เส้นประสาทเฟเชียล

(เปลี่ยนทางจาก Facial nerve)

เส้นประสาทเฟเชียล[1] หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7[1] (อังกฤษ: Facial nerve) เป็นหนึ่งในเส้นประสาทสมองจากจำนวนทั้งหมด 12 คู่ เส้นประสาทนี้ออกมาจากก้านสมองที่ระหว่างพอนส์และเมดัลลา ออบลองกาตา และทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า และรับรสจากส่วนด้านหน้า 2/3 ของลิ้นและช่องปาก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เลี้ยงใยประสาทก่อนปมประสาทของพาราซิมพาเทติกไปยังปมประสาทของศีรษะและคออีกจำนวนมาก

เส้นประสาทเฟเชียล หรือ
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7
(Facial nerve)
เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินnervus facialis
MeSHD005154
นิวโรเนมส์551
TA98A14.2.01.099
TA26284
FMA50868
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

เส้นทาง แก้

เส้นประสาทเฟเชียลสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนในกะโหลกศีรษะ (intracranial portion) ส่วนในกระดูกขมับ (intratemporal portion) และส่วนนอกกระดูกขมับ (extratemporal portion)

ส่วนในกะโหลกศีรษะ แก้

ใยประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียลเริ่มตั้งแต่บริเวณซีรีบรัล คอร์เท็กซ์ จนถึงใยประสาทขมวดเป็นเส้นประสาทเฟเชียลและออกจากสมองที่มุมซีรีเบลโลพอนทีน (cerebellopontine angle) สามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

นอกจากใยประสาทนี้แล้ว ยังมีใยประสาทนอกพีระมิด (extrapyramidal system) มายังเฟเชียล นิวเคลียสเพื่อช่วยควบคุมความตึงตัวและประสานการเคลื่อนไหวใบหน้า รวมทั้งการประสานอารมณ์กับการแสดงสีหน้า ทั้งจากบริเวณสมองกลีบหน้า (frontal lobe) โกลบัส พาลลิดัส (globus pallidus) และไฮโปทาลามัส (hypothalamus)

ส่วนในกระดูกขมับ แก้

 
เส้นประสาทเฟเชียลส่วนในกระดูกขมับ

เส้นประสาทเฟเชียลเข้าสู่ส่วนพีทรัสของกระดูกขมับ (Petrous portion of temporal bone) ผ่านทางปากรูประสาทหู (internal acoustic meatus) วิ่งคดเคี้ยวอยู่ภายในคลองประสาทเฟเชียล (facial canal) จนออกจากกระดูกขมับที่ช่องสไตโลมาสตอยด์ (stylomastoid foramen) แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน ได้แก่

ส่วนนอกกระดูกขมับ แก้

 
เส้นประสาทของหลังศีรษะ ใบหน้า และด้านข้างคอ (แสดงเส้นประสาทเฟเชียลส่วนนอกกระดูกขมับ อยู่บริเวณกลางภาพ)

หลังจากเส้นประสาทเฟเชียลออกจากช่องสไตโลมาสตอยด์ จะแตกแขนงออกมาเป็นเส้นประสาทโพสทีเรียร์ออริคิวลาร์ (posterior auricular nerve) เส้นประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อไดแกสตริกมัดหลัง (Posterior belly of Digastric) และกล้ามเนื้อสไตโลไฮออยด์ (Stylohyoid muscle) แล้ววิ่งผ่านกลางต่อมน้ำลายพาโรติดแบ่งต่อมน้ำลายเป็นกลีบผิว และกลีบลึก ในต่อมน้ำลายพาโรติดเส้นประสาทเฟเชียลจะแตกแขนงออกจำนวนมาก โดยตอนแรกแบ่งออกเป็นสองแขนงหลัก แล้วแยกย่อยออกอีกรวมเป็น 5 แขนง

แขนง แก้

ส่วนในกระดูกขมับ แก้

ส่วนนอกกระดูกขมับ แก้

หน้าที่ แก้

ประสาทนำออก แก้

เส้นประสาทเฟเชียลทำหน้าที่หลักในการสั่งการควบคุมกลุ่มกล้ามเนื้อแสดงสีหน้า (muscles of facial expression) และยังสั่งการไปยังกล้ามเนื้อไดแกสตริกมัดหลัง (posterior belly of the digastric muscle) กล้ามเนื้อสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid) และกล้ามเนื้อสเตปีเดียสในหูชั้นกลาง (stapedius) กล้ามเนื้อเหล่านี้เป็นกล้ามเนื้อลายที่เจริญมาจากส่วนโค้งคอหอยที่สอง (2nd pharyngeal arch)

เส้นประสาทเฟเชียลยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปยังต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร (submandibular gland) และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (sublingual gland) ผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (chorda tympani) ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีผลเพิ่มการหลั่งน้ำลายจากต่อมดังกล่าว นอกจากนี้ยังมีใยประสาทพาราซิมพาเทติกไปเลี้ยงเยื่อเมือกของจมูกและต่อมน้ำตาผ่านทางปมประสาทเทอริโกแพลาทีน (pterygopalatine ganglion)

เส้นประสาทนี้ยังทำหน้าที่เป็นประสาทนำออกในรีเฟล็กซ์กระจกตา (corneal reflex)

