ฟรีแลนซ์ (อังกฤษ: freelance) หรือ ฟรีแลนเซอร์ (อังกฤษ: feelancer) คือ ผู้ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระ ที่ไม่ขึ้นตรงต่อหน่วยงาน หรือองค์กร หรือบริษัทใด ๆ พนักงานฟรีแลนซ์จะต้องจัดตารางเวลาการทำงานของตนเอง การรับเงินจากนายจ้าง ก็จะเป็นลักษณะใดก็แล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความพึงพอใจของทั้งฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง

ในปัจจุบัน พนักงานบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้รักอิสระ หันมารับจ้างเป็นฟรีแลนซ์มากกว่า 20%[ต้องการอ้างอิง] เนื่องจากความชอบส่วนตัวในการใช้ชีวิต หรือลักษณะการทำงานของผู้จ้าง ซึ่งการทำงานของผู้จ้างจะแตกต่างกันไป

งานนอก งานราษฎร์ หรือ งานฝิ่น เป็นคำศัพท์ยอดนิยม ที่ใช้เรียกลักษณะงานที่รับมาทำเพิ่ม สำหรับผู้ที่มีความผูกมัดกับองค์กรใดองค์กรหนึ่งอยู่แล้ว คนส่วนใหญ่นั้นแบ่งเวลาทำงานลักษณะนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก อาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสุขภาพขึ้นได้ เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเครียดกับงานมากมายหลายชนิดจนเกินไป

ข้อเสียของฟรีแลนซ์ คือ งานที่ไม่แน่นอนและไม่มั่นคง รวมถึงรายได้ที่ไม่แน่นอนตามมา และจะถูกโกงจากคนจ้างง่าย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการขาดผลประโยชน์ที่ได้จากการทำงานบริษัทหรือหน่วยงาน เช่น สวัสดิการ หรือ บำนาญ ด้วย

ข้อดีของฟรีแลนซ์ คือ สามารถเลือกงานและองค์กรที่อยากทำได้ และได้ใช้ความสามารถรอบด้าน ได้เรียนรู้และรู้จักคนใหม่ ๆ อยู่ตลอด ค่าจ้างจะสูงกว่าเพราะบางทีเป็นงานร้อนต้องการคนที่ปิดงานได้ไวเวลาเร่งด่วน มีอิสระ สามารถรับงานได้หลายงานถ้าทำไหว หรือมีชื่อเสียงรายได้จะดีกว่าทำงานประจำมาก สามารถเลือกเวลาทำงานเองได้และเลือกวันหยุดเองได้

คุณสมบัติผู้ที่อยากออกมาเป็นฟรีแลนซ์ ควรศึกษาเรื่องการทำสัญญาจ้างงานโดยระบุรายละเอียดเนื้องานชัดเจน ราคา ขอบเขตเวลา กำหนดการแก้ไขได้กี่ครั้ง รวมทั้งการมัดจำล่วงหน้าก่อนเริ่มงานอันนี้แล้วแต่ตกลงกัน เพื่อกันโดนทิ้งงานหรือขโมยไอเดียไปใช้ ควรมีการบริหารเงินที่ดี มีเงินสำรองไว้ใช้ ระหว่างหางาน รออนุมัติงบ รอทำสัญญา เพราะงานหรือโปรเจกต์อาจใช้เวลานานเป็นเดือนกว่าจะจบงานและรอเบิกรับเงินใช้เวลา 2 สัปดาห์โดยปกติ ขึ้นอยู่กับการต่อรองระบุในสัญญา ศึกษาและหัดคำนวณราคาค่าจ้างที่เหมาะสมกับชิ้นงานคุ้มค่ากับเวลาและความเสี่ยง

ข้อมูลล่าสุดปี 2020 อัตราการเติบโตมูลค่าตลาดฟรีแลนซ์ไทย โตขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3.9% ต่อปี และมีฟรีแลนซ์ราว 3 ล้านคน หรือมีมูลค่ากว่า 600 ล้านบาท และจากผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (EIC) ระบุว่าสัดส่วนของคนทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ต่อคนวัยทำงานทั้งหมด คิดเป็น 30% (จากผู้ตอบแบบสอบถาม 9,387 คน) โดย 1 ใน 3 นั้นประกอบอาชีพเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนั้นแล้วยังมีเหตุผลอื่นประกอบคือ ค่านิยมของการทำงาน เนื่องจากคนรุ่นใหม่ต้องการความเป็นอิสระและค่าตอบแทนที่สูง ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้หันมารับงานในฐานะฟรีแลนซ์มากขึ้นอีกด้วย

สำหรับในมุมผู้ประกอบการ การจ้างงานฟรีแลนซ์เองก็มีประโยชน์ในหลายมิติ คือ แก้

  1. ความยืดหยุ่นในการจ้างงานสูง
  2. ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนคงที่
  3. จ่ายเท่างานที่ต้องการ
  4. ได้งานที่มีคุณภาพ จากการจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ประเภทของฟรีแลนซ์ และข้อดีของฟรีแลนซ์เทียบกับการจ้างพนักงานประจำ แก้

ตัวเลขของคนทำงานอิสระ หรือฟรีแลนซ์จึงเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยมีทั้งกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว หรือทำงานประจำและรับงานเสริมเป็นฟรีแลนซ์คู่ไปด้วยกัน สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา มีการประมาณการณ์จากสถาบันวิจับ Intuit and Emergent ว่า ตัวเลขสัดส่วนของฟรีแลนซ์ต่อพนักงานประจำจะเพิ่มขึ้นสูง จากปัจจุบันที่ 36% เป็น 43% หรือจากประมาณ 4 ล้านคน เป็นจำนวนประมาณ 7.7 ล้านคน ภายในปี 2020

สำหรับฟรีแลนซ์ในประเทศไทย ผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (EIC) ระบุว่าสัดส่วนของคนทำงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ต่อคนวัยทำงานทั้งหมด คิดเป็น 30% (จากผู้ตอบแบบสอบถาม 9,387 คน) โดย 1 ใน 3 นั้นประกอบอาชีพเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัว และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ประเภทของฟรีแลนซ์ แก้

  1. ตลาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่ต้องการทักษะสูง
  2. ตลาดผู้เชี่ยวชาญอาชีพโดยทั่วไปที่ต้องการความรู้และทักษะ
  3. ตลาดผู้ปฏิบัติงานโดยทั่วไปที่ไม่ต้องการความรู้หรือทักษะสูงนัก

ฟรีแลนซ์ดีกว่าการจ้างพนักงานประจำอย่างไร แก้

  1. จ่ายเท่างานที่ต้องการ การจ้างงานฟรีแลนซ์แต่ละงานนั้น มีความยืดหยุ่นสูงต่อธุรกิจ โดยผู้จ้างสามารถกำหนดขอบเขตงานที่ต้องการ ระยะเวลา และงานที่อยากได้ตั้งแต่ต้น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก็จะเป็นไปตามงานที่ผู้จ้างต้องการ หากเป็นการจ้างพนักงานประจำ จะทำงานมาก หรืองานน้อย ผู้ว่าจ้างก็ต้องจ่ายเท่ากันทุกเดือน แต่ฟรีแลนซ์ไม่เหมือนกัน งานที่ต้องการมีน้อย จ่ายน้อย หากมีมาก ก็จ่ายมาก
  2. สามารถปรับเปลี่ยนแนวทางได้เสมอ การจ้างพนักงานประจำมักผูกภาระระยะยาวทั้งผู้ว่างจ้างและตัวพนักงาน หากมีการทำงานไปแล้วพบว่าไม่เป็นไปตามที่ต้องการ คุณภาพไม่ถึงเท่าที่คาดหวังไว้ การยกเลิกจะเป็นไปได้ยาก เพราะมีพันธะผูกพันอยู่ ต่างจากฟรีแลนซ์ ที่เราสามารถเลือกได้ว่าจะจ้างฟรีแลนซ์คนไหนให้มาทำงานให้ เลือกคนที่เหมาะสมกับงานนั้นจริงๆ ไม่จำเป็นต้องฝืนใช้เพราะจ่ายค่าจ้างไปแล้วอย่างพนักงานประจำ อีกทั้งการเลือกคนให้ตรงกับงานในแต่ละครั้ง จะช่วยให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพจริงๆ ธุรกิจจึงสามารถเติบโตไปได้อย่างรวดเร็ว และมั่นคง

บริษัทขนาดใหญ่ในปัจจุบันเริ่มปรับขนาดการจ้างงานพนักงานประจำให้ลดลง และเพิ่มการจ้างงานฟรีแลนซ์มากขึ้น ด้วยข้อดีในเรื่องของความยืดหยุ่นต่างๆ ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ได้งานคุณภาพ ตรงต่อเวลา เหมาะสมในงานนั้น และที่สำคัญ ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก