วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13

วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน) เป็นวุฒิสภาไทยที่มีที่มาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นชุดที่ 2 แต่เป็นชุดแรกที่ใช้กระบวนการได้มาตามมาตรา 107 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 ทำหน้าที่เป็นสภาสูงของรัฐสภาไทย

วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13
ชุดที่ 12 ชุดที่ 14
ห้องประชุมพระจันทรา สัปปายะสภาสถาน
ภาพรวม
สภานิติบัญญัติวุฒิสภา
เขตอำนาจประเทศไทย
ที่ประชุมสัปปายะสภาสถาน
วาระ10 กรกฎาคม 2567 (2567-07-10)[] – ปัจจุบัน
(0 ปี 72 วัน)
การเลือกตั้งการเลือกกันเอง
รัฐบาลคณะรัฐมนตรีเศรษฐา
(จนถึง 14 สิงหาคม 2567)
คณะรัฐมนตรีแพทองธาร
(ตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2567)
วุฒิสภา
สมาชิก200
ประธานมงคล สุระสัจจะ
รองประธานคนที่ 1พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์
รองประธานคนที่ 2บุญส่ง น้อยโสภณ
พรรคครอง  อิสระ (200)
สมัยประชุม
ที่ 123 กรกฎาคม 2567 –

วุฒิสภาชุดนี้มีสมาชิกจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของประชาชน 20 กลุ่มอาชีพ ผ่านการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ใน 3 ระดับ

ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ในการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) ซึ่งมีพลตํารวจโทยุทธนา ไทยภักดี สมาชิกที่อาวุโสสูงสุดทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราว ได้มีการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายกองเอก[1]มงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครองเป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นที่ 159 คะแนน[2] ในส่วนของตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ที่ประชุมมีมติเลือกพลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ด้วยคะแนนเสียง 150 เสียง[3] ก่อนจะมีการประท้วงให้นับคะแนนใหม่เนื่องจากอาจจะไม่โปร่งใส แต่สุดท้ายก็ยังเป็นพลเอกเกรียงไกรที่ได้รับคะแนนมาเป็นอันดับ 1 ทางด้านตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ที่ประชุมมีมติเลือกนายบุญส่ง น้อยโสภณ อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ด้วยคะแนนเสียง 167 เสียง

ที่มา

แก้

สมาชิกวุฒิสภาชุดนี้มีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของประชาชนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในกลุ่มต่าง ๆ จำนวน 20 กลุ่มอาชีพ ผ่านการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ใน 3 ระดับ คือ ระดับอำเภอ (เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567) ระดับจังหวัด (เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567) และระดับประเทศ (เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567) โดยในที่สุดจะได้ผู้ที่ได้รับเลือกกลุ่มละ 10 คน รวม 200 คน และอยู่ในบัญชีสำรองกลุ่มละ 5 คน รวม 100 คน รวมทั้ง 2 ส่วนเป็นกลุ่มละ 15 คน รวมทั้งหมด 300 คน[4]

ข้อวิจารณ์

แก้

"สว.สีน้ำเงิน"

แก้

ในกลุ่มสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกมานั้น มีกลุ่มหนึ่งที่ถูกกล่าวว่าเป็น สว.สีน้ำเงิน กล่าวคือ เป็น สว. กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคภูมิใจไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม[5] ทำให้เกิดความกังวลถึงความเป็นกลางในการทำหน้าที่ ต่อมา อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้แถลงกับสื่อมวลชนว่า ตนเชื่อว่าสีน้ำเงินในที่นี้ไม่ได้หมายถึงพรรคภูมิใจไทย เพราะสีน้ำเงินตีความไปได้หลายอย่าง เช่น ในธงชาติไทย หมายถึงพระมหากษัตริย์ ตนจึงไม่ทราบว่าใครที่บัญญัติเรื่องของ สว.สีน้ำเงิน แต่ยืนยันได้ว่า พรรคภูมิใจไทยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการเลือกตั้ง สว. เพราะถูกจำกัดและถูกห้ามโดยกฎหมายอยู่แล้ว[6]

ข้อมูลผู้สมัคร

แก้

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw - ไอลอว์) ได้มีการเปิดเผยถึงข้อมูลผู้สมัคร สว. ที่ผ่านการคัดเลือกนั้น มีจำนวนหนึ่งที่แนะนำตัวในใบสมัครไม่เกินสองบรรทัด 7 คน[7] ดังนี้

  • ปวีณา สาระรัมย์ สว.กลุ่มอาชีพทำนาและปลูกพืชล้มลุก ระบุอาชีพ เกษตรกรรม เขียนแนะนำตัวแค่ว่า "อาชีพของครอบครัวที่คุ้นเคยกัน คือ การทำนา โดยการเริ่มต้นการเรียนรู้จากพ่อแม่เคยพาทำนามา สมัยก่อนเราใช้แรงงานคนในการปักตำ สมัยนี้ใช้เครื่องจักร"
  • จตุพร เรียงเงิน สว.กลุ่มพนักงาน หรือลูกจ้างของบุคคล ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ระบุอาชีพ รับจ้าง เขียนแนะนำตัวว่า "วิ่งน้ำและรับจ้าง"
  • วรรษมนต์ คุณแสน สว.กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางขนาดย่อม ระบุอาชีพ ช่างเสริมสวย เขียนแนะนำตัวว่า "ทำอาชีพช่างเสริมสวยประสบการณ์มากกว่า 15 ปี"
  • ปราณีต เกรัมย์ สว.กลุ่มศิลปวัฒนธรรม ดนตรีการแสดง บันเทิง นักกีฬา ระบุอาชีพ รับจ้าง เขียนแนะตัวว่า “เป็นนักกีฬาฟุตบอล อาวุโส พ.ศ.2527-2547”
  • ศุภชัย กิตติภูติกุล สว.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ระบุอาชีพ ผู้สื่อข่าว เขียนแนะนำตัวว่า “ทำงานผู้สื่อข่ายไทยรัฐ 35 ปี”
  • คอดียะฮ์ ทรงงาม สว.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ระบุอาชีพ ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เขียนแนะนำตัวว่า “ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ อำเภอไชโย”
  • วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒน์ สว.กลุ่มอื่นๆ ระบุอาชีพ ค้าขาย เขียนแนะนำตัวว่า “เคยได้รับคัดเลือกเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่น ระดับจังหวัด สาขานมแม่ สายใยรักแห่งครอบครัว ปี 2554”

และยังพบว่า ประวัติการทำงานของผู้สมัครบางคนไม่สอดคล้องกับกลุ่มอาชีพที่สมัคร[8] เช่น

  • สมพาน พละศักดิ์ สว.กลุ่มผู้ประกอบการ เขียนแนะนำตัวว่า "ประกอบอาชีพค้าขายก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ" ซึ่งควรจะอยู่ในกลุ่มเอสเอ็มอี
  • แดง กองมา สว.กลุ่มผู้ประกอบการ เขียนแนะนำตัวว่า "ประกอบอาชีพขายหมูและร่วมพัฒนาตลาด" โดยมีเหตุผลเดียวกับสมพาน
  • ณรงค์ จิตราช สว.กลุ่มอุตสาหกรรม เขียนแนะนำตัวว่า "มีอาชีพพนักงานหน่วยงานเอกชน" ซึ่งควรจะอยู่ในกลุ่มลูกจ้างและผู้ใช้แรงงาน
  • ปุณณภา จินดาพงษ์ สว.กลุ่มอุตสาหกรรม เขียนแนะนำตัวว่า "เคยทำงานบริษัทสุรัตน์การสุรา เป็นตัวแทนขายสุรา และต่อมาได้ไปทำงานโรงโม่สุรัตน์การค้า ผลิตหิน ขายหิน" โดยมีเหตุผลเดียวกับณรงค์
  • ชาญชัย ไชยพิศ สว.กลุ่มประชาสังคม องค์กรสาธารณประโยชน์ ที่ระบุอาชีพ ข้าราชการบำนาญและแนะนำตัวว่า "รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนและนายกสมาคมผู้บริหารครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด ปี 2564-2566" ซึ่งไม่สอดคล้องกับกลุ่มที่ลงสมัคร
  • วิชิต สุขกำเนิด สว.กลุ่มป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง เขียนประวัติการทำงานว่า "เป็นผู้บริหารท้องถิ่น และเป็นผู้ใหญ่บ้าน" ซึ่งไม่สอดคล้องกับกลุ่มที่ลงสมัคร

