รายชื่อแชมป์โลกฟอร์มูลาวันประเภทนักขับ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฟอร์มูลาวัน หรือ รถสูตรหนึ่ง หรือเรียกชื่อย่อว่า เอฟวัน เป็นการแข่งรถประเภทล้อเปิดระดับสูงสุดที่กำหนดโดยองค์กรกำกับดูแลกีฬาการแข่งความเร็วระดับโลกคือ สมาพันธ์รถยนต์นานาชาติ (เอฟไอเอ)[1] คำว่า "ฟอร์มูลา" หรือ "สูตร" ในชื่อนั้นหมายถึงกฎกติกาที่ผู้เข้าแข่งขันและรถทุกคันต้องปฏิบัติตาม[2] ฤดูกาลแข่งขันชิงแชมป์โลกของฟอร์มูลาวัน ประกอบด้วยการแข่งขันหลายครั้งเป็นชุดหรือที่เรียกว่ากรังด์ปรีซ์ โดยจะจัดขึ้นที่สนามแข่งที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับการแข่งขันโดยเฉพาะ และบางกรณีจะจัดขึ้นโดยปิดถนนสาธารณะในเมือง[3] การชิงแชมป์โลกประเภทนักขับถูกจัดขึ้นโดยเอฟไอเอ เพื่อมอบให้กับนักแข่งรถฟอร์มูลาวันที่ประสบความสำเร็จตลอดช่วงฤดูกาล ผ่านระบบคะแนนตามผลการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ของแต่ละบุคคล[4] การชิงแชมป์โลกจะสรุปผลผู้ชนะก็ต่อเมื่อนักขับคนอื่นไม่สามารถทำคะแนนขึ้นนำคะแนนสะสมของพวกเขาได้หลังจากผ่านการคำนวณทางคณิตศาสตร์แล้ว ไม่ว่าผลการแข่งขันที่เหลือนั้นจะเป็นอย่างไรก็ตาม[5] ถึงอย่างนั้นรางวัลจะยังไม่ถูกมอบให้กับนักขับอย่างเป็นทางการจนกว่าจะถึงพิธีมอบรางวัลเอฟไอเอ ซึ่งจะจัดขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกหลังสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขัน[6][7]
มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ และลูวิส แฮมิลตัน ครองสถิติผู้ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับมากที่สุด ซึ่งทั้งคู่ต่างได้รับตำแหน่งมาแล้วถึงเจ็ดสมัย ฆวน มานูเอล ฟังฆิโออยู่อันดับรองลงมาด้วยตำแหน่งห้าสมัย[8][9] ชูมัคเคอร์ยังครองสถิติเป็นแชมป์โลกประเภทนักขับติดต่อกันมากที่สุดถึงห้าสมัยระหว่างฤดูกาล 2000 ถึง 2004[10] ไนเจล แมนเซล ครองสถิตินักขับที่เข้าแข่งขันด้วยจำนวนฤดูกาลมากที่สุดก่อนได้รับตำแหน่งแชมป์โลก โดยเขาเริ่มแข่งฟอร์มูลาวันในฤดูกาล 1980 และได้รับตำแหน่งในฤดูกาล 1992 คิดเป็นระยะเวลากว่า 13 ฤดูกาล[11] นีโค ร็อสแบร์ค มีจำนวนครั้งที่ออกตัวในกรังด์ปรีซ์มากที่สุดก่อนได้รับตำแหน่งแชมป์โลกแรกของเขา ด้วยระยะเวลาทั้งหมด 206 กรังด์ปรีซ์ ตั้งแต่บาห์เรนกรังด์ปรีซ์ 2006 ถึงอาบูดาบีกรังด์ปรีซ์ 2016[12][13] เซบัสทีอัน เฟ็ทเทิล เป็นนักขับที่อายุน้อยที่สุดที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ โดยเขาอายุ 23 ปี กับ 134 วัน เมื่อเขาได้รับตำแหน่งในฤดูกาล 2010[14] ส่วนฟังฆิโอเป็นนักขับที่อายุมากที่สุดที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทนักขับ โดยเขาอายุ 46 ปี เมื่อเขาได้รับตำแหน่งในฤดูกาล 1957[15]
