory, Jesse F; Stover, Patrick J, บ.ก. (2014). Handbook of vitamins (5th ed.). Hoboken: CRC Press. p. 477. ISBN 978-1-4665-1557-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17.
- ↑ Shulgin, Alexander; Shulgin, Ann (1997). "#36. 5-MEO-DET". TiHKAL: the continuation. Berkeley, CA: Transform Press. ISBN 978-0-9630096-9-2. OCLC 38503252. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2012-10-27.
- ↑ "Erowid Experience Vaults: DiPT – More Tripping & Revelations – 26540". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-02.
- ↑ 51.0 51.1 "MEM, Tinnitus and Ear Drum Spasms". Tinnitus And You. 2021-08-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-20. สืบค้นเมื่อ 2022-05-24.
- ↑ Kerr, Rhorie; Kang, Elise; Hopkins, Brandon; Anne, Samantha (December 2017). "Pediatric tinnitus: Incidence of imaging anomalies and the impact of hearing loss". International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology. 103: 147–149. doi:10.1016/j.ijporl.2017.10.027. PMID 29224758.
- ↑ Salman, Rida; Chong, Insun; Amans, Matthew; Hui, Ferdinand; Desai, Nilesh; Huisman, Thierry A. G. M.; Tran, Brandon (May 2022). "Pediatric tinnitus: The role of neuroimaging". Journal of Neuroimaging. 32 (3): 400–411. doi:10.1111/jon.12986. PMID 35307901. S2CID 247584230.
- ↑ 54.0 54.1 McFerran, Don; Magdalena, Sereda. "Pulsatile tinnitus" (PDF). Action on Hearing Loss. Royal National Institute for Deaf People (RNID). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-22. สืบค้นเมื่อ 2018-07-22.
- ↑ Chandler JR (1983). "Diagnosis and cure of venous hum tinnitus". The Laryngoscope. 93 (7): 892–895. doi:10.1288/00005537-198307000-00009. PMID 6865626. S2CID 33725476.
- ↑ Pegge, Sjoert A. H.; Steens, Stefan C. A.; Kunst, Henricus P. M.; Meijer, Frederick J. A. (2017). "Pulsatile Tinnitus: Differential Diagnosis and Radiological Work-Up". Current Radiology Reports. 5 (1): 5. doi:10.1007/s40134-017-0199-7. ISSN 2167-4825. PMC 5263210. PMID 28203490.
- ↑ Moonis, G; Hwang, CJ; Ahmed, T; Weigele, JB; Hurst, RW (2005). "Otologic manifestations of petrous carotid aneurysms". American Journal of Neuroradiology. 26 (6): 1324–1327. PMC 8149044. PMID 15956490.
- ↑ Selim, Magdy; Caplan, Louis R. (June 2004). "Carotid artery dissection". Current Treatment Options in Cardiovascular Medicine. 6 (3): 249–253. doi:10.1007/s11936-996-0020-z. PMID 15096317. S2CID 7503852.
- ↑ Ward, Bryan K.; Carey, John P.; Minor, Lloyd B. (2017-04-28). "Superior Canal Dehiscence Syndrome: Lessons from the First 20 Years". Frontiers in Neurology. 8: 177. doi:10.3389/fneur.2017.00177. ISSN 1664-2295. PMC 5408023. PMID 28503164.
- ↑ Sismanis, Aristides; Butts, Frank M.; Hughes, Gordon B. (January 1990). "Objective Tinnitus in Benign Intracranial Hypertension: An Update". The Laryngoscope. 100 (1): 33–36. doi:10.1288/00005537-199001000-00008. PMID 2293699. S2CID 20886638.
- ↑ Diamond, BJ; Mosley, JE (2011). "Arteriovenous Malformation (AVM)". ใน Kreutzer, JS; DeLuca, J; Caplan, B (บ.ก.). Encyclopedia of Clinical Neuropsychology. Springer. pp. 249–252. doi:10.1007/978-0-387-79948-3. ISBN 978-0-387-79947-6.
- ↑ Nicolas-Puel, C; Faulconbridge, RL; Guitton, M; Puel, JL; Mondain, M; Uziel, A (2002). "Characteristics of tinnitus and etiology of associated hearing loss: a study of 123 patients". The International Tinnitus Journal. 8 (1): 37–44. PMID 14763234.
- ↑ Møller, AR (2016). "Sensorineural Tinnitus: Its Pathology and Probable Therapies". International Journal of Otolaryngology. 2016: 1–13. doi:10.1155/2016/2830157. PMC 4761664. PMID 26977153.
- ↑ Sedley, W; Friston, KJ; Gander, PE; Kumar, S; Griffiths, TD (2016). "An Integrative Tinnitus Model Based on Sensory Precision". Trends in Neurosciences. 39 (12): 799–812. doi:10.1016/j.tins.2016.10.004. PMC 5152595. PMID 27871729.
- ↑ Shore, SE; Roberts, LE; Langguth, B (2016). "Maladaptive plasticity in tinnitus – triggers, mechanisms and treatment". Nature Reviews Neurology. 12 (3): 150–160. doi:10.1038/nrneurol.2016.12. PMC 4895692. PMID 26868680.
- ↑ Park, Jung Mee; Kim, Woo Jin; Han, Jae Sang; Park, So Young; Park, Shi Nae (2020-07-02). "Management of palatal myoclonic tinnitus based on clinical characteristics: a large case series study". Acta Oto-Laryngologica. 140 (7): 553–557. doi:10.1080/00016489.2020.1749724. PMID 32406274. S2CID 218635840.
- ↑ Crummer, RW; และคณะ (2004). "Diagnostic Approach to Tinnitus". American Family Physician. 69 (1): 120–126. PMID 14727828.
- ↑ Davis, A (1989). "The prevalence of hearing impairment and reported hearing disability among adults in Great Britain". International Journal of Epidemiology. 18 (4): 911–917. doi:10.1093/ije/18.4.911. PMID 2621028.
- ↑ Henry, James A. (2016). ""Measurement" of Tinnitus". Otology & Neurotology. 37 (8): e276–e285. doi:10.1097/MAO.0000000000001070. ISSN 1531-7129.
- ↑ Henry, JA; Meikle, MB (March 2000). "Psychoacoustic measures of tinnitus". Journal of the American Academy of Audiology. 11 (3): 138–155. doi:10.1055/s-0042-1748040. PMID 10755810. S2CID 34933069.
- ↑ Vielsmeier, V; Lehner, A; Strutz, J; Steffens, T; Kreuzer, PM; Schecklmann, M; Landgrebe, M; Langguth, B; Kleinjung, T (2015). "The Relevance of the High Frequency Audiometry in Tinnitus Patients with Normal Hearing in Conventional Pure-Tone Audiometry". BioMed Research International. 2015: 1–5. doi:10.1155/2015/302515. PMC 4637018. PMID 26583098.
- ↑ CÉ, Basile; Fournier, P; Hutchins, S; Hébert, S (2013). "Psychoacoustic assessment to improve tinnitus diagnosis". PLOS ONE. 8 (12): e82995. Bibcode:2013PLoSO...882995B. doi:10.1371/journal.pone.0082995. PMC 3861445. PMID 24349414.
- ↑ Roberts, Larry E. (2007). "Residual inhibition". Tinnitus: Pathophysiology and Treatment. Progress in Brain Research. Vol. 166. pp. 487–495. doi:10.1016/S0079-6123(07)66047-6. ISBN 978-0-444-53167-4. PMID 17956813.
- ↑ Roberts, LE; Moffat, G; Baumann, M; Ward, LM; Bosnyak, DJ (2008). "Residual inhibition functions overlap tinnitus spectra and the region of auditory threshold shift". Journal of the Association for Research in Otolaryngology. 9 (4): 417–435. doi:10.1007/s10162-008-0136-9. PMC 2580805. PMID 18712566.
- ↑ Knipper, M; Van Dijk, P; Nunes, I; Rüttiger, L; Zimmermann, U (2013). "Advances in the neurobiology of hearing disorders: recent developments regarding the basis of tinnitus and hyperacusis". Progress in Neurobiology. 111: 17–33. doi:10.1016/j.pneurobio.2013.08.002. PMID 24012803.
- ↑ Tyler, Richard S.; Pienkowski, Martin; Roncancio, Eveling Rojas; Jun, Hyung Jin; Brozoski, Tom; Dauman, Nicolas; Coelho, Claudia Barros; Andersson, Gerhard; Keiner, Andrew J.; Cacace, Anthony T.; Martin, Nora; Moore, Brian C. J. (December 2014). "A Review of Hyperacusis and Future Directions: Part I. Definitions and Manifestations". American Journal of Audiology. 23 (4): 402–419. doi:10.1044/2014_AJA-14-0010. PMID 25104073.
- ↑ Sherlock, LaGuinn P.; Formby, Craig (February 2005). "Estimates of Loudness, Loudness Discomfort, and the Auditory Dynamic Range: Normative Estimates, Comparison of Procedures, and Test-Retest Reliability". Journal of the American Academy of Audiology. 16 (2): 85–100. doi:10.3766/jaaa.16.2.4. PMID 15807048.
- ↑ Pienkowski, Martin; Tyler, Richard S.; Roncancio, Eveling Rojas; Jun, Hyung Jin; Brozoski, Tom; Dauman, Nicolas; Coelho, Claudia Barros; Andersson, Gerhard; Keiner, Andrew J.; Cacace, Anthony T.; Martin, Nora; Moore, Brian C. J. (December 2014). "A Review of Hyperacusis and Future Directions: Part II. Measurement, Mechanisms, and Treatment". American Journal of Audiology. 23 (4): 420–436. doi:10.1044/2014_AJA-13-0037. PMID 25478787.
- ↑ McCombe, A.; Baguley, D.; Coles, R.; McKenna, L.; McKinney, C.; Windle-Taylor, P. (October 2001). "Guidelines for the grading of tinnitus severity: the results of a working group commissioned by the British Association of Otolaryngologists, Head and Neck Surgeons, 1999". Clinical Otolaryngology and Allied Sciences. 26 (5): 388–393. doi:10.1046/j.1365-2273.2001.00490.x. PMID 11678946.
- ↑ Langguth, B.; Goodey, R.; Azevedo, A.; Bjorne, A.; Cacace, A.; Crocetti, A.; Del Bo, L.; De Ridder, D.; Diges, I.; Elbert, T.; Flor, H.; Herraiz, C.; Ganz Sanchez, T.; Eichhammer, P.; Figueiredo, R.; Hajak, G.; Kleinjung, T.; Landgrebe, M.; Londero, A.; Lainez, M.J.A.; Mazzoli, M.; Meikle, M.B.; Melcher, J.; Rauschecker, J.P.; Sand, P.G.; Struve, M.; Van De Heyning, P.; Van Dijk, P.; Vergara, R. (2007). "Consensus for tinnitus patient assessment and treatment outcome measurement: Tinnitus Research Initiative meeting, Regensburg, July 2006". Tinnitus: Pathophysiology and Treatment. Progress in Brain Research. Vol. 166. pp. 525–536. doi:10.1016/S0079-6123(07)66050-6. ISBN 978-0-444-53167-4. PMC 4283806. PMID 17956816.
- ↑ Meikle, M.B.; Stewart, B.J.; Griest, S.E.; Martin, W.H.; Henry, J.A.; Abrams, H.B.; McArdle, R.; Newman, C.W.; Sandridge, S.A. (2007). "Assessment of tinnitus: Measurement of treatment outcomes". Tinnitus: Pathophysiology and Treatment. Progress in Brain Research. Vol. 166. pp. 511–521. doi:10.1016/S0079-6123(07)66049-X. ISBN 978-0-444-53167-4. PMID 17956815.