นอกจากนี้ ผู้สมัคร สว. บางคนที่ได้รับเลือกมา ยังปิดบังประวัติหรือกรอกไม่ครบถ้วน เช่น คอดียะฮ์ ทรงงาม ผู้สมัคร สว.กลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม ซึ่งมีประวัติการทำงานหรือประสบการณ์ในกลุ่มที่สมัคร คือ ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน แต่ภายหลังพบว่ามีตำแหน่งที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง ทำให้ กกต. มีมติระงับสิทธิสมัครชั่วคราว (ใบส้ม) และให้ผู้สมัครลำดับที่ 11 เลื่อนตำแหน่งขึ้นมาแทน[9] นั่นคือ ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ ทว่าก็มีการรายงานเรื่องขาดคุณสมบัติของกรพด สืบเนื่องจากเคยต้องคำพิพากษาคดีขัดขวางทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน ขณะไปทำข่าวในพื้นที่บ้านเพ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561[10]

รวมถึง ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.เกศกมล เปลี่ยนสมัย ผู้สมัคร สว.กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอิสระ ที่ได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 ในรอบสุดท้ายของระดับประเทศ ยังถูกวิจารณ์ว่ามีประวัติการศึกษาเป็นเท็จ เนื่องจากระบุว่าตนจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก California University ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการสหรัฐ แต่ภายหลังการตรวจสอบ พบว่ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ทำหน้าที่เพียงประเมินวุฒิการศึกษาของคนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ และออกวุฒิบัตรเทียบเท่าให้เท่านั้น[11]