ณ ฤดูกาล 2024 จากนักแข่งรถทั้งหมด 777 คนที่ออกตัวแข่งขันในฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์[16] ตำแหน่งแชมป์โลก 75 ตำแหน่งได้มอบให้กับผู้ชนะจำนวนทั้งสิ้น 34 คน[8][9] ผู้ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกคนแรกคือ จูเซปเป ฟารีนา จากฤดูกาล 1950 และผู้ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกคนปัจจุบันคือ มักซ์ แฟร์สตัปเปิน จากฤดูกาล 2024[8][9] สหราชอาณาจักรมีนักขับที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมากกว่าประเทศอื่นด้วยจำนวน 20 ครั้งจากนักขับทั้งหมด 10 คน ตามมาด้วยบราซิล ฟินแลนด์ และเยอรมนี ที่ต่างมีนักขับทั้งหมดสามคนที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลก สำหรับสถิติของทีมผู้ผลิตนั้น สกูเดเรียแฟร์รารีมีนักขับที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมากกว่าทีมอื่น ๆ ด้วยจำนวน 15 ครั้งจากนักขับทั้งหมด 9 คน ตามมาด้วยแม็กลาเรนที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลก 12 ครั้งจากนักขับทั้งหมด 7 คน[8] ส่วนใหญ่นักขับจะได้รับตำแหน่งแชมป์โลก ณ การแข่งขันสุดท้ายของฤดูกาล โดยเกิดขึ้นดังนี้มาแล้ว 30 ครั้งจากทั้งหมด 75 ฤดูกาลที่มีการชิงแชมป์โลก[17] ชูมัคเคอร์ครองสถิติผู้ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกโดยที่ยังเหลือการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาลมากที่สุด ซึ่งเขาเหลือการแข่งขันอีกหกรายการหลังจากได้รับตำแหน่งแล้วที่เฟรนช์กรังด์ปรีซ์ ในฤดูกาล 2002[18] ในการชิงแชมป์โลกประเภทนักขับมีเพียงแค่สองครั้งเท่านั้น (จอห์น เซอร์ทีส์ จากฤดูกาล 1964 และอาอีร์ตง เซนนา จากฤดูกาล 1988) ที่ผู้ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมีคะแนนสะสมโดยรวมน้อยกว่าผู้ที่จบอันดับสอง ซึ่งเกิดขึ้นจากการคิดคะแนนชิงแชมป์โลกของฤดูกาลนั้น[19]
แบ่งตามฤดูกาล
แก้ตัวหนา | บ่งบอกว่าผู้ผลิตยังได้รับตำแหน่งแชมป์ประเภทผู้ผลิต (มอบให้ตั้งแต่ฤดูกาล 1958) |
---|
- หมายเหตุ
- ↑ 1.0 1.1 ฤดูกาล 1952 และ 1953 ดำเนินการแข่งขันภายใต้กฎกติกาของฟอร์มูลาทู[23]
- ↑ 2.0 2.1 ฟังฆิโอแข่งที่อาร์เจนทีนและเบลเจียนกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 1954 กับมาเซราตี และแข่งในการแข่งขันอื่นของฤดูกาลกับเมอร์เซเดส[23]
- ↑ ตำแหน่งแชมป์ของรินดท์ได้รับการยืนยันในสองการแข่งขันให้หลัง หลังจากเขาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุระหว่างรอบคัดเลือกที่อิตาเลียนกรังด์ปรีซ์[23]
- ↑ 4.0 4.1 ชูมัคเคอร์มีคะแนนสะสมทั้งหมด 78 คะแนน ระหว่างฤดูกาล 1997 โดยตามหลังวีลเนิฟว์เพียงแค่ 3 คะแนน แต่เขากลับถูกตัดสิทธิ์จากการชิงแชมป์ เนื่องมาจากการชนกับวีลเนิฟว์โดยเจตนาในการแข่งขันสุดท้ายของฤดูกาลที่ยูโรเปียนกรังด์ปรีซ์[48] ทำให้วีลเนิฟว์มีส่วนต่างคะแนนนำ 39 คะแนน ทิ้งห่างจากไฮนทซ์-ฮารัลท์ เฟรนท์เซิน ที่มีคะแนนสะสม 42 คะแนน[23]
แบ่งตามนักขับ
แก้- หมายเหตุ
- นักขับที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือนักขับที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แบ่งตามสัญชาติ
แก้- หมายเหตุ
- นักขับที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือนักขับที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
สถิติของแชมป์โลก