- ↑ Meikle, Mary B.; Henry, James A.; Griest, Susan E.; Stewart, Barbara J.; Abrams, Harvey B.; McArdle, Rachel; Myers, Paula J.; Newman, Craig W.; Sandridge, Sharon; Turk, Dennis C.; Folmer, Robert L.; Frederick, Eric J.; House, John W.; Jacobson, Gary P.; Kinney, Sam E.; Martin, William H.; Nagler, Stephen M.; Reich, Gloria E.; Searchfield, Grant; Sweetow, Robert; Vernon, Jack A. (March 2012). "The Tinnitus Functional Index: Development of a New Clinical Measure for Chronic, Intrusive Tinnitus". Ear & Hearing. 33 (2): 153–176. doi:10.1097/AUD.0b013e31822f67c0. PMID 22156949. S2CID 587811.
- ↑ Henry, J. L.; Wilson, PH (2000). The Psychological Management of Chronic Tinnitus: A Cognitive Behavioural Approach. Allyn and Bacon.
- ↑ Landgrebe, M; Azevedo, A; Baguley, D; Bauer, C; Cacace, A; Coelho, C; และคณะ (2012). "Methodological aspects of clinical trials in tinnitus: A proposal for international standard". Journal of Psychosomatic Research. 73 (2): 112–121. doi:10.1016/j.jpsychores.2012.05.002. PMC 3897200. PMID 22789414.
{{cite journal}}
: ใช้ et al. อย่างชัดเจน ใน|last7=
(help) - ↑ Pegge, S; Steens, S; Kunst, H; Meijer, F (2017). "Pulsatile Tinnitus: Differential Diagnosis and Radiological Work-Up". Current Radiology Reports. 5 (1): 5. doi:10.1007/s40134-017-0199-7. PMC 5263210. PMID 28203490.
- ↑ Hofmann, E; Behr, R; Neumann-Haefelin, T; Schwager, K (2013). "Pulsatile tinnitus: imaging and differential diagnosis". Deutsches Ärzteblatt International. 110 (26): 451–458. doi:10.3238/arztebl.2013.0451. PMC 3719451. PMID 23885280.
- ↑ Sismanis, Aristides (October 2011). "Pulsatile tinnitus: contemporary assessment and management". Current Opinion in Otolaryngology & Head and Neck Surgery. 19 (5): 348–357. doi:10.1097/MOO.0b013e3283493fd8. PMID 22552697. S2CID 22964919.
- ↑ Elder, JA; Chou, CK (2003). "Auditory response to pulsed radiofrequency energy". Bioelectromagnetics. 6: S162–173. doi:10.1002/bem.10163. PMID 14628312. S2CID 9813447.
- ↑ Lin, JC; Wang, Z (2007). "Hearing of microwave pulses by humans and animals: effects, mechanism, and thresholds". Health Physics. 92 (6): 621–628. doi:10.1097/01.HP.0000250644.84530.e2. PMID 17495664. S2CID 37236570.
- ↑ 90.0 90.1 90.2 Tunkel, DE; Bauer, CA; Sun, GH; และคณะ (2014). "Clinical practice guideline: tinnitus". Otolaryngology–Head and Neck Surgery. 151 (2 Suppl): S1–40. doi:10.1177/0194599814545325. PMID 25273878. S2CID 206468767.
- ↑ "NIOSH Program Portfolio : Hearing Loss Prevention : Program Description". www.cdc.gov – CDC (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-02-05. สืบค้นเมื่อ 2019-03-26.
- ↑ "Bike news". www.carolenash.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-28.
- ↑ Burns-O'Connell, Georgina; Stockdale, David; Cassidy, Oscar; Knowles, Victoria; Hoare, Derek J. (2021-08-27). "Surrounded by Sound: The Impact of Tinnitus on Musicians". International Journal of Environmental Research and Public Health. 18 (17): 9036. doi:10.3390/ijerph18179036. PMC 8431046. PMID 34501628.
