ป่า หมายถึง ที่รกด้วยต้นไม้ต่าง ๆ ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มากก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า ป่าสน ป่าโกงกาง ฯลฯ หรือสมัยโบราณคำว่า ป่า อาจจะหมายถึงคำเรียกตําบลที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว เป็นต้น หรือเช่น คำว่า "ป่าคอนกรีต" ในสมัยปัจจุบันที่เปรียบเปรยเมืองที่มีตึกมีอาคารคอนกรีตตั้งอยู่เป็นจำนวนมากเช่นในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

ป่า

ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ประเภทของป่า แก้

ในประเทศไทยเราสามารถแบ่งประเภทของป่าออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันได้แก่

  • ป่าไม่ผลัดใบ (evergreen forest) ป่าประเภทนี้มีประมาณ 30% ของเนื้อที่ป่าทั้งประเทศ สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 4 ชนิด ดังนี้
  • ป่าผลัดใบ (deciduous forest) แบ่งได้ 4 ชนิด คือ
    • ป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous forest)
    • ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง (deciduous dipterocarp forest)
    • ป่าหญ้า (savanna forest)

ป่าที่มีใบตลอดปี แก้

ลักษณะของป่าดงดิบทั่วไป มักเป็นป่าทึบ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ชั้นบนซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ตระกูลยาง (Dipterocarpaceae) มักมีลำต้นสูงตั้งแต่ 30 ถึง 50 เมตร และมีขนาดใหญ่มาก ถัดลงมาก็เป็นต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งสามารถขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ได้ รวมทั้งต้นไม้ในตระกูลปาล์ม (Palmaceae) ชนิดต่าง ๆ พื้นป่ามักรกทึบ และประกอบด้วยไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ระกำ หวาย ไม้ไผ่ต่าง ๆ บนลำต้นมีพันธุ์ไม้จำพวก epiphytes เช่น พวกเฟิร์น และมอส ขึ้นอยู่ทั่วไป เถาวัลย์ในป่าชนิดนี้มากกว่าในป่าชนิดอื่น ๆ ไม้พื้นล่าง (undergrowth) ที่มีในป่าชนิดนี้มี ไม้ไผ่ (bamboo) หลายชนิด เช่น ไม้ฮก (Dendrocalamus brandisii Kurz.) ไม้เฮี้ย (Cephalostachyum virgatum Kurz.) ไม้ไร่เครือ ไม้ไผ่คลาน (Dinochloa macllelandi Labill.) เป็นต้น นอกจากนั้นก็มีไม้ในตระกูลปาล์มต่าง ๆ เช่น ต๋าวหรือลูกชิด (Arenga pinnata Merr.) เต่าร้าง (Caryota urens Linn.) และค้อ (Livistona speciosa Kurz.) เป็นต้น รวมทั้งเฟินหรือกูด เฟินต้นและหวาย (Calamus spp.)

ป่าดิบเมืองร้อน แก้

เป็นป่าไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ดินมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ขึ้นอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือไปถึงภาคใต้ ป่าดิบเมืองร้อนจะเกิดขึ้นได้ต้องมีสภาพภูมิอากาศ ค่อนข้างชื้นและฝนตกชุก ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมอย่างมาก แบ่งย่อยตามสภาพความชุ่มชื้นและความสูงต่ำของภูมิประเทศ ได้ดังนี้

ป่าดิบชื้น แก้

 
ป่าดิบชื้น

ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest) มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และมากที่สุดแถบชายฝั่งภาคตะวันออก เช่น ระยอง จันทบุรี และที่ภาคใต้ กระจัดกระจาย ตามความสูงตั้งแต่ 0–100 เมตรจากระดับน้ำทะเลซึ่งมีปริมาณน้ำฝนตกมากกว่าภาคอื่น ๆ ลักษณะทั่วไปมักเป็นป่ารกทึบ ประกอบด้วยพันธุ์ไม้มากมายหลายร้อยชนิด ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นวงศ์ยาง ไม้ตะเคียน กะบาก อบเชย จำปาป่า ส่วนที่เป็นพืชชั้นล่างจะเป็นพวกปาล์ม ไผ่ ระกำ หวาย บุกขอน เฟิร์น มอส กล้วยไม้ป่าและ เถาวัลย์ชนิดต่าง ๆ

ป่าดิบแล้ง แก้

ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000–1,500 ม.ม. พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง มะค่าโมง เป็นต้น พื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียน

ป่าดิบเขา แก้

ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) เป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ และบางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่ อช.ทุ่งแสลงหลวง และ อช.น้ำหนาว เป็นต้น มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 ถึง2,000 ม. พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ เช่น ก่อสีเสียด ก่อตาหมูน้อย อบเชย มีป่าเบญจพรรณด้วย เป็นต้น บางทีก็มีสนเขาขึ้นปะปนอยู่ด้วย ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟิร์น กล้วยไม้ดิน มอสส์ต่าง ๆ ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร

ป่าสน แก้

ป่าสน (Coniferous Forest) มีกระจายอยู่เป็นหย่อม ๆ ตามภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เพชรบูรณ์ และที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดเลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี มีอยู่ตามที่เขาและที่ราบบางแห่งที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนมักขึ้นในที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น สันเขาที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ประเทศไทยมีสนเขาเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือสนสองใบและสนสามใบ และพวกก่อต่าง ๆ ขึ้นปะปนอยู่ พืชชั้นล่างมีพวกหญ้าต่าง ๆ

ป่าพรุ แก้

ป่าพรุ (Firm Forest, Peat Swamp Forest) เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลน โดยอาจจะเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่ไม่สลายตัว และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะตลอดปี จากรายงานของกองสำรวจดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2525) พื้นที่ที่เป็นพรุพบในจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ นราธิวาส 283,350 ไร่ นครศรีธรรมราช 76,875 ไร่ ชุมพร 16,900 ไร่ สงขลา 5,545 ไร่ พัทลุง 2,786 ไร่ ปัตตานี 1,127 ไร่ และตราด 11,980 ไร่ ส่วนจังหวัดที่พบเล็กน้อย ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรังกระบี่ สตูล ระยอง จันทบุรี เชียงใหม่ (อ.พร้าว) และจังหวัดชายทะเลอื่น ๆ รวมเป็นพื้นที่ 400,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายระบายน้ำออกเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นสวนมะพร้าว นาข้าว และบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา คงเหลือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในจังหวัดนราธิวาสเท่านั้น คือ พรุโต๊ะแดง ซึ่งยังคงเป็นป่าพรุสมบูรณ์ และพรุบาเจาะ ซึ่งเป็นพรุเสื่อมสภาพแล้ว (ธวัชชัย และชวลิต, 2528) แบ่งเป็นย่อย ๆ ได้ 2 ชนิดคือ

ป่าชายเลน แก้

ป่าชายเลน (Mangrove Swamp Forest) ป่าชนิดนี้จะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำทะเลท่วมถึง เช่น ตามชายฝั่งตะวันตก ตั้งแต่ระนองถึงสตูลแถบอ่าวไทยตั้งแต่สมุทรสงครามถึงตราด และจากประจวบคีรีขันธ์ลงไปถึงนราธิวาส พันธุ์ไม้ที่สำคัญเช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ แสม ตะบูนขาว ลำพู โพทะเล เป็นต้น

ป่าชายหาด แก้

ป่าชายหาด (Beach Forest) เป็นลักษณะของป่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบขึ้นอยู่ตามบริเวณหาดชายหรือเนินทรายริมทะเล หรือชายฝั่ง เป็นป่าที่มีขนาดเล็กเกิดขึ้นด้านหลังของสันทรายตามแนวชายฝั่ง น้ำทะเลท่วมไม่ถึง สภาพดินเป็นดินทรายและมีความเค็มสูง เป็นป่าที่มีความแตกต่างจากป่าทั่ว ๆ ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน คือ ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ สภาพโดยทั่วไปแห้งแล้ง ใบไม้ในป่าจะเป็นลักษณะหงิกงอ แต่นี่คือลักษณะของป่าชายหาดที่สมบูรณ์

ป่าชายหาดเป็นป่าที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสลม, กระแสคลื่น รวมถึงไอเค็มจากทะเล, แสงแดดร้อนจัด, สภาพความชื้นสุดขั้วทั้งชื้นจัด, ชื้นน้อย และชื้นปานกลาง ระบบนิเวศจึงประกอบด้วยเนินทรายหรือหาดทรายและมีพืชประเภท ไม้เถาหรือไม้เลื้อย, ไม้พุ่ม และไม้ยืนต้นที่มีลำต้นคดงอ และมีความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออยู่ห่างจากชายหาดออกไป ไม้ที่เป็นประเภทหญ้าหรือไม้เลื้อยได้แก่ หญ้าลิงลม, ผักบุ้งทะเล, หญ้าทะเล, เตย ซึ่งรากของไม้เหล่านี้จะช่วยในการยึดเกาะพื้นทรายทำให้พื้นทรายมีความแน่นหนาแข็งแรงมากขึ้น เพื่อที่จะให้รากของไม้ที่ใหญ่กว่า เช่น ไม้พุ่มได้เกาะต่อไป ประเภทของไม้พุ่ม ได้แก่ เทียนทะเล, รักทะเล, ปอทะเล, เสมา, ซิงซี่, หนามหัน, กำจาย ขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ช่วยบังลมทะเลเป็นปราการให้แก่ไม้ชนิดที่ไม่สามารถทนเค็มได้ ประเภทของไม้ยืนต้น เช่น กระทิง, หูกวาง, โพทะเล, ตีนเป็ดทะเล, หยีน้ำ, มะนาวผี, ข่อย แต่ลำต้นไม่สูงมากนัก ใบมีความหงิกงอตามกระแสลม เรือนยอดอยู่ติดกัน และมักมีหนามแหลม บางพื้นที่อาจมีไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เช่น ยางนา หรือตะเคียน ขึ้นอยู่ด้วยก็ได้

สิ่งมีชีวิตในป่าชายเลน แก้

สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามพื้นป่าโดยอาศัยคืบคลานหรือเกาะหรือขุดรูอยู่ตามพื้นดินรวมทั้งพวกที่อยู่ในน้ำจะต้องมีการปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอด เนื่องจากต้องประสบกับสภาวะต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำหรือต้องอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยทั่วไป เช่น สภาวะที่ทำให้มีการสูญเสียน้ำออกจากลำตัวและสภาพอุณหภูมิสูงสภาพที่มีปริมาณออกซิเจนค่อนข้างต่ำของดินเลน และการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำ สภาพแวดล้อมทางทะเล ป่าชายเลนเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสัตว์น้ำและสัตว์บกนานาชนิด นับตั้งแต่สัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ ตั้งแต่ ฟองน้ำ ซีเลนเตอเรท หนอนตัวแบน หนอนปล้องหอยหมึก กุ้ง กั้ง ปูตลอดจนสัตว์มีกระดูกสัน หลังจำพวก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน นก และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ต่างๆเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อ ระบบนิเวศทะเล เป็นอย่างยิ่งและที่สำคัญที่สุดคือการที่เราจะอณุรักษ์ป่าไม้

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดป่าไม้ แก้

การที่ป่าไม้ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันนั้นมีอิทธิพลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

  • แสงสว่าง (Light)
  • อุณหภูมิ (Temperature)
  • สภาพภูมิอากาศ (Climate)
  • ความชื้นในบรรยากาศ (Atmospheric Moisture)
  • ปริมาณน้ำฝน (Rainfall)
  • สภาพภูมิประเทศ (Topographic conditions)
  • สภาพของดิน (Soil)
  • สิ่งมีชีวิต (Living organisms)

ความสำคัญและประโยชน์ของป่าไม้ แก้

  1. เป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของวัฏจักรชีวิต
  2. ป่าช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ
  3. ช่วยปรับสภาพบรรยากาศ
  4. ป่าไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
  5. ป่าไม้เป็นแหล่งปัจจัยสี่ ป่าไม้เป็นแหล่งผลิต/ผู้ผลิต
  6. เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
  7. เป็นแนวป้องกันลมพายุ
  8. ช่วยลดมลพิษทางอากาศ

การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ แก้

ตลอดเวลา 30 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าการสูญเสียพื้นที่ป่าหรือพื้นที่ป่าไม้เสื่อมโทรมลง สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การทำไม้ ความต้องการไม้เพื่อกิจการต่าง ๆ ขาดระบบการควบคุมที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมุ่งแต่ตัวเลขปริมาตรที่จะทำออก โดยไม่ระวังดูแลพื้นที่ป่า ไม่ติดตามผลการปลูกป่าทดแทน
  • การเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ ทำให้ความต้องการจากภาคเกษตรกรรมมากขึ้น ความจำเป็นที่ต้องการขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น พื้นที่ป่าไม้ในเขตภูเขาจึงเป็นเป้าหมายของการขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก
  • การส่งเสริมการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการส่งออก ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกด้วยการบุกรุกป่าเพิ่มมากขึ้น
  • การกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่า กระทำไม่ชัดเจนหรือไม่กระทำเลยในหลาย ๆ ป่า การบุกรุกพื้นที่ป่าก็ดำเนินไปเรื่อยๆ กว่าจะรู้แพ้รู้ชนะป่าก็หมดสภาพไปแล้ว
  • การจัดสร้างสาธารณูปโภคของรัฐ อาทิ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เส้นทางคมนาคม การสร้างเขื่อนขวางลำน้ำจะทำให้สูญเสียพื้นป่า บริเวณที่เก็บน้ำเหนือเขื่อน
  • การทำเหมืองแร่ แหล่งแร่ที่พบในบริเวณที่มีป่าไม้ปกคลุมอยู่ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดหน้าดินก่อน จึงทำให้ป่าไม้ที่ขึ้นปกคลุมถูกทำลายลง
  • ไฟไหม้ป่า

ผลกระทบของการทำลายป่าไม้ แก้

ทรัพยากรดิน แก้

  • การชะล้างพังทลายของดิน ปกติพืชพรรณต่างๆ มีบทบาทในการช่วยสกัดกั้นไม่ให้ฝนตกถึงดินโดยตรง ความต้านทานการไหลบ่าของน้ำ ช่วยลดความเร็วของน้ำที่จะพัดพาหน้า ดินไป มีส่วนของรากช่วยยึดเหนี่ยวดินไว้ ทำให้เกิดความคงทนต่อการพังทลายมากยิ่งขึ้น แต่หากพื้นที่ว่างเปล่าอัตราการ พังทลายของดินจะเกิดรุนแรง การสูญเสียดินจะเพิ่มขึ้น
  • ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ บริเวณพื้นดินที่ไม่มีวัชพืชหรือป่าไม้ปกคลุม การพัดพาดินโดยฝนหรือลมจะเกิดขึ้น ได้มาก โดยเฉพาะบริเวณผิวหน้าดิน

ทรัพยากรน้ำ แก้

  • ความแห้งแล้งในฤดูแล้ง การแผ้วถางทำลายป่าต้นน้ำเป็นบริเวณกว้าง ทำให้พื้นที่ป่าไม้ไม่ติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ ทำให้เกิดการระเหยของน้ำจากผิวดินสูง แต่การซึมน้ำผ่านผิวดินต่ำ ดินดูดซับและเก็บน้ำภายในดินน้อยลง ทำให้น้ำหล่อ เลี้ยงลำธารมีน้อยหรือไม่มี
  • คุณภาพน้ำเสื่อมลง คุณภาพน้ำทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพล้วนด้อยลง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง หรือทำลายพื้นที่ป่า การปนเปื้อนของดินตะกอนที่น้ำพัดพาด้วยการไหลบ่าผ่านผิวหน้าดินหรือในรูปแบบอื่น ๆ นอกจากนี้ การปราบวัชพืชหรืออินทรีย์ต่างๆ ที่อยู่ในแนวทางเดินของน้ำ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและสร้างความสกปรกต่อน้ำได้ ไม่มากก็น้อย
  • น้ำเสีย การปลดปล่อยของเสียหรือน้ำเสียลงสู่ลำน้ำสาธารณะ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียโดยเฉพาะลำห้วย ลำธาร ที่น้ำไหลช้าบริเวณที่ราบ สิ่งมีชีวิตในน้ำตายและสูญพันธุ์ ขาดน้ำดิบทำการประปา

อากาศ แก้

  • อากาศเสีย การหายใจของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา หากมีต้นไม้จำนวนมากหรือพื้นที่ป่ามากพอ ต้นไม้เหล่านี้จะดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในตอนกลางวันเพื่อการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์จะดูดซับไว้โดยพืชชั้นสูงเหล่านี้ อากาศเสียก็จะไม่เกิดขึ้น
  • โลกร้อน หรือเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house Effect) ก๊าซเหล่านี้ยอมให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ผ่านลงมายังพื้นโลกได้ ทำให้สามารถเก็บความร้อนจากการดูดซับรังสีไว้มากขึ้นโลกจึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น กลุ่มก๊าซที่รวมตัวกันเป็นเกราะกำบัง ได้แก่ แก๊สมีเทน ไนตรัสออกไซด์ คลอโรฟลูออโรคาร์บอน คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และที่สำคัญคือ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีมากที่สุด
  • ทั้งหมดที่กล่าวมานี้นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยนั้นได้กล่าวว่า"การที่โลกมีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เยอะนั้นไม่ได้มีแต่จะทำให้โลกร้อนอย่างเดียวแต่ยังมีประโยชน์ ถ้าเราปลูกต้นไม้ให้มันเยอะๆก็ดีแต่ต้นไม้มันก็ต้องมีใบที่เหี่ยวแห้งร่วงหล่น ซึ่งเมื่อใบไม้ที่เหี่ยวปห้งร่วงหล่นมาสู่พื้นดินแล้วทับถมกันไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดแก๊สมีเทนซึ่งจะส่งผลเสียแต่อย่างเดียว เพราะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ยังมีประโยชน์ทางอ้อมอีกคือ เมื่อแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลอยขึ้นเหนือฟ้ามันก็ยังช่วยบังแสงอาทิตย์เพื่อไม่ให้โลกร้อนเช่นเดียวกับฝุ่นละอองต่าง ๆ"*

การอนุรักษ์ป่าไม้ แก้

การอนุรักษ์ป่าไม้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวกระทำได้ดังนี้

  • ป่าเพื่อการอนุรักษ์ กำหนดไว้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่หายาก และป้องกันภัยธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษา การวิจัย และนันทนาการของประชาชนในอัตราร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 80 ล้านไร่
  • ป่าเพื่อเศรษฐกิจ กำหนดไว้เพื่อการผลิตไม้และของป่า เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ ในอัตราร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 48 ล้านไร่

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้