รายชื่อสมาชิก

แก้
รายนาม หมายเหตุ
การบริหารรัฐกิจ
พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์  
วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี  
มงคล สุระสัจจะ  
ธวัช สุระบาล  
วร หินดี  
พลเอก สวัสดิ์ ทัศนา  
พลโท สุกิจ ทั่งทอง  
อภิชาติ งามกมล  
พลตํารวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร  
อภินันท์ เผือกผ่อง  
กฏหมายและกระบวนการยุติธรรม
พลตำรวจโท บุญจันทร์ นวลสาย  
พลตำรวจตรี ฉัตรวรรษ แสงเพชร  
เศก จุลเกษร  
สืบศักดิ์ แววแก้ว  
พลตำรวจตรี สุนทร ขวัญเพ็ชร  
พันตำรวจโท สุริยา บาราสัน  
บุญส่ง น้อยโสภณ  
ฉลอง ทองนะ  
พลตำรวจตรี อังกร คล้ายคลึง  
พลตำรวจโท วันไชย เอกพรพิชญ์  
การศึกษา
ดร.อัษฎางค์ แสวงการ  
สมทบ ถีระพันธ์  
วิวัฒน์ รุ้งแก้ว  
สุเทพ สังข์วิเศษ  
โสภณ ผาสุข  
สามารถ รังสรรค์  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นิฟาริด ระเด่นอาหมัด  
ดร.สุทิน แก้วพนา  
ปริญญา วงษ์เชิดขวัญ  
ดร.กมล รอดคล้าย  
สาธารณสุข
นายแพทย์ ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล  
สมบูรณ์ หนูนวล  
บุญชอบ สระสมทรัพย์  
นงลักษณ์ ก้านเขียว  
ฤช แก้วลาย  
เพลินจิต ขันแก้ว  
วันชัย แข็งการเขตร  
นายแพทย์ เปรมศักดิ์ เพียยุระ  
วิธาวีร์ ประทุมสวัสดิ์  
นายแพทย์ วีระพันธ์ สุวรรณนามัย  
ชาวนาและเกษตรกรปลูกพืชล้มลุก
สมศักดิ์ จันทร์แก้ว  
อมร ศรีบุญนาค  
ปวีณา สาระรัมย์  
สมชาย นุ่มพูล  
พิมาย คงทัน  
สาลี สิงห์คำ  
เดชา นุตาลัย  
กัลยา ใหญ่ประสาน  
นิชาภา สุวรรณนาค  
ชูชาติ อินสว่าง  
ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง
เตชสิทธิ์ ชูแก้ว  
วิรัตน์ ธรรมบำรุง  
มาเรีย เผ่าประทาน  
ยะโก๊ป หีมละ  
นิสิทธิ์ ปนกลิ่น  
จรุณ กลิ่นตลบ  
ธนกร ถาวรชินโชติ  
โชติชัย บัวดิษ  
อิสระ บุญสองชั้น  
เศรณี อนิลบล  
ลูกจ้างและผู้ใช้แรงงาน
ชินโชติ แสงสังข์  
เข็มรัตน์ สุรเมธีมาณพ  
วิภาพร ทองโสด  
ประกาสิทธิ์ พลซา  
จตุพร เรียงเงิน  
สมพร วรรณชาติ  
ชวภณ วัธนเวคิน  
แล ดิลกวิทยรัตน์  
ปิยพัฒน์ สุภาวรรณ  
อมรศักดิ์ กิจธนานันท์  
สิ่งแวดล้อมและพลังงาน
จิระศักดิ์ ชูความดี  
ชีวะภาพ ชีวะธรรม  
สัมพันธ์ ชัยวิเศษจินดา  
ไพบูลย์ ณะบุตรจอม  
นิรัตน์ อยู่ภักดี  
อภิชา เศรษฐวราธร  
เกียรติชาย ไมตรีวงษ์  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล อินนา  
วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์  
ดร.ปฏิมา จีระแพทย์  
เอสเอ็มอี
นิพนธ์ เอกวานิช  
วรรษมนต์ คุณแสน  
พิชาญ พรศิริประทาน  
สุมิตรา จารุกำเนิดกนก  
สมศรี อุรามา  
เบ็ญจมาศ อภัยทอง  
ชัยธัช เพราะสุนทร  
มณีรัฐ เขมะวงค์  
ชญาน์นันท์ ติยะตระการชัย  
นรเศรษฐ์ ปรัชญากร  
ผู้ประกอบการ
โสภณ มะโนมะยา  
รูจิภาส มีกุศล  
พลตำรวจโท สง่า ส่งมหาชัย  
แดง กองมา  
สมพาน พละศักดิ์  
สุนทร เชาว์กิจค้า  
นิคม มากรุ่งแจ้ง  
สหพันธ์ รุ่งโรจนพณิชย์  
นิทัศน์ อารีย์วงศ์สกุล  
มังกร ศรีเจริญกูล  
การท่องเที่ยว
วุฒิชาติ กัลยาณมิตร  
กัมพล สุภาแพ่ง  
พิศจน์ รัตนวงศ์  
ภาวนา ว่องอมรนิธิ  
อัครวินท์ ขำขุด  
สุวิทย์ ขาวดี  
พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์  