- ↑ Boles, Benjamin (2016-08-09). "DJs Shouldn't Have to Live With Constant Ringing in Their Ears". VICE. สืบค้นเมื่อ 2024-07-22.
- ↑ Couth, Samuel; Mazlan, Naadia; Moore, David R.; Munro, Kevin J.; Dawes, Piers (January 2019). "Hearing Difficulties and Tinnitus in Construction, Agricultural, Music, and Finance Industries: Contributions of Demographic, Health, and Lifestyle Factors". Trends in Hearing. 23. doi:10.1177/2331216519885571. PMC 6868580. PMID 31747526.
- ↑ "Construction Statistics – Occupational Hearing Loss Surveillance | NIOSH | CDC". 2021-11-12.
- ↑ Cianfrone, G; Pentangelo, D; Cianfrone, F; Mazzei, F; Turchetta, R; Orlando, MP; Altissimi, G (June 2011). "Pharmacological drugs inducing ototoxicity, vestibular symptoms and tinnitus: a reasoned and updated guide". European Review for Medical and Pharmacological Sciences. 15 (6): 601–636. PMID 21796866.
- ↑ García, V Palomar; Martínez, F Abdulghani; Bodet Agustí, E; Mencía, L Andreu; Asenjo, V Palomar (July 2001). "Drug-induced otoxicity: current status". Acta Oto-Laryngologica. 121 (5): 569–572. doi:10.1080/00016480121545. PMID 11583387. S2CID 218879738.
- ↑ Seligmann, H; Podoshin, L; Ben-David, J; Fradis, M; Goldsher, M (1996). "Drug-induced tinnitus and other hearing disorders". Drug Safety. 14 (3): 198–212. doi:10.2165/00002018-199614030-00006. PMID 8934581. S2CID 23522352.
- ↑
"Drug Therapies". American Tinnitus Association (ภาษาอังกฤษ). 2015-03-20. สืบค้นเมื่อ 2022-03-03.
There are presently no FDA-approved drugs specifically for tinnitus, and no medications that have been shown to reverse the neural hyperactivity at the root of tinnitus. Drugs cannot cure tinnitus, but they may provide relief from some severe tinnitus symptoms.
- ↑ Kleinjung, Tobias; Langguth, Berthold (August 2020). "Avenue for Future Tinnitus Treatments". Otolaryngologic Clinics of North America. 53 (4): 667–683. doi:10.1016/j.otc.2020.03.013. PMID 32381341.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ 103.0 103.1 Hoare, D; Kowalkowski, V; Knag, S; Hall, D (2011). "Systematic review and meta-analyses of randomized controlled trials examining tinnitus management". The Laryngoscope. 121 (7): 1555–1564. doi:10.1002/lary.21825. PMC 3477633. PMID 21671234.
- ↑ Hesser, H; Weise, C; V, Zetterquist Westin; Andersson, G (2011). "A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials of cognitive–behavioral therapy for tinnitus distress". Clinical Psychology Review. 31 (4): 545–553. doi:10.1016/j.cpr.2010.12.006. PMID 21237544.
- ↑ Ost, LG (October 2014). "The efficacy of Acceptance and Commitment Therapy: an updated systematic review and meta-analysis". Behaviour Research and Therapy. 61: 105–121. doi:10.1016/j.brat.2014.07.018. PMID 25193001.
- ↑ Henry, J; Zaugg, T; Myers, P; Kendall, C (2012). "Chapter 9 – Level 5 Individualized Support". Progressive Tinnitus Management: Clinical Handbook for Audiologists. US Department of Veterans Affairs, National Center for Rehabilitative Auditory Research. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ 2013-12-20.
- ↑ Hoare, DJ; Searchfield, GD; A, El Refaie; Henry, JA (2014). "Sound therapy for tinnitus management: practicable options". Journal of the American Academy of Audiology. 25 (1): 62–75. doi:10.3766/jaaa.25.1.5. PMID 24622861.
