คิโยมิซูเดระ (ญี่ปุ่น: 清水寺โรมาจิKiyomizu-dera; แปล: วัดน้ำใส) ตั้งอยู่บนเขาโอโตวะ (ญี่ปุ่น: 音羽山โรมาจิOtowa-san) ทางตะวันออกของนครเกียวโต เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองเกียวโต ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ (Historic Monuments of Ancient Kyoto) ซึ่งเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก[1] อาคารหลักของคิโยมิซูเดระได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสมบัติประจำชาติญี่ปุ่น ชื่อของวัดซึ่งมีความหมายว่าน้ำบริสุทธิ์ มีที่มาจากน้ำตกที่ไหลผ่านเนินเขาลงมาบริเวณวัด

คิโยมิซูเดระ
清水寺
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
เทพคันนง
จารีตคิตะฮซโซ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเขตฮิงาชิยามะ เกียวโต
ประเทศญี่ปุ่น
คิโยมิซูเดระตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
คิโยมิซูเดระ
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์34°59′42″N 135°47′06″E / 34.99500°N 135.78500°E / 34.99500; 135.78500พิกัดภูมิศาสตร์: 34°59′42″N 135°47′06″E / 34.99500°N 135.78500°E / 34.99500; 135.78500
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งซากาโนอูเอะ โนะ ทามูรามาโระ สร้างใหม่โดยโทกูงาวะ อิเอมิตสึ
เริ่มก่อตั้งค.ศ. 778
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 1633 (สร้างใหม่)
เว็บไซต์
www.kiyomizudera.or.jp
คิโยมิซูเดระ
"คิโยมิซูเดระ"ในอักษรคันจิ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ清水寺
ฮิรางานะきよみずでら
การถอดเสียง
โรมาจิKiyomizu-dera

ประวัติ แก้

 
คิโยมิซูเดระประมาณ ค.ศ. 1880 โดยอาดอลโฟ ฟาร์ซารี

คิโยมิซูเดระถูกสร้างขึ้นในยุคเฮอังตอนต้น[2] วัดนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 778 โดยซากาโนอูเอะ โนะ ทามูรามาโระ และอาคารปัจจุบันสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1633 ตามคำสั่งของโทกูงาวะ อิเอมิตสึ[3] ทั้งอาคารไม่มีตะปูแม้แต่อันเดียว ชื่อของวัดมาจากน้ำตกที่อยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งไหลลงตรงบริเวณเนินเขาใกล้เคียง คิโยมิซุ หมายถึง น้ำสะอาด หรือ น้ำบริสุทธิ์[4][5]

เดิมทีวัดนี้ในยุคนาระเป็นที่ตั้งของลัทธิฮซโซ[6] อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1965 วัดคิโยมิซุได้แยกออกมาตั้งนิกายของตนเอง เรียกว่า นิกายคิตาฮซโซ[7]

ปัจจุบัน แก้

วลีที่กล่าวว่า "กระโดดจากระเบียงคิโยมิซู" ซึ่งหมายความว่า "ตัดสินใจกะทันหัน หรือกล้าตัดสินใจ"[5] มีที่มาจากความเชื่อในสมัยเอโดะที่ว่า หากผู้ใดสามารถกระโดดจากระเบียงวัดที่มีความสูง 13 เมตร (43 ฟุต) แล้วสามารถรอดชีวิตได้ ความปรารถนาของผู้นั้นจะสัมฤทธิ์ผล

คำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้ในการรอดชีวิตจากการกระโดดระเบียงคือ ด้านล่างของระเบียงมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ซึ่งอาจจะชะลอแรงจากการตกได้บ้าง ในปัจจุบันทางวัดห้ามมิให้มีการกระโดดระเบียงตั้งแต่ ค.ศ. 1872[5] แต่ในสมัยเอโดะมีการบันทึกไว้ว่า มีผู้มากระโดดถึง 234 คน และรอดชีวิตได้คิดเป็นร้อยละ 85.4 ของทั้งหมด[5]

ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าอื่น ๆ จำนวนมาก ที่เป็นที่รู้จักดีคือ ศาลเจ้าจิชู (Jishu-jinja) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสักการะเทพโอกูนินูชิ เทพแห่งความรักและเนื้อคู่[4] ภายในศาลเจ้ามี "ก้อนหินแห่งความรัก" 2 ก้อน ตั้งอยู่ห่างกัน 10 เมตร (33 ฟุต)[8] เชื่อกันว่า หากสามารถหลับตาเดินจากก้อนหินก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่งได้ จะสมปรารถนาในความรัก[9]

คิโยมิซูเดระเป็นสถานที่ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัด จึงมีพ่อค้านำสินค้ามาขายในบริเวณวัดมากมาย สินค้าส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องราง เครื่องหอม ธูป เทียน หรือโอมิกูจิ (กระดาษเสี่ยงทายโชคชะตา) สถานที่นี้มีผู้เยื่อยมชมจำนวนมากในช่วงเทศกาล (โดยเฉพาะในวันขึ้นปีใหม่และโอบงในฤดูร้อน) โดยจะมีบูธเพิ่มเติมไว้ขายของในวันหยุดและของฝากแก่นักท่องเที่ยว[10]

ใน ค.ศ. 2007 คิโยมิซูเดระเป็นหนึ่งใน 21 ตัวแทนสุดท้ายของนิว7วันเดอส์ออฟเดอะเวิลด์[11] แต่ไม่ได้รับเลือกต่อ

สถาปัตยกรรม แก้

คิโยมิซูเดระตั้งอยู่ที่ตีนเขาโอโตวะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฮิงาชิยามะที่ครอบคลุมเกียวโตตะวันออก อาคารหลักมีระเบียงขนาดใหญ่ที่มีเสาสูงรอบรับ สร้างยื่นออกจากด้านข้างของเนินเขา จากระเบียงนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองเกียวโตได้ ห้องโถงหลักและระเบียงขนาดใหญ่มักถูกสร้างในสถานที่ยอดนิยมในยุคเอโดะเพื่อรองรับผู้แสวงบุญจำนวนมาก[12]

ข้างใต้หอหลักมีน้ำตกโอโตวะที่แบ่งออกเป็นสายน้ำ 3 สายลงสู่บ่อน้ำ ผู้เข้าชมสามารถตักน้ำและดื่นมันได้ ด้วยความเชื่อว่ามีพลังขอพรให้ตนเองได้

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Historic Monuments of Ancient Kyoto (Kyoto, Uji and Otsu Cities)". สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
  2. Ponsonby-Fane (1956), p. 111.
  3. Graham (2007), p. 37
  4. 4.0 4.1 "Kiyomizu Temple". 2007-04-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2008-12-18.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Kiyomizudera, Kyoto". สืบค้นเมื่อ 2008-12-18.
  6. Graham (2007), p. 32
  7. "Kiyomizu-deploy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2021-11-25.
  8. "恋占いの石". สืบค้นเมื่อ 2020-08-03.
  9. "japanvisitor.com". สืบค้นเมื่อ 2010-08-21.
  10. "Kiyomizu-dera Temple". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-20.
  11. "The Finalists for The Official New 7 Wonders of the World". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-01. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  12. Graham 2007, p. 80
  • Graham, Patricia J. (2007) Faith and Power in Japanese Buddhist Art (Honolulu: University of Hawaii Press) ISBN 978-0-8248-3126-4.
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1956) Kyoto: The Old Capital of Japan, 794-1869. Kyoto: The Ponsonby Memorial Society.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้