ณภพ ลายวิเศษกุล  
ประทุม วงศ์สวัสดิ์  
กมล สุขคะสมบัติ  
อุตสาหกรรม
วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์  
ธารนี ปรีดาสันติ์  
รจนา เพิ่มพูล  
ปุณณภา จินดาพงษ์  
พละวัต ตันศิริ  
ณรงค์ จิตราช  
วีรยุทธ สร้อยทอง  
ธนชัย แซ่จึง  
พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต  
ตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์  
วิทยาศาสตร์
ว่าที่พันตรี สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม  
พรเพิ่ม ทองศรี  
ธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์  
กัมพล ทองชิว  
สุพัตรชัย เตียวเจริญโสภา  
ขวัญชัย แสนหิรัณย์  
นพดล พริ้งสกุล  
ชาญวิศว์ บรรจงการ  
ดร.มานะ มหาสุวีระชัย  
นาวาตรี วุฒิพงศ์ พงศ์สุวรรณ  
สตรี
มยุรี โพธิแสน  
เจียระนัย ตั้งกีรติ  
จารุณี ฤกษ์ปราณี  
อัจฉรพรรณ หอมรส  
อจลา ณ ระนอง  
จุฑารัตน์ นิลเปรม  
กานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์  
พันเอกหญิง ธณตศกร บุราคม  
ณัฏฐินีภรณ์ จันทรโณทัย  
วาสนา ยศสอน  
ผู้สูงอายุ คนพิการและกลุ่มชาติพันธุ์
กฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ  
กิตติพันธ์ อนันตกุลจิรโชติ  
ประเทือง มนตรี  
นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล  
สมดุลย์ บุญไชย  
สมหมาย ศรีจันทร์  
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์  
ยุคล ชนะวัฒน์ปัญญา  
ธนภัทร ตวงวิไล  
ศรายุทธ ยิ้มยวน  
ศิลปะ วัฒนธรรม และนักกีฬา
วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล  
สุวัช จำปานนท์  
นฤพล สุคนธชาติ  
พิบูลย์อัฑฒ์ หฤหรรษ์ประการ  
วิเชียร ชัยสถาพร  
ปราณีต เกรัมย์  
รัชนีกร ทองทิพย์  
อะมัด อายุเคน  
ชวพล วัฒนพรมงคล  
เอมอร ศรีกงพาน  
ประชาสังคม
นิรุตติ สุทธินนท์  
ประไม หอมเทียม  
ชาญชัย ไชยพิศ  
สากล ภูลศิริกุล  
ภาณุพงษ์ เต็งวงษ์วัฒนะ  
สายฝน กองแก้ว  
ศุภโชค ศาลากิจ  
ประภาส ปิ่นตบแต่ง  
อังคณา นีละไพจิตร  
ประหยัด จตุพรพิทักษ์กุล  
การสื่อสารมวลชน
สุทนต์ กล้าการขาย  
ไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล  
สุพรรณ์ ศรชัย  
คอดียะฮ์ ทรงงาม   ถูกระงับสิทธิ์ชั่วคราว[12]
ศุภชัย กิตติภูติกุล  
อารีย์ บรรจงธุระการ  
จำลอง อนันตสุข  
ชิบ จิตนิยม  
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา นันทวโรภาส  
เทวฤทธิ์ มณีฉาย  
ว่าที่พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์   ได้รับเลื่อนแทนคอดียะฮ์
ผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอิสระ
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ดร.เกศกมล เปลี่ยนสมัย  
ขจรศักดิ์ ศรีวิราช  
สิทธิกร ธงยศ  
โชคชัย กิตติธเนศวร  
กิติศักดิ์ หมื่นศรี  
เอนก วีระพจนานันท์  
สมชาย เล่งหลัก  
นวลนิจ หงษ์วิวัฒน์  
พรชัย วิทยเลิศพันธุ์  
สุนทร พฤกษพิพัฒน์  
อื่น ๆ
พลตํารวจโท ยุทธนา ไทยภักดี  
วิรัตน์ รักษ์พันธ์  
อลงกต วรกี  
ณัฐกิตติ์ หนูรอด  
ภมร เชาว์ศิริกุล  
พันตำรวจเอก กอบ อัจนากิตติ  
ชูชีพ เอื้อการณ์  
วราวุธ ตีระนนทน์  
วลีรักษ์ พัชรเมธาพัฒนา  
เอกชัย เรืองรัตน์  