ประสาทนำเข้า แก้

เส้นประสาทเฟเชียลรับรู้รสชาติจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นผ่านทางเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี การรับรู้รสชาติถูกส่งไปยังส่วนรับความรู้สึกของซอลิเทรี นิวเคลียส (solitary nucleus) ส่วนการรู้สึกทั่วไปของลิ้นจากด้านหน้าสองในสามของลิ้นมาทางเส้นประสาทไทรเจมินัลส่วนที่สาม (third division of trigeminal nerve; V-3) ซึ่งทั้งใยประสาทรับความรู้สึกทั่วไปและความรับรู้รสชาติจะเดินทางมาด้วยกันเป็นระยะทางสั้นๆ ผ่านทางเส้นประสาทลิ้น (lingual nerve) ก่อนที่เส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานีจะแยกจากเส้นประสาทลิ้น

เส้นประสาทจะเข้าสู่หูชั้นกลางผ่านทางรูเปิดพีโทรทิมพานิก (petrotympanic fissure) ซึ่งตรงนี้เส้นประสาทจะไปรวมกับเส้นประสาทเฟเชียลที่เหลือบริเวณคลองเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี จากนั้นใยประสาทรับรู้รสชาติส่วนนี้จะไปถึงปมประสาทเจนิคิวเลต (ซึ่งเป็นปมประสาทของใยประสาทรับรสชาติของเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี และวิถีประสาทรับรสชาติอื่นๆ) จากปมประสาทเจนิคิวเลต ใยประสาทรับรสชาติซึ่งต่อไปเรียกว่าเนอร์วัส อินเตอร์มีเดียส (nervus intermedius) จะเดินทางผ่านปากรูประสาทหูขนานไปกับรากประสาทสั่งการของเส้นประสาทเฟเชียล แล้วเข้าไปยังแอ่งกะโหลกหลัง (posterior cranial fossa) แล้วไซแนปส์กับซอลิเทรี นิวเคลียส

โรคของเส้นประสาทเฟเชียล แก้

การบาดเจ็บหรือความผิดปกติของเส้นประสาทเฟเชียลทำให้เกิดอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกเฉียบพลัน (acute facial nerve paralysis) มีอาการอ่อนแรงของใบหน้าซีกหนึ่งด้านเดียวกับเส้นประสาทที่เป็นโรค อัมพาตเบลล์ (Bell's palsy) เป็นอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกเฉียบพลันชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นได้เอง เกิดจากปมประสาทของเส้นประสาทสมองอักเสบ มักเป็นผลตามมาหลังจากการติดเชื้อไวรัสหรือเป็นผลจากโรคไลม์ (Lyme disease) อัมพาตเบลล์ยังอาจเป็นผลข้างเคียงจากการฉีดยาชาเฉพาะส่วนในทางทันตกรรมผิดตำแหน่ง อัมพาตใบหน้าครึ่งซีกมีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกซึ่งแสดงอาการคล้ายกับโรคหลอดเลือดสมองได้ แต่อัมพาตชนิดนี้อาการดีขึ้นได้ด้วยยา

การทดสอบเส้นประสาทเฟเชียล แก้

เนื่องจากเส้นประสาทเฟเชียลทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้าใต้อำนาจจิตใจ ดังนั้นการทดสอบเส้นประสาทเฟเชียลทำโดยการให้ผู้ถูกทดสอบยักคิ้ว ยิ้มยิงฟัน ขมวดคิ้ว หลับตาสนิท (หากผู้ถูกทดสอบทำไม่ได้ จะเรียกว่า ตาหลับไม่มิด[1] (lagophthalmos)) [2] ทำปากจู๋ ทำแก้มป่อง หากปกติจะต้องสมมาตรทั้งสองซีก

หากมีอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกชนิดเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน (upper motor neuron lesion) ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติเฉพาะกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนล่างด้านตรงข้ามกับรอยโรค เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าส่วนบน (ได้แก่กล้ามเนื้อฟรอนทาลิสและกล้ามเนื้อหลับตา) ถูกเลี้ยงด้วยใยเส้นประสาทเฟเชียลทั้งสองข้าง ในขณะที่อัมพาตใบหน้าครึ่งซีกชนิดเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง (lower motor neuron lesion) จะมีอาการอ่อนแรงทั้งใบหน้าส่วนบนและส่วนล่างด้านเดียวกันกับรอยโรค

การทดสอบการรับรสชาติทำโดยการป้ายสารละลายที่มีรสชาติที่บริเวณด้านหน้า 2/3 ของลิ้น หรือใช้การกระตุ้นด้วยขั้วไฟฟ้า

รีเฟล็กซ์กระจกตา[1] (Corneal reflex) เป็นการทดสอบการทำงานของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 และ 7 โดยใยประสาทนำเข้านั้นคือใยประสาทรับความรู้สึกทั่วไปของเส้นประสาทไทรเจมินัล ส่วนใยประสาทขาออกคือเส้นประสาทเฟเชียล เมื่อมีการกระตุ้นบริเวณกระจกตาข้างหนึ่งโดยสิ่งแปลกปลอมหรือการสัมผัสจะทำให้มีการกะพริบตาทั้งสองข้างพร้อมกัน กลไกนี้เกิดจากการเส้นประสาทเฟเชียลควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้ามัดหนึ่ง ชื่อว่ากล้ามเนื้อหลับตา[1] (Orbicularis oculi) ทำหน้าที่กะพริบตา

รูปประกอบเพิ่มเติม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลปรับปรุงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2544
  2. Kliniska Färdigheter: Informationsutbytet Mellan Patient Och Läkare, LINDGREN, STEFAN, ISBN 91-44-37271-X

แหล่งข้อมูลอื่น แก้