แก้แชมป์โลกประเภทนักขับที่อายุน้อยที่สุด
แก้อันดับ | นักขับ | อายุ | ฤดูกาล |
---|---|---|---|
1 | เซบัสทีอัน เฟ็ทเทิล | 23 ปี 134 วัน | 2010 |
2 | ลูวิส แฮมิลตัน | 23 ปี 300 วัน | 2008 |
3 | เฟร์นันโด อาลอนโซ | 24 ปี 58 วัน | 2005 |
4 | มักซ์ แฟร์สตัปเปิน | 24 ปี 73 วัน | 2021 |
5 | แอเมร์ซง ฟิตชีเปาจี | 25 ปี 273 วัน | 1972 |
6 | มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ | 25 ปี 314 วัน | 1994 |
7 | นิกิ เลาดา | 26 ปี 197 วัน | 1975 |
8 | ฌัก วีลเนิฟว์ | 26 ปี 200 วัน | 1997 |
9 | จิม คลาร์ก | 27 ปี 188 วัน | 1963 |
10 | คิมิ ไรโคเนน | 28 ปี 4 วัน | 2007 |
- หมายเหตุ
- ในกรณีที่นักขับได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมากกว่าหนึ่งสมัย ตำแหน่งสมัยแรกของพวกเขาเท่านั้นที่จะแสดงอยู่ในรายชื่อนี้
- นักขับที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือนักขับที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แชมป์โลกประเภทนักขับที่อายุมากที่สุด
แก้อันดับ | นักขับ | อายุ | ฤดูกาล |
---|---|---|---|
1 | ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ | 46 ปี 41 วัน | 1957 |
2 | จูเซปเป ฟารีนา | 43 ปี 308 วัน | 1950 |
3 | แจ็ก แบร็บแฮม | 40 ปี 155 วัน | 1966 |
4 | เกรอัม ฮิล | 39 ปี 262 วัน | 1968 |
5 | ไนเจล แมนเซล | 39 ปี 8 วัน | 1992 |
6 | อาแล็ง พร็อสต์ | 38 ปี 214 วัน | 1993 |
7 | มารีโอ อันเดรตตี | 38 ปี 194 วัน | 1978 |
8 | เดมอน ฮิล | 36 ปี 26 วัน | 1996 |
9 | ลูวิส แฮมิลตัน | 35 ปี 313 วัน | 2020 |
10 | นิกิ เลาดา | 35 ปี 242 วัน | 1984 |
- หมายเหตุ
- ในกรณีที่นักขับได้รับตำแหน่งแชมป์โลกมากกว่าหนึ่งสมัย ตำแหน่งสมัยล่าสุดของพวกเขาเท่านั้นที่จะแสดงอยู่ในรายชื่อนี้
- นักขับที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือนักขับที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แชมป์โลกประเภทนักขับที่ได้รับตำแหน่งติดต่อกัน
แก้ในการชิงแชมป์โลกประเภทนักขับมีผู้ที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกติดต่อกันทั้งหมด 11 คน โดยมีเพียงมิชชาเอล ชูมัคเคอร์ และลูวิส แฮมิลตัน เท่านั้นที่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกติดต่อกันสองช่วงฤดูกาล[8]
จำนวนตำแหน่ง | นักขับ | ฤดูกาล |
---|---|---|
5 | มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ | 2000–2004 |
4 | ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ | 1954–1957 |
เซบัสทีอัน เฟ็ทเทิล | 2010–2013 | |
ลูวิส แฮมิลตัน | 2017–2020 | |
มักซ์ แฟร์สตัปเปิน | 2021–2024 | |
2 | อัลแบร์โต อัสการี | 1952–1953 |
แจ็ก แบร็บแฮม | 1959–1960 | |
อาแล็ง พร็อสต์ | 1985–1986 | |
อาอีร์ตง เซนนา | 1990–1991 | |
มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ | 1994–1995 | |
มิกา แฮกกิเนน | 1998–1999 | |
เฟร์นันโด อาลอนโซ | 2005–2006 | |
ลูวิส แฮมิลตัน | 2014–2015 |
- หมายเหตุ
- นักขับที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือนักขับที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แชมป์โลกประเภทนักขับกับผู้ผลิตที่ไม่ได้รับตำแหน่งแชมป์โลกประเภทผู้ผลิตในฤดูกาลเดียวกัน
แก้จำนวนตำแหน่ง | นักขับ[a] | ฤดูกาล |
---|---|---|
2 | แนลซง ปีเก | 1981, 1983 |
มักซ์ แฟร์สตัปเปิน | 2021, 2024 | |
1 | ไมก์ ฮอว์ทอร์น | 1958 |
แจ็กกี สจวร์ต | 1973 | |
เจมส์ ฮันต์ | 1976 | |
เกเก รูสแบร์ก | 1982 | |
อาแล็ง พร็อสต์ | 1986 | |
มิชชาเอล ชูมัคเคอร์ | 1994 | |
มิกา แฮกกิเนน | 1999 | |
ลูวิส แฮมิลตัน | 2008 |
- หมายเหตุ
- นักขับที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือนักขับที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แบ่งตามผู้ผลิตแชสซี
แก้ผู้ผลิต | จำนวน ตำแหน่ง |
ฤดูกาล |
---|---|---|
แฟร์รารี | 15 | 1952, 1953, 1956, 1958, 1961, 1964, 1975, 1977, 1979, 2000, 2001, 2002, 2003, 2004, 2007 |
แม็กลาเรน | 12 | 1974, 1976, 1984, 1985, 1986, 1988, 1989, 1990, 1991, 1998, 1999, 2008 |
เมอร์เซเดส[a] | 9 | 1954,[a] 1955, 2014, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020 |
เร็ดบุลเรซซิง | 8 | 2010, 2011, 2012, 2013, 2021, 2022, 2023, 2024 |
วิลเลียมส์ | 7 | 1980, 1982, 1987, 1992, 1993, 1996, 1997 |
โลตัส | 6 | 1963, 1965, 1968, 1970, 1972, 1978 |
แบร็บแฮม | 4 | 1966, 1967, 1981, 1983 |
อัลฟาโรเมโอ | 2 | 1950, 1951 |
มาเซราตี[a] | 1954,[a] 1957 | |
คูเปอร์ | 1959, 1960 | |
ไทร์เรล | 1971, 1973 | |
เบเนตตอน | 1994, 1995 | |
เรอโนลต์ | 2005, 2006 | |
บีอาร์เอ็ม | 1 | 1962 |
มาทรา | 1969 | |
บรอว์น | 2009 | |
16 ผู้ผลิต | 75 ตำแหน่ง[a] |
- หมายเหตุ
- ผู้ผลิตที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
แบ่งตามผู้ผลิตเครื่องยนต์
แก้ผู้ผลิต | จำนวน ตำแหน่ง |
ฤดูกาล |
---|---|---|
แฟร์รารี | 15 | 1952, 1953, 1956, 1958, 1961, 1964, 1975, 1977, 1979, 2000, 2001, 2002, 2003, 2004, 2007 |
ฟอร์ด[a] | 13 | 1968, 1969, 1970, 1971, 1972, 1973, 1974, 1976, 1978, 1980, 1981, 1982, 1994 |
เมอร์เซเดส[b][c] | 1954,[b] 1955, 1998, 1999, 2008, 2009, 2014, 2015, 2016, 2017, 2018, 2019, 2020 | |
เรอโนลต์[d] | 11 | 1992, 1993, 1995, 1996, 1997, 2005, 2006, 2010, 2011, 2012, 2013 |
ฮอนด้า | 6 | 1987, 1988, 1989, 1990, 1991, 2021 |
ไคลแม็กซ์ | 4 | 1959, 1960, 1963, 1965 |
เตอาเฌ[e] | 3 | 1984, 1985, 1986 |
อัลฟาโรเมโอ | 2 | 1950, 1951 |
มาเซราตี[b] | 1954,[b] 1957 | |
เรปโก | 1966, 1967 | |
ฮอนด้า อาร์บีพีที | 2023, 2024 | |
บีอาร์เอ็ม | 1 | 1962 |
บีเอ็มดับเบิลยู | 1983 | |
อาร์บีพีที[f] | 2022 | |
14 ผู้ผลิต | 75 ตำแหน่ง[b] |
- หมายเหตุ
- ผู้ผลิตที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่เข้าแข่งขันในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
- ↑ ใช้เครื่องยนต์ของคอสเวิร์ธ[59]
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ แข่งที่อาร์เจนทีนและเบลเจียนกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 1954 กับมาเซราตี และแข่งในการแข่งขันอื่นของฤดูกาลกับเมอร์เซเดส ตำแหน่งแชมป์โลกร่วมกันนี้ถูกนับให้กับทั้งสองผู้ผลิต[23]
- ↑ ฤดูกาล 1998 และ 1999 ใช้เครื่องยนต์ของอิลมอร์[60]
- ↑ ใช้เครื่องยนต์ของเมกาโครม[61]
- ↑ ใช้เครื่องยนต์ของพอร์เชอ[62]
- ↑ ใช้เครื่องยนต์ของฮอนด้า[63]
แบ่งตามยางรถยนต์ที่ใช้
แก้อันดับ | ผู้ผลิต | จำนวน ตำแหน่ง |
ฤดูกาล | |
---|---|---|---|---|
1 | G | กู๊ดเยียร์ | 24 (7)[a] | 1966–1967, 1971, 1973–1978, 1980, 1982, 1985–1997 |
2 | P | ปีเรลลี | 20 (14)[b] | 1950–1954,[c][d] 1957, 2011–2024 |
3 | B | บริดจสโตน | 11 (6)[e] | 1998–2004, 2007–2010 |
4 | D | ดันลอป | 8 (4)[f] | 1959–1965, 1969 |
5 | M | มิชลิน | 6 | 1979, 1981, 1983–1984, 2005–2006 |
6 | F | ไฟร์สโตน | 4 | 1952,[d] 1968, 1970, 1972 |
7 | C | คอนติเนนทอล | 2 | 1954[c]–1955 |
E | เอ็งเกลอแบร์ท | 1956, 1958 |
- หมายเหตุ
- จำนวนในวงเล็บคือตำแหน่งแชมป์โลกจากการเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียว
- ผู้ผลิตยางรถยนต์ที่กำหนดเป็น ตัวหนา คือผู้ผลิตที่จัดหายางรถยนต์ในการชิงแชมป์โลกของฤดูกาล 2024
- ↑ กู๊ดเยียร์เป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวสำหรับฤดูกาล 1987, 1988 และ 1992 ถึง 1996[64]
- ↑ ปีเรลลีเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่ฤดูกาล 2011[65]
- ↑ 3.0 3.1 ฆวน มานูเอล ฟังฆิโอ แข่งที่อาร์เจนทีนและเบลเจียนกรังด์ปรีซ์ในฤดูกาล 1954 โดยใช้ยางรถยนตร์ของปีเรลลี และแข่งในการแข่งขันอื่นของฤดูกาลโดยใช้ยางรถยนตร์ของคอนติเนนทอล ตำแหน่งแชมป์โลกร่วมกันนี้ถูกนับให้กับทั้งสองผู้ผลิต[23]
- ↑ 4.0 4.1 อัลแบร์โต อัสการี แข่งที่อินเดียแนโพลิส 500 ในฤดูกาล 1952 โดยใช้ยางรถยนตร์ของไฟร์สโตน และแข่งในการแข่งขันอื่นของฤดูกาลโดยใช้ยางรถยนตร์ของปีเรลลี[66]
- ↑ บริดจสโตนเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวสำหรับฤดูกาล 1999, 2000 และ 2007 ถึง 2010[67]
- ↑ ดันลอปเป็นผู้จัดหายางรถยนต์หลักแต่เพียงผู้เดียวสำหรับฤดูกาล 1960 ถึง 1963[64]
อ้างอิง
แก้- ↑ "About FIA". Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 24 February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2020. สืบค้นเมื่อ 13 April 2020.
- ↑ Williamson, Martin. "A brief history of Formula One". ESPN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
- ↑ Hughes, Mark; Tremayne, David (2002). The Concise Encyclopedia of Formula 1. Parragon. pp. 82–83. ISBN 0-75258-766-8.
- ↑ "2020 Formula One Sporting Regulations" (PDF). Fédération Internationale de l'Automobile (FIA). 7 April 2020. pp. 3–4. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2020. สืบค้นเมื่อ 15 April 2020.