รายชื่อสำรอง

แก้

กลุ่มที่ 1 การบริหารรัฐกิจ

  1. พลตำรวจเอก ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล
  2. ภิญโญ ประกอบผล
  3. พันเอก ไพบูลย์ พัสดร
  4. พลเอก นุชิต ศรีบุญส่ง
  5. สมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ

กลุ่มที่ 2 กฏหมายและกระบวนการยุติธรรม

  1. อุลิช ดิษฐปราณีต
  2. พลตำรวจโท คำรบ ปัญญาแก้ว
  3. ชำนาญพัฒน์ หาญแก้ว
  4. พงศกรณ์ ตั้งกิตติ์ตระกูล
  5. วิยะดา มุ่งผล

กลุ่มที่ 3 การศึกษา

  1. อรทัย มูลคำ
  2. จิตรา พีชะพัฒน์
  3. ธนชน มุทาพร
  4. บุญรักษ์ ยอดเพชร
  5. สมจิต สุวรรณบุษย์

กลุ่มที่ 4 สาธารณสุข

  1. ชัยรัตน์ ธรรมสุภาพงศ์
  2. ประชา กัญญาประสิทธิ์
  3. ศรินทร สนธิศิริกฤตย์
  4. สุชาติ เอื้อพันธุ์พงศ์
  5. ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย

กลุ่มที่ 5 ชาวนาและเกษตรกรปลูกพืชล้มลุก

  1. ทรงพล พูลสวัสดิ์
  2. มนัส ไหวพริบ
  3. ณัฐนันท์ ทองดีวงศ์
  4. โกเมท เกิดสมบัติ
  5. ธนกฤติ ทองเต็ม

กลุ่มที่ 6 ป่าไม้ ปศุสัตว์ และประมง

  1. สมศักดิ์ คงเทศ
  2. สง่า มังคละ
  3. นำศักดิ์ อุทัยศรีสม
  4. วิถี สุพิทักษ์
  5. ตรีพล เจาะจิตต์

กลุ่มที่ 7 ลูกจ้างและผู้ใช้แรงงาน

  1. ร่มไทร ทิพยเศวต
  2. อุทัย อัตถาพร
  3. ศรีไพร นนทรีย์
  4. จารุดล เขมิการัศมีกุล
  5. ภัทรพล เพชรพรหม

กลุ่มที่ 8 สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

  1. ไตรวินิจ ตู้จินดา
  2. เพียรพร ดีเทศน์
  3. ปัญญา โตกทอง
  4. ดิเรก เหมนคร
  5. โองการ ยาสิงห์ทอง

กลุ่มที่ 9 เอสเอ็มอี

  1. สมชาย สาโรวาท
  2. สุจิตรา ผาลีพัฒน์
  3. ชัยณรงค์ เยาวลักษณ์
  4. อารักษ์ พลอยพานิชย์
  5. ธนาธิป พรหมชื่น

กลุ่มที่ 10 ผู้ประกอบการ

  1. ภิญโญ ขันติยู
  2. สามารถ รัตนประทีปพร
  3. สิบเอก อัครวัฒน์ พงศ์ธนาชลิตกุล
  4. ฉัฐสุภา พงษ์เสนา
  5. ปฏิมา เหล่าชัย

กลุ่มที่ 11 การท่องเที่ยว

  1. ชโลมใจ ชยพันธนาการ
  2. กฤษฏนันต์ ทองวิภาวรรณ์
  3. ธัญญะ พูลสวัสดิ์
  4. พันธ์เลิศ ใบหยก
  5. สริญทิพญ ทัพมงคลทรัพย์

