การกำหนดรู้การทรงตัว

ประสาทสัมผัสทางสรีรวิทยาที่ทำให้สัตว์สามารถรักษากิริยาท่าทางที่ไม่เสถียร
(เปลี่ยนทางจาก Equilibrioception)

การกำหนดรู้การทรงตัว[1] (อังกฤษ: sense of balance, equilibrioception) เป็นประสาทสัมผัสเกี่ยวกับการทรงตัว ซึ่งช่วยให้มนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ทรงตัวได้โดยไม่ล้มเมื่อยืนหรือไป เป็นผลการทำงานร่วมกันของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย คือ ตา (ระบบการเห็น) หู (ระบบกำหนดรู้การทรงตัว) และการรู้แนวทิศทางของร่างกาย (การรับรู้อากัปกิริยา) ระบบกำหนดรู้การทรงตัว (vestibular system) เป็นบริเวณในหูชั้นในที่หลอดกึ่งวงกลม (semicircular canal) 3 หลอดมารวมกัน ซึ่งทำงานร่วมกับระบบการเห็นเพื่อรักษาโฟกัสที่วัตถุหนึ่ง ๆ เมื่อศีรษะกำลังเคลื่อนที่ การทำงานร่วมกันเช่นนี้เรียกว่า vestibulo-ocular reflex (VOR)[2] ระบบการทรงตัวทำงานกับระบบการเห็น กล้ามเนื้อข้อต่อร่วมกับตัวรับรู้ของมัน เพื่อรักษาแนวทิศทางและการทรงตัวของร่างกาย

การทรงตัวที่กำลังพัฒนาการในเด็ก

ระบบกำหนดรู้การทรงตัว (vestibular system) แก้

 
ผังของระบบกำหนดรู้การทรงตัว (vestibular system)

ในระบบกำหนดรู้การทรงตัว (vestibular system) การทรงตัวสามารถรู้ได้อาศัยระดับน้ำที่เรียกว่า endolymph ในห้องหูชั้นใน (labyrinth) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มหลอดที่ซับซ้อน

การทำหน้าที่ผิดปรกติ แก้

เมื่อการกำหนดรู้การทรงตัวมีปัญหา มันจะทำให้เวียนหัว เสียทิศทางการทรงตัว และคลื่นไส้ การทรงตัวอาจเสียไปเพราะโรคเมนิแยร์, superior canal dehiscence syndrome[A], หูชั้นในติดเชื้อ, ไข้หวัดธรรมดาที่อาการแย่โดยมีผลต่อศีรษะ หรืออาการอื่น ๆ เช่น อาการรู้สึกหมุน โดยอาจมีปัญหาชั่วคราวเพราะการเร่งที่เร็วมากหรือยาว เช่น เมื่อนั่งม้าหมุน การกระทบ/การถูกตีก็อาจมีผลด้วยโดยเฉพาะที่ข้าง ๆ ศีรษะหรือที่หู

นักบินอวกาศส่วนมากพบว่า การกำหนดรู้การทรงตัวมีปัญหาเมื่ออยู่ในวงโคจรรอบโลกเพราะอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักอยู่ตลอด นี่เป็นเหตุให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน (เหมือนเมารถเมาเรือ) ที่เรียกว่า space adaptation syndrome (อาการปรับตัวในอวกาศได้ไม่ดี)

สัตว์อื่น ๆ แก้

สัตว์บางอย่างกำหนดรู้การทรงตัวได้ดีกว่ามนุษย์ เช่น แมวสามารถเดินบนรั้วได้โดยอาศัยหูชั้นในและหาง[8] สัตว์ทะเลหลายอย่างกำหนดรู้การทรงตัวด้วยอวัยวะที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงที่เรียกว่า statocyst ซึ่งตรวจจับตำแหน่งของผลึกแคลเซียม/หินปูนเล็ก ๆ เพื่อกำหนดว่าทิศไหนเป็น "ด้านบน"

ในพืช แก้

ยังกล่าวได้ด้วยว่า พืชมีรูปแบบการกำหนดรูการทรงตัวอย่างหนึ่ง คือถ้าเปลี่ยนแนวทิศทางของพืชจากปกติ ลำต้นจะโตไปทางด้านบน (คือไปทางตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วง) และรากจะงอกไปทางด้านล่าง (ไปทางแรงโน้มถ่วง) ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเบนเหตุความโน้มถ่วง (gravitropism) เช่น มีงานศึกษาที่ได้แสดงแล้วว่าต้นไม้สกุล Populus (เป็นไม้ดอกผลัดใบในซีกโลกเหนือ) สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแนวทิศทาง[9]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. superior canal dehiscence syndrome (SCDS) เป็นโรคมีน้อยของหูชั้นใน ซึ่งทำให้มีอาการเกี่ยวกับการได้ยินหรือการทรงตัว[3][4][5] อาการเกิดจากกระดูกขมับ (ซึ่งป้องกัน superior semicircular canal และระบบกำหนดรู้การทรงตัว) ที่บางหรือไม่มี มีหลักฐานว่าความผิดปกตินี้ หรือความเสี่ยงมีโรคนี้ เป็นตั้งแต่กำเนิด[6][7] ยังมีกรณีคนไข้มากมายที่เกิดจากการบาดเจ็บศีรษะด้วย

อ้างอิง แก้

  1. "การกำหนดรู้การทรงตัว", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) sense, labyrinthine; sense, static; sense, vestibular; sense of equilibrium
  2. https://www.sciencedirect.com/topics/neuroscience/vestibulo-ocular-reflex
  3. Minor, LB (January 2000). "Superior canal dehiscence syndrome". The American Journal of Otology. 21 (1): 9–19. doi:10.1016/s0196-0709(00)80105-2. PMID 10651428.
  4. Minor LB, Cremer PD, Carey JP, Della Santina CC, Streubel SO, Weg N (October 2001). "Symptoms and signs in superior canal dehiscence syndrome". Annals of the New York Academy of Sciences. 942: 259–73. doi:10.1111/j.1749-6632.2001.tb03751.x. PMID 11710468.
  5. Minor LB (October 2005). "Clinical manifestations of superior semicircular canal dehiscence". The Laryngoscope. 115 (10): 1717–27. doi:10.1097/01.mlg.0000178324.55729.b7. PMID 16222184.
  6. Murray, Melissa (1999-03-08). "Old Bone Collection Reveals Basis for Some Dizziness". The Hopkins Gazette. Vol. 28 no. 25. Johns Hopkins University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30.
  7. Duffy, Jim (1999). "The Clue in the Old Bones". Hopkins Medical News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2002-03-15.
  8. "Equilibrioception". ScienceDaily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-10. สืบค้นเมื่อ 2011-01-15.
  9. Azri, W.; Chambon, C.; Herbette, Stéphane; Brunel, N.; Coutand, C.; Leplé, J. C.; Ben Rejeb, I.; Ammar, Saïda; Julien, J. L.; Roeckel-Drevet, P. (2009). "Proteome analysis of apical and basal regions of poplar stems under gravitropic stimulation". Physiologia Plantarum. 136 (2): 193–208. doi:10.1111/j.1399-3054.2009.01230.x. PMID 19453506.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้