- ↑ Sereda, Magdalena; Xia, Jun; El Refaie, Amr; Hall, Deborah A; Hoare, Derek J (2018-12-27). "Sound therapy (using amplification devices and/or sound generators) for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2018 (12): CD013094. doi:10.1002/14651858.CD013094.pub2. PMC 6517157. PMID 30589445.
- ↑ Shore, Susan E.; Roberts, Larry E.; Langguth, Berthold (March 2016). "Maladaptive plasticity in tinnitus – triggers, mechanisms and treatment". Nature Reviews Neurology. 12 (3): 150–160. doi:10.1038/nrneurol.2016.12. PMC 4895692. PMID 26868680.
- ↑ 110.0 110.1 Hesse, Gerhard (2016-12-15). "Evidence and evidence gaps in tinnitus therapy". GMS Current Topics in Otorhinolaryngology – Head and Neck Surgery; 15:Doc04. 15: Doc04. doi:10.3205/cto000131. PMC 5169077. PMID 28025604.
- ↑ Phillips, JS; McFerran, D (2010). "Tinnitus Retraining Therapy (TRT) for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2010 (3): CD007330. doi:10.1002/14651858.CD007330.pub2. PMC 7209976. PMID 20238353.
- ↑ Casale, Manuele; Costantino, Andrea; Rinaldi, Vittorio; Forte, Antonio; Grimaldi, Marta; Sabatino, Lorenzo; Oliveto, Giuseppe; Aloise, Fabio; Pontari, Domenico; Salvinelli, Fabrizio (December 2018). "Mobile applications in otolaryngology for patients: An update: Otolaryngology Apps for Patients". Laryngoscope Investigative Otolaryngology. 3 (6): 434–438. doi:10.1002/lio2.201. PMC 6302723. PMID 30599026.
- ↑ Mosa, Abu Saleh Mohammad; Yoo, Illhoi; Sheets, Lincoln (December 2012). "A Systematic Review of Healthcare Applications for Smartphones". BMC Medical Informatics and Decision Making. 12 (1): 67. doi:10.1186/1472-6947-12-67. PMC 3534499. PMID 22781312.
- ↑ Kalle, Sven; Schlee, Winfried; Pryss, Rüdiger C.; Probst, Thomas; Reichert, Manfred; Langguth, Berthold; Spiliopoulou, Myra (2018-08-20). "Review of Smart Services for Tinnitus Self-Help, Diagnostics and Treatments". Frontiers in Neuroscience. 12: 541. doi:10.3389/fnins.2018.00541. PMC 6109754. PMID 30177869.
- ↑ Hobson, Jonathan; Chisholm, Edward; El Refaie, Amr (2012-11-14). "Sound therapy (masking) in the management of tinnitus in adults". Cochrane Database of Systematic Reviews. doi:10.1002/14651858.CD006371.pub3. PMC 7390392. PMID 23152235.
- ↑ Yu, Hong-Zhe; Gong, Jia-Min; Hong, Guo-Wei; Zhou, Ruo-Qiao; Fu, Xin-Ping; Fan, Ting; Zheng, Yu-Qing; Peng, Ying-Qiu; Li, Jian; Wang, Yun-Feng (2024-06-14). "The Effect of Physical Therapy on Somatosensory Tinnitus". Journal of Clinical Medicine. 13 (12): 3496. doi:10.3390/jcm13123496. ISSN 2077-0383. PMC 11204550. PMID 38930025.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่า|pmc=
(help); ตรวจสอบค่า|pmid=
(help) - ↑ 117.0 117.1 117.2 Bauer, CA (March 2018). "Tinnitus". New England Journal of Medicine. 378 (13): 1224–1231. doi:10.1056/NEJMcp1506631. PMID 29601255.
- ↑ Baldo, P; Doree, C; Molin, P; McFerran, D; Cecco, S (2012-09-12). "Antidepressants for patients with tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2012 (9): CD003853. doi:10.1002/14651858.CD003853.pub3. PMC 7156891. PMID 22972065.