กลุ่มที่ 12 อุตสาหกรรม

  1. สาโรจน์ สุวรรณวงศ์
  2. ชัชชัย ชินธรรมมิตร
  3. รังสรรค์ สบายเมือง
  4. นิพนธ์ จริยะนรวิชช์
  5. วิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล

กลุ่มที่ 13 วิทยาศาสตร์

  1. ศิริวรรณ คูอัมพร
  2. พันตรี นฤต รัตนพิเชฏฐชัย
  3. ธนวัฒน์ ศรีสุข
  4. ศรีเมือง เจริญศิริ
  5. นันทวัฒน์ จรัสโรจน์ธนเดช

กลุ่มที่ 14 สตรี

  1. นฤมล ปิติทานันท์
  2. ณฐมน ชื่นดวง
  3. พานิช แต้กิจพัฒนา
  4. รุ่งนภา พุฒแก้ว
  5. พรรณรัตน์ จงอมรรัตน์

กลุ่มที่ 15 ผู้สูงอายุ คนพิการและกลุ่มชาติพันธุ์

  1. ชูเกียรติ สิงห์สูง
  2. ปิยวิทย์ โกฏเพชร
  3. ขวัญชัย บุญเพ็ชร
  4. อานันท์ รองพล
  5. วีระ เขนย

กลุ่มที่ 16 ศิลปะ วัฒนธรรม และนักกีฬา

  1. พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร
  2. ณพลเดช มณีลังกา
  3. ณภัทร โชติพฤกษ์ชูกุล
  4. ศุภชัย มั่นใจตน
  5. ปัญญา หาญลำยวง

กลุ่มที่ 17 ประชาสังคม

  1. พลเอก สุรชาติ จิตต์แจ้ง
  2. นุชนารถ แท่นทอง
  3. สงบ จินะแปง
  4. ษิทรา เบี้ยบังเกิด
  5. ธัชพงศ์ แกดำ

กลุ่มที่ 18 การสื่อสารมวลชน

  1. ภิญญาพัชญ์ ศันสนียชีวิน
  2. ประทีป คงสิบ
  3. วราภรณ์ คัตตะพันธ์
  4. สฤษดิ์ ไพรทอง

กลุ่มที่ 19 ผู้ประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอิสระ

  1. ธณัชญ์พงศ์ วงศ์มุลาลี
  2. ธีระศักดิ์ อรัญพิทักษ์
  3. แดน ปรีชา
  4. ธนากร แหวกวารี
  5. สุรชัย พรจินดาโชติ

กลุ่มที่ 20 อื่น ๆ

  1. ปภัชเดช เกตุพันธ์
  2. ภัทราภรณ์ คิดซ้าย
  3. ชนัดดา สงพัฒน์แก้ว
  4. สุชพงศ์ บุญเสริม
  5. ดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์

ผู้ดำรงตำแหน่ง

แก้
 
ทำเนียบประธานวุฒิสภา ชุดที่ 13
House of the President of the 13th senate.
มงคล สุระสัจจะ
ประธานวุฒิสภา
พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์
รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1
บุญส่ง น้อยโสภณ
รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2
วุฒิสภาไทย ชุดที่ 13

การลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง

แก้
ตำแหน่ง ชื่อ คะแนนเสียง
ประธานวุฒิสภา มงคล สุระสัจจะ 159
นันทนา นันทวโรภาส 19
เปรมศักดิ์ เพียยุระ 13
งดออกเสียง
4
บัตรเสีย
5
รวม
200
รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง พลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ 150
นพดล อินนา 27
แล ดิลกวิทยรัตน์ 15
ปฏิมา จีระแพทย์ 5
งดออกเสียง
1
บัตรเสีย
2
รวม
200
รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง บุญส่ง น้อยโสภณ 167
อังคณา นีละไพจิตร 18
พงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต 8
ปฏิมา จีระแพทย์ 4
งดออกเสียง
2
บัตรเสีย
0
รวม
199