- ↑ "How Lewis Hamilton can clinch 2019 F1 title at Mexican GP". Fox Sports. 24 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Murphy, Luke (8 December 2018). "Hamilton & Mercedes F1 officially crowned at FIA Prize Giving Ceremony". Motorsport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Morlidge, Matt (7 December 2019). "Lewis Hamilton officially crowned 2019 F1 champion at FIA gala". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 Diepraam, Mattijs. "European & World Champions". 8W. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2024. สืบค้นเมื่อ 23 November 2024.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "Drivers' Championships". ChicaneF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "World Champion titles Consecutively". Stats F1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Lynch, Steven (5 November 2010). "At the tenth time of asking". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Benson, Andrew (2 December 2016). "Nico Rosberg retires: World champion quits Formula 1 five days after title win". BBC Sport. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "World Champion titles Grand Prix before". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "On this day: Sebastian Vettel becomes youngest Formula One champion". Sport360. 13 November 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Lynch, Kevin (19 August 2015). "1957: Oldest Ever F1 World Champion". Guinness World Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "Grands Prix chronology". Stats F1. สืบค้นเมื่อ 23 November 2024.
- ↑ 17.0 17.1 "Decisive – Chronology – Drivers championship". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2021. สืบค้นเมื่อ 11 December 2020.
- ↑ Esler, William (25 October 2015). "The earliest drivers' championship wins in F1 history". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "What happened the last time F1 used dropped scores?". The Race. 12 April 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 May 2023.
- ↑ "Race results". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "Nino Farina". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 "Juan Manuel Fangio". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 23.6 Jones, Bruce (2015). The Story of Formula One: 65 Years of Life in the Fast Lane. London, England: Carlton Books. pp. 29, 33, 37, 119, 343. ISBN 978-1-78177-270-6.
- ↑ 24.0 24.1 "Alberto Ascari". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Mike Hawthorn". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 "Jack Brabham". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Phil Hill". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 28.0 28.1 "Graham Hill". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 29.0 29.1 "Jim Clark". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "John Surtees". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Denny Hulme". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 32.0 32.1 32.2 "Jackie Stewart". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Jochen Rindt". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 34.0 34.1 "Emerson Fittipaldi". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 "Niki Lauda". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "James Hunt". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Mario Andretti". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Jody Scheckter". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Alan Jones". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 "Nelson Piquet". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Keke Rosberg". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 42.0 42.1 42.2 42.3 "Alain Prost". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 43.0 43.1 43.2 "Ayrton Senna". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Nigel Mansell". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 45.0 45.1 45.2 45.3 45.4 45.5 45.6 "Michael Schumacher". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Damon Hill". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Jacques Villeneuve". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ Lynch, Steven (30 April 2010). "Schumacher's disqualification, and pole position". ESPN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ 49.0 49.1 "Mika Häkkinen". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 50.0 50.1 "Fernando Alonso". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Kimi Räikkönen". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 52.0 52.1 52.2 52.3 52.4 52.5 52.6 "Lewis Hamilton". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Jenson Button". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 54.0 54.1 54.2 54.3 "Sebastian Vettel". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ "Nico Rosberg". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 November 2016.
- ↑ 56.0 56.1 56.2 "Max Verstappen". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2024. สืบค้นเมื่อ 21 December 2024.
- ↑ "Verstappen crowned champion as Russell heads Mercedes 1-2". Formula One. 24 November 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2024. สืบค้นเมื่อ 24 September 2024.
- ↑ 58.0 58.1 "World Champion titles by age". StatsF1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "Cosworth's Gearing Up For F1 Return In 2021". CarScoops. 20 July 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ Tytler, Ewan (3 January 2001). "Ilmor: Bowmen of the Silver Arrows". Atlas F1. 7 (1). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "New contract for Renault, Mecachrome". Crash. 24 November 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.
- ↑ Perkins, Chris (31 May 2019). "Porsche Was Working on a Formula 1 Engine for 2021". Road & Track. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2020.
- ↑ "Honda and Red Bull extend power unit support deal until 2025". Formula One. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2023. สืบค้นเมื่อ 12 October 2022.
- ↑ 64.0 64.1 White, John (2008) [2007]. The Formula One Miscellany (Second ed.). London, England: Carlton Books. p. 122. ISBN 978-1-84732-112-1 – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ Kalinauckas, Alex (25 November 2018). "Pirelli secures tender to supply Formula 1 tyres until 2023". Autosport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2020. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
- ↑ Michalik, Art (19 May 2020). "Ferrari's on-again, off-again love affair with the Indianapolis 500". The ClassicCars.com Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.
- ↑ "Bridgestone Awarded 'Bolster' for F1 Technical Achievements". Tyre Press. 8 December 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 20 September 2020.