- ↑ Savage, J; Cook, S; Waddell, A (2009-11-12). "Tinnitus". BMJ Clinical Evidence. 2009. PMC 2907768. PMID 21726476.
- ↑ Savage, J; Waddell, A (October 2014). "Tinnitus". BMJ Clinical Evidence. 2014: 0506. PMC 4202663. PMID 25328113.
- ↑ Kim, SH; Kim, D; Lee, JM; Lee, SK; Kang, HJ; Yeo, SG (June 2021). "Review of Pharmacotherapy for Tinnitus". Healthcare. 9 (6): 779. doi:10.3390/healthcare9060779. PMC 8235102. PMID 34205776.
- ↑ Miroddi, M; Bruno, R; Galletti, F; Calapai, F; Navarra, M; Gangemi, S; Calapai, G (March 2015). "Clinical pharmacology of melatonin in the treatment of tinnitus: a review". European Journal of Clinical Pharmacology. 71 (3): 263–270. doi:10.1007/s00228-015-1805-3. PMID 25597877. S2CID 16466238.
- ↑ Hoekstra, Carlijn EL; Rynja, Sybren P; van Zanten, Gijsbert A; Rovers, Maroeska M (2011-07-06). "Anticonvulsants for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2011 (7): CD007960. doi:10.1002/14651858.CD007960.pub2. PMC 6599822. PMID 21735419.
- ↑ Pichora-Fuller, M. Kathleen; Santaguida, Pasqualina; Hammill, Amanda; Oremus, Mark; Westerberg, Brian; Ali, Usman; Patterson, Christopher; Raina, Parminder (2013). "Evaluation and Treatment of Tinnitus: Comparative Effectiveness". Comparative Effectiveness Reviews. AHRQ Comparative Effectiveness Reviews (122). PMID 24049842.
- ↑ Lavigne, P; Lavigne, F; Saliba, I (2015-06-23). "Intratympanic corticosteroids injections: a systematic review of literature". European Archives of Oto-Rhino-Laryngology. 273 (9): 2271–2278. doi:10.1007/s00405-015-3689-3. PMID 26100030. S2CID 36037973.
- ↑ Hall, Deborah A; Wegner, Inge; Smit, Adriana Leni; McFerran, Don; Stegeman, Inge (2018). Cochrane ENT Group (บ.ก.). "Betahistine for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews (ภาษาอังกฤษ). 12 (8): CD013093. doi:10.1002/14651858.CD013093. PMC 6513648. PMID 30908589.
- ↑ Slengerik-Hansen, J; Ovesen, T (2016). "Botulinum Toxin Treatment of Objective Tinnitus Because of Essential Palatal Tremor: A Systematic Review". Otology & Neurotology. 37 (7): 820–828. doi:10.1097/MAO.0000000000001090. PMID 27273401. S2CID 23675169.
- ↑ Sweetman, Sean C., บ.ก. (2009). Martindale (36th ed.). Pharmaceutical Press. p. 2277. ISBN 978-0-85369-840-1.
- ↑ Langguth, B; Salvi, R; Elgoyhen, AB (December 2009). "Emerging pharmacotherapy of tinnitus". Expert Opinion on Emerging Drugs. 14 (4): 687–702. doi:10.1517/14728210903206975. PMC 2832848. PMID 19712015.
- ↑ Kwon, Diana (2020-10-07). "New Tinnitus Treatment Alleviated Annoying Ringing in the Ears". Scientific American. Springer Nature America, Inc. 2 (6): None. doi:10.1038/scientificamerican122020-2VzL6BO1nViUY4ozIqWxY8.
- ↑ George, Judy (2023-03-08). "First Bimodal Neuromodulation Device for Tinnitus Gets FDA Nod". MedPage Today. สืบค้นเมื่อ 2024-07-23.
- ↑ Everts, Quinn (2023-03-14). "FDA Grants De Novo Approval to Non-Invasive Tinnitus Treatment Device". Drug Topics. สืบค้นเมื่อ 2024-07-23.
- ↑ 133.0 133.1 Philpott, Jenna (2024-06-18). "Neuromod inks contract to treat US veterans with tinnitus device". Medical Device Network. สืบค้นเมื่อ 2024-07-23.
- ↑ Meng, Z; Liu, S; Zheng, Y; Phillips, JS (2011-10-05). "Repetitive transcranial magnetic stimulation for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews (10): CD007946. doi:10.1002/14651858.CD007946.pub2. PMID 21975776.
- ↑ Hilton, MP; Zimmermann, EF; Hunt, WT (2013-03-28). "Ginkgo biloba for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. 3 (3): CD003852. doi:10.1002/14651858.CD003852.pub3. PMID 23543524. S2CID 205171459.
- ↑ Person, Osmar C; Puga, Maria ES; da Silva, Edina MK; Torloni, Maria R (2016-11-23). "Zinc supplements for tinnitus". Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016 (11): CD009832. doi:10.1002/14651858.cd009832.pub2. PMC 6464312. PMID 27879981.
- ↑ Sanchez, TG; Rocha, CB (2011). "Diagnosis and management of somatosensory tinnitus: review article". Clinics. 66 (6): 1089–1094. doi:10.1590/S1807-59322011000600028. PMC 3129953. PMID 21808880.
- ↑ Heller AJ (2003). "Classification and epidemiology of tinnitus". Otolaryngologic Clinics of North America. 36 (2): 239–248. doi:10.1016/S0030-6665(02)00160-3. PMID 12856294.
- ↑ Celik, N; Bajin, MD; Aksoy, S (2009). "Tinnitus incidence and characteristics in children with hearing loss". Journal of International Advanced Otology. 5 (3): 363–369. hdl:11655/17046. OCLC 695291085.
- ↑ Lee, Doh Young; Kim, Young Ho (June 2018). "Risk factors of pediatric tinnitus: Systematic review and meta-analysis". The Laryngoscope. 128 (6): 1462–1468. doi:10.1002/lary.26924. PMID 29094364. S2CID 24633085.
- ↑ Mills, RP; Albert, D; Brain, C (1986). "Tinnitus in childhood". Clinical Otolaryngology and Allied Sciences. 11 (6): 431–434. doi:10.1111/j.1365-2273.1986.tb02033.x. PMID 3815868.
- ↑ Ballantyne JC (2009). Graham JM; Baguley D (บ.ก.). Ballantyne's Deafness (7th ed.). Chichester: Wiley-Blackwell. OCLC 275152841.
- ↑ Shetye, A.; Kennedy, V. (2010-08-01). "Tinnitus in children: an uncommon symptom?". Archives of Disease in Childhood. 95 (8): 645–648. doi:10.1136/adc.2009.168252. PMID 20371585. S2CID 34443303.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Baguley, David; Andersson, Gerhard; McFerran, Don; McKenna, Laurence (2013) [2004]. Tinnitus: A Multidisciplinary Approach (2nd ed.). Indianapolis, IN: Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-4051-9989-6. LCCN 2012032714. OCLC 712915603.
- Langguth, B; Hajak, G; Kleinjung, T; Cacace, A; Møller, AR, บ.ก. (2007). Tinnitus: pathophysiology and treatment. Progress in brain research no. 166 (1st ed.). Amsterdam; Boston: Elsevier. ISBN 978-0-444-53167-4. LCCN 2012471552. OCLC 648331153. สืบค้นเมื่อ 2012-11-05. Alt URL
- Møller, Aage R; Langguth, Berthold; Ridder, Dirk; และคณะ, บ.ก. (2011). Textbook of Tinnitus. New York: Springer. doi:10.1007/978-1-60761-145-5. ISBN 978-1-60761-144-8. LCCN 2010934377. OCLC 695388693 , 771366370 and 724696022.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "upper-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="upper-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน