ฉบับร่าง:รายชื่อฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์

แผนที่โลกแสดงที่ตั้งของประเทศเจ้าภาพการแข่งขันกรังด์ปรีซ์
ที่ตั้งของประเทศเจ้าภาพการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ (แสดงอาณาเขตดินแดนโดยพฤตินัย): ประเทศที่มีกำหนดการแข่งขันในฤดูกาลปัจจุบันจะเน้นด้วยสีเขียว และที่ตั้งของสนามแข่งขันจะแสดงด้วยเครื่องหมายจุดสีดำ ส่วนประเทศที่เคยจัดการแข่งขันในอดีตจะเน้นด้วยสีเทาเข้ม และสนามแข่งขันที่ใช้แสดงด้วยเครื่องหมายจุดสีขาว

ฟอร์มูลาวัน หรือ รถสูตรหนึ่ง หรือเรียกชื่อย่อว่า เอฟวัน เป็นการแข่งรถประเภทล้อเปิดระดับสูงสุดที่กำหนดโดยสมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ (เอฟไอเอ) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกีฬาท้าความเร็วระดับโลก[1] คำว่า "ฟอร์มูลา" หรือ "สูตร" ในชื่อนั้นหมายถึงกฎกติกาที่ผู้เข้าแข่งขันและรถทุกคันต้องปฏิบัติตาม[2] ฤดูกาลแข่งขันชิงแชมป์โลกของฟอร์มูลาวันนั้นประกอบด้วยการแข่งขันหลายครั้งเป็นชุดหรือที่เรียกว่ากรังด์ปรีซ์ โดยจะจัดขึ้นที่สนามแข่งขันที่สร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะ และบางกรณีจะจัดขึ้นโดยปิดถนนสาธารณะในเมือง[3] การแข่งขันกรังด์ปรีซ์ในแต่ละครั้งจะใช้เวลาทั้งสิ้นสามวัน ซึ่งประกอบด้วยรอบฝึกซ้อมหนึ่งหรือสามรอบ ตามมาด้วยรอบคัดเลือกที่แบ่งเป็นสามรอบในวันเสาร์ เพื่อกำหนดลำดับเริ่มต้นให้กับการแข่งขันในวันอาทิตย์ ส่วนรอบสปรินต์จะจัดขึ้นในวันเสาร์ ณ การแข่งขันที่กำหนดไว้ ซึ่งกริดออกสตาร์ตจะกำหนดจากรอบคัดเลือกระยะสั้นลงที่จัดขึ้นต่างหากในวันศุกร์[4][5] การแข่งขันกรังด์ปรีซ์มักจะตั้งชื่อตามชื่อประเทศ ภูมิภาค หรือเมืองที่จัดการแข่งขัน[6] และประเทศเจ้าภาพอาจจัดการแข่งขันขึ้นมามากกว่าหนึ่งกรังด์ปรีซ์ในบางฤดูกาล[7] หากฟอร์มูลาวันมีกำหนดการแข่งขันมากกว่าสองกรังด์ปรีซ์ขึ้นไปในประเทศและฤดูกาลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสนามแข่งขันเดิมหรือคนละสนามก็ตาม ชื่อการแข่งขันกรังด์ปรีซ์นั้นจะต้องแตกต่างกัน[8] ผลลัพธ์ของการแข่งขันในแต่ละกรังด์ปรีซ์ที่จัดขึ้นตลอดฤดูกาลจะมีการรวบรวมเพื่อตัดสินแชมป์ประจำปีสองตำแหน่ง ได้แก่ แชมป์สำหรับนักขับและสำหรับผู้ผลิต[9]

กฎกติกากำหนดระยะทางการแข่งขันกรังด์ปรีซ์นั้นแปรผันตลอดประวัติศาสตร์ฟอร์มูลาวัน[10][11] การแข่งขันระหว่างฤดูกาล 1950 ถึง 1957 ดำเนินการด้วยระยะทางมากกว่า 300 กิโลเมตร (190 ไมล์) หรือภายในระยะเวลาสามชั่วโมง[11] ในการแข่งขันฤดูกาล 1958 กำหนดระยะทางระหว่าง 300 และ 500 กิโลเมตร (190 และ 310 ไมล์) หรือภายในสองชั่วโมง[12] ระยะทางการแข่งขันถูกลดทอนเหลือระหว่าง 300 และ 400 กิโลเมตร (190 และ 250 ไมล์) ตั้งแต่การแข่งขันฤดูกาล 1966 และกำหนดระยะทางสูงสุดที่ 321.87 กิโลเมตร (200.00 ไมล์) ในฤดูกาล 1971 ต่อมาในการแข่งขันระหว่างฤดูกาล 1973 ถึง 1980 นั้นกำหนดให้ดำเนินการด้วยระยะทาง 321.87 กิโลเมตร (200.00 ไมล์) หรือภายในระยะเวลาสองชั่วโมง ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบใดจะเสร็จสมบูรณ์ก่อน ระยะทางระหว่าง 250 และ 320 กิโลเมตร (160 และ 200 ไมล์) หรือภายในสองชั่วโมง ถูกนำมาใช้ในการแข่งขันระหว่างฤดูกาล 1981 ถึง 1984 ซึ่งในฤดูกาล 1984 ระยะทางการแข่งขันขั้นต่ำได้รับการแก้ไขเป็น 300 กิโลเมตร (190 ไมล์) โดยรวมรอบตั้งแถวก่อนเริ่มการแข่งขัน (formation lap) และได้รับการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐานที่ 305 กิโลเมตร (190 ไมล์) ในฤดูกาล 1989[a][10] เฉพาะการแข่งขันโมนาโกกรังด์ปรีซ์เท่านั้นที่ได้รับข้อยกเว้นจากกฎกติกานี้ ซึ่งกำหนดระยะทางการแข่งขันขั้นต่ำไว้ที่ 260 กิโลเมตร (160 ไมล์) การแข่งขันทุกกรังด์ปรีซ์ที่ผ่านมาไม่อาจดำเนินการในระยะเวลามากกว่าสองชั่วโมงหากไม่มีเหตุจำเป็นต้องหยุดเวลา[14] จนกระทั่งตั้งแต่การแข่งขันฤดูกาล 2012 ที่อนุญาตให้ระยะเวลาการแข่งขันสูงสุดโดยรวมการหยุดเวลาที่อาจเกิดขึ้นอยู่ที่สี่ชั่วโมง[14] ก่อนที่จะลดลงมาอยู่ที่สามชั่วโมงในฤดูกาล 2021[15]

การแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ และอิตาเลียนกรังด์ปรีซ์ เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นมากที่สุดในการแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลก โดยจัดขึ้นรายการละ 75 รายการ ตั้งแต่มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกในฤดูกาล 1950 ตามมาด้วยโมนาโกกรังด์ปรีซ์ซึ่งจัดขึ้นมาทั้งสิ้น 70 รายการ ในสนามแข่งขันเพียงแห่งเดียวคือซีร์กุยเดอมอนาโก ส่วนมอนซาเซอร์กิตของอิตาลี เป็นสนามที่จัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์มากที่สุดที่ 74 รายการ รองลงมาเป็นซีร์กุยเดอมอนาโกที่ 70 รายการ และซิลเวอร์สโตนเซอร์กิตที่ 59 รายการ[16][17] ประเทศญี่ปุ่น บาห์เรน ฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรีย และอิตาลี ล้วนแล้วเคยจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์สองรายการต่อฤดูกาลต่าง ๆ[18] ทั้งนี้มีเพียงสหรัฐอเมริกา (ฤดูกาล 1982, 2023 และ 2024) และอิตาลี (ฤดูกาล 2020) เท่านั้นที่เคยจัดการแข่งขันสามรายการในระหว่างฤดูกาล[19] อิตาลีเป็นประเทศที่จัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์มากที่สุดด้วยการแข่งขันทั้งสิ้น 107 รายการ ตั้งแต่รายการแรกในฤดูกาล 1950 ในทางตรงกันข้าม โมร็อกโกเป็นประเทศเดียวที่เคยจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เพียงครั้งเดียว การแข่งขันล่าสุดที่เพิ่มเข้ามาในกำหนดการคือ ลาสเวกัสกรังด์ปรีซ์ ในฤดูกาล 2023[20]

ณ การแข่งขันอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ การแข่งขันชิงแชมป์โลกได้จัดขึ้นทั้งสิ้น 1,125 รายการ ตลอด 75 ฤดูกาลแข่งขันใน 34 ประเทศ ภายใต้ชื่อการแข่งขัน 54 รายการ และสนามแข่งขัน 77 สนาม[16][20][21] ตัวเลขดังกล่าวรวมถึงการแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันชิงแชมป์โลกตั้งแต่ฤดูกาล 1950 ถึง 1960 แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ชื่อกรังด์ปรีซ์ก็ตาม[22] การแข่งขันบริติชกรังด์ปรีซ์ 1950 เป็นการแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลกรายการแรก[23] รายชื่อดังต่อไปนี้จะไม่แสดงถึงการแข่งขันกรังด์ปรีซ์แบบไม่มีการชิงแชมป์ ซึ่งจัดขึ้นตามกฎกติกาของฟอร์มูลาวันระหว่างฤดูกาล 1946 ถึง 1983 และการแข่งขันที่เป็นส่วนหนึ่งของรายการบริติชฟอร์มูลาวันแชมเปียนชิป และเซาท์แอฟริกันฟอร์มูลาวันแชมเปียนชิป[17][21]

การแข่งขันในอดีตและปัจจุบัน

แก้
คำสำคัญ
* บ่งบอกถึงการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ปัจจุบัน (สำหรับฤดูกาล 2024)

แบ่งตามชื่อการแข่งขัน

แก้

การแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลกขึ้นภายใต้ชื่อการแข่งขันทั้งสิ้น 54 รายการ ข้อมูล ณ การแข่งขันอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์[21][24]

รายชื่อฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์แบ่งตามชื่อการแข่งขัน[17][21][24]
ชื่อการแข่งขัน ประเทศ ฤดูกาล สนามแข่งขัน รวมทั้งหมด
กาตาร์กรังด์ปรีซ์*   กาตาร์ 2021, 20232024 1 3
แคนาเดียนกรังด์ปรีซ์*   แคนาดา 19671974, 19761986, 19882008, 20102019, 20222024 3 53
โคเรียนกรังด์ปรีซ์   เกาหลีใต้ 20102013 1 4
เจแปนนีสกรังด์ปรีซ์*   ญี่ปุ่น 19761977, 19872019, 20222024 2 38
ไชนีสกรังด์ปรีซ*   จีน 20042019, 2024 1 17
ซานมารีโนกรังด์ปรีซ[b]   อิตาลี 19812006 1 26
ซาอุดีอาระเบียนกรังด์ปรีซ์*   ซาอุดีอาระเบีย 20212024 1 4
ซีซาส์พาเลซกรังด์ปรีซ์[c]   สหรัฐอเมริกา 19811982 1 2
เซเวนตีท์แอนนิเวอร์ซารีกรังด์ปรีซ์[d]   สหราชอาณาจักร 2020 1 1
เซาท์แอฟริกันกรังด์ปรีซ์   แอฟริกาใต้ 19621963, 1965, 19671980,[e] 19821985, 19921993 2 23
เซาเปาโลกรังด์ปรีซ์*[f]   บราซิล 20212024 1 4
ดัตช์กรังด์ปรีซ์*   เนเธอร์แลนด์ 19521953, 1955, 19581971, 19731985, 20212024 1 34
ดีทรอยต์กรังด์ปรีซ์[g]   สหรัฐอเมริกา 19821988 1 7
แดลลัสกรังด์ปรีซ์[h]   สหรัฐอเมริกา 1984 1 1
เตอร์กิชกรังด์ปรีซ์   ตุรกี 20052011, 20202021 1 9
ทัสกันกรังด์ปรีซ์[i]   อิตาลี 2020 1 1
บราซิลเลียนกรังด์ปรีซ์   บราซิล 19732019 2 47
บริติชกรังด์ปรีซ์*   สหราชอาณาจักร 19502024 3 75
บาห์เรนกรังด์ปรีซ์*   บาห์เรน 20042010,[j] 20122024 1 20
เบลเจียนกรังด์ปรีซ์*   เบลเยียม 19501956, 1958, 19601968, 1970, 19722002, 20042005, 20072024 3 69
เปสการากรังด์ปรีซ์[k]   อิตาลี 1957 1 1
แปซิฟิกกรังด์ปรีซ์[l]   ญี่ปุ่น 19941995 1 2
โปรตุกีสกรังด์ปรีซ์   โปรตุเกส 19581960, 19841996, 20202021 4 18
เฟรนช์กรังด์ปรีซ์   ฝรั่งเศส 19501954, 19562008, 20182019, 20212022 7 62
มาเลเซียนกรังด์ปรีซ์   มาเลเซีย 19992017 1 19
เม็กซิกันกรังด์ปรีซ์   เม็กซิโก 19631970, 19861992, 20152019 1 20
เม็กซิโกซิตีกรังด์ปรีซ์*[m]   เม็กซิโก 20212024 1 4
โมนาโกกรังด์ปรีซ์*   โมนาโก 1950, 19552019, 20212024 1 70
โมร็อกกันกรังด์ปรีซ์   โมร็อกโก 1958 1 1
ไมอามีกรังด์ปรีซ์*[n]   สหรัฐอเมริกา 20222024 1 3
ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์*   สหรัฐอเมริกา 19591980, 19891991, 20002007, 20122019, 20212024 6 45
ยูไนเต็ดสเตตส์กรังด์ปรีซ์เวสต์   สหรัฐอเมริกา 19761983 1 8
ยูโรเปียนกรังด์ปรีซ์[o]   เยอรมนี
  สเปน
  สหราชอาณาจักร
  อาเซอร์ไบจาน
19831985, 19931997, 19992012, 2016 6 23
เยอรมันกรังด์ปรีซ์   เยอรมนี 19511954, 19561959, 19612006, 20082014, 2016, 20182019 3 64
รัสเซียนกรังด์ปรีซ   รัสเซีย 20142021 1 8
ลักเซมเบิร์กกรังด์ปรีซ์[p]   เยอรมนี 19971998 1 2
ลาสเวกัสกรังด์ปรีซ์*[q]   สหรัฐอเมริกา 20232024 1 2
เศาะคีรกรังด์ปรีซ์[r]   บาห์เรน 2020 1 1
สตีเรียนกรังด์ปรีซ์[s]   ออสเตรีย 20202021 1 2
สเปนิชกรังด์ปรีซ์*   สเปน 1951, 1954, 19681979,[t] 1981, 19862024 5 54
สวิสกรังด์ปรีซ์   สวิตเซอร์แลนด์
  ฝรั่งเศส
19501954, 1982[u] 2 6
สวีดิชกรังด์ปรีซ์   สวีเดน 19731978[v] 1 6
สิงคโปร์กรังด์ปรีซ์*   สิงคโปร์ 20082019, 20222024 1 15
ออสเตรเลียนกรังด์ปรีซ์*   ออสเตรเลีย 19852019, 20222024 2 38
ออสเตรียนกรังด์ปรีซ์*   ออสเตรีย 1964, 19701987, 19972003, 20142024 2 37
อาเซอร์ไบจานกรังด์ปรีซ์*   อาเซอร์ไบจาน 20172019, 20212024 1 7
อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์*[w]   สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 20092024 1 16
อาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์   อาร์เจนตินา 19531958, 1960, 19721975, 19771981, 19951998[x] 1 20
อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์*   อิตาลี 19502024 2 75
อินเดียนกรังด์ปรีซ์   อินเดีย 20112013 1 3
อินเดียแนโพลิส 500[y]   สหรัฐอเมริกา 19501960 1 11
เอมีเลีย-โรมัญญากรังด์ปรีซ์*[z]   อิตาลี 20202022, 2024 1 4
ไอเฟิลกรังด์ปรีซ์[aa]   เยอรมนี 2020 1 1
ฮังกาเรียนกรังด์ปรีซ์*   ฮังการี 19862024 1 39

แบ่งตามประเทศเจ้าภาพ

แก้
 
จำนวนการแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลกแบ่งตามประเทศเจ้าภาพ (แสดงอาณาเขตดินแดนโดยพฤตินัย):
  1–10 การแข่งขัน
  11–25 การแข่งขัน
  26–50 การแข่งขัน
  51–75 การแข่งขัน
  76+ การแข่งขัน

การแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลกจัดขึ้นโดยประเทศเจ้าภาพทั้งสิ้น 34 ประเทศ ข้อมูล ณ การแข่งขันอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์[20]

รายชื่อฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์แบ่งตามประเทศเจ้าภาพ[20][21]
ประเทศ การแข่งขัน รวมทั้งหมด สนามแข่งขัน
  กาตาร์* 3 1
  เกาหลีใต้ 4 1
  แคนาดา*
53 3
  จีน* 17 1
  ซาอุดีอาระเบีย* 4 1
  ญี่ปุ่น* 40 3
  ตุรกี 9 1
  เนเธอร์แลนด์*
34 1
  บราซิล* 51 2
  บาห์เรน* 21 1
  เบลเยียม*
69 3
  โปรตุเกส
18 4
  ฝรั่งเศส
63 7
  มาเลเซีย 19 1
  เม็กซิโก* 24 1
  โมนาโก*
70 1
  โมร็อกโก 1 1
  เยอรมนี 79 3
  รัสเซีย 8 1
  สเปน*
60 6
  สวิตเซอร์แลนด์ 5 1
  สวีเดน 6 1
  สหรัฐอเมริกา* 79 12
  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์* 16 1
  สหราชอาณาจักร* 79 4
  สิงคโปร์* 15 1
  ออสเตรเลีย* 38 2
  ออสเตรีย* 39 2
  อาเซอร์ไบจาน* 8 1
  อาร์เจนตินา
20 1
  อิตาลี* 107 4
  อินเดีย 3 1
  แอฟริกาใต้
23 2
  ฮังการี* 39 1

แบ่งตามสนามแข่งขัน

แก้

การแข่งขันฟอร์มูลาวันชิงแชมป์โลกจัดขึ้นที่สนามแข่งขันทั้งสิ้น 77 สนาม ข้อมูล ณ การแข่งขันอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์[49]

รายชื่อฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์แบ่งตามสนามแข่งขัน[16][20][49]
สนามแข่งขัน การแข่งขัน รวมทั้งหมด
  กาตาลุญญา (บาร์เซโลนา)* 34
  เกรตเตอร์นอยดา 3
  คายาลามี 20
  ฆารามา
9
  เฆเรซ 7
  จากาเรปากัว (รีโอเดจาเนโร) 10
  ชปีลแบร์ค (เอิสเตอร์ไรช์ริง / เอวัน-ริง / เร็ดบุลริง)* 38
  ชาราด (แกลร์มง-แฟร็อง) 4
  ซอลเดอร์ 10
  ซันต์โฟร์ต*
34
  ซิลเวอร์สโตน*
59
  ซีซาส์พาเลซ (ลาสเวกัส) 2
  ซีบริง 1
  ซูซูกะ*
34
  เซ็ลท์เวค 1
  เซอปัง (กัวลาลัมเปอร์) 19
  เซี่ยงไฮ้* 17
  แซ็ง-โฌวิต (มง-ทร็องบล็อง) 2
  โซชี 8
  ญิดดะฮ์คอร์นิช* 4
  ดอนิงตัน 1
  ดีฌง-เพรอนัว 6
  ดีทรอยต์ 7
  แดลลัส 1
  นีแวล 2
  เนือร์บวร์คริง 41
  บัววิชตา (โปร์ตู) 2
  บากู* 8
  บาเลนเซีย 5
  เบรมการ์เทิน (แบร์น) 5
  แบรนส์แฮตช์
14
  ปอลรีการ์ (เลอกัสเตอแล)
18
  ปาดรัลบัส (บาร์เซโลนา) 2
  เปสการา 1
  ฟีนิกซ์ 3
  ฟูจิ 4
  มงซานตูพาร์ก (ลิสบอน) 1
  มงเต-การ์โล*
70
  มอนซา* 74
  มอนทรีออล*
43
  มอสปอร์ตพาร์ก
8
  มาญี-กูร์ 18
  มารีนาเบย์ (สิงคโปร์)* 15
  มุญฌูอิก (บาร์เซโลนา) 4
  มูเจลโล 1
  ไมอามีอินเตอร์เนชันแนลออโตโดรม* 3
  ย็องอัม 4
  ยาสมารีนา (อาบูดาบี)* 16
  ริเวอร์ไซด์ 1
  รูอ็อง 5
  แร็งส์
11
  ลองบีช 8
  ลาสเวกัสสตริปเซอร์กิต* 2
  ลูซัยล์* 3
  เลอม็องบูกัตตี 1
  วัตกินส์เกลน 20
  เศาะคีร* 21
  สปา-ฟร็องกอร์ช็อง*
57
  ออสติน* 12
  อันเดิชตอร์ป 6
  อัยน์ษิอาบ (กาซาบล็องกา) 1
  อัลการ์วึ 2
  อัลเบิร์ตพาร์ก (เมลเบิร์น)* 27
  อาวุส (เบอร์ลิน) 1
  อิงแตร์ลากูส (เซาเปาโล)* 41
  อิชตูริล 13
  อินเดียแนโพลิส 19
  อิสตันบูล 9
  อีโมลา* 31
  อีสต์ลอนดอน 3
  เอนทรี
5
  เอร์มาโนสโรดริเกซ (เม็กซิโกซิตี)* 24
  แอดิเลด 11
  โอสการ์อีฆวนกัลเวซ (บัวโนสไอเรส)
20
  ไอดะ 2
  ฮ็อคเคินไฮม์
37
  ฮังกาโรริง (บูดาเปสต์)* 39

การแข่งขันตามหมุดหมายสำคัญ

แก้

ลำดับการแข่งขันที่เป็นพหุคูณของ 100

แก้
รายชื่อฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์แบ่งตามลำดับการแข่งขันที่เป็นพหุคูณของ 100[17][18][21]
ลำดับ ฤดูกาล การแข่งขันกรังด์ปรีซ์ สนามแข่งขัน ผู้ชนะเลิศ
นักขับ ผู้ผลิต
100 1961   เยอรมัน เนือร์บวร์คริง   มอส, สเตอร์ลิงสเตอร์ลิง มอส (GBR)   โลตัส-ไคลแม็กซ์ (GBR)
200 1971   โมนาโก มงเต-การ์โล   สจวร์ต, แจ็กกีแจ็กกี สจวร์ต (GBR)   ไทร์เรล-ฟอร์ด (GBR)
300 1978   เซาท์แอฟริกัน คายาลามี   เปแตร์ชอน, รอนนีรอนนี เปแตร์ชอน (SWE)   โลตัส-ฟอร์ด (GBR)
400 1984   ออสเตรียน ชปีลแบร์ค   เลาดา, นิกินิกิ เลาดา (AUT)   แม็กลาเรน-เตอาเฌ (GBR)
500 1990   ออสเตรเลียน แอดิเลด   ปีเก, แนลซงแนลซง ปีเก (BRA)   เบเนตตอน-ฟอร์ด (GBR)
600 1997   อาร์เจนทีน บัวโนสไอเรส   วีลเนิฟว์, ฌักฌัก วีลเนิฟว์ (CAN)   วิลเลียมส์-เรอโนลต์ (GBR)
700 2003   บราซิลเลียน อิงแตร์ลากูส   ฟีซีเกลลา, จังการ์โลจังการ์โล ฟีซีเกลลา (ITA)   จอร์แดน-ฟอร์ด (IRL)
800 2008   สิงคโปร์ มารีนาเบย์   อาลอนโซ, เฟร์นันโดเฟร์นันโด อาลอนโซ (ESP)   เรอโนลต์ (FRA)
900 2014   บาห์เรน เศาะคีร   แฮมิลตัน, ลูวิสลูวิส แฮมิลตัน (GBR)   เมอร์เซเดส (GER)
1000 2019   ไชนีส เซี่ยงไฮ้   แฮมิลตัน, ลูวิสลูวิส แฮมิลตัน (GBR)   เมอร์เซเดส (GER)
1100 2023   ลาสเวกัส ลาสเวกัส   แฟร์สตัปเปิน, มักซ์มักซ์ แฟร์สตัปเปิน (NED)   เร็ดบุลเรซซิง-ฮอนด้า อาร์บีพีที (AUT)