คณะกรรมาธิการ

แก้

คณะกรรมาธิการสามัญ

แก้
ชื่อ ประธาน
คณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมลํ้า
คณะกรรมาธิการการกีฬา
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ธวัช สุระบาล
คณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิชาติ กัลยาณมิตร
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง กัมพล สุภาแพ่ง
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ นิรัตน์ อยู่ภักดี
คณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ พลเอก สวัสดิ์ ทัศนา
คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
คณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น อภิชาติ งามกมล
คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน พลตำรวจโท ยุทธนา ไทยภักดี
คณะกรรมาธิการการพลังงาน พรเพิ่ม ทองศรี
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน
คณะกรรมาธิการการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วราภัสร์ ไพพรรณรัตน์
คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ พลตำรวจโท บุญจันทร์ นวลสาย
คณะกรรมาธิการแรงงาน ชินโชติ แสงสังข์
คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กมล รอดคล้าย
คณะกรรมาธิการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม นิเวศน์ เจริญพันธุ์วรกุล
คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม เอมอร ศรีกงพาน
คณะกรรมาธิการการศึกษา
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
คณะกรรมาธิการการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พลตำรวจตรี ฉัตรวรรษ แสงเพชร
คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชีวภาพ ชีวธรรม
คณะกรรมาธิการการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
คณะกรรมาธิการการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค
คณะกรรมาธิการการติดตามการบริหารงบประมาณ อลงกต วรกี
คณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

คณะกรรมาธิการวิสามัญ

แก้
ชื่อ ประธาน
คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา

หมายเหตุ

แก้
  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 109 ระบุว่า "สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือก"

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๔, ๒ กันยายน ๒๕๔๘
  2. ""มงคล สุระสัจจะ"ผงาดนั่ง "ประธานวุฒิสภา" คนใหม่ ด้วยมติสว.ท่วมท้น 159 คะแนน". ฐานเศรษฐกิจ.
  3. "เกรียงไกร นั่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ตามโผ ส.ว.สีน้ำเงินโหวตเป๊ะ 150 เสียง รวดเดียวจบ". มติชน.
  4. "สมัคร สว. ชุดใหม่ ใครกลุ่มไหนใน 20 กลุ่ม". เดอะสแตนดาร์ด. 19 มีนาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "สว. 67 : ใครเป็นใคร ที่ถูกเรียกชื่อให้ว่า 'สว. สีน้ำเงิน'". เดอะสแตนดาร์ด. 2024-07-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ""อนุทิน" ยืนยัน "ภูมิใจไทย" ไม่เกี่ยวข้อง เลือก สว.สีน้ำเงิน ตีความได้หลายอย่าง". ไทยรัฐ. 2024-07-06.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "สว.67: เปิดข้อมูล-ข้อสังเกต 'สว.สีน้ำเงิน' สายบุรีรัมย์-อ่างทอง". iLaw. 2024-06-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "สว.67 : กกต. ต้องตรวจสอบผู้ได้รับเลือกที่อาจขาดคุณสมบัติ -สมัครไม่ตรงกลุ่ม". iLaw. 2024-07-08.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "มติ กกต.ประกาศรับรอง 200 สว. บัญชีสำรอง 99 คน แขวนชื่อกลุ่มสื่อฯ". พีพีทีวี. 2024-07-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "กกต. สั่งสอบ "กรพด" ส.ว.กลุ่ม 18 เข้าข่ายขาดคุณสมบัติ". mgronline.com. 2024-07-22.
  11. "เปิดประวัติ "หมอเกศ" สว.ใหม่ ผจญดราม่า ปมวุฒิการศึกษาจาก ม.ไม่ได้มีการสอน". ไทยรัฐ. 12 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "รับรอง 200 สว. สอยร่วง 1 คน คอดียะฮ์ ทรงงาม เสียงตามสายหมู่บ้านแห้ว". อมรินทร์ทีวี. 2024-07-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้