จังหวัดเกียวโต
จังหวัดเกียวโต (ญี่ปุ่น: 京都府; โรมาจิ: Kyōto-fu; ทับศัพท์: เคียวโตะ-ฟุ) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในภูมิภาคคันไซบนเกาะฮนชู[2]: 477, 587 จังหวัดเกียวโตมีจำนวนประชากร 2,526,096 คน (ณ วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024)[3] และมีขนาดพื้นที่ 4,612 ตารางกิโลเมตร (1,781 ตารางไมล์) มีเมืองหลวงชื่อเดียวกันคือ นครเกียวโต ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดด้วย เมืองที่สำคัญอื่น ๆ เช่น นครอูจิ, นครคาเมโอกะ, นครไมซูรุ[2]: 565–587
จังหวัดเกียวโต 京都府 จังหวัดเคียวโตะ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||
• ญี่ปุ่น | 京都府 | ||||||||||||
• โรมาจิ | Kyōto-fu | ||||||||||||
| |||||||||||||
เพลง: เกียวโตฟุโนะอูตะ (京都府の歌) | |||||||||||||
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดเกียวโต | |||||||||||||
พิกัด: 35°1′18″N 135°45′20.2″E / 35.02167°N 135.755611°E | |||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||
ภูมิภาค | คันไซ | ||||||||||||
เกาะ | ฮนชู | ||||||||||||
เมืองหลวง | นครเกียวโต | ||||||||||||
เขตการปกครองย่อย | อำเภอ: 6, เทศบาล: 26 | ||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ผู้ว่าราชการ | ทากาโตชิ นิชิวากิ | ||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 4,612.19 ตร.กม. (1,780.78 ตร.ไมล์) | ||||||||||||
อันดับพื้นที่ | ที่ 31 | ||||||||||||
ประชากร (1 ตุลาคม ค.ศ. 2020) | |||||||||||||
• ทั้งหมด | 2,578,087 คน | ||||||||||||
• อันดับ | ที่ 13 | ||||||||||||
• ความหนาแน่น | 566 คน/ตร.กม. (1,470 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||
จีดีพี[1] | |||||||||||||
• รวม | 10,766 พันล้านเยน 98.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2019) | ||||||||||||
รหัส ISO 3166 | JP-26 | ||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||
|
จังหวัดเกียวโตตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น และทอดยาวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ไปยังคาบสมุทรคิอิ ครอบคลุมพื้นที่ของแคว้นในอดีต ได้แก่ แคว้นยามาชิโระ แคว้นทัมบะ และแคว้นทังโงะ จังหวัดเกียวโตเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงของจักรพรรดิในอดีตของญี่ปุ่น จังหวัดเกียวโตเป็นหนึ่งในสองจังหวัดของญี่ปุ่นที่ใช้คำว่า ฟุ (府 fu) ต่อท้ายชื่อเช่นเดียวกับจังหวัดโอซากะ ในขณะที่จังหวัดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ใช้คำว่า เค็ง (県 ken) นครเกียวโตทำให้จังหวัดเกียวโตกลายเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างชาติ และพื้นที่ร้อยละ 21 ของจังหวัดได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานทางธรรมชาติ จังหวัดเกียวโตเป็นส่วนหนึ่งของเขตมหานครเคฮันชิง ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น รองจากเขตมหานครโตเกียว และเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ประวัติศาสตร์
แก้ก่อนที่จะมีการปฏิรูปเมจิ พื้นที่จังหวัดเกียวโตเดิมเคยเป็นพื้นที่ของแคว้นโบราณ ได้แก่ แคว้นยามาชิโระ แคว้นทัมบะ และแคว้นทังโงะ[2]: 780
หลังการปฏิรูปเมจิ เมื่อ ค.ศ. 1868 (ปีเคโอที่ 4) ยังมีการใช้ระบบจังหวัดควบคู่กับแคว้นศักดินา หรือฟูฮังเก็งซันจิเซ (府藩県三治制) ได้มีการจัดตั้ง เคียวโตะ-ฟุ (京都府) ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1868 ในขณะนั้นยังมีแคว้นศักดินาหรือฮัง (藩) ในพื้นที่ที่เป็นจังหวัดเกียวโตในปัจจุบันอยู่มากกว่าสิบแคว้น ต่อมาใน ค.ศ. 1871 (ปีเมจิที่ 4) ได้มีการยกเลิกระบบแคว้นและแทนที่ด้วยระบบจังหวัด จึงได้มีการเปลี่ยนแคว้นศักดินาให้กลายเป็นเค็ง (県) การควบรวมจังหวัดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1891 โดยควบรวม 5 เค็งในพื้นที่ที่เคยเป็นแคว้นทัมบะและแคว้นยามาชิโระ เข้ากับ เคียวโตะ-ฟุ และควบรวม 11 เค็งในพื้นที่ที่เคยเป็นแคว้นทัมบะ แคว้นทังโงะ และแคว้นทาจิมะ กลายเป็น โทโยโอกะ-เค็ง หรือจังหวัดโทโยโอกะ (豊岡県)[4]
ต่อมาในการควบรวมจังหวัดครั้งที่สองใน ค.ศ. 1876 (ปีเมจิที่ 9) ได้มีการยุบจังหวัดโทโยโอกะ โดยโอนเฉพาะ 5 อำเภอที่เคยเป็นของแคว้นโทโงะ และอำเภออามาดะที่เคยเป็นของแคว้นทัมบะมาขึ้นกับจังหวัดเกียวโต ส่วนที่เหลือโอนไปขึ้นกับจังหวัดเฮียวโงะ ทำให้จังหวัดเกียวโตมีอาณาเขตใกล้เคียงกับในปัจจุบัน
เทศบาลนครเกียวโตได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1889 (ปีเมจิที่ 22) โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโตทำหน้าเป็นนายกเทศมนตรีนครเกียวโตเป็นกรณีพิเศษจนถึง ค.ศ. 1898
ภูมิศาสตร์
แก้จังหวัดเกียวโตตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางของเกาะฮนชูและประเทศญี่ปุ่น ครอบคลุมพื้นที่ 4,612.19 ตารางกิโลเมตร (1,780.78 ตารางไมล์) ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.2 ของประเทศญี่ปุ่น ขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 31 ของประเทศ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับทะเลญี่ปุ่น ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดฟูกูอิ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดชิงะ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับจังหวัดมิเอะ ทิศใต้ติดกับจังหวัดนาระและจังหวัดโอซากะ และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดเฮียวโงะ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเกียวโตเป็นที่ราบสลับหุบเขา มีเทือกเขาทัมบะพาดผ่านตอนกลางของจังหวัด ทำให้สภาพภูมิอากาศแตกต่างกันมากระหว่างตอนเหนือและตอนใต้ของจังหวัด
ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2016 พื้นที่ร้อยละ 21 ของจังหวัดได้รับการกำหนดให้เป็นอุทยานทางธรรมชาติ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติซานิงไคงัง, กึ่งอุทยานแห่งชาติบิวาโกะ, กึ่งอุทยานแห่งชาติเกียวโตทัมบะโคเง็ง, กึ่งอุทยานแห่งชาติทังโงะ-อามาโนฮาชิดาเตะ-โอเอยามะ และกึ่งอุทยานแห่งชาติวากาซะวัง และอุทยานธรรมชาติระดับจังหวัด ได้แก่ อุทยานธรรมชาติจังหวัดโฮซูเกียว, อุทยานธรรมชาติจังหวัดคาซางิยามะ และอุทยานธรรมชาติจังหวัดรูริเก[5]
การเมืองการปกครอง
แก้ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโตคนปัจจุบันคือ ทากาโตชิ นิชิวากิ อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักงานการบูรณะ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2018[6]
ผู้ว่าราชการจังหวัดเกียวโตคนก่อนเป็นอดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เคจิ ยามาดะ เขาได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่สี่ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 โดยได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองหลักที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และมีคู่แข่งเพียงคนเดียวที่ได้รับการสนับสนุนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น[7][8][9]
สภาจังหวัดมีสมาชิกทั้งหมด 60 คน จากเขตเลือกตั้ง 25 เขต และยังคงได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งท้องถิ่นพร้อมกันทั่วประเทศ (ครั้งล่าสุด ค.ศ. 2023) ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2023 ประกอบด้วยสมาชิกจากพรรคพรรคเสรีประชาธิปไตย 30 คน, พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น 23 คน, พรรคโคเม 5 คน, พรรคประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญ 6 คน, พรรคประชาธิปไตยเพื่อประชาชน 4 คน, กลุ่มฟื้นฟูเกียวโต 9 คน, พรรคขนาดเล็ก 1 คน และนักการเมืองอิสระ 7 คน[10]
ผู้แทนของจังหวัดเกียวโตในรัฐสภาญี่ปุ่นประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6 คน และสมาชิกวุฒิสภา 4 คน (2 คนต่อการเลือกตั้งหนึ่งครั้ง) หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 2016, 2017 และ 2019 จังหวัดเกียวโตมีผู้แทนในสภาล่างจากพรรคเสรีประชาธิปไตย 4 คนและพรรคประชาธิปไตย 2 คน และมีผู้แทนในสภาสูงจากพรรคเสรีประชาธิปไตย 2 คน พรรคประชาธิปไตย 1 คน และพรรคคอมมิวนิสต์ 1 คน
เทศบาล
แก้จังหวัดเกียวโตแบ่งการปกครองออกเป็น 26 เทศบาล ประกอบด้วย 15 เทศบาลนคร, 10 เทศบาลเมือง และ 1 เทศบาลหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการแบ่งพื้นที่จังหวัดเกียวโตเป็นอำเภอ ซึ่งไม่มีหน่วยงานในการบริหาร มีจำนวน 6 อำเภอ โดยจะครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เป็นเทศบาลเมืองและเทศบาลหมู่บ้านเท่านั้น
ธง | ชื่อ | ประเภท | อำเภอ | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ประชากร (คน) |
รหัส ท้องถิ่น | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทับศัพท์ไทย | อักษรญี่ปุ่น | โรมาจิ | ||||||
เกียวโต | 京都市 | Kyōto-shi | นครใหญ่ที่รัฐกำหนด | ไม่มี | 827.83 | 1,463,723 | 26100-9 | |
ฟูกูจิยามะ | 福知山市 | Fukuchiyama-shi | นคร | ไม่มี | 552.54 | 77,306 | 26201-3 | |
ไมซูรุ | 舞鶴市 | Maizuru-shi | นคร | ไม่มี | 342.13 | 80,336 | 26202-1 | |
อายาเบะ | 綾部市 | Ayabe-shi | นคร | ไม่มี | 347.10 | 31,846 | 26203-0 | |
อูจิ | 宇治市 | Uji-shi | นคร | ไม่มี | 67.54 | 179,630 | 26204-8 | |
มิยาซุ | 宮津市 | Miyazu-shi | นคร | ไม่มี | 172.74 | 16,758 | 26205-6 | |
คาเมโอกะ | 亀岡市 | Kameoka-shi | นคร | ไม่มี | 224.80 | 86,174 | 26206-4 | |
โจโย | 城陽市 | Jōyō-shi | นคร | ไม่มี | 32.71 | 74,607 | 26207-2 | |
มูโก | 向日市 | Mukō-shi | นคร | ไม่มี | 7.72 | 56,859 | 26208-1 | |
นางาโอกาเกียว | 長岡京市 | Nagaokakyō-shi | นคร | ไม่มี | 19.17 | 80,608 | 26209-9 | |
ยาวาตะ | 八幡市 | Yawata-shi | นคร | ไม่มี | 24.35 | 70,433 | 26210-2 | |
เคียวตานาเบะ | 京田辺市 | Kyōtanabe-shi | นคร | ไม่มี | 42.92 | 73,753 | 26211-1 | |
เคียวตังโงะ | 京丹後市 | Kyōtango-shi | นคร | ไม่มี | 501.44 | 50,860 | 26212-9 | |
นันตัง | 南丹市 | Nantan-shi | นคร | ไม่มี | 616.40 | 31,629 | 26213-7 | |
คิซูงาวะ | 木津川市 | Kizugawa-shi | นคร | ไม่มี | 85.13 | 77,907 | 26214-5 | |
โอยามาซากิ | 大山崎町 | Ōyamazaki-chō | เมือง | โอโตกูนิ | 5.97 | 15,953 | 26303-6 | |
คูมิยามะ | 久御山町 | Kumiyama-chō | เมือง | คูเซะ | 13.86 | 15,250 | 26322-2 | |
อิเดะ | 井手町 | Ide-chō | เมือง | สึซูกิ | 18.04 | 7,406 | 26343-5 | |
อูจิตาวาระ | 宇治田原町 | Ujitawara-chō | เมือง | สึซูกิ | 58.16 | 8,911 | 26344-3 | |
คาซางิ | 笠置町 | Kasagi-chō | เมือง | โซรากุ | 23.52 | 1,144 | 26364-8 | |
วาซูกะ | 和束町 | Wazuka-chō | เมือง | โซรากุ | 64.93 | 3,478 | 26365-6 | |
เซกะ | 精華町 | Seika-chō | เมือง | โซรากุ | 25.68 | 36,198 | 26366-4 | |
มินามิยามาชิโระ | 南山城村 | Minamiyamashiro-mura | หมู่บ้าน | โซรากุ | 64.11 | 2,391 | 26367-2 | |
เคียวตัมบะ | 京丹波町 | Kyōtamba-chō | เมือง | ฟูนาอิ | 303.09 | 12,907 | 26407-5 | |
อิเนะ | 伊根町 | Ine-chō | เมือง | โยซะ | 61.95 | 1,928 | 26463-6 | |
โยซาโนะ | 与謝野町 | Yosano-chō | เมือง | โยซะ | 108.38 | 20,092 | 26465-2 | |
จังหวัดเกียวโต | 京都府 | Kyōto-fu | จังหวัด | 4,612.19 | 2,578,087 | 26000-2 |
-
นครมิยาซุ และอ่าวอาโซะ
สถิติประชากร
แก้
|
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่มา: กองสถิติ กองนโยบายและแผนงาน จังหวัดเกียวโต[11] |
ศาสนา
แก้จากการวิจัยของสํานักงานวัฒนธรรมใน ค.ศ. 2020 พบว่ามากกว่าร้อยละ 60 ของประชากรนับถือศาสนาชินโตและศาสนาพุทธ[12]
เศรษฐกิจ
แก้จังหวัดเกียวโตมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ทางตอนเหนือของจังหวัดบริเวณคาบสมุทรทังโงะประกอบอาชีพประมงและการขนส่งทางน้ำ ทางตอนกลางประกอบอาชีพเกษตรกรรมและป่าไม้
อ้างอิง
แก้- ↑ "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Frédéric, Louis (31 พฤษภาคม 2002). Japan Encyclopedia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). แปลโดย Roth, Käthe. Harvard University Press. ISBN 978-0674007703. OCLC 58053128. OL 7671330M.
- ↑ "京都府推計人口". www.pref.kyoto.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2024.
- ↑ 版籍奉還から廃藩置県まで(イッシーのホームページ) (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ "General overview of area figures for Natural Parks by prefecture" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of the Environment. 15 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
- ↑ "Nishiwaki triumphs in Kyoto gubernatorial race, vows to continue policies of predecessor". The Japan Times. 8 April 2018.
- ↑ Asahi Shimbun, 6 April 2014: 京都知事に山田氏、4選 新顔の尾崎氏破る
- ↑ Yomiuri Shimbun, 6 April 2014: 京都府知事選、現職の山田啓二氏が4選
- ↑ The Japan Times, 7 April 2014: Kyoto re-elects Yamada to top post
- ↑ 京都府議選 立候補者集計 (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ↑ "[Kyōtofu] Kyōtofu no jinkō nenji betsu suii" 【京都府】京都府の人口年次別推移 [[Kyoto Prefecture] Changes in Kyoto Prefecture by population year] (ภาษาญี่ปุ่น). Kyoto Prefecture. Information Policy Division, Policy Planning Department. n.d. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "White Papers and Annual Reports > Shukyo Nenkan" [Religious Yearbook] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2022.