หมายเหตุ

แก้
  1. เหตุผลหลักที่มีการลดระยะทางการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ตลอดประวัติศาสตร์ฟอร์มูลาวันนั้น ก็เพื่อรองรับการรับชมโทรทัศน์ซึ่งให้ความสำคัญกับการแข่งขันระยะสั้นและกิจกรรมในสนามแข่งขันมากขึ้น[13]
  2. การแข่งขันซานมารีโนกรังด์ปรีซ จัดขึ้นที่อิตาลี[25]
  3. การแข่งขันซีซาส์พาเลซกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา[26]
  4. การแข่งขันเซเวนตีท์แอนนิเวอร์ซารีกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่สหราชอาณาจักร[27]
  5. การแข่งขันเซาท์แอฟริกันกรังด์ปรีซ์ 1981 ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันชิงแชมป์โลกของฤดูกาลนั้น เนื่องจากเกิดข้อพิพาทระหว่างสหพันธ์รถสปอร์ตระหว่างประเทศ (เอฟไอเอสเอ) และสมาคมผู้ผลิตฟอร์มูลาวัน (เอฟโอซีเอ)[28]
  6. การแข่งขันเซาเปาโลกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่บราซิล[29]
  7. การแข่งขันดีทรอยต์กรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา[30]
  8. การแข่งขันแดลลัสกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา[30]
  9. การแข่งขันทัสกันกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่อิตาลี[31]
  10. การแข่งขันบาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2011 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากเหตุการณ์ก่อการกำเริบในบาห์เรน[32]
  11. การแข่งขันเปสการากรังด์ปรีซ์ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ กอปปาอาเชร์โบ จัดขึ้นที่เมืองเปสการา อิตาลี[33]
  12. การแข่งขันแปซิฟิกกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่ญี่ปุ่น[34]
  13. การแข่งขันเม็กซิโกซิตีกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่เม็กซิโก[35]
  14. การแข่งขันไมอามีกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา[36]
  15. การแข่งขันยูโรเปียนกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่เยอรมนี (12 ครั้ง) สเปน (7 ครั้ง) สหราชอาณาจักร (3 ครั้ง) และอาเซอร์ไบจาน (1 ครั้ง)[18][37]
  16. การแข่งขันลักเซมเบิร์กกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่เยอรมนี[38]
  17. การแข่งขันลาสเวกัสกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา[39]
  18. การแข่งขันเศาะคีรกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่บาห์เรน[40]
  19. การแข่งขันสตีเรียนกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่ออสเตรีย[41]
  20. การแข่งขันสเปนิชกรังด์ปรีซ์ 1980 ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันชิงแชมป์โลกของฤดูกาลนั้น เนื่องจากเกิดข้อพิพาทระหว่างสหพันธ์รถสปอร์ตระหว่างประเทศ (เอฟไอเอสเอ) และสมาคมผู้ผลิตฟอร์มูลาวัน (เอฟโอซีเอ)[42]
  21. การแข่งขันสวิสกรังด์ปรีซ์ 1982 จัดขึ้นที่เมืองดีฌง ฝรั่งเศส[43]
  22. จากการเสียชีวิตในเวลาใกล้เคียงกันของ กึนนาร์ นิลซอน และ รอนนี เปแตร์ชอน ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นนักแข่งรถฟอร์มูลาวันชาวสวีเดน ทำให้การแข่งขันสวีดิชกรังด์ปรีซ์ ฤดูกาล 1978 และ 1979 ถูกยกเลิกไป[44] นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแข่งขันฟอร์มูลาวันก็ไม่ได้จัดขึ้นที่สวีเดนอีกเลย[45]
  23. อาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[46]
  24. การแข่งขันอาร์เจนทีนกรังด์ปรีซ์ 1999 ถูกกำหนดในตารางการแข่งขันชั่วคราวของฤดูกาล 1999 แต่ถูกยกเลิกเนื่องจากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงทางการเงิน[47]
  25. ถึงการแข่งขันอินเดียแนโพลิส 500 จะไม่ใช่ "กรังด์ปรีซ์" แต่ก็ถูกนับรวมเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันชิงแชมป์โลกระหว่างฤดูกาล 1950 ถึง 1960[22] การแข่งขันจัดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา[30]
  26. การแข่งขันเอมีเลีย-โรมัญญากรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่อิตาลี[25]
  27. การแข่งขันไอเฟิลกรังด์ปรีซ์ จัดขึ้นที่เยอรมนี[48]

อ้างอิง

แก้
  1. "About FIA". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 24 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
  2. Williamson, Martin. "A brief history of Formula One". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
  3. Hughes & Tremayne 2002, pp. 82–83
  4. Furnell, Claire. "Rules and regulations". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2018. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021.
  5. Coleman, Madeline (17 April 2024). "How F1 sprint races work: New schedule, locations for 2024". The Athletic. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 23 May 2024.
  6. Straw, Edd (4 May 2020). "How to solve the naming problem posed by same-track F1 races". The Race. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2020. สืบค้นเมื่อ 14 December 2020.
  7. Jones 2015, p. 68
  8. Thurkal, Rachit (8 July 2020). "Why is it called the Styrian Grand Prix? Second Austrian F1 race explained". Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2020. สืบค้นเมื่อ 14 December 2020.
  9. Budzinski, Oliver; Feddersen, Arne (March 2019). "Measuring Competitive Balance in Formula One Racing" (PDF). Ilmenau Economics Discussion Papers. 25 (121): 5, 7. ISSN 0949-3859. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2021. สืบค้นเมื่อ 28 February 2021 – โดยทาง EconStor.
  10. 10.0 10.1 Hayhoe 1989, p. 8
  11. 11.0 11.1 Higham 1995, p. 6
  12. "The Formula One World Championship Timeline". AtlasF1. Autosport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2000. สืบค้นเมื่อ 17 December 2020.
  13. Granet & Chimits 1994, p. 50
  14. 14.0 14.1 Chicane 2015, p. 588
  15. "FIA reduces maximum F1 race time to three hours". Motorsport Week. Motorsport Media. 17 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2021. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.
  16. 16.0 16.1 16.2 "F1 Stats Zone: Grand Prix A–Z". Sky Sports. Sky UK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 August 2020.
  17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Diepraam, Mattijs; Muelas, Felix. "Grand Prix winners 1894–2019". 8W. Forix Motorsport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2017. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  18. 18.0 18.1 18.2 "Race Results". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  19. Baldwin, Alan (24 July 2020). "F1 scraps American races due to virus, adds European trio". Canoe.com. Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 "Circuits". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 "All-Time Calendar". ChicaneF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2021. สืบค้นเมื่อ 24 November 2021.
  22. 22.0 22.1 Smith 2019, pp. 10, 76
  23. "The first F1 World Championship race: the 1950 British Grand Prix". Motor Sport. 13 May 1950. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2020. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  24. 24.0 24.1 "Events". ChicaneF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2021. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
  25. 25.0 25.1 Baldwin, Alan (29 October 2020). "Formula One statistics for the Emilia Romagna Grand Prix". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  26. Holt, Sarah (31 October 2019). "When the US Grand Prix was staged in a Las Vegas parking lot". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2020. สืบค้นเมื่อ 4 December 2021.
  27. "70th Anniversary Grand Prix 2020". Red Bull. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  28. Diepraam, Mattijs; Muelas, Felix (2000). "The one that didn't count". 8W. Forix. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2018. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  29. Smith, Luke (16 December 2020). "F1 confirms five-year deal for Sao Paulo GP at Interlagos". Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
  30. 30.0 30.1 30.2 "Facts and Stats about the US GP". AtlasF1. 6 (38). 20 September 2000. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 4 December 2021.
  31. Pryson, Mike (14 September 2020). "What You May Have Missed from F1 Tuscan Grand Prix at Mugello". Autoweek. Hearst Autos. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  32. Batty, David (10 June 2011). "Bahrain Grand Prix cancelled after team protests". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 3 November 2021.
  33. Jenkinson, Denis (September 1957). "XXV Gran Premio Pescara: A Real Grand Prix Victory for Vanwall". Motor Sport. XXXIII (9): 494. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  34. Saunders, Will (15 April 2014). "In memory of... the Pacific F1 Grand Prix". Crash. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  35. "Mexico City – Mexico". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 January 2021.
  36. Horton, Phillip (29 October 2021). "Miami Prepares for Formula 1". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2021. สืบค้นเมื่อ 26 December 2021.
  37. "In numbers – the European Grand Prix". Formula One. 15 June 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2016. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  38. White 2008, p. 121
  39. Fryer, Jenna (17 November 2023). "Max Verstappen unimpressed with excess and opulence of Las Vegas Grand Prix". Associated Press News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2024. สืบค้นเมื่อ 23 May 2024.
  40. Bradley, Charles (6 December 2020). "2020 F1 Sakhir Grand Prix race results". Motorsport Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  41. Medland, Chris (12 July 2020). "2020 F1 Styrian Grand Prix report: Hamilton in command ahead of midfield drama". Motor Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  42. Clayton, Matthew (5 October 2016). "Alan Jones and the pain in Spain". Red Bull. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2021. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  43. Jenkinson, Denis (October 1982). "The Swiss Grand Prix – Another first". Motor Sport. LVIII (10): 1320. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  44. "Swedish Race Cancelled". Democrat and Chronicle. 27 May 1979. p. 3D. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020 – โดยทาง Newspapers.com.
  45. Méhes, Károly (10 November 2016). "Blast From The Past: Record-making Sweden". The Paddock Magazine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  46. Schumacker, Annie (6 December 2010). "Everything to Know About This Month's Abu Dhabi Grand Prix". Vogue Man Arabia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2021. สืบค้นเมื่อ 4 December 2021.
  47. "Ecclestone pulls plug on race". The Sunday Age. 24 January 1999. p. 10. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 3 November 2021 – โดยทาง Newspapers.com.
  48. "Lewis Hamilton equals Schumacher's record with victory in Germany". Deutsche Welle. 11 October 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2020. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
  49. 49.0 49.1 "Circuits". ChicaneF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2021. สืบค้นเมื่อ 6 September 2021.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้